บทพิสูจน์นักบุญ (โดยหลวงพ่อฤาษีโพธิวัตร)

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ศรีสิทธิ, 5 ตุลาคม 2010.

  1. ศรีสิทธิ

    ศรีสิทธิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2010
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +1,515


    <TABLE class="sites-layout-name-one-column sites-layout-hbox" cellSpacing=0 xmlns="http://www.w3.org/1999/xhtml"><TBODY><TR><TD class="sites-layout-tile sites-tile-name-content-1">
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] พวกเราคงได้ทราบมาแล้วว่า หลวงพ่อท่านมีเพื่อนที่เคยบวชพร้อมกัน ซึ่งอยู่ในป่าอีก ๒ องค์ คือท่าน "ฤาษีโพธิวัตร" และท่าน "ฤาษีพนมไพร" เป็นเรื่องแปลกที่ผู้เขียนบังเอิญได้พบหนังสือเก่าๆ เล่มหนึ่ง เป็นหนังสือที่หลวงพ่อได้พิมพ์แจกในงานกฐิน ณ วัดสะพาน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ จึงคัดลอกข้อความทั้งหมดมาให้อ่านกันดังนี้ [/FONT]
    บทพิสูจน์นักบุญ ของท่านฤาษีโพธิวัตร กลางดงดิบ จังหวัดกาญจนบุรี
    ๑. เมื่อพบกันในระยะแรก "จงย่อตัวลง" (คือถ่อมปฏิปทาที่ทรงอยู่นั้น) พยายามยกย่องสรรเสริญท่านด้วยถ้อยคำ "สัมโมทนียคาถา" คือชมเชยในปฏิปทาของท่าน แล้วคอยสังเกตุว่า ท่านผู้นั้นจะพอใจในคำสรรเสริญเยินยอนั้นหรือไม่ ถ้าเห็นว่าท่านผู้นั้นพอใจในคำสรรเสริญเยินยอนั้น จนออกนอกหน้า ควรวงเล็บไว้พลางก่อนว่า "หมอนี่ ถ้าจะดีไม่แท้" เพราะยังติดในสรรเสริญที่เป็นโลกธรรม เป็น มนุษย์บ้ายอคบยาก

    ๒. เพื่อความแน่ใจในปฏิปทาที่แท้จริง ในบางโอกาสควรหาทาง "ตักเตือนโดยธรรม ควรตักเตือนบ่อยๆ" เพื่อให้มองเห็น โทสะ ของตนเอง ควรใช้ลีลาในการตักเตือนทั้ง แบบขู่ และ แบบปลอบ ถ้าเป็นคนดีมีใจเป็นนักบุญจริง จะยอมรับคำตักเตือนทุกระยะ แต่ถ้าเป็น "นักบูญจอมปลอม" แล้วไม่ช้าก็จะแสดงความไม่พอใจให้ปรากฏ เท่านี้ก็พอจะเห็นเขี้ยวชาติภูมิได้บ้างเฉพาะบางราย

    ๓. ถ้าแบบตักเตือนเค้นเอาความจริงไม่ได้ ต่อไปควร "ขยายปฏิปทา" ตามความสามารถที่มีอยู่ขึ้น เอาเพียงชั้นที่เห็นว่า พอจะ "ไล่เลี่ยกัน" ออกมาใช้ จงสังเกตุความพอใจและปฏิกิริยาแสดงออกของเขา หากเขาดีจริงก็ไม่ปรากฏกิริยาใดๆ เกิดขึ้น ถ้าความเลวสิงใจ แต่เก็บซ่อนไว้ด้วยกลมายาแล้ว เขาจะเริ่มการมึนชา หรือมีการซึมเซาให้ปรากฏ ควรสังเกตุไว้

    ๔. เมื่อเห็นว่าดีอยู่ หรือซึมเซาไปก็ตาม เพื่อเค้นเอาความแน่ชัดให้แจ่มแจ้ง ควรขยับ "ขยายปฏิปทาที่เหนือกว่า" ออกมาใช้ให้เห็นชัด หากท่านผู้นั้น แสดงความยินดีด้วยความจริงใจ พลอยโมทนาและสนับสนุนด้วยใจจริง และสม่ำเสมอแล้ว ก็ควรวันทนาด้วยความเคารพ เพราะแม้อายุกาลผ่านวัยน้อยกว่า หรือมีคุณธรรมบางประการหย่อนกว่าก็ตาม แต่ท่านผู้นั้นก็มี "พรหมวิหาร" ควรแก่การบูชา

    หากท่านผู้นั้น เป็นนักบุญจอมปลอม เมื่อโดนไม้หลังเข้าอย่างนั้น เท่าที่เคยพิสูจน์มา ไม่ช้าเขี้ยวก็งอกออกนอกปาก สำรากถ้อยคำที่ไม่เป็นธรรมออกมาให้ปรากฏ กล่าววาจาเสียดสี ถากถาง ด้วยถ้อยคำที่ที่เป็นดิรัจฉานคาถา กระทบกกระแทก แดกดัน เปรียบเปรยนานาประการ บางโอกาสเป็นศิษย์เคยเรียนอรรถธรรม เคยได้รับความช่วยเหลือมา ก็ลืมความดีของเราผู้มีคุณเสียสิ้น แสดงความอกตัญญูให้ปรากฏ เป็นการขยายความเลวทรามออกให้ปรากกชัด

    ตามแนวที่นำมาเล่าไว้นี้ เคยพิสูจน์นักพรตผู้วิเศษมาหลายสิบรายแล้ว ที่ท่านดีจริงแล้วก็เอาอะไรท่านไม่ได้เลย แต่ที่เป็นพวกจอมปลอมแล้วไม่เกิน ๒ พ.ศ. เขี้ยวก็งอกออกนอกปาก แสดงความเป็น "อบายบุคคล" ให้ปรากฏชัด

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]โดยพระชัยวัฒน์ จากหนังสือลูกศิษย์บันทึกเล่ม ๑ หน้า ๒๕ [/FONT]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. ศรีสิทธิ

    ศรีสิทธิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2010
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +1,515
    <TABLE class="sites-layout-name-one-column sites-layout-hbox" cellSpacing=0 xmlns="http://www.w3.org/1999/xhtml"><TBODY><TR><TD class="sites-layout-tile sites-tile-name-content-1">
    ...ธรรมทานนี้มีอานิสงส์มาก ดังที่มีการพรรณนาคุณไว้ใน อรรถกถาธรรมบท ว่า...


    - แม้ทายกจะถวายจีวรอย่างดีที่สุด แด่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ที่นั่งติดๆ กันเต็มห้องจักรวาลนี้ ก็ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าการอนุโมทนาของพระพุทธเจ้า ด้วยพระคาถา(๒) เพียง ๔ บาท และจีวรทานนั้นมีค่าไม่ถึงเศษส่วน ๑๖ แห่งพระคาถาที่พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนา

    - แม้ทายกจะถวายโภชนะข้าวสาลี กอปร ด้วยสูปะพยัญชนะอันประณีต เป็นต้น ให้เต็มบาตรพระพุทธเจ้าก็ดี จะถวายเภสัชทาน มี เนยใส เนยเหลว น้ำผึ้ง เป็นต้น ให้เต็มบาตรพระพุทธเจ้าที่นั่งติดๆ เต็มห้องจักรวาลก็ดี ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าธรรมทานที่พระพุทธเจ้า อนุโมทนาด้วยพระคาถาเพียง ๔ บาท

    - อนึ่ง ทายกจะถวายเสนาสนะ มีมหาวิหาร หรือโลหปราสาทหลายแสนหลัง ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าธรรมทานที่พระพุทธเจ้า อนุโมทนาด้วยพระคาถาเพียง ๔ บาท

    - การแสดงธรรม การบอกธรรม การฟังธรรม มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่และประเสริฐกว่าจีวรทาน บิณฑบาตทาน เสนาสนทาน ทุกอย่าง เพราะว่าชนทั้งหลายจะทำบุญมากมายขนาด นั้นได้ ก็ต่อเมื่อได้ฟังธรรมแล้ว ถ้าไม่ได้ฟังธรรมมีศรัทธาแล้ว จะถวายข้าวสวยสักทัพพี ข้าวต้มสักกระบวยก็ยังยาก แม้บุคคลสำเร็จมรรคผล จะสำเร็จอัครสาวกภูมิ ก็ต้องอาศัยการฟังธรรม

    - อีกประการหนึ่ง ยกเว้นพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว แม้พระสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตร เป็นต้น ผู้เป็นเลิศด้วยปัญญาญาณ สามารถนับเม็ดฝนที่ตกอยู่ตลอดกัปได้ ก็ยังไม่สามารถจะบรรลุอริยผล มีโสดาปัตติผล เป็นต้น โดยลำพังตนเองได้ ต่อเมื่อได้ฟังธรรม จากพระอัสสชิเป็นต้นแล้ว จึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และบรรลุธรรมสูงสุด ด้วยพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดา เพราะเหตุนี้ "ธรรมทานจึงประเสริฐที่สุด" ดังเรื่องปัญหาของท้าวสักกเทวราช (๓)


    ในสมัยหนึ่ง ท้าวสักกเทวราชพร้อมด้วยเทวดาหมื่นจักรวาลมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นถึงแล้วจึงน้อมนมัสการทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

    "การให้อะไร ชนะการให้ทั้งปวง รสแห่งอะไร ชนะรสทั้งปวง ความยินดีในอะไร ชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งอะไร ชนะทุกข์ทั้งปวง"

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพยดา ปรากฏใน ตัณหาวรรค ธรรมบท ว่า

    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ

    สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ

    การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง

    รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง

    ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง

    ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง

    ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย


    @@@@@@@@@@@@@@


    อ้างอิง

    (๑) ธรรมบท ขุททกนิกาย พระสูตรและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏฯ เล่ม ๔๓ หน้า ๓๒๕


    (๒) คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง

    (๓) ธรรมบท ขุททกนิกาย พระสูตรและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏฯ เล่ม ๔๓ หน้า ๓๒๓





    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2010
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    [​IMG]

    กราบอนุโมทนาเป็นอย่างสูงค่ะ
     
  4. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา </O:p>
    *
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2010
  5. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    ขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่เข้าถึงธรรมะในจิตใจครับ
    ขออนุญาติเพิ่มเติมหลักในการเก็บเกี่ยวธรรมะจากครูบาอาจารย์ท่านทั้งหลายครับ

    ....................................................................



    วุฒิธรรม ๔ ประการ
    ธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม


    วุฒิธรรม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องเจริญ หรือธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม เป็นหลักธรรมที่เกื้อกูลต่อการศึกษาเพื่อพัฒนาปัญญาให้เจริญขึ้น


    วุฒิธรรมประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ


    . สัปปุริสสังเสวะ (คบสัตบุรุษ) หมายถึง “หาครูดีให้พบ” การเลือกครูดีนั้น ต้องพิจารณา ๒ เรื่องใหญ่เป็นสำคัญ คือ ต้องพิจารณาจากการมีความรู้จริงและการมีนิสัยดีจริง เราจึงจะแน่ใจได้ว่าท่านจะสามารถสอนได้จริงทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพราะครูคือต้นแบบ และต้นแบบเป็นสิ่งสำคัญ


    . สัทธัมมัสสวนะ (ฟังธรรม) หมายถึง “ฟังคำครูให้ชัด”เมื่อเราได้พบครูดีแล้ว สิ่งสำคัญอันดับที่สองก็คือ ต้องฟังคำครูให้เข้าใจ อย่าให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพี้ยนความหมาย ฟังแล้วต้องได้ “คำจำกัดความ” ของเรื่องนั้นๆ ออกมาอย่างชัดเจนการให้คำจำกัดความ คือ การกำหนดความหมายที่ถูกต้องและชัดเจน ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ เพื่อให้ครูและนักเรียน เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน วิธีการหาคำจำกัดความแบบง่ายๆ ก็คือ การตั้งคำถามในเรื่องที่เรียนด้วยคำว่า “อะไร”


    . โยนิโสมนสิการะ (ตริตรองธรรม) หมายถึง “ตรองคำครูให้ลึก” เมื่อเราได้พบครูดีแล้ว ได้ฟังคำครูชัดเจนแล้ว แต่จะเข้าใจความรู้ของครูได้ลึกซึ้งมากน้อยแค่ไหน ก็อยู่ที่การนำความรู้กลับมาไตร่ตรองให้ลึกซึ้ง การตรองคำครูให้ลึก คือ การไตร่ตรองให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องถึงวัตถุประสงค์ของธรรมะในเรื่องนั้นๆ วิธีการหาวัตถุประสงค์ก็ทำได้ง่ายๆ ด้วยการตั้งคำถามว่า “ทำไม”


    . ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม) หมายถึง“ทำตามครูให้ครบ”เมื่อเราหาครูดีพบแล้ว ฟังคำครูชัดเจนแล้ว ตรองคำครูอย่างลึกซึ้งแล้ว สิ่งที่ต้องทำให้ได้ก็คือ ต้องปฏิบัติจริงให้ได้เหมือนครู คนที่ได้ครูดีแล้วเอาดีไม่ได้ก็เป็นเพราะ “ทำตามคำครูไม่ครบ” เพราะถ้าทำครบ ผลงานก็ต้องออกมาดีเหมือนที่ครูทำ วิธีการที่จะทำตามคำครูได้ครบนั้น มีทางเดียว ก็คือ ต้องรับเอานิสัยที่ดีของครูมาเป็นนิสัยของตนให้ได้ ยิ่งถ้าเป็นเรื่องการเรียนธรรมะด้วยแล้ว ต้องเอานิสัยทุ่มชีวิตเป็นเดิมพันในการทำความดีตามอย่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    จะเห็นได้ว่า “วุฒิธรรม ๔ ประการ” คือขุมทรัพย์ทางปัญญาที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบไว้ให้แก่พวกเรา เพื่อเป็นหลักในการเรียนรู้วิชาทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นทั้งทางโลกและทางธรรม ขอเพียงแต่พวกเราตั้งใจศึกษาให้ครบทั้ง อะไร ทำไม อย่างไร และผลเป็นอย่างไร แล้วลงมือปฏิบัติอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน แล้วความสุขและความเจริญในชีวิตย่อมบังเกิดขึ้นตามมาทันที


    ขอขอบพระคุณ
    ที่มา : วุฒิธรรม 4 ประการ คืออะไร? - DMC Forum
     
  6. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    สาธุ...อนุโมทามิ

    การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
     
  7. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย

    อภิวาทวันทา
    อนุโมทนา สาธุ...สาธุ...สาธุ...
    อนุโมทามิ

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...