น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ ปฏิทินทรงพระผนวช “ภูมิพโลภิกขุ”

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 16 กันยายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    news_cGELarCuir150928_533.jpg

    ใกล้เข้าสู่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 เดือนแห่งความโศกเศร้าอาดูรของปวงชนชาวไทยเข้าสู่พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลา ธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 กษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยทรงทุ่มเทกำลังพระวรกายและพระสติปัญญาเปี่ยมด้วยน้ำพระทัยที่เมตตาทรงห่วงใยประชาชนของพระองค์ท่าน ตลอดการครองราชสมบัติ 70 ปี

    เนื่องในวโรกาสนี้ “บริษัท ทิพยประกันภัยจำกัด (มหาชน)” น้อมสำนึกในพระมหา กรุณาธิคุณ ได้จัดพิมพ์ปฏิทินในหลวงรัชกาลที่ 9 ประจำปี 2561 ในรูปแบบตั้งโต๊ะ เป็นภาพทรงพระผนวช จัดพิมพ์ในรูปแบบปั๊มฟอยล์สีทองอร่ามด้านหลังเป็นสีขาวนวลพิมพ์ลวดลาย ด้านซ้ายของปฏิทินมีคำว่า “ภูมิพโลภิกขุ” เป็นภาษาจีนส่วนด้านขวาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 3 ภาษาเพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้และแสดงความอาลัย

    ได้เปิดตัวปฏิทินในหลวงรัชกาลที่ 9 ภาพทรงพระผนวช ในวันที่ 9 เดือน 9 พ.ศ. 2560 ณ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นวัดที่ทรงคุณค่าแห่งหนึ่งของประเทศไทยเนื่องจากเป็นพุทธสถานที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า และยังเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกองค์ที่ 19

    e0b8a5e0b8b6e0b881e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a1e0b8abe0b8b2e0b881e0b8a3e0b8b8e0b893e0b8b2e0b898e0b8b4.jpg

    ในวันดังกล่าวทางบริษัททิพยฯ ได้เชิญผู้ถือหุ้นบริษัท น้อมแสดงความอาลัย พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย โดยยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 99 วินาที หน้าองค์พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา พระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ ณ บริเวณพุทธสถานเขาชีจรรย์

    “วิชชุดา ไตรธรรม” ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและซีเอสอาร์ บมจ.ทิพยประกันภัย เล่าให้ฟังถึงที่มาการจัดทำปฏิทินภาพใน หลวงรัชกาลที่ 9 ว่า เพื่อน้อมสำนึกในพระมหา กรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้และแสดงความอาลัยแด่พระองค์ท่านตลอดรัชสมัยที่ทรงครองราชย์ 70 ปี ทรงทุ่มเทกำลังพระวรกาย พระสติปัญญา พระวิริยอุตสาหะ เปี่ยมด้วยน้ำพระทัยที่มีเมตตาต่อพสกนิกรโดยทั่วสมดังพระปฐมบรมราชโองการในพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

    ทางผู้บริหารทิพยประกันภัย นำโดย “สมพร สืบถวิลกุล” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย ได้จัดทำปฏิทินดังกล่าวเพื่อให้ผู้ที่ได้รับปฏิทินนี้นำสิ่งที่ดีงามของพระองค์ท่านนำมาประพฤติปฏิบัติถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งตลอดกาลนาน ซึ่งปฏิทินดังกล่าวจะนำไปมอบให้หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา วัด และประชาชน นำไปเป็นที่ระลึกและน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านโดยประชาชนที่สนใจสามารถติดตามได้ที่ www.tipinsure.com

    b8a5e0b8b6e0b881e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a1e0b8abe0b8b2e0b881e0b8a3e0b8b8e0b893e0b8b2e0b898e0b8b4-1.jpg

    ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระผนวชเป็น พระภิกษุในพระพุทธศาสนาใน พ.ศ. 2499 ขณะทรงเจริญพระชนมพรรษา 29 พรรษา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงได้รับฉายาว่า “ภูมิพโลภิกขุ” และเสด็จฯมาประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงวันทรงลาผนวช เมื่อวันที่ 5 พ.ย. พ.ศ. 2499 รวม 15 วัน

    ระหว่างทรงดำรงสมณเพศพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระราชกิจเช่นเดียวกับพระภิกษุทั้งหลายอย่างเคร่งครัด เช่น เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้า–เย็น ตลอดจนทรงสดับพระธรรมและพระวินัย นอกจากนี้ยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพิเศษอื่น ๆ เช่น ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตน ศาสดารามทรงร่วมสังฆกรรมในพิธีผนวชและอุปสมบทนาคหลวงในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เสด็จฯ ไปทรงรับบิณฑบาตจากพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิรา ลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ครั้งยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย

    หนึ่งในพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่สำคัญ เช่น พระราชดำรัสในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระ ชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2551 “การทำความ ดีนั้นโดยมากเป็นการเดินทวนกระแสความพอใจและความต้องการของมนุษย์จึงทำได้ยากและเห็นผลช้าแต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ ความชั่ว ซึ่งทำได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่แล้วจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว”.


    ………………..

    อาราธนานัง

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/article/598438
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กันยายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...