นิสัยยอมหักแต่โม่ยอมงอของหลวงปู่เจี๊ยะในวัยหนุ่ม

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 15 มกราคม 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    [​IMG]
    ยอมหักแต่โม่ยอมงอ
    <TABLE width=200 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    บ้านเก่าของหลวงปู่เจี๊ยะที่หนองบัว จังหวัดจันทบุรี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในวัยหนุ่มทำมาค้าขาย ขายเงาะ ขายทุเรียน ขายมังคุด นิสัยออกจะติดทางนักเลง เป็นคนจริงจังในหน้าที่การงาน ไม่เกเร พูดจาโฮกฮาก ไม่กลัวคน ต้นตระกูลเป็นคนตรงไปตรงมา ไม่ชอบโกหก จึงเป็นมรดกทางอุปนิสัยติดต่อกันมาเรื่อย ๆ จนถึงผู้เป็นลูกหลาน เราเป็นคนทำอะไรต้องทำให้ได้ดั่งใจ เวลาไปบรรทุกผลไม้ที่ท่าแฉลบ เรือลำไหนมันขึ้นฝั่งไม่ได้ เรือเขาขึ้นไม่ได้ทั้งหมด แต่สำหรับเรือเราต้องขึ้นได้ คือเอาขึ้นจนได้ เราเป็นคนแข็งแรง สู้ทุกรูปแบบ เป็นคนจริงจัง ยอมหักแต่ไม่ยอมงอ เป็นคนซุกซน แต่ไม่เคยซุกซนเรื่องผู้หญิง และไม่เคยยอมแพ้ใครในหน้าที่การงานทั้งปวง
    สมัยยังหนุ่มแน่น เราไม่เคยคิดถึงเรื่องบาปบุญคุณโทษอะไร มุ่งแต่ทำงานอย่างเดียว แม้แต่คำว่า นโม ตสฺส ยังว่าไม่จบ แม้บางครั้งไปวัดได้ยินพระท่านเทศน์ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายในภายนอก เช่น ตาเห็นรูปอย่างนี้เป็นต้น ฟังแล้วไม่เคยรู้เรื่องอะไรเลย บางทียังคิดเลยว่า ท่านพูดเรื่องอะไร ไม่รู้เรื่อง ฟังแล้วไม่เห็นเข้าใจ พอตอนหลังมาบวชจึงได้ทราบว่า “อันนี้เป็นธรรมะที่บ่มอินทรีย์เป็นสำคัญ”
    เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการค้าขาย
    <TABLE width=200 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    บริเวณบ้านมีโอ่งน้ำของเก่าดั้งเดิม ที่ยังคงเก็บรักษาไว้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ความเป็นอยู่ที่บ้านตอนเราเป็นเด็ก ที่บ้านค้าขายของเบ็ดเตล็ดในบ้าน ข้าวสาร น้ำตาล ของกระจุกกระจิก ค้าผลไม้ เราเองแหละเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการค้าขาย นอกจากการค้าที่บ้านแล้วยังนำไปขายที่ท่าแฉลบ
    การค้าขายสมัยที่เรายังเป็นฆราวาสอยู่นั้น โดยส่วนมากค้าผลไม้พื้นเมืองของเมืองจันท์ โดยผลไม้นั้นมีชาวบ้านหาบมาส่งที่บ้าน ซื้อแล้วก็นำมาบรรจุใส่ลังไม้ฉำฉา บรรทุกลงเรือล่องเลียบคลองด้านหลังบ้านออกทะเลไปขายที่ท่าแฉลบ เวลาหน้าปลาก็ไปจับปลา
    หลังจากเราเรียนจบ ป.๔ ที่ตำบลหนองบัวแล้วก็ช่วยพ่อแม่ค้าขาย ส่งผลไม้เข้ากรุงเทพฯ ส่งทุเรียนกวนคือรับซื้อเขามา แล้วก็นำไปขายต่อ ไปส่งถึงประเทศมาเลเซีย ปีนั้นซื้อไว้บาน (มาก) ซื้อไว้ตั้ง ๘๐๐ ปี๊บ เต็มบ้านไปหมดขนาดบ้านหลังใหญ่ ๆ การเก็บรักษาก็ยากเพราะสมัยนั้นมันยังไม่มีวิธีบัดกรี เก็บไว้นานจะมีแบคทีเรีย (เชื้อรา) ถ้าจะเก็บไว้นานต้องอัดให้แน่น ให้แข็ง ให้ดี เอากระดาษอ่อนๆ ปิด ถ้าตรงไหนมีราต้องค่อยๆ เฉือนออก ปีนั้นซื้อไว้ตั้ง ๘๐๐-๙๐๐ ปี๊บ กิโลกรัมละสิบกว่าบาท ปี๊บหนึ่งก็ประมาณ ๒๐ กิโลกรัม ครอบครัวของเราฐานะดีที่สุดในหมู่บ้านนั้น ที่ทางเราไม่ค่อยมีมากเท่าไหร่ เพราะเรามีพ่อเป็นคนจีน นำไปขายมาเลเซีย โลหนึ่ง (๑ กิโลกรัม) รู้สึกว่า ๒๘ บาท ใส่เรือไปขายที่มาเลเซีย ทำปีละครั้ง พอหมดฤดูทุเรียน ก็สีข้าวขายหน้าบ้าน ต้องนำออกไปสีที่โรงสีใหญ่ ปีหนึ่งๆ ก็ทำอยู่อย่างนี้เป็นอาซีพ ค้าขายประจำครอบครัว
    <TABLE width=200 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หลังบ้านมีคลองใหญ่อยู่ติดทะเล

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ข้าวปีหนึ่ง ๆ ก็ได้มาก คนที่ไม่มีเงินทางบางละเก้า เสม็ดงาม จะมาขอเงินที่บ้านโดยนำข้าวมาแลกกับเงิน ฉะนั้นที่บ้านจึงมีการออกเงินให้คนกู้บ้าง ตอนนั้นอายุประมาณ ๑๕ ปี มีคนมากู้เงินที่บ้าน เจ้าละ ๑๐๐, ๒๐๐, ๓๐๐, ๒,๐๐๐ ๓,๐๐๐
    ตำบลหนองบัวบานที่เราอยู่นี้ สมัยก่อนเป็นตำบลที่เจริญที่สุดในจังหวัดจันทบุรี ผลหมากรากไม้มากจริง ๆ หน้าทุเรียน เงาะ มังคุด ลางสาด กินไม่หวาดไม่ไหว ร่วงหล่นสาดเซมาก จนเกินไม่หวาดไม่ไหว แต่เวลาหน้าแล้งก็อดหน่อย
    ต่อยปากเจ๊ก
    เรานี้ว่ายน้ำเก่งเป็นที่สุด...ที่บ้านติดกับคลองน้ำ ติดกับทะเล ที่บ้านมีทะเลฮิ เวลาน้ำขึ้นมองไปไหนมีแต่น้ำเต็มไปหมด อยู่กับน้ำว่ายน้ำไม่เก่งก็ตายละสิ
    ตอนนั้นไปเอาของขึ้นเรือ... ต่อยเจ๊กตัวเบ่อเร่อ ตานี้แทบแตก หมัดนี้มันหนัก (ท่านกำหมัดขึ้นให้ดู) หลับคาที่เลย นับสิบนี่ไม่ลุกเลย คว่ำลงไปเลยทันที สลบแน่นอน ฮึ ฮึ...
    หมัดนี่มันแรง อันตราย...ไม่ได้! เจ๊กตัวเบ้อเร่อ ชกทีเดียวนี่ตาแทบแตก คว่ำลงไปเลยทีเดียว กำลังจะขึ้นผลไม้กัน ของเราเข่งเล็กๆ อย่างงี้ ของมันมาเข่งใหญ่ ไอ้ห่า...ทับเกลี้ยงหมด ตะโกนบอกมันว่า
    “มึงอย่าซ้อน ถ้าซ้อนข้าชกนะ”
    มันไม่ฟัง ทับของเราเสียแบน ทับแบนปั๊บก็สอยตูม หงายคว่ำไปเลย ตำรวจมาถึงพอดี (หัวเราะ) โอนนั้นเวลาเที่ยงแล้ว จะตีกันตาย
    ตำรวจมันมา มันโกรธมาก หาว่าเราชกลูกน้องมัน ก็มันเข้าเรือไม่เป็น เพราะผลไม้ต้องเอาขึ้นปากระวาง ถ้าเราช้าต้องลงในระวาง ก็ต้องเอาปากระวางออกหมดจึงขึ้น ของเราเข่งหนึ่งขาย ๕ บาท บางทีเหลือ ๖ สลึง บางทีเหลือ ๓ สลึง มันผิดกันเราต้องสู้
    เจ้านายของไอ้เจ๊กเป็นเพื่อนกับโยมแม่ โยมแม่ก็มาต่อว่า
    “ทำไมจึงไปรุนแรงกับเขา...ลูก”
    เราก็แผดเสียงดังลั่นทันทีว่า
    “ทำไม... ทำไม...แม่เชื่อคนอื่นเหรอ? ถ้าอย่างงั้นผมไม่ทำ เล็ก!...จะยอมให้เขาข่มเหงเหรอ เขาทับของเราเสียหาย แล้วแม่จะว่ายังไง เข่งมันตั้งหลายบาทนี่”
    โยมแม่ก็ต้องยอม เราว่ามีเหตุผล เราว่าของเราถูก เขามาข่มเหงเราก่อน เราเป็นเด็กไม่ใช่มันจะแก่นเกินไปนะ เรามันซน คนกลัวหมด ดื้อซนมาก ยอมให้เขาข่มเหงอยู่อย่างนี้ก็ตายซิ
    เที่ยวหลังมันมากัน ๓ - ๔คน เราไป ๑๐ กว่าคน มันก็เข้าเรือ อย่างว่านี่ มันเข้าไม่เป็น เราก็แซงเลย เราเข้าลำที่หนึ่งเลย มันหาว่าเราโกง เราก็ลากหลักแจวมา ได้อันยาวเบ้อเร่อ มึงเข้ามาซิ วันนั้นถ้ามันเข้ามาเราตีตาย ไม้ตรงกลางโตตั้งขนาดนี้ (ขนาดขวดโค้กลิตร) ยาวตั้งเมตรกว่า ถ้ามันเข้ามาก็ตูมคาที่เลย หน้าตานี้จะต้องแหกหัก ถ้าเอาแขนขารับนี้หักหมด ตีตายเลยวันนั้น ไม่ได้บวชหรอก โดดหนีเลยวันนั้น แต่ดีมันไม่กล้าเข้ามา
    วันหลังมันไปชกเด็กแถวบ้านเราสลบเลย
    “มึง!..ถ้ามึงชกกูล่ะมึง...ในโลกนี้มึงไม่มีที่อยู่แน่ มึงต้องถูกล่า”
    เรามีเจ้านายดี มีปืนสั้นปืนอะไรหมด ถ้าไปขอยืมมากระบอกต้องให้ เพราะเราไปสีข้าวกับแก เป็นเพื่อนกับพี่ชาย เรื่องซุกซนน่ะ...ซน...เราซน แต่ดีอย่างไม่ซนเรื่องผู้หญิง ไม่มีเลยเป็นหนุ่มมาไม่มี ไม่ซนเรื่องผู้หญิงเลย รักเดียวใจเดียวตลอด รักแป้ง... นี่แหละนิสัยตอนเป็นฆราวาสมันเป็นอย่างนั้น ตอนนั้นยังไม่รู้เรื่องธรรม เรื่องความดี เรื่องประมาทอะไร ทำอะไรก็ไม่ค่อยคิดให้รอบคอบ ตอนหลังเข้ามาบวช ไปอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นท่านสอนว่า
    “ให้ไตร่ตรองในหน้าที่การงานทั้งมวล เวลาทำการงานอะไร จงอย่ารีบด่วนในการที่ควรจะช้า จงอย่ามัวชักช้าในการที่ควรรีบด่วน เพราะถ้าเราปฏิบัติไม่รอบคอบเช่นนี้ เราผู้ทำอะไรโง่ ๆ งุ่นง่านแบบนี้มักจะประสบทุกข์”
    ท่านพูดให้ฟัง เราก็จำเอา
    ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-jea/lp-jea-hist-01-01.htm#๐๐๑_หลวงปู่เจี๊ยะ_พระผู้เป็นดังผ้าขื้ริ้วห่อทอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...