นิทานชาดกพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 3 มกราคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความจริงที่ไม่ควรพูด

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารถภิกษุรูปหนึ่ง ผู้กระสันอยากสึกเพราะเห็นหญิงงามคนหนึ่ง ตรัสให้โอวาทว่า "ภิกษุ..ธรรมดามาตุคาม ใครๆ ก็รักษาไว้ไม่ได้ แม้เมื่อก่อนเขาวางยามประตูรักษาไว้ ก็ยังรักษาไว้ไม่ได้ เธอจะต้องการมาตุคามไปทำอะไร แม้ได้แล้วก็ไม่อาจจะรักษาเอาไว้ได้" แล้วได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกแขกเต้าชื่อ ราธะ มีน้องตัวหนึ่งชื่อ โปฏฐปาทะ อยู่ภายใต้การเลี้ยงดูของพราหมณ์ครอบครัวหนึ่ง ในเมืองพาราณสี พราหมณ์และนางพราหมณีไม่มีลูกด้วยกัน จึงเลี้ยงดูนกแขกเต้าทั้งสองตัวเป็นเสมือนลูกชาย พราหมณ์มีอาชีพค้าขายจะเดินทางออกจากบ้านไปค้าขายยังต่างแดน เป็นเวลาหลายวันค่อยกลับมา ช่วงที่พราหมณ์ไม่อยู่บ้าน นางพราหมณีมักจะคบชู้สู่ชายอยู่เป็นประจำ

    วันหนึ่งก่อนออกเดินทางไปค้าขาย พราหมณ์ซึ่งพอจะทราบพฤติกรรมของภรรยาอยู่บ้างแต่ยังจับไม่ได้ จึงสั่งนกแขกเต้าสองพี่น้องว่า

    "ลูกรัก พ่อจะไปค้าขาย เจ้าทั้งสองคอยดูแลแม่ของเจ้านะ ว่าช่วงพ่อไม่อยู่นี้มีชายคนใดมาหาหรือไม่ ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน"

    ว่าแล้วกก็ออกเดินทางไป นับตั้งแต่วันที่พราหมณ์ออกจากบ้านไป นางพราหมณีก็คบชายชู้ไม่ซ้ำหน้ากันทั้งกลางวันกลางคืน นกโปฏฐปาทะ เห็นดังนั้นจึงถามพี่ชายว่า

    "แม่เราเป็นเช่นนี้ เราจะว่าแกดีไหมพี่"

    นกราธะตอบว่า "อย่าเลยน้องมันจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตเราเสียเปล่า ๆ" แต่นกโกฎปาทะไม่เชื่อฟังคำพี่ชายได้พูดต่อว่านางพราหมณี เป็นเหตุให้นางพราหมณีโกรธมาก จับมาบิดคอขาดตายแล้วโยนใส่เตาไฟเผาทิ้งไป

    หลายวันต่อมา พราหมณ์กลับมาถึงบ้านแล้วได้ถามนกราธะว่า

    "ลูกรัก พ่อเพิ่งกลับมาจากที่ค้างแรมเดี๋ยวนี้เอง น้องเจ้าไปไหนเสียแล้วละ ในช่วงที่พ่อไม่อยู่บ้านนี้แม่ของเจ้าไม่ไปคบหาชายอื่นดอกหรือ

    นกราธะตอบเป็นคาถาว่า

    "ธรรมดาบัณฑิตไม่พูดคำที่เป็นจริงแต่ไม่ดี ขืนพูดไปจะพึงหมกไหม้ เหมือนนกแขกเต้าชื่อโปฏฐปาทะ หมกไหม้อยู่ในเตาไฟ"

    กล่าวจบก็นิ่งเสียไม่เล่าอะไรให้พราหมณ์ฟัง



    <TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>การพูดความจริงที่ไม่ดีในที่ไม่เหมาะสม มักนำโทษมาให้แก่ผู้พูดมากกว่าผลดี</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้ใหญ่บ้านทวงหนี้ไม่ถูกเวลา

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันอยากสึกรูปหนึ่ง ตรัสให้โอวาทว่า "ภิกษุ..ขึ้นชื่อว่ามาตุคามดูแลไม่ไหว ทำความชั่วแล้วยังลวงสามีด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งอีก" แล้วได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคหบดีในแคว้นกาสี มีภรรยาผู้ทุศีลคนหนึ่งชอบคบชู้กับผู้ใหญ่บ้านเป็นประจำ พระโพธิสัตว์ก็พอทราบระแคะระคายอยู่บ้างจึงเฝ้าสืบดูอยู่

    ในฤดูทำนาของปีหนึ่ง หลังจากดำนาเสร็จแล้ว ข้าวยังไม่ทันตั้งท้อง ก็เกิดฝนแล้งขึ้น ชาวบ้านเดือดร้อนกันทั้งหมู่บ้านเพราะไม่มีอาหารจะกิน จึงได้ตกลงกันซื้อวัวของผู้ใหญ่บ้านตัวหนึ่งเพื่อนำมาฆ่าแบ่งเนื้อปันกัน เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วถึงจะนำข้าวเปลือกมอบให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นค่าเนื้อในอีกสองเดือนข้างหน้า
    อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่พระโพธิสัตว์ออกไปนา ผู้ใหญ่บ้านได้แอบย่องเข้าไปหาภรรยาของพระโพธิสัตว์ที่บ้าน ในขณะที่ทั้งคู่กำลังนอนด้วยกันอย่างมีความสุขอยู่นั้น พระโพธิสัตว์กลับมาถึงบ้านพอดีได้เห็นเหตุการณ์นั้นจึงยืนดูอยู่ที่ประตูบ้าน ฝ่ายภรรยาพอเห็นสามีกลับมาในขณะนั้นจึงรีบบอกอุบายแก่ผู้ใหญ่บ้านว่า "ท่านจงทำเป็นมาร้องทวงหนี้เนื้อวัวนะ ฉันจะขึ้นไปบนยุ้งข้าวตอบท่านว่าข้าวเปลือกไม่มี ท่านก็จงพูดทวงหนี้นั้นไปเรื่อย ๆ"

    ผู้ใหญ่บ้านก็ทำใจดีสู้เสือเดินออกไปยืนกลางเรือนแล้วร้องเรียกว่า "น้องหญิงอยู่ไหม ฉันมาทวงหนี้ค่าเนื้อวัวนะ" ฝ่ายภรรยาที่รีบปีนขึ้นไปนั่งอยู่บนยุ้งข้าวแล้วก็ร้องตอบมาว่า "ข้าวเปลือกยังไม่มีหรอกพี่ผู้ใหญ่ เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วเราจะนำไปให้ดอกนะ กลับไปก่อนเถอะจ้า"

    พระโพธิสัตว์เดินเข้าไปในบ้านเห็นเขาพูดโต้ตอบกัน ก็ทราบว่าเป็นอุบายของภรรยา จึงเรียกผู้ใหญ่บ้านพูดว่า "ท่านผู้ใหญ่..เราสัญญากันไว้ ๒ เดือนมิใช่หรือ นี่ยังไม่ถึงครึ่งเดือนด้วยซ้ำไป ท่านมาทวงหนี้ทำไมเวลานี้ ท่านมาเพราะเรื่องอื่นกระมัง ผมไม่ชอบใจเลยนะ นางนั้นก็เหลือร้ายรู้ทั้งรู้อยู่ว่าในยุ้งข้าวไม่มีข้าวเปลือกก็ยังร้องบอกอยู่นั่นแหละ ผมไม่พอใจพฤติกรรมของพวกท่านเลยนะ" แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

    "กรรมทั้ง ๒ ไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ ก็หญิงคนนี้ลงไปในยุ้งข้าวแล้วพูดว่าเรายังใช้หนี้ให้ไม่ได้ท่านผู้ใหญ่บ้าน เพราะเหตุนี้เราจึงพูดกะท่าน ท่านได้ทำสัญญากำหนดไว้ ๒ เดือน แล้วมาทวงเนื้อวัวผอมแก่เมืองยังไม่ถึงกำหนดเวลาสัญญา กรรมทั้ง ๒ นั้น ฉันไม่ชอบใจเลย"

    เมื่อพูดจบแล้วก็จิกผมผู้ใหญ่บ้านกระชากให้ล้มลงกลางเรือน แล้วพูดสอนว่า "ท่านทำร้ายคนอื่นเพราะถือว่าตนเองเป็นผู้ใหญ่บ้านหรือ" ทุบตีจนผู้ใหญ่บ้านบอบช้ำแล้วก็ไล่ไสหัวไป หันไปคว้าผมภรรยามาพูดขู่ว่า "นางตัวดี ถ้าเธอไม่เลิกพฤติกรรมเช่นนี้อีกจะเห็นดีกัน" ตั้งแต่วันนั้นมาผู้ใหญ่บ้านไม่กล้าแม้แต่จะเดินผ่านหน้าบ้านหลังนั้นอีกเลย ภรรยา ของพระโพธิสัตว์ก็ได้เลิกพฤติกรรมเช่นนั้นไป





    <TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>เมื่อภัยไม่มาถึงตัว คนก็มักเห็นสิ่งที่ตนกระทำผิด ถูกอยู่เสมอ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตำราเลือกลูกเขย

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพราหมณ์เลือกลูกเขยคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า ...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ในเมืองตักกสิลา มีพราหมณ์คนหนึ่งมีลูกสาว ๔ คน แต่ละคนมีรูปร่างสวยงามเป็นที่หมายปองของชายหนุ่มทั่วไปในบรรดาชายหนุ่มที่มาจีบลูกสาวของพราหมณ์นั้นมีชายหนุ่ม ๔ คนที่เข้าตาของพราหมณ์ คือ คนที่ ๑ เป็นคนรูปหล่อ คนที่ ๒ มีอายุมากแต่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ คนที่ ๓ เป็นลูกชายเศรษฐีตระกูลดี คนที่ ๔ เป็นคนมีศีลธรรม

    พราหมณ์คิดหนักใจว่าจะเลือกใครเป็นลูกเขยดี เพราะทั้ง ๔ คน ก็มีความดีแตกต่างกันไป เขาจึงตัดสินใจไปปรึกษาอาจารย์ทิศาปาโมกข์ว่า "ท่านอาจารย์ครับ ผมมีเรื่องกลุ้มใจมาปรึกษาอาจารย์ คือมีชายหนุ่มอยู่ ๔ คน คือ ๑ คนรูปหล่อ ๒ คนอายุมาก ๓ คนมีชาติสูง ๔ คนมีศีล มาจีบลูกสาวผม ผมคิดไม่ตกว่าจะเลือกใครดี ถ้าอาจารย์เป็นผมจะเลือกเอาคนไหน"

    พระโพธิสัตว์พูดตอบว่า "พราหมณ์..คนไม่มีศีลถึงมีรูปสมบัติก็น่าตำหนิ ดังนั้น รูปสมบัตินี้ไม่ใช่สิ่งสำคัญ ถ้าฉันเป็นพราหมณ์นะ ฉันจะเลือกคนมีศีลเป็นลูกเขย" แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

    "ร่างกายก็มีประโยชน์ ข้าพเจ้าขอทำความนอบน้อมต่อท่านผู้เจริญวัย ชาติสูงก็มีประโยชน์ แต่ข้าพเจ้าชอบใจศีล"

    พราหมณ์ฟังแล้วชอบใจ พอกลับไปถึงบ้านจึงตัดสินในยกลูกสาวทั้ง ๔ คน ให้แก่คนผู้มีศีลไป





    <TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>ผู้มีศีลธรรมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เรือนจำที่แท้จริง

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภเรือนจำสำหรับคุมขังผู้ตน ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายเครื่องจองจำเหล่านั้นไม่นับว่าเป็นเรือนจำที่แท้จริง ส่วนเครื่องผูกคือกิเลสตณหาในทรัพย์สมบัติ บุตรและภรรยา ถือเป็นเรือนจำที่แท้จริง มั่นคงยิ่งกว่า ตัดได้ยากกว่า โบราณบัณฑิตได้ตัดเรือนจำนี้ได้แล้วออกบวช" แล้วได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...


    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลูกชายโทนของตระกูลคหบดีเก่าแก่ แต่ยากจนตระกูลหนึ่ง พอบิดาเสียชีวิตแล้วเขาก็ได้ออกรับจ้างหาเลี้ยงมารดา อยู่ต่อมาพอเขาแต่งงานแล้วมารดาก็เสียชีวิตไปอีกคน ใจจริงแล้วเขาไม่อยากจะแต่งงานอยากบวชมากกว่า เพราะมองเห็นความลำบากของตนเอง แต่ก็ต้องแต่งงานตามใจมารดาเท่านั้น

    ต่อมาไม่นาน ภรรยาของเขาตั้งครรภ์ เขาไม่รู้ว่านางตั้งครรภ์จึงพูดกับนางในวันหนึ่งว่า "นี่น้อง เธอจงดูแลตัวเองนะ พี่จะไปบวชละ" ภรรยาบอกว่า "พี่..ฉันท้องแล้วนะ เมื่อฉันคลอดลูกแล้วพี่ค่อยบวชเถิด" เขาจึงอยู่ต่อจนนางคลอดลูกแล้วจึงพูดอำลานางอีกว่า "น้อง..พี่จะออกบวชแล้วนะ ขอให้เธอดูแลลูกน้อยนะ" นางขอร้องว่า "พี่..ขอให้ลูกหย่านมก่อนเถอะ พี่ค่อยไป"

    ต่อมาอีกสองสามเดือนภรรยาก็ตั้งครรภ์อีก เขาคิดว่า "ถ้าขืนเรามัวแต่อำลานางอยู่เช่นนี้ก็คงจะไม่ได้บวชหรอก เราต้องหนีไปบวชในคืนนี้ละ" พอถึงเวลาเที่ยงคืนก็แอบหนีออกจากบ้านไปบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ป่าแห่งหนึ่ง
    วันหนึ่ง ฤาษีนั้นขณะนั่งบำเพ็ญเพียรได้รำลึกถึงชีวิตของตนเอง จึงเปล่งอุทานเป็นคาถาว่า

    "นักปราชญ์ไม่กล่าวเครื่องผูกที่ทำด้วยเหล็ก ทำด้วยไม้ และทำด้วยหญ้าปล้องว่าเป็นเครื่องผูกที่มั่นคง ส่วนความกำหนัดยินดีในแก้วมณีและต่างหูก็ดี ความห่วงใยในบุตรและภรรยาก็ดี, นักปราชญ์กล่าวเครื่องผูกที่ประกอบด้วยกิเลสนั่นว่าเป็นเครืองผูกที่มั่นคง ทำให้สัตว์ตกต่ำ ย่อหย่อนแก้ได้ยาก นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องผูกนั้นได้ขาด หมดความห่วงใย ละกามสุข หลีกออกไปได้"

    ฤาษีบำเพ็ญเพียรอยู่เช่นนี้จนสิ้นชีวิตไปเกิดที่พรหมโลกในที่สุด





    <TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>เรือนจำ (เครื่องผูก) ที่แท้จริงของมนุษย์คือ ลูกภรรยา สามี และทรัพย์สินศฤงคาร</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระปริตป้องกันสัตว์ร้าย

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง มรณภาพเพราะถูกงูกัด ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธการ ว่า...


    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤาษีบำเพ็ญสมาบัติอยู่ที่คุ้งแม่น้ำแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์ มีฤาษีหลายร้อยตนเป็นบริวาร ณ ที่ฝั่งแม่น้ำนั้น มีงูนานาชนิดอาศัยอยู่ งูได้กัดฤาษีเสียชีวิตไปหลายตน พระโพธิสัตว์ทราบเรื่องนั้นแล้วจึงพูดให้โอวาทคณะฤาษีว่า

    "ท่านทั้งหลาย..หากพวกท่านเจริญเมตตาให้ตระกูลพญางูทั้ง ๔ งูทั้งหลายก็จะไม่กัดพวกท่านหรอก" แล้วกล่าวคาถาว่า

    "ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูวิรูปักขะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูเอราปถะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูฉัพยาปุตตะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูกัณหาโคตมะ"

    และกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
    "ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ที่ไม่มีเท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ ๒ เท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ ๔ เท้า ขอไมตรีจิตของเรา จงมีกับสัตว์ที่มีเท้ามาก"



    พระโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงธรรมด้วยการขอร้อง ได้กล่าวคาถาว่า
    "ขอสัตว์ที่ไม่มีเท้า สัตว์ที่มี ๒ เท้า สัตว์ที่มี ๔ เท้า สัตว์ที่มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเราเลย"



    เมื่อจะแสดงการเจริญเมตตาโดยไม่เจาะจงได้กล่าวคาถาว่า
    "ทั้งมวลจงพบกับความเจริญ ความชั่วช้าอย่าได้มาแผ้วพานสัตว์ตนใดตนหนึ่งเลย"



    เพื่อระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย จึงพูดว่า
    "พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระคุณหาประมาณมิได้บรรดาสัตว์เลื้อยคลาน คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแกและหนู มีคุณหาประมาณได้"

    เพื่อแสดงกรรมที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ได้กล่าวคาถาว่า

    "เราได้ทำการรักษา ทำการป้องกันไว้แล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายผู้มีชีวิตจงพากันหลีกไป ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์"

    ตั้งแต่นั้นมา คณะฤาษีได้เจริญเมตตารำลึกถึงพระพุทธคุณงูทั้งหลายต่างก็หลบหนีไปอยู่ที่อื่น


    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>แม้อสรพิษก็ไม่เบียดเบียนผู้เจริญเมตตาภาวนา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เต่าชอบโอ้อวด

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุสหายกันสองรูปที่มักเถียงกันว่า ใครรูปหล่อกว่ากัน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นรุกขเทวดาประจำอยู่ต้นไม้ อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา สมัยนั้นมีปลาอยู่ ๒ ตัว ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำคงคา อีกตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำยมุนา ปลาทั้ง ๒ ตัวเมื่อว่ายมาเจอกันที่แม่น้ำทั้ง ๒ สายมาบรรจบกันตรงที่ต้นไม้นั้นอยู่ก็มักจะทุ่มเถียงกันว่าใครงามกว่ากันเสมอ ต่างก็ว่าตัวเองนั้นงามกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ตกลงกันไม่ได้สักที จึงพากันไปหาเต่าตัวหนึ่งเป็นผู้ตัดสินให้ว่าใครงามกว่ากัน

    "ท่านเต่าผู้น่ารัก ขอท่านช่วยตัดสินให้พวกข้าพเจ้าเสียทีว่าใครงามกว่ากัน"

    เต่าตัดสินว่า "ท่านปลาทั้งสอง ท่านที่มีอยู่แม่น้ำคงคาก็งามดีไม่มีที่ติ ท่านที่อยู่แม่น้ำยมุนาก็งามดีไม่มีที่ติ แต่โดยรวมแล้วเรางามกว่าพวกท่านทั้งสองอยู่ดี"

    ปลาทั้ง ๒ ตัวฟังคำตัดสินของเต่าแล้วก็ด่ามันกว่า "เจ้าเต่าชั่ว เจ้าไม่ตอบคำถามของพวกเรากลับตอบไปอย่างอื่น" แล้วก็กล่าวเป็นคาถาว่า

    "ท่านไม่ตอบเรื่องที่เราถาม เราถามอย่างหนึ่ง ท่านกลับตอบเสียงอีกอย่างหนึ่ง คนที่ยกย่องตนอง พวกเราไม่ชอบใจเลย"

    ว่าแล้วปลาทั้ง ๒ ตัวก็พ่นน้ำใส่เต่านั้น เต่ากลับไปที่อยู่ของตนตามเดิม เทวดาโพธิสัตว์เห็นเหตุการณ์นั้นโดยตลอดได้แต่ให้เสียงสาธุการ




    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>ผู้มักโอ้อวดตนเอง ยกตนข่มท่าน มักจะไม่มีเพื่อนและขาดคนเชื่อถือ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การร่วมมือกัน

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระเทวทัตผู้พยายามปลงพระชนม์พระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกวางตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในป่าละเมาะแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากนั้นมีสระน้ำสระหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งอาศัยอยู่ และใกล้ ๆ สระน้ำนั้นมีนกสตปัตตะทำรังอยู่ สัตว์ทั้ง ๓ เป็นเพื่อนรักกันมาก วันหนึ่งกวางออกหากินได้ติดบ่วงนายพรานตอนเที่ยงคืนจึงร้องเรียกให้เพื่อนมาช่วย เต่าและนกสตปัตตะมาเห็นแล่วตกลงกันว่าให้เต่าใช้ปากกัดบ่วงให้ขาดก่อนฟ้าสว่าง ส่วนนกพยายามไม่ให้นายพรานออกจากบ้านก่อนสว่างเช่นกัน เมื่อตกลงกันตามนั้นนกสตปัตตะจึงพูดเตือนเต่าว่า "เต่าเพื่อนรัก ท่านต้องรีบกัดบ่วงให้ขาดเร็ว ๆ นะ เราจักหาวิธีไม่ให้นายพรานมาถึงที่นี่เร็วได้" ว่าแล้วก็บินไป

    ฝ่ายเต่าได้เริ่มแทะเชือกบ่วกนั้นทันที ส่วนนกสตปัตตะได้บินไปจับที่ต้นไม้หน้าบ้านนายพราน พอถึงเวลาตี ๕ นายพรานลุกขึ้นเดินถือหอกออกมาทางประตูหน้าบ้าน นกเห็นเช่นนั้นก็บินโฉบลงไปจิกนายพราน เขาถูกนกจิกไปหลายทีจึงคิดว่าเราถูกนกกาฬกรรณีจิกแล้ว โชคไม่ดีเลยเวลานี้ กลับเข้าไปนอนต่ออีกสักหน่อยดีกว่า"

    เวลาผ่านไปเล็กน้อยนายพรานได้เปลี่ยนไปออกทางประตูหลังบ้าน นกสตปัตตะก็ไปดักที่ประตูหลังบ้านเช่นกัน เขาถูกนกจิกอีกเป็นครั้งที่ ๒ จึงกลับเข้าบ้านไปพร้อมกับบ่นว่า "นกบ้านี่ร้ายจริง ๆ ไว้ให้สว่างก่อนค่อยไปก็ได้วะ"

    พอสว่างแล้ว นายพรานเดินถือหอกออกจากบ้านไป นกสตปัตตะได้บินไปบอกกวางและเต่าล่วงหน้าแล้ว ปรากฏว่าเต่าแทะเชือกบ่วงทั้งคืนจนปากระบมเปื้อนไปด้วยเลือดยังเหลือเชือกเกลียวเดียวก็จะขาด กวางจึงใช้กำลังดิ้นให้เชือกขาดหลุดหนีเข้าป่าไปได้อย่างหวุดหวิด ปล่อยให้เต่านอนหมดแรงอยู่ตรงนั้น นายพรานมาเห็นเฉพาะเต่านอนอยู่จึงใส่กระสอบแขวนเต่าเอาไว้บนกิ่งไม้ กวางได้ปรากฎตัวให้นายพรานเห็นแล้วล่อให้นายพรานวิ่งตามไปจนไกลลิบ แล้ววิ่งย้อนกลับคืนมาช่วยเต่า โดยใช้เขายกกระสอบลงมาแล้วกล่าวขอบคุณเต่าและนกสตปัตตะที่ได้ช่วยเหลือชีวิต และต่างคนต่างแยกย้ายกันหลบซ่อนและหาที่อยู่ใหม่เพื่อความปลอดภัย เต่าได้หนีลงน้ำ กวางหนีเข้าป่าลึก ส่วนนกสตปัตตะไปถึงต้นไม้แล้วก็พาลูก ๆ ไปอยู่ในทีห่างไกล

    นายพรานกลับมาถึงที่นั้นอีกไม่เห็นเต่าในกระสอบ ก็ได้แต่ถือกระสอบขาดกลับบ้านไป สัตว์ทั้ง ๓ ได้เป็นเพื่อนรักกันจนตราบเท่าชีวิต




    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ดินดีเพราะป่าปก ป่ารกเพราะดินดี คบคนไว้มากมายย่อมมีประโยชน์ในยามตกทุกข์ได้ยาก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ลิงเจ้าปัญญา

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ทรงปรารภพระเทวทัต ผู้พยายามปลงพระชนม์พระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...


    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาลิงมีรูปร่างใหญ่โตสวยงาม มีพละกำลังเท่าช้าง อาศัยอยู่ที่ราวป่า คุ้งแม่น้ำแห่งหนึ่ง ในแม่น้ำนั้นมีจระเข้สองผัวเมียอาศัยอยู่ วันหนึ่ง จระเข้ตัวเมียเห็นร่างกายของพญาลิงแล้วเกิดแพ้ท้องอยากกินหัวใจลิงตัวนั้น

    "พี่ช่วยนำมันมาให้น้องหน่อยนะจ๊ะ"

    สามีพูดว่า "น้องจ๋าเราเป็นสัตว์ในน้ำ ลิงเป็นสัตว์บนบก พี่จะจับลิงได้อย่างไรละจ๊ะ"

    เมียพูดด้วยความน้อยในว่า "พี่ต้องหาวิธีจับมันมาให้ได้ มิเช่นนั้นน้องขอตายดีกว่า"

    สามีจึงพูดปลอบใจว่า "น้องจ๋า อย่างเพิ่งตายเลยจ๊ะ พี่จะไปจับมันมาเดี๋ยวนี้ละจ๊ะ"

    ว่าแล้วก็ไปหาพญาลิงที่กำลังลงมาดื่มน้ำที่ฝั่งพอดี ร้องถามขึ้นว่า "ท่านลิง ท่านกินแต่กล้วยที่ฝั่งนี้ไม่เบื่อรึไง ไม่คิดอยากจะข้ามไปกินผลไม้ฝั่งโน้นบ้างหรือ"

    ลิงตอบว่า "ท่านจระเข้ แม่น้ำนี้กว้างใหญ่ไพศาล เราจะข้ามไปได้อย่างไร"
    จระเข้ ได้ทีจึงเสนอตัวว่า "ถ้าท่านจะไปจริง ๆ ก็ขึ้นบนหลังของเราไปก็ได้ เราอาสาจะไปส่ง"

    ลิงเชื่อคำพูดของมันจึงได้กระโดดขึ้นบนหลังจระเข้ไป

    จระเข้พอพาลิงไปถึงกลางแม่น้ำก็มุดลงดำน้ำ ลิงร้องถามว่า "ท่านแกล้งเรา จะให้เราจมน้ำตายรึไง"

    จระเข้ตอบว่า "เรามิได้คิดอาสาจะพาท่านไปฝั่งโน้นจริง ๆ หรอก เมียเราแพ้ท้องอยากกินหัวใจท่าน เราจะพาท่านไปให้เมียเรากินต่างหาก"

    ลิงพูดขึ้นด้วยเล่ห์ว่า "เพื่อนเอ๋ย ท่านบอกมาก็ดีแล้ว หากหัวใจอยู่ในท้องเราเมื่อกระโดดไปมาบนต้นไม้ หัวใจเราก็แหลกหมดนะสิ หัวใจไม่ได้อยู่กับเรา"
    จระเข้หลงกลถามไปว่า "แล้วท่านเอาหัวใจไปไว้ที่ไหนละ"

    ลิงจึงชี้ไปที่ต้นมะเดื่อต้นหนึ่งที่ไม่ไกลนักมีผลสุกเป็นพวงอยู่ พร้อมกับพูดว่า "นั่นไง หัวใจของเราแขวนอยู่ที่ต้นมะเดื่อนั่นไง"

    จระเข้พูดว่า "หากท่านให้หัวใจแก่เรา เราจะไม่ฆ่าท่าน"

    ลิงพูดว่า "ถ้าเช่นนั้นท่านพาเราไปที่นั้นสิ เราจะให้หัวใจแก่ท่าน"

    จระเข้จึงพาลิงไปส่งที่ต้นมะเดื่อนั้น ลิงกระโดดขึ้นต้นมะเดื่อไปแล้ว พร้อมกับพูดว่า

    "เจ้าจระเข้หน้าโง่ หัวใจสัตว์ตัวไหนจะอยู่บนยอดไม้ เจ้าใหญ่แต่ตัวเสียเปล่า หามีปัญญาไม่" แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

    "เราไม่ต้องการด้วยผลมะม่วง ผลหว้า และผลขนุนที่ท่านเห็นฝั่งสมุทรโน้น ผลมะเดื่อของเราต้นนี้ดีกว่าร่างกายของท่านใหญ่โตเสียเปล่าแต่ปัญญาไม่สมกับร่างกายเลย จระเข้..ถูกเราลวงแล้วนัดนี้เจ้าจงไปตามสบายเถิด"

    จระเข้พอทราบว่าหลงกลลิงแล้วก็เป็นทุกข์เสียใจซึมเซาเหมือนกับเสียพนัน มุดกลับยังถิ่นที่อยู่ของตนตามเดิม


    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด รู้จักใช้ปัญญาเอาชีวิตรอดมาได้เป็นยอดดี</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นกหัวขวานตายเพราะไม้แก่น

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระเทวทัตผู้เลียนแบบอย่างพระองค์แล้วถึงความพินาศ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกหัวขวานชื่อขทิรวนิยะ เที่ยวหากินอาหารอยู่ในป่าไม้ตะเคียนแห่งหนึ่ง มีเพื่อนนกหัวขวานตัวหนึ่งชื่อกันทคลกะ เที่ยวหากินอาหารอยู่ในป่าไม้ทองหลางแห่งหนึ่ง

    ในวันหนึ่ง นกกันทคลกะมาหานกขทิรวนิยะที่ป่าไม้ตะเคียน นกขทิรวนิยะดีใจที่เพื่อนมาเยี่ยมจึงพาเพื่อนไปที่ต้นตะเคียนต้นหนึ่ง ใช้จะงอยปากเคาะต้นตะเคียนคาบตัวหนอนให้พื่อนกินอย่างอร่อย หกกันทคลกะเห็นเพื่อนส่งอาหารมาให้กิน ก็คิดอยากจะลองหากินแบบเพื่อนดูบ้างจึงพูดขึ้นว่า

    "สหาย อย่าได้ลำบากเลย เราจะหากินในป่าตะเรียนด้วยตัวของเราเอง"

    นกขทิรวนิยะพูดห้ามว่า "สหาย ท่านเคยหากินอยู่แต่ในเขตป่าไม้ไม่มีแก่น ไม้ตะเคียนเป็นไม้มีแก่น ท่านจะไหวหรือ ?"

    นกกันทคลกะพูดว่า "เราก็นกหัวขวานเหมือนกันกับท่านนี่"

    ว่าแล้วก็ผลุนผันไปเอาจะงอยปากเคาะต้นตะเคียนต้นหนึ่งสุดแรงเกิด ดัง "ป๊อก ๆ ๆ" ทันใดนั่นเองจะงอยปากของมันได้หักทันทีตาทะลักออก หัวแตกตกจากต้นไม้ลงพื้นดิน นอนดิ้นไปมาได้ร้องถามก่อนสิ้นใจว่า

    "สหาย ต้นไม้ที่มีใบละเอียด มีหนามนี้เป็นต้นอะไร เราเจาะเพียงครั้งเดียว ทำให้สมองไหลหัวแตกเสียแล้ว

    นกขิทรวนิยะได้ร้องตอบเป็นคาถาว่า

    "นกกันทคลกะ เมื่อเจาะหมู่ไม้ในป่าได้เคยเที่ยวเจาะแต่ไม้แห้งที่ไม่มีแก่น ภายหลังมาพบต้นตะเคียนซึ่งมีแก่นโดยธรรมชาติ ได้ทำลายกระหม่อมที่ต้นตะเคียนนั้นแล้ว"



    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>อย่าอวดเก่งในสิ่งที่ตนเองไม่ชำนาญ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เต่าตายเพราะปาก

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วันเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภพระโกกาลิกะผู้เดือดร้อนเพราะปาก ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอำมาตย์ผู้สอนธรรมแก่พระเจ้าพรหมทัตผู้ครองเมืองพาราณสี โดยปกติพระราชาเป็นคนพูดมาก อำมาตย์พยายามหาอุบายกล่าวตักเตือนพระองค์อยู่แต่ก็ยังหาไม่ได้ สมัยนั้นที่สระแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์มีเต่าตัวหนึ่งอาศัยอยู่ มันเป็นเพื่อนกันกับลูกหงส์ ๒ ตัว
    วันหนึ่ง ลูกหงส์ได้มาเยี่ยมเต่าและชักชวนมันไปเที่ยวที่ถ้ำทองด้วย โดยให้เต่าคาบไม้ตรงกลางแล้วหงส์จะคาบปลายทั้งสองข้างบินไป ก่อนไปได้ตกลงกับเต่าว่า "สหาย ท่านต้องอดทนไม่พูดอะไรกับใครจนกว่าจะถึงถ้ำของเรานะ มิเช่นนั้นท่านจะร่วงลงพื้นดินแน่ๆ จะหาว่าเราไม่เตือน" เต่ารับคำอย่างมั่นเหมาะพอหงส์บินผ่านเมืองพาราณสี เด้กชาวบ้านได้พากันชี้และตะโกนว่า "เฮ้ ๆ พวกเรามาดูหงส์หามเต่า เร็ว ๆ" เต่าได้ฟังเช่นนั้นโกรธจึงปล่อยไม่เอ่ยปากว่า "เจ้าเด็กร้าย เราต่างหากหามหงส์ไป" มันได้ร่วงตกลงไปตายที่ท้องพระลานหลวง

    ขณะนั้นอำมาตย์กำลังเข้าเฝ้าพระราชาอยู่พอดี พอมีเสียงคนว่า "มีเต่าตกจากอากาศมาตายตัวหนึ่ง"เท่านั้น พร้อมด้วยพระราชาได้ไปที่นั้น พระราชาตรัสถามถึงสาเหตุที่เต่าตกลงมาตายอำมาตย์โพธิสัตว์ได้โอกาสจึงให้โอวาทพระราชาเป็นคาถาว่า

    "เต่าพออ้าปากจะพูด ได้ฆ่าตนเองแล้วหนอ เมื่อคาบท่อนไม้อยู่ดีแล้ว กลับฆ่าตนเองเสียด้วยคำพูดของตนเองนั่นแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐในหมู่วีรชน บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เห็นเหตุวันนี้แล้วควรพูดให้ดี ไม่ควรพูดให้เกินเวลา ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรเต่าผู้ถึงความพินาศเพราะพูดมาก"


    พระราชาทราบว่าอำมาตย์พูดถึงพระองค์จึงตรัสถามว่า "ที่ท่านพูดหมายถึงเราใช่ไหม ?" อำมาตย์โพธิสัตว์จึงกราบทูลว่า"มหาราชเจ้า..ไม่ว่าพระองค์หรือใครคนไหนๆ เมื่อพูดเกินประมาณย่อมถึงความพินาศกันทั้งนั้น" ตั้งแต่วันนั้นมา พระราชาได้ทรงตรัสแต่น้อยลง




    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>ควรพูดให้ถูกกาละเทศะและพูดแต่คำที่เป็นประโยชน์เท่านั้น อย่างเป็นคนพูดมาก เข้าทำนองน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คดีหนูกินผาลเหล็ก

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภพ่อค้าโกงชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดีประจำราชสำนักในเมืองพาราณสี สมัยนั้นมีพ่อค้า ๒ คนคือพ่อค้าบ้านนอกกับพ่อค้าชาวเมืองเป็นเพื่อนสนิทกัน วันหนึ่ง พ่อค้าบ้านนอกได้ฝากผาลไถเหล็กประมาณ ๕๐๐ อันไว้กับพ่อค้าชาวเมือง เมื่อถึงฤดูทำนาแล้วจะมารับคืน

    พ่อค้าชาวเมืองคิดไม่ซื่อได้ขายผาลเหล็กทั้งหมดไปนำเงินมาใช้แล้วเอาขี้หนูมาโรยไว้บริเวณเก็บผาลเหล็กนั้น เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือนถึงฤดูทำนาพ่อค้าบ้านนอกมาขอรับผาลเหล็กคืน เขาจึงพูดด้วยเสียงละห้อยว่า " เพื่อนเอ๋ย เราเสียใจจริงๆ ผาลเหล็กของท่านถูกหนูกินหมดแล้ว ทิ้งแต่ขี้หนูไว้เป็นอนุสรณ์เท่านั้น แล้วเราจะทำอย่างไรละทีนี้ นั่นเห็นไหม " พร้อมกับชี้ให้ดูขี้หนู
    พ่อค้าบ้านนอกคิดไม่ถึงว่าจะถูกเพื่อนโกงซึ่ง ๆ หน้า จึงคิดหาวิธีแก้เผ็ดคืนได้อย่างหนึ่ง ในเย็นของวันนั้นได้อาสาพาลูกชายของพ่อค้าชาวเมืองนั้นไปอาบน้ำที่ท่าน้ำ อาบน้ำเสร็จแล้วขากลับก็ได้แวะที่บ้านเพื่อนคนหนึ่งพร้อมกับมอบเด็กฝากไว้กับเพื่อนคนนั้น พูดกำชับว่า

    " ท่านอย่าให้ใครเห็นเด็กคนนี้นะ ใครจะมาขอรับคืนก็อย่าให้ไปเด็ดขาด นอกจากเราคนเดียวเท่านั้น "

    ว่าแล้วก็กลับไปบ้านพ่อค้าชาวเมืองพร้อมกับคร่ำครวญให้เขาฟังว่า

    " เพื่อนเอ๋ย…เราขอแสดงความเสียใจต่อท่านจริงๆ ลูกชายของท่านนะสิ ขณะที่เราลงเล่นน้ำในแม่น้ำ เขานั่งอยู่ริมฝั่งน้ำ ถูกเหยี่ยวตัวหนึ่งโฉบเอาไปกินเสียแล้ว สุดปัญญาที่เราจะช่วยได้จริงๆละเพื่อน ทีนี้จะทำอย่างไรดีละ

    " พ่อค้าชาวเมืองไม่เชื่อว่าเด็กที่โตขนาดนี้แล้วจะถูกเหยี่ยวโฉบเอาไปได้ ด้วยความโกรธจึงชี้หน้าพ่อค้าบ้านนอกพร้อมกับพูดว่า

    " อ้ายโจรชั่ว…เจ้าต้องติดคุกแน่นอน เราจะไปแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้า "
    ว่าแล้วก็ไปแจ้งความ พ่อค้าบ้านนอกก็พูดตอบว่า

    " เชิญตามสบายเลยเพื่อน จะเอาอย่างนั้นก็ได้ " แล้วก็เดินตามหลังเขาไป

    ที่ศาล พ่อค้าชาวเมืองแจ้งความกับอำมาตย์โพธิสัตว์ว่า

    " นายท่าน พ่อค้าคนนี้นำลูกชายของผมไปอาบน้ำที่ท่าน้ำด้วย แต่เมื่อกลับถึงบ้าน กลับบอกผมว่าลูกชายผมถูกเหยี่ยวโฉบไปกินเสียแล้ว มันจะเป็นไปได้อย่างไร เด็กโตขนาดนี้แล้ว มันต้องฆ่าลูกชายผมแน่เลย "

    อำมาตย์จึงถามพ่อค้าบ้านนอกว่า

    " จริงหรือไม่ ที่ท่านนำเด็กไปอาบน้ำแล้วถูกเหยี่ยวโฉบเอาไปนะ "

    เขาตอบว่า

    " เป็นความจริงครับท่าน "

    อำมาตย์ถามว่า

    " ไม่น่าเชื่อที่เหยี่ยวจะโฉบเอาเด็กที่โตขนาดนี้ไปได้ "

    เขาก็เรียนให้ทราบว่า "นายท่าน…ถ้าเหยี่ยวไม่สามารถนำเด็กที่โตขนาดนี้บินไปได้ แล้วหนูจะสามารถกินผาลเหล็กไปได้อย่างไร "

    พระโพธิสัตว์จึงถามว่า

    " นี่พ่อคุณ..มันเรื่องอะไรกันแน่ "

    พ่อค้าบ้านนอกจึงเรียนให้ทราบว่า " นายท่าน…ผมได้ฝากผาลเหล็กจำนวน ๕๐๐ อันไว้ที่บ้านพ่อค้าคนนี้ วันนี้ผมมาขอรับคืน เขาบอกว่าหนูได้กินผาลเหล็กไปหมดแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าหนูกินผาลเหล็กได้ เหยี่ยวก็สามารถนำเด็กไปได้เช่นกันละขอรับ ถ้าหนูกินผาลเหล็กไม่ได้ เหยี่ยวก็ไม่สามารถนำเด็กไปได้ละขอรับ ขอท่านจงตัดสินคดีด้วยเถิด "

    อำมาตย์โพธิสัตว์พอทราบว่าพ่อค้าคนนี้กำลังแก้ลำพ่อค้าคนโกง จึงกล่าวชมเชยเป็นคาถาว่า

    " ท่านได้คิดอุบายตอบอุบายดีแล้ว ได้คิดโกงตอบผู้โกงท่านดีแล้ว
    ถ้าหนูทั้งหลายพึงกินผาลได้ เหตุไฉนเหยี่ยวทั้งหลายจะเฉี่ยวเด็กไปไม่ได้เล่า
    บุคคลที่โกงตอบคนโกงมีอยู่มากในโลก ผู้ที่ล่อล่วงตอบคนล่อลวงก็มีอยู่เหมือนกัน ท่านผู้มีบุตรหายจงให้ผาลแก่เขาเถิด ท่านผู้มีผาลหายก็คืนบุตรมาให้เขาเถิด "

    พ่อค้าบ้านนอกพูดว่า " ถ้าเขาคืนผาลเหล็กแก่ผม ผมก็จะคืนลูกชายแก่เขาเหมือนกันละขอรับ "

    อำมาตย์จึงถามพ่อค้าชาวเมืองว่าจะคืนผาลเหล็กแก่เขาไหม พ่อค้าชาวเมืองยินยอมตามนั้น คนทั้งสองจึงคืนผาลเหล็กและลูกชายแก่กัน ต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันไปตามยถากรรม



    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>เพื่อนที่ดีย่อมซื่อสัตย์ต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ลิงติเตียนมนุษย์

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันเพราะอำนาจกิเลสรูปหนึ่ง ตรัสให้โอวาทว่า " ภิกษุ ธรรมดากิเลสแม้สัตว์เดรัจฉานก็ติเตียน เธอบวชในศาสนานี้แล้วเหตุไฉนจึงกระสันด้วยอำนาจกิเลสที่แม้สัตว์ก็ติเตียนเล่า " แล้วได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลิงอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่ง ถูกพรานป่าจับได้แล้วนำไปถวายพระเจ้าเมืองพาราณสี พระราชามิได้สั่งทำร้ายมันกลับสั่งให้เลี้ยงมันอย่างดี ลิงนั้นอยู่ในพระราชวังหลายปีเห็นพฤติกรรมของมนุษย์มากมาย กลายเป็นสัตว์เชื่องเรียบร้อยมิได้ดุร้าย พระราชาทรงพอพระทัยและมีเมตตาต่อมันมากจึงโปรดให้นายพรานนำกลับไปปล่อยยังป่าหิมพานต์เหมือนเดิม

    ฝูงลิงเมื่อทราบว่าลิงโพธิสัตว์กลับมาแล้ว จึงประชุมกันที่ลานหินแห่งหนึ่งพร้อมกับต้อนรับและถามข่าวซักไซ้ไล่เลียงว่า " เจ้าเพื่อนยาก ท่านหายไปไหนมาเป็นเวลานาน " ลิงโพธิสัตว์ตอบว่า " เราไปอยู่ที่เมืองพาราณสีมานะสิ " " แล้วท่านออกมาได้อย่างไรละ " ฝูงลิงถามต่อ " พระราชาเลี้ยงเราไว้ดูเล่น แล้วก็ปล่อยมานี่แหละ " มันตอบ

    ฝูงลิงถามต่อว่า " ท่านอยู่กับมนุษย์มานาน คงพอจะทราบพฤติกรรมหรือนิสัยของมนุษย์กระมัง ลองเล่าสู่พวกเราฟังสิว่าเป็นอย่างไร "

    ลิงโพธิสัตว์ " พวกท่านอย่าถามเลย เราไม่อยากจะเล่า "

    ฝูงลิง " เล่ามาเถิด พวกเราอยากจะฟัง "

    ลิงโพธิสัตว์ทนการอ้อนวอนไม่ไหวจึงพูดว่า " ท่านทั้งหลายเอ๋ย ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ จะเป็นกษัตริย์ เศรษฐีหรือยาจก ล้วนแต่พูดคำเดียวกันว่า ของเรา ของเรา ไม่รู้ถึงความไม่เที่ยง ความไม่มีอยู่เลย มีแต่คนพาลละเพื่อนเอ๋ย " ว่าแล้วก็กล่าวติเตียนมนุษย์เป็นคาถาว่า

    " มนุษย์ทั้งหลายผู้มีปัญญาเขลา ไม่เห็นอริยธรรม
    พูดกันแต่ว่า เงินของเรา ทองของเรา ทั้งคืนทั้งวัน
    ในเรือนหลังหนึ่ง มีเจ้าเรือนอยู่ ๒ คน ใน ๒ คนนั้น คนหนึ่ง ไม่มีหนวด
    นมยาน เกล้าผมมวย และเจาะหู ถูกซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นจำนวนมาก
    ชายเจ้าของเรือนนั้น พูดเสียดแทงคนนั้นตั้งแต่วันที่มาถึง "

    พวกลิงได้ฟังลิงโพธิสัตว์กล่าวติเตียนชาวมนุษย์อย่างนี้ก็ทนฟังไม่ได้ พากันเอามือปิดหูแล้วพูดว่า " พอละ..พอละ..ท่านหยุดพูดได้แล้ว พวกเราไม่อยากฟังสิ่งที่ไม่ควรจะฟัง " ว่าแล้วก็พากันวิ่งหนีเข้าป่าไป




    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>แม้แต่สัตว์เดรัจฉานยังไม่อยากจะฟังสิ่งที่ไร้สาระและกิเลสตัณหาของชาวมนุษย์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ลิงสองพี่น้อง

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวันเมืองราชคฤห์ ทรงปรารภพระเทวทัตผู้ชั่วช้า ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลิงชื่อนันทิยะอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ มีลิงน้องชายชื่อจุลลนันทิยะ มีลิงบริวารอยู่ประมาณ ๘๔,๐๐๐ ตัว ปรนนิบัติลิงมารดาตาบอดอยู่ ด้วยภารกิจต้องดูแลเลี้ยงดูลิงลูกน้อง ลิงสองพี่น้องจึงต้องแอบซ่อนมารดาไว้ที่พุ่มไม้แห่งหนึ่ง แล้วพวกตนก็ออกแสวงหาอาหาร พอได้อาหารก็จะมอบให้ลิงตัวหนึ่งนำไปมอบให้มารดาของตน แต่ลิงตัวนั้นก็ได้กินอาหารไปเสียในระหว่างทาง เวลาผ่านไปหลายวันลิงมารดาไม่ได้กินอาหารจึงมีร่างกายซูบผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก เมื่อลิงทั้งสองกลับมาหามารดาในวันหนึ่งก็ต้องตกใจถามมารดาว่า " แม่จ๋า ลูกส่งผลไม้อร่อยมาให้แม่ไม่ได้กินหรือ" แม่ตอบว่า " ลูกเอ๋ย แม่ไม่เคยได้รับอะไรเลย " ลิงนันทิยะคิดว่า " ถ้าเราปกครองฝูงลิงอยู่เช่นนี้ แม่เราต้องตายแน่ " จึงพูดกับลิงจุลลนันทิยะว่า " นี่น้องชาย พี่จะมอบให้เจ้าปกครองฝูงลิงเจ้าจะว่าอย่างไร พี่จะขออยู่เลี้ยงแม่เอง" ลิงจุลลนันทิยะตอบว่า " พี่ชาย ผมก็ไม่อยากปกครองฝูงลิง จะขออยู่เลี้ยงแม่เช่นกัน" ทั้งสองจึงพามารดาหนีไปอยู่ที่ต้นไทรใกล้ชายป่าต้นหนึ่งตั้งแต่วันนั้น

    สมัยนั้น มีชายหนุ่มคนหนึ่ง เรียนจบศิลปะทุกอย่างจากสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมือง ตักกสิลาแล้วจึงอำลาอาจารย์กลับบ้าน อาจารย์ทราบว่าเขามีนิสัยหยาบกระด้างจึงให้โอวาทเขาว่า " นี่พ่อหนุ่ม เธอนะเป็นคนค่อนข้างกระด้างนะ อย่าทำกรรมชั่วนะ แล้วจะไม่เดือดร้อน "

    ชายหนุ่มกราบลาอาจารย์แล้วกลับบ้านที่เมืองพาราณสี ไม่นานก็แต่งงานมีครอบครัวคิดไม่ออกว่าจะเลี้ยงชีพด้วยอะไรดีจึงตกลงใจเป็นนายพรานธนูล่าสัตว์เลี้ยงชีพ ขายบ้าง กินเองบ้าง ได้พอเลี้ยงครอบครัว วันหนึ่งเขาเข้าป่าหาล่าสัตว์ตามปกติ ปรากฏว่าทั้งวันไม่พบสัตว์อะไรสักตัวเดียว กำลังจะเดินทางกลับบ้าน ผ่านมาทางต้นไทรพอดีเห็นลิงชราตาบอดบนต้นไทรนั้นก็ตัดสินใจจะฆ่ามัน

    ลิงนันทิยะเห็นนายพรานนั้นกำลังเล็งลูกธนูมาทางมารดาของตนก็ทราบถึงภัยอันตรายรีบบอกลิงจุลลนันทิยะให้อยู่ดูแลแม่ ตนเองจะสละชีพเพื่อทุกคนจึงกระโดดลงไปขวางทางธนูพร้อมพูดกับนายพรานว่า " ท่านผู้เจริญ ขอท่านอย่าได้ฆ่ามารดาของข้าพเจ้าเลย จงฆ่าข้าพเจ้าแทนเถิด ปล่อยมารดาข้าพเจ้าไปเสีย มารดาของข้าพเจ้าตาบอด"

    นายพรานไม่พูดอะไร ยิงธนูบักอกลิงนันทิยะทันที เสร็จแล้วก็เล็งลูกธนูไปที่ลิงชราอีก ลิงจุลลนันทิยะจึงกระโดดลงมาขวางทางพร้อมกับพูดว่า " ท่านผู้เจริญ ท่านอย่ายิงมารดาของข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้าขอสละร่างกายให้ท่านแทนมารดา ท่านยิงเราสองพี่น้องแล้วก็จงไว้ชีวิตมารดาของเราเถิด"

    นายพรานไม่พูดอะไรได้ยิงลิงจุลลนันทิยะตายอีก และคิดว่า " เราจะเอาไปเผื่อเด็กๆที่บ้านด้วย " จึงยิงลิงมารดาของลิงทั้งสองนั้นอีก เสร็จแล้วก็หาบลิง ๓ ตัวมุ่งหน้าตรงกลับไปบ้าน ขณะนั้น ได้เกิดสายฟ้าผ่าไปที่บ้านของนายพรานนั้น ทำให้ภรรยาและลูกสองคนของเขาเสียชีวิต บ้านก็ถูกไฟไหม้เหลือเพียงเสากับขื่อเท่านั้น พอนายพรานกำลังจะเข้าถึงหมู่บ้าน ชาวบ้านก็บอกเรื่องนั้นให้เขาทราบ เขารีบวางหาบลิงทิ้งไว้แล้ววิ่งเข้าไปที่บ้านร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ทันใดนั้นเองขื่อได้หักมาทับหัวของเขาแตก แผ่นดินได้แยกออกสูบร่างเขาลงไปตกในอเวจีนรกในขณะที่แผ่นดินสูบเขาได้ระลึกถึงโอวาทของอาจารย์จึงกล่าวเป็น ๒ คาถาว่า

    " อาจารย์ปาราสริยะได้กล่าวคำใดไว้ว่า ท่านอย่าได้กระทำกรรมชั่ว
    อันจะทำตัวท่านให้เดือดร้อนในภายหลังนะ คำนี้เป็นคำของท่านอาจารย์.คนทำกรรมใดไว้ย่อมเห็นกรรมนั้นในตน
    ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น "





    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>


    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>* เรื่องที่ ๒ ในกาสาวรรค หน้า ๓๘๙ -๓๙๔ พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๓


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัยรุ่นวุ่นรัก

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภลูกสาวเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่งที่หอบผ้าหนีตามชายค่อมไป ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...


    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นเศรษฐี มีลูกสาวกำลังเป็นวัยรุ่นอยู่คนหนึ่ง นางเห็นเครื่องสักการะที่เขาจัดทำให้โคอุสภราช(หัวหน้าโค)ในบ้านของตนแล้วถามพี่เลี้ยงว่า

    "พี่..โคตัวนี้เป็นอะไร เขาถึงประดับถึงเพียงนี้ "
    พี่เลี้ยงตอบว่า " นายหญิง..เขาเรียกโคอุสภราชจ้า"

    นางคิดว่า "โคที่ได้รับยกย่องว่าเป็นใหญ่ จะมีโหนกที่หลัง ถ้าเช่นนั้นชายผู้เป็นใหญ่ ก็คงจะมีโหนกขึ้นกลางหลังเช่นกัน"

    วันหนึ่งเมื่อเห็นชายหลังค่อมคนหนึ่งระหว่างทางจึงเข้าใจว่า "ชายคนนี้เป็นบุรุษอุสภราช เราควรจะเป็นภรรยาของเขา" จึงใช้พี่เลี้ยงไปบอกเขาให้ไปรออยู่ปากทางลูกสาวเศรษฐีจะไปด้วย นางได้ห่อสิ่งของมีค่าหนีตามชายค่อมนั้นไป

    เศรษฐีพอทราบว่าลูกสาวหนีตามชายค่อมไป ก็ออกติดตามเพื่อนำกลับมาบ้าน ฝ่ายลูกสาวเศรษฐีกับชายค่อมเดินทางกันทั้งคืนไม่ได้พักผ่อน ชายค่อมถูกความหนาวเหน็บตลอดคืนรุ่งแจ้งโรคเก่าได้กำเริบขึ้น เดินต่อไปไม่ได้ จึงแวะลงข้างทางนอนขดตัวอยู่ เศรษฐีและคณะตามมาทันเห็นลูกสาวนั่งอยู่ข้างๆชายค่อมนั้น จึงเข้าไปสนทนาด้วยและพูดว่า

    " ลูกรัก เรื่องนี้เจ้าคิดคนเดียวไม่ได้นะ ชายค่อมผู้โง่เขลานี้จะนำทางเป็นที่พึ่งของเจ้าไม่ได้แน่ ลูกรัก เจ้าไม่สมควรจะไปกับชายค่อมผู้นี้ดอกนะ"
    ลูกสาวตอบเป็นคาถาว่า

    " ลูกเข้าใจว่าชายค่อมเป็นคนองอาจ จึงได้รักใคร่เขา
    เขานอนตัวคดอยู่อย่างนี้ ดุจคันพิณที่สายขาด "


    เศรษฐีได้นำลูกสาวกลับคืนบ้านของตน และให้แต่งงานกับลูกชายเศรษฐีชาวเมืองในเวลาต่อมา




    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>วัยรุ่นปัจจุบันมักจะทำตามใจตนเอง ควรถือนิทานเรื่องนี้เป็นตัวอย่าง
    ลูกที่ดีควรยึดถือคำพูดของพ่อแม่เป็นเกณฑ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    * เรื่องที่ ๒ ในอุปาหนวรรค หน้า ๔๓๖ -๔๓๙ พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๓
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กบเขียว

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวันเมืองราชคฤห์ ทรงปรารภพระเจ้าอชาตศัตรูผู้หลานทำสงครามกับพระเจ้าโกศลผู้ปู่ต่างพลัดกันแพ้ชนะอยู่ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกบเขียวอยู่ในแม่น้ำแห่งหนึ่ง สมัยนั้นชาวบ้านจะดักลอบจับปลาในแม่น้ำ ที่ลอบหลังหนึ่งมีปลาเข้าไปติดอยู่เป็นจำนวนมาก มีงูปลาตัวหนึ่งเห็นปลาติดลอบจำนวนมากคิดจะเข้าไปกินปลาจึงเข้าไปในลอบหลังนั้น ถูกปลารุมกัดจนเลือดนองไปทั่วร่าง ดิ้นรนออกมานอนอยู่บนฝั่งใกล้ ๆ ลอบหลังนั้น

    กบเขียวที่นอนอยู่บนหลังลอบได้เห็นเหตุการณ์นั้นโดยตลอด งูปลาเหลือบไปเห็นกบแล้วถามว่า

    " ท่านกบเขียว ปลาทั้งหลายรุมกัดฉันผู้เข้าไปในลอบ เรื่องนี้ท่านชอบใจหรือไม่ "

    กบเขียวตอบว่า " สหาย ถูกแล้วเราพอใจ เพราะถ้าปลามาถิ่นท่าน ท่านก็ต้องกินปลาเป็นธรรมดา ฝ่ายปลาก็กินท่านผู้มาถิ่นของเขาเช่นกัน การอ่อนข้อให้ผู้อื่นในถิ่นหากินของตนไม่มีดอก " แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

    " บุรุษผู้มีอิสรภาพอยู่เพียงใด ก็ย่ำยีผู้อื่นได้อยู่เพียงนั้น
    คนอื่นมาย่ำยีตนคราวใด คราวนั้น ผู้ที่ถูกย่ำยีก็ย่ำยีตอบบ้าง"

    ฝูงปลาเมื่อได้ฟังกบวินิจฉัยคดีเช่นนี้ ก็กรูกันออกจากลอบกัดงูปลาจนตาย ณ ที่ตรงนั้นเอง แล้วต่างก็หนีไป




    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>ถิ่นใคร ถิ่นมัน อย่าใหญ่ผิดที่แล้วจะถึงความพินาศ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    * เรื่องที่ ๙ ในอุปาหนวรรค หน้า ๔๖๔ -๔๖๗ พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๓
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขอในสิ่งที่ไม่ควรขอ

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่อัคคาฬวเจดีย์เมืองอาฬวี ทรงปรารภกุฏิการสิกขาบทที่ภิกษุชาวเมืองอาฬวีพากันสร้างกุฏิด้วยการเที่ยวขอไม่มีขีดจำกัด เป็นเหตุให้ชาวเมืองอาฬวีเดือดร้อนเห็นพระภิกษุที่ไหนก็กลัวหลบหนีหน้าไปหมด พระองค์จึงตรัสติเตียนพวกภิกษุว่า " ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการขอ อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้พวกนาคในนาคภิภพ ก็ไม่ชอบใจ " แล้วทรงนำอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ในตระกูลมั่งคั่งมีทรัพย์สมบัติมากตระกูลหนึ่ง ท่านมีน้องชายอยู่คนหนึ่งรักกันมาก ต่อมาเมื่อมารดาบิดาเสียชีวิตแล้ว พราหมณ์สองพี่น้องก็พากันสละทรัพย์สมบัติบริจาคทานออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญพรตอยู่ฝั่งแม่น้ำคงคา ฤาษีพี่ชายอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำ ส่วนฤาษีน้องชายอยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ำ

    อยู่มาวันหนึ่ง พญานาคมณิกัฏฐะได้แปลงเพศเป็นชายหนุ่มเที่ยวเล่นไปตามฝั่งแม่น้ำคงคา ผ่านไปถึงอาศรมของฤาษีผู้น้องจึงแวะเข้าไปสนทนาปราศรัยด้วยเกิดความสนิทสนมคุ้นเคยชอบพอกันกับฤาษีผู้น้องนั้น จึงเทียวมาเยี่ยมเยือนทุกวันมิได้เว้น เมื่อสนทนาเสร็จก่อนจะกลับก็จะคืนร่างเป็นพญานาคเอาขนดหางตะหวัดรัดรอบฤาษีแผ่พังพานไว้เหนือหัวด้วยความสิเนหาในฤาษีนั้น นอนพักอยู่หน่อยหนึ่งแล้วค่อยคลายร่างออกไหว้ฤาษีแล้วจึงกลับนาคพิภพ จะเป็นเช่นนี้ประจำ

    ฤาษีนั้นทุกครั้งที่ถูกรัดตัวเกิดความกลัวจึงกินไม่ได้นอนไม่หลับจนร่างกายซูบซีดผ่ายผอมลงทุกวัน วันหนึ่ง ท่านได้แวะไปหาฤาษีพี่ชาย เล่าเรื่องให้ฟังแล้วปรับทุกข์กับพี่ชายว่า " ผมไม่อยากให้พญานาคมาหาผมเลย พี่ช่วยผมหน่อยซิ" พี่ชายถามว่า " พญานาคเวลามา มีเครื่องประดับอะไรไหมละ" " ประดับแก้วมณีมาครับพี่" ท่านตอบพี่ชาย ฤาษีพี่ชายจึงแนะนำว่า " เมื่อพญานาคมาถึงอาศรมของท่าน ยังไม่ทันได้ไหว้ ท่านก็ขอแก้วมณีของมันเลย มันก็จะหนีไป วันที่สองพอมันมาถึงประตูอาศรมเท่านั้น ท่านก็เอ่ยปากขอแก้วมณีของมันอีก พอถึงวันที่สาม ท่านไปยืนดักรอที่ฝั่งแม่น้ำ พอมันโผล่หัวขึ้นจากฝั่งแม่น้ำเท่านั้น ท่านก็เอ่ยปากขอแก้วมณีอีก ทีนี้แหละมันก็จะไม่มารบกวนท่านอีกเลย "

    ฤาษีผู้น้องได้ทำตามนั้น ในวันที่ ๓ พญานาคขณะยืนอยู่ในน้ำเมื่อถูกฤาษีขอแก้วมณีอีก จึงพูดว่า " ท่านฤาษี ข้าวและน้ำอันไพบูลย์ยิ่งมีแก่ข้าพเจ้าก็เพราะแก้วมณีดวงนี้ ข้าพเจ้าจักให้แก้วมณีแก่ท่านได้อย่างไร ท่านก็ยิ่งขอหนักขึ้น ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าจักไม่มาอาศรมของท่านอีกแล้วละ เมื่อท่านขอแก้วมณีดวงนี้ทำให้ข้าพเจ้าหวาดเสียวเหมือนชายหนุ่มถือดาบอันคมกริบ "

    กล่าวจบก็ดำน้ำลงไปนาคพิภพไม่กลับมาที่นั้นอีกเลย


    ฝ่ายฤาษี เมื่อพญานาคไปแล้วไม่มาหาอีกกลับคิดถึง เกิดความเศร้าเสียใจมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม จึงยิ่งซูบผอมลงไปมากกว่าเดิมอีก หลายวันต่อมาฤาษีพี่ชายอยากจะทราบเรื่อง จึงแวะมาที่อาศรมน้องชาย เมื่อเห็นน้องชายแล้วยิ่งตกใจจึงถามถึงสาเหตุ ฤาษีน้องชายจึงตอบเป็นคาถาว่า

    " บุคคลไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา
    อนึ่ง เพราะขอเกินไปย่อมเป็นที่เกลียดชัง
    นาคราชถูกฤาษีขอแก้วมณี จึงไม่หวนกลับมาให้ฤาษีเห็นอีกเลย "


    ฤาษีพี่ชายได้ปลอบน้องชายให้หายเศร้าเสียใจแล้วจึงกลับอาศรมของตน ฤาษีสองพี่น้องบำเพ็ญฌานสมาบัติได้ไปเกิดในพรหมโลกในที่สุด




    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>โดยธรรมชาติของคนและสัตว์ไม่ชอบการขอ ควรขอเท่าที่จำเป็นและขอในสิ่งที่เขาจะสามารถให้ได้เท่านั้น</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    * เรื่องที่ ๓ ในสังกัปปวรรค หน้า ๒๒ - ๒๙ พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๔
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระราชกุมารผู้อัจฉริยะ

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width="75%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภการสรรเสริญปัญญาพระองค์ของพวกภิกษุ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นราชกุมารของพระเจ้าชนสันธะ ผู้ครองเมืองพาราณสี มีหน้าตาสดใสงดงามมากจึงถูกขนานนามว่าอาทาสมุขกุมาร พอมีอายุได้ ๗ ขวบเท่านั้นพระชนกก็สวรรคต พวกอำมาตย์เห็นว่าพระกุมารยังไม่อยู่ในฐานะจะครองเมืองได้ จึงจะทดสอบภูมิปัญญาของพระกุมารดู ในวันหนึ่ง ได้ตกแต่งพระนครใหม่ จัดตั้งสถานวินิจฉัย( ศาล )เสร็จแล้ว ได้มอบให้พระกุมารขึ้นตัดสินคดีความ พอพระกุมารประทับบนบัลลังก์แล้วก็ให้เอาลิงตัวหนึ่งซึ่งสามารถเดิน ๒ เท้าได้แต่งตัวเป็นอาจารย์ผู้รู้วิชาดูที่ แล้วถวายรายงานพระราชกุมารว่า " ขอเดชะ นี่คืออาจารย์ผู้รู้วิชาดูที่ สมัยของพระชนก ขอพระองค์จงสงเคราะห์ชายผู้นี้ แต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาด้วยเถิด"

    พระราชกุมารแลดูผู้นั้นแล้วทราบว่าเป็นลิงมิใช่มนุษย์จึงตรัสว่า

    " สัตว์ตัวนี้ไม่ฉลาดทำบ้านเรือน หลุกหลิก หนังหน้าย่น รู้แต่จะทำลายสิ่งที่เขาทำไว้แล้วเท่านั้น จะให้เป็นที่ปรึกษาไม่ได้ "

    พวกอำมาตย์รับคำแล้วนำลิงนั้นกลับไป อีกสองวันต่อมาก็นำลิงตัวนั้นมาถวายรายงานอีกว่า

    " ขอเดชะ นี่คืออำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดี สมัยพระชนก ขอพระองค์โปรดแต่งตั้งไว้เป็นที่ปรึกษาเถิด "

    พระราชกุมาร แลดูก็ทราบว่ามนุษย์ไม่มีขนมากขนาดนี้ จึงตรัสว่า

    "สัตว์ที่มีความคิด ขนไม่มากขนาดนี้ ลิงตัวนี้ไม่มีความคิด ไม่รู้จักเหตุผล ทำการวินิจฉัยคดีไม่ได้หรอก "

    พวกอำมาตย์รับคำแล้วก็นำลิงนั้นกลับไป อีกสองวันถัดมาก็นำลิงตัวนั้นมาถวายรายงานอีกว่า

    "ขอเดชะ ชายผู้นี้ในสมัยพระชนก ได้บำรุงเลี้ยงบิดามารดาเป็นชายกตัญญู ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์เขาด้วยเถิด "

    พระราชกุมาร แลดูลิงนั้นแล้วตรัสว่า

    " สัตว์เช่นนี้จะเลี้ยงดูบิดามารดาไม่ได้ มีจิตใจกลับกลอก บิดาเราสอนไว้อย่างนี้ "

    พวกอำมาตย์ทราบว่าพระกุมารเป็นบัณฑิตแล้วจึงอภิเษกให้ขึ้นครองราชตั้งแต่บัดนั้น ความอัจฉริยะของพระราชกุมาร ๑๔ เรื่องจึงเกิดขึ้น คือ

    ในสมัยนั้น มีชายแก่คนหนึ่งชื่อคามณิจันท์เคยเป็นทาสรับใช้ของพระเจ้าชนสันธะ เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชนสันธะแล้วได้ปลีกตัวออกไปประกอบอาชีพกสิกรรมอยู่บ้านนอกหมู่บ้านหนึ่ง แต่เขาไม่มีโคทำนา เมื่อฝนตกในฤดูทำนาจึงไปยืมโค ๒ ตัวจากเพื่อนบ้านมาไถนาทั้งวัน ตกเย็นได้นำโคไปคืนเจ้าของที่บ้าน เห็นเจ้าของโคกำลังนั่งกินข้าวอยู่กลางบ้าน เกรงว่าเขาจะชวนกินข้าวด้วย นายคามณิจันท์จึงปล่อยแต่โคเข้าไปในคอก ส่วนตัวเองเดินกลับบ้านไป ตกกลางคืนมีโจรมาลักโคเหล่านั้นไปหมด เจ้าของโคถึงแม้รู้อยู่ว่าโคถูกขโมยไป ก็ไปทวงโคกับนายคามณีจันท์พร้อมกับปรับสินไหมนำไปแจ้งความที่เมืองหลวง

    ในขณะเดินทางไปเมืองหลวง นายคามณิจันท์หิวข้าวจึงขอแวะบ้านเพื่อนที่หมู่บ้านหนึ่งก่อน ปรากฏว่าเพื่อนไม่อยู่บ้าน อยู่แต่ภรรยาที่ท้องได้ ๗ เดือน นางดีใจที่นายคามณิจันท์มาเยี่ยม แต่ข้าวสุกไม่มี จึงต้องขึ้นไปเอาข้าวที่ฉาง นางได้พลัดตกลงมาที่พื้นดินทำให้นางแท้งลูก พอสามีกลับมาถึงบ้านทราบเรื่องจึงตั้งข้อหานายคามณิจันท์ฆ่าลูก ชายทั้ง ๓ คนจึงต้องเดินทางเข้าเมืองหลวงด้วยกัน

    เมื่อเดินทางมาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง คนเลี้ยงม้าคนหนึ่งกำลังต้อนม้าให้กลับบ้าน มีม้าตัวหนึ่งพยศไม่ยอมไป เขาจึงร้องบอกให้นายคามณิจันท์เอาอะไรขวางม้าให้กลับเข้าบ้านที นายคามณิจันท์เอาก้อนหินขว้างไปถูกขาม้าหัก คนเลี้ยงม้าจึงตั้งข้อหาเขาทำให้ขาม้าหัก เป็นเหตุชายทั้ง ๔ คนต้องเดินทางเข้าเมืองหลวงไปด้วยกัน

    ในขณะเดินทาง นายคามณิจันท์คิดน้อยใจอยู่คนเดียวว่า " ช่างโชคร้ายนักเรา เมื่อถึงเมืองหลวง เงินสักบาทจะจ่ายค่าโคก็ไม่มี อีกทั้งค่าลูก ค่าม้า ขอตายเสียดีกว่า " ในระหว่างทางต้องเดินผ่านภูเขามีผาชันลูกหนึ่ง เขาจึงตัดสินใจกระโดดลงในเหวไปตาย แต่บังเอิญมี ๒ พ่อลูกนั่งสานเสื่อลำแพนอยู่ที่เชิงเขานั้น นายคามณิจันท์จึงตกลงไปทับช่างสานผู้พ่อเสียชีวิตส่วนตัวเขารอดชีวิต เป็นเหตุให้ลูกชายช่างสานตั้งข้อหาฆ่าพ่อของเขา ชายทั้ง ๕ คนจึงเดินทางเข้าเมืองหลวงไปด้วยกัน

    ในระหว่างทาง มีทั้งคนและสัตว์ได้ฝากสาส์นกับนายคามณิจันท์ไปถวายพระราชาอีก ๑๐ เรื่อง เมื่อถึงเมืองหลวงแล้ว วันนั้นพระราชกุมารขึ้นประทับบัลลังก์ตัดสินคดีเอง พอเห็นหน้านายคามณิจันท์ก็จำได้ จึงตรัสถามว่า

    " ลุงคามณิจันท์ ท่านไปอยู่ที่ไหนมา "

    นายคามณีจันท์กราบทูลว่า " ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า ข้าพระองค์ไปอยู่บ้านนอกทำกสิกรรมพระเจ้าข้า จึงได้เกิดคดีโคกับท่านนี้ขึ้น"

    พระราชกุมารจึงไตร่สวนจนทราบความแล้วตรัสถามเจ้าของโคว่า " เมื่อโคเข้าบ้าน ท่านเห็นหรือไม่ "

    เจ้าของโคทูลว่า

    " ไม่เห็น พระเจ้าข้า "

    พระองค์จึงตรัสถามย้ำอีกว่า " ไม่เห็นแน่นะ "

    เขาจึงทูลใหม่ว่า " เห็นอยู่พระเจ้าข้า "

    พระองค์จึงตัดสินคดีว่า " ลุงคามณิจันท์ เพราะท่านไม่เอ่ยปากมอบโคแก่เจ้าของ จึงปรับสินไหมท่าน ๒๔ กหาปณะ แต่ชายคนนี้พูดมุสา ทั้งที่เห็นอยู่กลับบอกว่าไม่เห็น ท่านจงควักนัยน์ตาของพวกเขาสองผัวเมียเสีย "

    ชายเจ้าของโครีบกรูเข้าไปหมอบลงแทบเท้านายคามณิจันท์พูดว่า

    " ท่านลุง เงินค่าโคขอยกให้ท่านก็แล้วกัน และเงินเหล่านี้ขอมอบให้ท่านอีก ขออย่าได้ควักนัยน์ตาของพวกข้าพเจ้าเลย " มอบเงินให้แล้วก็กลับบ้านไป

    คดีที่ ๒ พระราชกุมารทราบเรื่องแล้วตรัสถามว่า " เมื่อนายคามณิจันท์ไม่ได้ฆ่าลูกของท่าน ท่านจะทำอย่างไรละ"

    ชายคนนั้นจึงทูลว่า " ข้าพระองค์ต้องการลูกคืนเท่านั้นแหละ พระเจ้าข้า " พระองค์จึงตัดสินคดีว่า "ถ้าเช่นนั้น ลุงคามณิจันท์จงนำภรรยาของเขาไปอยู่ด้วย เมื่อมีลูกแล้วค่อยคืนเขาไปก็แล้วกัน"

    ชายคนนั้นก็หมอบลงแทบเท้าของนายคามณิจันท์อ้อนวอนว่า

    " ท่านลุง…อย่าได้ทำลายครอบครัวผมเลยนะครับ " มอบเงินให้แล้วก็กลับบ้านไป

    คดีที่ ๓ พระราชกุมารทราบเรื่องแล้วตรัสถามว่า

    " ท่านเป็นคนบอกให้นายคามณิจันท์ขว้างม้าใช่หรือไม่ "

    ครั้งแรกเขาบอกปฏิเสธเมื่อพระองค์ตรัสถามเป็นครั้งที่สองจึงทูลความจริง พระองค์จึงตัดสินคดีว่า " ชายคนนี้พูดมุสา ลุงคามณิจันท์จงตัดลิ้นของเขาเสีย แล้วจ่ายค่าขาม้าเขาไป ๑,๐๐๐ กหาปณะ"

    ชายเจ้าของม้าหมอบลงแทบเท้านายคามณิจันณ์ขอชีวิตพร้อมมอบเงินให้แล้วก็กลับบ้านไป

    คดีที่ ๔ เมื่อพระราชกุมารทราบเรื่องแล้วตรัสถามว่า

    " เมื่อเขาตกลงมาทับบิดาของท่านตายโดยไม่เจตนาเช่นนี้ ท่านจะให้ทำอย่างไรละ "

    ลูกชายช่างสานจึงทูลว่า "ข้าพระองค์ขอเพียงบิดาคืนมาเท่านั้น พระเจ้าข้า "

    พระองค์จึงตัดสินคดีว่า " ลุงคามณิจันท์ เมื่อเขาต้องการบิดาของเขาคืน คนตายไปแล้วย่อมฟื้นคืนมาไม่ได้ ท่านจงรับมารดาของเขามาเป็นภรรยาก็แล้วกัน "

    บุตรช่างสานจึงหมอบลงแทบเท้าของนายคามณิจันท์อ้อนวอนว่า

    " ท่านลุง…อย่าได้ทำลายครอบครัวผมเลยนะครับ " มอบเงินให้แล้วก็กลับบ้านไป

    นายคามณิจันท์ชนะคดีความจึงมีความยินดีเบิกบานใจกราบทูลว่า " ขอเดชะ ยังมีสาส์นฝากมาถวายพระองค์อีก ๑๐ เรื่อง พระเจ้าข้า " พระราชกุมารจึงรับสั่งให้บอกสาส์นนั้นมาทีละเรื่อง


    สาส์นที่ ๑ นายบ้านส่วยคนหนึ่งทูลถามว่า " เดิมทีเขาเป็นคนรูปงาม มีทรัพย์สมบัติมาก ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน แต่บัดนี้เป็นคนทุกข์ยาก ซูบผอมเป็นโรค เป็นเพราะเหตุไร พระเจ้าข้า "

    พระราชกุมารตรัสว่า " นายบ้านส่วยคนนั้นเดิมเป็นคนมีศีลธรรม ตัดสินคดีโดยธรรม จึงเป็นที่รักของทุกคน เขาจึงมีทรัพย์สมบัติมาก ต่อมาเขาเห็นแก่สินบน ตัดสินคดีโดยไม่เป็นธรรม จึงเป็นคนทุกข์ยากเข็ญใจ มีโรคภัยเบียดเบียน บอกให้เขากลับมาเป็นคนมีศีลธรรมอีก เขาก็จะเป็นคนมั่งมีเหมือนเดิม "

    สาส์นที่ ๒ หญิงคณิกานางหนึ่งทูลถามว่า " เมื่อก่อนได้ค่าจ้างมาก แต่มาบัดนี้ไม่ได้แม้แต่หมากพลูมวนเดียว ไม่มีใครมาเที่ยวเลยเป็นเพราะเหตุไร "

    พระราชกุมารตรัสว่า " เมื่อก่อนนางรับค่าจ้างจากชายคนหนึ่งแล้วจะไม่รับจากคนอื่นอีก (เป็นไปตามลำดับ) นางจึงมีค่าจ้างมาก บัดนี้นางรับค่าจ้างจากคนแรกแล้วกลับไปนอนกับคนหลัง ค่าจ้างจึงไม่ค่อยจะมี ถ้านางกลับไปปฏิบัติตามเดิมไม่เห็นแก่ได้ นางก็จะเป็นคนมีค่าจ้างเหมือนเดิม "

    สาส์นที่ ๓ หญิงสาวนางหนึ่งทูลถามว่า " นางไม่สามารถอยู่ในบ้านของสามีและบิดามารดาได้ เป็นเพราะเหตุไร "

    พระราชกุมารตรัสว่า " ในระหว่างบ้านของสามีและบิดามารดาของสาวนางนั้น มีบ้านของชายคนรักของเธออยู่หลังหนึ่ง เธอจึงไม่สามารถอยู่ในบ้านสามีได้ บอกสามีว่าจะกลับไปเยี่ยมบิดามารดาก็แอบไปอยู่บ้านชายชู้ ๒-๓ วัน ไปบ้านบิดามารดาก็บอกว่าจะไปบ้านสามี แล้วก็แอบอยู่บ้านชายชู้ ๒-๓ วัน ท่านลุงคามณิจันท์จงบอกให้เธอทราบว่า พระราชกำหนดกฎหมายมีอยู่ ถ้าเธอไม่อยู่ที่บ้านสามีอีกชีวิตเธอก็จะไม่มีเช่นกัน "

    สาส์นที่ ๔ งูตัวหนึ่งอยู่ที่จอมปลวกใกล้ทางใหญ่ทูลถามว่า "ในเวลาออกหากินร่างกายผอมกลับคับปล่องทางออกจะออกจากจอมปลวกยากลำบาก เมื่อกินอิ่มแล้วร่างกายอ้วนพีกลับเข้าปล่องง่าย ร่างกายไม่กระทบแม้กระทั่งข้างปล่องเลย เป็นเพราะเหตุไร "

    พระราชกุมารตรัสว่า " ภายใต้จอมปลวกมีขุมทรัพย์หม้อใหญ่ฝังอยู่ งูนั้นเฝ้าหม้อทรัพย์นั้นอยู่ จึงทำให้ร่างกายหย่อนติดนั่นติดนี่เวลาออกจึงยากลำบาก เมื่อกินอิ่มแล้วไม่ติดขัดรีบเข้าไปโดยเร็วเพราะติดอยู่ในทรัพย์ ท่านลุงคามณิจันท์จงไปขุดเอาทรัพย์นั่นเสียเถอะ "

    สาส์นที่ ๕ เนื้อตัวหนึ่งทูลถามว่า " ข้าพเจ้าไม่อาจไปกินหญ้าที่อื่นได้ กินอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งเดียวเท่านั้น เป็นเพราะเหตุไร "

    พระราชกุมารตรัสว่า "ที่ต้นไม้นั้นมีรวงผึ้งใหญ่ เนื้อตัวนั้นติดอยู่ในหญ้าที่เปื้อนน้ำผึ้ง จึงไม่ไปไหน ท่านลุงคามณิจันท์ จงไปนำน้ำผึ้งนั้นมาให้เรา ที่เหลือยกให้ท่าน"

    สาสน์ที่ ๖ นกกระทาตัวหนึ่งทูลถามว่า " ข้าพเจ้าจับอยู่ที่จอมปลวกเท่านั้นจึงอยู่ได้สบาย อยู่ที่อื่นไม่ได้เลย เป็นเพราะเหตุไร "

    พระราชกุมารตรัสว่า " นกกระทาจับที่จอมปลวกจึงขันอย่างอิ่มเอิบใจ และภายใต้จอมปลวกนั้น มีหม้อขุมทรัพย์ ท่านลุงคามณิจันท์จงไปขุดเอาหม้อขุมทรัพย์นั้นเถิด "

    สาส์นที่ ๗ รุกขเทวดาตนหนึ่งทูลถามว่า " เมื่อก่อนเคยได้ลาภสักการะมาก บัดนี้ไม่ได้แม้แต่ใบไม้อ่อนกำมือหนึ่ง เป็นเพราะเหตุไร "

    พระราชกุมารตรัสว่า " เมื่อก่อนรุกขเทวดานั้น รักษาพวกมนุษย์ผู้เดินทางไปในดง จึงได้เครื่องสักการะที่เขาทำพลีกรรม บัดนี้ไม่ได้รักษา พวกมนุษย์จึงไม่ได้ทำพลีกรรม ถ้ากลับไปรักษาพวกมนุษย์อีก ก็จะได้ลาภสักการะเหมือนเดิม"

    สาส์นที่ ๘ พญานาคตัวหนึ่งทูลถามว่า " เมื่อก่อนน้ำในสระใสสะอาดมีสีเหมือนแก้วมณี บัดนี้กลับขุ่นมัวมีแหนปกคลุม เป็นเพราะเหตุไร"

    พระราชกุมารตรัสว่า " พญานาคทะเลาะกัน น้ำจึงขุ่นมัว ถ้าพญานาคกลับมาสมานสามัคคีกัน น้ำในสระก็จะใสสะอาดเหมือนเดิม"

    สาส์นที่ ๙ พวกดาบสที่อยู่ใกล้เมืองนี้ทูลถามว่า " เมื่อก่อนผลไม้ในอารามอร่อยมาก บัดนี้กลับมาเฝื่อนฝาดไม่อร่อย เป็นเพราะเหตุไร "

    พระราชกุมารตรัสว่า " เมื่อก่อนพวกดาบสพากันปฏิบัติสมณธรรม เป็นผู้ขวานขวายในการบริกรรมกสิณ บัดนี้พากันละทิ้งไม่ปฏิบัติธรรมประกอบในกิจที่ไม่ควรทำ ให้ผลไม้ที่เกิดในอารามแก่พวกโยมอุปัฎฐาก เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เพราะเหตุนี้ผลไม้ของพวกดาบสจึงไม่อร่อย ถ้าพวกดาบสพากันปฏิบัติธรรมเหมือนเดิม ผลไม้ก็จะอร่อยเหมือนเดิม "

    สาส์นที่ ๑๐ พราหมณ์หนุ่มคนหนึ่งที่ศาลาใกล้ประตูเมืองทูลถามว่า " เมื่อก่อนเรียนหนังสือท่องจำได้ดี แต่บัดนี้เรียนเท่าไหร่ก็ไม่จำ เป็นเพราะเหตุไร "

    พระราชกุมารตรัสว่า "เมื่อก่อนมีไก่ขันบอกเวลา พวกพราหมณ์หนุ่มจึงเรียนได้จำดี แต่บัดนี้ไก่ขันไม่เป็นเวลา จึงทำให้พวกเขาเรียนหนังสือไม่ได้ และจำไม่ได้"

    พระราชกุมารครั้นพยากรณ์ปัญหาหมดแล้ว ก็พระราชทานทรัพย์มากมายและบ้านให้นายคามณิจันท์ เขาได้เดินทางกลับไปส่งสาส์นตามที่พระราชาประทานแก่คนเหล่านั้น และทำตามคำแนะนำของพระราชาทุกประการ





    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>แข่งเรือแข่งพายแข่งกันได้ แต่แข่งบุญวาสนาแข่งกันไม่ได้ เป็นเรื่องของบุญกุศลที่เคยทำมาก่อน ใครทำไว้มากย่อมได้มากตามยถากรรม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    * เรื่องที่ ๗ ในสังกัปปวรรค หน้า ๕๑ - ๗๑ พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๔
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ชายจมูกแหว่ง

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width="75%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภพวกภิกษุได้บูชาต้นโพธิ์ด้วยดอกบัวเพราะอาศัยพระอานนทเถระผู้ฉลาดในการกล่าวถ้อยคำ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลูกชายของเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองพาราณสี มีเพื่อนที่เป็นลูกชายเศรษฐีด้วยกันอีก ๒ คน

    ในสมัยนั้นมีชายจมูกแหว่งคนหนึ่งทำหน้าที่ดูแลสระดอกบัวอยู่ชานเมืองพาราณสี วันหนึ่งในเมืองพาราณสีมีมหรสพ ลูกชายเศรษฐีทั้ง ๓ คนได้พากันไปที่สระดอกบัวเพื่อขอดอกบัวประดับกายไปเที่ยวงานมหรสพนั้น


    พอไปถึงสระดอกบัวแล้วลูกชายเศรษฐีคนที่ ๑ ได้พูดขอดอกบัวกับชายจมูกแหว่งว่า

    " พี่ชาย ผมและหนวดที่ตัดแล้วยังงอกขึ้นได้ ขอให้จมูกของท่านงอกขึ้นเช่นกัน ผมขอดอกบัวด้วยครับ " ชายจมูกแหว่งโกรธไม่ชอบใจจึงไม่ให้ดอกบัวแก่เขา

    ต่อจากนั้น ลูกชายเศรษฐีคนที่ ๒ ได้พูดขอดอกบัวว่า
    " พี่ชาย ข้าวที่หว่านในนายังงอกขึ้นได้ ขอให้จมูกท่านงอกได้เช่นกัน ผมขอดอกบัวด้วยครับ " ชายจมูกแหว่งก็ยังโกรธอีกไม่ให้ดอกบัวแก่เขา


    พระโพธิสัตว์จึงพูดขอดอกบัวเป็นคนที่ ๓ ว่า

    " พี่ชาย คนทั้งสองพูดกับท่านเกินความเป็นจริง ถึงยังไงจมูกของท่านก็ไม่มีวันงอกขึ้นมาได้อีก ผมขอดอกบัวด้วยครับ "

    ชายจมูกแหว่งพอใจจึงพูดว่า " สองคนนั้นพูดมุสา ท่านจึงพูดความจริง เราให้ดอกบัวแก่ท่าน " ว่าแล้วก็ยกดอกบัวให้พระโพธิสัตว์ไปกำใหญ่




    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>อย่าพูดอะไรให้เกินความเป็นจริง จะเสียใจภายหลัง โดยไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    * เรื่องที่ ๑ ในปทุมวรรค หน้า ๙๔ - ๙๘ พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๔
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สะใภ้เศรษฐี

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width="75%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภนางสุชาดาน้องสาวของนางวิสาขาซึ่งเป็นลูกสะใภ้ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เรื่องมีอยู่ว่า...

    นางสุชาดาสำคัญตนว่าเป็นลูกสาวของตระกูลใหญ่ จึงไม่ยอมก้มหัวให้กับใคร ๆ ในครอบครัวสามีแม้กระทั่งปู่และย่า เที่ยวดุด่าเฆี่ยนตีทาสรับใช้ในเรือนของสามีอยู่เป็นประจำ ต่อมาวันหนึ่ง พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เข้าไปฉันที่บ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ขณะที่กำลังแสดงธรรมอยู่นั่นเอง ได้ยินเสียงเอะอะโวยวาย จึงตรัสถามท่านเศรษฐี เมื่อเศรษฐีกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว พระองค์จึงรับสั่งให้เรียกนางมาเข้าเฝ้า และตรัสถามนางว่า " สุชาดา ภรรยามี ๗ จำพวก เธอเป็นภรรยาจำพวกไหน " นางสุชาดาไม่ทราบจึงกราบทูลว่า " ข้าพระองค์ไม่ทราบว่าพระองค์ตรัสหมายถึงอะไร โปรดอธิบายด้วยเถิดพระเจ้าข้า "

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสแสดงภรรยา ๗ จำพวกว่า " สุชาดา ภรรยาจำพวกที่ ๑ มีจิตคิดประทุษร้ายสามี มิได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สามี รักใคร่ในชายอื่น ดูหมิ่นล่วงเกินสามี ขวนขวายเพื่อจะฆ่าสามี นี่เรียกว่า วธกาภริยา ภรรยาเสมือนดังเพชฌฆาต

    ภรรยาจำพวกที่ ๒ สามีได้ทรัพย์มามอบให้ภรรยาเก็บรักษาไว้ แต่ภรรยาไม่รู้จักเก็บรักษา ปรารถนาแต่จะใช้ทรัพย์นั้นให้หมดไป นี่เรียกว่า โจรีภริยา ภรรยาเสมือนดังโจร

    ภรรยาจำพวกที่ ๓ เกียจคร้านทำงาน กินจุ มักโกรธ มักดุด่า กดขี่คนใช้ นี่เรียกว่า อัยยาภริยา ภรรยาเสมือนดังเจ้านาย

    ภรรยาจำพวกที่ ๔ โอบอ้อมอารี ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามีเหมือนแม่รักษาลูก รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ นี่เรียกว่า มาตาภริยา ภรรยาเสมือนดังมารดา

    ภรรยาจำพวกที่ ๕ มีความเคารพสามี มีความละอายใจ ทำตามความพอใจสามี คล้ายน้องสาวเคารพพี่ชาย นี่เรียกว่า ภคินีภรรยา ภรรยาเสมือนดังน้องสาว

    ภรรยาจำพวกที่ ๖ เห็นหน้าสามีย่อมร่าเริงยินดี คล้ายกับเพื่อนรักมาเยี่ยมเยือนบ้าน รักษาชื่อเสียงวงศ์ตระกูล มีศีลมีวัตรปฏิบัติต่อสามี นี่เรียกว่า สขีภริยา ภรรยาเสมือนดังเพื่อน

    ภรรยาจำพวกที่ ๗ เป็นคนที่ไม่มีความขึงโกรธ ถึงจะถูกคุกคามก็ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย อดกลั้นต่อสามี เอาใจสามีเก่ง นี่เรียกว่า ทาสีภริยา ภรรยาเสมือนดังทาส

    สุชาดา ภรรยา ๓ จำพวกแรกต้องตกนรก ส่วนภรรยา ๔ จำพวกหลังไปเกิดในเทวโลกชั้นนิมมานรดี ภรรยา ๗ จำพวกนี้ เธอจะเป็นจำพวกไหน "

    เมื่อพระพุทธองค์เทศนาเรื่องภรรยา ๗ จำพวกจบเท่านั้น นางสุชาดาได้เป็นพระโสดาปัตติผลทันที จึงกราบทูลว่า " ข้าพระองค์ขอเป็นทาสีภริยา ภรรยาเสมือนดังทาส พระเจ้าข้า" ถวายบังคมขอขมาพระพุทธเจ้าแล้วก็ไป

    เมื่อกลับถึงวัดเชตวันพวกภิกษุพากันสนทนาถึงนางสุชาดาที่เป็นหญิงสะใภ้ผู้ดุร้าย พอได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์แล้วกลับเป็นหญิงเรียบร้อยไปได้

    พระพุทธเจ้าเพื่อคลายความสงสัยของพวกภิกษุได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพรหมทัต เมืองพาราณสี พอเจริญวัยได้ไปศึกษาศิลปะที่เมืองตักกสิลา เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้วก็ได้ขึ้นครองราชย์สืบมา พระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองโดยธรรม แต่พระมารดาเป็นผู้มักโกรธดุร้าย ชอบด่าข้าทาสบริวารอยู่เสมอ พระองค์คิดหาวิธีจะตักเตือนพระมารดาแต่ก็ยังหาไม่ได้

    วันหนึ่ง พระองค์เสด็จไปสวนหลวงพร้อมด้วยพระมารดา มีบริวารแวดล้อมไปด้วยคณะใหญ่ พวกข้าทาสบริวารพอได้ยินเสียงนกต้อยตีวิดร้องก็พากันปิดหูพร้อมกับบ่นว่า " เจ้านกบ้า เสียงไม่ไพเราะก็ยังร้องอยู่ได้ ไม่อยากฟัง" ลำดับนั้นได้ยินเสียงนกดุเหว่าร้องสำเนียงไพเราะก็พากันชื่นชมว่า " เสียงเจ้าช่างไพเราะจริงๆ ร้องต่อไปเรื่อยๆ อย่าได้หยุดนะ" พระองค์คิดว่าได้โอกาสตักเตือนพระมารดาแล้ว จึงตรัสเป็นพระคาถาว่า


    " ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่สมบูรณ์วรรณะ มีเสียงอันไพเราะ น่ารักน่าชม
    แต่พูดจาหยาบกระด้าง ย่อมไม่เป็นที่รักของใครๆ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
    พระองค์ก็ได้เห็นมิใช่หรือว่า นกดุเหว่าสีดำตัวนี้มีสีไม่สวย ลายพร้อยไปทั้งตัว
    แต่เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายจำนวนมาก เพราะร้องด้วยเสียงอันไพเราะ
    เพราะฉะนั้น บุคคลควรพูดคำอันสละสลวย คิดก่อนพูด พูดพอประมาณไม่ฟุ้งซ่าน
    ถ้อยคำของผู้ที่แสดงเป็นอรรถเป็นธรรม เป็นถ้อยคำอันไพเราะ เป็นถ้อยคำที่เป็นภาษิต "



    พระมารดาได้สดับแล้วก็กลับได้สติ จำเดิมแต่วันนั้นมาก็กลายเป็นคนเพียบพร้อมด้วยมารยาทอันดีงามไม่ดุด่าว่าร้ายใครๆ ครองชีวิตโดยธรรมเสด็จไปตามยถากรรม



    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>สะใภ้ที่ดีควรเลือกทำตามภรรยา ๔ จำพวกหลัง และควรเป็นคนเจรจาด้วยคำไพเราะอ่อนหวามเหมือนกับเสียงนกดุเหว่าที่ใครๆ ก็ลุ่มหลงอยากฟัง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    * เรื่องที่ ๙ ในปทุมวรรค หน้า ๑๔๗ - ๑๕๕ พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๔
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กากับนกเค้า

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width="75%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภการทะเลาะกันของกากับนกเค้า เรื่องมีอยู่ว่า ในสมัยนั้น กาจะทำร้ายนกเค้าในเวลากลางวัน นกเค้าจะทำร้ายกาในเวลากลางคืน ทำให้บริเวณวัดเปรอะเปื้อนไปด้วยเลือดนก พวกภิกษุได้กวาดซากศพของนกกาไปทิ้งเป็นจำนวนมาก เพื่อคลายความสงสัยของพวกภิกษุ พระองค์ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในครั้งปฐมกัลป์พวกสัตว์ทั้งหลายได้เลือกผู้นำของตนเองกล่าวคือ พวกมนุษย์เลือกชายผู้มีรูปร่างสวยงาม มีมารยาทเรียบร้อยและมีสติปัญญาเป็นพระราชา พวกสัตว์ ๔ เท้าเลือกราชสีห์เป็นหัวหน้า พวกปลาเลือกปลาอานนท์เป็นหัวหน้า

    ฝ่ายพวกนกมาประชุมกันที่ป่าแห่งหนึ่งแล้วทำการคัดเลือกหัวหน้า ฝูงนกเสนอให้นกเค้าขึ้นเป็นหัวหน้า แต่มีกาตัวหนึ่งพูดคัดค้านขึ้นว่า

    " ท่านทั้งหลาย หน้าตาของนกเค้าขนาดยังไม่โกรธก็ยังเป็นเช่นนี้ ถ้าเขาโกรธขึ้นมาจะดูได้หรือ ผู้ที่จะเป็นหัวหน้าจะต้องหน้าตาดูดีกว่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นดีด้วย "

    แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

    " ขอความเจริญรุ่งเรืองจงมีแก่ท่านทั้งหลาย การแต่งตั้งนกเค้าให้เป็นใหญ่
    ข้าพเจ้ายังไม่ชอบใจ ท่านจงมองดูหน้านกเค้าที่ยังไม่โกรธดูซิ
    ถ้านกเค้าโกรธจะทำหน้าอย่างไร "


    ว่าแล้วก็บินร้องไปในอากาศว่า " ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย ๆ " ฝ่ายนกเค้าโกรธมากที่ถูกกาว่าร้ายได้บินไล่กานั้นไป ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมากากับนกเค้าได้จองเวรกันและกันจนถึงปัจจุบัน สุดท้ายพวกนกได้เลือกหงส์ทองให้เป็นหัวหน้านก




    </TD></TR><TR><TD><TABLE class=Wga_Details border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle align=middle>[​IMG]</TD><TD class=WgaTitle>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า</TD><TD height=21 width=7>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=WgaIconCell bgColor=#fcf4b5 vAlign=bottom>[​IMG]</TD><TD class=WgaIconCell width=20></TD><TD class=WgaGradient bgColor=#fcf4b5 rowSpan=2><TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height=38>เป็นผู้นำคนหน้าตาจะต้องยิ้มแย้มเบิกบานเป็นที่สบายใจของลูกน้องและผู้พบเห็น</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ebcf70 vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG] <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    * เรื่องที่ ๑๐ ในปทุมวรรค หน้า ๑๕๖ - ๑๖๐ พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๔
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=502 align=center><TBODY><TR><TD>
    ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...