"บัณฑิต กับการนินทาและสรรเสริญ" (สมเด็จพระญาณสังวร)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย วิริยะ13, 30 กันยายน 2016.

  1. วิริยะ13

    วิริยะ13 สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,834
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,492
    ค่าพลัง:
    +12,358
    [​IMG]

    "บัณฑิต กับการนินทาและสรรเสริญ"

    " .. พุทธภาษิตหนึ่งกล่าวไว้แปลความว่า "ภูเขาแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด บัณฑิตย่อมไม่หวั่น
    ไหวในนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น"


    พระพุทธองค์ "ทรงเปรียบบัณฑิตดังภูเขาหินแท่งทึบ เหตุด้วยบัณฑิตไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและ
    สรรเสริญ"
    นั่นคือทรงแสดงว่า "บัณฑิตมีคุณลักษณะของภูเขา คือมีความหนักแน่น ความแข็งแกร่ง
    ความผนึกติดกับพื้นฐานใหญ่มั่นคง คือความดี ความมีสติปัญญา"


    "บัณฑิต" ในพระพุทธศาสนาหมายถึง "คนดีมีปัญญา ผู้เป็นคนดี มีปัญญาเพียงพอ ย่อมรู้ธรรม ย่อมเชื่อ
    มั่นในกรรม ย่อมไม่หวั่นไหว"
    เมื่อมีผู้เจรจาส่งเสริมเพื่อให้สูงขึ้น ย่อมรู้ว่า "กรรม" คือ "การกระทำ" ความ
    ประพฤติปฎิบัติของตนเองเท่านั้น ที่จะเหยียบย่ำตนให้ต่ำลงได้ หรือส่งเสริมตนให้สูงขึ้นได้ ผู้ใดอื่นหาทำได้ไม่
    "นินทาก็ตาม สรรเสริญก็ตาม ไม่อาจทำได้" ทั้งเพื่อให้ตนต่ำลงหรือสูงขึ้น

    สำหรับบัณฑิต "นินทาและสรรเสริญ จึงย่อมทำให้เกิดเมตตาในผู้นินทาและกตัญญูรู้น้ำใจผู้สรรเสริญ
    เพียงเท่านั้น"
    มิได้ทำให้หวั่นไหวแต่อย่างใด .. "

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙
     

แชร์หน้านี้

Loading...