เรื่องเด่น ปชช.ชื่นชมภาพในหลวง ร.9 ติดฝาผนังพระอุโบสถ วัดอัมพุวราราม

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 5 ตุลาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    ปชช.ชื่นชมภาพในหลวงรัชกาลที่ 9 ติดฝาผนัง 89 ภาพ ที่พระอุโบสถวัดอัมพุวราราม

    เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 5 ต.ค.60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ ภายในพระอุโบสถ วัดอัมพุวราราม ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดแ ซึ่งเป็นพระอุโบสถกาญจนาภิเษก ทรงเสวยสิริราชสมบัติครองราชครบ 50 ปี ในหลวงรัชกาลที่ 9 ประดับภาพติดฝาผนังพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 89 ภาพ
    88e0b899e0b88ae0b8a1e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b983e0b899e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887-e0b8a3-9-e0b895e0b8b4.jpg

    วัดอัมพุวรารามตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ทางทิศเหนือของวัดติดกับวัดไผ่ล้อม มีเนื้อที่ทั้งหมด 9 ไร่ 2 งาน 3 ตารางวา เป็นวัดเก่าแก่อายุในราว 200 ปี ต่อมาชาวมอญได้สร้างพระอุโบสถกาญจนาภิเษก ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระมหากษัตริย์ไทย และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงดูแลชาวไทยมอญมาอย่างดีโดยตลอด ซึ่งภายในพระอุโบสถได้ประดับภาพติดฝาผนังพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 89 ภาพ แทนจิตรกรรมฝาผนังแบบพระอุโบสถที่พบเห็นกันทั่วไป ซึ่งด้านฝาผนังทิศตะวันออกเป็นภาพวันที่พสกนิกรสูญเสียครั้งใหญ่หลวง ประชาชนชาวไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างร่ำไห้ระงมกันทั่วทั้งแผ่นดิน และภาพเบื้องหน้าพระบรมโกศ และภาพในหลวงทรงโบกพระหัตถ์ ให้กับพสกนิกรที่เฝ้ารับเสด็จฯ ฝาผนังทิศใต้พระบรมฉายาลักษณ์ทรงพระเยาว์ และทรงศึกษา ฝาผนังทิศตะวันตกเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงทรงผนวช และทิศเหนือพระบรมฉายาลักษณ์ทรงครองราชและพระราชกรณียกิจเพื่อพสกนิกรทุกคน
    e0b899e0b88ae0b8a1e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b983e0b899e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887-e0b8a3-9-e0b895e0b8b4-1.jpg

    ด้าน พระครูวิสุทธิกิตติคุณ เจ้าอาวาสวัดอัมพุวราราม กล่าวว่า พระอุโบสถกาญจนาภิเษกหลังนี้เกิดจากศรัทธาของชาวมอญในเมืองปทุมธานี ตลอดถึงชาวมอญทั่วประเทศ และชาวไทยในประเทศไทยทุกคนทุกท่าน ตลอดเป็นชาวต่างชาติที่มีจิตสมานฉันท์พร้อมเพรียงพร้อมใจพร้อมบุญร่วมบุญกันอยากจะสร้างโบสถ์หลังนี้ให้เป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดีที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 เป็นพระอุโบสถกาญจนาภิเษก ได้รับการสนับสนุนจากพระสงฆ์ฝ่ายพระมหาเถระ ข้าราชการ พ่อค้าประชาชน ทุกสาขาอาชีพ ปัจจัยทุกบาททุกสตางค์นั้นล้วนเกิดจากศรัทธาของประชาชนทุกหมู่เหล่า การก่อสร้างใช้ศิลปกรรมของฝีมือช่างไทย ทั้งบานประตู หน้าต่าง ฐานพระประธาน ช่อฟ้า ใบระกา ลวดลายหน้าบัน ตลอดถึงฝาผนัง พระอุโบสถด้านนอกที่ประดับเบญจรงค์ เพื่อให้อุโบสถหลังนี้ เป็นที่ทำสังฆกรรมของพระสงฆ์ส่วนหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่จะมีการประชุมอบรมสัมมนา บอกศีลบอกธรรม ประชุมเด็กนักเรียนแต่ละโรงเรียน ทั้งชั้นประถม มัธยม อุดมศึกษา อาชีวะ มาเดินจงกรมบ้าง มาฟังธรรมบ้าง มาปฏิบัติธรรมบ้าง สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดประโยชน์กับสังคม บรรยากาศรอบวัดร่มรื่นทางเข้าเป็นอุโมงค์ต้นไม้ โดยเฉพาะวัดอัมพุวรารามกับวัดไผ่ล้อมอยู่ติดกัน เป็นป่าไม้ผืนสุดท้ายของจังหวัดปทุมธานี ก็อยากให้ญาติโยมประชาชนได้มาเชิญมาชม เพราะระบบนิเวศตรงนี้สำคัญ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาอากาศจะดี มีฝูงปลานานาพันธุ์ ปลาตะเพียงหางแดง ปลาเสือตอ ต่างๆมากมาย
    0b899e0b88ae0b8a-2e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b983e0b899e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887-e0b8a3-9-e0b895e0b8b4-2.jpg

    วัดนี้เป็นวัดของชาวมอญ ซึ่งเกิดจากชาวมอญที่มาอยู่เมืองไทยในสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช โดยมีผู้นำมาคือท่านพญาเจ่ง ท่านเป็นหลานของกษัตริย์มอญองค์สุดท้าย เมื่อมอญเสียเมืองให้กับพม่าไป พญาเจ่งได้รวบรวมข้าราชบริพาร ข้าราชการ ทหาร คหบดีเข้าเมืองไทยมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของเจ้าตากสินมหาราช ในขณะนั้นพระเจ้าตากสินมหาราชของเรานั้นได้กอบกู้เอกราชได้แล้ว จึงได้รับชาวมอญจำนวน 3,000 ครอบครัว ให้มาอยู่ในเขตคลองอำเภอสามโคก และปากเกร็ด พญาเจ่งได้นำทหารจำนวน 3,000 นายจากบ้านละ 1 คน ไปช่วยอาสาช่วยงานราชการสงครามกับพระเจ้าตากสินมหาราชในการรวบรวมแผ่นดินไทยให้เป็นปึกแผ่นได้อย่างมากมายกว้างใหญ่ไพศาล และได้มีส่วนสำคัญในการรวมศึกสงคราม 9 ทัพในสมัยในหลวงรัชการที่1ที่เมืองกาญจน์ จนได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด จึงเป็นเหตุให้ได้รับโปรดเกล้าสถาปนาจากในหลวงรัชการที่1ให้เป็น เจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์

    ต่อมาได้รับโปรดเกล้าให้ย้ายครอบครัวจากสามโคกไปสร้างเมืองใหม่ที่พระประแดง ให้เป็นเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ โดยเป็นเจ้าเมืองมาหลายชั่วอายุคน รุ่น 1 รุ่น 2 รุ่น 3 เมื่อมาถึงวันที่ 4 ก็มีธิดาของท่านเจ้าพระยาดำรงราชวรขันธ์ คือเป็นหลานของพญาเจ่ง ซึ่งท่านมีธิดาอยู่ 2 ท่าน ชื่อคุณซ่อนกลิ่น โดยท่านเป็นพระมเหสีของในหลวงรัชกาลที่ 4 มีพระราชโอรส คือ พรหมพระนเรศต้นตระกูลเจษฎากร อีกพระองค์หนึ่งคือคุณเอม ไปเป็นภรรยาของท่านหม่อมเจ้าถนอมนพวงศ์ ก็มีพระราชโอรสคือหม่อมราชวงศ์ชื่นนพวงศ์ ต่อมาบรรพชาเป็นสามเณรและบวชเป็นพระภิกษุมานานจนรับเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 13 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์และเป็นพระราชอุปัชฌาจารย์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 นี้คือความสำคัญของชาวมอญที่อพยพมาอยู่เมืองไทยนครั้นนั้น

    เมื่อชาวมอญได้มาอยู่ก็ต่างตอบแทนคุณแผ่นดินอาศัยและเทิดทูนบูชาเคารพในราชวงศ์จักรี และสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่ชาวมอญมีให้กับประเทศไทยนั้นมีมาหลายชั่วอายุคน อาตมาเป็นเพียงเจ้าอาวาสรุ่นที่ 8 ที่วัดแห่งนี้ ก็ได้สร้างโบสถ์หลังนี้เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลให้กับในหลวงและราชวงศ์จักรี ดังที่กล่าวมาแล้วเจริญพรให้รับทราบและขออนุโมทนา

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/775786
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 ตุลาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...