นิพพานสูตร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย งูๆปลาๆ, 7 มกราคม 2018.

  1. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    [​IMG]
    นิพพานสูตร
    [๒๓๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทก-
    *นิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุ
    ทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข ดูกรอาวุโสทั้งหลาย นิพพาน
    นี้เป็นสุข เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่าน
    พระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้
    อย่างไร ฯ
    ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโส นิพพานนี้ไม่มีเวทนานั่นแหละ
    เป็นสุข ดูกรอาวุโส กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้
    แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้
    กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึง
    รู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่
    น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด กามคุณ ๕ ประการนี้แล ดูกรอาวุโส
    สุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ นี้เรียกว่ากามสุข ฯ
    ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
    อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม
    ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคล
    ผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม
    เหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน
    ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพาน
    เป็นสุขอย่างไร ท่านจะพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตกวิจารสงบไป
    ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตกย่อม
    ฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคล
    ผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตก
    เหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน
    ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็น
    สุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหาร
    ธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของ
    เธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน
    ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็น
    อาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็น
    ความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยาย
    แม้นี้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหาร
    ธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขาย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธ
    ของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียด
    เบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขา ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น
    ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธ
    นั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดย
    ปริยายแม้นี้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ฯลฯ ภิกษุ
    บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด ถ้าเมื่อ
    ภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่าน ข้อ
    นั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข
    เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่านแก่
    ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    อาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้
    โดยปริยายแม้นี้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่
    ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน
    ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข
    เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะ
    ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มี
    พระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร
    ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้น
    อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อม
    ฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้
    มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญา-
    *นัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน
    ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็น
    สุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อ
    ภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะ
    ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่
    บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วย
    อากิญจัญญายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้น
    เหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส
    นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญา
    นาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลายของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะ
    เห็นด้วยปัญญา ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยาย
    แม้นี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๓
     
  2. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    • สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุยังมีอุปาทิเหลือ ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 กล่าวคือดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ
    • อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 กล่าวคือดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่อีก
     
  3. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    การถกเถียงเรื่องสภาวะของนิพพาน
    อนึ่ง การถกเถียงเรื่องสภาวะของนิพพาน มีมานานเป็นพันปีแล้ว ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มที่มีความเชื่อไว้สองกลุ่มดังนี้

    1. กลุ่มที่เชื่อว่า นิพพานมีสภาวะเป็น นิจจัง สุขขัง อัตตา กลุ่มนี้เชื่อว่า โดยมีแนวคิดง่าย ๆ ว่าสภาวะของนิพพานนั้นต้องตรงข้ามกับกฎไตรลักษณ์ ( อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ) โดยเฉพาะข้อความใน อนัตลักขณสูตร ที่กล่าวว่า สิ่งไดไม่เที่ยง สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์ และอนัตตา โดยทรงยกเอาขันธ์ 5 มาเป็นตัวอย่างในคุณลักษณะแห่ง สภาวะที่ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์

    เมื่อนิพพาน อยู่นอกเหนือจากกฎไตรลักษณ์ นิพพานจึงมีคุณลักษณะที่เที่ยงแท้ แน่นอน และเป็นบรมสุข ดังนั้นนิพพานจะเป็นอนัตตาไม่ได้ เพราะถ้านิพพานเป็นอนัตตานิพพานก็จะมีสภาวะเดียวกับขันธ์ ๕ แต่นิพพานไม่ใช่ขันธ์ 5 นิพพานนั้นเป็นธรรมขันธ์ นิพพานจึงไม่สามารถเป็นอนัตตา...

    ยังมี กลุ่ม ที่มีความเชื่อ อีก ว่า นิพพาน เป็น นิจจัง สุขขัง อัตตา ในประเทศไทย จะอ้างว่าเมื่อเข้าถึงธรรมกายในตนแล้ว จะสามารถเข้าไปพระนิพพาน สามารถเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายในพระนิพพานได้

    การเชื่อเรื่องนิพพานเป็นอัตตานั้นปรากฏหลักว่าเริ่มมีมาตั้งการสังคายนาครั้งที่สอง เช่น วาตสีปุตรียะเป็นนิกายที่แยกออกมาจากเถรวาทเมื่อครั้งการสังคายนาครั้งที่ 2 นิกายนี้ได้แพร่หลายจากมคธไปสู่อินเดียภาคตะวันตกและภาคใต้ ไม่มีปกรณ์ของนิกายนี้เหลืออยู่เลยในปัจจุบัน หลักธรรมเท่าที่มีหลักฐานเหลืออยู่คือนิกายนี้ยอมรับว่ามีอาตมันหรืออัตตาจึงถูกโจมตีจากนิกายอื่น เช่น มหาสังฆิกะ (มหายานในปัจจุบัน) เถรวาท และเสาตรานติกะ

    2. กลุ่มที่เชื่อว่า นิพพาน มีสภาวะ เป็นอนัตตา เป็นสุขสูงสุดคือความสงบ ไม่ใช่สุขอย่างโลก ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่การมา ไม่ใช่การไป ไม่สถานที่ คือความหยุดโดยสมบูรณ์สิ้นสุดความเปลี่ยนแปลงจึงคงอยู่ในสภาพเดิมหรือ เป็น ตถตา ( ความเป็นเช่นนั้นเอง ) ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ เป็นสุญญตา ( ความว่าง ) ธรรมธาตุของนิพพานนั้นจึงเป็นธาตุว่าง พุทธศาสนานั้นปฏิเสธทิฐิเรื่องอัตตาหรืออาตมันในสมัยพุทธกาลลัทธิต่าง ๆ จะเน้นย้ำเรื่องอาตมันนี้มาก

    ในกลุ่มแรกจะแย้งว่านิพพานไม่ใช่อนัตตาเพราะเนื่องจากอนัตตาคือสิ่งที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ( ไม่เที่ยง ) ทุกขัง ( เป็นทุกข์ ) อนัตตา ( ไม่มีตัวตน ) แต่การนิพพานนั้นเป็นการดับสนิท โดยไม่เหลือเหตุปัจจัย ได้แก่ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ( เช่นการยึดมั่นถือมั่นในอัตตา ) ทั้งปวง จึงเป็นการดับไม่เหลือหรือ “นิพพาน”
     
  4. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระอนุรุทธาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ได้พรรณนาคุณของนิพพานว่า

    ปทมจฺจุตฺ มจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมีติ ภาสนฺติ วานมุตฺตามเหสโย

    "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ตรัสถึงสภาวะธรรมชาติหนึ่งที่เข้าถึงได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่จุติ พ้นจากขันธ์ 5 ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใดๆ เลย หาสภาวะอื่นเปรียบเทียบไม่ได้ ว่าสภาวธรรมนั้นคือพระนิพพาน"
     
  5. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    อนึ่งการจะเข้าใจพระนิพพานธรรมได้อย่างแจ่มแจ้งนั้น ต้องมีความเข้าใจในพระไตรลักษณ์เสียก่อน

    ตามกฎพระไตรลักษณ์ มีพุทธพจน์ ที่ตรัสแสดงไว้ว่า

    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
    สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง


    (อนิจจัง - อนิจจตา)

    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
    สังขารทั้งปวง คงทนอยู่ไม่ได้


    (ทุกขัง- ทุกขตา)

    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
    ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นตัวตน


    (อนัตตา- อนัตตตา)

    พระไตรลักษณ์โดยย่อ เพื่อความเข้าใจในพระนิพพาน

    ๑. อนิจจตา ความไม่เที่ยง แปรปรวน ผันแปร ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดแล้วต้องเสื่อมหรือแปรปรวนไป

    ดังนั้นสังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง จึงหมายถึง สังขารสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอันล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย จึงล้วนไม่เที่ยง มีการผันแปร ปรวนแปรเป็นอาการธรรมดาไปตามเหตุปัจจัยที่มาประชุมรวมกันนั้น ไม่สามารถควบคุมบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้อย่างแท้จริง การควบคุมบังคับได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่ถือว่าควบคุมบังคับได้อย่างแท้จริง

    ๒. ทุกขตา ความทนอยู่ไม่ได้ เป็นสภาวะที่สุดของการแปรปรวน กล่าวคือ ต้องสลายตัวดับไปเป็นที่สุด, เป็นภาวะที่เกิดจากการถูกบีบคั้นจํายอมจากสภาวะของอนิจจตาที่แปรปรวนเป็นธรรมดาอยู่ตลอดเวลาที่เกิดขึ้น มองไม่ออกให้พิจารณาอะตอมที่มีอิเลคตรอนวิ่งรอบๆอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา จนดับไปเป็นที่สุด

    อันเนื่องจากเกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆหลากหลายมาประชุมกัน แต่ก็ไม่ใช่สิ่งๆเดียวกันอย่างแท้จริงนั่นเอง จึงมีความไม่สมบูรณ์แอบแฝงอยู่ จึงต้องแปรปวน และจนดับไปเช่นนี้มายาที่ประกอบขึ้นจากองค์ประกอบของเหล่าเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยหรือประชุมปรุงแต่งกันนั่นเอง จึงล้วนขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุปัจจัย ไม่ขึ้นอยู่กับตัวตน, นิพพานหรือสภาวธรรมชาติทั้งหลายอันเป็นอสังขตธรรม ที่ไม่มีเหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง แต่ก็ล้วนเป็นอนัตตาเป็นเพียงสภาวธรรม (อ่านรายละเอียดในอนัตตา ที่แจงสภาพทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนเช่นนิพพานไว้โดยละเอียดถึงที่สุด) กล่าวคือเป็นเพียงสภาวะธรรม แต่ยังไม่เกิดปรากฏการณ์เป็นตัวเป็นตนเป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้น

    ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา จึงหมายครอบคลุมถึงทุกสรรพสิ่งในอนันตจักรวาลล้วนเป็นอนัตตาโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น

    "พระนิพพาน" เป็นอสังขตธรรมหรือสภาวธรรม จึงไม่เป็นอนิจจตาและไม่เป็นทุกขตา(เพราะท่านหมายเฉพาะสังขาร) แต่เป็นอนัตตา(เพราะเป็นธรรมอย่างหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง), และมีการกล่าวไว้อย่างชัดเจนดังคํากล่าวที่ได้ยินกันเสมอๆว่า

    นิพพานเป็นอนัตตา

    นิพพาน ก็คือ สภาวะนิโรธ ที่แปลว่าการดับทุกข์ คือสภาวะที่ไม่คับแค้น ไม่ข้องขัดใจ หรือสภาพที่ไม่เร่าร้อน เผาลน กระวนกระวาย อันล้วนเนื่องมาจากไฟของ โมหะ โลภะ โทสะ หรือถ้าพิจารณาในแนวทางปฏิจจสมุปบาท ก็คือ ไม่เร่าร้อนเผาลนด้วยไฟของกิเลส(อาสวะกิเลส) ตัณหา อุปาทาน อันยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ ในชรา อันล้วนเป็นขันธ์ที่ล้วนประกอบคือร่วมด้วยอุปาทาน อันเป็นอุปาทานทุกข์หรือความทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนอย่างแท้จริง และสามารถดับความเร่าร้อนเหล่าใดเหล่านั้นได้ด้วยธรรมของพระองค์ท่านจริงๆ

    จากที่กล่าวว่า นิพพานเป็นธรรมชนิดอสังขตธรรมหรือสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันจริง แท้ แน่นอน จึงมีความเที่ยง และอกาลิโก, ถ้าไม่โยนิโสมนสิการโดยละเอียดและแยบคาย มักจะยังความสงสัยหรือวิจิกิจฉาในที่สุดว่า สภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติอื่นๆ ดังเช่น ฝนตก ฟ้าร้อง พระอาทิตย์ขึ้นและตก แม้แต่ธรรมะ ฯลฯ. ก็ไม่ล้วนวิเศษเป็นดั่งเช่นนิพพานหรือ? คือไม่ขึ้นอยู่กับอนิจจัง และทุกขัง ดังเช่นพระนิพพานหรือ? เพราะต่างก็ล้วนเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติอันจริง แท้ แน่นอนทั้งนั้น! ความจริงแล้วอสังขตธรรมหรือธรรมชาติเหล่านั้นก็ล้วนเป็นอนัตตาเช่นกัน กล่าวคือปรากฏการณ์เหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่เช่นนี้ตลอดกาลนาน ส่วนสังขาร(สิ่งที่ได้ถูกกระทำคือถูกปรุงถูกแต่งขึ้นแล้ว)ของสภาวธรรมหรือธรรมชาติทั้งหลายเหล่านั้น อันเกิดขึ้นล้วนแต่จากการปรุงแต่งของเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยกันนั่นเอง จึงถึงยังมีการเกิดๆดับๆคือไม่เที่ยง เกิดแล้วต้องดับไปอยู่ตลอดเวลา ลองพิจารณาพระอาทิตย์ขึ้น ฝนตก ลมพัด แม้แต่ธรรมคําสอนทั้งหลายทั้งปวง กล่าวคือสภาวธรรมทั้งหลายนั้นแม้ยังคงมีความจริง แท้ แน่นอน แต่ก็คงล้วนเป็นอนัตตาไม่มีตัวไม่มีตน ที่หมายถึง ไม่เป็นแก่นแกนแท้จริง เป็นเพียงสภาวธรรมหรือสภาวะแห่งธรรมชาติหรือยังไม่เกิดปรากฏการณ์เป็นตัวเป็นตนเป็นสังขารขึ้นนั่นเอง กล่าวคือยังไม่ได้เกิดการปรุงแต่งกัน ให้เป็นตัวตนเป็นก้อนเป็นมวลหรือสังขารขึ้น แต่เมื่อใดก็ตามที่ปรากฎขึ้นเป็นตัวเป็นตนหรือสังขาร คือการเกิดของสังขารขึ้นของสภาวธรรมที่กล่าวถึงนั้น หมายถึงเมื่อเป็นสังขารสิ่งปรุงแต่งแล้ว ดังเช่น ฝนที่กำลังตกลงมาเป็นเม็ดฝนให้เห็นหรือสัมผัสได้นั้น หมายถึงสภาวธรรมของฝนนั้นได้เกิดเป็นตัวตนเป็นสังขารขึ้นแล้ว จะเห็นว่าฝนนั้นเกิดขึ้นแต่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยกัน อาทิเช่น นํ้า ความร้อนจากดวงอาทิตย์ การระเหย ฝุ่นละออง การรวมตัว อุณภูมิที่แตกต่างกัน การกลั่น แรงดึงดูดของโลก ฯลฯ. มีเหตุต่างๆเหล่านั้นมาเป็นปัจจัยกัน อันเมื่อเกิดเป็นปรากฎเป็นตัวตนจึงคือการเกิดของสังขารขึ้น จึงเป็นไปตามพระไตรลักษณ์ที่สังขารย่อมมีการเกิดๆดับๆเป็น อนิจจัง ทุกขัง, ลองโยนิโสมนสิการที่จุดนี้ เพราะยากแก่การเข้าใจ ยากต่อการบรรยายเป็นคำพูดภาษาสมมุติใดๆ พระอนัตตาจึงเป็นปัญหาที่ถกเถียงและเข้าใจได้ยากกันมาโดยตลอด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบท พระไตรลักษณ์ และอนัตตา)



    จากคำจำกัดความดังกล่าวมา เรานำมากระทําธัมมวิจยะ โดยการโยนิโสมนสิการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายตามความเป็นจริงของธรรมนั้นๆ

    ในเมื่อนิพพานไม่เป็นอนิจจังเพราะไม่ใช่สังขาร - จึงแสดงได้ว่านิพพาน(อันเป็นสภาวธรรม)นัั้นย่อมเที่ยง หรือก็คือไม่มีความปรวนแปรเป็นธรรมดาเหมือนสังขารที่เป็นไปตามกฎอนิจจังที่ว่า"สังขารหรือสิ่งใดเกิดแต่เหตุปัจจัยสิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง ล้วนมีความปรวนแปรเป็นธรรมดา" ดังนั้นถ้าเราโยนิโสมนสิการก็จักเกิดญาณหยั่งรู้ว่า

    ๑.พระนิพพาน(ธรรม)ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย เพราะสังขารเท่านั้นที่เกิดแต่ปัจจัยปรุงแต่ง

    ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิดจากการปรุงแต่ง

    ๒.พระนิพพาน(ธรรม)จึงไม่เป็นอนิจจังด้วย จึงไม่แปรปรวนเพราะไม่ใช่สังขารที่มีการปรุงแต่ง

    ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด แล้วจะมีการแปรปรวนได้อย่างไร? จึงย่อมไม่มีการแปรปรวน.

    ๓.พระนิพพาน(ธรรม) จึงไม่เป็นทุกขัง จึงไม่ดับ เพราะไม่ใช่สังขารสิ่งที่เกิดแต่ปัจจัยปรุงแต่งเช่นเดียวกันกับอนิจจัง

    ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด ไม่มีการแปรปรวน แล้วจะมีการดับได้อย่างไร? เมื่อไม่มีเกิดจึงไม่มีการดับไปเป็นธรรมดา

    ตามกฎทุกขัง(ทุกขตา) "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ จึงดับไปในที่สุด จึงเป็นทุกข์" ดังนั้นแสดงว่า

    ๔.พระนิพพาน(ธรรม)เมื่อไม่มีการดับ จึงไม่เป็นทุกข์ จึงทนอยู่ได้เพราะเป็นสภาวะธรรมจึงย่อมไม่แปรปรวนเป็นธรรมดาเช่นสังขาร อันแสดงว่าไม่เป็นทุกขตาคือไม่มีความคงทนอยู่ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อไม่มีเกิดไม่มีดับจึงไม่เป็นอุปาทานทุกข์จากการไปอยากหรือยึดด้วยตัณหาหรืออุปาทาน

    ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด ไม่มีการแปรปรวน ไม่มีการดับ แล้วจะเกิดทุกข์เพราะความไปอยากไปยึดในสิ่งใดได้อย่างไร? จึงไม่เป็นทุกข์.

    ๕.นิพพาน(ธรรม)เป็นอนัตตา หมายถึงไม่มีตัวตนที่เป็นแก่น เป็นแกนถาวรแท้จริง เพราะการนิพพานหรือบุคคลที่บรรลุนิพพาน(ธรรม)นั้นจักบังเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีบุคคลที่เราเรียกกันว่าพระอริยเจ้าอันเป็นผู้รู้ผู้เข้าใจ หรือผู้ที่อยู่ในสภาวะนิพพานนั้นนั่นเอง พระนิพพานจึงครบองค์ประกอบ

    นิพพาน(สอุปาทิเสสนิพพาน อันหมายถึงองค์อรหันต์ที่ยังมีขันธ์ ๕ ดำเนินชีวิตไปตามปกติคือยังมีชีวิตอยู่) จึงเกิดแต่เหตุปัจจัยดังนี้

    สังขารหรือตัวตนหรือชีวิต(ตัวตนหรือขันธ์ ๕ ของผู้เข้าถึงพระนิพพาน หรือก็คือตัวพระอริยะเจ้า) + นิพพาน(ธรรม)

    หรือ

    พระอรหันต์ หรือผู้ที่ถึงสอุปาทิเสสนิพพาน = ตัวตนหรือชีวิต + นิพพาน(ธรรม)นั่นเอง

    ดังนั้นเมื่อ "ตัวตนผู้เข้าถึงนิพพาน" ถึงกาละคือตาย, พระอรหันต์หรือตัวตนหรือกายหรือชีวิตนั้นก็ต้องดับไป ด้วยเพราะเหตุปัจจัยทั้ง ๒ จึงจักยังให้เกิดนิพพานนั้น อันประกอบด้วยปัจจัย"ตัวตนที่หมายถึงชีวิตของผู้เข้าถึงนิพพาน" ซึ่งเป็นสังขารได้มีการปรวนแปรและดับไป(ตาย) ดังนั้นเมื่อเหตุปัจจัยต่างๆไม่ครบองค์ จึงเหลือแต่นิพพานธรรมอันเป็นอนัตตาไม่มีตัวมีตนเป็นก้อนเป็นมวล(ฆนะ)เป็นแก่นแกนแท้จริง เป็นเพียงสภาวธรรมที่ประกอบอยู่กับชีวิต เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติที่มีอยู่จริงแท้แน่นอนแต่ก็เป็นอนัตตา จึงเป็นการยืนยันคำสอนที่เปี่ยมด้วยพระปัญญาคุณที่กล่าวไว้ว่า พระนิพพานอันเป็นธรรมหรือสภาวธรรมเป็นอนัตตา แม้แต่องค์พระอรหันต์จึงเป็นเช่นเดียวกัน

    ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด ไม่มีการแปรปรวน ไม่มีการดับ ไม่เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา



    จากการ"โยนิโสมนสิการ" ทําความเข้าใจในธรรมแล้ว ย่อมได้ความเข้าใจได้ดังนี้ว่า

    ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด, เมื่อยังไม่เกิดขึ้นจึงย่อมไม่มีการปรวนแปร, จึงย่อมไม่มีการดับไปด้วยทุกขัง, เป็นอนัตตา

    เมื่อ ไม่มีการเกิด จึงไม่มีการดับ จึงไม่ปรวนแปร ดังกล่าวแล้ว ถ้าเราทําใจเป็นอุเบกขาเป็นกลาง กล่าวคือไม่เอนเอียงไปตามความเชื่อ ความยึดถือ จะตีความได้ ๒ นัย คือ

    ๑. "ไม่มีนิพพาน" เพราะไม่มีการเกิด จึงไม่มีนิพพานจริงๆ

    ๒. "นิพพานนั้นต้องมีอยู่แล้ว" เพราะความเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของจิตของผู้ชีวิต อันเป็นอสังขตธรรม จึงไม่มีการเกิดการดับ มีความเที่ยง ทนต่อกาลเวลา(อกาลิโก)



    ตามข้อ๑ ไม่มีนิพพาน ซึ่งไม่ตรงกับหลักพุทธศาสนา ไม่น่าจะถูกต้อง ถ้าไม่มีจริงแสดงว่าพุทธศาสนานั้นไม่ถูกต้อง ต้องสอนหรือบันทึกกันมาอย่างผิดๆ อย่างแน่นอน เพราะนิพพานถือว่าเป็นหัวใจหรือผลอันสูงสุดของพระพุทธศาสนาทีเดียว เพียงแต่ที่ไม่มีการเกิดนั้นเพราะความเป็นสภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติ อันเป็นจริงอยู่เยี่ยงนี้เองเป็นธรรมดา จึงเหลืออีกกรณีหนึ่งให้พิจารณาคือ

    ตามข้อ๒ นิพพานนั้นมีอยู่แล้ว ในตัวของตนเพราะเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อย่างหนึ่งของชีวิตชนิดอสังขตธรรมนั่นเอง อันทำให้นึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์ที่กล่าวไว้ว่าที่

    ธรรมชาติของจิตย่อมผุดผ่อง แต่เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสจรมา
     
  6. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    หลวงปู่ดูลย์ได้กล่าวไว้ว่าในเรื่อง จิต คือ พุทธะ "เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา(ตัณหา) เสียเท่านั้น พุทธะก็ปรากฎตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และพุทธะ คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง และสิ่งๆนี้ เมื่อปรากฎอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฎอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่"

    การหยุดคิดปรุงแต่ง ก็เพื่อเป็นการปฏิบัติไม่ให้เกิดเวทนา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน..อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส(เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง), หมดความกระวนกระวายเพราะความแสวงหา(ตัณหา)

    นิพพานจึงไม่ต้องทําให้เกิดขึ้น หรือสร้างขึ้นแต่อย่างใด เพราะไม่ได้เกิดแต่เหตุปัจจัย เพียงแต่เป็นการนําเหตุปัจจัยอันทําให้จิตหม่นหมองนั้นออกไป หมายถึงจิตเดิมแท้ๆนั้นบริสุทธิ์อยู่แล้ว การนําออกและละเสียซึ่งกิเลสตัณหาไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดนิพพาน เพราะดังที่กล่าวนิพพานไม่ได้เกิดแต่เหตุปัจจัย แต่เป็นเพียงคําอธิบายแนวทางปฏิบัติให้พบจิตเดิมแท้อันขุ่นมัวเศร้าหมองเพราะเหตุปัจจัยจากภายนอก เช่นการความคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นเหตุปัจจัยภายนอก อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา,อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อุปาทาน..ภพ..อุปาทานทุกข์..และกิเลสตามลําดับตามวงจรปฏิจจสมุปบาท อันต่างล้วนจริงๆแล้วเป็นเหตุปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบสัมผัสกับจิตเดิมแท้ที่ปภัสสรแล้วเกิดการคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆ

    การปฏิบัติใดๆที่เป็นการก่อ หรือสร้างสมสิ่งหนึ่งสิ่งใดเช่นสมาธิ ฌาน ถือศีล หรือทําบุญ อิทธิฤทธิ์ ทรมานกาย จึงยังไม่ใช่หนทางการพ้นทุกข์อย่างแท้จริง บางข้อเป็นเพียงบาทฐานหรือขุมกําลังหรือเป็นขั้นบันไดในการสนับสนุนการปฏิบัติในขั้นปัญญาเท่านั้น, อันควรจักต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วย อันจักต้องเป็นการปฏิบัติเพื่อให้เกิดนิพพิทาเพื่อการนำออกสิ่งที่ทำให้เกิดการขุ่นมัวออกไปเท่านั้น

    จักต้องเป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญาเท่านั้น อันมีบาทฐานของศีล สติ สมาธิเป็นเครื่องส่งเสริม เพื่อนําออกและละเสียซึ่งความคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกิเลส ตัณหาอันล้วนเป็นปัจจัยที่ยังให้เกิดอุปาทาน, ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสิ่งปรุงแต่งต่อจิตพุทธะหรือจิตเดิมทั้งสิ้น, จึงเป็นหนทางพ้นทุกข์อย่างแท้จริงและถาวร จึงมิใช่การปฏิบัติโดยการเมาบุญหรือฌานสมาธิแต่ฝ่ายเดียว

    ดังนั้นเมื่อ นําออก และ ละเสีย ซึ่ง กิเลส, ตัณหา และอุปาทาน ซึ่งย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้ดับความทุกข์หรืออุปาทานขันธ์๕ ตามมา เมื่อนั้น

    "นิพพานอันเป็นสุข ที่ถูกบดบังซ่อนเร้นอยู่ในจิตเดิมหรือธรรมชาติ ก็จักปรากฏขึ้น"

    อันล้วนเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายนิโรธวาร

    แสดงวงจรปฏิจจสมุปบาท 3817.gif ฝ่ายนิโรธวาร เป็นลำดับขั้น

    อวิชชาดับ next4.gif สังขารดับ next4.gif วิญญาณดับ next4.gif นาม-รูปดับ next4.gif สฬายตนะดับ next4.gif เวทนาดับ next4.gif ตัณหาดับ next4.gif อุปาทานดับ next4.gif ภพดับ next4.gif ชาติดับ(ความเกิดแห่งทุกข์ในรูปอุปาทานขันธ์๕ก็ดับ) next4.gif ชรามรณะดับ+อาสวะกิเลสดับ next4.gif จึงดับวัฏฏะหรือวัฎจักรของการเวียนว่ายตายเกิดในทะเลทุกข์

    หลักการปฏิบัติเพื่อสู่ "นิพพาน" หรือ "นิโรธ" จากความเข้าใจปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน คือ มีชีวิตดำเนินเป็นปกติตามขันธ์ ๕ อันเป็นกระบวนธรรมปกติธรรมชาติในการดําเนินชีวิต จักไม่เป็นทุกข์ ไม่ให้เกิดอุปาทานขันธ์๕ (สอุปาทิเสสนิพพาน- นิพพานขององค์อรหันต์ผู้ดับกิเลส คือโลภภะ,โทสะ,โมหะ ในอุปาทานทุกข์แล้ว แต่ยังมีขันธ์๕ หรือเบญจขันธ์เป็นปกติในการดำเนินชีวิต)
     
  7. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    การนำออกและละเสียโดยใช้สติปัฏฐาน๔ มรรคองค์๘เป็นหลักในการปฏิบัติ ตลอดจนสัมโพชฌงค์๗ อันเป็นธรรมให้ตรัสรู้ ตลอดจนใช้ความรู้ในหลักธรรมอันยิ่งใหญ่ลึกซึ้ง "ปฏิจจสมุปบาท" อันมีความโดยย่อดั่งนี้

    จิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมองจากจากสัญญาจำในทุกข์หรืออาลัยสุข อันคืออาสวะกิเลส

    ไปเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันร่วมกับอวิชชา

    ไปกระตุ้นให้เกิดสังขารคิด หรือกระทำตามที่ได้สั่งสมไว้ ประพฤติปฏิบัติไว้

    จึงเกิดวิญญาณการรับรู้ ไปรับรู้สังขารข้างต้นขึ้น

    ไปกระตุ้นให้ นาม-รูป ครบองค์ทำงานโดยสมบูรณ์ จึงเกิดตื่นตัวทํางานในเรื่องนั้น

    ไปกระตุ้นให้ สฬายตนะทำงานตามหน้าที่สื่อสารรับรู้สัมผัสอายตนะต่างๆเช่นใจ

    ไปกระตุ้นให้เกิดอวิชชาผัสสะ การกระทบประจวบกันของ สังขาร ใจ และวิญญาณ

    ไปกระตุ้นให้ เกิดเวทนา มีอามิส(กิเลส)ในธรรมารมณ์หรือสังขารที่มาผัสสะนั้น เพราะย่อมแฝงซึ่งอาสวะกิเลส

    ไปกระตุ้นให้ เกิดตัณหา ความอยาก,ความไม่อยาก

    ไปกระตุ้นให้ เกิดอุปาทาน ยึดในความพึงพอใจในตน ของตน เป็นหลัก หรือตวามเป็นตัวกูของกู

    ไปกระตุ้นให้เกิดภพ บทบาทที่จักแสดง ที่จักยึด

    ไปกระตุ้นให้เกิดการกระทำทาง กาย, วาจา, ใจ คือขันธ์๕ทุกชนิดที่เกิด(ชาติ)ถูกครอบงำโดยอุปาทาน เกิดเป็นอุปาทานขันธ์๕ ทุกชนิดอันเป็นทุกข์ วนเวียนอยู่ในชราอันเแปรปรวนและเป็นทุกข์ด้วยจิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมอง anired02_next.gif แล้วดับไป พร้อมเก็บจำเป็นกิเลสที่นอนเนื่องใหม่(อาสวะกิเลส) anired02_next.gif เริ่มต้นวงจรใหม่ anired02_next.gif ฯลฯ...
    เป็นวงจรแห่งทุกข์ไปเรื่อยๆ ไม่รู้จักจบสิ้น ก่อให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
     
  8. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ไม่ทรงติดแม้ในนิพพาน

    ภิกษุ ท.! แม้ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็รู้ชัดซึ่งนิพพานตามความเป็นนิพพาน. ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจงแล้ว ก็ไม่ทำความมั่นหมายซึ่งนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายในนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายว่า "นิพพานเป็นของเรา", ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน. ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่า นิพพานนั้นเป็นสิ่งที่ตถาคตกำหนดรู้ทั่วถึงแล้ว.

    ภิกษุ ท.! แม้ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็รู้ชัดซึ่งนิพพานตามความเป็นนิพพาน. ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจ้งแล้ว ก็ไม่ทำความมั่นหมายซึ่งนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายในนิพพานไม่ทำความมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายว่า "นิพพานเป็นของเรา", ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน. ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า? เรากล่าวว่า เพราะรู้ว่าความเพลิดเพลิน(นันทิ)เป็นมูลแห่งทุกข์ และเพราะมีภพจึงมีชาติ, เมื่อเกิดเป็นสัตว์แล้วต้องมีแก่และตาย. เพราะเหตุนั้นตถาคตจึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะตัณหาทั้งหลายสิ้นไป ปราศไป ดับไป สละไป ไถ่ถอนไป โดยประการทั้งปวงดังนี้.

    บาลี มูลปริยายสูตร มู.ม. ๑๒/๑๐/๘-๙.
    ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่โคนต้นสาละ ในป่าสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐะ.
     
  9. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    นิพพานไม่ใช่อนัตตา. ไตรลักษณะ. อนิจจัง ทุกขขัง อนัตตานั้นใช้บรรยายลักษณะของสังขตะธรรมครับ.
     
  10. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    อนัตตาเป็นสิ่งที่มี คือ มีโดยความเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ. มีแบบไม่ใช่เป็นตัวตนเราเขาบังคับบัญชาไม่ได้. นิพพานไม่มีอะไร ฉะนั้นอนัตตาจึงไม่ได้บรรยายนิพพานครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...