บทบรรยายธรรมของหลวงปู่หลวง กตตปุญฺโญ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย varanyo, 18 พฤศจิกายน 2005.

แท็ก: แก้ไข
  1. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    :cool: [​IMG]
    หลวงปู่หลวง กตตปุญ์โญ
    วัดคีรีสุบรรพต อ.เมือง จ.ลำปาง
    --------------------------------
    เอ้า.. ต่อไปก็ตั้งใจพากันปฏิบัติบูชา พร้อมด้วยฟังอุบายธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า คือการฟังเทศน์ฟังธรรมนี้เป็นการสร้างปัญญาบารมี อย่างพระสารีบุตรมีปัญญามาก มีปัญญามากที่สุด ท่านก็สร้างบารมีทางในด้วยทางนอกด้วย คือ สมัยพระพุทธเจ้าวิปัสสีก็สร้างบารมีทางนอกเป็นหลัก สร้างพระไตรปีฏก ไปจ้างเขาเขียนพระไตรปีฏกถวายพระเจ้าวิปัสสี คือปรารถนามีปัญญาจึงไปจ้างเขาเขียนพระไตรปีฏก อักขระหนึ่งสี่บาท ในพระไตรปีฏกมีสองหมื่นสี่พันอักขระ ก็เป็นแสนเหมือนกันนะ เฉพาะหนังสือพระไตรปีฏกก็หนึ่งหมื่นแปดพัน ฉะนั้นการฟังเทศน์ก็เป็นการสร้างปัญญาบารมี

    ส่วนพระสารีบุตรก็ฟังเทศน์ ฟังธรรม เจริญกรรมฐาน ภาวนาด้วย สร้างพระไตรปีฏกทางนอกทางในด้วย ก็มีทั้งเปลือก กระพี้ แก่น อาศัยกัน เปรียบเหมือนต้นไม้ มันจะเป็นแก่นขึ้นมาได้ก็ต้องอาศัยมีเปลือก มีกระพี้ มันจึงจะมีแก่นขึ้นมาได้ ถ้ามีแต่เปลือกอย่างเดียวก็ใช้อะไรไม่ได้ ท่านว่าคนมีแต่เพียงบูชาภายนอก ดอกไม้ ธูปเทียน หรือทางภายนอกนี่ก็เปรียบเหมือนเอาเปลือกไม้มาสร้างบ้านเป็นที่พึ่ง ก็ไม่นานหรอก เดี๋ยวตัวปลวก ตัวแมลงกิน พังเลย เอากระพี้มันก็เหมือนกันไม่ทน เปรียบเหมือนการตั้งอยู่ในศีล เปรียบเหมือนกระพี้มาสร้างบ้าน กระพี้มันก็ตัวมอด ตัวปลวกก็มากินได้ ก็ไม่ทน บ้านก็พัง

    การปฏิบัติบูชา ภาวนาเปรียบเหมือนแก่นไม้ ปลวกกินก็ไม่ได้ มั่นคงด้วย สุดท้ายอาศัยเปลือก อาศัยกระพี้แต่สุดท้ายไม่เอา ถากทิ้งหมดเอาแต่แก่นอย่างเดียว

    ส่วนทางศาสนา สุดท้ายก็เอาแก่นคือภาวนา แก่นจริงๆ คือวิมุตติ ทาน ศีล ภาวนา ปัญญาวิมุตติ วิมุตติคือ แก่นของพระพุทธศาสนา แก่นของธรรมแท้คือ วิมุตติ เจโตวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

    วิมุตติญาณทัสนะ = ความรู้เห็นในวิมุตติ, ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2005
  2. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    วิมุตติแปลว่าความหลุดพ้น แต่ว่ามาจากภาวนา คือใจหนักแน่น ใจมั่นคง ใจแน่วแน่ แน่นอน ฉะนั้นเวลาฟังเทศน์ ปฏิบัติบูชานี้ เราตั้งใจอยู่ในใจว่าขอบุญบารมีคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณมารดาบิดา คุณครูบาอาจารย์ จงมาประสิทธิ์ประสาทให้จิตใจข้าพเจ้าตั้งมั่นเป็นสมาธิ รู้แจ้งแสงสว่าง แล้วก็นึกพุทโธลมเข้า พุทโธลมออก พุทโธเรื่อยไป หูก็ฟัง ใจก็นึกพุทโธไปเรื่อย

    อันนี้เป็นการปฏิบัติบูชา เพราะว่าการปฏิบัติบูชานี้เป็นบุญอันยิ่งใหญ่ไพศาลหรือว่าเป็นยอดบุญก็ว่าได้ ถ้าเป็นศิลปะก็เป็นยอดมหาศิลปะ ภาวนาเป็นยอดบุญ เป็นแก่นของบุญ เพราะว่าคนเราใจจะหนักแน่นมั่นคงได้ต้องอาศัยการภาวนา เบื้องแรกก็อาศัย การบริกรรมภาวนา เช่นว่า พุทโธลมเข้า ก็ให้รู้ พุทโธลมออก ก็ให้รู้

    ฉะนั้นคำว่าธรรมก็คือลม ลมก็คือธรรม ถ้าว่าภายนอกนะ แต่ว่าภายในก็คือใจ ธรรมก็คือรูปกับนามนั่นน่ะเป็นตัวธรรม รูปคือ รูปร่างกาย ใจน่ะตัวนาม จิตใจ รูปกับนาม ท่านว่าพระธรรมอาศัยกันตลอด จนตายนั่นแหละ แต่ว่าตายไปแล้ว ก็อาศัยนามเหมือนกัน คือนามธรรม เป็นตัวรูปเหมือนกันนะ ตายไปแล้วก็อาศัยรูปนามแต่ว่าละเอียดขึ้นไปอีก เช่นเทพเจ้าเหล่าเทวดาทั้งหลาย อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ มันก็เป็นนามแต่ละเอียดขึ้นไปอีก ยกตัวอย่างเช่นว่าเราไปอยู่สวรรค์ก็อาศัยรูปเหมือนกันแต่ว่ามันละเอียด เหตุนั้นการฟังเทศน์ ฟังธรรม ปฏิบัติบูชาเป็นการสร้างบารมี ปัญญาบารมี ปัญญาอุปปารมี ปัญญาปรมัตถปารมี เกี่ยวเนื่องกันเป็นลำดับๆ




     
  3. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส
    ปญฺญาปารมี สมฺปญฺโน ปญฺญาอุปปารมี สมฺปนโน ปญฺญาปรมตฺถปารมี สมฺปนโน อิติปิโส ภควา อิมสฺส ธมฺม ปริยายสฺส ธมฺโม สกฺกจฺจํ โสตพฺโพติ


    ปัญญาบารมี ปัญญาอุปบารมี ปัญญาปรมัตถบารมี คือคำไหว้บารมี ๓๐ ทัศนั้นมักเรียกว่ายอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก นัยว่า ผู้ใดสร้างไว้ สวดมนต์ สักการะบูชา เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ และจะมีความสุข สิริสวัสดิ์ เจริญต่อไป ทั้งปัจจุบันกาลอนาคต และภายภาคหน้า หมดเคราะห์ หมดโศกทุกประการฯ อนึ่ง ปัญญาบารมีนี้ เราอยู่เฉยๆ มันจะไม่เกิดขึ้น มีขึ้นไม่ได้ เราต้องศึกษาเล่าเรียนต้องสดับตรับฟัง และต้องกำหนดจดจำ ต้องนึก ต้องคิด ต้องพิจารณาและต้องรู้แจ้งในอารมณ์ทั้งหลายด้วย ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2005
  4. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    เอ้าผู้ใดฟังเทศน์ ตั้งใจสืบลม สืบลมเข้าก็ให้รู้ สืบลมออกก็ให้รู้ นึกพุทโธไปเรื่อย พุทโธนึกไปในใจ หูก็ฟังไป ใจก็นึกพุทโธ รู้ลมเข้าออก เป็นการปฏิบัติบูชา เพราะว่าลมมันเป็นหลัก ลมเป็นที่เกิด เป็นที่อาศัย ลมเป็นอาหารที่หนึ่ง อาหารของคนมีอยู่ห้าอย่าง แต่ว่าอาหารในโลกที่เรากินมีเยอะ แต่ว่าที่เป็นใหญ่มีอยู่ห้าอย่าง กวฬิงการาหาร ภัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณหาร ธัมมาหาร กวฬิงการาหาร คือ คำข้าว อาหารของกายและก็มีอาหารของใจ อาหารของเรามีอยู่ห้าอย่าง อาหารภายนอกอีกมันก็มีเยอะแต่ว่ารวมความ ก็มีอยู่สาม สี่ ห้าอย่าง อาหารที่หนึ่งคือ ลม เราไม่ได้กินลมเพียงห้านาที ถึงสิบนาทีก็ตายแล้ว แต่ไม่ได้กินข้าวไม่ตาย อย่างพระพุทธเจ้าของเรา หรือครูบาอาจารย์ที่ท่านบำเพ็ญ ไม่ได้กินข้าวยี่สิบวัน สามสิบวัน นี่ไม่ตาย

    หลวงตาคนหนึ่งอยู่วัดป่าสำราญนิวาส หลวงตาวงศ์ ขนฺติสาโร ไม่กินข้าว ไม่ฉันจังหันสองเดือนก็ไม่ตาย แต่ว่าไม่กินน้ำ หกวันตายเลย แสดงว่าน้ำสำคัญที่สุด แค่หกวันเท่านั้นตายแล้ว บางองค์มากกว่านั้นก็มีนะ สิบสองปีไม่กินข้าวไม่ตาย อาจารย์องค์หนึ่งอยู่ศรีษะเกษไม่กินข้าวสิบสองปีไม่ตาย เดินไปได้สบาย จึงว่าอาหารที่หนึ่งคือ ลม อาหารที่สองคือ น้ำ อาหารที่สามคือ ข้าว อาหารที่สี่คือ ผ้านุ่ง อาหารที่ห้าคือ บ้านอยู่ นี่เป็นที่อยู่ของใจ เป็นอาหารของใจนั่นแหละ อยู่ก็เพราะอาหาร

    พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า สัพเพสัตตาอาหารสิกา สัตว์ทั้งหลายอยู่ได้เพราะอาหาร บัดนี้ที่เกิด ดี ชั่ว เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกไม่มีที่สิ้นสุดก็มีห้าอย่าง เหมือนกันคือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม อาหาร อันนี้เป็นที่เกิด ที่อยู่ ที่ไป ที่มาของเราทั้งหลาย ที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก เพราะอวิชชา อวิชชา วิปฺปกากมฺมํ อวิชชาแปลว่า ความไม่รู้ คือเราทุกคนๆ ที่เกิดมาก็เพราะอวิชชา คือความไม่รู้นี่แหละ จึงได้มาสร้างภพ สร้างชาติขึ้นมา

    ไม่ใช่ไม่รู้ มันรู้แต่มันรู้ไม่แจ้ง รู้ไม่จริง ไม่เห็นน่ะ ฉะนั้นจึงว่าเป็นอวิชชา ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้ทางปฏิบัติดับทุกข์ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติแห่งความดับทุกข์ ไม่รู้จักอดีต ไม่รู้จักอนาคต ไม่รู้ทั้งปัจจุบัน ท่านว่าเป็นอวิชชา

    จึงว่าอวิชชาเป็นที่เกิดของเราทุกคน อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม อาหาร ห้าอย่างเหมือนกัน เป็นเหตุให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกไม่มีที่สิ้นสุดหยุดลงไปได้ ก็เพราะอวิชชา อวิชชาแปลว่า ความไม่รู้ เมื่อไม่รู้จึงได้มาสร้างภพท สร้างชาติ สร้างรูป สร้างนาน ขึ้นจึงได้เป็นทุกข์ เหมือนเรามาบ่นว่ามันเกิดมาทุกข์ยากแท้มีแต่เรื่องทุกข์
     
  5. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    บัดนี้การไปของพวกเราทุกคนมันก็มีทางไปอยู่เจ็ดสาย สายทางที่เราจะไปทุกคนๆ ที่วนอยู่ในโลกที่เราจะต้องไป ทางใหญ่ๆ ก็มี ๑ สัตว์เดรัชฉาน ๒ เปรต ๓ อสูรกาย ๔ นรก อันนี้เป็นอบายภูมิเป็นที่ไปของเราทุกคนเหมือนกัน เรียกว่า วัฏฏะ เวียนว่ายตายเกิด

    กรรมวัฏฏะ คือ กามาวจรกุศลมีถึง ๓๑ ภูมิ การเวียนว่ายตายเกิดในโลกมันมีอยู่ ๓๑ ภูมิที่จะไป เรียกว่า กามาวจรภูมิ จะต้องเวียนว่ายตายเกิดไปทุกคน พ้นไปไม่ได้ คือ เราจะต้องไป ภูมิเบื้องต่ำคือ นรก ๑ เปรต ๑ อสูรกาย ๑ สัตว์สิ่งเดรัชฉาน ๑ จำเป็นต้องไป ไม่อยากมันก็ไป เพราะเหตุใด เพราะมันมีกิเลสอยู่ กิเลสมันพาไป อย่างพระพุทธเจ้าของเรา ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ปรารถนาสร้างศีลธรรม ปรารถนาปฏิบัติศีลธรรม ปรารถนาตั้งอยู่ในศีลในธรรม ปรารถนาสร้างศีลธรรมขึ้น

    พระพุทธเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้าเพราะเหตุใด เพราะว่ามาเห็นสัตว์ทั้งหลาย คือ เราทุกคนนี่แหล่ะ เวียนว่ายตายเกิด วนอยู่ในโลก เป็นเปรต เป็นผี ตกนรก หมกไหม้ เป็นสัตว์เดรัชฉาน วนเวียน หมุนขึ้นหมุนลง หมุนไปหมุนมา ก็เป็นเหตุแห่งความทุกข์ ทุกข์ยาก ไม่เที่ยงแท้แน่นอน
    เหตุนั้นท่านก็เลยตั้งใจสร้างสัจจะบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ล่ะบัดนี้ บำเพ็ญบารมีสิบ ธรรมของพระโพธิสัตว์ คือบารมีสิบ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตตา อุเบกขา


    ทานบารมี ตัวนี้ก็ละเอียดเหมือนกัน เมื่อภาวนาเข้าไป มันชอบไป ไปรู้เรื่องอดีต ชอบไปอนาคต ชอบไปข้างนอก ฉะนั้นเมื่อเวลาภาวนา ท่านก็ทาน ท่านไม่เอา เวลานั่งนี่ไม่เอาอะไรสักอย่าง จาโค จาคะ เรื่องอดีต เรื่องอนาคตละหมดไม่เอา ให้กำหนดรู้ ปัจจุบันอย่างเดียว อันนี้เป็นธรรม ปัจจุบันธรรม เอาหลักปัจจุบัน ธรรมเป็นใหญ่ อดีตก็ไม่เอา อนาคตก็ไม่เอา เอาปัจจุบัน นี่เป็นปฏิปทาพระพุทธเจ้า

    ปจฺจุป ปญฺนญฺ จโย ธมฺมํ ตตฺถ วิปสฺสติ ให้ใจอยู่ในปัจจุบันธรรม ปัจจุบันของรูปร่างกาย ก็คือลม ลมเป็นตัวปัจจุบัน ลมเข้าลมออกมีอยู่ แต่ว่าใจมันไม่อยู่ในปัจจุบัน มันไม่อยู่ในลม มันไม่อยู่ในฐาน

    เหตุนั้นทางพระพุทธศาสนาจึงอาศัยตัวสติ สติระลึกลม สืบลมตั้งใจ ลมเข้าลมออกให้รู้ ตั้งสติขึ้นมา เพราะสติเป็นเครื่องควบคุมสติอีกที ตัวสติคือรู้ คือระลึกได้อยู่ สติแปลว่า ความระลึกได้ ระลึกได้ว่ารูปร่างกายของเราคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ระลึกได้ อันนี้เป็นตัวสติ

    สัมปชัญญะแปลว่ารู้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ธาตุสี่เป็นมาอย่างใด มาจากไหน ไปอย่างใด เป็นอย่างใด นี่ตัวความรู้ มาจากไหน คือตัวเราทุกคนมาจากไหน มาจากธาตุสี่ ดินน้ำไฟลม มาจากดิน มาจากพ่อใหญ่แม่ใหญ่
     
  6. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    พ่อใหญ่คืออะไร นะ น้ำ โม ดิน แม่ใหญ่คืออะไร คือแม่น้ำ พ่อใหญ่คือ แผ่นดิน อันนี้คือ ทางหลักโลกนะ พ่อแม่แท้ๆ คือดิน น้ำ ป็นที่เกิด เราทุกคนๆ เกิดมาจามกดิน เกิดมาจากน้ำ ธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นพ่อใหญ่ แม่ใหญ่ เป็นที่เกิด เป็นที่มา

    อันนี้เป็นภายนอก ถ้าภายในคืออะไร คืออวิชชา อวิชชาเปรียบเหมือนพ่อ ตัณหาเปรียบเหมือนแม่ อันนี้เป็นพ่อแม่ของเราแท้ๆ เบื้องต้น

    เนี่ย พ่อใหญ่แม่ใหญ่ก็ว่าได้ พ่อใหญ่ แม่ใหญ่ข้างนอกก็คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม พ่อใหญ่ แม่ใหญ่ ตัวนำจริงๆ นำจิตนำใจของเรามาเกิด คืออวิชชา กับตัณหานี่แหล่ะ พาเรามาเกิด มาแก่ มาเจ็บ มาตาย มาทุกข์ มายาก ลำบากตรากตรำ ทนทุกขเวทนา อวิชชา ตัณหา อุปาทาน

    อุปาทานก็ยึดมั่นอยู่ในโลก ว่าโลกนี้มันเป็นของดี เพราะไม่มีปัญญารู้ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม

    มีอุปาทานก็เป็นกรรมล่ะยกตัวอย่างเช่น เรายึดอุปาทานว่าเขาด่าเราเป็นหมา เราถือว่าเราเป็นหมาจริงๆ หาว่ามึงมาด่ากู โกรธละทีนี้ เพราะอุปาทานยึดมั่น เมื่อเขาด่าว่าเราหมา เจ้าของก็รับว่าเป็นหมา โกรธไม่พอใจ หาว่าเราเป็นหมา ไม่พอใจ โกรธ นี่อุปาทาน อุปาทานเป็นเหตุให้ทำกรรม นี่อุปาทาน เมื่อโกรธก็เป็นกรรมแล้ว เกิดโทสะ ด่ากันตีกันเป็นกรรมใหญ่ อาหารก็คือว่าของกิน ของที่มันกิน ใจมันกิน ใจมันกินอะไร ตากินรูป หูกินเสียง จมูกกินกลิ่น ลิ้นกินรส กายกินสัมผัส ใจกินธัมมารมณ์ นี่อาหารของมันก็ห้าอีก เนี่ยเป็นแต่เพียงอาหาร

    ฉะนั้นจึงว่าอารมณ์ของกรรมฐานหรือว่าอาหารก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ตัวตนเป็นแต่เพียงสภาวะธาตุ สภาวธรรม ก็คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม นี่แหล่ะ บัดนี้ถ้าพูดทางหลักศาสนาก็อัพยากะตาธรรม ที่เราไปฟังพระสวดในงานศพบ่อยๆ กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากะตาธัมมา

    แต่เราไม่ได้น้อมเข้ามาพิจารณาก็ไม่รู้ กุสลาธัมมาก็คือ บุคคลที่มีปัญญา เฉลียวฉลาด สติมีปัญญารู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักดี รู้จักชั่ว รู้จักสุข รู้จักทุกข์ อันนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ อันนี้เป็นเหตุแห่งสุข นี่เป็นตัวกุสลาธัมมา ที่เรามาฟังเทศน์ก็เพราะอาศัยกุสลาธัมมา ตัวปัญญา ตัวรู้ รู้ว่าการฟังเทศน์ ฟังธรรม ทำใจให้สงบนั้น เป็นบุญ เป็นตัวกุสลาธัมมา สร้างขึ้น ทำขึ้น

    อกุสลาธัมมาแปลว่าไม่รู้ ไม่รู้บาป ไม่รู้บุญ ไม่รู้คุณ ไม่รู้โทษ ไม่รู้สร้างคุณงามความดี อะแปลว่าไม่ ไม่รู้ในการให้ทาน รักษาศีลภาวนา ไม่รู้ในการฟังเทศน์ ฟังธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ว่าเป็นการสร้างบุญกุศล เป็นผลนำมาซึ่งความสุข ความเจริญ

    ไม่รู้มันก็เป็นตัวอวิชชาเป็นอกุสลาธัมมาด้วย รวมความก็คือตัวกิเลส อกุสลาธัมมาเป็นกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลงนั่นแหล่ะ ตัวอกุสลาธัมมา แต่ว่าเราฟังแล้ว เราไม่น้อมเข้ามาพิจารณา เราก็ไม่รู้

    บางทีก็สำคัญว่าสวดให้ผีตาย นำพระมาสวดแล้ว ผู้นั้นไปสวรรค์ ถ้ามันสวดได้อย่างนั้น โอ๊ย ไม่มีผู้ใดตกนรกหรอก พระพุทธเจ้ามหาเมตตา มหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ เราทุกคนที่มานี่น่ะ ผ่านพระพุทธเจ้ามาแล้วทั้งนั้นแหละ ผ่านมาหลายชั่วพระพุทธเจ้ามาแล้ว คือพระพุทธเจ้าเข้านิพพานไม่ใช่น้อย สองล้าน ห้าแสน แปดหมื่น สี่พัน หนึ่งร้อย สิเก้า น้อยเมื่อใดล่ะ

    ฉะนั้น เราเวียนว่ายตายเกิดนับภพนับชาติไม่ถ้วนแล้ว ผ่านมาแล้วทั้งนั้น แต่ไม่รู้ ไม่มีปัญญา ไม่มีศรัทธา เพราะอะไร เพราะอวิชชาครอบงำจิตใจ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม นั่นแหล่ะ อุปาทานก็ยึดมั่นอยู่ ในโลก ในกาม ในกิน ไม่ใช่อื่นไกล บางพวกยึดมั่นว่าตายแล้วก็แล้ว ตายแล้วก็สูญ หลวงตาเคยไปเทศน์ เทศน์เรื่อง ตัวใจไม่ตาย ใจเป็นอมตะ ของไม่ตาย นับภพ นับชาติไปเรื่อยๆ มันก็เถียงขึ้นมาว่า ตายแล้วก็แล้ว จะเกิดที่ไหน เหมือนต้นผลไม้ มันเป็นลูก มันหล่นแล้วมันก็ตายเน่าแล้วก็แล้วล่ะ มันก็ว่าไป พวกนี้มันเห็นผิด
     
  7. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    พระพุทธเจ้ากล่าวว่า พวกนี้มันหนาขึ้น แก่ขึ้น ตายตกเลยอเวจี มหาโลกันตนรกนะ ไปตกพวกตายแล้วสูญ บุญบาปไม่มี คุณพ่อคุณแม่ไม่มี พวกนี้บาปมากนะ ฆ่าพ่อฆ่าแม่ยังไม่บาปเท่า คือมันตกนรกไม่มีเวลานับได้ มันเลยแสนกัป นับไม่ได้ พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้องค์หนึ่งก็เท่ากับฟ้าแลบแป๊บ โอ้ พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้องค์หนึ่งแล้ว ก็รู้เหมือนกันนะ ไม่ใช่ไม่รู้ได้แสงสว่างปั๊บ คราวเดียวเท่านั้น แล้วก็มืดต่อไปเรื่อย นี่เป็นอย่างนี้

    เหตุนั้นจึงว่า พวกเราทุกคนๆ มีหลวงตาเป็นต้น มันไม่รู้ไปหลบอยู่ไหน ไม่รู้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ สองล้าน ห้าแสน แปดหมื่น สี่พัน หนึ่งร้อย สิบเก้าแล้ว ท่านสร้างบารมี รื้อสัตว์ ขนสัตว์ไปสวรรค์นิพพานแต่เราก็ยังไปไม่ได้ ไปหลบ ไปหลง อยู่ไหนก็ไม่รู้ คิดแล้วมันก็น่าสงสารเหมือนกัน เนี่ย มันหลบเพราะความไม่รู้ บางทีไปเกิดเป็นสัตว์ซะ พระพุทธเจ้ามาเกิด เราก็ไปเป็นสัตว์ เป็นหมู หมา เป็ด ไก่ ก็ไม่ได้มาฝึกฝนฟังเทศน์ ฟังธรรม ไปเป็นเปรตซะ

    ฉะนั้น เราจึงต้องมาฝึกสติ สร้างปัญญาขึ้น สติ ความระลึก ระลึกลมนี่แหล่ะ สืบลมเข้าก็ให้รู้ ลมออกก็ให้รู้ เข้ายาวออกยาว เข้าสั้นออกสั้น ละเอียด หยาบ นี่ให้รู้ สติคือ ตัวรู้ ระลึกได้เสมอ สติคือ ความระลึก ระลึกละเอียดเข้าไป รู้ละเอียด แต่ปัญญาคือ รู้ มีสติอย่างเดียวก็ไปไม่ได้ ต้องมีปัญญาด้วย จึงจะไปได้ ความระลึกได้ รู้ได้เพราะตัวสติ ตัวสติระลึกได้ ลมเข้าก็รู้ ลมออกก็รู้ แต่ไม่มีปัญญาก็ละไม่ได้

    รู้ได้ เพราะ สติ
    ละได้ เพราะ ปัญญา

    จึงว่าสติสัมปชัญญะเป็นคุณธรรมอันสูง ธรรมมีอุปการะมาก เนี่ยพ่อแม่พระพุทธเจ้าคือ ตัวสติ สัมปชัญญะ แต่ว่าพ่อแม่ของพระสิทธัตถะน่ะ พระนางสิริมหามายา พระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธเจ้ามีสองพ่อ พ่อทางธรรมคือ ตัวสติ สัมปชัญญะนั่นแหล่ะ ธรรมมีอุปการะมาก ฉะนั้นตัวนี้ ถ้ามันขาดตัวนี้อย่างเดียว ไปล่ะ สติ ความระลึกลม ลมเข้าระลึกได้อยู่ รู้อยู่ รู้อยู่นั่นแหล่ะ แต่ว่าถ้าไม่มีปัญญา มันก็ละไม่ได้ รู้อย่างเดียวแต่ละไม่ได้ เพราะปัญญาไม่มี จึงว่าจะรู้ได้เพราะสติ จะละได้เพราะปัญญา

    รวมความน่ะ มีแต่สติก็รู้อย่างเดียว ไม่มีปัญญาก็ละไม่ได้ จึงว่า สติกับปัญญาเป็นของควบคู่กันไปตลอด คือเราทำอะไร มันขาดสติ ตัวระลึกได้ลืมไปล่ะ ขาดปัญญาคือตัวรู้ ขาดสติ ขาดปัญญา ลืมไปแล้ว บางทีรู้อย่างเดียว ตัวสติระลึกไม่ได้ ของของเรามันลืมไปแล้ว รู้อยู่ แต่มันขาดสติ มันลืมเสีย เอาไว้ไหนก็ไม่รู้ จึงว่า รู้ได้เพราะสติ จะดีขึ้นมาได้เพราะมีตัวปัญญา อันนี้เป็นหลักพระพุทธศาสนา ธรรมมีอุปการะมาก
    เนี่ย พ่อ แม่ พระพุทธเจ้าคือ สติ สัมปชัญญะ นี่เอง

    บัดนี้พระพุทธเจ้าจะเป็นพระพุทธเจ้า ก็ตัวสติ กายาคตาสติ พระองค์ไปกำหนดพิจารณากายใต้ต้นไม้โพธิ์ พิจารณาลม ลมก็กาย กายในกาย กายนอกกายใน กายในกาย กายนอกก็คือกายคนอื่น กายในคือกายตัว ร่างกายเรา กายในกายคือลม ลมนี่จะว่านอกก็ถูก กายในกายคือ ตัวรู้ ฉะนั้นพระพุทธเจ้ามากำหนดพระอานาปานสติกรรมฐานคือจิตตั้งมั่น มีสติระลึกอยู่ในลมจนแน่วแน่ จนสว่าง...แจ้ง สติระลึกมั่นเข้า มั่นเข้า เกิดญาณขึ้นมา ญาณแปลว่าหยั่งรู้เหตุการณ์สิ่งต่างๆ เช่นว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้ร้อยชาติ พันชาติ หมื่นชาติ แสนชาติ อสงไขยชาติ ระลึกชาติได้หมด เป็นมาอย่างใดรู้หมด เนี่ยเพิ้นว่ามีญาณ มีปัญญา อย่างเดียวมันก็ข่มไว้เฉยๆ ละได้แต่มันไม่ขาด แต่อาศัยปัญญาข่มไว้ก่อน วิกฺขมฺภนปหานุ* เปรียบเหมือนเอาศิลามาทับหญ้า ถ้าไม่มีปัญญา มันก็ไปยกขึ้นซะ ทับไปได้หน่อยหนึ่ง มันก็ยกออก ถอนออก หญ้าก็โผล่ขึ้นมาอีก ถ้าทับจนไม่ยกเลย หญ้ามันก็ตายได้เหมือนกัน เนี่ยศิลาทับหญ้า คือ มีตัวสติ ตัวปัญญา แต่มันยังไม่เกิดญาณ

    <TABLE width="80%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ccffcc>* วิกขัมภนปหาน = การละกิเลสได้ด้วยการข่มไว้ด้วยณาน</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2005
  8. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    เนี่ยเราต้องอาศัยตัวสติกับปัญญานี่แหล่ะ แต่ยังไม่เกิด มันก็ละไม่ได้หรอก ยังละอะไรไม่ได้ เพราะมันยังไม่เกิดญาณ ไม่เกิดณาน ยังไม่เห็น รู้แต่ไม่เห็น รู้อยู่แต่ไม่เห็น เหมือนเรารู้ไฟว่าเป็นของร้อน ของไหม้ แต่เราไม่เห็นไฟ มันก็ไปหยิบ ไปจับมันเหมือนกัน ไหม้ได้เหมือนกัน รู้ไฟแต่ไม่เห็นไฟ นี่เราฉันใดเหมือนกัน ทุกคนรู้ ไม่ใช่ไม่รู้นะ แต่มันละไม่ได้ นิสัยปุถุชน หลักของปุถุชน มันรู้ดี รู้บาป แต่ละบาปไม่ได้ รู้ชั่ว แต่ละชั่วไม่ได้ รู้ดีแต่ทำดีไม่ได้ นี่คือปุถุชน

    ส่วนอริยชนนั้นท่านรู้ดีทำดีได้ รู้ชั่วท่านก็ละชั่วได้ นี่เป็นนิสัยของอริยชน ปัญญาโลกุตระก็แม่น ปัญญาโลกีย์มันรู้ดี แต่มันละไม่ได้ บาป ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทุกข์จะตายมันยังละไม่ได้ เพราะอะไร เพราะอวิชชา มันไม่รู้ มันไม่มีปัญญา เหตุนั้นทางพระพุทธศาสนาจึงอาศัยเสียสละ ซึ่งความดี ความชั่ว ซึ่งบาปซึ่งบุญ ละหมด เช่นเรานั่งอยู่นี่แหล่ะ ดีก็ไม่เอา ชั่วก็ไม่เอา สุขก็ไม่เอา ทุกขูก็ไม่เอา รู้อย่างเดียว รู้ลมเข้าพุทโธ รู้ลมออกพุทโธ

    เนี่ยตังใจรู้ตัวเดียวนี่แหล่ะ มั่นอยู่ในความรู้ เป็นหนึ่งอยู่ในลมเข้า ลมออก จิตมันก็ตั้งมั่นได้ เย็นสบายขึ้นมาได้ ก็เป็นสุขสบาย ก็อยู่ได้สบาย นั่งได้สบาย เพราะมันสุข นั่งได้เป็นเก้าวัน สิบวัน เจ็ดชั่วโมง หลายชั่วโมง เพราะมันอยู่ในสุข มันเป็นเอกัคคตา จิตมั่นอยู่ในลมเป็นหนึ่ง... ลมมันไม่เจ็บไม่ทุกข์ ไปถามลมสิ มันเจ็บขาไหม เจ็บปวดไหม ไม่มี ลมมันไม่เจ็บแข้งเจ็บขา ไม่เจ็บอะไรสักอย่าง มันเป็นลม ถ้าใจของเรามั่นอยู่ในลมเป็นหนึ่ง เอกัคคตาลมน่ะ โอ๊ย นั่งได้สบาย หลายชั่วโมงก็ได้ มันไม่ทุกข์นะ

    ทีนี้มันไม่อยู่ในลม มันไปอยู่ในความเป็น ความมี อยู่ในทุกข์ ถ้าอยู่ในลม ว่าง... ความไม่มีอะไร รู้เฉยๆ มันก็สบายล่ะ ถ้าอยู่ในความมีก็ทุกข์ขึ้นมาทันทีนะ เมื่อมันมีขา ทุกข์...ปวดขาขึ้นมาทันที มีเอวปวดเอวขึ้นมาทันที

    เราทุกคนๆ ทุกข์เพราะความมีนะ พระพุทธเจ้าว่าทุกข์เพราะความมี แต่โลกก็ว่า...ทุกข์เพราะความไม่มี มันไม่มีเป็นทุกข์ ที่จริงมันทุกข์เพราะความมี เนี่ยเป็นอย่างนี้ ตรงกันข้ามนะ มีอย่างไร มีความโลภก็เป็นทุกข์ มีความโกรธก็เป็นทุกข์ มีความหลงก็เป็นทุกข์ มีความชังก็เป็นทุกข์ มีความรักก็เป็นทุกข์ ห่วง อาลัย มีความยึดความถือ มีรูป มีนาม เป็นทุกข์แหละ เพราะความมี

    ฉะนั้นพระพุทธเจ้าว่าทุกข์เพราะความมี บัดนี้พระพุทธเจ้าละความมีออกไป ท่านละปราสาท ปราสาทก็ไม่มี นางพิมพาก็ไม่มี ไปอยู่ด้วยความไม่มี นั่งอยู่พื้นต้นไม้ บ่มีบ้าน บ่มีเรือน บ่มีอะไรสักอย่าง เปล่งวาจาอุทาน เปล่งพระโอษฐ์ขึ้นมาเสียงดัง " สุขหนอ สุขหนอ "

    สงฆ์ทั้งหลายพอได้ยินได้ฟัง หาว่าพระพุทธเจ้าห่วงนางพิมพา ปราสาท ราชวัง สนทนากันแล้วบัดนี้ " โอ๊ย พระพุทธเจ้าห่วงนางพิมพา ปราสาท ราชวัง "

    ท่านว่าอยู่เหมือนเมืองเชียงใหม่โน่น ท่านอยู่อย่างกรุงเทพฯ เนี่ย ท่านก็ได้ยิน หูท่านยาว เขาว่าที่ไหนก็ได้ยิน ได้ฟังสงฆ์ทั้งหลายสนทนากัน พระพุทธเจ้าได้ยินก็ว่าพวกนี้เห็นผิดแล้ว ไปเลย ไปว่าเลย " ไม่ใช่ ไม่จริง เราไม่ใช่ห่วง เราอยู่ปราสาทราชวังเป็นทุกข์ ออกมา ไม่มีอะไรสักอย่าง ไม่มีปราสาท ราชวัง พิมพา ราหุล นั่งอยู่คนเดียวเปลี่ยวกาย เราเลยเป็นสุข สบาย ก็เลยเปล่งวาจา สุขหนอ สุขหนอ " สงฆ์ทั้งหลายก็เลยหายสงสัย " สาธุ อนุโมทนา "

    เนี่ยเป็นอย่างนี้ อันนี้ก็เป็นของลึกลับนะ ถ้าไม่ภาวนา หลวงตาก็เหมือนกัน เมื่อก่อนก็สงสัย ทุกข์เพราะความมี ก็คนทั้งหลายปรารถนามีทั้งนั้น ทำไมจึงว่าทุกข์ โอ๊ย มันทุกข์จริงๆ ด้วย มีก็เป็นทุกข์ ต้องห่วง ต้องอาลัย มีขาก็เป็นทุกข์ในขา มีแข้งก็เป็นทุกข์ มีเอวก็เจ็บเอว มีหลังเจ็บหลัง มีท้องก็เจ็บท้อง มีอะไรก็ทุกข์ในนั้นแหละ โอ๊ยมันทุกข์เพราะความมีแท้ มีเพราะอะไร มีเพราะกิเลส เพราะความโลภ ความโกรธ ความหลง อวิชชา ตัณหา นั่นแหละ มันจึงได้ไปยึดถือเพราะความไม่รู้ นี่เป็นต้น

    เหตุนั้นท่านจึงให้กำหนดดู ดูตัวของเรา ใจมันไปรู้อะไร ไปยึดถืออะไรขึ้นมา ตามรู้มันดู เมื่อมันรู้ก็ละเองไป ถ้าไม่รู้ มันก็ไม่ละหรอก ถ้ารู้มันต้องละเอง ไม่ต้องไปละมันนะ คำาว่าละเป็นอุบายเฉยๆ ตัวรู้นั่นแหล่ะเป็นตัวละ

    รู้นั้นเปรียบเหมือนไฟมันสว่างขึ้น ความมืดมันดับ ที่ยังไม่รู้เปรียบเหมือนมันมืด บ่มีไฟ เปรียบเทียบนะ คือมันมืดมีแต่เรื่องกลัว มีแต่เรื่องยึดถือนะ ถ้ามันแจ้ง มันปล่อยวางหมด คือหลวงตา แต่ก่อนน่ะกลัวผี มืดแล้วก็กลัวผี ถ้ากลางวันไม่กลัว เพราะความมืดนั่นเอง ใจของเราก็เหมือนกัน เพราะความมืดนั่นเอง มันไม่แจ้ง มันจึงหลงกลัว มันปล่อยวางบ่ได้ เมื่อมันแจ้ง มันสว่าง โอ๊ย มันดับหมดแหล่ะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อวิชชา ตัณหา มันดับหมด
    <TABLE style="WIDTH: 358px; HEIGHT: 70px" width=358 align=center><TBODY><TR><TD>ตัวปัญญา</TD><TD>ปญฺญา ปชฺโชโต</TD></TR><TR><TD>ปัญญายะบริสุทธิ</TD><TD>ปัญญา เป็นของบริสุทธิ์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ปัญญาเป็นของที่ละได้ ปล่อยวางได้ ประหัตประหารอาสวกิเลสได้ เมื่อมันแจ้ง สว่าง มันดับหมด ไม่ต้องไปละมันหรอกมันดับเอง ที่ว่าความโลภ ละความโลภ ละความหลง ที่จริงไม่ใช่ละหรอก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2005
  9. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    รู้ ให้รู้ความจริงของเขา เห็นรู้ มันดับเอง ไม่ต้องไปละมันหรอก ดับหมด มีสติรู้อยู่ มันก็ดับ เอาง่ายๆ นะ ถ้าเรามีสติรู้อยู่ในร่างกายของเรานะ กว้างศอก ยาววา หนาคืบ เป็นแต่เพียงสภาวะธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม ผสมกันอยู่ชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น เรามาอาศัยของบ่เที่ยง ของบ่งาม ของบ่จริง ของตาย เมื่อรู้อยู่ มีสติรู้ โอ๊ย เขาจะมาด่า มาว่าก็เฉย ก็มันเฉยเพราะเรารู้ว่าไม่ใช่ตัวตนนะ เป็นก้อนธาตุน่ะ ก้อนดิน น้ำ ไฟ ลม ผสมกันอยู่ชั่วครู่ชั่วคราว เรารู้อยู่อย่างนี้ ไม่ใช่ว่าตัวตน เรารู้ มีสติรู้อยู่ ปัญญารู้อยู่อย่างนี้ โอ๊ย เขาจะด่าก็เฉย เขาด่าไอ้หมาก็เฉย เขาด่าอีหมาก็เฉย ไม่โกรธแหละ มันรู้อยู่ รู้เท่าทันอยู่ เนี่ยเป็นตัวรู้ เป็นตัวละ ท่านว่า

    เหตุนั้นจึงว่า สร้างความรู้ขึ้น จุดความสว่างขึ้น เมื่อมันสว่างขึ้นแล้ว กิเลสมันดับหมด จุดความสว่างคืออะไร คือตัวสติ สร้างสติเป็นมหาสติ มหาปัญญา วิชฺชา จารณสมฺปยฺโน มันก็ดับได้หมด

    ฉะนั้นการฟังเทศน์ ฟังธรรม เจริญกรรมฐานภาวนานั้นเป็นบุญมาก เพราะเป็นการดับต้นเหตุ ดับเหตุแห่งความทุกข์ ดับเหตุแห่งบาปกรรมทุกอย่าง เพราะความรู้แจ้งแสงสว่าง เหตุนั้นทางพระพุทธศาสนาจึงว่าให้ทานร้อยครั้งพันครั้ง ก็ไม่เท่ามานั่งภาวนาจิตสงบครั้งหนึ่ง จิตสงบมันเป็นสุขมาก สุขจริงๆ อย่างหลวงตาเนี่ย มีทุกอย่าง แต่ไม่สุข ไม่สบาย แต่ถ้าจิตสงบวันใด สุขวันนั้นแหละ นั่งภาวนาจิตสงบ...นิ่ง...ปล่อยวาง เออนี่ ปล่อยวางได้มาก ก็สุขได้มากหน่อย ปล่อยวางได้น้อยก็สุขน้อย

    จึงว่าความไม่สงบ ไม่นิ่ง ไม่รู้ตัว ไม่เห็นตัว ไม่มีปัญญา เปรียบเหมือนน้ำ เอามาใส่โอ่ง ใส่อ่าง น้ำมันกระเพื่อม มันไม่นิ่ง มันมองไม่เห็นหน้าเราหรอก ถ้าน้ำมันนิ่ง มองเห็นหน้าของเรา เห็นหมด มองดูหน้าของเราก็เห็นหมด มีเนื้อมีตา เห็นหมด คนอื่นมาผ่านอ่างนั่นก็เห็น นกบินท้องฟ้าผ่านก็เห็น เป็นอย่างใด บ่ได้แหงนดูนะ ดูในน้ำนั่นแหละ เห็นหมด ถ้าจิตมันสว่าง บ่ต้องไปหาที่ไหนละ รู้หมด เหมือนกระจกใหญ่นะ ยกขึ้นแล้วคนเดินผ่าน อะไรผ่านก็เห็นหม๊ด กระจกบานใหญ่ๆ ยกขึ้นไว้สูงๆ โอ๊ยเห็นทุกอย่าง

    ฉะนันจิตที่มีสติ ปัญญา สว่างแล้ว รู้หมดในโลก อันนี้จึงเป็นหลักสำคัญ ในทางพระพุทธศาสนา ในการที่มาเจริญกรรมฐานภาวนา รักษาศีล โอ๊ย เป็นบุญมาก บุญหลาย อาตมาก็ขออนุโมทนา ศรัทธาญาติโยมที่เกิดมาในชาตินี้ ยุคนี้ ถือว่าเป็นโชคดี วาสนาดี เพราะว่าได้พบปะพระพุทธศาสนา มีศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใส ยินดีพอใจ ในการเจริญกรรมฐาน ภาวนาและมีครูบาอาจารย์ด้วย มาชี้ช่องบอกทางให้ เดินทางลัดตัดทางตรง เป็นอย่างไร ก็รู้ลมเข้า ตั้งแต่หัวถึงตีน ตั้งแต่ตีนถึงหัว ลมเข้าแล้วไม่ออกก็ตาย ออกแล้วไม่เข้าก็ตาย รู้ตลอดตั้งแต่ปลายเท้าถึงศรีษะ กำหนดกว้างศอก ยาววา ไม่มีอะไร สุดท้ายลมเข้าแล้ว ไม่ออกก็ตาย ออกแล้วไม่เข้าก็ตาย อันนี้แปลว่าปฏิบัติเดินทางลัดตัดทางตรง บุญอย่างอื่น โอ๊ยยังไกล เช่น เขาหลงไปผ้าป่าที่ไหนไปม่วน... บางทียังไม่ได้ทอดผ้าป่า ตายกลางทางเสีย เป็นอย่างนั้น บุญอันนี้คนไม่สนใจ ไม่ค่อยทำเพราะอะไร เพราะอวิชชามันครอบไว้ บ่ให้รู้ บ่ให้ทำ

    ฉะนั้นจึงขออนุโมทนา กุศลผลบุญที่ญาติโยมได้ร่วมกันมาสามัคคี ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติบูชา เพราะจะนำมาซึ่งความสุขความเจริญ ด้วยเดชะพระบารมีของพระพุทธเจ้า พระบารมีของคุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ จงมาดลบันดาล ให้ท่านทั้งหลาย หายทุกข์ หายโศก หายโรค หายภัย จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ รู้แจ้งแสงสว่าง รู้จักทางอริยมรรค อริยผล นำตนให้พ้นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร ได้อ่านธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เล่าสู่กันฟังเป็นแนวทางปฏิบัติ ก็พอสมควรแก่เวลา

    <CENTER>อภิวา ทนสี ลิสฺสะ นิจฺจํ วุฑฺฒา ปจฺจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒณฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ</CENTER>
     

แชร์หน้านี้

Loading...