ประวัติอาจารย์สายพระป่าธรรมยุติ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 23 ธันวาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript src="http://cdn1.hikiwake.com/scripts/shared/enable.js?si=10186"></SCRIPT>

    พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตตโก


    วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม



    พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตตโก เมื่อเป็นฆราวาสชื่อว่า เกิ่ง ทันธรรม เป็นบุตร นายทัน ทันธรรม และ นางหนูมั่น ทันธรรม โดยเป็นบุตรคนที่ ๓ เกิดในวันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ ที่บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

    เมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม โดยมีพระอาจารย์ คำดี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ สาย เป็นพระกรรมวาจารย์

    เมื่อบวชแล้วท่านก็ประพฤติปฏิบัติธรรมจนเป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนแถบลุ่มแม่น้ำสงคราม จนกระทั่งได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิชัย บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นเจ้าสำนักเรียนนักธรรมและบาลี และเป็นครูใหญ่ท่านแรกของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งตำบลสามผง ที่ตั้งอยู่ในวัดนี้ด้วย


    เป็นพระกรรมวาจาจารย์ในพิธีบวชพระอาจารย์ทองรัตน์

    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ท่านได้เข้าร่วมในพิธีอุปสมบทพระภิกษุรูปหนึ่งในฐานะพระกรรมวาจาจารย์ ในขณะนั้นท่านมีอายุ ๒๗ ปี พรรษา ๗ พรรษา พระภิกษุรูปนั้นคือ พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล ซึ่งตามประวัติที่เล่าไว้ในหนังสือ “มณีรัตน์” ว่า ท่านพระอาจารย์ทองรัตน์ในตอนนั้นอายุได้ ๒๖ ปี สาเหตุที่ออกบวชก็เนื่องจากท่านได้ไปจีบสาวต่างบ้าน สาวนั้นได้เกิดความชอบพอใจขึ้นมา และหลายครั้งได้คะยั้นคะยอ ให้ท่านนำญาติผู้ใหญ่ไปสู่ขอตามแระเพณี ถ้าไม่ไปสู่ขอ สาวเจ้าได้ยื่นคำขาดว่าจะขอหนีตาม

    หนุ่มทองรัตน์ได้คิดอยู่หลายวัน ถ้าจะปล่อยให้สาวหนีตามก็ไม่อยู่ในวิสัยของลูกผู้ชายอย่างหนุ่มทองรัตน์จะทำ ถ้าบอกปฏิเสธก็กลัวว่าสาวเจ้าจะเสียใจ และได้ตัดสินใจว่าจะยังไม่ขอแต่งงาน ถ้าขืนอยู่ต่อไปก็คงจะไม่พ้นอยู่ดี จึงบอกกับพ่อว่า ให้พาไปฝากกับพระอุปัชฌาย์เพื่อบวช พ่อก็ไม่อยากให้บวช เพราะท่านเป็นกำลังสำคัญในบ้าน จึงอยากให้มีครอบครัวมากกว่าออกบวช แต่ก็ต้องยอมตามคำอ้อนวอน และเหตุผลที่ได้อ้างต่อพ่อว่า “ยังไม่อยากมีเมีย” บิดาท่านจึงได้นำท่านไปบวชกับพระอุปัชฌาย์คาร คนฺธิโย วัดโพธิชัย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยพระอาจารย์เกิ่ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทองรัตน์ นี้ต่อมาก็ได้เป็นศิษย์องค์สำคัญองค์หนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต


    พบและเลื่อมใสพระอาจารย์มั่น


    <TABLE id=table1 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร</B>​



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระอาจารย์เกิ่งท่านมีสหธรรมมิกอยู่องค์หนึ่งคือพระอาจารย์สีลา อิสสโร แห่งวัดโพธิ์ชัย ตำบลวาใหญ่ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีอายุแก่กว่าท่าน ๑ ปี แต่อายุพรรษาน้อยกว่า ๒ พรรษา
    พ.ศ. ๒๔๖๙ แม้พระอาจารย์เกิ่งจะเป็นพระอาจารย์ที่มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสมากมาย มีอายุพรรษาถึง ๑๙ พรรษาแล้ว แต่ก็ยังสนใจที่จะเสาะแสวงหาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ด้วยยังมีข้อข้องใจในการปฏิบัติธรรมที่ค้างคาใจอยู่ ในระยะหลังท่านก็เริ่มได้ยินกิตติศัพท์ชื่อเสียงของพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น ว่าเป็นผู้มีคุณวิเศษในทางธรรมก็มีความสนใจ ครั้นพอทราบว่าหลวงปู่มั่น มาพักที่บ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ สกลนคร พระอาจารย์เกิ่ง จึงได้ชวนพระอาจารย์สีลา พร้อมพระเณรถูกวัดไปฟังเทศน์และสนทนาไต่ถามปัญหาข้ออรรถธรรมที่สงสัยค้างคาใจต่างๆ พร้อมทั้งสังเกตข้อวัตรของหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิด จนเกิดความอัศจรรย์ใจในข้ออรรถข้อธรรมและจริยาวัตรของท่าน ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส

    พระอาจารย์เกิ่ง ได้นิมนต์หลวงปู่มั่น ให้ไปโปรดญาติโยมและพักจำพรรษาที่บ้านสามผง ถิ่นที่พำนักของท่าน พร้อมทั้งขอถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ปฏิบัติธรรมใกล้ชิด จนเกิดผลประจักษ์ทางใจอย่างที่ไม่เคยได้สัมผัสรับรู้มาก่อน


    ญัตติเป็นธรรมยุต

    ในที่สุดพระอาจารย์เกิ่ง ได้ตัดสินใจสละตำแหน่งและลาภยศต่างๆ ทั้งหมด แล้วขอญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต พร้อมกับพระอาจารย์สีลา รวมทั้งลูกศิษย์พระเณรของพระอาจารย์ทั้งสองก็ขอญัตติตามหมดทั้งวัด

    ในวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๙ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ก็ได้ทำญัตติกรรมพร้อมกับพระภิกษุที่เป็นศิษย์ของท่านทั้งสองอีกประมาณ ๒๐ องค์ อีกด้วย ในจำนวนพระภิกษุที่มาทำการญัตติ มีพระอาจารย์สิม พุทธาจาโร ซึ่งครั้งนั้นยังเป็นสามเณรรวมอยู่ด้วยรูปหนึ่ง โดยได้กระทำพิธีที่อุทกุกเขปสีมา (โบสถ์น้ำ) หนองสามผง สำหรับโบสถ์น้ำที่ท่านจัดสร้างขึ้นนี้ ใช้เรือ ๒ ลำลอยเป็นโป๊ะ เอาไม้พื้นปูเป็นแพ แต่ไม่มีหลังคา เหตุที่สร้างโบสถ์น้ำทำสังฆกรรมคราวนี้ ก็เพราะในป่าจะหาโบสถ์ให้ถูกต้องตามพระวินัยไม่ได้ การทำญัตติกรรมครั้งนี้ ได้อาราธนาท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นพระครูชิโนวาทธำรง มาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และท่านพระอาจารย์มั่นฯ นั่งหัตถบาสร่วมอยู่ด้วย

    หลังจากนั้นอีก ๗ วัน ก็มีพระเถระเดินทางมาขอญัตติอีกรูปหนึ่ง ณ ที่เดียวกันนี้ นับเป็นพระเถระองค์ที่สาม ที่มาขอญัตติเป็นพระธรรมยุตในช่วงนั้นด้วย พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พระดังจากบ้านกุดแห่ อ เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ จ ยโสธร) ท่านอาญาครูดี ท่านนี้เป็นอาจารย์ของพระอาจารย์ฝั้นมาก่อน ชาวบ้านตั้งฉายาท่านว่าอาจารย์ดีผีย่าน เพราะท่านมีอิทธิฤทธิ์เก่งกล้าและคาถาอาคมในการปราบผีและคุณไสย์ต่างๆ

    พระอาจารย์ดี ได้ดั้นด้นบุกป่าดงออกเสาะหาของดีของขลังมาถึงบ้านสามผง ได้รู้กิตติศัพท์เกี่ยวกับหลวงปู่มั่น จึงเข้าไปกราบขอฟังธรรมและปฏิบัติธรรมด้วย จนประจักษ์ผลทางใจอย่างน่าอัศจรรย์ ในที่สุดก็ขอสละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านกุดแห่ หรือ วัดศรีบุญเรือง ท่าแขก ที่โด่งดังในสมัยนั้น แล้วขอญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุตออกติดตามคณะกองทัพธรรม และเป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่เสาร์จนถึงวาระสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ท่าน

    ในพรรษานั้นจึงเป็น การประกาศธรรมชนิดพลิกแผ่นดินที่บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ทำให้ชื่อเสียงของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมทั้งกิตติศัพท์ของกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ลือเลื่องกระเดื่องไกล เป็นที่อัศจรรย์ร่ำลือของผู้คนในแถบนั้น ถึงกับว่า หลวงปู่ทั้งสององค์ เป็นพระผู้วิเศษที่ทำให้พระดังถึงสามองค์ยินยอมถวายตัวเป็นศิษย์ได้

    หลังจากที่ท่านได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตแล้วก็ได้เข้าร่วมกับกองทัพธรรมพระกรรมฐาน โดยมีพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่นภูริทตฺโต พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโมเป็นหัวหน้า


    ตามพระอาจารย์มั่นฯ ไปอุบลราชธานี

    หลังจากออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้ว พระอาจารย์เกิ่งก็ได้ติดตามคณะพระอาจารย์มั่นซึ่งประกอบด้วยพระภิกษุสามเณรประมาณ ๗๐ รูป เดินทางมาที่บ้านโนนแดง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในกิ่งอำเภอนาหว้า) จังหวัดนครพนม และ ที่นั้นได้มีการประชุมหารือกันในเรื่องที่จะไปเผยแพร่ธรรมและไปโปรดเทศนาญาติโยมที่เมืองอุบล รวมทั้งได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ เกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน จากนั้น ท่านพระอาจารย์ใหญ่ก็ได้ปรารภเรื่องจะนำโยมแม่ออก (มารดาท่านซึ่งบวชเป็นชี) ไปส่งมอบให้น้องสาวท่านที่จังหวัดอุบลช่วยดูแล เพราะท่านเห็นโยมแม่ท่านชรามาก อายุ ๗๘ ปีแล้ว เกินความสามารถท่านผู้เป็นพระจะปฏิบัติได้แล้ว พระอาจารย์สิงห์ อาจารย์มหาปิ่น ต่างก็รับรองเอาโยมแม่ออกท่านไปส่งด้วย เพราะโยมแม่ออกของพระอาจารย์แก่มากหมดกำลัง ต้องไปด้วยเกวียนจึงจะไปถึงเมืองอุบล ฯ ได้

    การเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง เพราะบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งใหญ่และเล็กก็ได้เตรียมที่จะเดินทางติดตามท่านในครั้งนี้แทบทั้งนั้น การเดินทางเป็นการเดินแบบเดินธุดงค์ แต่การธุดงค์นั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ด้วย ท่านจึงจัดเป็นคณะๆ ละ ๓ รูป ๔ รูปบ้าง ท่านเองเป็นหัวหน้าเดินทางไปก่อน เมื่อคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมที่คณะที่ ๑ พัก คณะที่ ๓-๔ เมื่อตามคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมนั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้สอนญาติโยมตามรายทางด้วย การสอนนั้นก็เน้นหนักไปในทางกัมมัฏฐาน และการถึงพระไตรสรณาคมน์ ที่ให้ละการนับถือภูตผีปีศาจต่าง ๆ นานา เป็นการทดลองคณะศิษย์ไปในตัวด้วยว่า องค์ใดจะมีผีมือในการเผยแพร่ธรรม

    ในการเดินทางนั้น พอถึงวันอุโบสถ ก็จะนัดทำปาฏิโมกข์ หลังจากนั้นแล้วก็จะแยกย้ายกันไปตามที่กำหนดหมาย
    การเดินธุดงค์แบบนี้ท่านบอกว่าเป็นการโปรดสัตว์ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัททั้งหลาย และก็เป็นจริงเช่นนั้น แต่ละแห่งที่ท่านกำหนดพักนั้น ตามหมู่บ้าน ประชาชนได้เกิดความเลื่อมใสยิ่งในพระคณะกัมมัฏฐานนั้นเป็นอย่างดีและต่างก็รู้ผิดชอบในพระธรรมวินัยขึ้นมาก ตามสถานที่เป็นที่พักธุดงค์ในการครั้งนั้น ได้กลับกลายมาเป็นวัดของคณะกัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่ในภายหลัง โดยญาติโยมทั้งหลายที่ได้รับรสพระธรรมได้พากันร่วมอกร่วมใจกันจัดการให้เป็นวัดขึ้น โดยเฉพาะให้เป็นวัดพระภิกษุสามเณร ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร บำเพ็ญสมาธิกัมมัฏฐาน
    อย่างไรก็ตาม คณะธุดงค์ทั้งหลายก็เผอิญไปพบกันเข้าอีก ที่จังหวัดสกลนคร เพื่อร่วมงานศพมารดานางนุ่ม ชุวานนท์ และงานศพพระยาปัจจันตประเทศธานี บิดาของพระพินิจฯ เมื่อเสร็จงานฌาปนกิจทั้งสองศพนั้นแล้ว พระอาจารย์ทั้งสองและสานุศิษย์ต่างก็แยกย้ายกันธุดงค์ต่อไปเพื่อมุ่งไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนท่านอาจารย์มั่นฯ ธุดงค์ไปทางบ้านเหล่าโพนค้อ ได้แวะไปเยี่ยมอุปัชฌาย์พิมพ์ ต่อจากนั้นท่านก็ธุดงค์ต่อไป และพักบ้านห้วยทราย ๑๐ วัน โดยจุดมุ่งหมาย ท่านต้องการจะเดินทางกลับไปที่จังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้บรรลุถึงหมู่บ้านหนองขอน อยู่ในเขตอำเภออำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านหลวงปู่สิงห์ ซึ่งชาวบ้านเมื่อได้ฟังธรรมเทศนาของท่านแล้ว เกิดความเลื่อมใสจึงได้พร้อมใจกันอาราธนาให้ท่านจำพรรษา เมื่อท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ก็รับอาราธนา ชาวบ้านจึงช่วยกันจัดแจงจัดเสนาสนะถวายจนเป็นที่พอเพียงแก่พระภิกษุที่ติดตามมากับท่าน

    พ.ศ. ๒๔๗๐ ในพรรษานี้ท่านได้ธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่น ฯ มาพักอยู่บ้านหนองขอน ตามที่ชาวบ้านได้อาราธนา ส่วนหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระมหาปิ่นจำพรรษาที่บ้านหัวตะพาน บริเวณใกล้เคียงกัน


    พระกรรมฐานโดนพระเถระผู้ใหญ่ขับไล่


    ระหว่างปีนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสเถระ อ้วน) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระโพธิวงศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลและเจ้าคณะธรรมยุตในภาคอีสาน ทราบข่าวว่ามีคณะพระกัมมัฏฐานของพระอาจารย์มั่น เดินทางมาพักอยู่ที่บ้านหัวตะพาน จึงสั่งให้เจ้าคณะแขวง อำเภอม่วงสามสิบ กับเจ้าคณะแขวงอำเภออำนาจเจริญ พร้อมด้วยนายอำเภออำนาจเจริญ ไปทำการขับไล่พระภิกษุคณะนี้ออกไปให้หมด ทั้งยังได้ประกาศด้วยว่า ถ้าผู้ใดใส่บาตรพระกัมมัฏฐานเหล่านี้จะจับใส่คุกให้หมดสิ้น แต่ชาวบ้านก็ไม่กลัว ยังคงใส่บาตรกันอยู่เป็นปกติ นายอำเภอทราบเรื่องจึงไปพบพระภิกษุคณะนี้อีกครั้งหนึ่ง แล้วแจ้งมาว่า ในนามของจังหวัด ทางจังหวัดสั่งให้มาขับไล่

    หลวงปู่สิงห์ซึ่งเป็นคนจังหวัดอุบลฯ ได้ตอบโต้ไปว่า ท่านเกิดที่นี่ท่านก็ควรจะอยู่ที่นี่ได้ นายอำเภอไม่ยอม พระอาจารย์ฝั้นก็ได้ช่วยพูดขอร้องให้มีการผ่อนสั้นผ่อนยาวกันบ้าง แต่นายอำเภอก็ไม่ยอมท่าเดียว จากนั้นก็จดชื่อพระกัมมัฏฐานไว้ทุกองค์ รวมทั้งพระอาจารย์มั่น หลวงปู่สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น พระอาจารย์เที่ยง พระอาจารย์อ่อน พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์เกิ่ง พระอาจารย์สีลา ฯลฯ จนหมด แม้กระทั่งนามโยมบิดามารดา สถานที่เกิด วัดที่บวช ทั้งหมดมีพระภิกษุสามเณรหว่า ๕๐ รูป และพวกลูกศิษย์ผ้าขาวอีกมากร่วมร้อยคน นายอำเภอต้องใช้เวลาจดตั้งแต่กลางวันจนถึงสองยามจึงเสร็จ ตั้งหน้าตั้งตาจดจนกระทั่งไม่ได้กินข้าวเที่ยง เสร็จแล้วก็กลับไป

    ทางฝ่ายพระทั้งหลายก็ประชุมปรึกษากันว่า ทำอย่างไรดีเรื่องนี้จึงจะสงบลงได้ ไม่ลุกลามออกไปเป็นเรื่องใหญ่ พระอาจารย์อ่อน และพระอาจารย์ฝั้นรับเรื่องไปพิจารณาแก้ไข

    เสร็จการปรึกษาหารือแล้ว พระอาจารย์ฝั้น ก็รีบเดินทางไปพบพระอาจารย์มั่นที่บ้านหนองขอน ซึ่งอยู่ห่างออกไป ๕๐ เส้น พระอาจารย์มั่น ทราบเรื่องจึงให้พระอาจารย์ฝั้นนั่งพิจารณา พอกำหนดจิตเป็นสมาธิแล้วปรากฏเป็นนิมิตว่า

    “แผ่นดินตรงนั้นขาด”

    คือแยกออกจากกันเป็นสองข้าง ข้างโน้นก็มาไม่ได้ ข้างนี้ก็ไปไม่ได้ พอดีสว่าง พระอาจารย์ฝั้นจึงเล่าเรื่องที่นิมิตให้พระอาจารย์มั่นฟัง

    เช้าวันนั้นเอง พระอาจารย์มหาปิ่นกับพระอาจารย์อ่อน ได้ออกเดินทางไปจังหวัดอุบล เพื่อพบกับเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะจังหวัดชี้แจงว่า ท่านไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย จากนั้นได้ให้นำจดหมายไปบอกนายอำเภอว่า ท่านไม่ได้เกี่ยวข้อง เรื่องยุ่งยากทั้งหลายจึงได้ยุติลง


    พระอาจารย์มั่นฯ ปรารภเรื่องปลีกตัวออกจากหมู่เพื่อวิเวก

    ครั้นออกพรรษาในปี ๒๔๗๐ แล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้เดินธุดงค์ไปถึงตัวจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้นำโยมแม่ออกท่านไปมอบให้น้องสาวท่านในเมืองอุบล ฯ ท่านและคณะศิษย์พักที่วัดบูรพา คณะสานุศิษย์เก่า ๆ ทั้งหลาย อันมีอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร, อาจารย์อ่อน ญาณสิริ, อาจารย์ฝั้น อาจาโร, อาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก พร้อมด้วยศิษย์ อาจารย์หลุย อาจารย์กว่า สุมโน, อาจารย์คูณ, อาจารย์สีลา อาจารย์ดี ( พรรณานิคม ) อาจารย์บุญมา (วัดป่าบ้านโนนทัน อุดรธานี ในปัจจุบันนี้ ) อาจารย์ทอง อโสโก อาจารย์บุญส่ง (บ้านข่า) อาจารย์หล้า หลวงตาปั่น (อยู่พระบาทคอแก้ง) เมื่อได้ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ เดินทางมาพำนักอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ทุกองค์เหล่านี้ก็ได้ติดตามมาในเดือน ๓ เพ็ญ บรรดาศิษย์ทั้งหมด มีหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นต้น ก็ได้ร่วมประชุมอบรมธรรมปฏิบัติอย่างที่เคย ๆ ปฏิบัติกันมา
    ในค่ำคืนวันหนึ่ง ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เข้าที่ทำสมาธิภาวนาก็ได้ปรารภขึ้นในใจว่า

    “จะออกจากหมู่คณะไปแสวงหาสถานที่วิเวก เพื่อจะได้มีโอกาสพิจารณาค้นคว้าในปฏิปทาสัมมาปฏิบัติ ให้ได้รับความเข้าใจชัดเจน และแจ่มแจ้งเข้าไปอีก แล้วจะได้เอาปฏิปทาอันถูกต้องนั้นฝากไว้แก่เหล่าสานุศิษย์ในอนาคตต่อไป เพราะพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้น ย่อมมีนัยอันสุขุมลุ่มลึกมาก ยากที่จะทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ได้

    ผู้ปฏิบัติตามรอยพระบาทพระพุทธองค์และตามปฏิปทาที่พระอริยเจ้าได้ดำเนินมาก่อนแล้วนั้น เมื่อไม่เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว ย่อมจะเขวไปจากปฏิปทาที่ถูกต้องก็เป็นได้ หรืออาจดำเนินไปโดยผิดๆ ถูก ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้ปฏิบัติดีทั้งหลายก็จะเข้าไม่ถึงศีลถึงธรรม หรืออาจถึงกับป่วยการไม่เป็นประโยชนแก่ตนของตน การปฏิบัติพระธรรมวินัย ในพระพุทธศาสนาก็จะมีแต่ความพอกพูนกิเลสให้เจริญงอกงามขึ้นในตนของตนเท่านั้น ซึ่งไม่สมกับว่าพระธรรมวินัยเป็นของชำระกิเลสที่มีอยู่ให้สิ้นไปจากสันดานแห่งเวนัยสัตว์ทั้งหลาย

    “อนึ่ง การอยู่กับหมู่คณะจะต้องมีภาระการปกครอง ตลอดถึงการแนะนำพร่ำสอนฝึกฝนทรมานต่าง ๆ ซึ่งทำให้โอกาสและเวลาที่จะค้นคว้าในพระธรรมวินัยไม่เพียงพอ ถ้าแลเราปลีกตัวออกไปอยู่ในสถานที่วิเวก ซึ่งไม่มีภาระแล้ว ก็จะได้มีโอกาสเวลาในการค้นคว้ามากขึ้น ผลประโยชน์ในอนาคตก็จะบังเกิดขึ้นมาให้เป็นที่น่าพึงใจ”

    ครั้นท่านปรารภในใจอยู่อย่างนั้นแล้ว ท่านจึงได้เรียกศิษย์ทั้งหลาย มีหลวงปู่สิงห์เป็นต้น มาประชุมกัน ท่านได้แนะนำให้มีความมั่นคงดำรงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติอย่างที่ได้เคยแนะนำสั่งสอนมาแล้วนั้น จึงได้มอบหมายให้อำนาจแต่หลวงปู่สิงห์และท่านมหาปิ่น เป็นผู้บริหารปกครองแนะนำพร่ำสอนตามแนวทางที่ท่านได้แนะนำมาแล้วต่อไป

    เมื่อเสร็จจากการประชุมแล้วในการครั้งนั้น ท่านก็กลับไปที่บ้านของท่านอีก ได้แนะนำธรรมปฏิบัติซึ่งท่านได้เคยแนะนำมาก่อนแก่มารดาของท่านจนได้รับความอัศจรรย์อันเป็นภายในอย่างยิ่งมาแล้ว ท่านจึงได้ไปลามารดาของท่าน และได้มอบให้นางหวัน จำปาศีล ผู้น้องสาวเป็นผู้อุปฐากรักษาทุกประการ จากนั้นออกพรรษาแล้วประมาณเดือน ๓ หรือเดือน ๔ ท่านก็ได้ออกเดินทางต่อไปยังกรุงเทพฯ กับเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ จำพรรษาที่วัดสระปทุม และออกพรรษาแล้ว ก็ได้ติดตามพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ไปจำพรรษายังจังหวัดเชียงใหม่


    ติดตามหลวงปู่สิงห์ไปจังหวัดขอนแก่น

    ในพ.ศ. ๒๔๗๑ ระหว่างนี้หลวงปู่สิงห์และพระมหาปิ่น กับพระภิกษุสามเณรรวมกันถึง ๘๐ รูป ก็ได้เดินทางเที่ยววิเวกไปในสถานที่ต่างๆ ก็ได้เที่ยวเทศนาอบรมศีลธรรมประชาชนโดยการขอร้องของ เจ้าเมืองอุบลฯ เมื่อจวนเข้าพรรษาได้ไปพักจำพรรษาอยู่วัดบ้านหัวงัว อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นบ้านญาติท่าน

    ในช่วงที่หลวงปู่สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่นอยู่ที่บ้านหัวงัว ท่านก็ได้ทราบข่าวจาก เจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น เจ้าอาวาสวัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นญาติของท่านด้วย ว่าทางขอนแก่นมีเหตุการณ์ไม่สู้ดี ขณะนั้นพระอาจารย์ฝั้นซึ่งจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์ ที่หนองน่อง บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนมก็ได้มากราบนมัสการและได้ร่วมปรึกษาหารือกับหลวงปู่สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่นในเรื่องดังกล่าว และเห็นควรลงไปช่วยพระครูพิศาลอรัญเขต (จันทร์ เขมิโย) เมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันออกเดินทาง โดยกำหนดให้ไปพบกันก่อนเข้าพรรษาที่ที่วัดเหล่างา ขอนแก่น

    เมื่อเป็นดังนั้น ชาวอำเภอยโสธร มีอาจารย์ริน อาจารย์แดง อาจารย์อ่อนตา เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยชาวบ้านร้านตลาด ได้จ้างเหมารถยนต์ให้ ๒ คัน ท่านและคณะได้พากันออกเดินทางจากอำเภอยโสธรโดยทางรถยนต์ไปพักแรมอยู่ จ.ร้อยเอ็ด ๑ คืน แล้วออกเดินทางไปพักอยู่ที่ จ.มหาสารคามที่ดอนปู่ตา ที่ชาวบ้านกล่าวกันว่าผีดุ มีชาวบ้านร้านตลาดและข้าราชการพากันมาฟังเทศน์มากมาย จากนั้นเดินทางต่อไปถึงบ้านโนนยาง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ และได้ไปรวมกันอยู่ที่วัดเหล่างา ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่น


    เหตุการณ์ไม่สู้ดีที่ขอนแก่น

    ที่เมืองขอนแก่น นั้นคณะหลวงปู่สิงห์และพระมหาปิ่นได้พบว่าเหตุการณ์ก็ไม่สู้ดี ตามที่พระครูพิศาลอรัญเขตว่าไว้ ดังที่ปรากฏในหนังสือ อัตโนประวัติหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ซึ่งในสมัยนั้นท่านได้ร่วมอยู่ในคณะด้วย ท่านได้เขียนไว้ว่า

    “ข้าได้พักอยู่กับพระอาจารย์สิงห์ ฟังเสียงพวกโยนคนเมืองขอนแก่น ไม่เคยเห็นพระกรรมฐาน ตื่นเต้นกล่าวร้ายติเตียนกันไปสารพัดต่างๆ นานา มิใช่ เขาตื่นเต้นไปทางกลัวทางเสื่อมใส ดังพวกชาวเมืองราชคฤห์ ตื่นเต้นคราวได้เห็นพระพุทธเจ้าออกบรรพชาใหม่ไปเที่ยวบิณฑบาตนั้น

    เมืองขอนแก่นพากันตื่นเต้นอย่างเห็นพระกรรมฐานเป็นสัตว์ เรียกพวกพระกรรมฐานว่า “พวกบักเหลือง” คำว่า “บักเหลือง” นี้เขาว่าพระกรรมฐานทั้งหลายเป็นงูจงอาง อีหล้าคางเหลือง
    ฉะนั้นจึงมีคนเขาออกมาดูพวกพระกรรมฐาน เขาจำต้องมีมือ ถือไม้ค้อนกันมาแทบทุกคน เมื่อมาถึงหมู่พวกข้าแล้ว ถือค้อนเดินไปมาเที่ยวดูพระเณรที่พากันพักอยู่ตามร่มไม้และร้านที่เอากิ่งไม้ แอ้ม และมุงนั้นไปๆ มาๆ แล้วก็ยืนเอาไม้ค้อนค้ำเอว ยืนดูกันอยู่ก็มีพอควร แล้วก็พากันกลับบ้าน เสียงร้องว่าเห็นแล้วละพวกบักเหลือง พวกอีหล้าคางเหลือง พวกมันมาแห่น (แทะ) หัวผีหล่อน (กะโหลก) อยู่ป่าช้าโคกเหล่างา มันเป็นพวกแม่แล้ง ไปอยู่ที่ไหนฝนฟ้าไม่ตกเลยจงให้มันพากันหนี ถ้าพวกบักเหลืองไม่หนีภายในสามสี่วันนี้ ต้องได้ถูกเหง้าไม้ไผ่ค้อนไม้สะแกไปฟาดหัวมันดังนี้ไปต่างๆ นานา จากนี้ไปก็มีเขียนหนังสือปักฉลากบอกให้หนี ถ้าไม่หนีก็จะเอาลูกทองแดงมายิงบูชาละ ดังนี้เป็นต้น
    ไปบิณฑบาตไม่มีใครยินดีใส่บาตรให้ฉัน จนพระอาจารย์สิงห์ภาวนาคาถาอุณหัสสวิชัย ว่าแรงๆ ไปเลยว่า ตาบอดๆ หูหนวกๆ ปากกืก ๆ (ใบ้) ไปตามทางบิณฑบาตนั้นแหละ

    ทั้งมีแยกกันไปบิณฑบาต ตามตรอกตามบันไดเรือนไปเลย จึงพอได้ฉันบ้าง ทั้งพระอาจารย์ก็มีการประชุมลูกศิษย์วันสองวันต่อครั้งก็มี

    ท่านให้โอวาทแก่พวกลูกศิษย์ได้มีความอบอุ่นใจไม่ให้มีความหวาดกลัวอยู่เสมอ แต่ตัวข้าก็ได้อาศัยพิจารณากำหนดจิตตั้งอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ นี้อยู่เรื่อยไป”


    แยกย้ายกันไปตั้งวัดใหม่


    ที่วัดเหล่างา (ปัจจุบันคือวัดวิเวกธรรม) พระปฏิบัติสัทธรรมชุดนี้ ได้ประชุมตกลงให้แยกย้ายกันไปตั้งเป็นสำนักสงฆ์วัดป่าฝ่ายอรัญวาสีขึ้นหลายแห่งในจังหวัดขอนแก่น เพื่อเผยแผ่ธรรม เทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฏฐิ เลิกจากการเคารพนับถือภูตผีปีศาจ และให้ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์ โดย ได้แยกกันอยู่จำพรรษาตามสำนักสงฆ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

    ๑. หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์หลุย อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าวิเวกธรรม ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

    ๒. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านพระคือ อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

    ๓. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านผือ ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

    ๔. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าชัยวัน บ้านสีฐาน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

    ๕. พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านคำไฮ ตำบลเมืองเก่า อำเภอพระลับ จังหวัด ขอนแก่น

    ๖. พระอาจารย์อุ่น พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านทุ่ง อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

    ๗. พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านโคกโจด อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

    ๘. พระอาจารย์ซามา อุจุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านยางคำจังหวัดขอนแก่น

    ๙. พระอาจารย์นิน อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

    เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ในพิธีอุปสมบทญัตติ “พระจวน กลฺยาณธมฺโม” มาเป็นฝ่ายธรรมยุต ในฉายาใหม่ว่า “กุลเชฏฺโฐ” โดยมีพระครูทัศนวิสุทธิ (มหาดุสิต เทวิโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดป่าสำราญนิเวศน์ ตำบลบ้านบุ่ง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี


    กลับไปอยู่ถิ่นเดิม

    พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต พระอาจารย์บุญมา มหายโส พระอาจารย์ทอง อโสโก พระอาจารย์สนธิ์ พระอาจารย์ คำ คมฺภีโร พระอาจารย์จรัส พร้อมด้วยภิกษุและสามเณรหมวดละ ๗ องค์ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่าย วิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดนครพนม

    เมื่อไปถึงจังหวัดนครพนมแล้ว ท่านได้แยกกันอยู่ตามสำนักต่างๆ ดังนี้

    ๑. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต อยู่สำนักวัดโพธิชัย ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้ รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์

    ๒. พระอาจารย์บุญมา มหายโส อยู่สำนักวัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร มีนามว่าพระครูไพโรจน์ ปัญญาคุณ

    ๓. พระอาจารย์ทอง อโสโก อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าเกาะแก้ว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

    ๔. พระอาจารย์สนธิ์ อยู่สำนักสงฆ์วัดถ้ำบ้านนาโสก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

    ๕. พระอาจารย์คำ คมฺภีโร อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าสิลาวิเวก อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม

    ๖. พระอาจารย์จรัส อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าท่าควาย อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม


    มรณภาพ

    เมื่อ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ด้วยโรคกระเพาะ และลำไส้เรื้อรัง ที่ศาลาการเปรียญ วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม รวมอายุได้ ๗๘ ปี


    หลวงตามหาบัวกล่าวถึงพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก


    “ท่านอาจารย์เกิ่ง นี่ก็เป็นคนสามผง ลูกศิษย์องค์สำคัญองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ท่านเป็นพระที่จริงจังมากนะ เด็ดเดี่ยว ท่านอาจารย์เกิ่ง เราก็คุ้นเคยกับท่านอยู่แล้ว อันนี้เราไม่ได้เห็นด้วยตาตัวเอง ได้ทราบว่าอัฐิธาตุของท่านเป็นพระธาตุ เราเชื่อไว้ก่อนแล้วแหล่ะ เรายังไม่ไปเห็นแต่เราก็เชื่อไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว เพราะเชื่อปฎิปทาการดำเนิน ความสัตย์ ความจริงของท่าน เคร่งครัดในธรรมวินัยมาก เพราะเชื่อปฎิปทาของท่านเป็นความเด็ดเดี่ยวจริงจังมากทุกอย่าง คล้ายคลึงกับนิสัยพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นเรา นิสัยเด็ดเดี่ยวจริงๆว่าอะไรเป็นอันนั้นเลยเที่ยว นี่แหละหลวงปู่มั่นเราเป็นอย่างนั้น เด็ดเดี่ยว ว่าอะไรเป็นอันนั้น ท่านอาจารย์เกิ่งก็เหมือนกัน นิสัยแบบเดียวกัน“
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2010
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน

    [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript src="http://cdn1.hikiwake.com/scripts/shared/enable.js?si=10186"></SCRIPT>


    พระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน
    วัดมหาชัย ต. หนองบัว อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
    พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน เดิมชื่อ กู่ เกิดในตระกูล สุวรรณรงค์ ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร นับเป็นญาติที่ใกล้ชิดกัน บิดาท่านคือ หลวงพรหม (เมฆ สุวรรณรงค์) มารดาชื่อ หล้า สุวรรณรงค์ ท่านเกิดในวันเสาร์ เดือน ๕ ปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ ท่านมีน้องชาย คือ พระอาจารย์กว่า สุมโน แห่งวัดกลางโนนกู่ อำเภอพรรณานิคม ซึ่งเกิดในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ อ่อนกว่าท่าน ๓ ปี

    การอุปสมบท
    ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายมหานิกาย ณ สำนักวัดโพธิ์ชัย บ้านม่วงไข่ อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร โดยมีพระครูสกลสมณกิจ (ท่านอาญาครูธรรม) เป็นพระอุปัชฌาย์ ตามประวัติในที่ต่าง ๆ ไม่ปรากฏว่าท่านได้อุปสมบทในปีใด แต่สันนิษฐานว่าท่านบวชเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพราะในปีนั้นเองที่ท่านได้ไปฟังเทศน์กับพระอาจารย์ฝั้น ที่บ้านม่วงไข่ และได้ไปในเพศสมณะแล้ว

    พบพระอาจารย์มั่น
    ใน พ.ศ. ๒๔๖๓ เดือน ๓ ข้างขึ้น เป็นระยะเวลาที่พระอาจารย์กู่ได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และได้ปวารณาตนขอเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สาเหตุที่พบกันมีอยู่ว่า ระยะเวลาดังกล่าว พระอาจารย์มั่น พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรอีกหลายรูป ได้เที่ยวธุดงค์ไปพักที่วัดป่าภูไทสามัคคี บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ญาติโยมทั้งหลายในบ้านม่วงไข่ ได้พากันไปนมัสการ และขอฟังพระธรรมเทศนาของท่าน สำหรับพระภิกษุที่ไปร่วมฟังด้วย มีท่านอาญาครูดี พระอาจารย์กู่ และพระอาจารย์ฝั้น ผู้เป็นญาติของท่าน

    เมื่อพระอาจารย์มั่นแสดงธรรมจบลง ญาติโยมน้อยใหญ่ต่างพากันเลื่อมใสเป็นอันมาก พากันสมาทานรับเอาพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง ตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ส่วนท่านอาญาครูดี พระอาจารย์กู่ และพระอาจารย์ฝั้น เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาจบลง ก็บังเกิดความปีติยินดีและเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง ทุกท่านเกิดกำลังใจมุมานะอยากบังเกิดความรอบรู้เหมือนพระอาจารย์มั่น จึงปรึกษาหารือกันว่า พระอาจารย์มั่น ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือในชั้นสูง คือเรียนสนธิ เรียนมูลกัจจายน์ ประถมกัปป์ ประถมมูล จนกระทั่งสำเร็จมาจากเมืองอุบล จึงแสดงพระธรรมเทศนาได้ลึกซึ้งและแคล่วคล่องไม่ติดขัด ประดุจสายน้ำไหล พวกเราน่าจะต้องตามรอยท่าน โดยไปร่ำเรียนจากอุบลฯ ให้สำเร็จเสียก่อน จึงจะแปลอรรถธรรมได้เหมือนท่าน

    เมื่อปรึกษาหารือกันแล้ว ได้พากันปวารณาตัวขอเป็นศิษย์ต่อพระอาจารย์มั่น รับเอาข้อวัตรปฏิบัติ ถือธุดงควัตรโดยเคร่งครัด กับได้ขอติดสอยห้อยตามท่านอาจารย์มั่นไปด้วย แต่ท่านพระอาจารย์มั่นท่านคอยไม่ได้ เพราะทั้งสามท่านยังไม่พร้อมในเรื่องบริขารสำหรับธุดงค์ จึงออกเดินทางไปก่อน พระอาจารย์ทั้งสามต่างได้รีบจัดเตรียมบริขารสำหรับธุดงค์อย่างรีบด่วน เมื่อพร้อมแล้ว จึงออกติดตามท่านพระอาจารย์มั่นไปทั้งสามท่าน

    ในระหว่างนั้น พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล (พระรัตนากรวิสุทธิ์ เจ้าคณะธรรมยุต จังหวัดสุรินทร์) ซึ่งก็ได้เดินทางเที่ยวตามหาพระอาจารย์มั่นด้วยเหมือนกัน โดยเดินธุดงค์เลียบฝั่งแม่น้ำโขงมาจนถึงบ้านม่วงไข่ แล้วจึงได้ไปพักอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย เมื่อท่านอาญาครูดี พระอาจารย์กู่ และพระอาจารย์ฝั้น ได้ไปพบพระอาจารย์ดูลย์ที่วัดนั้น จึงได้ศึกษาธรรมเบื้องต้นกับท่านอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเนื่องจากต่างก็มีความประสงค์จะตามหาพระอาจารย์มั่นด้วยกันอยู่แล้ว ดังนั้นพระอาจารย์ทั้ง ๔ จึงได้ร่วมกันเดินธุดงค์ติดตาม โดยพระอาจารย์ดูลย์รับหน้าที่เป็นผู้นำทาง ปีนั้นเป็นปี พ.ศ. ๒๔๖๔

    เมื่อธุดงค์ติดตามไปถึงตำบลบ้านคำบก อำเภอหนองสูง (ปัจจุบัน อำเภอคำชะอี) จังหวัดนครพนม จึงทราบว่า พระอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่ที่บ้านห้วยทราย และท่านกำลังเดินธุดงค์ต่อไปยังอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์ทั้งสี่จึงรีบติดตามไปอย่างเร่งรีบ จนกระทั่งไปทันพระอาจารย์มั่นที่บ้านตาลโกน ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน

    พระอาจารย์ทั้งสี่ได้ศึกษาธรรมอยู่กับพระอาจารย์มั่นเป็นเวลา ๓ วัน จากนั้นจึงได้ไปกราบนมัสการพระอาจารย์เสาร์ ที่บ้านหนองดินดำแล้วไปหาพระอาจารย์สิงห์ ที่บ้านหนองหวาย ตำบลเดียวกัน ศึกษาธรรมอยู่กับท่านอีก ๗ วัน จากนั้นก็ได้กลับไปอยู่บ้านตาลเนิ้ง และได้ไปรับฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่นอยู่เสมอ ๆ

    เมื่อออกพรรษาแล้ว พระภิกษุที่เป็นศิษยานุศิษย์ทั้งหลายของพระอาจารย์มั่น ต่างก็แยกย้ายกันออกธุดงค์ต่อไป พระอาจารย์ฝั้นก็แยกออกไปกับสามเณรพรหม ผู้เป็นหลาน ไปทางอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่ดูลย์ คาดว่าธุดงค์ไปทางจังหวัดสุรินทร์ระยะหนึ่ง แล้วจึงขึ้นไปทางอีสานเหนือ ไปทาง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีสามเณรติดตามไปด้วยองค์หนึ่ง

    ส่วนพระอาจารย์กู่เข้าใจว่าได้อยู่ติดตามพระอาจารย์มั่นไป

    ญัตติเป็นธรรมยุต
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ญัตติเป็นพระภิกษุธรรมยุติกนิกาย โดยมีพระอดิศัยคุณาธาร (คำ อรโก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระกรรมวาจารย์ ณ วัดมหาชัย ต. หนองบัว อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

    พ.ศ. ๒๔๖๘ ในปีนี้พระอาจารย์กว่า สุมโน ผู้เป็นน้องชายก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติ ณ วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธโล) เมื่อยังเป็นพระครูสังฆวุฒิกร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระรักและพระบุญเย็น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อบวชแล้วก็ได้มากับพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และร่วมจำพรรษา กับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดอรัญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย พระอาจารย์ต่าง ๆ ที่จำพรรษาในปีเดียวกันนั้น ได้แก่ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ, พระอาจารย์สาร, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์กว่า สุมโน และยังมีพระภิกษุสามเณรอีกรวมถึง ๑๖ รูป

    เมื่อใกล้จะออกพรรษา พระอาจารย์มั่นได้ประชุมหมู่ศิษย์เพื่อเตรียมออกเที่ยวธุดงค์หาที่วิเวก และได้จัดหมู่ศิษย์ออกไปเป็นพวก ๆ โดยจัดพระอาจารย์กู่ พระอาจารย์อ่อน และพระอาจารย์ฝั้นให้ไปเป็นชุดเดียวกัน เพราะเห็นว่ามีนิสัยต้องกันมาก นอกนั้นก็จัดเป็นชุด ๆ อีกหลายชุด

    ก่อนออกธุดงค์ พระอาจารย์มั่นได้สั่งไว้ด้วยว่า แต่ละชุดให้เดินธุดงค์เลียบภูเขา ภาวนาวิเวกไปตามแนวภูเขานั้น และแต่ละชุดก็ไม่จำเป็นต้องเดินธุดงค์ไปด้วยกันโดยตลอด ระหว่างทาง ท่านใดอยากไปพักวิเวก ณ ที่ใด เช่นตามถ้าซึ่งมีอยู่ตามทางก็ทำได้ เพียงแต่บอกเล่ากันให้ทราบ ในระหว่างพระภิกษุชุดเดียวกัน จะได้นัดหมายไปพบกันข้างหน้าเพื่อเดินธุดงค์ต่อไปได้อีก

    ครั้นออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์กู่กับพระอาจารย์อ่อน ได้แยกไปทางภูเขาพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี แล้วได้ออกเดินธุดงค์ต่อไปที่บ้านค้อ ส่วนพระอาจารย์ฝั้น ออกไปทางบ้านนาบง ตำบลสามขา (ปัจจุบันเป็นตำบลกองนาง) อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย และนัดไปเจอกันที่พระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ

    พระอาจารย์กู่กับพระอาจารย์อ่อน เมื่อธุดงค์ไปถึงพระพุทธบาทบัวบกแล้ว พระอาจารย์ฝั้นยังไม่มา ท่านจึงออกธุดงค์ต่อไปทางบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ เพื่อติดตามท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งขณะนั้นพระอาจารย์มั่นออกเดินธุดงค์ไปที่ตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร และที่หนองลาดนี้เองที่ท่านพระอาจารย์มั่นได้พบกับ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และ พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ซึ่งทั้งสองท่านเป็นพระเถระที่มีพรรษามากแล้ว พระอาจารย์เกิ่ง ในขณะนั้นพรรษาได้ ๑๙ พรรษาแล้ว ส่วนพระอาจารย์สีลา ก็ ๑๗ พรรษา พระอาจารย์เกิ่งเป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนแถบลุ่มแม่น้ำสงคราม จนกระทั่งได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิชัย บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นเจ้าสำนักเรียนนักธรรมและบาลี และเป็นครูใหญ่ท่านแรกของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งตำบลสามผง ที่ตั้งอยู่ในวัดนี้ด้วย

    พระอาจารย์เกิ่งเคยได้ยินกิตติศัพท์ในทางธรรมของท่านพระอาจารย์มั่นมาก่อน ครั้นเมื่อได้ทราบว่าท่านพระอาจารย์มั่นมาอยู่ที่ตำบลหนองลาด ท่านก็ได้ชวนพระอาจารย์สีลา พร้อมพระเณรถูกวัด เดินทางจากบ้านสามผง จังหวัดนครพนม มาถึงหนองลาด จังหวัดสกลนคร ไปฟังเทศน์และสนทนาไต่ถามปัญหาข้ออรรถธรรมที่สงสัยค้างคาใจต่างๆ พร้อมทั้งสังเกตข้อวัตรของหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิด จนเกิดความอัศจรรย์ใจในข้ออรรถข้อธรรมและจริยาวัตรของท่าน ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส และได้นิมนต์พระอาจารย์มั่น ให้ไปโปรดญาติโยมและพักจำพรรษาที่บ้านสามผง ถิ่นที่พำนักของท่าน พร้อมทั้งขอถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ปฏิบัติธรรมใกล้ชิด จนเกิดผลประจักษ์ทางใจอย่างที่ไม่เคยได้สัมผัสรับรู้มาก่อน

    เดือน ๗ ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ก่อนเข้าพรรษา พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร พร้อมทั้งพระภิกษุที่เป็นศิษย์ของท่านทั้งสองอีกประมาณ ๒๐ องค์ ก็ได้ญัตติกรรมเป็นธรรมยุต

    และประมาณ ๗ วัน ก่อนเข้าพรรษา กำนันบ้านดอนแดงคอกช้าง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในกิ่งอำเภอนาหว้า) จังหวัดนครพนม พร้อมด้วยลูกบ้านอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเลื่อมใสศรัทธาในคณะพระปฏิบัติสัทธรรมชุดนี้ได้เข้ามาพบ และขอร้องให้พระอาจารย์มั่นไปจำพรรษาที่บ้านดอนแดงคอกช้าง แต่พระอาจารย์มั่นมีเหตุอันจำเป็นต้องขัดข้อง จึงให้พระอาจารย์กู่ พระอาจารย์ฝั้น และพระอาจารย์กว่า ไปจำพรรษาที่บ้านดอนแดงคอกช้าง ตามที่ชาวบ้านปรารถนา

    ตามพระอาจารย์มั่นฯ ไปอุบลราชธานี
    หลังจากออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้ว คณะพระอาจารย์มั่นซึ่งประกอบด้วยพระภิกษุสามเณรประมาณ ๗๐ รูป เดินทางมาที่บ้านดอนแดงคอกช้าง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในกิ่งอำเภอนาหว้า) จังหวัดนครพนม และ ที่นั้นได้มีการประชุมหารือกันในเรื่องที่จะไปเผยแพร่ธรรมและไปโปรดเทศนาญาติโยมที่เมืองอุบล รวมทั้งได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ เกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน จากนั้น ท่านพระอาจารย์ใหญ่ก็ได้ปรารภเรื่องจะนำโยมแม่ออก (มารดาท่านซึ่งบวชเป็นชี) ไปส่งมอบให้น้องสาวท่านที่จังหวัดอุบลช่วยดูแล เพราะท่านเห็นโยมแม่ท่านชรามาก อายุ ๗๘ ปีแล้ว เกินความสามารถท่านผู้เป็นพระจะปฏิบัติได้แล้ว พระอาจารย์สิงห์ อาจารย์มหาปิ่น ต่างก็รับรองเอาโยมแม่ออกท่านไปส่งด้วย เพราะโยมแม่ออกของพระอาจารย์แก่มากหมดกำลัง ต้องไปด้วยเกวียนจึงจะไปถึงเมืองอุบล ฯ ได้

    การเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง เพราะบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งใหญ่และเล็กก็ได้เตรียมที่จะเดินทางติดตามท่านในครั้งนี้แทบทั้งนั้น การเดินทางเป็นการเดินแบบเดินธุดงค์ แต่การธุดงค์นั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ด้วย ท่านจึงจัดเป็นคณะๆ ละ ๓ รูป ๔ รูปบ้าง ท่านเองเป็นหัวหน้าเดินทางไปก่อน เมื่อคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมที่คณะที่ ๑ พัก คณะที่ ๓-๔ เมื่อตามคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมนั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้สอนญาติโยมตามรายทางด้วย การสอนนั้นก็เน้นหนักไปในทางกัมมัฏฐาน และการถึงพระไตรสรณาคมน์ ที่ให้ละการนับถือภูตผีปีศาจต่าง ๆ นานา เป็นการทดลองคณะศิษย์ไปในตัวด้วยว่า องค์ใดจะมีผีมือในการเผยแพร่ธรรม

    ในการเดินทางนั้น พอถึงวันอุโบสถ ก็จะนัดทำปาฏิโมกข์ หลังจากนั้นแล้วก็จะแยกย้ายกันไปตามที่กำหนดหมาย

    การเดินธุดงค์แบบนี้ท่านบอกว่าเป็นการโปรดสัตว์ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัททั้งหลาย และก็เป็นจริงเช่นนั้น แต่ละแห่งที่ท่านกำหนดพักนั้น ตามหมู่บ้าน ประชาชนได้เกิดความเลื่อมใสยิ่งในพระคณะกัมมัฏฐานนั้นเป็นอย่างดีและต่างก็รู้ผิดชอบในพระธรรมวินัยขึ้นมาก ตามสถานที่เป็นที่พักธุดงค์ในการครั้งนั้น ได้กลับกลายมาเป็นวัดของคณะกัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่ในภายหลัง โดยญาติโยมทั้งหลายที่ได้รับรสพระธรรมได้พากันร่วมอกร่วมใจกันจัดการให้เป็นวัดขึ้น โดยเฉพาะให้เป็นวัดพระภิกษุสามเณร ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร บำเพ็ญสมาธิกัมมัฏฐาน

    สำหรับพระอาจารย์กู่ได้เดินทางออกจากบ้านดอนแดงคอกช้างกับ พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์อ่อน พระอาจารย์กว่า และพระเณรอีก ๒ – ๓ รูป เดินธุดงค์ไปตามป่าเขา ผ่านบ้านตาน บ้านนาหว้า บ้านนางัว – บ้านโพธิสว่าง

    อย่างไรก็ตาม คณะธุดงค์ทั้งหลายก็เผอิญไปพบกันเข้าอีก ที่จังหวัดสกลนคร เพื่อร่วมงานศพมารดานางนุ่ม ชุวานนท์ และงานศพพระยาปัจจันตประเทศธานี บิดาของพระพินิจฯ เมื่อเสร็จงานฌาปนกิจทั้งสองศพนั้นแล้ว พระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น รวมทั้งเหล่าสานุศิษย์ต่างก็แยกย้ายกันธุดงค์ต่อไปเพื่อมุ่งไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนท่านอาจารย์มั่นฯ ธุดงค์ไปทางบ้านเหล่าโพนค้อ ได้แวะไปเยี่ยมอุปัชฌาย์พิมพ์ ต่อจากนั้นท่านก็ธุดงค์ต่อไป และพักบ้านห้วยทราย ๑๐ วัน โดยจุดมุ่งหมาย ท่านต้องการจะเดินทางกลับไปที่จังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้บรรลุถึงหมู่บ้านหนองขอน อยู่ในเขตอำเภออำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี ซึ่งชาวบ้านเมื่อได้ฟังธรรมเทศนาของท่านแล้ว เกิดความเลื่อมใสจึงได้พร้อมใจกันอาราธนาให้ท่านจำพรรษา เมื่อท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ก็รับอาราธนา ชาวบ้านจึงช่วยกันจัดแจงจัดเสนาสนะถวายจนเป็นที่พอเพียงแก่พระภิกษุที่ติดตามมากับท่าน

    พ.ศ. ๒๔๗๐ ในพรรษานี้พระอาจารย์มั่น ฯ มาพักจำพรรษาอยู่บ้านหนองขอน ตามที่ชาวบ้านได้อาราธนา ส่วนพระอาจารย์กู่ พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์อ่อน พระอาจารย์กว่า และคณะก็จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระมหาปิ่น ที่บ้านหัวตะพาน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านหลวงปู่สิงห์ บริเวณใกล้เคียงกัน

    พระกรรมฐานโดนพระเถระผู้ใหญ่ขับไล่
    ระหว่างปีนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสเถระ อ้วน) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระโพธิวงศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลและเจ้าคณะธรรมยุตในภาคอีสาน ทราบข่าวว่ามีคณะพระกัมมัฏฐานของพระอาจารย์มั่น เดินทางมาพักอยู่ที่บ้านหัวตะพาน จึงสั่งให้เจ้าคณะแขวง อำเภอม่วงสามสิบ กับเจ้าคณะแขวงอำเภออำนาจเจริญ พร้อมด้วยนายอำเภออำนาจเจริญ ไปทำการขับไล่พระภิกษุคณะนี้ออกไปให้หมด ทั้งยังได้ประกาศด้วยว่า ถ้าผู้ใดใส่บาตรพระกัมมัฏฐานเหล่านี้จะจับใส่คุกให้หมดสิ้น แต่ชาวบ้านก็ไม่กลัว ยังคงใส่บาตรกันอยู่เป็นปกติ นายอำเภอทราบเรื่องจึงไปพบพระภิกษุคณะนี้อีกครั้งหนึ่ง แล้วแจ้งมาว่า ในนามของจังหวัด ทางจังหวัดสั่งให้มาขับไล่

    หลวงปู่สิงห์ซึ่งเป็นคนจังหวัดอุบลฯ ได้ตอบโต้ไปว่า ท่านเกิดที่นี่ท่านก็ควรจะอยู่ที่นี่ได้ นายอำเภอไม่ยอม พระอาจารย์ฝั้นก็ได้ช่วยพูดขอร้องให้มีการผ่อนสั้นผ่อนยาวกันบ้าง แต่นายอำเภอก็ไม่ยอมท่าเดียว จากนั้นก็จดชื่อพระกัมมัฏฐานไว้ทุกองค์ รวมทั้งพระอาจารย์มั่น หลวงปู่สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น พระอาจารย์เที่ยง พระอาจารย์อ่อน พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์เกิ่ง พระอาจารย์สีลา พระอาจารย์กู่ พระอาจารย์กว่า ฯลฯ จนหมด แม้กระทั่งนามโยมบิดามารดา สถานที่เกิด วัดที่บวช ทั้งหมดมีพระภิกษุสามเณรกว่า ๕๐ รูป และพวกลูกศิษย์ผ้าขาวอีกมากร่วมร้อยคน นายอำเภอต้องใช้เวลาจดตั้งแต่กลางวันจนถึงสองยามจึงเสร็จ ตั้งหน้าตั้งตาจดจนกระทั่งไม่ได้กินข้าวเที่ยง เสร็จแล้วก็กลับไป

    ทางฝ่ายพระทั้งหลายก็ประชุมปรึกษากันว่า ทำอย่างไรดีเรื่องนี้จึงจะสงบลงได้ ไม่ลุกลามออกไปเป็นเรื่องใหญ่ พระอาจารย์อ่อน และพระอาจารย์ฝั้นรับเรื่องไปพิจารณาแก้ไข

    เสร็จการปรึกษาหารือแล้ว พระอาจารย์ฝั้น ก็รีบเดินทางไปพบพระอาจารย์มั่นที่บ้านหนองขอน ซึ่งอยู่ห่างออกไป ๕๐ เส้น พระอาจารย์มั่น ทราบเรื่องจึงให้พระอาจารย์ฝั้นนั่งพิจารณา พอกำหนดจิตเป็นสมาธิแล้วปรากฏเป็นนิมิตว่า

    “แผ่นดินตรงนั้นขาด”

    คือแยกออกจากกันเป็นสองข้าง ข้างโน้นก็มาไม่ได้ ข้างนี้ก็ไปไม่ได้ พอดีสว่าง พระอาจารย์ฝั้นจึงเล่าเรื่องที่นิมิตให้พระอาจารย์มั่นฟัง

    เช้าวันนั้นเอง พระอาจารย์มหาปิ่นกับพระอาจารย์อ่อน ได้ออกเดินทางไปจังหวัดอุบล เพื่อพบกับเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะจังหวัดชี้แจงว่า ท่านไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย จากนั้นได้ให้นำจดหมายไปบอกนายอำเภอว่า ท่านไม่ได้เกี่ยวข้อง เรื่องยุ่งยากทั้งหลายจึงได้ยุติลง

    ปี ๒๔๗๐ นั้นท่านอาจารย์กู่ก็ไปจำพรรษาที่บ้านบ่อชะเนง อำเภอเดียวกัน บ้านบ่อชะเนงนี้เป็นบ้านเกิดของท่านอาจารย์ขาว อนาลโย ระยะนั้นปรากกว่าฝนตกชุกมาก พระภิกษุประสบอุปสรรคไม่อาจไปร่วมทำอุโบสถได้สะดวก โดยเฉพาะที่บ้านบ่อชะเนง ไม่มีพระสวดปาฏิโมกข์ได้ พระอาจารย์มั่นจึงได้สั่งให้พระอาจารย์ฝั้นซึ่งสวดปาฏิโมกข์ได้ ไปจำพรรษาเพื่อช่วยพระอาจารย์กู่ ที่บ้านบ่อชะเนง

    ในระหว่างพรรษาที่บ้านบ่อชะเนง พระอุปัชฌาย์ลุย เจ้าคณะตำบลบ้านเค็งใหญ่ได้ทราบว่าพระอาจารย์กู่ และพระอาจารย์ฝั้นมาสร้างเสนาสนะป่าเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในเขตตำบลของท่าน จึงเดินทางไปขับไล่ เพราะไม่ชอบพระกัมมัฏฐาน พระอุปัชฌาย์ลุยปรารภขึ้นว่า ผมมาที่นี่เพื่อไล่พวกท่าน และจะไม่ให้มีพระกัมมัฏฐานอยู่ในเขตตำบลนี้ ท่านจะว่าอย่างไร พระอาจารย์ฝั้นตอบไปว่า ท่านมาขับไล่ก็ดีแล้ว กัมมัฏฐานนั้นได้แก่อะไร ได้แก่ เกศา คือ ผม โลมา คือขน นขา คือ เล็บ ทันตา คือ ฟัน และ ตโจ คือ หนัง ท่านเจ้าคณะก็เป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย ได้สอนกัมมักฐานแก่พวกกุลบุตรที่เข้ามาบวชเรียนเป็นศิษย์ของท่าน ท่านก็คงสอนกัมมักฐานอย่างนี้ให้เขาไม่ใช่หรือขอรับ แล้วท่านจะมาขับไล่กัมมัฏฐานด้วยวิธีใดกันล่ะ เกศา – โลมา ท่านจะไล่ด้วยวิธีต้มน้ำร้อนลวก แบบฆ่าเป็ดฆ่าไก่ แล้วเอาคีมเอาแหนบมาถอนเช่นนี้หรือ ? ส่วน นขา – ทันตา – และตโจ ท่านจะไล่ด้วยการเอาค้อนตี ตาปูตีเอากระนั้นหรือไร? ถ้าจะไล่กัมมัฏฐานแบบนี้กระผมก็ยินดีให้ไล่นะขอรับ

    พระอุปัชฌาย์ลุยได้ฟังก็โกรธมาก พูดอะไรไม่ออก คว้าย่ามลงจากกุฏิไปเลย

    ระหว่างพรรษาปีนั้น พระอาจารย์กู่กับพระอาจารย์ฝั้น ได้เทศนาสั่งสอนพวกญาติโยมบ้านบ่อชะเนงและบ้านอื่น ๆ ใกล้เคียงมาตลอด ผู้คนต่างก็เลื่อมใสในปฏิปทาของท่านทั้งสองเป็นอย่างมาก ถึงกับให้ลูกชายลูกสาว บวชเป็นพระเป็นเณร และเป็นแม่ชีกันอย่างมากมาย

    พระอาจารย์มั่นฯ ปรารภเรื่องปลีกตัวออกจากหมู่เพื่อวิเวก
    ครั้นออกพรรษาในปี ๒๔๗๐ แล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้พาพระภิกษุสามเณร มาที่บ้านบ่อชะเนง แล้วปรึกษาหารือกันในอันที่จะเดินทางเข้าตัวจังหวัดอุบลฯ เพื่อเทศนาสั่งสอนประชาชนตลอดจนญาติโยมที่ศรัทธาต่อไป แล้วท่านก็ได้เดินธุดงค์ไปถึงตัวจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้นำโยมแม่ออกท่านไปมอบให้น้องสาวท่านในเมืองอุบล ฯ ท่านและคณะศิษย์พักที่วัดบูรพา คณะสานุศิษย์เก่า ๆ ทั้งหลาย เมื่อได้ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ เดินทางมาพำนักอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ทุกองค์เหล่านี้ก็ได้ติดตามมาในเดือน ๓ เพ็ญ บรรดาศิษย์ทั้งหมด มีหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นต้น ก็ได้ร่วมประชุมอบรมธรรมปฏิบัติอย่างที่เคย ๆ ปฏิบัติกันมา

    ในค่ำคืนวันหนึ่ง ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เข้าที่ทำสมาธิภาวนาก็ได้ปรารภขึ้นในใจว่า

    “จะออกจากหมู่คณะไปแสวงหาสถานที่วิเวก เพื่อจะได้มีโอกาสพิจารณาค้นคว้าในปฏิปทาสัมมาปฏิบัติ ให้ได้รับความเข้าใจชัดเจน และแจ่มแจ้งเข้าไปอีก แล้วจะได้เอาปฏิปทาอันถูกต้องนั้นฝากไว้แก่เหล่าสานุศิษย์ในอนาคตต่อไป เพราะพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้น ย่อมมีนัยอันสุขุมลุ่มลึกมาก ยากที่จะทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ได้

    ผู้ปฏิบัติตามรอยพระบาทพระพุทธองค์และตามปฏิปทาที่พระอริยเจ้าได้ดำเนินมาก่อนแล้วนั้น เมื่อไม่เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว ย่อมจะเขวไปจากปฏิปทาที่ถูกต้องก็เป็นได้ หรืออาจดำเนินไปโดยผิดๆ ถูก ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้ปฏิบัติดีทั้งหลายก็จะเข้าไม่ถึงศีลถึงธรรม หรืออาจถึงกับป่วยการไม่เป็นประโยชนแก่ตนของตน การปฏิบัติพระธรรมวินัย ในพระพุทธศาสนาก็จะมีแต่ความพอกพูนกิเลสให้เจริญงอกงามขึ้นในตนของตนเท่านั้น ซึ่งไม่สมกับว่าพระธรรมวินัยเป็นของชำระกิเลสที่มีอยู่ให้สิ้นไปจากสันดานแห่งเวนัยสัตว์ทั้งหลาย

    “อนึ่ง การอยู่กับหมู่คณะจะต้องมีภาระการปกครอง ตลอดถึงการแนะนำพร่ำสอนฝึกฝนทรมานต่าง ๆ ซึ่งทำให้โอกาสและเวลาที่จะค้นคว้าในพระธรรมวินัยไม่เพียงพอ ถ้าแลเราปลีกตัวออกไปอยู่ในสถานที่วิเวก ซึ่งไม่มีภาระแล้ว ก็จะได้มีโอกาสเวลาในการค้นคว้ามากขึ้น ผลประโยชน์ในอนาคตก็จะบังเกิดขึ้นมาให้เป็นที่น่าพึงใจ”

    ครั้นท่านปรารภในใจอยู่อย่างนั้นแล้ว ท่านจึงได้เรียกศิษย์ทั้งหลาย มีหลวงปู่สิงห์เป็นต้น มาประชุมกัน ท่านได้แนะนำให้มีความมั่นคงดำรงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติอย่างที่ได้เคยแนะนำสั่งสอนมาแล้วนั้น จึงได้มอบหมายให้อำนาจแต่หลวงปู่สิงห์และท่านมหาปิ่น เป็นผู้บริหารปกครองแนะนำพร่ำสอนตามแนวทางที่ท่านได้แนะนำมาแล้วต่อไป

    เมื่อเสร็จจากการประชุมแล้วในการครั้งนั้น ท่านก็กลับไปที่บ้านของท่านอีก ได้แนะนำธรรมปฏิบัติซึ่งท่านได้เคยแนะนำมาก่อนแก่มารดาของท่านจนได้รับความอัศจรรย์อันเป็นภายในอย่างยิ่งมาแล้ว ท่านจึงได้ไปลามารดาของท่าน และได้มอบให้นางหวัน จำปาศีล ผู้น้องสาวเป็นผู้อุปฐากรักษาทุกประการ จากนั้นออกพรรษาแล้วประมาณเดือน ๓ หรือเดือน ๔ ท่านก็ได้ออกเดินทางต่อไปยังกรุงเทพฯ กับเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ จำพรรษาที่วัดสระปทุม และออกพรรษาแล้ว ก็ได้ติดตามพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ไปจำพรรษายังจังหวัดเชียงใหม่

    ช่วยพระอาจารย์ฝั้นแก้ปัญหา
    ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ปีนั้นพระอาจารย์ฝั้นได้จำพรรษาที่วัดบ้านผือ จังหวัดขอนแก่น พอออกพรรษาแล้ว ท่านกับพระอาจารย์อ่อน ได้เที่ยวธุดงค์กัมมัฏฐานไปจนถึงหมู่บ้านจีด ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี บังเอิญได้ข่าวว่า โยมพี่สาวของพระอาจารย์อ่อนป่วยหนัก พระอาจารย์อ่อนจึงแยกไปรักษาโยมพี่สาว ส่วนท่านพำนักอยู่ที่บ้านจีดโดยลำพัง

    ที่นั่น พระอาจารย์ฝั้นได้เผชิญศึกหนักเข้าเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “ธรรมต่อไก่” ธรรมต่อไก่เป็นวิธีบรรลุธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งชีผ้าขาวคนหนึ่งชื่อ “ไท้สุข” บัญญัติขึ้นมาว่า หากใครนำไก่ตัวผู้และไก่ตัวเมียคู่หนึ่งมามอบให้ชีผ้าขาวแล้ว เพียงแต่กลับไปนอนบ้านก็สามารถบรรลุธรรมได้ มีชาวบ้านหลงเชื่อกันอยู่เป็นจำนวนมาก

    พระอาจารย์ฝั้นได้ชี้แจงแสดงธรรมต่อไปทั้งวัน ชีผ้าขาวกับผู้ที่เชื่อถือเหล่านั้นก็ยังไม่ยอมแพ้

    ตอนหนึ่ง ชีผ้าขาว อ้างว่าตนมีคาถาดี คือ ทุ โส โม นะ สา ธุ พระอาจารย์ฝั้นได้ออกอุบายแก้ว่า ทุ สะ นะ โส เป็นคำของเปรต ๔ พี่น้อง ทั้งสี่ ก่อนตายเป็นเศรษฐีทีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่ตลอดชีวิตไม่เคยทำคุณงามความดี ไม่เคยสร้างกุศลเลย เอาแต่ประพฤติชั่ว เสเพลไปตามที่ต่าง ๆ ครั้นตายแล้ว จึงกลายไปเป็นเปรตไปหมด ต่างตกนรกไปถึง ๖ หมื่นปี พอครบกำหนด คนพี่โผล่ขึ้นมาก็ออกปากพูดได้คำเดียวว่า “ทุ” พวกน้อง ๆ โผล่ขึ้นมาก็ออกปากได้คำเดียวเช่นกันว่า “สะ” “นะ” “โส” ตามลำดับ หมายถึงว่า เราทำแต่ความชั่ว เราไม่เคยทำความดีเลย เมื่อไหร่จะพ้นหนอ ฉะนั้น คำเหล่านี้จึงเป็นคำของเปรต ไม่ใช่คาถาหรือคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    สั่งสอนแก้ไขกันอยู่ถึงอาทิตย์หนึ่ง ก็ยังไม่อาจละทิฏฐิของพวกนั้นลงได้

    พอดีโยมพี่สาวของพระอาจารย์อ่อนหายป่วย พระอาจารย์อ่อนจึงย้อนกลับมา โดยมีพระอาจารย์กู่มาสมทบด้วยอีกรูปหนึ่ง กำลังใจของพระอาจารย์ฝั้นจึงดีขึ้น เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา ทางฝ่ายท่านมีท่านเพียงรูปเดียวเท่านั้น อธิบายอะไรออกไปก็ถูกขัดถูกแซงเสียหมด

    ในที่สุดชีผ้าขาวกับพรรคพวกก็ยอมแพ้ ยอมเห็นตามและรับว่า เหตุที่เขาบัญญัติ “ธรรมต่อไก่” ขึ้นมาก็เพื่อเป็น “นากิน” (อาชีพหากินด้วยการหลอกลวง) และยอมรับนับถือไตรสรณาคมน์ตามที่ท่านสั่งสอนไว้แต่ต้น

    อธิบายอุบายการภาวนาให้กับหลวงปู่เหรียญ
    พ.ศ. ๒๔๗๖ พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน เที่ยวธุดงค์ขึ้นไปทางจังหวัดหนองคาย และได้ไปพักอยู่ที่วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย แต่ในสมัยนั้นยังไม่ได้การก่อสร้างถาวรวัตถุอะไร เป็นแต่ทำกุฏิอยู่ชั่วคราวเท่านั้น

    ในระยะเวลาก่อนหน้านั้น คือเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๕ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ (พระสุธรรมคณาจารย์) ก็ได้บวชและจำพรรษาแรก ณ วัดศรีสุมัง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ในระยะแรกหลวงปู่เหรียญก็ได้ศึกษาการปฏิบัติภาวนากับพระอาจารย์บุญจันทร์ รองเจ้าอาวาส พร้อม ๆ กับเรียนนักธรรมไปด้วย พอปลายปี เมื่อสอบนักธรรมเสร็จ ก็กลับมายังวัดโพธิ์ชัย ซึ่งเป็นวัดที่ท่านพักอยู่หลังจากบวชแล้วก่อนที่จะย้ายมาจำพรรษาที่วัดศรีสุมัง

    ในครั้งนั้น บิดาท่านได้ถวายหนังสือเกี่ยวกับการเจริญสมถะและวิปัสสนา ซึ่งพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นผู้เรียบเรียง เมื่อหลวงปู่เหรียญได้อ่านดูแล้วรู้สึกเกิดความสนใจขึ้น ในหนังสือเล่มนั้นท่านได้อธิบายเรื่อง สติปัฏฐานสี่ โดยเฉพาะเรื่อง กายานุปัสสนา ท่านก็ลองปฏิบัติไปตามหนังสือนั้น ก็ได้ผลดีพอสมควร จึงได้ตัดสินใจเข้าป่าไปเพื่อปฏิบัติธรรมกับพระอีกรูปหนึ่ง ในเดือน ๓ ปี ๒๔๗๖ แต่พระรูปนั้น อยู่ป่าได้ ๗ วันก็กลับวัดเดิม เนื่องจากภาวนาแล้วเจอนิมิตที่น่ากลัว จึงเกิดความกลัวขึ้นอย่างแรง

    ส่วนท่านก็อยู่ในป่าต่อคนเดียว เพราะตอนนั้นกำลังเกิดปีติในธรรมปฏิบัติ จิตกล้าหาญเต็มที่ไม่ได้กลัวอะไรทั้งหมด กลัวแต่กิเลสมันจะครอบงำเอาเท่านั้น จึงได้เร่งทำความเพียรโดยไม่ย่อท้อ

    เมื่อท่านได้ความมั่นใจที่จะประพฤติพรหมจรรย์ต่อไปแล้ว จึงได้แสวงหาครูบาอาจารย์ผู้พอจะแนะนำได้ ก็ได้มาพบกับ พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน เมื่อได้พบท่านครั้งแรกก็มีความเลื่อมใสในปฏิปทาของท่าน จึงได้เรียนถามอุบายภาวนาสมาธิกับท่าน ท่านก็ได้อธิบายให้ฟังจนเข้าใจได้ดี แต่ก็ไม่ได้ติดตามท่านไปในที่อื่นเมื่อท่านย้ายไป เพราะมีอุปสรรคบางอย่าง

    ในปีถัดมา คือ พ.ศ. ๒๔๗๗ พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโต เป็นรองฯ ในปีนี้ หลวงปู่เหรียญก็ได้มาจำพรรษาอยู่กับท่านด้วย นับเป็นพรรษาที่ ๒ ของหลวงปู่เหรียญ หลังจากที่ได้ญัตติเป็นธรรมยุตในปี ๒๔๗๖

    ประวัติในช่วง ๕ ปีนี้ของพระอาจารย์กู่ได้ขาดตอนไป สันนิษฐานว่าท่านคงจะได้ธุดงค์เพื่อตามหาท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งขณะนั้นธุดงค์อยู่ตามป่าเขาในแถบจังหวัดเชียงใหม่ เพราะมีประวัติกล่าวว่า หลวงปู่กู่ ธมฺมทินฺโน และหลวงปู่กว่า สุมโน ได้เคยมาพำนักที่วัดโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ด้วย และมาปรากฏในประวัติของหลวงปู่เหรียญอีกครั้งหนึ่ง เมื่อหลวงปู่เหรียญธุดงค์ขึ้นเชียงใหม่เพื่อไปติดตามพระอาจารย์มั่น เมื่อได้พบท่านอาจารย์มั่นแล้วก็ได้ธุดงค์ติดตามพระอาจารย์ไปยังที่ต่าง ๆ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๒ หลวงปู่เหรียญได้จำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากญาติโยมนิมนต์จำพรรษา และอยู่กับท่านอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน และอาจารย์สิม พุทธาจาโร ด้วย

    หลังจากนั้นประวัติของท่านก็ขาดหายไปอีก จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๙

    แนะอุบายการอยู่กับพระอาจารย์มั่น ให้กับหลวงปู่หล้า
    สมัยนั้นพระอาจารย์กู่อยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส หลวงปู่หล้า เขมปตฺโตกำลังเดินทางไปหาพระอาจารย์มั่น โดยพักอยู่ที่ถ้ำพระเวส ยี่สิบกว่าวัน ก็ออกเดินทางต่อ เช้าวันรุ่งขึ้นก็เดินทางต่อไปถึงวัดป่าบ้านแก้งซึ่งเป็นวัดร้างไม่มีพระ ชาวบ้านแก้งก็มาร่วมกันใส่บาตร พอหลวงปู่หล้าฉันเสร็จก็ลาชาวบ้านออกเดินทางต่อไป ชาวบ้านเขาก็ไปส่ง เมื่อไปถึงระยะทางที่พอจะไม่หลงแล้ว ท่านก็ให้ชาวบ้านกลับ ท่านก็เดินต่อมาเพียงคนเดียว เดินลัดเลาะตามชายเขามาทางทิศตะวันตก มาค่ำเอาที่บ้านค้อพอดี ก็พักที่นั่น ตื่นเช้าบิณฑบาตแถวนั้นแล้วฉันเสร็จเดินทางต่อ มาค่ำเอาที่วัดป่าสุทธาวาสพอดี พักอยู่ที่นั้น ๓ คืน เมื่อไปถึงก็ไปกราบท่านอาจารย์กู่ ท่านถามข่าวคราวความเป็นมาทุกประการแล้ว ท่านก็ให้ข้อแนะนำว่า

    “ใครจะไปหาองค์ท่านพระอาจารย์มั่น ต้องยอมตัวเป็นคนโง่ให้องค์ท่านเข่น จึงจะอยู่ได้ แม้ผมบางครั้งองค์ท่านดุด่าเหมือนเณรน้อย”

    แล้วองค์ท่านย้อนถามคืนมาว่า “คุณมาพักขณะนี้ได้อุบายอะไรบ้าง”
    กราบเรียนว่า “ได้ คือ การไปมอบกายถวายตัวเพื่ออยู่กับพระอาจารย์มั่น อย่าสำคัญตัวว่าฉลาด ไม่เหมาะสมส่วนใดยอมให้องค์ท่านว่ากล่าวได้ทุกเมื่อ”

    “เออ ดีหละ ฟังเทศน์ออกนะ ผมขออนุโมทนาด้วย จงไปโดยเป็นสุขเถิด แต่ขอให้พักถ้ำผาแด่นก่อนสักคืนสองคืน เพราะได้มาใกล้แล้วจะเสียเที่ยว จากนี้ไปถึงถ้ำประมาณสิบสี่กิโลเมตรกว่า ๆ”

    เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านภู่ วัดป่ากลางโนนภู่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    ก่อนเข้าพรรษาปี ๒๔๙๐ พระอาจารย์ฉลวย ( หลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม วัดป่าวิทยาลัย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มรณภาพแล้ว ) ได้เดินธุดงค์ไปนมัสการหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ที่ปากทางก่อนจะเข้าไปถึงวัดคือบ้านของนายอ่อน โมราราษฎร์ ผู้ที่คอยอุปัฏฐาก ให้ที่พักและคอยรับส่งผู้ที่จะเข้าไปยังวัดป่าบ้านหนองผือ พระอาจารย์ฉลวยก็ได้ไปอาศัยพักเช่นกัน ในระหว่างที่ได้พูดคุยกัน นายอ่อนได้กล่าวถึงสถานที่บริเวณบ้านกุดก้อมว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) เคยกล่าวว่า ที่นั้นมีทำเลอันดีเหมาะสมที่จะสร้างวัด พระอาจารย์ฉลวยจึงขอให้นายอ่อนพาไปดู จึงพบว่าเป็นสัปปายะเหมาะแก่การภาวนาจริง จึงบอกกับโยมอ่อนว่า จะจำพรรษาที่นี่ ขอให้ช่วยจัดเสนาสนะให้ด้วย หลังจากไปกราบหลวงปู่มั่นแล้วก็จะกลับมา โยมอ่อนรับคำแล้ว หลวงปู่ฉลวย หลวงพ่อก้าน พระสายบัว พระทองม้วน จึงเข้าไปยังวัดหนองผือ

    หลังจากที่ได้นมัสการพระอาจารย์มั่นแล้วก็ได้พักอยู่ในวัดหนองผือ จนกระทั่งใกล้จะเข้าพรรษา จึงได้กราบลาพระอาจารย์มั่น เพื่อไปจำพรรษายังเสนาสนะที่ให้โยมอ่นจัดการอยู่ ฝ่ายโยมอ่อนและญาติโยมทั้งหลาย กำลังลังเลว่า คณะของหลวงปู่จะกลับมาจำพรรษาจริงหรือไม่ การสร้างเสนาสนะจึงยังค้างอยู่ เมื่อคณะของหลวงปู่มาถึงแล้ว จึงได้ช่วยจัดแจงจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นกุฏิ ๔ หลัง สำหรับพระภิกษุ ๔ รูป ทันเวลาเข้าพรรษาพอดี สถานที่ป่าดง ก็กลายเป็นที่พักสงฆ์เล็ก ๆ ไป และต่อมานายอ่อนก็ได้ถวายที่ดินของตนเพิ่มเติมด้วย จึงได้เป็นวัดป่าบ้านกลางโนนภู่ ในเวลาต่อมา โดยมีพระอาจารย์ฉลวยเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

    ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เวลา ๒๐.๔๒ น. หลวงปู่ฉลวย จึงได้ญัตติจากคณะมหานิกาย เป็นคณะธรรมยุตติกนิกาย พร้อมกับหลวงพ่อก้าน ณ วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ พนฺธุโล (จูม จันทรวงศ์) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระกรรมวาจา ได้ฉายาว่า "สุธมฺโม" และ “ฐิตธมฺโม" ตามลำดับ ขณะนั้น หลวงปู่ฉลวยมีอายุ ๔๒ ปี ท่านทั้งสองก็ได้จำพรรษาที่วัดป่าบ้านภู่นี้อีก ๑ พรรษา ได้สร้างเสนาสนะ และเทศนาสั่งสอนญาติโยมให้เกิดศรัทธาความเลื่อมใส ส่วนในการปฏิบัติภาวนานั้น หลวงปู่ฉลวยจะมีนิมิตภาพเจดีย์ของวัดใหญ่ชัยมงคลปรากฏอยู่เสมอ

    ท่านจึงเกิดความสงสัยว่า วัดใหญ่ชัยมงคลกับท่านนั้น มีความสัมพันธ์อะไรกันหนอ เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านจึงชักชวนหลวงพ่อก้านออกธุดงค์กลับมายังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีสามเณรติดตามมาด้วยองค์หนึ่ง ส่วนวัดป่าบ้านภู่นั้น หลวงปู่ฉลวยได้นิมนต์พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน มาเป็นเจ้าอาวาสแทน

    พระอาจารย์มั่นมรณภาพ
    ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของพระอาจารย์มั่น ในปีนั้นเมื่อใกล้จะออกพรรษา เหลืออีกประมาณ ๑๐ วัน พระอาจารย์มั่นท่านก็ได้บอกพระที่อยู่ใกล้ชิดว่า

    “ชีวิตของเราใกล้จะสิ้นแล้ว ให้รีบส่งข่าวไปบอกแก่คณาจารย์ที่เป็นศิษย์เราทั้งใกล้และไกล ให้รีบมาประชุมกันที่บ้านหนองผือนี้ เพื่อจะได้มาฟังธรรมะเป็นครั้งสุดท้าย”

    บรรดาพระที่อยู่ใกล้ชิดก็ได้จดหมายบ้าง โทรเลขบ้างไปยังที่อยู่ของพระคณาจารย์เหล่านั้น บรรดาคณาจารย์ทั้งหลายเมื่อได้รับจดหมายบ้าง โทรเลขบ้างแล้ว ต่างก็ได้บอกข่าวแก่กันต่อ ๆ ไปจนทั่ว เมื่อการปวารณาออกพรรษาแล้วต่างองค์ก็รีบเดินทางมุ่งหน้ามาหาอาจารย์มั่นฯ ยังบ้านหนองผือ อันเป็นจุดหมายเดียวกัน แต่ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้สั่งให้นำท่านไปยังวัดสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

    พระอาจารย์กู่ ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านโคกมะนาว อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่อได้ทราบข่าวก็รีบเดินทางเพื่อมาเฝ้าท่านพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าบ้านหนองผือโดยทันที และเมื่อเหล่าศิษยานุศิษย์ตกลงใจที่จะนำท่านไปยังวัดป่าสุทธาวาส ตามที่ท่านพระอาจารย์มั่นประสงค์ ท่านก็ได้ติดตามนำองค์ท่านพระอาจารย์มั่นไปจังหวัดสกลนครด้วยต

    ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้นำท่านมาพักที่วัดป่าสุทธาวาส ใกล้เมืองสกลนคร โดยพาหนะรถยนต์ มาถึงวัดเวลา ๑๒.๐๐ น. เศษ ครั้นถึงเวลา ๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่านก็ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในท่ามกลางศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์เป็นต้น สิริชนมายุของท่านพระอาจารย์ได้ ๘๐ ปี

    อาพาธและมรณภาพ
    พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโนอาพาธด้วยโรคฝีฝักบัว ที่ต้นคอ ซึ่งเป็นโรคประจำตัว เมื่อออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ แล้ว ท่านได้ลาญาติโยม ขึ้นไปทำสมณกิจที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า อำเภอ พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนล่วงไปได้ ๓ เดือน อาการของโรคได้กำเริบมากขึ้น จนกระทั่ง ท่านได้ถึงมรณภาพ ในอิริยาบถ นั่งสมาธิ ณ ถ้ำเจ้าผู้ข้า เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๖ รวมอายุท่านได้ ๕๓ ปี
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ

    [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript src="http://cdn1.hikiwake.com/scripts/shared/enable.js?si=10186"></SCRIPT>


    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ
    วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
    [​IMG]หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เดิมชื่อ กงมา วงศ์เครือศร เกิดวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๓ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีชวด ณ บ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนสุดท้องของนายบู่ นางนวล วงศ์เครือศร ซึ่งมีพี่ร่วมท้องเดียวกัน ๖ คน มีรายนามดังต่อไปนี้
    ๑. นางบัวทอง ผาใต้ (มารดาของพระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโม)
    ๒. นางบาน ทาศรีภู
    ๓. นางเบ็ง วงศ์เครือศร
    ๔. นายพิมพา วงศ์เครือศร
    ๕. นายบุญตา วงศ์เครือศร
    ๖. พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ

    ในวัยหนุ่มมีร่างกายกำยำล่ำสันสูงใหญ่ใบหน้าคมคาย เป็นนักต่อสู้ชีวิต แบบเอางานเอาการ เมื่อท่านเป็นฆราวาส เป็นพ่อค้าขายโค กระบือ และเป็นหัวหน้าได้นำกระบือเข้ามาขายทางภาคกลางทุก ๆ ปี จนฐานะท่านมั่นคง การเป็นพ่อค้าขายโค กระบือ ในสมัยนั้นไม่ใช่ทำกันได้ง่าย ๆ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้เขียนไว้ในอัตโนประวัติของท่านเอง เกี่ยวกับการค้าขายโคกระบือไว้ดังนี้

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" id=table1 class=MsoNormalTable border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=590>ตามธรรมเนียมของพวกพ่อค้าควาย พ่อค้าวัว ต้องมีวัวต่างสำหรับบรรทุกสัมภาระบางอย่างไปด้วย ๒ - ๓ ตัว พ่อค้าแต่ละพวก จะต้องมีหัวหน้านำหมู่คณะหนึ่งคน เรียกกันว่า “นายฮ้อย” สำหรับนายฮ้อยนั้น ต้องเป็นผู้รับผิดชอบของหมู่คณะทุกประการ ประกอบด้วยลักษณะดังนี้ คือ
    ๑.) เป็นผู้ชำนาญทาง
    ๒ .) เป็นผู้พูดจาคล่องแคล่ว
    ๓.) เป็นผู้รู้กฎหมายระเบียบและประเพณีของท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นผู้มีปัญญา ความฉลาดในการติดต่อสังคม ในการซื้อขาย ในการรักษาทรัพย์ ในการรักษาชีวิตเป็นต้น
    ๔.) เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต โอบอ้อมอารี มีเมตตาจิต ไม่เห็นแก่ประโยชน์ตน ไม่คดโกง ฉ้อฉล เบียดบังเอาเปรียบในลูกน้องของตน
    ๕.) เป็นผู้มีความแกล้วกล้าสามารถอาจหาญ มีการยอมเสียสละ ต่อสู้เหตุการณ์โดยไม่หวั่นไหว
    ๖.) เป็นผู้เก่งทางอยู่ยงคงกระพัน ยิงไม่ออก ฟันแทงไม่เข้า ตีไม่แตก จับไม่อยู่ เป็นต้น
    ๗.) เป็นผู้ฉลาดในการวางแผน เช่น จะออกเดินทางในเวลาใด ควรจะให้ใครออกก่อน อยู่ท่าม และอยู่ตามหลัง พักกลางวันและพักค้างคืนที่ใด จะให้น้ำให้หญ้าแก่สัตว์อย่างไร ไปช้าไปเร็วขนาดใด เป็นต้น
    ๘.) เป็นผู้รู้จักสอดส่องมองรู้ทันท่วงทีต่อเหตุการณ์ที่จักเกิดขึ้น
    นี่คือ ลักษณะผู้เป็นนายฮ้อย ผู้ที่จะเป็นนายฮ้อยนั้น ไม่มีการหาเสียงอย่างผู้แทนราษฎร หรือนักการเมืองทั้งหลาย เป็นความเห็นดีเห็นชอบของเพื่อนฝูง หรือเฒ่าแก่บ้านเมือง โดยเพื่อนฝูงหากขอร้องให้เป็น และพร้อมกันยกยอกันขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องเคารพนับถือเชื่อฟังกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ร่วมเป็นร่วมตายกัน
    สมัยนั้นพวกพ่อค้าวัว พ่อค้าควาย ต้องไล่ต้อนสัตว์ลงไป จะต้องผ่านเขตเขาใหญ่ ซึ่งมีมหาโจรเขาใหญ่คอยสกัดทำร้ายเป็นประจำ ด่านผู้ร้ายที่สำคัญขนาดเขตอันตรายสีแดง ก็คือ “ปากช่อง” “ช่องตะโก” พวกพ่อค้าทั้งหลายจะขี้ขลาดตาขาวลาวพุงดำไม่ได้ ต้องกล้าเก่ง ฮึกหาญ เตรียมต่อสู้ทุกคน ไม่เขาก็เราขึ้นชื่อว่าลูกผู้ชาย ต้องบุกให้ผ่านพ้นอันตรายให้จนได้ นายฮ้อยต้องมีปืนมีดาบติดตัวเสมอ เมื่อมีเวลาเหตุการณ์ ต้องออกหน้าออกตาในการต่อสู้ ถ้านายฮ้อยดีก็ปลอดภัยทั้งขาไปขากลับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    การเป็น “นายฮ้อย” คุมลูกน้องเพื่อนำโคกระบือมาขายยังภาคกลางต้องอาศัยคุณสมบัติพิเศษตามที่อ้างถึงข้างต้น เป็นการชี้ให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ และความเด็ดเดี่ยวในการดำเนินชีวิตของท่านได้เป็นอย่างดี

    มีครอบครัว
    เมื่อท่านพยายามสร้างฐานะของท่านจนมั่นคงดีแล้วจนอายุได้ประมาณ ๒๔ - ๒๕ ปี จึงได้สมรสกับนางสาวเลา อยู่ร่วมกันมาจนกระทั่งนางเลาผู้ภรรยาตั้งครรภ์ ภรรยาและบุตรในครรภ์ถึงแก่กรรมในวันคลอด จึงทำให้ท่านเกิดความสังเวชสลดใจ และเศร้าโศกเป็นอย่างยิ่ง เห็นความแปรปรวนของสังขารทั้งหลาย เห็นว่า ไม่มีอะไรดีไปกว่าการออกบวชเป็นพระ

    เมื่อตกลงใจดีแล้วท่านจึงได้ลาบิดามารดาและญาติออกบวชเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ นั้นเองที่วัดบ้านตองโขบ ต.ตองโขบ อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีพระอาจารย์โท เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นพระในสังกัดมหานิกาย

    การอยู่ในเพศบรรพชิตของท่านในขณะนั้นก็ยังไม่เป็นไปอย่างที่ท่านนึก เพราะวัดที่ท่านบวชนั้นไม่ได้มีการประพฤติปฏิบัติอะไร พระเณรในวัดก็ยังไม่อยู่ในศีลาจาริยวัตรที่เรียบร้อยงดงาม มีอยู่คืนวันหนึ่งขณะที่ท่านจำวัดอยู่รวมๆ กันในกุฏิ มีพระภิกษุรูปหนึ่งคาดว่าไปเที่ยวกลางคืน กลับมาดึก อาจจะเมามา ได้มาเหยียบตัวท่านอย่างแรงจนสะดุ้งตื่นขึ้น ท่านก็มีความขัดใจอย่างยิ่ง และท่านก็โดนเช่นนั้นหลายครั้ง จึงคิดว่าเราอาจจะอยู่วัดนี้ไม่ได้ และอาจจะทำให้เกิดความผิดตามมา ท่านจึงได้พยายามไต่ถามญาติโยมทั้งหลาย ว่ามีวัดไหนบ้างที่มีพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้รับคำแนะนำว่า วัดที่อยู่อีกฟากหนึ่งของภูพาน (ข้ามภูพานไปทาง จ.กาฬสินธุ์) เจ้าอาวาสชื่อว่าพระอาจารย์วานคำ เป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียง จึงไปขอพักอาศัยอยู่ด้วย อาจารย์วานคำฯ ก็ได้ให้ความรักใคร่แก่ท่านเป็นพิเศษ ได้สอนให้ทำสมาธิตามวิธีของท่านอยู่ประมาณ ๑๐ เดือน แต่ก็มีวัตรปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างที่ท่านไม่พอใจ คือ ตอนค่ำ ๆ พระจะต้องไปถอนหญ้าถางป่า ตัดต้นไม้ ซึ่งอาจารย์วานคำบอกว่า เราทำอย่างนี้มันก็ผิดวินัยอยู่ แต่จำต้องทำ เมื่อพระอาจารย์กงมาทราบว่าการปฏิบัติดังกล่าวผิดวินัย ก็ไม่อยากจะทำ แต่ก็จำต้องทำด้วยความเกรงใจ

    อยู่มาวันหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ท่านอาจารย์กงมาฯ ได้ทราบข่าวว่า มีตาผ้าขาวคนหนึ่งธุดงค์มาปักกลดอยู่ใกล้ ๆ แถว ๆ นั้น มีผู้คนไปฟังเทศน์กันมาก ก็เกิดความสนใจขึ้น เมื่อได้โอกาสจึงได้ไปหาตาผ้าขาวคนนั้น เมื่อได้พบก็เกิดความเลื่อมใส เพราะเห็นกิริยามารยาท ประกอบกับมีรัศมีผ่องใส จึงได้ถามว่า

    ท่านมาจากสำนักไหน
    ตาผ้าขาวบอกว่า มาจากสำนักท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    ถามว่า อยู่กับท่านมากี่ปี
    ตาผ้าขาวบอกว่า ๓ ปี

    และตาผ้าขาวได้อธิบายวิธีทำกัมมัฏฐานแบบของท่านอาจารย์มั่น ฯ ให้ฟัง ก็เกิดความเลื่อมใสอย่างจริงจังขึ้น ถามว่า

    เวลานี้ท่านอาจารย์มั่นฯ อยู่ที่ไหน

    ตอบว่าอยู่ที่บ้านสามผง ดงพะเนาว์ อ. วานรนิวาส ท่านอาจารย์กงมาจึงตั้งใจจะไปหาท่านอาจารย์มั่นฯ ให้ได้ และได้ลาตาผ้าขาวคนนั้นกลับวัด

    เมื่อกลับมาที่วัดแล้วก็มาขอลาท่านอาจารย์วานคำเพื่อไปหาท่านพระอาจารย์มั่น แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาต แม้จะพากเพียรขออนุญาตตั้งหลายครั้ง

    อยู่มาวันหนึ่ง อาจารย์วานคำมีธุระไปฟากภู (ข้างหนึ่งของภูพาน) เป็นโอกาสของท่านอาจารย์กงมาฯ จึงได้ชวนพระบุญมี เป็นเพื่อนองค์หนึ่ง พากันหนีออกจากวัดนั้นไป

    ท่านและพระบุญมีเดินทางเป็นเวลา ๒ วัน ก็ถึงเสนาสนะป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ใกล้กับวัดโพธิ์ชัย ที่ที่ท่านอาจารย์มั่นฯ และคณะส่วนหนึ่งได้จำพรรษาตามคำอาราธนานิมนต์ของพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร

    ขณะไปถึง ท่านอาจารย์มั่นฯ กำลังให้โอวาทแก่พระภิกษุสามเณรอยู่ ณ ที่ศาลามุงหญ้าคาหลังเล็ก ๆ .ซึ่งภาพที่ได้เห็นได้ทำให้ท่านอาจารย์กงมาฯ รู้สึกว่าตื่นเต้นระทึกใจ เหมือนกับว่ามีปีติตกอยู่ในมโนรมณ์ ตัวชาไปหมด จึงนั่งรอพักอยู่ในที่แห่งหนึ่งใต้โคนไม้ เมื่อท่านอาจารย์มั่น ฯ เสร็จจากการให้โอวาทพระภิกษุสามเณรแล้ว ทั้งสองก็ได้เข้าไปนมัสการขอฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านอาจารย์มั่น ฯ

    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้ให้พระไปพาขึ้นมา โดยบอกว่า นั่น พระแขกมาแล้ว และทั้งสองมีความตั้งใจองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่งเพียงแต่ตามมาเท่านั้น และเมื่อท่านอาจารย์กงมา ฯ นั่งแล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ให้กัมมัฏฐานเลยทีเดียว โดยไม่ต้องรอกาลเวลา และก็บอกให้ไปอยู่ที่กุฏิหลังหนึ่งที่เปลี่ยวที่สุด

    พระอาจารย์กงมา รับโอวาทครั้งแรกจากท่านพระอาจารย์มั่น
    เมื่อท่านได้รับโอวาทครั้งแรกของท่านอาจารย์มั่น ฯ นั้น ทำให้ท่านซาบซึ้งอย่างยิ่ง จึงได้เริ่มต้นเร่งความเพียรอย่างเต็มความสามารถ ท่านได้กระต๊อบเล็กหลังหนึ่งอยู่ในป่าดงพะเนาว์ ป่านี้เป็นดงใหญ่ เต็มไปด้วยสิงห์สาราสัตว์ดุร้ายต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นดงมาเลเรีย ถ้าผู้ใดอยู่โดยไม่ระมัดระวังแล้วเป็นไข้มาเลเรียมีหวังตาย แต่ก็ถือได้ว่าเป็นที่สงบวิเวกเป็นอย่างยิ่ง

    หลังจากได้บำเพ็ญความเพียรมาเป็นลำดับตามที่ได้รับอุบายวิธีมาจากท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ทำให้เกิดสมาธิ ปีติเยือกเย็นใจลึกซึ้งเพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน ความก้าวหน้าของการบำเพ็ญจิต เป็นพลวัตคือดำเนินเข้าไปหาความยิ่งใหญ่โดยไม่หยุดยั้ง ทุก ๆ วัน ท่านจะเข้าไปปรึกษาไต่ถามท่านอาจารย์มั่นฯ มิได้ขาด เนื่องด้วยความเป็นไปของสมาธิได้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้แก้ไขให้เกิดศรัทธาอย่างไม่มีลดละ ทำให้ท่านมุมานะบากบั่นอย่างไม่คิดชีวิต

    วันหนึ่งท่านไปนั่งสมาธิอยู่ใต้โคนค้นไม้ พอจะพลบค่ำ ยุงได้มากันใหญ่ แต่พอดีกับท่านกำลังได้รับความรู้ทางในแจ่มแจ้งน่าอัศจรรย์ จึงไม่ลุกจากที่นั่ง ได้นั่งสมาธิต่อไป ยุงได้มารุมกัดท่านอย่างมหาศาล และยุงที่นี้เป็นยุงอันตรายทั้งนั้น เพราะมันมีเชื้อมาเลเรีย แต่ท่านก็ไม่คำนึงถึงเลย มุ่งอยู่แต่ความรู้แจ้งเห็นจริงที่กำลังจะได้อยู่ในขณะนั้น

    <TABLE id=table2 border=0 width=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระอาจารย์วิริยังค์</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในเรื่องนี้ท่านได้เล่าให้พระอาจารย์วิริยังค์ฟังว่า

    เราได้ยอมสละแล้วซึ่งชีวิตนี้ เราต้องการรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมอันท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้แนะนำให้ ในการนั่งครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งพิเศษมากเพราะมันเกิดความสว่างอย่างไม่มีอะไรปิดบัง เราลืมตาก็ไม่สว่างเท่า ดูมันทะลุปรุโปร่งไปหมด ภูเขาป่าไม้ไม่มีอะไรมาขวางกั้นได้เลย และมันเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นแก่เรา แม้จะพิจารณากายสังขารก็แจ้งกระจ่างไปหมด จะนับกระดูกกี่ท่อนก็ได้ เกิดความสังเวชสลดจิตยิ่งนัก หวนคิดไปถึงคุณของท่านอาจารย์ว่าเหลือล้นพ้นประมาณ คิดว่าเราถ้าไม่ได้พบท่านอาจารย์มั่นฯ เหตุไฉนเราจะได้เป็นเช่นนี้หนอ

    ท่านได้นั่งสมาธิจนรุ่งสว่าง พอออกจากสมาธิ ปรากฏว่าเลือดของยุงที่กัดท่านหยดเต็มผ้านิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง) เต็มไปหมด พอท่านลุกขึ้นมาตัวเบา แม้จะรู้อยู่แก่ใจว่ายุงเหล่านี้มีพิษสงร้ายนัก แต่ท่านก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะที่ท่านได้รับธรรมนั้นวิเศษนักแล้ว แต่ท่านก็หาได้จับไข้หรือเป็นมาเลเรียเลย นับเป็นสิ่งอัศจรรย์อยู่มากทีเดียว

    ความเป็นมาในวันนี้ท่านได้นำไปเล่าถวายท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้รับการยกย่องสรรเสริญในท่ามกลางพระสงฆ์ทั้งหลายที่มาประชุมกัน และได้พูดว่า

    ท่านกงมานี้สำคัญนัก แม้จะเป็นพระที่มาใหม่ แต่บารมีแก่กล้ามาก ทำความเพียรหาตัวจับยาก สู้เสียและให้ยุงกินได้ตลอดคืน ควรจะเป็นตัวอย่างแก่ผู้ตั้งใจปฏิบัติทั้งหลาย

    และท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้แสดงถึงมหาสติปัฏฐานโดยเฉพาะ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้ท่านฟังอย่างแจ่มแจ้ง

    ท่านเล่าให้พระอาจารย์วิริยังค์ฟังต่อไปว่า

    เมื่อเราอยู่ที่บ้านสามผงดงพะเนาว์นี้ การทำความเพียรได้บำเพ็ญทั้งกลางคืน และกลางวัน มีการพักหลับนอนในเวลากลางคืนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนตอนกลางวันเราจะเอนหลังลงนอนไม่ได้เลย แม้ว่าเราต้องการจะเอนหลังพักผ่อนบ้าง เพราะความเหน็ดเหนื่อย แต่พอเอนหลังลงเท่านั้น จะมีอีกาตัวหนึ่งบินโฉบมาจับที่หลังคากระต๊อบของท่าน แล้วใช้จะงอยปากสับตรงกลางหลังคาเสียงดังทันที ถ้าท่านไม่ลุกขึ้น มันก็จะสับอยู่อย่างนั้น พอท่านลุกขึ้นมันก็จะหยุด เป็นอยู่อย่างนี้มาหลายเวลาทีเดียว จนท่านไม่กล้าจะพักจำวัดเวลากลางวัน

    ท่านได้เล่าเหตุการณ์ตอนนี้ต่อไปอีกว่า

    “มีคราวหนึ่งที่ท่านต้องหนักใจอย่างยิ่ง คือ ท่านอาจารย์มั่น ฯ ใช้ให้ท่องพระปาฏิโมกข์ให้ได้เสียก่อนจึงจะญัตติเป็น พระธรรมยุต เหมือนกับท่านอาจารย์มั่น ฯ เพราะท่านบวชเป็นพระมหานิกายอยู่ก่อน ค่าที่มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง และต้องการที่จะเป็นศิษย์ที่แท้จริงของ ท่านอาจารย์มั่น ฯ เราจึงต้องพยายามอย่างยิ่ง ที่จะท่องพระปาฏิโมกข์ให้ได้ ซึ่งเป็นการขัดข้องเหลือเกิน เนื่องจากเราอ่านหนังสือเขียนหนังสือไทยไม่ได้มาก ถึงได้ก็ไม่ ชำนาญที่จะอ่านถึงหนังสือพระปาฏิโมกข์

    แม้จะเป็นเรื่องยากแสนยากนักสำหรับตัวเรา ก็ถือว่าแม้แต่การปฏิบัติจิตใจที่ว่ายากนัก เราก็ยังได้พยายามจนได้รับผลมาแล้ว จะมาย่อท้อต่อการทั้งพระปาฏิโมกข์นี้เสียทำไม เราจึงพยายามทั้งกลางวันกลางคืนเช่นกัน แกะหนังสือไปทีละตัว ถึงกับขอให้พระอื่นที่อ่านหนังสือได้ช่วยต่อให้ เราพยายามอยู่หลายเดือน ในที่สุดก็สำเร็จให้แก่เราจนได้ เป็นอันว่า เราท่องพระปาฏิโมกข์จบอยู่ที่บ้านสามผง ดงพะเนาว์นี้เอง”

    และในปีนี้เอง ก็เป็นปีที่มีการทำพิธีญัตติกรรม พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร พร้อมกับพระภิกษุที่เป็นศิษย์ของท่านทั้งสองอีกประมาณ ๒๐ องค์ ในจำนวนพระเณรที่มาทำการญัตติ มีพระอาจารย์สิม พุทธาจาโร ซึ่งครั้งนั้นยังเป็นสามเณรรวมอยู่ด้วยรูปหนึ่ง โดยได้กระทำพิธีที่อุทกุกเขปสีมา (โบสถ์น้ำ) หนองสามผง สำหรับโบสถ์น้ำที่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ จัดสร้างขึ้นนี้ ใช้เรือ ๒ ลำลอยเป็นโป๊ะ เอาไม้พื้นปูเป็นแพ แต่ไม่มีหลังคา เหตุที่สร้างโบสถ์น้ำทำสังฆกรรมคราวนี้ ก็เพราะในป่าจะหาโบสถ์ให้ถูกต้องตามพระวินัยไม่ได้ การทำญัตติกรรมครั้งนี้ ได้อาราธนาท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นพระครูชิโนวาทธำรง มาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และท่านพระอาจารย์มั่นฯ นั่งหัตถบาสร่วมอยู่ด้วย

    พระอาจารย์กงมาได้เล่าถึงเมื่อครั้งได้มีโอกาสอยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่นในช่วงหนึ่งของชีวิตไว้ว่า

    การอยู่ร่วมกับท่านอาจารย์มั่น ฯ เป็นเวลานานเป็นปี ๆ นั้น เป็นการอยู่อย่างมีความหมายจริง ๆ วันและคืนที่ล่วงไปไม่เคยให้เสียประโยชน์แม้แต่กระเบียดนิ้วเดียว เราจะไต่ถามความเป็นไปอย่างไรในจิตที่กำลังดำเนิน ท่านจะแก้ไขให้อย่างแจ่มแจ้ง และท่านยังรู้จักความก้าวหน้าถอยหลังของจิตของเราเสียอีก บอกล่วงหน้าให้ได้เลยในการบางครั้ง ทำให้เราเกิดความอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง คราวใดที่เราเคร่งครัดการทำความเพียรเกินควร ท่านก็จะทัดทานแนะนำให้ผ่อนลงมา คราวใดเราชักจะหย่อนไป ท่านก็จะเตือนให้ทำหนักขึ้น

    และบางคราวบางเดือน สมควรที่จะให้ไปห่างจากท่าน ท่านก็จะบอกชี้ทางให้ออกไปว่า ไป ณ ที่ถ้ำนั้น ภูเขาลูกนั้น ป่านั้น เพื่อความวิเวกยิ่งขึ้น เราก็จะไปตามคำสั่งของท่าน ทำการปรารภความเพียรในที่ไปนั้น เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง ยิ่งชัดเจนในความสามารถของท่านอย่างไม่มีอะไรจะมาเปรียบปาน ครั้นได้กาลเวลาท่านก็เรียกให้กลับ เพื่อความที่จะแนะนำต่อ เรารู้สึกว่าเมื่อกลับมาจากการไปวิเวกแล้วมาถึง ท่านจะแลดงธรรมวิจิตรจริง ๆ ให้ซาบซึ้งอย่างยิ่ง คล้ายกับว่าท่านได้ล่วงรู้ความเป็นไปต่าง ๆ ที่เราได้กระทำมา นี้ก็ทำให้เราอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งอีกเช่นกัน การกระทำเช่นนี้มิใช่ว่าจะแนะนำให้แก่เราแต่ผู้เดียว ทุก ๆ องค์ที่อยู่กับท่านๆ ก็จะแนะนำเช่นเดียวกัน

    ท่านอาจารย์กงมาท่านเล่าเรื่องต่าง ๆ ของท่านในอดีตให้พระอาจารย์วิริยังค์ฟังต่อไปอีกว่า

    ครั้งหนึ่งที่เราได้อยู่กับท่านอาจารย์มั่นผ่านมาเป็นเวลา ๒ ปีเศษ ได้พบเห็นเหตุการณ์ต่างๆ เช่นพระภิกษุสามเณรที่มาอยู่กับท่าน ทุก ๆ องค์ต่างก็สนใจในธรรมอย่างแท้จริง มิได้มีองค์ใดเลยที่ย่อหย่อน และทุกๆ องค์ต่างได้ผลทางใจกันทั้งนั้น เพราะเมื่อผู้ใดมีอะไรเกิดขึ้นจากการบำเพ็ญจิตแล้ว ก็จะนำมาเล่าถวายท่านฟังและในเวลาที่ประชุมกันฟัง ทำให้รู้สึกขนพองสยองเกล้าเอาทีเดียว เมื่อได้ยินแต่ละองค์พูดถึงความจริงที่ตนได้รับ บางองค์ก็พูดเหมือนเรากำลังเป็นอยู่แล้ว และท่านก็แก้ไขให้องค์นั้น เราเองก็พลอยถูกแก้ไขไปในตัวเสร็จ

    บางองค์พูดขึ้นลึกซึ้งเหลือที่เราจักรู้ได้ ก็ทำให้เราอยากรู้อยากเห็น ต่างองค์ก็ต่างไม่สงสัยซึ่งกันและกันว่าคำพูดเหล่านั้นจะไม่จริง ทำให้เรานี้นึกย้อนหลังไปถึงอดีตว่า แม้ครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ก็คงจะเป็นเช่นนี้เอง เลยทำให้เหมือนกับว่าเรากำลังอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังงั้นแหละ ถึงอย่างไรก็ตาม เราเองเลื่อมใสยิ่ง ทั้งท่านและพระภิกษุสามเณรที่อยู่กับท่าน เพราะเหตุที่เห็นการปฏิบัติและปฏิปทาน่าเลื่อมใส และที่ได้เปล่งวาจาแห่งความจริงที่เกิดขึ้นในจิตของแต่ละท่าน

    หลังจากออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้ว ท่านอาจารย์มั่นซึ่งจำพรรษาอยู่ที่บ้านสามผงก็ได้พาคณะซึ่งมีพระอาจารย์กงมารวมอยู่ด้วย เดินทางมาที่บ้านโนนแดง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในกิ่งอำเภอนาหว้า) จังหวัดนครพนม พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรประมาณ ๗๐ รูป ณ ที่นี้เอง ก็ได้มีการประชุมหารือกันในเรื่องที่จะไปเผยแพร่ธรรมและไปโปรดเทศนาญาติโยมที่เมืองอุบล และได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ เกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน จากนั้น ท่านพระอาจารย์ใหญ่ท่านปรารภถึงเรื่องที่จะนำ “โยมแม่ออก” (มารดาของท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งบวชเป็นชี) ไปส่งมอบให้น้องสาวท่านที่จังหวัดอุบลช่วยดูแล เพราะท่านเห็นโยมแม่ท่านชรามาก อายุ ๗๘ ปีแล้ว เกินความสามารถท่านผู้เป็นพระจะดูแลได้แล้ว พระอาจารย์สิงห์ อาจารย์มหาปิ่น ต่างก็อาสาที่จะเป็นผู้นำโยมแม่ออกท่านไปส่งด้วย เพราะโยมแม่ออกของพระอาจารย์แก่มากหมดกำลัง ต้องไปด้วยเกวียนจึงจะไปถึงเมืองอุบล ฯ ได้

    การเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง เพราะบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งใหญ่และเล็กก็ได้เตรียมที่จะเดินทางติดตามท่านในครั้งนี้แทบทั้งนั้น การเดินทางเป็นการเดินแบบเดินธุดงค์ แต่การธุดงค์นั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ด้วย ท่านจึงจัดเป็นคณะๆ ละ ๓ รูป ๔ รูปบ้าง ท่านเองเป็นหัวหน้าเดินทางไปก่อน เมื่อคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมที่คณะที่ ๑ พัก คณะที่ ๓-๔ เมื่อตามคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมนั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้สอนญาติโยมตามรายทางด้วย การสอนนั้นก็เน้นหนักไปในทางกัมมัฏฐาน และการถึงพระไตรสรณาคมน์ ที่ให้ละการนับถือภูตผีปีศาจต่าง ๆ นานา เป็นการทดลองคณะศิษย์ไปในตัวด้วยว่า องค์ใดจะมีผีมือในการเผยแพร่ธรรม

    ในการเดินทางนั้น พอถึงวันอุโบสถ ก็จะนัดทำปาฏิโมกข์ หลังจากนั้นแล้วก็จะแยกย้ายกันไปตามที่กำหนดหมาย

    การเดินธุดงค์แบบนี้ท่านบอกว่าเป็นการโปรดสัตว์ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัททั้งหลาย และก็เป็นจริงเช่นนั้น แต่ละแห่งที่ท่านกำหนดพักนั้น ตามหมู่บ้าน ประชาชนได้เกิดความเลื่อมใสยิ่งในพระคณะกัมมัฏฐานนั้นเป็นอย่างดีและต่างก็รู้ผิดชอบในพระธรรมวินัยขึ้นมาก ตามสถานที่เป็นที่พักธุดงค์ในการครั้งนั้น ได้กลับกลายมาเป็นวัดของคณะกัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่ในภายหลัง โดยญาติโยมทั้งหลายที่ได้รับรสพระธรรมได้พากันร่วมอกร่วมใจกันจัดการให้เป็นวัดขึ้น โดยเฉพาะให้เป็นวัดพระภิกษุสามเณร ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร บำเพ็ญสมาธิกัมมัฏฐาน

    อย่างไรก็ตาม คณะธุดงค์ทั้งหลายก็ไปพบกันอีกที่จังหวัดสกลนคร เพื่อร่วมงานศพมารดานางนุ่ม ชุวานนท์ และงานศพพระยาปัจจันตประเทศธานี บิดาของพระพินิจฯ เมื่อเสร็จงานฌาปนกิจทั้งสองศพนั้นแล้ว พระอาจารย์มั่นก็ธุดงค์ต่อไปเพื่อมุ่งไปยังจังหวัดอุบลราชธานี โดยไปทางบ้านเหล่าโพนค้อ ได้แวะไปเยี่ยมอุปัชฌาย์พิมพ์ ต่อจากนั้นท่านก็ธุดงค์ต่อไป แวะพักบ้านห้วยทราย ๑๐ วัน โดยจุดมุ่งหมาย ท่านต้องการจะเดินทางกลับไปที่จังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้บรรลุถึงหมู่บ้านหนองขอน อยู่ในเขตอำเภออำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโมซึ่งชาวบ้านเมื่อได้ฟังธรรมเทศนาของท่านแล้ว เกิดความเลื่อมใสจึงได้พร้อมใจกันอาราธนาให้ท่านจำพรรษา เมื่อท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ก็รับอาราธนา ชาวบ้านจึงช่วยกันจัดแจงจัดเสนาสนะถวายจนเป็นที่พอเพียงแก่พระภิกษุที่ติดตามมากับท่าน

    พ.ศ. ๒๔๗๐ ในพรรษานี้ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้พักอยู่บ้านหนองขอน ตามที่ชาวบ้านได้อาราธนา ส่วนพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระมหาปิ่นจำพรรษาที่บ้านหัวตะพาน บริเวณใกล้เคียงกัน

    ครั้นออกพรรษาในปี ๒๔๗๐ แล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้เดินธุดงค์ไปถึงตัวจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้นำโยมแม่ออกท่านไปมอบให้น้องสาวท่านในเมืองอุบล ฯ ท่านและคณะศิษย์พักที่วัดบูรพา คณะสานุศิษย์เก่า ๆ ทั้งหลาย อันมีอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร, อาจารย์อ่อน ญาณสิริ, อาจารย์ฝั้น อาจาโร, อาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก พร้อมด้วยศิษย์ อาจารย์หลุย อาจารย์กว่า สุมโน, อาจารย์คูณ, อาจารย์สีลา อาจารย์ดี (พรรณานิคม) อาจารย์บุญมา (วัดป่าบ้านโนนทัน อุดรธานี ในปัจจุบันนี้) อาจารย์ทอง อโสโก อาจารย์บุญส่ง (บ้านข่า) อาจารย์หล้า หลวงตาปั่น (อยู่พระบาทคอแก้ง) เมื่อได้ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ เดินทางมาพำนักอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ทุกองค์เหล่านี้ก็ได้ติดตามมาในเดือน ๓ เพ็ญ บรรดาศิษย์ทั้งหมด มีหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นต้น ก็ได้ร่วมประชุมอบรมธรรมปฏิบัติอย่างที่เคย ๆ ปฏิบัติกันมา

    พระอาจารย์ลี ธมฺมธโรเข้าเป็นศิษย์ท่านอาจารย์มั่น
    <TABLE id=table3 border=0 width=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ย้อนเวลากลับมา ในขณะที่พระอาจารย์กงมากำลังธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่นมายังอุบลราชธานีนั้น ทางด้านพระอาจารย์ลี ซึ่งขณะนั้นบวชเป็นพระอยู่ ได้ไปเทศน์มหาชาติที่วัดโนนรังใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ก็ไปพบพระกรรมฐานองค์หนึ่ง กำลังเทศน์อยู่บนธรรมาสน์ เกิดเลื่อมใสในโวหารของธรรมะที่เทศน์ จึงได้ไต่ถามญาติโยมว่า ท่านองค์นั้นเป็นใคร มาจากไหน ได้รับตอบว่า “ เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ชื่ออาจารย์บท” ท่านได้พักอยู่ในป่ายางใหญ่ใกล้บ้านราว ๒๐ เส้น พองานมหาชาติเสร็จ พระอาจารย์ลีก็ได้ติดตามไปดู...ได้เห็นปฏิปทาความประพฤติของท่านก็เกิดความเลื่อมใส จึงถามท่านว่า ใครเป็นอาจารย์ของท่าน ท่านตอบว่า “ พระอาจารย์มั่น พระ อาจารย์เสาร์ เวลานี้พระอาจารย์มั่นได้ออกเดินทางจากจังหวัดสกลนคร ไปพักอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี” พอได้ความเช่นนั้นก็รีบเดินทางกลับบ้านลาบิดาและญาติเดินทางไปตัวเมืองอุบลราชธานี

    <TABLE id=table4 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระปัญญาพิศาลเถระ(หนู)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เมื่อถึงแล้วก็ได้ไปนมัสการท่านพระอาจารย์มั่นที่วัดบูรพา กราบเรียนความประสงค์ของตนต่อพระอาจารย์มั่น ท่านก็ได้ช่วยแนะนำสงเคราะห์เป็นที่พอใจ สอนคำภาวนาให้ว่า “พุทโธๆ” เพียงคำเดียวเท่านี้ พอดีท่านกำลังอาพาธ ท่านได้แนะนำให้ไปพักอยู่บ้านท่าวังหิน ซึ่งเป็นสถานที่เงียบ สงัดวิเวกดี ที่นั่นมีพระอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น มีพระภิกษุสามเณรราว ๔๐ กว่าองค์พักอยู่ ได้เข้าไปฟังธรรมเทศนาของท่านพระอาจารย์มั่นทุกคืน

    ท่านพระอาจารย์ลีได้เล่าไว้ในอัตโนประวัติของท่านที่ท่านได้เขียนขึ้นว่า

    พอดีได้พบเพื่อนที่หวังดี ๒ องค์นั้นคือพระอาจารย์กงมาและและพระอาจารย์สาม ได้พากเพียรพยายาม ภาวนาอยู่เสมอทั้งกลางวันกลางคืนเมื่อ ได้พักอยู่พอสมควรแล้ว ก็ได้ชวนพระอาจารย์กงมา ออกเดินทางไปเรื่อยๆ ไปพักตามศาลเจ้าผีปู่ตาของหมู่บ้านตำบลต่างๆ

    ขณะนั้นเป็นจังหวะเดียวกันกับที่ท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถระ (หนู) อดีตเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามขึ้นมาจากกรุงเทพ ฯ พักอยู่ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี และท่านเจ้าคุณปัญญา ฯ นี้ ได้เป็นเพื่อนสหธัมมิกกับพระอาจารย์มั่น ฯ จึงขอให้เป็นอุปัชฌาย์ญัตติบวชใหม่ให้ท่านอาจารย์กงมาและท่านอาจารย์ลี โดยพระอาจารย์กงมาเป็นนาคขวา พระอาจารย์ลีเป็นนาคซ้าย จากนั้น ในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ เวลา ๐.๔๐ น.ท่านได้ให้ลูกศิษย์ทั้งสององค์คือ พระอาจารย์กงมาและพระอาจารย์ลีทำพิธีทัฬหิกรรมญัตติเป็นภิกษุในคณะธรรมยุตติกนิกาย ที่วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์เพ็ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยพระอาจารย์กงมาได้ฉายาว่า “จิรปุญโญภิกขุ” และ พระอาจารย์ลีได้ฉายาว่า “ธมฺมธโรภิกขุ”

    เพราะเหตุนี้ท่านทั้งสองคือ พระอาจารย์กงมาและพระอาจารย์ลี จึงได้มีการสนิทสนม และเคารพนับถือซึ่งกันและกันตลอดมา

    พระอาจารย์มั่นฯ ปรารภเรื่องปลีกตัวออกจากหมู่เพื่อวิเวก
    ในค่ำคืนวันหนึ่ง ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เข้าที่ทำสมาธิภาวนาก็ได้ปรารภขึ้นในใจว่า

    “จะออกจากหมู่คณะไปแสวงหาสถานที่วิเวก เพื่อจะได้มีโอกาสพิจารณาค้นคว้าในปฏิปทาสัมมาปฏิบัติ ให้ได้รับความเข้าใจชัดเจน และแจ่มแจ้งเข้าไปอีก แล้วจะได้เอาปฏิปทาอันถูกต้องนั้นฝากไว้แก่เหล่าสานุศิษย์ในอนาคตต่อไป เพราะพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้น ย่อมมีนัยอันสุขุมลุ่มลึกมาก ยากที่จะทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ได้

    ผู้ปฏิบัติตามรอยพระบาทพระพุทธองค์และตามปฏิปทาที่พระอริยเจ้าได้ดำเนินมาก่อนแล้วนั้น เมื่อไม่เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว ย่อมจะเขวไปจากปฏิปทาที่ถูกต้องก็เป็นได้ หรืออาจดำเนินไปโดยผิดๆ ถูก ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้ปฏิบัติดีทั้งหลายก็จะเข้าไม่ถึงศีลถึงธรรม หรืออาจถึงกับป่วยการไม่เป็นประโยชนแก่ตนของตน การปฏิบัติพระธรรมวินัย ในพระพุทธศาสนาก็จะมีแต่ความพอกพูนกิเลสให้เจริญงอกงามขึ้นในตนของตนเท่านั้น ซึ่งไม่สมกับว่าพระธรรมวินัยเป็นของชำระกิเลสที่มีอยู่ให้สิ้นไปจากสันดานแห่งเวไนยสัตว์ทั้งหลาย

    “อนึ่ง การอยู่กับหมู่คณะจะต้องมีภาระการปกครอง ตลอดถึงการแนะนำพร่ำสอนฝึกฝนทรมานต่าง ๆ ซึ่งทำให้โอกาสและเวลาที่จะค้นคว้าในพระธรรมวินัยไม่เพียงพอ ถ้าแลเราปลีกตัวออกไปอยู่ในสถานที่วิเวก ซึ่งไม่มีภาระแล้ว ก็จะได้มีโอกาสเวลาในการค้นคว้ามากขึ้น ผลประโยชน์ในอนาคตก็จะบังเกิดขึ้นมาให้เป็นที่น่าพึงใจ”

    <TABLE id=table5 border=0 width=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ครั้นท่านปรารภในใจอยู่อย่างนั้นแล้ว ท่านจึงได้เรียกศิษย์ทั้งหลาย มีหลวงปู่สิงห์เป็นต้น มาประชุมกัน ท่านได้แนะนำให้มีความมั่นคงดำรงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติอย่างที่ได้เคยแนะนำสั่งสอนมาแล้วนั้น จึงได้มอบหมายให้อำนาจแต่หลวงปู่สิงห์และท่านมหาปิ่น เป็นผู้บริหารปกครองแนะนำพร่ำสอนตามแนวทางที่ท่านได้แนะนำมาแล้วต่อไป

    เมื่อเสร็จจากการประชุมแล้วในการครั้งนั้น ท่านก็กลับไปที่บ้านของท่านอีก ได้แนะนำธรรมปฏิบัติซึ่งท่านได้เคยแนะนำมาก่อนแก่มารดาของท่านจนได้รับความอัศจรรย์อันเป็นภายในอย่างยิ่งมาแล้ว ท่านจึงได้ไปลามารดาของท่าน และได้มอบให้นางหวัน จำปาศีล ผู้น้องสาวเป็นผู้อุปัฏฐากรักษาทุกประการ

    จากนั้นท่านพระอาจารย์มั่นก็ได้ออกเดินทางต่อไปยังกรุงเทพฯ กับเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ จำพรรษาที่วัดสระปทุม และเมื่อออกพรรษาแล้ว ก็ได้ติดตามพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ไปจำพรรษายังจังหวัดเชียงใหม่

    ไปจังหวัดขอนแก่น
    ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ระหว่างนี้พระอาจารย์กงมาก็ได้ติดตามหลวงปู่สิงห์ กับคณะพระภิกษุสามเณรรวมกันประมาณ ๘๐ รูป เดินทางเที่ยววิเวกไปในสถานที่ต่างๆ ก็ได้เทศนาอบรมศีลธรรมประชาชนโดยการขอร้องของเจ้าเมืองอุบลฯ เมื่อจวนเข้าพรรษาได้ไปพักจำพรรษาอยู่วัดบ้านหัวงัว อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นบ้านญาติหลวงปู่สิงห์

    ในช่วงที่หลวงปู่สิงห์อยู่ที่บ้านหัวงัว ท่านก็ได้ทราบข่าวจาก เจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น เจ้าอาวาสวัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นญาติของหลวงปู่ด้วย ว่าทางขอนแก่นมีเหตุการณ์ไม่สู้ดี ขณะนั้นพระอาจารย์ฝั้นซึ่งจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์ ที่หนองน่อง บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนมก็ได้มากราบนมัสการและได้ร่วมปรึกษาหารือกับหลวงปู่สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่นในเรื่องดังกล่าว และเห็นควรลงไปช่วยพระครูพิศาลอรัญเขต (จันทร์ เขมิโย) เมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันออกเดินทาง โดยกำหนดให้ไปพบกันก่อนเข้าพรรษาที่ที่วัดเหล่างา ขอนแก่น

    เมื่อเป็นดังนั้น ชาวอำเภอยโสธร มีอาจารย์ริน อาจารย์แดง อาจารย์อ่อนตา เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยชาวบ้านร้านตลาด ได้จ้างเหมารถยนต์ให้ ๒ คัน ท่านและคณะได้พากันออกเดินทางจากอำเภอยโสธรโดยทางรถยนต์ไปพักแรมอยู่ จ.ร้อยเอ็ด ๑ คืน แล้วออกเดินทางไปพักอยู่ที่ จ.มหาสารคามที่ดอนปู่ตา ที่ชาวบ้านกล่าวกันว่าผีดุ มีชาวบ้านร้านตลาดและข้าราชการพากันมาฟังเทศน์มากมาย จากนั้นเดินทางต่อไปถึงบ้านโนนยาง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ และได้ไปรวมกันอยู่ที่วัดเหล่างา ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่น

    เหตุการณ์ไม่สู้ดีที่ขอนแก่น
    <TABLE id=table6 border=0 width=0 align=right><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR><TD align=middle>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ที่เมืองขอนแก่น นั้นคณะหลวงปู่สิงห์และพระมหาปิ่นได้พบว่าเหตุการณ์ก็ไม่สู้ดี ตามที่พระครูพิศาลอรัญเขตว่าไว้ ซึ่งเรื่องนี้หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ซึ่งในสมัยนั้นท่านได้ร่วมอยู่ในคณะด้วย ท่านได้เขียนไว้ในหนังสือ อัตโนประวัติของท่าน ว่า

    “ข้าได้พักอยู่กับพระอาจารย์สิงห์ ฟังเสียงพวกโยนคนเมืองขอนแก่น ไม่เคยเห็นพระกรรมฐาน ตื่นเต้นกล่าวร้ายติเตียนกันไปสารพัดต่างๆ นานา มิใช่ เขาตื่นเต้นไปทางกลัวทางเสื่อมใส ดังพวกชาวเมืองราชคฤห์ ตื่นเต้นคราวได้เห็นพระพุทธเจ้าออกบรรพชาใหม่ไปเที่ยวบิณฑบาตนั้น

    เมืองขอนแก่นพากันตื่นเต้นอย่างเห็นพระกรรมฐานเป็นสัตว์ เรียกพวกพระกรรมฐานว่า “พวกบักเหลือง” คำว่า “บักเหลือง” นี้เขาว่าพระกรรมฐานทั้งหลายเป็นงูจงอาง อีหล้าคางเหลือง

    ฉะนั้นจึงมีคนเขาออกมาดูพวกพระกรรมฐาน เขาจำต้องมีมือ ถือไม้ค้อนกันมาแทบทุกคน เมื่อมาถึงหมู่พวกข้าแล้ว ถือค้อนเดินไปมาเที่ยวดูพระเณรที่พากันพักอยู่ตามร่มไม้และร้านที่เอากิ่งไม้ แอ้ม และมุงนั้นไปๆ มาๆ แล้วก็ยืนเอาไม้ค้อนค้ำเอว ยืนดูกันอยู่ก็มีพอควร แล้วก็พากันกลับบ้าน เสียงร้องว่าเห็นแล้วละพวกบักเหลือง พวกอีหล้าคางเหลือง พวกมันมาแห่น (แทะ) หัวผีหล่อน (กะโหลก) อยู่ป่าช้าโคกเหล่างา มันเป็นพวกแม่แล้ง ไปอยู่ที่ไหนฝนฟ้าไม่ตกเลยจงให้มันพากันหนี ถ้าพวกบักเหลืองไม่หนีภายในสามสี่วันนี้ ต้องได้ถูกเหง้าไม้ไผ่ค้อนไม้สะแกไปฟาดหัวมันดังนี้ไปต่างๆ นานา จากนี้ไปก็มีเขียนหนังสือปักฉลากบอกให้หนี ถ้าไม่หนีก็จะเอาลูกทองแดงมายิงบูชาละ ดังนี้เป็นต้น

    ไปบิณฑบาตไม่มีใครยินดีใส่บาตรให้ฉัน จนพระอาจารย์สิงห์ภาวนาคาถาอุณหัสสวิชัย ว่าแรงๆ ไปเลยว่า ตาบอดๆ หูหนวกๆ ปากกืก ๆ (ใบ้) ไปตามทางบิณฑบาตนั้นแหละ

    ทั้งมีแยกกันไปบิณฑบาต ตามตรอกตามบันไดเรือนไปเลย จึงพอได้ฉันบ้าง ทั้งพระอาจารย์ก็มีการประชุมลูกศิษย์วันสองวันต่อครั้งก็มี

    ท่านให้โอวาทแก่พวกลูกศิษย์ได้มีความอบอุ่นใจไม่ให้มีความหวาดกลัวอยู่เสมอ แต่ตัวข้าก็ได้อาศัยพิจารณากำหนดจิตตั้งอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ นี้อยู่เรื่อยไป”

    แยกย้ายกันไปตั้งวัดใหม่
    <TABLE id=table7 border=0 width=0 align=left><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR><TD align=middle>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ที่วัดเหล่างา (ปัจจุบันคือวัดวิเวกธรรม) พระปฏิบัติสัทธรรมชุดนี้ ได้ประชุมตกลงให้แยกย้ายกันไปตั้งเป็นสำนักสงฆ์วัดป่าฝ่ายอรัญวาสีขึ้นหลายแห่งในจังหวัดขอนแก่น เพื่อเผยแผ่ธรรม เทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฏฐิ เลิกจากการเคารพนับถือภูตผีปีศาจ และให้ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์ โดย ได้แยกกันอยู่จำพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ตามสำนักสงฆ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

    ๑. หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์หลุย อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าวิเวกธรรม ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

    ๒. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านพระครือ อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

    ๓. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านผือ ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

    ๔. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าชัยวัน บ้านสีฐาน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

    ๕. พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านคำไฮ ตำบลเมืองเก่า อำเภอพระลับ จังหวัด ขอนแก่น

    ๖. พระอาจารย์อุ่น พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านทุ่ง อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

    ๗. พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านโคกโจด อำเภอพระ ลับ จังหวัดขอนแก่น

    ๘. พระอาจารย์ซามา อุจุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านยางคำจังหวัดขอนแก่น

    ๙. พระอาจารย์นิน อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

    ใน พ.ศ. ๒๔๗๓ ซึ่งเป็นพรรษา ๓ (นับพรรษาใหม่เมื่อทำญัตติกรรม) ท่านอาจารย์กงมาได้จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านพระครือ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ร่วมกับพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี พระอาจารย์ภูมี ฐิตธมฺโม

    พ.ศ. ๒๔๗๔ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญจำพรรษาที่ภูระงำ อ.ชนบท จ.ขอนแก่น กับพระอาจารย์ฝั้น ซึ่งก่อนที่จะมาที่ภูระงำนั้นได้มีอาการอาพาธมาก่อนและก็ยังไม่ทุเลาดีนัก เมื่อพระอาจารย์ฝั้นมาจำพรรษาที่ภูระงำอาพาธเดิมก็เกิดกำเริบหนัก ท่านได้ภาวนาสละตายจนจิตรวมสงบ เวทนาดับเหลือแต่เอกาจิตตังตลอดคืนยันรุ่ง ตั้งแต่ทุ่มเศษจนกระทั่ง ๙ โมงเช้า อาการอาพาธปวดเมื่อยหายไปหมด พ้นจากการทุกข์ทรมาน เบาตัว เบากาย สบายเป็นปกติ

    ออกพรรษาคราวนั้น พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ลงจากภูระงำ กับพระอาจารย์ฝั้นเที่ยวธุดงค์ปฏิบัติกัมมัฏฐาน เทศนาธรรมสั่งสอนชาวบ้านไปเรื่อย ๆ จนถึงอำเภอน้ำพอง ซึ่งที่นั่น ท่านได้พบพระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น และพระเณรอีกหลายรูป ซึ่งต่างก็เที่ยวธุดงค์กันมาจากสถานที่ที่จำพรรษาด้วยกันทั้งนั้น

    และที่อำเภอน้ำพองนี่เอง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เจ้าคณะมณฑลอีสาน เมื่อครั้งยังเป็นพระพรหมมุนี ได้มีบัญชาให้พระอาจารย์สิงห์นำพระภิกษุสามเณรในคณะของท่านเดินทางไปจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเทศนาสั่งสอนพุทธบริษัท ซึ่งพระอาจารย์กงมาก็ได้ร่วมเดินทางไปกับพระภิกษุสามเณรคณะนี้ด้วย

    เมื่อถึงนครราชสีมา พ.ต.ต. หลวงชาญนิยมเขต ได้ถวายที่ดินหลังสถานีรถไฟ จำนวน ๘๐ ไร่เศษ ให้สร้างเป็นวัด ซึ่งต่อมาก็คือวัดป่าสาลวัน นั่นเอง จากนั้นพระอาจารย์มหาปิ่นก็ได้พาหมู่ศิษย์อีกหมู่หนึ่งไปสร้างเสนาสนะที่ข้างกรมทหาร ต. หัวทะเล อ. เมือง จ. นครราชสีมา ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นป่าช้าที่ ๒ สำหรับเผาศพผู้ที่ตายด้วยโรคติดต่อ เช่นอหิวาตกโรค และ กาฬโรค ฯลฯ เป็นต้น ให้ชื่อว่าวัดป่าศรัทธารวม ในพรรษานี้ พ.ศ. ๒๔๗๕ วัดป่าศรัทธารวมก็มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาด้วยกันรวม ๑๔ รูป คือนอกจากพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญแล้ว ยังมีพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี, พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม, พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร, ฯลฯ รวมพระภิกษุ ๑๐ รูป และสามเณรอีก ๔ รูป ภายในปีเดียวเกิดมีวัดป่าพระกรรมฐานขึ้นสองวัดเป็นปฐมฤกษ์ของเมืองโคราช

    ออกพรรษาปีนั้น คือ พ.ศ. ๒๔๗๕ พอเข้าเดือน ๖ นายอำเภอขุนเหมสมาหารได้อาราธนาพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์อ่อน, พระอาจารย์ฝั้นไปจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง ใกล้สถานีรถไฟบ้านใหม่สำโรง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว คือวัดป่าบ้านใหม่สำโรง หรือวัดสว่างอารมณ์ในปัจจุบัน เสร็จแล้วพระอาจารย์ฝั้นได้ธุดงค์กลับไปโคราช พระอาจารย์กงมา ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์นี้ ๓ พรรษา จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๙

    พบศิษย์คนสำคัญ
    ที่บ้านใหม่สำโรงนี้เองก็เป็นบ้านของศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของท่าน คือ พระอาจารย์วิริยังค์ ซึ่งเกิดที่ปากเพรียว จังหวัดสระบุรี แต่หลังจากที่บิดาซึ่งรับราชการเป็นนายสถานีรถไฟปากเพรียว นานพอสมควรแล้ว ทางการได้สั่งย้ายมารับตำแหน่งนายสถานีรถไฟ บ้านใหม่สำโรง อำเภอสี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ท่านขุนผู้เป็นบิดาจึงได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านใหม่สำโรง ซึ่งถือว่าเป็นความโชคดีของครอบครัวเด็กชายวิริยังค์ อย่างยิ่งที่จะได้มาพบพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ผู้เป็นศิษย์รูปสำคัญของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เมื่อพระอาจารย์วิริยังค์อายุได้ประมาณ ๑๕ ปี (พ.ศ. ๒๔๗๗) ก็ได้บวชเป็นผ้าขาว และได้บรรพชาเมื่อ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘ ณ วัดสุทธิจินดา ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยพระธรรมฐิติญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็กลับมาอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์กับท่านพระอาจารย์กงมา
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ

    สร้างวัดแรกของท่านและการเผยแผ่ธรรมะ
    พระอาจารย์วิริยังค์ได้เล่าถึงการสร้างวัดแรกคือวัดป่าบ้านใหม่สำโรง หรือวัดสว่างอารมณ์ของพระอาจารย์กงมาและการเผยแผ่ธรรมะแก่ชาวหมู่บ้านใหม่สำโรง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว ไว้ดังนี้

    “การก่อสร้างวัดที่ชื่อว่า “วัดสว่างอารมณ์” ตำบลลาดบัวขาว อ. สีคิ้ว จ. นครราชสีมา อันเป็นวัดแรกที่ท่านได้จัดการก่อสร้างขึ้น ก็เริ่มด้วยกุฏิศาลาที่เป็นอาคารชั่วคราวมุงด้วยจาก แต่นั่นเป็นสิ่งที่ท่านมิได้เอาใจใส่มากนัก ท่านได้แนะนำสั่งสอนธรรม แก่อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายนั้นเป็นประการสำคัญดังที่จะเห็นได้ว่าตอนเวลาค่ำคืนจะมีจำพวกหนุ่มสาว เฒ่าแก่หลั่งไหลไปหาท่าน โดยท่านจะสอนธรรมหรือไม่ก็ต่อมนต์ คือคนในละแวกนั้นอ่านหนังสือไม่ออก ท่านต้องต่อให้ทีละคำ ๆ จนกระทั่งจำได้ทั้งทำวัตรเช้า และทำวัตรค่ำ อาราธนาศีล อาราธนาเทศน์

    คนในบ้านใหม่สำโรงในขณะนั้นเป็นบ้านป่า ไกลความเจริญ แต่เป็นแหล่งทำมาหากินดี เพราะมีป่าว่างมาก หลายหมู่บ้านหลายแห่งพากันอพยพมาตั้งหลักแหล่งกัน ฉะนั้นคนในละแวกนี้จึงมาจากหลาย ๆ กรุ๊พ ทำให้เกิดความไม่ใคร่จะลงรอยกัน คงเป็นพรรคเป็นพวกก่อความทะเลาะกันเนือง ๆ

    ท่านอาจารย์กงมา ท่านเห็นเหตุนี้แล้วท่านก็เริ่มโปรยปรายธรรมเข้าสู่จิตใจประชาชน และก็ได้ผลดือท่านได้หาอุบายให้คนทั้งหลายเหล่านั้นได้เข้าวัด ท่านก็พยายามพร่ำสอนให้เข้ามารักษาอุโบสถบ้าง ฟังธรรมบ้าง บำเพ็ญกุศลอื่น ๆ บ้าง จนจิตใจอ่อนลง ข้าพเจ้าเองก็เป็นผู้หนึ่งที่ถูกความดึงดูดของท่านได้เข้ามาปฏิบัติธรรม

    ภายหลังปรากฏว่าชาวบ้านใหม่สำโรงอยู่ในศีลธรรมมากขึ้น จนมีศูนย์กลางคือวัด ได้ร่วมสังสรรค์จนเกิดความสามัคคีธรรมขึ้น กลับกลายเป็นบ้านที่มีความสุข อยู่ด้วยความพร้อมเพรียง งานชิ้นนี้ของอาจารย์กงมา เห็นงานชิ้นโบว์แดงชิ้นแรกของชีวิตท่าน จนกระทั่งประชาชนเห็นดีเห็นชอบได้ช่วยกันสร้างถาวรวัตถุจนเป็นวัดโดยสมบูรณ์ขึ้นในภายหลัง

    ท่านได้ใช้เวลาอยู่ที่นี่ ๓ พรรษา ในเวลา ๓ ปีนี้ ท่านขยันสอนทั้งฝ่ายพระภิกษุ สามเณร และประชาชน ทางด้านพระภิกษุสามเณรนั้นท่านจะกวดขันเรื่องการปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง โดยให้ฉันหนเดียว ฉันในบาตร บิณฑบาตไม่ให้ขาด ทำวัตรเช้าเย็น บำเพ็ญกัมมัฏฐานภาวนา ทั้งนั่งสมาธิและเดินจงกรม ภายในบริเวณวัดท่านจะจัดสถานที่วิเวกไว้เป็นแห่ง ๆ คือมีทางจงกรมภายใต้ร่มไม้เป็นทางยาวพอสมควรประมาณ ๑๐ วา หัวทางจงกรมจะมีแท่นสำหรับนั่งสมาธิ มีอยู่ทั่วไปตามรอบ ๆ วัด สถานที่ที่ท่านจัดขึ้นให้โอกาสทุกองค์ได้เลือกเอาเพื่อไว้เป็นที่บำเพ็ญกัมมัฏฐาน ปรากฏว่าผลที่ได้รับคือความสงบทางใจอย่างยิ่งแก่ผู้มาพึ่งพาอาศัยท่าน แม้แต่ข้าพเจ้าก็ได้รับผลมาจากครั้งกระนั้นเองเป็นขั้นต้น

    ขณะถึงกาลออกพรรษาหน้าแล้ง ท่านจะพาศิษย์ที่สมัครใจออกเที่ยวธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อแสวงหาที่สงบวิเวก”

    พาสามเณรวิริยังค์ออกฝึกธุดงค์
    พ.ศ. ๒๔๗๘ เมื่อบวชสามเณรวิริยังค์ได้ ๑๐ วัน ท่านก็ประกาศว่า ถ้าใครไม่กลัวตายไปธุดงค์กับเรา สามเณรวิริยังค์ก็ขอสมัครไปกับท่านทันที แล้วพระอาจารย์กงมาก็นำเอาอดีตชาติในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระอริยะสาวกคือ พระพาหิยะ ซึ่งเป็นพระอสีติมหาสาวกในสมัยพุทธกาลมาเล่าให้ฟังถึงการบำเพ็ญความเพียรของท่านว่า​
    มีพระเถระที่เป็นเพื่อนสหธรรมมิก ๔ รูปด้วยกันปรารถนาความเพียรอย่างยิ่งเป็นที่ตั้ง แม้จะพยายามสักเพียงใดก็ไม่พอใจ คิดว่าพวกเราทั้ง ๔ ยังมีความประมาทอยู่ จึงชักชวนกันธุดงค์ไปในกลางดงใหญ่มีทั้งเหว น้ำ ถ้ำ ภูเขา ทั้ง ๔ องค์ได้ไปพบภูเขาสูงชันอยู่แห่งหนึ่ง จึงเดินเข้าไปใกล้ มองดูข้างบนเห็นถ้ำอยู่หน้าผา จึงให้ตัดไม้ทำเป็นบันไดต่อขึ้นไปจนถึงถ้ำนั้นแล้วทั้ง ๔ องค์นั้นก็พร้อมกันขึ้นไปบนถ้ำ เมื่อพร้อมกันอยู่ที่ถ้ำนั้นเรียบร้อยแล้วก็พร้อมใจกันอธิษฐานว่า เรามาทำความเพียรอันอุกฤษฏ์ไม่ต้องคำนึงถึงชีวิต แม้จะตายก็ช่างมัน ถ้าบันไดยังพาดอยู่ปากถ้ำ คนเราก็ยังถือว่าห่วงชีวิตอยู่ เราไม่ต้องห่วงชีวิตแล้ว ถ้าไม่บรรลุธรรมก็ให้หายไปเสียเถิด จึงพร้อมใจกันผลักบันไดทิ้ง เป็นอันว่าทั้ง ๔ รูปก็ไปทางไหนไม่ได้แล้วก็จึงปรารภความเพียรอย่างหนัก

    เมื่อทั้ง ๔ องค์ปรารภความเพียรอยู่นั้น ๗ วันล่วงไป องค์ที่หนึ่งได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็เหาะไปบิณฑบาต เพื่อมาเลี้ยง ๓ องค์ที่ยังอยู่ ๓ องค์ไม่ประสงค์เพราะยอมตายแล้ว ล่วงไปอีก ๗ วัน องค์ที่สองได้บรรลุพระอนาคาเหาะไปบิณฑบาตมาเลี้ยง แม้ ๒ องค์ ไม่ปรารถนาที่จะฉัน ห้ามเสียแล้ว ๒ องค์ แม้นจะพยายามสักเท่าใดก็ไม่อาจบรรลุได้ ได้อดอาหารจนมรณภาพไปทั้ง ๒ องค์ ทั้ง ๒ องค์นี้ได้มาเกิดในสมัยพระพุทธเจ้าของเรา องค์หนึ่งได้นามว่าพระพาหิยะได้บรรลุพระอรหัตเมื่อฟังธรรมของพระพุทธองค์ ขณะที่บิณฑบาต อีกองค์หนึ่งชื่อ กุมารกัสสปะไปทำความเพียรอยู่ในป่าผู้เดียว ได้ฟังธรรมกามาทีนวกถาได้บรรลุพระอรหัตเช่นเดียวกัน

    ในการออกธุดงค์ในครั้งนั้น นอกจากท่านพระอาจารย์กงมา ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะแล้ว ก็มีพระ ๑ รูป ชื่อพระสังฆ์ สามเณร ๒ รูป สามเณรเที่ยงและสามเณรวิริยังค์ รวม ๕ รูปด้วยกัน ออกเดินธุดงค์เข้าดงพญาเย็น พบสถานที่ใดเป็นที่สงบ ท่านก็จะทำความเพียรอยู่หลายวัน ในครั้งนั้นในป่าแถบนั้นไม่มีบ้านคนเลย ล่วงเลยไปถึงวันที่ ๕ ก็ยังไม่ได้ฉันอาหารกันเลย ได้ฉันแต่น้ำเท่านั้น พวกคณะธุดงค์อดอาหารกันทุก ๆ องค์ แต่ก็ยังเดินกันไหว ท่านอาจารย์กงมาท่านก็ให้กำลังใจแก่พวกคณะศิษย์ว่า

    เรารักความเพียร เรารักธรรมมากกว่าชีวิต

    แต่สามเณรวิริยังค์ซึ่งขณะนั้นอายุ ๑๔ ปีเท่านั้น รู้สึกว่ามันหิวกระหายเบาไปหมดทั้งตัว ต้องพยายามทำจิตให้แน่วแน่ไว้ตลอดเวลา การพูดคุยไม่ต้องพูดกับใคร ก้มหน้าก้มตากำหนดจิตมิให้ออกนอกได้ เพราะจิตออกไปเวลาใดขณะใด จะเกิดทุกขเวทนาขณะนั้น

    พระอาจารย์วิริยังค์ได้เล่าไว้ใน หนังสือ “ใต้สามัญสำนึก” ถึงการฝึกเดินธุดงค์ช่วงการหยุดพักนอน ไว้ตอนหนึ่งว่า

    ขณะที่พวกเราหยุดพักนอน ท่านก็ใช้ให้ไปกางกลดให้ไกลกันให้มาก ข้าพเจ้าก็ต้องออกห่างท่าน ไปอยู่ไกล เอาแต่เพียงกู่กันได้ยินน้อย ๆ ก็คืออยู่กันคนละลูกภูเขา การทำเช่นนี้เป็นการหยั่งถึงความจริงของลูกศิษย์ท่าน ว่าจะเอาจริงกันแค่ไหน ข้าพเจ้าแม้จะกลัวแสนกลัวที่จะกลัว ก็จำต้องออกไปอยู่ให้ไกลที่สุด แต่พอตกกลางคืนเข้าแล้วไม่ทราบว่าความกลัวมันประดังกันเข้ามาอย่างไรกันนักก็ไม่ทราบ รู้สึกว่ามันเสียวไปทั้งตัวเลย แต่ข้าพเจ้าได้ให้คำมั่นกับท่านอาจารย์ของข้าพเจ้าไว้แล้วว่าไม่กลัวตาย แต่ในใจคิดว่าอยากไปนอนให้ใกล้ ๆ ท่านที่สุด แต่ก็ไม่กล้า จำเป็นที่จะต้องอยู่ห่างไกล เสียงเสือคำราม เสียงช้างมันร้อง ดูรู้สึกว่ามันจะมากินข้าพเจ้าไปเสียแล้ว แต่ก็เป็นเหตุให้เกิดมรณานุสสติอยู่ตลอดเวลา เลยทำให้เกิดผลทางใจขึ้นอย่างยิ่ง

    ธรรมดาว่าใจของคนเรานี้ต้องอาศัยฝึกหัดทำ ทำไปเหมือนคนฝึกหัดไปกับกิเลส เช่นฝึกแสดงภาพยนตร์ ดนตรีต่าง ๆ ก็เป็นได้ ถ้านึกในทางธรรมก็เป็นได้ แต่ทุก ๆ อย่างก็ต้องอาศัยกรรมวิธีแต่ละอย่าง การแสวงหาธรรมก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องมีกรรมวิธีที่จะนำมาใช้ให้ได้ผล เช่นเดียวกันกับข้าพเจ้าที่กำลังถูกกรรมวิธีของอาจารย์ข้าพเจ้าทรมานอยู่ในขณะนี้นั่นเอง
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ

    ปราบพยศมหาโจรอุง
    เมื่อธุดงค์พ้นจากดงพญาเย็นมาถึงหางดงนั้น แถบนี้เป็นแหล่งที่พวกมหาโจรทั้งหลายพากันมาส้องสุมกันอยู่จำนวนมาก ท่านอาจารย์กงมาก็พาคณะศิษย์พักอยู่บริเวณนั้น เมื่อคณะท่านพักกันเรียบร้อยแล้ว พวกโจรประมาณ ๒๐ คน ได้เข้ามาล้อมคณะพระธุดงค์ ในมือมีทั้งดาบและปืนน่าสะพรึงกลัว

    ท่านอาจารย์กงมา เคยเล่าให้สามเณรวิริยังค์ฟังว่า พวกโจรดงพญาเย็นนี้ร้ายกาจนัก มันจับพระธุดงค์ฆ่าเสียมากต่อมากแล้ว คราวหนึ่งมีพระธุดงค์จำนวน ๙ รูป ธุดงค์มาเจอพวกโจรเขาใหญ่ดงพญาเย็นนี้ มันจับเอาไว้หมด ค้นดูย่ามว่าจะมีเงินไหม พระธุดงค์ทั้ง ๙ รูปไม่มีเงินแม้แต่สตางค์แดงเดียว พวกโจรก็โกรธ จึงจับเอาพระให้เอาศีรษะชนกัน ชนค่อย ๆ ก็ไม่ยอม ชนจนศีรษะได้เลือด แต่มีอีกหนึ่งรูปไม่มีคู่ พวกโจรเลยให้ชนหัวคันนา พวกโจรชอบใจหัวเราะกัน พระรูปไม่มีคู่เดือดดาลในใจนักจึงค่อย ๆ คลานไปจนถึงปืนที่โจรวางไว้ คว้าปืนยิงโจรตายไป พวกโจรก็หนีเตลิดไป

    พระอาจารย์วิริยังค์ได้เล่าเรื่องนี้ไว้ดังนี้

    ข้าพเจ้านึกถึงที่ท่านเล่ามาให้ข้าพเจ้าฟังได้ก็ให้เสียวว่าเราจะโดนอีท่าไหนหนอ จากนั้นท่านอาจารย์กงมา ท่านก็เริ่มอธิบายธรรมต่าง ๆ ให้พวกโจรมันฟัง แต่มันก็หาได้เคารพพระอาจารย์แต่อย่างใดไม่ พวกมันนั่งยอง ๆ เอาปลายดาบปักลงที่ดิน วางท่าทางน่ากลัว ข้าพเจ้าก็นั่งรับใช้ท่านอาจารย์ข้าง ๆ นั้นนั่นเอง ท่านอาจารย์ก็ไม่ยอมลดธรรมเทศนา อธิบายเรื่อย ๆ ไป ข้าพเจ้าจำได้ตอนหนึ่งว่า

    พวกเธอเอ๋ย แม้พวกเธอจะมาหาทรัพย์ ตลอดถึงการผิดศีลของพวกเธอนั้นน่า ก็เพื่อเลี้ยงชีวิตนี้เท่านั้น แต่ชีวิตนี้ก็ไม่ใช่ของพวกเธอ มันจะสิ้นกันไม่รู้วันไหน เป็นเช่นนี้ทุกคน พวกเธอฆ่าเขา ถึงจะฆ่าไม่ฆ่าเขาก็ตาย เธอก็เหมือนกัน มีความดีเท่านั้นที่ใคร ๆ ฆ่าไม่ตาย อย่างเรานี้จะตายเมื่อไรก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะความดีเราทำมามากแล้ว

    ข้าพเจ้าแทบจะไม่เชื่อในสายตาของข้าพเจ้าเลยทีเดียว ในขณะนั้นพวกโจรทั้งหมดพากันวางมีดวางปืนหมด น้อมตัวลงกราบอาจารย์ของข้าพเจ้าอย่างอ่อนน้อม ข้าพเจ้าโล่งใจไปถนัดและพอใจที่พวกโจรมันยอมแล้ว หัวหน้าโจรชื่อนายอุง เป็นคนล่ำสันมาก กรากเข้ามาหาอาจารย์ ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์

    อีกครั้งเหมือนกันที่ข้าพเจ้าไม่ยอมเชื่อสายตาของข้าพเจ้าว่า ทำไมโจรจะยอมเป็นลูกศิษย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ทำไมช่างง่ายดายอะไรอย่างนี้ และก็เป็นจริงเช่นนั้น ท่านอาจารย์กงมา ท่านก็บัญชาให้พระที่ไปกับท่านโกนผมเสียเลย บวชเป็นตาผ้าขาวติดตามท่านไป

    เดี๋ยวนี้หัวหน้าโจรได้กลายเป็นผู้ทรงศีลไปเสียแล้ว มันจะเป็นไปได้หรือท่านผู้อ่านทั้งหลาย เพียงชั่วโมงเดียวเท่านั้นโจรทั้งคณะมายอมแพ้อาจารย์ของข้าพเจ้า มันเป็นไปแล้วแหละท่านทั้งหลาย ต่อมาเมื่อมหาโจรอุง มาเป็นตาผ้าขาวอุงแล้วก็สนิทสนมกันกับข้าพเจ้าอย่างยิ่ง

    ข้าพเจ้าแม้ขณะนั้นอายุเพียง ๑๕ ปี เป็นสามเณร ถึงจะยังไม่เจนต่อโลกมากนัก แต่สามัญสำนึกของข้าพเจ้าได้บอกตัวเองว่า น่าอัศจรรย์ น่าอัศจรรย์ที่อาจารย์ได้สอนคนที่จะต้องฆ่าคนอีกมากให้หยุดจากการกระทำบาปเช่นนี้ ข้าพเจ้าในสามัญสำนึกก็ต้องยอมรับแล้วว่า อาจารย์ของข้าพเจ้านี้แก่งมาก ข้าพเจ้านึกชมอยู่ในใจ แม้กระทั่งบัดนี้ ข้าพเจ้าก็จะยังไม่ยอมลืมต่อเหตุการณ์ในวันนั้นได้เลย นี่ถ้าหากว่าอาจารย์ของข้าพเจ้าเกิดทรมานโจรไม่สำเร็จ พระเราก็จะถูกพวกมันบังคับให้เอาหัวชนกัน เมื่อไป ๕ องค์ ข้าพเจ้าซิจะถูกมันบังคับให้เอาหัวชนคันนา ข้าพเจ้าจะกล้าหรือไม่กล้าที่จะยิงมัน แต่อย่าคิดดีกว่า เพราะท่านอาจารย์ของข้าพเจ้าได้ทรมานมหาโจรสำเร็จแล้ว”

    พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ได้ปราบมหาโจรอุง จนยอมทุกสิ่งทุกอย่างโดยอาศัยวาทศิลป์แห่งพระสัทธรรม และความจริงแห่งการปฏิบัติในพระธรรมวินัยที่เคร่งครัดของท่าน ตลอดถึงอาจาริยมรรยาทที่น่าเลื่อมใส ทำให้มหาโจรอุงได้ยอมเข้ามาถือบวช แต่พระอาจารย์กงมาก็ให้เป็นเพียงตาผ้าขาว นุ่งขาวห่มขาวสมาทานศีล ๘ เพราะมหาโจรผู้นี้ได้ฆ่าคนมามาก

    พระอาจารย์วิริยังค์ได้เล่าเรื่องนี้ต่อไปว่า

    “มหาโจรอุง ซึ่งบัดนี้ได้กลายเป็นตาผ้าขาวอุงไปแล้วนั้น ก็ได้ติดตามอาจารย์มาจำพรรษาร่วมอยู่ที่วัดนี้ เธอตั้งใจจะปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างเต็มความสามารถ และก็เป็นผล ทำให้จิตใจของเธอได้รับความสงบและเยือกเย็นเป็นอย่างยิ่ง การทำความเพียรของเธอนั้นทำอย่างยิ่ง บางครั้งนั่งสมาธิตลอดคืนยังรุ่ง บางครั้งเมื่อสมาธิได้ผล เธอจะอดอาหาร ๒ วัน ๓ วัน เป็นการทรมานตน

    ข้าพเจ้าได้ถามเธอว่า ตอนเป็นโจรได้ฆ่าคนไปแล้วกี่คน

    เธอบอกว่า ๙ คน นับเป็นบาปกรรมอย่างยิ่ง แต่อาศัยธรรมของพระอาจารย์กงมา ที่ได้พร่ำสอนอยู่เนืองนิตย์ ทำให้เธอได้รับผลจากคำสอนเป็นอย่างยิ่ง

    ข้าพเจ้าถามเธอเรื่องการปล้นฆ่าทีไรเป็นได้เรื่องทุกที

    เธอบอกว่า เมื่อได้เล่าเรื่องความหลัง ในเวลาบำเพ็ญสมาธิจะแลเห็นในนิมิตว่า มีตำรวจนับไม่ถ้วนมารุมล้อมจะฆ่าเอาเสียให้ได้ มันเป็นนิมิตที่คอยมาหลอกหลอนตัวเองอยู่เสมอ

    เธอได้เล่าต่อไปว่า

    มีคราวหนึ่งเขาจับผมได้ เขาประชาทัณฑ์จนผมสลบไป พวกเขานึกว่าผมตายแล้วจึงหามเอาผมไปโยนทั้งในป่าแห่งหนึ่ง พอกลางดึกน้ำค้างตกถูกหัวผม ผมได้รู้สึกตัวและได้ฟื้นขึ้น พวกชาวบ้านรู้ว่าผมฟื้นไม่ตาย พวกเขายิ่งกลัวกันใหญ่ อกสั่นขวัญแขวน ผมเองมารู้สึกตัวตอนฟื้นชีพว่า คนเราเกิดแล้วต้องตายแน่ เรามาประพฤติตัวเป็นมหาโจรอยู่เช่นนี้ ก็คงจะได้รับบาปกรรมอันใหญ่หลวงต่อไปเป็นแน่

    แต่แม้จะได้คิดเช่นนี้ก็ตาม สัญชาตญาณของความเป็นโจรของผมก็ไม่สิ้นไป ต้องคุมสมัครพรรคพวกเข้าปล้นสะดมเขาเหมือนเดิม แต่คราวนี้ผมได้ตั้งใจไว้ว่าจะไม่ฆ่าใครอีกต่อไป เหมือนกับบุญปางหลังมาช่วยผม อีกไม่ช้าไม่นานนัก ก็พอดีมาพบกับท่านอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พร้อมกับเมื่อมองเห็นท่านครั้งแรกก็อัศจรรย์ใจแล้วครับ ให้เกิดความเลื่อมใสในองค์ท่านตั้งแต่ยังไม่ฟังธรรมจากท่าน อาจถึงคราวหมดบาปกรรมแล้ว พอได้ฟังธรรมจากท่านเท่านั้น ก็เกิดความสลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ จิตของผมเหมือนกับถูกชโลมด้วยน้ำอมฤต กลายเป็นจิตที่ให้อภัยทุกสิ่งทุกอย่าง ละตัวออกจากพวกมหาโจรทั้งหลาย

    ผมเองก็พยายามเกลี้ยกล่อมลูกน้องให้ตามผมมาบวช แต่มันไม่ตามมา ผมก็เลยปล่อย แต่ในที่สุดลูกน้องของผมทั้งหมดมันก็เลิกเป็นโจร เข้ามาอยู่ในบ้านทำมาหากินตามปกติ ผมเองจึงบวชเป็นตาผ้าขาว ผมรู้ตัวผมดีว่าทำบาปกรรมไว้มาก ผมจึงขอสละชีวิตเพื่อการทำสมาธิอย่างยิ่งยวด

    ตาผ้าขาวอุงได้อยู่ปฏิบัติกับพระอาจารย์กงมา อยู่เป็นเวลาหลายปี เป็นผู้เคร่งครัดอยู่ในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่งจนวาระสุดท้ายของชีวิตในวันหนึ่ง ตาผ้าขาวอุงนั่งสมาธิอยู่ภายในกลด เป็นเวลา ๒ วันไม่ออกมา ตามธรรมดาจะออกมารับประทานอาหารพร้อมพระ ในวันนั้นไม่ออก พระภิกษุสามเณรก็สงสัย แต่บางครั้งตาผ้าขาวอุงจะอดอาหาร ถึง ๕-๗ วัน ก็มี จึงทำให้ไม่มีใครสนใจเท่าใดนัก แม้ว่าจะไม่ออกจากกลดตั้งหลายวัน วันนี้พวกเรานึกสงสัยมากกว่าทุกวัน จึงพากันเข้าไปเพื่อจะเปิดดูว่า ตาผ้าขาวอุงทำอะไรอยู่ข้างใน แต่โดยส่วนมากพระอาจารย์กงมาท่านห้าม เพราะเป็นเวลาที่เขานั่งสมาธิอยู่ เราไปทำให้เสียสมาธิของคนอื่น จึงทำให้เกิดความลังเลที่จะเปิดกลดของตาผ้าขาวอุง

    ครั้นเมื่อเห็นว่าไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานผิดปกติ พวกเราจึงตัดสินใจเปิดกลด เมื่อเปิดกลดแล้วทุก ๆ คนที่เห็นก็ต้องตกตะลึง เพราะตาผ้าขาวอุงไม่มีลมหายใจเสียแล้ว แต่ว่ายังคงนั่งสมาธิอยู่ตามปกติไม่ล้ม พวกเราจับตัวดูเย็นหมด แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ แต่ว่าคราวนั้นอยู่กันในป่า เป็นวัดป่า เรื่องก็ไม่เป็นข่าวโกลาหล ซึ่งถ้าเป็นอย่างปัจจุบันนี้ เข้าใจว่าจะเป็นข่าวอึกทึกครึกโครมอย่างมหาศาลทีเดียว น่ากลัวว่า พวกที่นับถือเรื่องโชคลาง จะพากันแตกตื่นไปหากันใหญ่ แต่ว่าขณะนั้นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ในที่สุดพระอาจารย์ก็ได้พาญาติโยมพระภิกษุสามเณรทำฌาปนกิจศพตามมีตามได้ จนกระทั่งเหลืออยู่แต่เถ้าถ่านเท่านั้น.”
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ

    ธุดงค์อยู่ในถ้ำเขาภูคา นครสวรรค์
    <TABLE id=table8 border=0 width=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    ถ้ำภูคา นครสวรรค์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ภายหลังจากที่พระอาจารย์กงมา ได้พาสามเณรวิริยังค์และพวก เที่ยวธุดงค์หาวิเวกไปตามป่า ตามเขา ตามถ้ำ จนถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปที่สถานีรถไฟหัวหวาย เดินเข้าไปจนถึงถ้ำแห่งหนึ่ง ชื่อว่าถ้ำภูคา ถ้ำนี้อยู่ที่ภูเขาไม่ใหญ่นัก แต่ถ้ำใหญ่มาก กว้างขวาง และเป็นถ้ำขึ้นไม่ใช่ถ้ำลง มีปล่องหลายปล่อง ทำให้ภายในถ้ำสว่างไม่มืด และมีซอกเป็นที่น่าอยู่มากแห่ง พระอาจารย์พาคณะอยู่ ณ ที่ถ้ำนี้เป็นเวลาหลายเดือน เพราะเป็นที่วิเวกดี ท่านได้พาชาวบ้านใกล้ ๆ นั้นขุดดินทำทางเดินจงกรมในถ้ำได้หลายทาง แต่ขณะที่ขุดดินทำทางเดินจงกรม ได้พบเบ้าหลอมทองเก่าแก่ ตุ้มหู ต่างหู เป็นทองคำและกะโหลกศีรษะ อะไรต่าง ๆ มากมาย เป็นของโบราณ

    ณ ที่ถ้ำแห่งนี้ พระอาจารย์กงมาได้แนะนำพร่ำสอนเรื่องการปฏิบัติจิตใจให้แก่สามเณรวิริยังค์อย่างเต็มที่ และตัวสามเณรวิริยังค์เองก็ปรารภความเพียรอย่างเต็มกำลัง ได้ผลเป็นที่พอใจ ตั้งใจว่าจะจำพรรษาอยู่ที่นี้ แต่พอจวนจะเข้าพรรษา ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้โทรเลขไปเรียกให้ท่านอาจารย์กงมากลับ คณะธุดงค์จึงได้กลับนครราชสีมา และได้กลับมาอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์ บ้านใหม่สำโรง

    ไปจันทบุรีตามคำอาราธนาของ
    พระอาจารย์ลี
    <TABLE id=table11 border=0 width=150 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ทางฝ่ายพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้เดินธุดงค์ไปจนถึงจังหวัดจันทบุรี ได้เผยแผ่ธรรมะจนเป็นที่นิยมเลื่อมใสเป็นอันมาก แต่ในขณะเดียวกันก็มีหมู่พวกที่อิจฉาริษยาคอยกลั่นแกล้งอยู่เช่นกัน ต่อมาขุนภูมิประศาสน์ นายอำเภอท่าใหม่ต้องการนิมนต์ให้ไปอยู่บ้านนายามอาม เพื่อเป็นการช่วยทางบ้านเมืองปราบปรามโจรผู้ร้าย พระอาจารย์ลีจึงได้รับปากว่าจะหาพระให้ แล้วท่านก็ได้มีจดหมายไปนมัสการท่านพระอาจารย์สิงห์ขอให้ท่านจัดส่งพระมาช่วยเผยแผ่ธรรมะ พร้อมกันนั้นก็มีจดหมายถึงท่านอาจารย์กงมา ฯ ขอให้ไปช่วยในการเผยแพร่ธรรมดังกล่าวแล้ว หลังจากท่านอาจารย์กงมา ฯ ได้รับจดหมายแล้ว ก็นำไปปรึกษาท่านอาจารย์สิงห์ ก็ได้รับอนุมัติให้ไปจันทบุรี

    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พร้อมด้วยคณะรวม ๕ รูปมี พระอาจารย์ปาน (ทองปาน) มหาอุตฺสาโห พระอาจารย์เงียบ สามเณรวิริยังค์ บุญทีย์กุล (อีกรูปหนึ่งไม่ได้ระบุชื่อไว้) ออกธุดงค์ไปภาคตะวันออก แต่ได้ไปพักอยู่ที่กรุงเทพฯ ก่อน นางถม ลิปิพันธ์ เลื่อมใสในท่านอาจารย์กงมา ได้ถวายค่าโดยสารเรือไปจันทบุรีองค์ละ ๕ บาท การเดินทางครั้งนั้นได้โดยสารเรือทะเลมา ชื่อเรือภาณุรังสี

    เมื่อพระอาจารย์กงมาได้มาถึงจันทบุรี ก็ได้มาพักอยู่ที่วัดป่าคลองกุ้ง อันเป็นวัดกัมมัฏฐานวัดแรกของจังหวัดจันทบุรีที่พระอาจารย์ลีได้มาริเริ่มก่อสร้างขึ้น ไม่นานก็เดินทางไปตั้งสำนักขึ้นที่บ้านนายายอาม ตามคำนิมนต์ของ ขุนภูมิประศาสน์ นายอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี หมู่บ้านดังกล่าวโจรผู้ร้ายชุกชุม คนขาดศีลธรรม นายอำเภอปราบไม่สำเร็จ บ้านนี้เป็นบ้านที่อัตคัดขาดแคลนมาก จะหาแม้เพียงเสียมขุดหลุมปักเสากุฏีก็หาไม่ได้

    พระอาจารย์ลีได้เล่าเรื่องนี้ไว้ในอัตโนประวัติของท่านไว้ดังนี้

    เมื่อได้ส่งพระไปจัดตั้งสำนักเรียบร้อยแล้ว ก็ได้พาญาติโยมไปเยี่ยม อาทิ คุณนายหงส์ ภริยาหลวงอนุทัยฯ คุณนายกิมลั้ง ภริยาขุนอำนาจฯ เป็นหัวหน้าคณะญาติโยม พอไปถึงสำนักที่พักตำบลนายายอาม ได้เห็นภาวะความเป็นอยู่ของชาวบ้านและพระเณรที่ได้ส่งไป อยู่ในฐานะอัตคัดขาดแคลน คุณนายกิมลั้งทำท่าทางโฉงฉางแล้วพูดเอ็ดขึ้นว่า พาเอาพระมาอดๆ อยากๆ ตกระกำลำบาก ขอพวกท่านอย่าอยู่กันเลย กลับไปอยู่ จ.จันทบุรีเสียเถิด พระอาจารย์กงมาซึ่งเป็นหัวหน้าอยู่ที่สำนักพอได้ยินเช่นนี้ก็ใจเสีย คิดกลับจันทบุรีจริงๆ ในที่สุดสำนักนี้ก็เลยร้างไม่มีพระอยู่จำพรรษาต่อไป

    <TABLE id=table9 border=0 width=150 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ประตูทางเข้าวัดทรายงาม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระอาจารย์กงมาจึงได้กลับมาอยู่ที่วัดคลองบางกุ้ง ต่อมาชาวบ้านหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ได้มีความประสงค์ที่จะได้พระอาจารย์กัมมัฏฐานไปแนะนำข้อปฏิบัติในถิ่นของตน ได้เคยพยายามมาติดต่อท่านอาจารย์ลีอยู่เสมอ เพื่อขอพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิไปสร้างวัด เพื่อให้เป็นสถานที่อบรมการปฏิบัติ พอได้ข่าวว่า พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ผู้เป็นศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดคลองบางกุ้ง จึงได้แต่งตั้งตัวแทน ๖ คน เดินทางมานิมนต์ให้ท่านไปจำพรรษาที่บ้าน

    เรื่องนี้มีเล่าอยู่ในหนังสือ “ประวัติ พระครูสุทธิธรรมรังษี หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง” ไว้ดังต่อไปนี้

    “ชาวบ้านผู้ที่อาสาจะไปนิมนต์พระอาจารย์กงมา มาอยู่ที่วัดทรายงาม มีนายเสี่ยน, นายหลวน, ผู้ใหญ่อึก, นายจิ๊ด, นายซี่, นายแดง รวมเป็น ๖ คน เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ปี พ.ศ. ๒๔๗๙

    เมื่อได้พบกับท่านอาจารย์กงมา ก็เข้าไปนิมนต์ ท่านอาจารย์จึงพูดขึ้นว่า

    “ให้พวกโยมอธิษฐานดูเสียก่อน ถ้าดีก็มารับ ถ้าไม่ดีก็อย่ามา ให้พากันกลับไปเสียก่อน ให้ไปเสี่ยงความฝัน ถ้าฝันดีคอยมารับ ถ้าฝันไม่ดีก็อย่ามา”

    ในขณะนั้นนั่นเองนายหลวนก็พูดขึ้นว่า

    “ท่านอาจารย์ขอรับ กระผมฝันดีมาแล้ว ฝันก่อนจะมาเมื่อคืนนี้ คือฝันว่าได้ช้างเผือกสองตัวแม่ลูก รูปร่างสวยงามมาก แต่เมื่อเอามือลูบคลำเข้าแล้ว ช้างเผือกสองแม่ลูกเลยกลับกลายเป็น ไก่ขาว ไป”

    ท่านอาจารย์ได้สดับเช่นนั้น นั่งนิ่งพิจารณาว่า

    “เออ! ดี แล้วถ้าอย่างนั้นเราก็ตอบตกลงที่จะไปบ้านหนองบัว วันพุธขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๑๗ มีนาคม (๒๔๗๙) ให้มารับ”

    เมื่อถึงวันที่กำหนดชาวบ้านก็พากันมารับ ๔ คน คือ นายสิงห์, นายแดง, นายซี่, นายเสี่ยน

    ถึงเวลาบ่าย ๔โมงตรง ไปกัน ๒ รูป คือพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ กับสามเณรวิริยังค์อีกหนึ่งองค์ เมื่อมาถึงแล้วได้เข้าพักที่ป่าช้าผีดิบ (วัคทรายงามปัจจุบัน) ญาติโยมทั้งหลายที่รออยู่ได้กุลีกุจอพากันทำกระท่อมพอได้อาศัย พอตกเย็น ๆ มีคนพากันมาฟังเทศน์เป็นจำนวนมาก เมื่อท่านแสดงธรรมเสร็จทุกคนพากันเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง”

    เรื่องความฝันว่าได้ช้างเผือกสองตัวแม่ลูก รูปร่างสวยงามมาก แต่เมื่อเอามือลูบคลำเข้าแล้ว ช้างเผือกสองแม่ลูกเลยกลับกลายเป็น ไก่ขาว ไปนั้น ท่านพระอาจารย์เจี๊ยะ ได้เล่าไว้ในหนังสือเล่มเดียวกันที่อ้างข้างต้นว่า
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ

    อัศจรรย์โก่ขาว
    ขอย้อนกลับไปเรื่องไก่ขาว ที่โยมหลวนเป็นคนฝัน แกฝันว่าได้ช้างเผือก ๒ เชือก แม่ลูก เมื่อลูบคลำแล้ว กลับกลายเป็นไก่ขาวไป

    <TABLE id=table10 border=0 width=150 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอุโบสถวัดทรายงาม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เรื่องความฝันน่าจะเป็นเรื่องเล่น แต่ถ้าความฝันกลายเป็นความจริงขึ้นมาแบบเป็นตัวเป็นตนนี้ความฝันนั้นมันก็น่าอัศจรรย์อยู่ไม่น้อย เรื่องไก่ขาวตัวนี้ก็เช่นกัน ทำให้ชาวบ้านทั้งพระทั้งเณรพากันแตกตื่น เหมือนกับทุกคนจะบอกว่า มันแปลกดีนะ



    ไก่ขาวตัวนี้เป็นไก่ของเจ๊กเบ๊ ห่างจากป่าช้าที่พระอาจารย์กงมาพักระยะทาง ๑ ทุ่งนา และต้องข้ามไปอีก ๑ ดอน (ประมาณ ๑ กม.) ในบ้านเจ๊กเบ๊นั้นมีไก่เยอะแยะ คืนวันที่พระอาจารย์กงมา มาถึงป่าช้าผีดิบ ก็เป็นวันเดียวกันกับที่เจ้าของไก่จะจับมันไปต้มยำมาเลี้ยงพระในตอนเช้า เจ๊กเบ๊เข้าไปไล่ตะลุมบอนจับมันในเล้า ตัวไหนก็ไม่เอา กะจะเอาตัวนี้มันอ้วนพีดีนัก เล้ามันสูงจับยังไงก็ไม่ได้ มันหนีตายสุดฤทธิ์ ในที่สุดเจ๊กเบ๊หมดความพยายาม คิดไว้ในใจว่าพรุ่งนี้จะเอาใหม่ คือจะฆ่าด้วยวิธีใหม่ กลางคืนฆ่ายาก จะพยายามฆ่ากลางวันแสก ๆ ด้วยการยิงเป็นต้น พอคิดอย่างนี้เสร็จก็เข้านอนเพราะความเหนื่อยล้าที่ไล่ฆ่าไก่ขาวไม่ได้

    พอวันรุ่งขึ้นวันใหม่เท่านั้นแหละไก่ขาวตัวนั้นก็ได้ขันแต่เช้ากว่าเพื่อนเหมือนจะระบายอะไรบางอย่างที่อัดอั้นตันใจ ที่เขาเลี้ยงมาใช่อื่นใดนอกจากฆ่า สัตว์อื่นนอกจากเรานี้หนาไม่มีสัตว์อะไรที่จะซวยเท่า คือเขาเลี้ยงดีอย่างไร ก็เพื่อฆ่าแกงเท่านั้น เพื่อนที่ซวยที่อยู่ไม่ไกลนักอยู่ข้างคอกใกล้เคียงก็คือหมู ตอนเล็กๆ เจ๊กเขาก็เลี้ยงดีเหมือนกันกับเรา แต่พอโตขึ้นอ้วนๆ หายไปทุกที สงสัยไปตาย คิดอย่างนี้ไก่ขาวก็จิตใจไม่ดี เดินกระวนกระวายระมัดระวังภัยในวันนี้เป็นพิเศษเพราะ เมื่อคืนนี้รอดมาได้ วันนี้อาจจะไม่เป็นเช่นนั้น คิดๆ เสร็จก็คุ้ยเขี่ยหาอาหารแต่เช้ามืด เพื่อตุนเอาแรง พร้อมๆ กับความไม่มั่นใจในการลอบหนีออกจากบ้าน

    พอได้เวลาอรุณรุ่ง มองเห็นพอสลัวๆ แต่พอมองออกว่าอะไรเป็นอะไร เป็นเวลารำไร เมื่อพระอาทิตย์อุทัยส่องแสง ไก่ขาวก็รีบขัน กระโจนพุ่งโบยบินออกจากเล้า บินร่อนไปจับกิ่งไม้ขันไปเรื่อยๆ แต่มันไม่ไปที่อื่น มันดันตรงมาที่ชายวัดที่ท่านอาจารย์กงมาอยู่พอดิบพอดี เจ้าของคือเจ๊กเบ๊... ก็ติดตามมาอย่างกระชั้นชิด พยายามไล่จับและไล่กลับ ไล่มันกลับไปที่บ้านตัวเองได้ถึง ๓ ครั้ง ๓ หน

    ครั้งที่ ๓ นี้มันสำคัญมาก ที่จะต้องจารึกไว้ในชีวประวัติของไก่ขาวตัวนี้ มันหนีมาแล้วบุกตะลุยแหวกผู้คนมาถึงกุฏิท่านอาจารย์กงมาเลยทีเดียว เจ๊กเบ๊ก็ไม่กล้าเข้าไปตาม มันก็อยู่ที่นั่นไม่ไปที่ไหนเข้าไปอยู่ใกล้ ๆ ท่านอาจารย์ หากินอยู่ที่นั่น นอนอยู่ที่นั่น แสดงถึงความเป็นผู้เจอะเจอที่สัปปายะ คนทั้งหลายก็มาดูมันอยู่ที่นั่น

    อยู่มากันหนึ่งท่านอาจารย์ย้ายไปนอนกุฏิอื่นเจ้าไก่ขาวมันก็ตามไปด้วยท่านย้ายไปหลังไหนวันไหน มันก็ย้ายตามไปหลังนั้นวันนั้นเหมือนกัน เป็นอย่างนี้อยู่โดยตลอด ท่านอาจารย์สั่งสอนให้มันขึ้นไปนอนบนต้นไม้ต้นไหน มันก็ขึ้นต้นนั้น บอกให้หยุด...มันก็หยุด! บอกให้เดิน...มันก็เดิน! มันทำให้ท่านรักสงสารเหมือนมันรู้ภาษาท่านพูด

    เมื่อท่านอาจารย์อ่านหนังสือวินัย เจ้าไก่ขาวก็ไปอยู่ข้าง นั่งอยู่ข้าง ๆ นอนอยู่ข้าง ๆ อย่างน่าอิจฉา มันเหลือบตามองบ้างดูบ้าง ดูหนังสือที่ท่านจับอยู่นั้น คนทั้งหลายก็เฮฮากันมาดู ต่างก็พูดว่า “ไก่ตัวนี้มันเป็นอะไร”

    ครั้นต่อมาอีกไม่นานนัก คนทั้งหลายก็เที่ยวล้อเล่นกับมัน หลอกมันต่าง ๆ นานา ด้วยความน่ารัก มันก็ชักจะรำคาญจึงเกิดการเตะตีคนขึ้น เป็นอันว่าใครมากวนมัน มันเตะเลย เมื่อเป็นเช่นนั้น

    เด็กน้อยเด็กเล็กมากัด มาเล่นกับมัน มันเตะหมด ไม่มีใครกล้าทำอะไรมันเพราะมันเป็นไก่ท่านอาจารย์ไปแล้ว มันเตะคนก็อันตรายเพราะเดือนมันยาวๆ

    ทายกทายิกาทั้งหลายภายในวัด จึงพากันคิดจะตัดเดือยมัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่คน แต่เรื่องนี้เจ้าไก่ขาวมันคงคิดว่าเกิดอันตรายแก่มันในที่สุดมันถูกตัดเดือย ถูกตัดความเป็นผู้กล้าของมันออก

    “แหม่... มันโมโหเป็นวรรคเป็นเวร โกรธจัดเหลือกำลัง วิ่งไปขันไปทั่วๆ บริเวณวัด มันแหกปากร้องจนน่ารำคาญ แต่ไม่ทำลายสิ่งของ ขี้ก็ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน ขี้เป็นที่เป็นทางดี แต่มันไม่ยอมเล่นกับใคร ๆ ไม่ปันใจให้ใครอีกต่อไป”

    ในที่สุดเมื่อคนไล่มัน เล่นกับมันมากเข้า ไม่สงบ มันจึงไม่มาถิ่นแถวที่คนอยู่อีกต่อไป ไปอยู่ตัวเดียว หากินอยู่ตัวเดียว อยู่เดี่ยว ๆ เดียวดาย สงัดกาย สงัดจิตที่ศาลามุงกระเบื้องไกล ๆ โน้น เมื่อมันไปอยู่ที่ไกลๆ คนก็ตามไปกวนล้อเล่นกับมันอีก เพราะมันน่ารักตัวใหญ่ เป็นไก่โอก เป็นไก่เชื่อง ๆ

    ในที่สุดมันรำคาญมนุษย์มากเข้าก็ตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเจ๊กเบ๊ด้วยความเศร้าสร้อยเหงาหงอย เดินคอตก มันเดินไปมองดูก็รู้ว่ามันคอตก ๆ เป็นไก่เศร้าขาดความอบอุ่น เสียความรู้สึกที่ดี ๆ กับคนมาวัด แล้วก็ไม่เดินทางกลับมาอีกเลย มันคงคิดได้ว่า “ถึงแม้เราจะอยู่ที่ใด เขาก็คงไม่คิดว่าเราเป็นคนดอก เขาคงเห็นเราเป็นไก่ ตายเกิดเอาชาติใหม่ดีกว่า มนุษย์นี้นอกจากจะยุ่งกับตัวเองก็ยังไม่พอ ยังมายุ่งกับเราส่งเป็นไก่ ไม่มีสัตว์ประเภทใดที่จัดทำให้มนุษย์พอใจในการละเล่น มนุษย์นี้เป็นเหมือนสัตว์ที่เป็นโรคประสาท เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย อีชอบอีก็ชม อีชังอีก็แช่ง ขนาดเราเป็นไก่ยังอดทนไม่ได้ มนุษย์เล่า! จะทนกันและกันได้อย่างไร?”

    เรื่องไก่ขาวนี้ ทำให้ฆราวาสญาติโยมที่มาปฏิบัติธรรมกับท่านอาจารย์กงมา เปลี่ยนแปลงไปเยอะ บางคนถึงกับเลิกคิดจะฆ่าสัตว์ตลอดชีวิต บางคนตั้งสัจจะอธิษฐานจะรักษาศีลตลอดชีวิต บางคนก็เสียใจในสิ่งที่ตนได้กระทำกับไก่ไว้ แสดงอาการรู้สึกผิด แต่สำหรับบางคน มาดู ๆ แล้วก็ไป เหมือนทัพพีไม่รู้รสแกง เรื่องไก่ขาวยังไม่จบ แต่กลัวจะยาวเกินไปจึงขอจบเพียงแค่นี้

    น่าอัศจรรย์! น่าอัศจรรย์จริงๆ ความฝันกลายเป็นความจริง ก็คือโยมหลวนทำไมฝันได้แม่นยำอะไรขนาดนั้น ฝันว่าได้ช้างเผือก ๒ เลือกแม่ลูก อันหมายถึง พระอาจารย์กงมากับสามเณร แล้วเมื่อลูบคลำไปมา ช้างเผือกกลับกลายเป็นไก่ขาว และในที่สุดไก่ขาวตัวนั้นก็มาจริง ๆ ชนทั้งพลายที่รู้เรื่องนี้ก็อัศจรรย์ไปตาม ๆ กัน

    และเรื่องไก่ขาวนั้นยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่า “ชะรอยจะมีบุคคลผู้มีบุญวาสนาเข้ามาบวช มาเกิดที่วัดทรายงาม จนกลายเป็นพระที่บริสุทธิ์สะอาดเหมือนดั่งขนของไก่ขาว และมีจิตใจอาจหาญในธรรมเหมือนไก่ขาวที่ไม่กลัวความตาย ไก่ขาวนี้น่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดี และไก่ขาวตัวนี้อาจจะกลายเป็นช้างเผือกตัวขาวตลอดในวงการพระพุทธศาสนา”

    การสร้างวัดทรายงามนี้ ท่านอาจารย์กงมาท่านได้สร้างคน หมายความว่าท่านได้สร้างคุณธรรมให้แก่คนในละแวกนั้นอย่างเต็มที่ เพราะตั้งแต่วันมาถึง ท่านได้เปิดการแสดงธรรมทุกวัน ก็มีประชาชนสนใจมาฟังทุกวันมิได้ขาด นอกจากแสดงธรรมแล้ว ท่านก็นำบำเพ็ญสมาธิ จนปรากฏว่ามีผู้ได้รับธรรม จนเกิดปีติภายในกันมากในระยะ ๓ เดือนแรก ท่านอาจารย์ได้แสดงธรรมอย่างวิจิตรพิสดารทำให้ชาวบ้านนั้นเกิดศรัทธา ได้ช่วยสร้างศาลาการเปรียญและกุฏิอย่างรวดเร็ว พอกับพระ ๕ รูป สามเณร ๑ รูปในปีนั้น

    ศิษย์รูปแรกที่บวชแล้วเข้ามาอยู่ที่วัดทรายงาม
    <TABLE id=table12 border=0 width=150 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เรื่องความฝันในเรื่องช้างเผือกกลับกลายเป็นไก่ขาวนั้น ก็ยังมีผู้ตีความกันไปอีกทางหนึ่ง เรื่องนี้หลวงปู่เจี๊ยะเล่าว่า

    “เรื่องช้างเผือกกลายเป็นไก่ขาวบางคนเขาก็ว่า “ท่านอาจารย์กงมาต้องมาได้ลูกศิษย์ดีที่นี่” แต่มันก็แปลกตรงที่ว่า ในขณะที่ท่านอาจารย์กงมามาสอนธรรมะที่ป่าช้าผีดิบ (วัดทรายงามปัจจุบัน) นั้นตอนนั้นเราก็ไม่รู้เรื่องอะไร เป็นหนุ่ม ๆ อยู่ รักสนุกทางโลกอยู่ แต่กลับกลายเป็นว่าภิกษุที่เข้ามาบวชรูปแรก ถ้าจะนับในบรรดาพระทั้งหลายแล้ว เราเป็นองค์แรกที่บวชแล้วเข้ามาอยู่วัดทรายงาม มันประจวบเหมาะบันดลบันดาลใจให้บวชในขณะนั้น ทั้งที่อะไร ๆ ก็ไม่ค่อยอำนวย ไก่ขาวกลับกลายเป็นช้างเผือกที่วัดทรายงามจึงเกี่ยวข้องกับเราทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะเกี่ยวข้อง ตั้งแต่เราออกบวชแล้ว คนหนองบัว ออกบวชกันตาม ๆ มามาก เช่น ท่านถวิล (พระอาจารย์ถวิล) ท่านแบน (พระอาจารย์แบน) ฯลฯ

    ในปี ๒๔๘๐ พระอาจารย์กงมาก็ได้รับศิษย์เข้ามาอยู่จำพรรษาที่วัดทรายงามอีกองค์หนึ่ง คือ พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท ซึ่งได้บวชเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑๖.๑๙ น. ณ พัทธสีมาวัดจันทนาราม อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เมื่อบวชที่วัดจันทนารามเสร็จแล้ว ก็กลับมาจำพรรษาที่วัดทรายงาม
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเสด็จมาสืบข้อเท็จจริง




    <TABLE id=table13 border=0 width=150 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า



    กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

    (ชื่น สุจิตฺโต)



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ และ ๒๔๘๒ มีผู้นำเรื่องไปทูลฟ้องสมเด็จพระสังฆราช เจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ว่า พระอาจารย์กงมา ปฏิบัติผิดพระวินัย หลายเรื่อง ซึ่งเรื่องนี้ท่านพระอาจารย์วิริยังค์ได้เล่าไว้ ดังที่ปรากฏอยู่ใน หนังสือ" ชีวิตคือการต่อสู้ : ประวัติและผลงาน พระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)" ดังนี้

    พระอาจารย์ของข้าพเจ้า (ข้าพเจ้าในที่นี้คือสามเณรวิริยังค์) นอกจากท่านจะใช้ความพยายามแนะนำพร่ำสอนชาวบ้านหนองบัวแล้ว ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสก็ได้ถวายปัจจัยมาก ท่านก็ให้เขาสร้างกุฏิ ศาลามั่นคงถาวรขึ้น ทั้งนี้ย่อมเป็นสิ่งอันพอสมควรทีเดียว แต่ผลของการแนะนำข้อปฏิบัตินั้นก็ค่อยๆ ปรากฏโฉมหน้าออกมาเรื่อยๆ เพราะเหตุชาวบ้านหนองบัวถูกพระอาจารย์ของข้าพเจ้าต่อสู้จนชนะ หมายความว่าชนะโดยการปฏิบัติธรรมให้เป็นตัวอย่าง คำพูดนั้นพูดกันแต่น้อย ปฏิบัติให้มาก

    อย่างไรก็ตามพวกถือมานะทิฏฐิก็ยังมีอยู่ พวกที่ยังไม่ลดละความพยายาม คือพยายามจะจับผิดพระอาจารย์ให้ได้ จึงร่วมกับพระภิกษุบางองค์ที่คงแก่เรียน มีฐานันดรนำเรื่องต่างๆ ไปฟ้องสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์หลายครั้งและก็หลายหน จนสมเด็จฯ ท่านคงรำคาญ หรือต้องการจะทราบความจริงของพระคณะกัมมัฏฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เพราะสมเด็จฯ ก็ได้ทราบเกียรติคุณนี้มานานแล้ว ยังไม่เคยทราบข้อเท็จจริง หากจะปรักปรำเอาความผิดตามที่ชาวบ้านหนองบัวบางพวกและพระฐานันดรบางรูปกล่าวหา ก็จะเสียผู้ใหญ่ อาจจะเสียรูปแห่งการปกครองได้ เพราะสมเด็จฯ คงจะมองกาลไกลว่า พระที่ปฏิบัตินั้นหายาก และที่จะมีความสามารถก็หายาก หากทำงานผิดพลาดจะจะเสียโอกาสทั้งฝ่ายปกครองและฝ่ายผู้ประสงค์ดี หากทำถูกต้องอาจจะเป็นกำลังที่ยิ่งใหญ่ต่อไปภายหน้า

    เมื่อสมเด็จฯ ได้คิดเช่นนี้แล้ว พระองค์จึงทรงละความลำบาก แม้จะต้องทรงลำบากฉันใด ก็มิทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากนั้นเลย ได้เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปพร้อมกับพระมหาศาสนโสภณ (ป.๙ ) โดยสารเรือไฟจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดจันทบุรี ( เพราะไม่มีทางรถยนต์)

    มิได้มีใครคาดหมายมาก่อนว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้าจะเสด็จมาโดยพระองค์เอง ต่างก็ได้ทำพิธีต้อนรับกันเป็นการใหญ่ ตั้งแต่ทางจังหวัดจันทบุรีและวัดต่างๆ ในเมือง พระอาจารย์ของข้าพเจ้าเฉยๆ แม้จะได้ข่าวว่าสมเด็จฯ เสด็จ เพราะไม่นึกว่าสมเด็จพระสังฆราชเจ้าจะเสด็จมาที่วัดทรายงาม แม้สมเด็จฯ เองก็มิได้ทรงปรารภว่าจะมาวัดทรายงามแต่อย่างใด ปล่อยให้ข้าราชการ พระฐานันดรศักดิ์ต้อนรับกันจ้าละหวั่นอยู่ที่ตัวเมืองจันทบุรี

    อยู่ๆ วันหนึ่งสมเด็จฯ ก็ทรงตรัสว่า เราจะไปวัดทรายงามเดี๋ยวนี้ ทำเอาข้าราชการพระฐานันดรศักดิ์ตกใจ จะจัดเรือถวายให้ สมเด็จฯ ก็ไม่เอา ทรงรับสั่งว่า จะเดินไปเดี๋ยวนี้ แล้วก็ให้คนนำทาง

    ทรงเสด็จเดินในเวลานั้นบ่ายแล้ว ม้าเร็วรีบแจวอ้าวนำเรื่องไปบอกกับพระอาจารย์ของสามเณรวิริยังค์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเดินเร็วเหมือนกัน ม้าเร็วมาส่งข่าวไม่ถึงชั่วโมงก็เสด็จถึงแล้ว ทางวัดทรายงามก็มิทันได้ตั้งตัว สมเด็จฯ เสด็จถึงเสียแล้ว สมเณรวิริยังค์พร้อมพระอาจารย์ พระ ๑๐ กว่ารูป ฆราวาสสี่ห้าคนเดินออกไปรับเสด็จทันตรงทุ่งนาห่างวัดไม่ถึง ๑๐ เส้น

    สมเด็จฯ ทรงดุเอาว่า "ออกมารับทำไม" แล้วทรงรับสั่งว่า "เราจะพักที่นี่ไม่มีกำหนด" ทำเอาพระอาจารย์งง สามเณรวิริยังค์ก็งง ข้าราชการพระฐานันดรศักดิ์ก็งง แหละแล้วพระอาจารย์ก็ได้จัดกุฏิถวายให้พักตามพระอัธยาศัย แล้วก็ให้สามเณรวิริยังค์เป็นผู้อุปัฏฐากดูแลอย่างใกล้ชิด

    ผู้ไปฟ้องสมเด็จพระสังฆราชเจ้าครั้งนี้มี ๕ ข้อด้วยกัน คือ

    ๑. พระอาจารย์กงมา พาพระบิณฑบาตสะพายบาตรเหมือนมหานิกาย เป็นการแตกคอกนอกจากธรรมเนียมธรรมยุต
    ๒. พระอาจารย์กงมา เมื่อโยมถวายสังฆทานต้องอุปโลกน์มิฉะนั้นจะไม่ฉัน เป็นการงมงาย เพราะเขาถวายพระภิกษุสงฆ์แล้วไม่ต้องอุปโลกน์
    ๓. พระอาจารย์กงมา เทศนาแปลหนังสือไม่เป็น ผิดๆ ถูกๆ ซึ่งเป็นการไม่เหมาะแก่ที่จะเป็นผู้นำ
    ๔. พระอาจารย์กงมาไปธุดงค์ ทำน้ำมนต์ ยาเสน่ห์ ของขลัง แนะนำแต่ทางโลกีย์ ซึ่งผิดระเบียบพระธุดงค์
    ๕. พระอาจารย์กงมา ทำอุโบสถไม่มีพัทธสีมา

    เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จไปนั้น ทรงเสด็จไปในสภาพพระธรรมดา มิให้ใครหรือพระรูปใดรู้ว่าพระองค์มาสอบสวนในเรื่องต่างๆ ที่มีคนไปฟ้อง และทรงปฏิบัติเหมือนพระที่วัดทรายงามทุกประการ เช่น ฉันหนเดียว ฉันในบาตร สวดมนต์ที่ศาลา เวลาพูดจาก็มิให้พูดด้วยราชาศัพท์ ให้ทำทุกกอย่างเป็นกันเอง แล้วทรงพูดว่าเรามาเยี่ยม "กงมา" และประสงค์จะมาเรียนกรรมฐานด้วย ให้ช่วยสอนให้ ทำเอาพระอาจารย์ของสามเณรวิริยังค์กำลังงง ยิ่งงงใหญ่ พระอาจารย์บ่นกับสามเณรวิริยังค์ว่า "นี่เราจะสอนหนังสือสังฆราชแล้วหรือ" ทำเอาสามเณรวิริยังค์ก็สงสัยว่า สมเด็จพระสังฆราชควรจะเรียกหรือสั่งให้พระอาจารย์เข้าไปอยู่ที่วัดบวรนิเวศน์ กรุงเทพฯ แล้วให้สอนกรรมฐานให้ก็ได้ ทำไมพระองค์จะต้องถ่อร่างมาถึงพวกเรา แต่สามเณรวิริยังค์ก็ถือว่าเป็นเกียรติแด่พระอาจารย์ใหญ่หลวงนักครั้งนี้ ภายหลังถึงทราบว่า สมเด็จพระสังฆราชทรงเสด็จมาสอบสวนข้อเท็จจริงตามที่มีผู้กล่าวหาพระอาจารย์กงมาฯ

    เช้าวันแรกสมเด็จพระสังฆราชตื่นบรรทมแต่เช้า ทรงถือบาตรออกจากกุฏิมารอพระที่วัดทรายงามจะออกบิณฑบาต และทุกๆ องค์ก็ออกบิณฑบาตเป็นปรกติเดินตามกันเป็นแถว แล้วทุกองค์ก็หยุดเมื่อเห็นสมเด็จฯ ยืนอยู่ข้างหน้า แล้วสมเด็จฯ ก็เดินออกมาตรวจดูพระทุกๆ รูปที่กำลังสะพายบาตร เอาบาตรไว้ข้างหน้าคลุมผ้าอย่างมีปริมณฑล ข้าพเจ้ากำลังยืนอยู่ท้ายแถว สงสัยว่าสมเด็จฯ ท่านมายืนดูพวกเราทำไม ทันใดนั้นสมเด็จฯ ก็ทรงตรัสว่า

    "เออพวกเธอทำไมถึงไม่ได้จับบาตรเหมือนพระธรรมยุตทั่วไป แต่สะพายไว้ข้างหน้าเช่นนี้ ก็เหมือนกับอุ้มเหมือนกัน ไม่ผิดแน่"

    ข้าพเจ้าสงสัยมาก ทำไมสมเด็จฯ ทรงตรัสเช่นนี้ แต่ทำเอาข้าพเจ้าดีใจมาก เพราะคำว่า ไม่ผิดแน่ แต่ก็สงสัยอยู่ครามครัน

    อีกสองสามวันผ่านไป วันหนึ่งข้าพเจ้าก็ได้เข้าไปอยู่ใกล้ชิดและคอยถวายการรับใช้สมเด็จฯ ตามปกติ สมเด็จฯ ไม่ยอมให้พูดราชาศัพท์ ข้าพเจ้ารู้จักราชาศัพท์ งู งู ปลา ปลา

    ท่านบอกว่า "เฮ้ยเณร หูกันดังอู้ยังกะรถไฟ"

    ข้าพเจ้าก็ไม่เข้าใจมาถามพระอาจารย์ว่า สมเด็จฯ บอกว่า หูท่านดังอู้ยังกะรถไฟ พระอาจารย์บอกว่านั่นแหละ สมเด็จฯ ลมขึ้นคงจะลมขึ้นเพราะฉันหนเดียวเหมือนกับพวกเรา เนื่องจากท่านไม่เคย

    "เณรพรุ่งนี้นำอาหารเพลไปถวายท่านนะ"

    พระอาจารย์ของสามเณรวิริยังค์กำชับ รุ่งขึ้นหลังจากทรงเสวยภัตตาหารเช้าแล้ว ข้าพเจ้าก็ให้โยมจัดภัตตาหารเพลนำเข้าไปถวาย สมเด็จฯ ทรงเห็นพร้อมกับบอกว่า

    เอากลับไป อยู่ที่ไหนก็ต้องทำตามระเบียบเขาที่นั่นถึงจะถูก

    พร้อมกับบอกว่า "เฮ้ยท้องกันไม่ใช้ท้องอิฐนี่"

    แม้วันต่อมา ข้าพเจ้าก็ให้โยมทำภัตตาหารเพลไปถวาย พระองค์ไม่ทรงฉันและสำทับว่า อย่าทำมาอีก

    วันหลังต่อมา มีโยมอาราธนาไปฉันในบ้านกันหมดวัด สมเด็จฯ ก็ทรงรับอาราธนา เมื่อเขาจัดสำรับเสร็จ โยมก็ถวายเป็นสังฆทาน พระอาจารย์กงมาฯ ลุกขึ้นขอโอกาสทำพิธีอุปโลกน์ สมเด็จฯ ก็ทรงอนุญาต หลังจากทรงเสวยเสร็จกลับวัดแล้ว ทรงปรารภว่า

    "กงมาทำถูก"

    อันที่จริงการถวายสังฆทานนั้น เขาอุทิศสงฆ์มิได้หมายความว่า พระสงฆ์ที่อยู่ต่อหน้าเขาเท่านั้น เขาหมายถึงหมู่สงฆ์มีอริยสงฆ์เป็นต้น การอุปโลกน์ก็ทำเพื่อขอจากหมู่สงฆ์นั้นเป็นพิธีโบราณกาล

    "กงมาทำถูก"

    พระองค์ทรงย้ำอีกครั้ง สามเณรวิริยังค์.ผู้นั่งฟังก็มีความมั่นใจและเข้าใจมากขึ้นถึงพิธีกรรมตอนนี้

    หลังจากสมเด็จฯ ประทับอยู่ ๕ วัน พระอาจารย์กงมา ได้ขอโอกาสป่าวร้องชาวบ้านให้มาฟังธรรมเทศนาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์ทรงให้โอกาสแล้ว พระอาจารย์ก็ได้ให้คนป่าวร้องประชาชนมาฟังเทศน์ ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เมื่อชาวบ้านหนองบัวได้ฟังคำป่าวร้องเช่นนี้ก็เกิดความสนใจ เพราะมิเคยฟังเทศน์สมเด็จพระสังฆราชเลยตั้งแต่เกิดมา จึงพากันมาเต็มแน่นขนัดที่ศาลา ล้นหลามนั่งกับดินมากมายเป็นพิเศษ

    เมื่อประชาชนพร้อมแล้ว พระอาจารย์ฯ ก็ได้ไปทูลอาราธนาให้สมเด็จฯ ลงมาประทานธรรมเทศนา สมเด็จฯ อ้างว่าไม่สบาย ให้ "กงมา" เทศน์และห้ามองค์อื่นเทศน์โดยเด็ดขาด

    พระอาจารย์ฯ สุดที่จะขัดรับสั่ง จำเป็นต้องกลับมาแสดงพระธรรมเทศนาแทนสมเด็จพระสังฆราช ทั้งๆ ที่ไม่ได้คิดมาก่อน

    สมเด็จฯ ทรงไล่ให้ สามเณรวิริยังค์. ผู้ปฏิบัติท่านอยู่และพระทุกๆ องค์ที่มากับท่านให้ไปฟังเทศน์ที่ศาลาให้หมด เหลือท่านไว้องค์เดียว สามเณรวิริยังค์. ก็สุดจะเป็นห่วงว่าท่านต้องประสงค์ประการใด ไม่มีใครคอยรับใช้ แต่ถูกบังคับ สามเณรวิริยังค์. ก็ต้องมานั่งฟังเทศน์ที่ศาลา

    วันนี้พระอาจารย์ฯ แสดงธรรมแจ่มแจ้งดีแท้ แปลหนังสือฉะฉาน มีความตอนหนึ่งว่า

    การปฏิบัติจิตนี้ถ้ายังหลงปริยัติอยู่จิตจะไม่เป็นสมาธิ เพราะปริยัติเหมือนตัวหนังสือ แต่สมาธิเหมือนของจริง ท่านเปรียบว่า กวาง คือ ก-ว-า-ง กับตัวกวางจริงนั้นมันผิดกันไกลนัก เพราะกวางจริงมันมีเขา มีขา มีตัว ฉะนั้นถ้าจะมาหลงอยู่ที่ตัว ก-ว-า-ง อย่างเดียว ก็รู้กวางตัวจริงไม่ได้ เช่นคนจะทำฌานให้เกิดขึ้น เขารู้ว่าปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา ถ้าผู้บำเพ็ญสมาธิจะมานั่งท่องวิตก - นี่วิจารณ์ - นั่นปีติ - โน่นสุข - นี่เอกัคคตา ถ้ามัวมานั่งนับอยู่อย่างนี้ตลอดชาติก็ไม่ได้ฌาน แต่ผู้บำเพ็ญสมาธิจะต้องมาบริกรรม พุทโธ ๆ จนติดตัวอารมณ์ภายนอกได้แล้ว ไม่นึกคิดไปทางอื่น แน่วแน่อยู่ที่พุทโธอันเดียว เลิกคิดไปตามอารมณ์ภายนอกต่างๆ แล้วจิตนี้ก็จะเป็นฌาน ที่ว่า ฌานมีองค์ ๕ ก็ต่อเมื่อจิตละจากปริยัติคือองค์ ๕ ของฌานที่จำมาแล้ว ที่เป็นฌานก็เพราะความเป็นหนึ่งของจิต
    สามเณรวิริยังค์ ขณะนี้ฟังพระอาจารย์แสดงธรรม เกิดปวดท้องเบาอย่างแรงจนทนไม่ไหว ต้องลุกขึ้นมาเดินลงศาลาเพื่อเข้าป่า ( เพราะมีป่าละเมาะอยู่ข้างศาลา ) เพื่อหาที่เบา

    ข้าพเจ้าต้องตกใจสุดขีดเพราะพบสมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงประทับนั่งอยู่กับดินทราย ฟังเทศน์พระอาจารย์กงมาอย่างใจจดใจจ่อ ข้าพเจ้าร้อง

    " โอ๊ะๆๆ สมเด็จฯ"

    พระองค์ทรงห้ามข้าพเจ้าว่า "เณร จุ๊ จุ๊ จุ๊ อย่าเอะอะไป รีบกลับเร็ว"

    ข้าพเจ้าถ่ายเบาแล้วรีบขึ้นบนศาลาฟังเทศน์พระอาจารย์ต่อไป คราวนี้ใจไม่ดี เพราะทราบแล้วว่าพระอาจารย์ฯ กำลังเทศน์ให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฟัง จะเป็นอย่างไรหนอ ขออย่าพูดเล่น อย่าผิด ขอให้ดีที่สุด ระวังมากๆ เถิด นี้เป็นความคิดของสามเณรวิริยังค์กำลังฟังเทศน์ หลังพบสมเด็จฯ กำลังนั่งฟังอยู่ จิตใจไม่สบายเหมือนธรรมดาเสียแล้ว

    รุ่งเช้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้าตื่นบรรทมแต่เช้า เสด็จมาที่ลานวัดพร้อมกับท่านมหาปลอด ป.๙ มีพระฐานันดรศักดิ์และพระอื่นยืนเรียงรายอยู่ ทรงรับสั่งขึ้นมาลอยๆ ท่ามกลางคณะสงฆ์ว่า

    "เฮ้ย กงมาเทศน์เก่งมาก เก่งกว่าเปรียญ ๙ ประโยคเสียอีก เทศน์อย่างนี้ เปรียญ ๙ ประโยคสู้ไม่ได้ "

    สามเณรวิริยังค์. ยืนฟังอยู่ก็พลอยดีใจไปด้วย ครั้งแรกนึกว่าพระอาจารย์คงโดนแล้ว เพราะพระอาจารย์เพิ่งทราบว่าสมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงฟังเทศน์ก็ต่อเมื่อข้าพเจ้าไปเล่าให้ฟัง พระอาจารย์ตะลึงและบอกข้าพเจ้าว่า

    "เราแพ้รู้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสียแล้ว"

    วันนี้พอดีเป็นวันอุโบสถ แม้พระฐานันดรศักดิ์ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จะมาทูลอาราธนาให้พระองค์ไปลงอุโบสถที่วัดในเมือง พระองค์ก็ไม่ทรงเสด็จ และทรงรับสั่งว่า จะทำปาฏิโมกข์ที่นี้ รู้สึกว่าวันนั้นเป็นวันครูบาสังข์สวดปาฏิโมกข์

    ก่อนจะลงอุโบสถ สมเด็จฯ ทรงถามพระอาจารย์ว่า

    "กงมาเธอใช้สีมาอะไรกันลงอุโบสถ"

    พระอาจารย์ว่า "สัตตะพันตรสีมา" คือไกลจากเขตบ้าน ๔๙ วา

    ทรงให้พระวัดจากเขตบ้านถึงอุปจารอุโบสถเกินกว่า ๔๙ วา

    ทรงรับสั่งว่า "กงมานี้มีความรู้"

    <TABLE id=table14 border=0 width=150 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญฺญาพโล



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ทรงอนุญาตให้พระสวดปาฏิโมกข์ต่อไป แต่ครูบาสังข์ไม่ซ้อมมาให้ดี สวดตะกุกตะกัก โดนสมเด็จพระสังฆราชดุเอาเลยหลงใหญ่ ใช้เวลากว่าชั่วโมงจึงจบ ภายหลังปรากฏว่า สมเด็จฯ ได้บอกไปยังพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ผู้รับเป็นหัวหน้าคณะกรรมฐานแทนพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ครั้งนั้น ให้ซ้อมปาฏิโมกข์ พระอาจารย์สิงห์จึงตั้งกรรมการซ้อมปาฏิโมกข์กันเป็นการใหญ่ ปรากฏว่าพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญฺญาพโล ซึ่งเป็นน้องชายท่านอาจารย์สิงห์ ออกจากวัดบวรนิเวศน์เป็นผู้ชำนาญทางสวดปาฏิโมกข์ พระอาจารย์สิงห์จึงตั้งให้สอนปาฏิโมกข์ ฝึกปาฏิโมกข์ จนปรากฏว่ามีพระปาฏิโมกข์ดีเกิดขึ้นหลายองค์ แม้ สามเณรวิริยังค์.ก็ได้ไปฝึกปาฏิโมกข์กับพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญฺญาพโล

    สมเด็จกรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงพำนักอยู่หลายวัน วันหนึ่งจึงชวนพระอาจารย์กงมาไปเที่ยวธุดงค์ บอกว่า

    "กงมา เธอเคยไปเที่ยวธุดงค์ที่ไหน พาเราไปหน่อยได้ไหม"

    พระอาจารย์กงมาสงสัย และเกิดความเคารพในสมเด็จฯ อย่างสูง คิดว่า

    "เอ อยู่ดีๆ ยังไงจึงจะให้เราพาไปธุดงค์ จะห้ามก็ไม่ดี ครั้นจะไปก็เป็นห่วงว่าจะต้องไปนอนกับดิน ใต้โคนไม้ อาหารจะไม่ดี แต่ว่าเมื่อพระองค์จะหัดตัดกิเลสก็จำเป็น ไปก็ไป"

    พระอาจารย์จึงจัดกลดมุ้งบริขารของพระธุดงค์ถวายสมเด็จฯ และบอกให้ สามเณรวิริยังค์.ไปด้วยกัน วันนี้เป็นวันพิเศษแปลกประหลาด สมเด็จพระสังฆราชเจ้าไปธุดงค์กับพวกเรา

    พอจัดบริขารเสร็จแล้วสมเด็จฯ ก็แบกกลด ตะพายบาตร ตะพายย่าม เช่นกับพระอาจารย์กงมาฯ และ สามเณรวิริยังค์. สามเณรวิริยังค์.จะไปขอแบกกลดแทนก็ไม่ให้ ขอตะพายบาตรให้ก็ไม่ให้ ขอตะพายย่ามให้ก็ไม่ให้ และทรงรับสั่งว่า

    "เฮ้ยวันนี้ กันเป็นพระธุดงค์"

    ว่าแล้วก็ให้พระอาจารย์กงมาฯ เดินก่อน และสำทับพระอาจารย์กงมาว่า

    "นี่ กงมา เธออย่าพูดว่ากันเป็นสมเด็จพระสังฆราชนะ ถ้าใครถามก็บอกว่ากันเป็นหลวงตาก็แล้วกัน

    แล้วหันมาที่ สามเณรวิริยังค์.บอกว่า

    "เณร - เณร อย่าเรียกกันว่าสมเด็จฯ เป็นอันขาด ให้เรียกกันว่าหลวงตา"

    เป็นว่าพระอาจารย์กงมาเดินก่อน สมเด็จฯ เดินตามพระอาจารย์กงมา สามเณรวิริยังค์.เดินตามหลัง มันเป็นบรรยากาศที่ไม่เคยมีมาในกาลก่อน และจะหาบรรยากาศแบบนี้อีกเห็นจะไม่มีอักแล้ว สามเณรวิริยังค์.เดินไปคิดว่า

    "โอ้โฮ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงถ่อมพระองค์ละหมดทุกอย่าง หวังเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสเดินธุดงค์กับพวกเรา"

    พระอาจารย์ได้นำสมเด็จฯ เดินไปหลายกิโลเมตร ตามทางที่เคยไปธุดงค์ ค่ำไหนนอนนั่น พระองค์กางกลดไม่เป็น สามเณรวิริยังค์.ไปกางถวาย ท่านทรงยืนดูข้าพเจ้าอย่างพินิจพิเคราะห์ ข้าพเจ้าเอาผ้าอาบน้ำฝนปูแทนเสื่อ เอาตีนบาตรตั้ง เอาผ้าทับถวายแทนหมอน ทรงบรรทมกับดินตามปกติ

    เมื่อญาติโยมทราบว่าพระอาจารย์ฯ ธุดงค์ เขาก็มาหาพระอาจารย์เป็นจำนวนมากบ้างน้อยบ้าง พระอาจารย์ฯ ก็พาพวกเขาเหล่านั้นนั่งสมาธิกันทั้งนั้น และมาอย่างเคารพนบนอบ กลับอย่างมีระเบียบ

    ตอนเช้าพระอาจารย์ก็นำสมเด็จฯ บิณฑบาตตามบ้าน สามเณรวิริยังค์.เดินตามหลังเช่นนี้ทุกวัน และทรงอดทนเป็นอย่างดีเยี่ยมมาก

    วันหนึ่งหลังจากเดินทางมาหลายกิโลเห็นจะทรงเหนื่อยพอสมควร หลังจาก สามเณรวิริยังค์.ได้กางกลดปูที่นอนถวายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประมาณเที่ยงคืนเศษๆ ฝนได้ตกลงมาเสียยกใหญ่ สามเณรวิริยังค์.รีบเข้าไปที่กลดของสมเด็จฯ และบอกว่าจะขอช่วยเก็บของ หรือช่วยบางอย่างเท่าที่จะช่วยได้ แต่ถูกปฏิเสธ เพราะท่านต้องการจะช่วยพระองค์เอง สามเณรวิริยังค์.ก็จนใจและกลับมาที่กลดของตน

    รุ่งเช้าสมเด็จฯ ทรงสั่น เพราะผ้าจีวรและข้าวของใช้เปียกหมด สามเณรวิริยังค์. รีบเข้าไปจัดการช่วยเหลืออย่างเต็มที่

    ข้าพเจ้าก่อไฟเพื่อถวายสมเด็จฯ ได้ผิงบิดผ้าจีวร ขึงสายระเดียง นำผ้าที่เปียกออกผึ่ง สมเด็จฯ ผิงไฟได้รับความอุ่น ได้บอกขอบใจสมเณรวิริยังค์ สามเณรวิริยังค์ได้เห็นภาพของสมเด็จฯ กำลังนั่งผิงไฟซึ่งมีแต่สบงและอังสะชุ่มๆ รู้สึกสงสารอย่างจับใจ สามเณรวิริยังค์. พยายามตะช่วยเหลือพระองค์ทุกๆ อย่างเท่าที่จะทำได้ แต่สมเด็จฯ กลับสดชื่นไม่แสดงถึงความหดหู่ใจแต่อย่างใด แสดงว่าพระองค์มีใจเข้มแข็งมากน่าอัศจรรย์แท้ สมเด็จฯ ทรงสุขสบายในกุฏิใหญ่โตที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร แต่ทรงมานั่งทุกข์ทรมานหนาวเหน็บผิงไฟไม่มีใครดูแล มีเพียงเราและพระอาจารย์ซึ่งเป็นการแปลกที่สุด

    ขณะนั้นพระอาจารย์กงมาได้เข้ามาดูแลสมเด็จฯ ด้วย

    สมเด็จฯ ชักสงสัยว่า เอพวกเธอไม่เห็นมีใครเปียกปอนจากฝนตก มีอะไรป้องกันหรือ ทั้งๆ ที่กลดก็มีเหมือนกัน แต่กันฝนไม่ได้

    สมเด็จฯ จึงรับสั่งถามพระอาจารย์กงมาว่า

    "กงมาทำไมเธอจึงไม่เปียก"

    "กระผมมีคาถากันฝนครับ" พระอาจารย์กงมาตอบ

    "เอ กงมามีคาถากันฝน" สมเด็จทวนคำ

    เมื่อธุดงค์ได้พอสมควรแล้ว พระอาจารย์ก็ได้นำสมเด็จฯ กลัววัดทรายงาม สามเณรวิริยังค์.กลัวว่าสมเด็จฯ จะป่วยเพราะอายุมากแล้ว แต่พอกลับถึงวัดทรายงาม พระองค์กลับกระปรี้กระเปร่า สบายและสดชื่น เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์
    แต่สมเด็จฯ ยังไม่หายสงสัยว่าทำไมพวกเรามีคาถากันฝนได้ แต่ไม่ยักบอกพระองค์ท่าน ปล่อยให้พระองค์ท่านเปียก

    วันหนึ่งขณะที่ สามเณรวิริยังค์.เข้าไปกราบ สมเด็จฯ จึงเรียก สามเณรวิริยังค์. ว่า

    "วิริยังค์มานั่งที่นี่"

    สามเณรวิริยังค์.รีบเข้าไปกราบ สมเด็จฯ ได้รับสั่งกับข้าพเจ้าว่า

    "วิริยังค์ เธอจงบอกคาถากันฝนให้เราทีได้ไหม"

    ข้าพเจ้าตอบว่า "กระหม่อมบอกถวายไม่ได้ครับ"

    "ทำไมล่ะเณร" สมเด็จถาม

    สามเณรวิริยังค์. กราบทูลว่า พระอาจารย์ห้ามไม่ให้บอก

    "เออน่า จงบอกคาถานั้นแก่เราเดี๋ยวนี้" สมเด็จฯ รับสั่งเชิงบังคับ
    สามเณรวิริยังค์. จึงบอกความจริงแก่สมเด็จฯ ว่า

    "บาตรคือคาถากันฝน"

    "เฮ้ย บาตรเป็นคาถากันฝนได้ยังไง" สมเด็จฯ ทวนคำ

    "ได้ครับ" สามเณรวิริยังค์.กราบทูลและอธิบายว่า

    "เมื่อฝนตกก็เอาผ้าจีวรสบงผ้าที่ต้องการใช้ใส่ลงในบาตร แล้วเอาฝาบาตรปิด ฝนก็ตกเข้าไปในบาตรไม่ได้ เวลาฝนหยุดก็เอาออกมาใช้ ผ้าไม่เปียกนี่ครับคาถากันฝนครับ "

    สมเด็จฯ ทรงอุทานว่า "อ้อๆๆ บ๊ะแล้วกัน เราเพิ่งจะได้คาถากันฝนกับเณรเดี๋ยวนี้เอง กงมาช่างไม่บอกกันได้" แล้วก็ทรงพระสรวลเสียนาน
    ประมาณการมาพักอยู่ที่วัดทรายงามกว่า ๑๕ วัน เมื่อมาทราบภายกลังว่า สมเด็จกรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเสด็จมาเพื่อสอบสวนหาความจริงจากพฤติการณ์ของ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์ในคณะกรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเป็นการสอบสวนที่พระองค์ต้องลงทุนด้วยกำลังความสามารถ และมีพระประสงค์ทราบข้อเท็จจริง ไม่เฉพาะแต่บุคคลมาทูลฟ้องแล้วเชื่อไปเลย ซึ่งจะทำให้เสียประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในวิธีการปกครอง แต่พระองค์ทรงกระทำเช่นนั้น นอกจากจะรู้ความจริงแล้ว ยังมีผลต่อการปกครองเป็นอย่างยิ่ง เป็นการดำเนินการถูกต้องที่สุด

    ผู้อยู่ภายใต้การปกครอง เช่น พระอาจารย์กงมาและข้าพเจ้า เมื่อทราบข้อเท็จจริงภายหลัง ก็มีความรักและเคารพพระองค์สูงขึ้น ทุ่มเทกำลังกายกำลังใจช่วยงานพระพุทธศาสนาเท่าที่พระองค์จะสั่งการมา การกระทำของสมเด็จฯ ครั้งนี้ได้ผลระยะยาวจริงๆ ทุกปีข้าพเจ้าจะเห็นพระอาจารย์นำผลไม้เมืองจันทบุรีไปถวายที่กรุงเทพฯ

    ซึ่งการกระทำการสอบสวนข้อเท็จจริงเกิดขึ้นจากพระเลขาบ้าง พระผู้อยู่ใกล้ชิดบ้าง พระผู้ประจบสอพลอบ้าง รู้มางูๆ ปลาๆ ก็เพ็ดทูลบอกกล่าวฟ้องไป จึงเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น ผู้ใหญ่ผู้ปกครองก็ได้รับการดูถูกดูแคลน ผู้อยู่ใต้ปกครองก็ไม่ได้รับความเป็นธรรมทั้งๆ ที่ช่วยอย่างสูงสุด กลับไม่ได้รับการดูแล ก็ไม่รักเคารพพระผู้ใหญ่ เพราะปกครองไม่ดี เอาแต่ถือตัวว่าใหญ่ แล้วก็มองผู้น้อยไปในทางต่ำเกินไป เสียการปกครองหมด เสียบุคคลากรที่มีความสามารถช่วยงานพระศาสนา เพราะเหตุแห่งความไม่รอบคอบ หากว่าพระเถระมหาเถระทั้งหลายจะพึงดำเนินงานตามแนวของสมเด็จกรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ที่ทรงสอบสวนพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ดังที่ข้าพเจ้าได้เล่ามานี้ พระพุทธศาสนาในประเทศไทยจะสูงขึ้นและสูงขึ้น เพราะความที่ผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้การปกครอง เข้าใจซึ่งกันและกัน ด้วยประการฉะนี้

    เป็นอันว่าทุกๆ ข้อที่มีพวกฆราวาสและพระฐานันดรศักดิ์น่าเชื่อถือได้ทั้งนั้น มาเพ็ดทูลฟ้องต่อพระองค์ แต่พระองค์ก็ทรงแสวงหาความจริงด้วยการเสียสละอย่างสูง ได้พบความจริงที่แน่แท้ด้วยความพยายามอย่างลึกซึ้งด้วยพระองค์เอง โดยการเข้าสัมผัสกับข้อเท็จจริงทุกๆ ข้อ แม้จะมีผู้มาเพ็ดทูลอย่างไรก็ไม่มีทางเชื่อต่อไปอีกแล้ว ได้ผลการปกครองและแก่พระพุทธศาสนาระยะอย่างอย่างแท้จริง

    พระอาจารย์กงมาฯ ได้สั่งกับข้าพเจ้าว่า เธอจงรักและเคารพสมเด็จกรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชอย่างมากและอย่างสูงสุด คำสั่งนี้แม้พระอาจารย์ของข้าพเจ้าจะมิได้สั่ง ข้าพเจ้าเองก็จารึกอยู่ในความทรงจำ สามารถที่จะสละชีวิตถวายพระองค์ท่านด้วยความเต็มใจ เพียงแต่กระซิบเท่านั้น จะให้ข้าพเจ้าทำอะไรที่พระองค์ท่านประสงค์ ข้าพเจ้าจะพลีชีพถวายท่านอย่างไม่มีความขัดข้องเลย ส่วนพระเถระที่แสดงอำนาจบาทใหญ่แก่ข้าพเจ้านั้น อย่าว่าแต่จะสั่งงานให้ข้าพเจ้าทำและก็ไม่อยากจะทำแล้วยังกราบไม่ลงอีกด้วย ด้วยเหตุอย่างนี้ ข้าพเจ้าจึงใคร่ขออำนาจแห่งสัจจธรรม จงดลบันดาลให้ท่านพระเถระในวงการพระพุทธศาสนาบังเกิดพระมหาเถระผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมเช่นกันด้วยกับสมเด็จกรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ามากๆ องค์ทุกยุคทุกสมัยด้วยเถิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2010
  9. pimapinya

    pimapinya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2010
    โพสต์:
    883
    ค่าพลัง:
    +2,044
    ขอกราบนมัสการพ่อแม่ครูบาอาจารย์ด้วยความเคารพและศรัทธาเจ้าค่ะ
    ขออนุโมทนากับ จขกท.ที่ได้นำมาให้ได้อ่านกัน สาธุค่ะ
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ

    สร้างวัดเขาน้อย ท่าแฉลบ
    <TABLE id=table15 border=0 width=150 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระมหาทองสุก สุจิตฺโต
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในวันที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จกลับกรุงเทพฯ หลังจากที่ได้เสด็จมาพิจารณาเรื่องที่มีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติของท่านพระอาจารย์กงมาด้วยพระองค์เองในปี พ.ศ.๒๔๘๒ หลังจากที่ได้ทรงทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว ในการเสด็จกลับ ได้ทรงเสด็จโดยทางเรือ ซึ่งต้องไปลงเรือที่ท่าแฉลบ พระอาจารย์กงมาก็ได้มาส่งเสด็จด้วย ในครั้งนั้นเอง สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นภูเขาเล็กลูกหนึ่ง จึงได้มีรับสั่งกับพระอาจารย์กงมาว่า

    “ทำไมไม่มาสร้างภูเขาลูกนี้ให้เป็นวัดเล่า”

    ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ จึงได้ถือเอารับสั่งดังกล่าวมาเป็นนิมิตหมายในการสร้างวัดขึ้น ซึ่งต่อมาก็คือ วัดเขาน้อยท่าแฉลบ และท่านก็ได้มาจำพรรษาที่วัดนี้เป็นปีสุดท้าย ก่อนที่ท่าน กับสามเณรวิริยังค์ จะได้ออกธุดงค์เพื่อไปพบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตเถระ ที่จังหวัดสกลนคร

    และในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๘๓ ได้ทำการอุปสมบทสามเณรวิริยังค์ที่มีอายุครบบวช เป็นพระภิกษุวิริยังค์ สิรินฺธโร ได้อุปสมบท ณ วัดทรายงาม บ้านหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยพระปัญญาพิศาลเถระ(หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์กงมาจิรปุญโญเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุก สุจิตฺโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    คุณูปการที่ทำไว้กับจังหวัดจันทบุรี
    ท่านพระอาจารย์วิริยังค์ได้กล่าวถึงคุณูปการที่ท่านพระอาจารย์กงมา และ ท่านพระอาจารย์ลี ธมฺมธโรได้ทำไว้กับจังหวัดจันทบุรี ไว้ดังนี้

    “ตลอดระยะเวลา ๕ ปีของท่านพระอาจารย์กงมา ที่ท่านได้อยู่สร้างวัดที่จันทบุรีนี้ ท่านได้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนามากอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการแนะนำในการปฏิบัติธรรม ทั้งผ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์

    เป็นอันว่า จังหวัดจันทบุรีในขณะนั้นได้มีผู้สร้างบุคคลให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ๒ องค์ คือ พระอาจารย์ลี และพระอาจารย์กงมา ได้ช่วยกันเผยแพร่ธัมมะปฏิบัติกว้างขวางออกไปทุกอำเภอ และหลาย ๆ ตำบล อันเป็นผลงานปรากฏจนถึงทุกวันนี้ คือปรากฏว่ามีวัดที่เป็นวัดปฏิบัติอยู่แทบทุกอำเภอ เช่น วัดคลองกุ้ง วัดเขาแก้ว วัดเขาน้อย ท่าแฉลบ วัดยางระหง วัดเขากระแจะ วัดทรายงาม วัดดำรงธรรม วัดมณีคีรีวงศ์ วัดสถาพรวัฒนา วัดสามัคคีคุณาวาส (วัดสถานีทดลองพริ้ว) ฯลฯ นี้คือผลงานของพระอาจารย์ทั้งสอง และนี้เป็นทางด้านวัตถุ ส่วนทางด้านธรรมคือ ทำให้เกิดพระที่เป็นสมภารให้แก่วัดต่าง ๆ ซึ่งกำเนิดมาจากวัดทรายงาม หนองบัวไปเป็นสมภาร มีพระครูสุทธิธรรมรังสี (เจี๊ยะ จุนโท) พระครูญาณวิโรจน์ (ปทุม) พระอาจารย์ถวิล พระมหาเข้ม พระอาจารย์สันติ สันติปาโล เป็นต้น ส่วนทางอุบาสกอุบาสิกาก็ได้รับรสพระธรรมตกทอดมาจนถึงลูกหลาน ก็ได้มาเข้าวัดฟังธรรม และปฏิบัติจนเป็นหลักฐานในทางใจ ได้รับผลสืบต่อมาจากบิดามารดา จนปรากฏว่ายังมีการปฏิบัติธรรมกันเป็นอย่างดีทุก ๆ วัด ที่เป็นวัดเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของศิษย์ท่านอาจารย์ทั้งสอง”

    ธุดงค์ไปหาพระอาจารย์มั่น
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระภายหลังจากอยู่จำพรรษาในภาคเหนือเป็นเวลา ๑๒ ปีแล้ว ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ตามคำอาราธนาของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) เป็นเวลา ๓ พรรษา แล้วจึงมาพำนักที่เสนาสนะป่าบ้านโคก ตรงที่เป็นบริเวณวัดร้างชายป่า ใกล้บ้านโคกในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ในปัจจุบันคือที่ว่าการอำเภอโคกศรีสุพรรณ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญได้ทราบข่าวการจำพรรษาของหลวงปู่มั่นจึงเดินทางจากจันทบุรีเข้ามานมัสการหลวงปู่มั่น

    ตั้งแต่ตอนนี้ไป เป็นประวัติท่านพระอาจารย์กงมาช่วงออกจากจันทบุรี ธุดงค์ไปหาพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตที่จังหวัดสกลนครพร้อมกับสามเณรวิริยังค์ ซึ่งเป็นการบอกเล่าของพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺทโร เล่าไว้ในหนังสือ “ใต้สามัญสำนึก” คำว่า “ข้าพเจ้า” ในตอนต่อไปนี้จะหมายถึง พระอาจารย์วิริยังค์

    “....ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นี้ ท่านอาจารย์กงมาท่านได้ทราบข่าวว่า ท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ ได้กลับจากเชียงใหม่ หลังจากที่ได้อยู่เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี เพราะท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธโล) ไปนิมนต์ให้มาโปรดญาติโยมทางจังหวัดอุดรธานี และได้อยู่ที่จังหวัดนี้ ๓ ปี แล้วจึงไปจังหวัดสกลนคร ได้ไปพักอยู่ที่ป่าแห่งหนึ่งใกล้กับบ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อันเป็นบ้านเกิด บ้านเดิมของท่านอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ

    ท่านเมื่อได้ทราบข่าวเช่นนี้ มิได้รอช้า คิดถึงวัดวาอารามที่ท่านได้สร้างด้วยทุนทรัพย์มหาศาล และญาติโยมที่ได้ปฏิบัติธรรมอยู่กับท่าน ทุก ๆ อย่างล้วนแต่เป็นสิ่งน่าจะต้องผูกพันมากมาย เช่นวัตถุก่อสร้างที่น่ารื่นรมย์ ญาติโยมที่นอบน้อมเลื่อมใสมากมายนัก แต่ท่านไม่ได้คิดเอาแต่สิ่งเหล่านี้มาเป็นสิ่งที่ขัดขวาง หรือเป็นอุปาทานเลย เมื่อถึงเวลาที่จะไปนมัสการท่านอาจารย์มั่น ฯ แล้ว ขณะนั้น ข้าพเจ้าผู้เขียนกำลังธุดงค์อยู่อำเภอขลุง กำลังเทศนาสั่งสอนญาติโยมอยู่ด้วย ท่านอาจารย์กงมาก็ให้พระไปบอกว่า ให้รีบกลับ และเดินทางไปหาท่านอาจารย์มั่น ฯ ด้วยกันในวันปรืนนี้

    ข้าพเจ้าก็มิได้สะทกสะท้าน เพราะพวกเรามีสมบัติอยู่แต่เพียงแค่บาตรใบเดียวจีวรครองอยู่เท่านั้น ก็จึงได้เริ่มออกเดินทาง เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔ มันเป็นระยะเวลาพอดีเอาเสียจริง ๆ เพราะปีนี้มาอยู่จังหวัดจันทบุรีวัดทรายงามเป็นวัดแรกก็เดือนเมษายน เวลาจะจากไปก็เดือนเมษายน

    ในครั้งนั้นญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ได้พากันเศร้าโศกร้องไห้เป็นการใหญ่ ต่างก็พากันเสียดายท่านอาจารย์กงมา และข้าพเจ้าผู้เขียน เนื่องจากขณะที่อยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลา ๕ ปี ก็ได้ทำประโยชน์ทั้งทางด้านวัตถุ และทางด้านจิตใจอย่างมากมาย เป็นอันว่าพวกเราไม่มีการคิดถึงเหตุการณ์เหล่านี้เท่าใดนัก ท่านอาจารย์กงมาท่านว่า

    “เราไม่ต้องกังวล เรารีบเดินทางไปเถิด”

    ได้เริ่มเดินทางโดยเท้าธุดงค์ออกจากวัดทรายงาม วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๔๘๔ เวลา ๑๐.๒๐ น. ไปสู่อำเภอมะขาม อันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี ท่านอาจารย์กงมาได้พูดกับข้าพเจ้าว่า

    “เราตัวเปล่า ๆ หมดภาระสบายจริง”

    และได้พักอยู่อำเภอมะขามนี้ ๑ คืน ข้าพเจ้าถามท่านว่า

    “ก็อยู่ที่วัดทรายงามมีที่นอนหมอนมุ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำหวาน น้ำอัดลม อาหารทุกอย่างอุดมสมบูรณ์ แต่เวลานี้เรานอนบนดิน ไม่มีแม้แต่น้ำตาลสักก้อน ทำไมท่านอาจารย์จึงว่าสบาย”

    ท่านอาจารย์พูดว่า “วิริยังค์ นั่นมันเป็นอาหารภายนอก บัดนี้เรามาได้อาหารภายใน ต่อการละอุปาทาน ไม่ต้องไปเป็นสมภารให้มันหนักอึ้ง เราแม้จะนอนกับดินกินกับหญ้า แต่อิ่มด้วยธรรมปีติแล้ว”

    ท่านได้กล่าวอย่างนี้กับข้าพเจ้า ในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังถวายการนวดให้แก่ท่านในค่ำคืนวันนั้น.
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระอาจารย์กงมากับพระวิริยังค์เดินธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น ฯ

    การเดินธุดงค์ ในกาลครั้งนี้ของท่าน พระอาจารย์กงมา กับ พระวิริยังค์เป็นไปด้วยการมีความหมายเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการปลดภาระจากการก่อสร้างวัดและการผูกพันการสั่งสอนประชาชน พร้อมกับการถือเขาถือเราในการยึด กุลปลิโพธ

    ข้าพเจ้าผู้เขียนหวนระลึกไปถึงในกาลครั้งนั้น ยังรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่มีเพียงครั้งเดียวในชีวิตของการเดินธุดงค์มหาวิบาก แม้จะมีการเดินอยู่ตลอดเวลาอันยาวนาน แต่ก็ไม่เหมือนครั้งนี้ จะเป็นเพราะเหตุใด ผู้เขียนเข้าใจในภายหลังว่า พระอาจารย์กงมา ท่านต้องการทรมานตัวของท่านและข้าพเจ้าผู้เขียนไปด้วย. เพราะการเดินธุดงค์ครั้งนี้จุดมุ่งหมายมีอยู่ ๒ ประการ ประการที่ ๑ ต้องการทรมานกิเลส เมื่อพบที่สงบดีก็จะพักภาวนาอยู่หลายวัน เพื่อเพิ่มพูนพลังจิต ประการที่ ๒ เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ อันเป็นจุดประสงค์แท้จริง

    จากอำเภอมะขาม ท่านก็เดินด้วยเท้า ข้าพเจ้าก็เดินด้วยเท้า ไปตามทางเกวียนบ้าง ทางเท้าบ้าง แดดร้อนจ้า เมื่อเดินออกทุ่งแต่เป็นทุ่งหญ้า ท่านรู้สึกจะเหนื่อยมาก จึงพาข้าพเจ้าแวะที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง และขอฉันน้ำ ข้าพเจ้าถวายท่าน ๑ แก้ว น้ำนี้ข้าพเจ้าสะพายมันมาจากอำเภอมะขามโดยใส่กระติก ข้าพเจ้าเองก็ไม่กล้าฉันในระหว่างเดินทาง เพราะกลัวน้ำจะหมด หลังจากท่านได้ฉันน้ำแล้วท่านบ่นออกมาว่า

    “แหม ร่างกายนี้มันคอยจะหาเรื่องอยู่เรื่อยทีเดียว”

    ข้าพเจ้าถามท่านว่า “หาเรื่องอะไรครับ”

    “ก็หาเรื่องจะให้กลับไปนอนเตียงที่วัดน่ะซี และไปไหนมาไหนก็มีรถยนต์เรือไฟ แต่เราจะไม่ยอมเชื่อมัน แม้จะลำบากเท่าไรก็ทรมานมันต่อไป”

    พอหายเหนื่อย ท่านก็พาข้าพเจ้าเดินต่อไป คราวนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านต้องแบกกลด สะพายบาตร ของในบาตรก็หนัก ข้าพเจ้าจึงเอาผ้ามุ้งกลดมาพันเข้ากับตัว แล้วเอาสายสะเดียงรัดให้แน่น จึงเอากลดและบาตรของท่านมาสะพายแลแบกไป ทำให้ข้าพเจ้าต้องแบกสัมภาระหนักอีกเท่าตัว สำหรับข้าพเจ้าไม่เป็นไร เพราะในขณะนั้นกำลังหนุ่มน้อย อายุ ๒๒ ปีเท่านั้น จึงไม่รู้จักคำว่าเหนื่อย และด้วยความเคารพและศรัทธาในตัวอาจารย์ของข้าพเจ้าอย่างสุดซึ้ง จึงทำให้ไม่มีความสะทกสะท้านอะไรเลยในตัว และต้องการจะสนองคุณของครูบาอาจารย์อย่างยิ่ง

    เป็นเวลาค่ำลงแล้ว เห็นหมู่บ้านเล็ก ๆ บ้านหนึ่งมีประมาณ ๕ หลังคาเรือน ท่านได้พาแวะพักที่นั้นโดยยึดโรงฟางที่เขาเก็บเอาไว้เลี้ยงโค-กระบือ แม้จะเป็นการเดินที่เหน็ดเหนื่อย แต่ท่านก็ยังพาข้าพเจ้านั่งสมาธิอยู่ตลอดเวลา ท่านบอกว่าเหนื่อยก็จริงแต่พอนั่งสมาธิแล้วก็หายเหนื่อย ตอนนี้มีชาวบ้านมาหาท่านอยู่ ๒-๓ คน ตื่นเช้าเขาถวายอาหารบิณฑบาตแล้วก็เดินต่อไป

    ถึงกิ่งอำเภอพญากำพุด อันเป็นกิ่งอำเภอทุรกันดารเหลือเกินเพราะรถยนต์มาไม่ได้ เดินมาถึงที่นี่ก็ค่ำแล้ว ก็แวะพักที่ใต้โคนต้นไม้ พอที่จะเป็นสถานที่ทำความเพียรสงบสงัด ข้าพเจ้ากางกลดปูที่นอนกับดินเพียงแค่เอาผ้าอาบน้ำปูถวาย ใช้เท้าบาตรเป็นหมอนตามมีตามได้ และคอยนั่งเฝ้าปฏิบัติท่านตลอดเวลา ท่านก็ให้โอวาทแก่ข้าพเจ้าเช่นเคยโดยบอกว่า

    “วิริยังค์ อันการที่จะหาเรื่องกังวลใส่ตัวเองนั้น มันไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง และควรจะพิจารณาในเมื่อเห็นหญิงสาวให้เห็นเป็นสิ่งปฏิกูลน่าเกลียดและพึงพิจารณามิให้มันเข้ามาอยู่ในใจว่าเป็นของสวยงาม ทั้งตัวเราและตัวเขา”

    หลังจากนั้นท่านก็พักผ่อนจนจนรุ่งสว่างแล้วออกบิณฑบาต มีแต่ชาวเขมรทั้งนั้น เขาเห็นพวกเราเข้าไปบิณฑบาต ตะโกนกันทั่วไปให้ใส่บาตรว่า “ลูกสงฆ์โม๊กเฮย” ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าเขาพูดว่าอะไร บัดเดี๋ยวใจก็ปรากฏว่ามีคนมาใส่บาตรกันเต็มไปหมด แต่ไม่มีใครใส่กับข้าวเลย กลับจากบิณฑบาตแล้วมีคนนำกับข้าวมาคนเดียว แกงถ้วยเล็ก ๆ แต่ข้าวอร่อยมากเป็นข้าวจ้าวแต่เหนียวหอม ก็เลยต้องเอาน้ำฉันไปกับข้าวพอเป็นยาปนมัตต์

    ฉันเสร็จแล้วก็เดินต่อไปทั้งวัน นั่งพักบ้างเดินบ้าง ตอนนี้ท่านก็ค่อยแข็งแรง ขึ้นไปจนไปถึงบ้านโอลำเจียก มาถึงนี้มีพระสมภารมาขอให้ท่านไปพักในวัดของเขา แม้ท่านอาจารย์กงมา ท่านจะไม่อยากจะไป แต่ท่านสมภารอ้อนวอนอยู่นาน ท่านได้ตกลงเข้าไปพักในวัดนั้น เขาได้จัดแจงตกแต่งที่หลับที่นอนให้อย่างดี ต้อนรับอย่างเต็มอกเต็มใจ เพราะสมภารวัดนี้ท่านรู้ดีว่า ท่านอาจารย์กงมา เป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก

    พอค่ำลงข้าพเจ้าก็เข้าปฏิบัติท่านตามปรกติ ท่านบอก ดูเถิดเราจะหนีวัด ยังไงถึงเข้ามาวัดอีก ข้าพเจ้าได้พูดว่า เขามีศรัทธาก็ฉลองศรัทราเขาหน่อย ท่านตอบว่า เพราะฉลองศรัทธานี้แหละมันทำให้ธุดงค์ต้องเสียหาย

    รุ่งเช้ามันเป็นภาพประทับใจข้าพเจ้าอย่างบอกไม่ถูก ข้าพเจ้าแทบไม่เชื่อในสายตาของข้าพเจ้าเอาจริง ๆ โดยที่ข้าพเจ้าเห็นสมภารที่วัดนี้ขึ้นอยู่บนยอดต้นมะพร้าวกำลังปลิดผลมะพร้าวอ่อนหย่อนลงมากองพะเนิน และท่านสมภารได้ลงมาเฉาะมะพร้าวเอง แล้วให้ข้าพเจ้าถวายท่านอาจารย์กงมา ไม่ทราบว่ายังไง ท่านทำอาการขยะแขยง ข้าพเจ้าพยายามข่มจิตใจในขณะนั้น ท่านก็คงข่มเช่นกัน แล้วพวกเราก็ฉันน้ำมะพร้าวอ่อนในวันนั้นอย่างเต็มที่ สมภารดีใจมากและต้องการจะให้พวกเราอยู่ต่อไปให้หลาย ๆ วัน แต่ท่านก็บอกว่ามันเป็นการผิดวัตถุประสงค์ พวกเราก็ต้องลาสมภารนั้นไปหลังจากฉันเสร็จแล้ว สมภารนั้นรู้สึกอาลัยอาวรณ์พวกเรามาก แต่จะทำอย่างไรได้ ท่านเดินธุดงค์ ข้าพเจ้าเดินธุดงค์ต่อ และท่านก็พูดว่า

    “ดูเถอะ พระท้องถิ่นนี้ช่างไม่รู้วินัยกันเลย ศรัทธาดีแท้ ๆ เลื่อมใสแท้ ๆ แต่ทำผิด ดูซิขึ้นต้นมะพร้าว ยังปลิดมะพร้าวเอง ผิดวินัยทั้งนั้น แต่ไม่รู้จะบอกเขาอย่างไร เราก็เป็นพระแขกก็ต้องปล่อยตามเรื่องไป”
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ตอนเข้าเขตเขมร (บ่อไพลิน)

    การเดินทางวันนี้โดยความประสงค์จะให้ถึงบ่อไพลิน อันเป็นแดนเขมร ซึ่งขณะนั้นเป็นของไทยอันเป็นผลของการรบสงครามอินโดจีน พวกเราจึงเดินทางเข้าไปไม่ต้องมีพาสสปอร์ต ระยะทางจากบ้านโอลำเจียกไปถึงบ่อไพลินประมาณ ๓๐ –๔๐ กิโลเมตรถึง ๑,๐๐๐ กว่าเส้น ท่านบอกว่าวันนี้เราจะต้องเดินให้ถึง ก็ต้องพยายามและก็ได้รับความเหน็ดเหนื่อยมาหลายวันแล้วก็เหนื่อยกันต่อไป เพราะช่วงนี้ยาวมาก

    ขณะนั้นดูสถานที่เดินทางไปยังมีร่องรอยของสงครามอินโดจีน คือมีสนามเพลาะลวดหนามอยู่เรียงราย ตกเย็นประมาณ ๑๘.๐๐ น. ก็ถึงหมู่บ้านขุดพลอย แต่ไม่ใช่บ่อไพลิน อยู่ในเขตอำเภอไพลิน เป็นเวลาค่ำแล้ว ก็แวะเข้าพักในวัด ทุก ๆ วัดเป็นวัดแบบพม่า แต่พวกนี้กุหล่าหรือไทยใหญ่อยู่ เมื่อสงครามอินโดจีน พวกกุหล่าเหล่านี้อพยพเข้าไปอยู่ในประเทศไทย จังหวัดจันทบุรีเป็นส่วนมาก ข้าพเจ้าผู้เขียนได้เคยจัดอาหารหรือวัตถุต่าง ๆ ไปช่วยเป็นจำนวนมาก จนรู้จักกับพวกกุหล่าเหล่านี้เป็นอย่างดี แต่ที่นี่มีหมู่บ้านเล็กน้อย ตามวัดต่าง ๆ นั้นเวลานี้ไม่มีพระสักองค์เดียว ร้างหมด ตามวัดถูกตัดต้นมะพร้าวเอามาทำหลุมเพลาะเพื่อสงคราม ตามวัดต่าง ๆ ก็เป็นที่พักของพวกทหารฝรั่งเศส แต่ขณะนี้ไม่มีเสียแล้วเพราะฝรั่งเศสแพ้สงครามไป

    ท่านอาจารย์กงมา จึงพาข้าพเจ้าพักอยู่ที่นี่ ๑ คืน ภายในวัดและบนกุฏิเข้าของเสียหายมาก เหลือแต่ความอ้างว้าง และพวกค้างคาวมาอยู่จับกันเต็มไปหมด มีแต่ขี้ค้างคาว พวกเราต้องเข้าปัดกวาดกันหลายชั่วโมงจึงจะเข้าพักได้ พวกชาวบ้านพอทราบว่าพวกเรามาก็ดีใจ เพราะไม่มีพระทำบุญมานานแล้ว พระของเขาได้หนีกลับไปประเทศพม่าหมด

    ตอนเช้า ท่านอาจารย์กงมา ก็พาข้าพเจ้าไปบิณฑบาต ทุกคนออกมาใส่บาตรกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง เขาเรียกพระว่า (เจ้าบุญ) เรียกสามเณรว่า (เจ้าสร้าง) พระเรียกโยมผู้ชายว่า (ตะก้า) ส่วนโยมผู้หญิง “ตะก้าม้า” เทศน์เขาว่า “ฮอติยา” วันนี้พวกเขาพากันดีใจมากที่ได้พบพระมาบิณฑบาต ในตอนกลางวันเขาพากันมาทำความสะอาดลานวัดจนเป็นที่น่าดู แต่ท่านอาจารย์ก็อยู่ให้เขาเพียง ๒ วันเท่านั้น แล้วก็เดินทางไปบ่อไพลินใช้เวลาเพียง ๑ ชั่วโมง คณะญาติโยมชาวกุหล่าก็ขอให้พักอยู่อีก ท่านอาจารย์ก็ไม่ขัดข้อง แต่ก็เหมือนเดิม วัดใหญ่ ๆ ไม่มีพระสักองค์เดียว ท่านอาจารย์ก็พาข้าพเจ้าพักอยู่นี้อีก โดยพวกกุหล่าทั้งหลายได้พากันมาทำความสะอาดสถานที่ ขนขี้ค้างคาวกันเป็นเวลาตั้งหลายชั่วโมงเป็นที่เรียบร้อย แล้วก็พักในวัดนี้ ท่านอาจารย์กงมาพาข้าพเจ้าพักอยู่ที่นี้เป็นเวลา ๑๐ วัน ตามคำเรียกร้องของชาวกุหล่า

    ในขณะที่พวกเราอยู่นี้ ท่านอาจารย์ได้ถามประวัติว่า แต่ครั้งแรก ๆ ที่จะมาอยู่ที่นี้นั้น อยู่ที่ไหนมาก่อน พวกชาวกุหล่าจึงได้เล่าประวัติของชาวกุหล่าที่มาอยู่อำเภอบ่อไพลินให้พวกเราฟัง ข้าพเจ้าผู้เขียนซึ่งนั่งฟังอยู่ด้วย

    ประวัติบ่อไพลิน
    ไพลิน-เป็นชื่อพลอย เป็นพลอยที่มีค่ามาก เทียบเท่ามรกต มีสีเขียว
    เขาเล่าให้ฟังว่า ครั้งแรกพวกเขานำเอาผ้ามาขาย แต่เดิมเป็นที่อยู่ของชาวเขมร เขาเอาผ้ามาขายเป็นเวลาหลายปี มีหลายพวกด้วยกันจนเป็นที่ชินหูว่า กุหล่าขายผ้า เหมือนแขกขายผ้าบ้านเรา ในวันหนึ่งมีคณะกุหล่าขายผ้านำเอาผ้าไปขายแล้วก็ขอพักอยู่กับในบ้านกับชาวเขมร ชาวเขมรได้เอาหมากพลูบุหรี่มาเลี้ยงเป็นการต้อนรับ ขณะนั้นชาวกุหล่าได้เหลือบไปเห็นหินเป็นก้อน ๆ สีเขียววางอยู่ในเชี่ยนหมากจึงหยิบมาดูก็รู้ ได้ทันทีว่าเป็นพลอยที่มีค่ามาก จึงพูดกับชาวเขมรว่า “อันหินอย่างนี้มีที่ไหนบ้าง” ชาวเขมรบอกว่ามีถมไป กุหล่าจึงบอกว่าถ้าอย่างนั้น ก็ขอให้หามาให้ที เราจะให้ผ้าทั้งหมดที่เอามา เขมรดีใจใหญ่ ไปขนพลอยไพลินมาแลกกับผ้า จนกุหล่ามีเงินเท่าไรก็รางวัลให้เขมรหมด ได้พลอยไพลินจำนวนมากกลับบ้าน แล้วขายพลอยเหล่านั้นหมดจนได้เป็นเศรษฐี อยู่ที่มะละแหม่งจนปัจจุบันนี้ ครั้นชาวกุหล่ารู้เหตุเช่นนี้ก็มาเป็นการใหญ่ มาขุดพลอยจนร่ำรวยหมู่แล้วหมู่เล่า แล้วก็กลับไป แล้วหมู่ใหม่ก็มาจนถึงปัจจุบันจึงพาหันมาตั้งรกรากอยู่กันอย่างหนาแน่น นี้เป็นประวัติของหมู่บ้านนี้

    ข้าพเจ้าได้สังเกตดูชาวบ้านกุหล่าเป็นคนมีฐานะดีทั้งนั้น ชาวเขมรฐานะต่ำต้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากอะไรไม่ทราบ

    เมื่อเขาเล่าประวัติจบ ตอนค่ำ ท่านอาจารย์กงมา ได้พูดกับข้าพเจ้าว่า

    “ดูเอาเถิด คนฉลาดและคนไม่ฉลาดต่างกันอย่างนี้ แม้แต่ผู้ที่จะปฏิบัติพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน ชาวบ้านกุหล่านี้เป็นตัวอย่างได้เป็นอย่างดี เปรียบเหมือนความดีของพระพุทธศาสนานั้นมีอยู่ในตัวของเราทุกคน แต่ไม่รู้จักหาวิธีทำให้มีประโยชน์เกิดขึ้นโดยขาดปัญญา เช่นเดียวกับพวกเขมรที่เอาพลอยอย่างดีแลกแต่เสื้อผ้าเท่านั้นเอง คนมีปัญญาก็สามารถปฏิบัติตัวของเราให้เห็นอัตถธรรมได้ ตัวเธอจงเข้าใจเถอะ ถ้าทำตัวโง่ก็มีของดีเสียเปล่า ไม่ได้ประโยชน์อะไร นั่งเฝ้านอนเฝ้าศาสนาแต่ไม่ได้ประโยชน์อะไร ส่วนผู้มีปัญญาย่อมหาประโยชน์จากตัวของเราได้ เหมือนเรื่องประวัติบ่อไพลิน ชาวเขมรกับชาวกุหล่านั่นเอง วิริยังค์ เธอจงเปรียบเทียบเอาเองเถิด”

    ข้าพเจ้ารู้สึกซาบซึ้งในข้อเปรียบเทียบนี้มาก

    การเดินธุดงค์ทุรกันดารไกลเป็นพิเศษครั้งหนึ่งในชีวิตของพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ กับข้าพเจ้าซึ่งได้ทั้งความวิเวก ได้ทั้งทัศนศึกษาเฉพาะอย่างยิ่งได้ความอดทนเป็นพิเศษ

    ขณะที่พวกเราธุดงค์รอนแรมมาจากจังหวัดจันทบุรี จนถึงบ่อไพลิน อันเป็นที่อยู่ของชาวกุหล่า (ไทยใหญ่) ก็ทำให้อ่อนเพลีย เหน็ดเหนื่อยพอสมควร ท่านอาจารย์จึงพาข้าพเจ้าพักอยู่หลายวัน ประกอบกับชาวกุหล่ากำลังว้าเหว่ เพราะไม่มีพระสงฆ์อยู่เลยแม้แต่วัดเดียว เป็นวัดร้างไปหมด เมื่อท่านอาจารย์พักอยู่เขาก็มาทำบุญกันมาก ไปบิณฑบาตเขามาใส่บาตร เมื่อใส่บาตรแล้วจะไม่ให้เหลือ คดข้าวมาเท่าไรต้องใส่ให้หมด ข้าพเจ้าบาตรเต็มแล้วปิดฝาบาตรเขาไม่ยอมเพราะ เขาถือว่าถ้าเหลือกลับจะรับประทานไม่ได้ เป็นเปรตบาป จึงเป็นธรรมเนียมที่น่าสนใจ เวลานั้นวัดที่อยู่รกรุงรัง พวกเขาได้มาทำความสะอาดทั้งภายในและลานวัด ข้าพเจ้าดูแล้วรู้สึกว่าเขาศรัทธากันจริง และชาวกุหล่าก็ขอนิมนต์ให้ท่านอาจารย์และข้าพเจ้าอยู่เป็นประจำต่อไป โดยให้หัวหน้าชาวบ้านมาอ้อนวอนอยู่ทุก ๆ วัน

    ค่ำวันหนึ่งข้าพเจ้าได้เข้าไปถวายการนวดแด่ท่านอาจารย์ ซึ่งข้าพเจ้าต้องปฏิบัติเป็นกิจวัตร ในค่ำวันนี้ท่านได้ปรารภกับข้าพเจ้าอย่างน่าฟังและน่าสลดใจว่า

    “วิริยังค์ เอ๋ย เราพยายามหนีความขัดข้องจากวัดทรายงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีมาแล้ว เราจะมาหาห่วงที่นี่อีกหรือ มันเป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง อันการเป็นสมภารนั้นคือ การหนักอกทุกประการ ถ่วงความเจริญในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้ยิ่ง อย่าเลย เรามาพากันออกจากที่นี่ วันพรุ่งนี้เถอะ”

    ข้าพเจ้าได้ทัดทานท่านไว้ว่า “ท่านอาจารย์ครับ ผมเห็นเขาศรัทธาดีจริง ๆ อ่อนน้อม ใครต่อใครปฏิบัติ ท่านอาจารย์แนะนำอย่างไรเขาก็ไม่ขัดข้องเลย อยู่โปรดเขาไปอีกสักพักหนึ่งเถิด”

    ท่านขู่ข้าพเจ้าว่า “วิริยังค์ ตัวเธอยังอ่อนต่อความเป็นสงฆ์นัก เห็นความดีของเขาเพียงเท่านี้ก็หลง นี่คือเหยื่อล่อให้พวกเราติดกับละ อย่าอยู่เลย พรุ่งนี้เราไปเถอะ”

    ข้าพเจ้าจึงขอพูดทัดทานท่านเป็นครั้งสุดท้ายว่า “กระผมเห็นว่าควรอยู่ต่อ พอปลูกศรัทธาให้เขารู้ทางการบำเพ็ญสมาธิพอสมควร ไหน ๆ ท่านอาจารย์ก็ได้ผ่านมาทางนี้แล้ว กระผมคิดว่าในอนาคตคงจะมิได้มาอีกตลอดชีวิตก็ได้”

    ตกลงท่านก็เชื่อข้าพเจ้า อยู่ฝึกฝนสมาธิให้พวกกุหล่าทั้งหญิงและชาย แต่เป็นที่น่าประหลาดใจว่าพวกกุหล่าเหล่านี้ทำจิตได้ง่ายมาก อยู่เพียง ๒ อาทิตย์เท่านั้นจิตรวมกันได้ทุกคน เมื่อพวกเราต้องอำลาเขาไปก็เกิดความเสียใจมาก ถึงกับร้องห่มร้องไห้ เป็นบรรยากาศที่ตรึงราตรึงใจ ถึงหยดน้ำตาอันบริสุทธิ์ของพวกชาวพุทธผู้เลื่อมใส ข้าพเจ้ายังจำภาพนั้น แม้มันจะล่วงเลยมาหลายสิบปีก็ไม่มีเลือนลางเลย

    การเดินทางได้เดินต่อมาจนถึงชานเมืองพระตะบอง เป็นหมู่บ้านใหญ่พอสมควร คราวนี้ถึงเมืองเขมรจริง ๆ แล้ว พูดไทยไม่รู้เรื่องเลย ท่านอาจารย์พาข้าพเจ้าไปพักที่วัดแห่งหนึ่ง เข้าไปหาสมภารในวัดนั้น เมื่อไปกราบท่านต่างก็มองตากันไปมา เพราะพูดไม่รู้เรื่องกัน

    ท่านอาจารย์บอกว่า “ขอพักสัก ๒-๓ คืนเถิด”

    เขาพยักหน้า เอาน้ำชามาเลี้ยงแล้วก็นั่งต่อไป แม้ท่านอาจารย์จะพูดว่า “ขอพักที่นี่” ตั้ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง เขาก็ยิ่งเอาน้ำชามาเลี้ยงเป็นการใหญ่ นี่แหละเป็นการอึดอัดเรื่องภาษาเป็นครั้งแรก เขาก็อึดเราก็อัด นั่งจนแข้งขาเหน็ดเหนื่อยอ่อนใจ ข้าพเจ้ารู้สึกเกรงใจสมภารเขามากทีเดียว ตั้งแต่เช้า ถึงบ่ายโมง ถึง ๔ โมงเย็น พูดไม่รู้เรื่องกัน

    ก็พอดีครู ร.ร ของวัด ไปจากประเทศไทยสอนหนังสือไทย พอดี ร.ร. เลิกเขารู้ว่าพระมาจากประเทศไทย เขาก็รีบมาหา พูดให้ครูนั้นรู้เรื่องว่าจะพักอยู่ที่นี่สัก ๒ - ๓ วัน เพียง ๕ นาทีเท่านั้นเอง สมภารก็ให้คนจัดห้องรับรองให้เป็นอย่างดี ข้าพเจ้านึกในใจว่าภาษานี้สำคัญแท้ มันเป็นความจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องรู้ภาษาหลาย ๆ ภาษา

    ท่านอาจารย์พาข้าพเจ้าพักอยู่ในวัดนี้แล้ว ตอนเช้าออกบิณฑบาต ชาวเขมรมาใส่บาตร เขาไม่เคยเห็นบาตรใหญ่และสวยอย่างนี้มาก่อน ต่างก็มาดูบาตรและจับดูกันเป็นการใหญ่ แล้วพูดว่า “ละอ้อละออ” แปลว่าสวยจริง

    เราได้คุ้นเคยกับพระเณรเขมรในวัดนั้นอย่างเป็นกันเอง แม้จะไม่รู้จักภาษาซึ่งกันและกัน แต่ใจก็เป็นพระภิกษุสามเณรอย่างเดียว ทำให้เกิดวิสาสะได้อย่างน่าประหลาดใจทีเดียว

    อยู่ได้สองสามวันก็เข้าไปในเมืองพระตะบอง พักอยู่วัดธรรมยุต ตอนเช้าไปในวัดนั้น พวกเราขึ้นรถ ๓ ล้อเข้าไป พระในวัดมองตาแข็ง เพราะพระธรรมยุตที่เมืองเขมรเขาไม่ขึ้น ๓ ล้อ เขาไม่ต้อนรับเรา อาจารย์บอกเขาว่าเป็นพระธรรมยุต เขาไม่เชื่อ เพราะพวกเราขึ้นรถ ๓ ล้อ เข้าไปพักอยู่ที่ศาลา เขาให้โยมเอาเงินมาถวาย เพื่อลองเชิงดู ท่านอาจารย์ก็ไม่รับ เขาก็ชักสงสัยใหญ่ อยู่มาอยู่อีกหลายวันจนเป็นที่เข้าใจกันแล้ว สมภารเป็นอัมพาตใส่รถมาสนทนาด้วย ก็พอดีมีคนไทยที่เป็นพ่อค้า และเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่รู้จักกับท่านอาจารย์ที่ประเทศไทยไปหา และอุปการะด้วยอาหาร เพราะไปอยู่ที่นี่เขาไม่ดูแลเลย ฉันข้าวเปล่า ๆ มาหลายวัน

    จากพระตะบองก็เดินทางมุ่งจะออกจากเขมรเข้าไปทางอรัญประเทศ แต่ต้องผ่านมงคลบุรีและศรีโสภณเป็นลำดับ แล้วก็พักอยู่จังหวัดศรีโสภณ ที่นั่นได้คณะตำรวจที่ไปจากประเทศไทย และชาวเขมรอุปถัมภ์ทำให้อยู่สบาย

    อันการเข้าไปประเทศเขมรครั้งนี้ เป็นการเข้าไปชมประเทศมากกว่า มิได้ถือเป็นการเดินธุดงค์เท่าไรนัก และเป็นที่ขณะที่ประเทศไทยได้ ๔ จังหวัดในเขมรมาครอบครอง อันเป็นผลมาจากสงครามอินโดจีน เป็นการชั่วคราว.
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ตอนออกจากแดนเขมร

    เมื่อออกจากเขตแดนเขมรก็เข้าสู่เขตอรัญประเทศ เริ่มการเดินธุดงค์แสวงหาที่สงบจักบำเพ็ญกัมมัฏฐานกันต่อไป เดินไปได้ไปพบศาลาร้างมีอยู่ ๒-๓ หลังข้างๆ ป่า ท่านอาจารย์ก็ตกลงใจยึดเอาที่นี่เป็นที่พัก พอเข้าไปถึงก็ได้กลิ่นไม่สู้ดี ท่านก็พาเข้าไปจนขึ้นข้างบนจึงเห็นอุจจาระญี่ปุ่น เพราะเป็นค่ายญี่ปุ่นพึ่งจะออกจากไป พวกเราต้องช่วยกันล้างอุจจาระเหล่านั้นหมดก็พักภาวนาอยู่ที่นี่ ถือเอาว่าเป็นสูญญาคาร

    ค่ำคืนวันนี้ ข้าพเจ้าก็ถวายการนวดแด่พระอาจารย์ของข้าพเจ้าตามปรกติ ข้าพเจ้าใคร่ขอกล่าวเตือนบรรดาศิษย์ทั้งหลายของพระอาจารย์ทั้งหลายว่า การปฏิบัติอาจารย์โดยการนวดเฟ้นนี้เราควรจะทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าเราไม่กลัวอาจารย์จนเกินไปแล้ว เราจะได้ถามอรรถปัญหาและได้รับการแนะนำเป็นพิเศษ

    แม้ในวันนี้อีกเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าก็ได้รับความรู้ขึ้นมาอีกอย่างหนึ่งว่า ของสกปรกอย่าดูถูก ของดีย่อมมาจากของสกปรก พระอริยะเจ้าถ้าไม่ได้รับรสของสกปรกแล้ว ท่านจะเป็นพระอริยะเจ้าไปไม่ได้เลย ท่านอาจารย์กงมา ท่านได้เสริมขึ้นอีกว่า

    “เรานอนบนกองอุจจาระเวลานี้ ยังไม่เท่าอยู่ในท้องเรา แล้วเราก็ต้องน้อมเข้ามาเป็นธรรมส่วนตัวของเราว่า อย่าหลงสวยหลงงาม เพราะเขาทั้งหลายโง่ เอาน้ำอบมาประอุจจาระกันอยู่ทุกวันนี้มิใช่หรือ วิริยังค์ ถ้าตัวเขาหอมแล้วจะเอาน้ำอบมาประตัวเขาทำไม วิริยังค์เอ๋ย นี่แหละคนเราถึงว่าเป็นโมหะ จงรู้ให้ดี”

    ทำเอาข้าพเจ้ามีจิตลึกซึ้งดื่มด่ำหอมชื่นในรสพระธรรมของอาจารย์ขึ้นมาแทนอุจจาระที่ส่งกลิ่นตึ ๆ ขึ้นมาทันทีเชียวท่านเอ๋ย

    ในเมื่ออยู่อรัญประเทศ นอนอยู่กับกลิ่นอุจจาระของญี่ปุ่น แต่กลับได้รับรสพระธรรมจากอาจารย์ของข้าพเจ้า ก็เป็นอันเรียบร้อยไป ๑ คืน รุ่งเช้าบิณฑบาตในตลาด ได้ข้าวกับขนมถ้วย ๒-๓ อัน ฉันกันพอประทังชีวิต แล้วก็เดินธุดงค์กันต่อไป

    ใช้เวลา ๓ ชั่วโมงเศษก็ถึงบ้านหนองแวง ได้พบวัดร้างอยู่วัดหนึ่ง ท่านอาจารย์เห็นสงบดี ก็พาผู้เขียนพักอยู่ที่วัดนี้ และพักกันหลายวัน ญาติโยมทั้งหลายก็พากันมาส่งอาหาร ในละแวกนี้ก็ได้น้ำพริกเป็นพื้น แต่ก็สบายใจดี เราอยู่กัน ๓ วัน ท่านอาจารย์ก็พาข้าพเจ้าเดินธุดงค์ต่อ ตอนนี้มีความประสงค์ที่จะเดินตัดตรงขึ้นจังหวัดนครราชสีมา วันนี้ถือเป็นที่เดินทางระยะยาวมากถึง ๔๘ กิโลเมตร ใช้เวลาเดิน ๑๐ ชั่วโมง ซึ่งเป็นทางทุรกันดารมากระหว่างทางหาน้ำฉันไม่มีเลย แต่อาจารย์บอกว่า ถ้าจะให้เดินทนอย่าฉันน้ำ ข้าพเจ้าก็เชื่อแต่มันกระหายมาก คอแห้งผาก เนื่องจากระยะทางเดินนั้นไม่ใคร่จะมีต้นไม้ใหญ่และเป็นทางหินกรวดตลอด ข้าพเจ้าต้องฉันน้ำในกระติกที่ตะพายไป

    ในระยะไม่ถึงครึ่งวันความจริงได้ปรากฏขึ้นแก่ข้าพเจ้าแล้ว ปรากฏว่าเท้าหนักไปหมด เดินอืดลง แต่ก่อนทุกครั้งข้าพเจ้าเดินสบายมาก อาจารย์ได้หันมามองข้าพเจ้า ซึ่งข้าพเจ้าคิดอุทานอยู่ในใจว่า ไม่อยากจะเดินต่อไป อาจารย์จึงพาแวะพักที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แล้วท่านก็ถามว่าน้ำอยู่ไหน

    “กระผมฉันหมดแล้ว” ข้าพเจ้าตอบ

    “นั่นน่ะชี เห็นหน้าตาบอกว่าล้าเพราะน้ำกระติกนี้เอง” ท่านอาจารย์พูด “แล้วเราเวลานี้กำลังหิวจะทำอย่างไร”

    ข้าพเจ้าจึงรีบออกไปเงินหาน้ำตามบริเวณนั้นโดยทั่ว ๆ ก็ได้พบหนองน้ำเล็กๆ แห่งหนึ่งเป็นปลักควาย อุจจาระควายเต็มทั้งหนอง แต่มันนอนก้นหมด น้ำข้างบนใสดี รีบกลับมาบอกอาจารย์ว่า “น้ำมีแต่เป็นปลักควาย มีอุจจาระเต็มไปหมด”

    ท่านบอกว่า”ไม่เป็นอะไร เอามาเถอะ”

    ข้าพเจ้าคิดในใจว่า อย่างไรเสียท่านอาจารย์คงหิวเอามาก ๆ ทีเดียว นึกติตัวเองว่าดื่มน้ำในกระติกคนเดียวหมด ไม่น่าเลย แล้วทำให้ล้าด้วย แล้วข้าพเจ้าก็นำเอาธรรมการกไปกรองน้ำเอาที่หนองปลักควายนั้นด้วยความบรรจงกรอง กลัวอุจจาระควายที่เป็นตะกอนจะฟุ้งขึ้น ได้น้ำแล้วรีบนำมาถวายรู้สึกกลิ่นตึตึ ท่านอาจารย์ก็ฉันอย่างสบาย ข้าพเจ้าถามท่านว่า

    “เป็นอย่างไรบ้างครับ”

    “หอมดี วิริยังค์” ท่านตอบ

    “รู้ไหมว่าขี้ควายมันเป็นยาเย็น” ท่านพูดเสริมขึ้นอีกทำเอาข้าพเจ้าอยากจะดื่มน้ำปลักควายอีกแล้ว ข้าพเจ้า.จึงกลับไปที่ปลักควาย แล้วกรองน้ำขี้ควายนั้นดื่มไป ๑ แก้ว แต่ก็พยายามนึกถึงคำอาจารย์ว่าหอม ก็ทำให้หายอุปาทานไปมาก แล้วก็รู้สึกจริง ๆ ว่าหายหิวน้ำ ข้าพเจ้าเดินกลับมาหลังจากดื่มน้ำขี้ควายแล้ว อาจารย์มองข้าพเจ้าแล้วหัวเราะ ท่านก็ได้พาข้าพเจ้าเดินต่อไป เพราะวันนี้ต้องเดิน ๔๘ ก.ม.

    ได้ถึงบ้านตาดโดน บ้านนี้เป็นชาวเขมรต่ำ ถึงนั่นประมาณ ๒ ทุ่ม รู้สึกว่าท่านอาจารย์เหน็ดเหนื่อยมาก ข้าพเจ้ารีบจัดที่กางกลดถวายท่านในรุกขมูลใต้โคนต้นไม้อันเป็นป่าโปร่ง ใช้ผ้าอาบน้ำปูกับพื้นดิน ตีนบาตรเป็นหมอน เรียบร้อยภายใน ๑๐ นาที ในที่ใกล้มีน้ำที่เขาขุดเป็นบ่อ ข้าพเจ้ารีบไปตักน้ำเพื่อถวายท่านสรง แต่ไม่มีภาชนะจะนำมา จึงต้องอาราธนาท่านไปข้างบ่อน้ำแล้วข้าพเจ้าก็ตักถวายท่าน

    สรงเสร็จแล้ว แทนที่ท่านจะพัก กลับพาข้าพเจ้านั่งสมาธิต่อไป ท่านบอกว่าเหนื่อย ๆ นั่งสมาธิดี ก็จริงอย่างท่านว่า พอนั่งก็รวมเลยเพราะเหนื่อยมาก ถ้าจิตไม่รวมคงจะแย่หน่อยทีเดียว หลังจากนั่งสมาธิแล้วแทนที่จะหลับนอนกัน ท่านกลับแสดงธรรมอบรมข้าพเจ้าต่อไปอีกว่า

    “วิริยังค์ การที่เราต้องการอยากจะพ้นทุกข์ เราต้องเข้าหาทุกข์ ถ้าเรากลัวทุกข์ เราก็พ้นทุกข์ไม่ได้ การที่เราจะเข้าหาทุกข์อย่างขณะนี้แหละ นอนดิน เดินไกล เราก็จะพอมองเห็น และเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วก็พิจารณากาย เพราะกายคือตัวทุกข์ เพราะคนเราจะหลงก็เพราะมีกาย หลงกายซึ่งกันและกันนี่เอง กายคนเราถ้าลอกหนังออกเสียแล้วใครเล่าจะหลงกัน ก็เกลียดเท่านั้นเอง เวลาจิตเป็นสมาธิแล้วก็ให้พิจารณาอย่างนี้จะทำให้รู้แจ้งเห็นจริงเป็นสัจธรรมได้”

    วันนั้นรู้สึกว่าถูกทรมานเป็นพิเศษ หลังจากจำวัดตื่นขึ้นแล้ว ชาวบ้านจึงพากันมาเห็น ต่างก็ส่งเสียงกันระเบ็งเซ็งแซ่ ได้เวลาท่านอาจารย์ก็พาข้าพเจ้าออกบิณฑบาต ชาวเขาก็ใส่บาตรให้แต่ข้าวเปล่า ๆ และมีน้ำอ้อยงบสี่ห้าอัน เข้าใจว่าเขาคงเข้าใจว่าพระธุดงค์ไม่ฉันของคาว มีเนื้อสัตว์เป็นต้น กลับจากบิณฑบาต นั่งฉันกันใต้โคนต้นไม้ ไม่มีใครมาดูแลหรือส่งอาหารเพิ่มเติมเลย ก็ได้ฉันข้าวกับน้ำอ้อย ดูเอาเถิด เดินมาเหนื่อยแทบแย่ เช้ายังได้ฉันข้าวเปล่า ๆ ข้าพเจ้าต้องเอาน้ำฉันเพื่อกันแค้นเวลากลืนคำข้าว แต่ก็เป็นสุขใจดี
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ตอนเดินทางข้ามภูเขาใหญ่

    เราพักกันเพียงคืนนั้น พอฉันเสร็จก็เดินต่อไป พอไปถึงด่านตรวจโคกระบือ เจ้าหน้าที่อยู่นั่นเขามาถามพวกเราว่าจะไปไหน ท่านอาจารย์บอกว่าจะไปนครราชสีมา เขาบอกว่า วันนี้ข้ามไม่ไหวหรอกครับ ขึ้นภูเขานี้หนทางคง ๙๐๐ เส้น (๓๕ ก.ม. ) และขึ้นสูงด้วย ขอนิมนต์พักอยู่ที่นี่ก่อนเถอะครับ ท่านอาจารย์ก็รู้สึกเหนื่อยอยู่แล้วก็รับอาราธนา เขาจัดบ้านว่างเปล่าให้ห้องหนึ่ง เป็นกระท่อมมุงหญ้าคา ฝาไม้ไผ่ พวกเราพักกันตามสบาย ท่านอาจารย์ก็เลยพาข้าพเจ้าพักเสีย ๒ วัน เพื่อเอากำลัง และก็ได้พาพวกนายด่านนั่งสมาธิเป็นประโยชน์อีกประการหนึ่งด้วย

    เมื่อหลังจากพักเอาแรง ๒ วัน ท่านก็ได้พาข้าพเจ้าเดินต่อไป คราวนี้ขึ้นเขาอันเป็นเทือกเขาดงพญาเย็นสูงชัน ใช้เวลาเริ่ม ๘.๐๐ น. เช้าออกเดินทาง ข้ามภูเขาสำเร็จ ๑ ทุ่มเศษ พอตะวันตกดินก็ข้ามเขาพ้นพอดี คราวนี้เหนื่อยจริง ๆ แล้ว ข้าพเจ้าเองล้าเอาทีเดียว เพราะการขึ้นเขาไม่ใช่เล่น ใครยังไม่เคยลองขึ้นภูเขาก็ขอให้ลองดูกันบ้างเถิด จะได้เห็นรสชาติของมันว่าเหนื่อยขนาดไหน หายใจแทบไม่ออกและคราวนี้ไม่ใช่เล่น ทั้งสูงทั้งชัน ทั้งถูกบังคับว่าจะต้องเดินข้ามในวันเดียวเสียด้วย แต่ขณะที่ขึ้นภูเขาท่านอาจารย์ก็แนะนำให้กำหนดจิต อย่าปล่อยจิตให้ฟุ้งซ่านเป็นอันขาด ข้าพเจ้าทำตามท่านก็พอประทังความเหนื่อยลงได้บ้าง นับเป็นครั้งสำคัญในชีวิตของข้าพเจ้า ในการเดินทางขึ้นเขาคราวนี้ ได้รับความรู้และความจริงอะไรหลายประการ แทบจะขาดใจในบางครั้ง แต่ว่าพอพ้นจากภูเขาผ่านไปได้แล้ว มันช่างหายเหนื่อยเหมือนปลิดทิ้ง

    แต่ว่าท่านอาจารย์ได้จับไข้เสียแล้ว ในวันรุ่งขึ้นข้าพเจ้าต้องพยาบาลท่านอย่างดีที่สุดเท่าที่จะหาสถานที่กำบังได้ ครั้งนี้มีหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่แห่งหนึ่ง ข้าพเจ้าก็รีบไปเที่ยวหาฟางมาซึ่งมีอยู่ข้างบ้าน ขอญาติโยมเขา นำมาปูลาดลงแล้วเอาผ้าอาบน้ำปูเพื่อไม่ให้ถูกดินแข็ง กางกลดถวายท่านแล้วข้าพเจ้าก็นั่งเฝ้าดู ท่านกำลังจับไข้สั่นไปหมด ข้าพเจ้าหมดหนทางไม่ทราบจะทำอย่างไร หยูกยาก็มิได้เตรียมกันมาเลย ก็ได้แต่นั่งดูท่านอาจารย์ของข้าพเจ้าจับสั่นอย่างรันทดใจ บางครั้งข้าพเจ้าต้องกดร่างกายท่านไว้เพราะการจับไข้ครั้งนี้เป็นเอามาก แต่ท่านก็บอกข้าพเจ้าว่าไม่เป็นไรหรอก วิริยังค์ เราก็ใช้การพิจารณาภายในด้วยตัวเอง เพียงพักเดียวเท่านั้น ท่านก็เหงื่อไหลออกมาโทรมกายจากการจับสั่น ทำให้ข้าพเจ้าหายใจโล่งออกมาด้วยความสบายใจ

    รุ่งขึ้นก็ได้เดินกันต่อไปทั้ง ๆ ที่ท่านก็ยังงง ๆ อยู่ แต่ก็อาศัยกำลังใจของท่านสูง ทำเหมือนกับว่าไม่เป็นอะไรอย่างนั้นเอง ตอนนี้ถึงที่ราบสูงแล้ว พวกเราเดินธุดงค์กันไปตามทุ่งบ้างป่าบ้าง ก็เป็นป่าไม้ไม่ใหญ่อะไรนัก เป็นทุ่งก็ไม่กว้างเท่าไร

    พวกเราเดินวันนี้ใช้เวลา ๘ ชั่วโมงก็ถึงบ้านกุดโบสถ์ ในบริเวณนี้มีแต่ทุ่งนาทั้งนั้น มีวัดอยู่วัดหนึ่งกลางทุ่งนา เมื่อไม่เห็นต้นไม้ที่จะรุกขมูลกัน ท่านอาจารย์ก็พาเข้าวัด เห็นมีพระอยู่ ๒ องค์ สงบดีก็เลยพักอยู่ที่นี่ ๑ คืน ท่านอาจารย์ยังหายได้ไม่ดีเท่าไร แต่ก็พอค่อยยังชั่ว ทั้ง ๆ ที่เดินตากแดดมาตั้ง ๘ ชั่วโมง ข้าพเจ้ารู้สึกสงสารท่านอาจารย์มาก แต่ดูถึงหน้าตาของท่านบอกว่าไม่เกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น ยังปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น.

    ในค่ำคืนวันนี้ข้าพเจ้าจัดการกางกลดปูที่นอนตามมีตามได้ แล้วก็ถวายการนวดให้ท่านตามปรกติ การนวดวันนี้ข้าพเจ้าต้องนวดนานเป็นพิเศษ แม้ว่าข้าพเจ้าเองก็จะต้องเหนื่อยมากเหมือนกัน ในการเดินทางหามรุ่งหามค่ำ แต่ก็ไม่เป็นอะไรเพราะยังหนุ่มแน่น หยุดสักพักก็หายเหนื่อย ท่านปรารภกับข้าพเจ้าวันนี้ว่า

    “ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น มันทำจิตของคนให้หดหู่ย่อท้อต่อกิจการของตนที่กำลังเร่งทำ อันเราก็เช่นเดียวกัน เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นครั้งนี้ ก็เป็นการลองดีกับผู้ได้บำเพ็ญความเพียรมาแล้วในอดีตอย่างเข้มแข็ง การต่อสู้ทุกขเวทนาครั้งนี้ เราจึงได้เห็นคุณค่าของการบำเพ็ญความเพียรมาแล้วในอดีต ว่า ได้เป็นเครื่องหนุนกำลังอย่างดีเยี่ยม อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีกำลังความเพียรมาก แต่ก็ไม่วายที่จะมีบางขณะของจิต ที่ทำให้เกิดท้อ ๆ ขึ้นมา แต่นั่นมันเป็นเพียงขณะจิต หรือเรียกจิตตุบาท จึงไม่มีความสำคัญแก่เราเลย”

    ข้าพเจ้าฟังแล้วก็สบายใจ เพราะอาจารย์ของข้าพเจ้ามิได้มีความทุกข์ใจเลย แม้จะมีโรคภัยเบียดเบียน.
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญผจญภัยในถ้ำวัวแดง

    ข้าพเจ้าเคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่โบราณเล่ามาว่า ถ้ำวัวแดงนี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก และมีลายแทงที่นี่ด้วย คนเดินทางผ่านโดยยานพาหนะใด ๆ ถ้าไม่ทำความเคารพแล้วก็จะมีอันเป็นไปทุกราย อนึ่งผู้จะเรียนวิชาอาคมทางไสยศาสตร์ทุกคน ถ้าจะให้เก่งจริงต้องมาผจญกับความศักดิ์สิทธิ์ของถ้ำวัวแดงเสียก่อน แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ก็พากันเกรงขามถ้ำนี้กันนัก ไม่ค่อยจะมีใครมากล้ำกรายกันทีเดียว

    รุ่งขึ้นหลังจากที่พักอยู่ที่วัดกุดโบสถ์ ในตอนเช้านั้น ท่านอาจารย์ก็ได้บอกข้าพเจ้าว่า วันนี้เราจะต้องเดินทางไปถ้ำวัวแดง (ถ้ำวัวแดง ตั้งอยู่ที่บ้านเฉลียงโคก ตำบลเฉลียง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ริมถนนสายครบุรี - มูลบน ห่างจากอำเภอครบุรีประมาณ ๗ กิโลเมตร ถ้ำวัวแดงตั้งอยู่บนเขาวัวแดง สูงจากระดับพื้นราบประมาณ ๑๕ เมตรถ้ำกว้างประมาณ ๓ เมตร สูงประมาณ ๒ เมตรปากทางเข้าถ้ำเตี้ยมากต้องก้มตัวเข้าไปภายในผนังถ้ำมีภาพแกะสลักนูน สูงรูปพระศิวะอุ้มพระอุมาประทับบนหลังโคนนทิมีฤาษี ๑ ตนและเทวดา ๑ องค์ถวายความเคารพอยู่หน้าโค ส่วนท้ายขบวนมีเทพบริวาร ๒ องค์ถือพัดโบกและฤาษียืนประนมมือ ๓ ตน - webmaster)

    “ถ้ำวัวแดง” ข้าพเจ้าทวนคำอย่างงุนงง

    “เออ ก็ถ้ำวัวแดงนี้น่ากลัวนักหรือ ? วิริยังก์” ท่านอาจารย์ตอบ

    “มันเป็นเรื่องนิยายหรือจริงมิทราบครับ เพราะผมได้ยินว่ามันศักดิ์สิทธิ์เหลือเกิน แต่ผมไม่กลัวหรอกครับ เพราะมีอาจารย์ไปด้วย” ข้าพเจ้าตอบ

    “เราต้องเดินให้ถึงในวันเดียว” ท่านอาจารย์พูด

    แล้วพวกเราก็เดินธุดงค์ต่อไป ค่อย ๆ ลึกเข้าไปก็เป็นดงหนาเข้าไปทุกที ๆ เริ่มทำให้ข้าพเจ้าเกิดสามัญสำนึกว่าใกล้แล้ว แต่ที่ไหนได้ ต้องใช้เวลาอีกหลายชั่วโมง เป็นป่าเป็นภูเขาเริ่มขึ้นแล้ว มันคือถิ่นเสือ ข้าพเจ้าเห็นรอยของเสือขวักไขว่ไปหมด จึงมาคิดว่า เราจะได้ผจญอะไร ๆ สักอย่างเป็นแน่ แต่ก็จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้เจอตัว เจอแต่รอยเดินขึ้นเรื่อย ๆ ไป คือขึ้นภูเขา

    <TABLE id=table16 border=0 width=150 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ถ้ำวัวแดง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    บัดนี้เป็นเวลาบ่าย ๕ โมงเย็นแล้ว พวกเรายังเดินย่ำต๊อกกันอยู่ระหว่างเขาลูกหนึ่งไปยังอีกลูกหนึ่งเรื่อยไป ตะวันจวนจะลับปลายไม้แล้วทำไมยังไม่ถึงอีก ข้าพเจ้าต้องรำพึงรำพันอยู่ในใจ


    จะค่ำเสียกลางป่าเขานี่เสียหรือยังไง เอ้าเป็นอะไรเป็นกัน อาจารย์เราอยู่ข้างหน้าไม่เห็นต้องกังวลอะไรเลยนี่นา

    อาจารย์หันหน้ามามองข้าพเจ้าแล้วบอกว่า

    “โน่นยังไง วิริยังค์ มองเห็นถ้ำวัวแดงแล้ว”

    “ช่างชื่นใจอะไรเช่นนั้น” ข้าพเจ้าคิดและเหมือนกับความเหนื่อยที่คร่ำเคร่งมาหายหมดเป็นเวลาพลบค่ำพอดีถึงถ้ำวัวแดง

    ท่านอาจารย์ก็ขึ้นบนศาลา “เอ๊ะ ถ้ำทำไมจึงมีสิ่งก่อสร้างไว้หลายอย่าง มีทั้งศาลา กุฏิที่พัก แต่ไม่มีพระภิกษุสามเณรไม่มีใครเลย”

    ข้าพเจ้ากับอาจารย์ขึ้นบนศาลาเป็นอันดับแรกเพราะเหนื่อยมาหลายเพลาแล้ว

    อันดับแรกข้าพเจ้าวางบริขารทุกอย่างและกลางกลด จัดปูที่นอนถวายท่านอาจารย์ จากนั้นก็รีบแสวงหาแหล่งน้ำก่อนอื่น ลงเดินไปคนเดียวเที่ยวดูโดยรอบ ก็ไม่เห็นมีวี่แววว่าจะมีแหล่งน้ำ เวลาก็ชักจะดึกเข้าทุกที ๆ จนต้องเดินไปอีกมุมหนึ่งของบริเวณ มองเห็นแต่ตุ่มน้ำตั้งอยู่ ๔-๕ ใบ เข้าไปเปิดดู ข้าพเจ้าต้องเอะใจขึ้นมาว่าทำไมน้ำจึงเต็มโอ่งหมดทุกใบ ทั้งดีใจทั้งสงสัยว่า ใครหนอตักน้ำมาไว้ที่นี่ ยังกับจะรู้ว่าเรามาวันนี้ ทำให้มึนงงไปหมด

    ข้าพเจ้ารีบกลับไปที่ศาลา นิมนต์ท่านอาจารย์มาที่ตุ่มน้ำเพื่อสรงน้ำ หลังจากนั้นแล้วข้าพเจ้าก็สรงน้ำเป็นที่เรียบร้อย ท่านอาจารย์บอกกับข้าพเจ้าว่า “คุณไม่ต้องห่วงเราหรอก จงไปหาที่วิเวกให้เหมาะสมห่างจากเรา”

    ก็เป็นอันว่าข้าพเจ้าได้แบกกลดออกไปในเวลากลางคืน หาดูที่เหมาะ ๆ มีความรู้สึกว่าเสียว ๆ บ้างเพราะไม่เคยชินกับสถานที่ แต่เห็นกุฏิหลังหนึ่งพอเบาใจจึงแวะขึ้นไปอยู่พัก กุฏินั้นเป็นกุฏิกั้นฝาด้วยใบไม้ พื้นฟากเป็นกุฏิเก่า ๆ อยู่ในสภาพจะพังมิพังแหล่ แต่ก็ยังดี ข้าพเจ้าใช้มันเป็นที่พักในเวลาค่ำคืนนี้ และนั่งสมาธิรู้สึกว่าดีเป็นพิเศษ จะเป็นเพราะความหวาดเสียวหรืออุปาทานเก่า ๆ ก็ไม่ทราบ เพราะมาถึงกลางคืนยังไม่ทราบข้อเท็จจริง แต่ก็ได้ผลแก่ตนในคืนนี้ คือจิตใจสงบสบายดี

    ตอนเช้าข้าพเจ้าจะต้องปฏิบัติอาจารย์อันเป็นกิจวัตรประจำวัน คือไปคอยดูว่าท่านจะลุกขึ้นออกจากสมาธิแล้ว เมื่อท่านออกแล้วจะต้องเข้าไปถวายน้ำล้างหน้า ไม้สีฟัน เก็บที่นอน นำบาตรมาเพื่อการบิณฑบาต

    ตอนเช้าข้าพเจ้าก็บำเพ็ญกิจวัตรตามปกติ แต่ปรากฏว่าท่านอาจารย์ลุกไม่ขึ้น ข้าพเจ้าเข้าไปใกล้แล้วถามว่า

    “ท่านอาจารย์เป็นอะไรครับ ?”:

    ท่านตอบว่า “ยอกหมดทั้งตัวเลย วิริยังค์”

    ข้าพเจ้าเตรียมจะนวดถวายท่าน ท่านบอกว่า ไม่ต้อง และพอเวลาผ่านไปสัก ๒๐ นาที ท่านก็พยายามจะลุกขึ้นจนสามารถพยุงตัวลุกขึ้นมาได้ และบอกข้าพเจ้าว่าให้ไปบิณฑบาต

    “จะไปยังไงไหวครับท่านอาจารย์” ข้าพเจ้าพูดขึ้น

    ท่านอาจารย์บอกว่า “ไปเถิดถ้าเราไม่ไป เธอจะไปคนเดียวได้ยังไง บ้านห่างจากนี้อีกไกล ต้องผ่านดง เดี๋ยวเกิดหลงเข้าป่าเข้าดงไปจะลำบาก”

    มันเป็นภาพที่ข้าพเจ้าต้องจดจำไว้ในคลอดชีวิตทีเดียวว่า ท่านอาจารย์มีความเพียรขันติเป็นยอด ท่านได้พาข้าพเจ้าเดินลัดเลาะไปด้วยความสันทัดของท่านที่ทราบถึงภูมิประเทศว่า แห่งใดควรจะมีหมู่บ้าน แม้ในขณะนั้นมองดูตามสองข้างทางก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีหมู่บ้านแต่อย่างไร เพราะเป็นป่าดงทึบไปหมด มีรอยสัตว์ป่าต่าง ๆ ผ่านทางเดินเป็นระยะ แม้ท่านอาจารย์จะยอกแต่ท่านเดินเหมือนกับไม่เป็นไร เราได้ผ่านดงไปด้วยความสงบอย่างยิ่ง ท่านเดินหน้า ข้าพเจ้าเดินตามหลัง นึกถึงภาพในอดีต หายากแท้ จะมาคิดเป็นจินตนิยายอะไรสักเรื่องก็คงไม่เหมือนเป็นแน่ ข้าพเจ้ารู้สึกว่าการเดินไปบิณฑบาตอย่างไม่มีจุดหมายนี้เป็นครั้งแรกในชีวิต

    ในที่สุดท่านอาจารย์ก็ชี้ไปข้างหน้าว่า โน้นยังไงหมู่บ้าน มองไปข้างหน้ามีทุ่งนากว้างพอสมควร แล้วถัดไปก็มีหมู่บ้านซึ่งเป็นหมู่บ้านใหญ่พอสมควร เมื่อเดินข้ามทุ่งนาไปแล้วถึงหมู่บ้านประมาณว่าสักหนึ่งชั่วโมงเศษ จากการเดินมาจากถ้ำวัวแดง

    ชาวบ้านพอเห็นพวกเราเข้ามาบิณฑบาตตอนเช้า เขาพากันดีอกดีใจกันใหญ่ เพราะนาน ๆ จะมีพระมาอยู่ที่ถ้ำส่วนที่บ้านก็ไม่มีวัด ชาวบ้านพากันป่าวร้องกันสักพักเดียวเท่านั้น ก็ถือข้าวมาใส่บาตรกันเต็มไปหมด เขาถามว่า

    “ท่านอาจารย์มาแต่เมื่อไร ? พวกผมไม่ทราบกันเลย”

    “มาถึงค่ำวานนี้” ท่านอาจารย์ตอบ

    โยมบอกว่า เมื่อวันก่อนก็มีพระมาคณะหนึ่งพึ่งจะกลับไป ข้าพเจ้านึกขึ้นมาได้ในทันทีทันใดนั้นเองว่า

    “อ้อ น้ำถึงได้เต็มโอ่งไปหมด นึกว่ามีเทวดามาตักให้เสียแล้ว”

    หลังจาครับบิณฑบาตเรียบร้อยแล้วพวกเราก็เดินกลับไปที่ถ้ำ โดยพวกญาติโยมนำอาหารตามไปด้วยประมาณ ๖-๗ คน มีอาหารตามมีตามได้ ในระหว่างทางท่านอาจารย์ให้ข้าพเจ้าเก็บผักไปด้วย ก็มียอดแต้ว ยอดกระโดน ครั้นถึงที่พักแล้วญาติโยมก็จัดอาหารถวาย มีน้ำพริกอย่างว่าจริง ๆ ท่านอาจารย์คงทายใจเขาถูกจึงให้ผู้เขียนเก็บผักตามมา มีแกงก็เป็นแกงป่าน้ำดำ ๆ และอื่น ๆ ดูก็ไม่น่าจะอร่อย แต่ว่าอาหารมื้อนี้อร่อยเป็นพิเศษไม่ทราบว่าทำไมรสชาติมันถึงอกถึงใจอะไรอย่างนี้ ดีจริง ๆ

    ข้าพเจ้ามาคิดได้ว่า อ้อ อันความหิวนี้เองทำให้อร่อย เป็นอันว่า ท่านอาจารย์และข้าพเจ้าได้พักอยู่ที่ถ้ำวัวแดงนี้ โดมีญาติโมมาส่งอาหารตามศรัทธาที่เขาจะพึงทำได้ตลอดเวลาที่พักอยู่

    ท่านอาจารย์กลับยอกเอวหนักขึ้น ท่านบอกว่า

    “ไปไม่ไหวแล้ว วิริยังค์เอ๋ย ยอกแบบนี้เหมือนเข็มแทงเรา จะต้องอยู่ที่นี่จนกว่ายอกจะหาย”

    ข้าพเจ้ากลับดีใจเมื่อได้ฟังท่านอาจารย์ เพราะจะได้อยู่ทำความเพียรให้ถึงอกถึงใจ ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์เช่นนี้ เป็นอันว่าพวกเราต้องอยู่ที่ถ้ำนี้ถึงเดือนเศษ

    นับว่าเป็นการพักแรมนานที่สุดในการเดินธุดงค์มาราทอนในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เลื่อนจากการอยู่บนกุฏิสัพพะรังเคนั้นไปอยู่ที่ตัวถ้ำวัวแดงเลยทีเดียว อันชาวบ้านบอกว่าเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ เห็นข้าพเจ้าไปอยู่ที่นั้นโยมก็ได้ห้ามปรามต่าง ๆ นานา ว่าอย่าเลยท่านไม่ดีแน่ แต่ข้าพเจ้าไม่ยอมเชื่อ แม้จะเป็นอย่างไรก็ไม่กลัวทั้งสิ้น ข้าพเจ้าคิดว่า ไหน ๆ มาถ้ำวัวแดงทั้งที นอนมันใต้ท้องวัวแดงเลยเป็นไง ?

    <TABLE id=table17 border=0 width=150 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    รูปสลักในถ้ำวัวแดง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ข้าพเจ้าจึงเข้าไปในถ้ำซึ่งเป็นถ้ำไม่ใหญ่โตอะไรนัก มีวัวแดงอยู่ในถ้ำเป็นหินแกะสลัก บนหลังวัวแดงมีกษัตริย์ ๑ องค์ มีมเหสี ๙ คน นั่งอยู่บนหลังวัวแดงตัวเดียวนั้น ซึ่งก็ล้วนแกะสลักด้วยหินทั้งสิ้น สวยงามมาก ฝีมือดีเยี่ยมทีเดียว ข้าพเจ้ามองดูรอบ ๆ วัวแดงเป็นพื้นเสมอนั่งนอนสบาย แต่ข้าพเจ้าเสียดายมาก คือพวกนักหาทรัพย์ในดินสินในน้ำและลายแทงต่าง ๆ พากันมาเจาะท้องวัวแดง ขุดลงไปตรงพื้นที่วัวแดงเหยียบเป็นรูเป็นหลุม แม้แต่บริเวณอันเป็นหินก้อนใหญ่ ๆ เท่าบ้าน เขาก็เจาะกันทะลุไปหมด

    เขาเล่าให้ฟังว่า พวกคนที่มาเจาะมาทำลายนั้น โดยมากกลับไปตายกันเสียเป็นส่วนใหญ่

    ในค่ำคืนหนึ่งที่ข้าพเจ้านอนพักอยู่ที่ถ้ำวัวแดงนั้น บังเกิดความประหลาดใจขึ้นในตอนดึก หลังจากบำเพ็ญสมาธิผ่านไปแล้ว คือปรากฏเหมือนหินทั้งถ้ำนั้นกำลังจะทรุดลงเสียงลั่นดังกึกก้อง แต่พอข้าพเจ้าลุกขึ้นหมายจะฟังให้ชัดแล้ว เสียงนั้นก็หายไป พอจะหลับก็เกิดเสียงนั้นขึ้นมาอีก จึงทำให้ใจหายรู้สึกว่าจะโดนลองดีเสียละกระมัง แต่ข้าพเจ้าไม่ยอมกลัว ทำใจกล้า แต่เสียงนั้นมันคอยจะมาหลอนเอาตอนเคลิ้มทุกที ขณะที่ตื่นจริง ๆ ทำไมไม่มีเสียง จะมีเสียงเอาตอนจะหลับ อย่างไรเสียต้องมีเหตุเป็นแน่แท้ ข้าพเจ้าเลยตั้งใจเอาเสียเลยว่า ค่ำนี้เราจะไม่นอนละ จะ นั่งทำสมาธิตลอดเวลาสว่างเลย

    ขณะที่ข้าพเจ้าตั้งใจจะนั่งตลอดสว่างอย่างนั้น ทุกอย่างที่ปรากฏขึ้นก็หายไปหมด และกลับกลายปรากฏในสมาธิแทน เห็นเป็นเหมือนกับเทวบุตรและเทวดา เป็นคนที่รู้สึกจะแปลกกว่าคนธรรมดา ข้าพเจ้าก็เลยเข้าใจเอาว่า คงเป็นพวกเทวดา ต่างก็มานั่งล้อมรอบอยู่ตามบริเวณนั้น เพียงแต่เดินกันไปมา รู้สึกว่าขณะนั้นมีความสบายดีมาก จนไม่ทราบว่าสว่างเสียแต่เมื่อไร

    ข้าพเจ้าได้นำเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น มาเล่าถวายอาจารย์ ท่านก็หัวเราะแล้วพูดว่า

    “นั่นแหละเธออยากประมาท เขาก็มาเตือนซิ”

    “ เขาหมายความว่าอะไรครับ” ข้าพเจ้าถาม

    “ก็พวกเทพเจ้านั้นแหละ” ท่านตอบ

    “เทพเจ้า ๆ ” ข้าพเจ้าคำนึงอยู่ในใจว่า มันจะเป็นไปได้หรือที่เราได้พบเห็นสิ่งแปลกประหลาด

    ท่านอาจารย์ได้สำทับข้าพเจ้าว่า “เธออย่าประมาท จงพยายามเร่งความเพียรอย่างเต็มความสามารถ”

    นั่นมันเป็นความประสงค์ของผู้เขียนอยู่แล้ว

    เป็นเวลาเดือนหนึ่ง อาการยอกของท่านอาจารย์ก็ค่อยทุเลาลงเป็นลำดับ จนหายเป็นปกติ ท่านอาจารย์ก็บอกว่า

    “แม้ว่าเราหายแล้วก็จะต้องอยู่ทำความเพียรในที่นี่ต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง” ข้าพเจ้าก็พอใจด้วยเป็นอย่างยิ่ง

    ในวันหนึ่งที่ท่านอาจารย์สบายดี ข้าพเจ้าได้ถามท่านว่า

    “ธรรมปฏิบัตินี้มีความจำเป็นด้วยหรือที่เราจะต้องมาทรมานอด ๆ อยาก ๆ ทุลักทุเล เดินหามรุ่งหามค่ำอยู่ อย่างวัดทรายงามกระผมก็ทำความเพียรได้อย่างมาก”

    ท่านตอบว่า

    “การอยู่ในที่เดียวจำเจ มันก็ทำให้เรามีจิตอ่อนไม่เข้มแข็ง และทำให้เกิดความเคยชิน เป็นการทำให้ย่อหย่อนต่อความพยายาม ยิ่งกว่านั้นถ้าเป็นครูอาจารย์ก็จะเพิ่มภาระที่จะสั่งสอน และกิจการที่จะต้องเกี่ยวข้องอีกมาก การที่เราได้ออกวิเวก อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพรนั้น มันเป็นสิ่งทำให้จิตใจแข็งแกร่งขึ้น มีความกระตือรือร้นขึ้นมาเองตามธรรมชาติ”

    เป็นอันว่า เวลาเดือนเศษพวกเราอยู่ที่ถ้ำวัวแดง โดยเฉพาะข้าพเจ้าได้ผลจากสถานที่แห่งนี้เป็นพิเศษ อันเป็นสิ่งจารึกอยู่ในความทรงจำไว้อย่างมาก ยากที่จะเขียนบรรยายออกมาให้หมดสิ้น ฯ ท่านอาจารย์บอกข้าพเจ้าว่า เรามาเดินทางกันต่อไป เพื่อตามท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ ให้พบ เพราะเวลานี้ข่าวว่าท่านอยู่จังหวัดสกลนคร ฯ
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ตอนพระวิริยังค์ใกล้พบกับพระอาจารย์มั่น ฯ

    พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ผู้ซึ่งได้นำพระวิริยังค์ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระภิกษุหนุ่ม อายุได้ ๒๒ ปี อุปสมบทได้หนึ่งพรรษา เดินธุดงค์ครั้งสำคัญเพื่อติดตามพระอาจารย์มั่น ฯ ผู้เป็นพระปรมาจารย์ของคณะกัมมัฏฐาน การเดินธุดงค์ด้วยเท้าจากจังหวัดจันทบุรี จนถึงจังหวัดนครราชสีมานั้น นับว่าไม่ใช่ใกล้ แต่ระหว่างทางที่ผ่านก็ย่อมแสดงให้เห็นว่า สมัยนั้นเป็นป่าใหญ่และเป็นสถานที่วิเวกของผู้สนใจในธรรมได้เป็นอย่างดี

    จากถ้ำวัวแดง ท่านอาจารย์ ได้พาข้าพเจ้าเดินทางต่อไป คราวนี้ไม่เป็นป่าใหญ่ เป็นทุ่งนาและมีป่าไม้เต็ง-ไม้รัง-ไม้แดงเป็นระยะ ๆ ไป ไม่มีอะไรจะทำให้เกิดความหวาดเสียวเหมือนที่ผ่านมา เพราะท่านอาจารย์ได้มุ่งตรง เพื่อตัดทางให้ถึงพระอาจารย์มั่น ฯ ให้เร็วเข้า จึงไม่มุ่งเข้าหาป่าใหญ่ เดินลัดเข้าหาตัวอำเภอกระโทกก็ถึงในวันเดียว พักอยู่ที่วัดนี้ตามอัธยาศัย เปลี่ยนจากธุดงค์นอนกับดินกับหญ้ามาจำวัดกันบนกุฏิที่เขาจัดไว้ให้ ซึ่งก็ทำให้บรรยากาศทั้งหลายเปลี่ยนไป โดยการพบหมู่คณะผู้ปฏิบัติธรรมมาด้วยกัน แล้วก็ไต่ถามถึงการปฏิบัติว่าได้ผลอย่างไร ไปธุดงค์กันที่ไหน เป็นการสังสรรค์ภายในหมู่คณะ ซึ่งก็ได้ผลไปอีกอย่างหนึ่ง

    ในขณะนั้นสงครามโลกครั้งที่สองยังไม่สงบ การจะไปไหนมาไหนจะต้องมีการระมัดระวัง และขณะที่มาถึงนครราชสีมานั้น ก็เป็นเวลาที่ทางฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังทิ้งระเบิดสถานีรถไฟจังหวัดนครราชสีมา

    หลังจากพวกเราได้พบปะสังสรรค์กับหมู่คณะที่จากกันไปนาน แล้วก็ออกเดินทางจากอำเภอกระโทกเข้าสู่ตัวเมืองนครราชสีมา พักที่วัดป่าสาลวัน อันเป็นวัดใหญ่ของคณะกัมมัฏฐานในจังหวัดนี้ แทบเป็นวัดร้างเพราะมีพระภิกษุสามเณรไม่กี่องค์เนื่องจากวัดนี้อยู่ใกล้สถานีรถไฟ จึงได้ถูกลูกหลง (ลูกระเบิด) เข้าให้หลายลูก พระภิกษุสามเณรจึงต้องอพยพไปอยู่ที่อื่นกันเสียเป็นส่วนมาก

    ท่านอาจารย์กงมาบอกกับผู้เขียนว่า

    นี่แหละ ดูเอาเถิด เมื่อสงครามเกิดขึ้น ก่อความทุกข์ยากให้แก่คนทุกชั้นแม้กระทั่งพวกเราผ่ายพระสงฆ์ ซึ่งก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสงครามก็ยังพลอยลำบากไปกับเขาด้วย ชื่อว่าสงครามนี้ไม่ดีเลย แต่มนุษย์ก็ชอบทำสงครามทุกยุคทุกสมัย

    ตื่นขึ้นตอนเช้าท่านอาจารย์ก็พาข้าพเจ้าเข้าไปบิณฑบาตตามหมู่บ้านที่เคยไปแต่ก่อน ๆ รู้สึกหงอยเหงามากเพราะญาติโยมอพยพไปที่อื่น ๆ ยังกลับกันไม่หมด มองไปทางใดเห็นแต่หลุมลูกระเบิด บางหลุมเก่าขังน้ำจนเกิดผักบุ้งเต็ม มันมีอยู่ภาพหนึ่ง ซึ่งเห็นภาพที่น่าหวาดเสียวก็คือ มี ๒ คน ถูกสะเก็ดระเบิดเลือดอาบตัวแดงไปหมด เขายังมีชีวิตอยู่ ได้วิ่งกระเสือกกระสนเข้ามาที่วัดนี้ แต่การวิ่งของเขาวิ่งโดยความกลัวหรืออย่างไรไม่ทราบ วิ่งอย่างไม่มองหน้า-หลัง ตรงขึ้นศาลาการเปรียญ เลือดไหลแดงฉาน เขาตรงเข้ากราบพระประธานแล้วสิ้นใจที่ตรงนั้นเอง มันช่างเป็นภาพที่น่าปลงธรรมสังเวชอะไรเช่นนั้น

    ท่านอาจารย์บอกกับผู้เขียนว่า เราควรจะรีบเดินทางต่อไปดีกว่า เพื่อพบกับพระอาจารย์มั่น ฯ ตามความตั้งใจของพวกเรา ท่านอาจารย์ก็รีบไปสืบว่ามีรถไฟเดินไปทางจังหวัดอุดรหรือเปล่า เพื่อเป็นการย่นทางย่นเวลา เพราะถ้าใช้เวลาเดินจะต้องเป็นเดือน ๆ อีก เวลาก็จะใกล้เข้าพรรษามาแล้ว อาจจะไม่ทันกาล

    เมื่อทราบว่ามีรถไฟวิ่งไปอุดรเป็นบางวัน ท่านอาจารย์ก็คอยวันนั้น ได้พาข้าพเจ้าขึ้นรถไฟ ซึ่งสภาพในขณะนั้นก็แย่มาก เพราะรถไฟถูกลูกระเบิดเค้เก้ไปเยอะ แต่ก็ต้องทนเอา แม้จะต้องยืนบ้างนั่งบ้างไปวันเดียวก็ถึงจังหวัดอุดรธานี ได้พาไปพักที่วัดป่าบ้านจิก

    ณ ที่จังหวัดอุดรนี้สงบเหมือนกับไม่มีสงคราม ผู้คนมิได้อพยพหนีภัยแต่อย่างใด เมื่อมาถึงวัดนี้ก็พอดี คุณนายทิพย์ผู้เป็นเจ้าของวัดป่าบ้านจิก ก็เป็นวัดป่าเช่นเดียวกับวัดป่าทั้งหลาย โดยมีกุฏิพระภิกษุสามเณรอยู่องค์ละหลัง เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม มีศาลาการเปรียญเป็นที่ประชุมพระภิกษุสามเณรในเวลาบางครั้งบางคราวที่จะได้ มีการอบรมสมาธิและชี้แจงข้อธรรมที่ปฏิบัติมา

    วันหนึ่ง คุณนายทิพย์และคณะอุบาสิกาหลายคน ได้มาสนทนาธรรมกับท่านอาจารย์กงมา ต่างก็ได้ถามถึงเรื่องการปฏิบัติทางจิตใจหลายอย่าง ท่านอาจารย์ก็ได้อธิบายไปตามความรู้ของท่าน แต่คุณนายทิพย์ยังไม่พอใจ เพราะเธอแก่ปริยัติมาก เมื่อพูดถึงวิธีการเข้าฌานว่าจะเข้าอย่างไร ขอให้ท่านอาจารย์เข้าให้พวกดิฉันดูบ้างซี

    ท่านอาจารย์กงมาท่านถูกไม้นี้เข้า ท่านจึงหาวิธีแก้ลำด้วยหนามยอกเอาหนามบ่ง จึงได้บอกว่า

    จะเข้าฌานให้ดูก็ด๊าย ! ให้คุณนายจัดหามะม่วงอกร่องกับข้าวเหนียวมูลมาให้ มากหน่อย ไม่ว่าแต่อาตมาดอก เข้าฌานได้ทุกคน ถ้ารับประทานมันให้อิ่ม เข้าฌานมันจะยากอะไร

    คณะคุณนายชอบใจกันเป็นการใหญ่

    เมื่อพักอยู่จังหวัดอุดรธานีประมาณ ๑ อาทิตย์ก็เดินทางคือไปจังหวัดสกลนครอันเป็นจุดหมายปลายทาง และเป็นจุดประสงค์อย่ายิ่งในการเดินธุดงค์อันแสนจะทุรกันดารในครั้งนี้

    ข้าพเจ้ามีจิตใจเบิกบานผิดกว่าการเดินทางไปที่ไหน ๆ ทั้งหมดในวันนี้เพราะมาถึงจังหวัดสกลนคร ทั้งทราบว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้มาพักอยู่ในจังหวัดนี้ แต่ท่านอาจารย์ยังไม่พาผู้เขียนไปถึงท่านอาจารย์มั่น ฯ เพียงแต่พักเอาแรงกันที่วัดสุทธาวาสในตัวจังหวัดเสียหลายวัน ทำให้ข้าพเจ้าทุรนทุรายมิใช่น้อย ที่มาใกล้แล้วไม่รีบไป และท่านได้เล่าถึงความเป็นไปต่าง ๆ ของท่านอาจารย์มั่น ฯ ซึ่งอาจารย์ของข้าพเจ้าได้ว่าไว้อย่างนี้ คือ

    ๑. ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านรู้จักใจคน จะนึกจะคิดอะไรทราบหมด
    ๒. ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านดุยิ่งกว่าใคร ๆ ทั้งนั้น
    ๓. ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านเทศน์ในธรรมปฏิบัติยอดกว่าใครทั้งนั้น
    ๔. ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านปฏิบัติตัวของท่านเป็นตัวอย่างแก่ศิษย์อย่างเยี่ยมยอด
    ๕. ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านจะต้องไล่พระที่อยู่กับท่าน ถ้าหากทำผิด แม้แต่ความผิดนั้นไม่มาก แต่เป็นเหตุให้เสื่อมเสีย

    นี่ก็เป็นความทรงจำของผู้เขียนที่จะต้องท่องไว้ในใจไม่มีวันลืม ทั้งกลัวทั้งต้องการที่จะพบ ทั้ง ๆ ที่ยังไปไม่ถึง เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจยิ่งกว่าครั้งใด ๆ ของผู้เขียนอย่างยิ่ง ดูเป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ คราวนี้

    ข้าพเจ้าได้ถามท่านอาจารย์ว่า เมื่อไรจึงจะเดินทางไปพบท่านอาจารย์มั่น ฯ เสียที ได้รับคำตอบว่า รอก่อน กี่วันท่านก็ไม่บอก ก็จำต้องอยู่ที่วัดสุทธาวาสนี้ไปเรื่อย ๆ ข้าพเจ้าคิดในใจว่า ท่านอาจารย์ก็คงจะตระเตรียมอะไร ๆ ของท่านบ้างเป็นแน่ เพราะท่านได้จากท่านอาจารย์มั่นไป ๑๐ กว่าปี ก็คงจะร้อน ๆ หนาว ๆ เหมือนหัน เอาเถอะ แม้จะรอหลายวันก็เป็นการรอที่ใกล้ความหมายกันแล้ว !!!

    ณ วัดสุทธาวาสนี้เป็นที่ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้มามรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ จึงเป็นวัดประวัติศาสตร์ที่สำคัญวัดหนึ่ง และเป็นสถานที่ประชุมของคณะพระกัมมัฏฐาน ที่นับเนื่องด้วยความเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์มั่น ฯ ทุก ๆ ปี ของวันมาฆบูชา

    ข้าพเจ้ามาพักที่นี่ได้ถามญาติโยมทั้งหลายที่อยู่ในละแวกนี้ ก็ทราบว่าเป็นวัดที่ท่านอาจารย์เสาร์ ผู้เป็นอาจารย์ของท่านอาจารย์มั่น ฯ มาสร้างไว้ เป็นป่าไกลจากตัวเมือง ๒ ก.ม. จึงเป็นวัดที่สงบสงัดมาก แต่บัดนี้ก็มีบ้านคนตลอดจนถึงที่ทำการของรัฐบาล เช่นศาลากลางจังหวัดก็มาตั้งอยู่ใกล้ ๆ จึงทำให้กลายเป็นวัดกลางเมืองไปในปัจจุบัน

    ท่านอาจารย์กงมาได้บอกผู้เขียนว่า หนทางจากวัดสุทธาวาสนี้ไปที่บ้านโคก ต. ตองโขบ อ. เมือง สกลนคร เป็นหนทางไกลถึง ๕๐๐ เส้น ๒๐ ก.ม. ต้องเดินไปไม่มีทางรถยนต์ เป็นบ้านเกิดของท่านอาจารย์กงมา ซึ่งเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าเอง

    ท่านว่า

    เป็นโชคดีอะไรเช่นนี้ ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้มาพักที่บ้านของเราเท่ากับว่าเราได้โปรดญาติเราพร้อมกับอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิสูง ถ้าเราไม่มาจากจันทบุรีเราจะเป็นคนเสียหายมาก จะพลาดโอกาสที่งดงามอย่างยิ่ง แต่เป็นการดีและประจวบเหมาะเอาเสียจริง ๆ ที่เรื่องต่าง ๆ มาผสมผเสได้อย่างนี้ ซึ่งท่านอาจารย์มั่น ฯ จะต้องรักเรามาก จึงมารอเราที่บ้านของเราเอง เราไม่เหนื่อยเลยที่ต้องตรากตรำมาอย่างลำบากนี้ การเดินทางของเราจึงมีผลอย่างล้นค่าที่สุดในชีวิต

    ผู้เขียนได้ฟังอาจารย์ของผู้เขียนรำพึงรำพันอยู่เช่นนี้ ช่างถูกอกถูกใจผู้เขียนเสียจริง ๆ แต่ข้าพเจ้ากลับคิดว่าการที่จะได้พบท่านอาจารย์มั่น ฯ ในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่เหลือจะพรรณนาถึงความซาบซึ้งตรึงใจ คล้ายกับจะพึงได้เห็นพระอรหันต์ก็ปานกัน นึกไปก็กระหยิ่มในใจ อยากจะพบหน้าท่านอาจารย์มั่น ฯ เสียโดยพลัน วันและเวลาช่างยาวนานเสียเหลือเกิน มากกว่าที่ข้าพเจ้าเดินทางมาเป็นเวลา ๓ เดือนเศษเสียอีก กับช่วง ๕ วันที่อยู่วัดสุทธาวาส เหมือนกับจะถ่วงเวลาหิวกระหายให้เยิ่นเย้อ

    ข้าพเจ้าดีใจอีกครั้งหนึ่งเมื่อเช้าวันนั้น อันถือว่าเป็นวันพิเศษ คือเป็นวันอาจารย์กับศิษย์กำลังจะเดินทางไป ซึ่งจะต้องได้ถึงที่ท่านอาจารย์มั่น ฯ พักอยู่ ใช้เวลา ๕ ชั่วโมง

    ขณะที่เดินไป ลูกศิษย์อาจารย์มิได้พูดกันถึงเรื่องอะไรเลย ต่างก้มหน้าเดินเอา ๆ อย่างไม่คิดถึงความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ส่วนข้าพเจ้านั้น มิได้ก้มหน้าเปล่า ๆ มีการวาดมโนภาพอยู่ในใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อนว่า

    ท่านอาจารย์คงจะมีร่างกายสูงใหญ่ สถานที่อยู่จะต้องกว้างขวางร่มรื่น มีพระผู้ทรงคุณวุฒิอยู่กับท่าน ห้อมล้อมคอยฟังธรรมจากท่านเป็นอันมาก พระภิกษุสามเณรที่อยู่นั้น คงจะอยู่ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง แต่คงจะได้รับประโยชน์มากมายเหลือล้น บริเวณลานวัดคงจะเรียบร้อยทุกอย่าง ไม่มีหยากเยื่อรกรุงรัง ผู้ที่มาฟังท่านอาจารย์มั่น ฯ เทศนา คงจะได้รับรสพระธรรมที่ยิ่งใหญ่

    ยิ่งวาดมโนภาพ ก็ยิ่งคิดไปถึงครั้งพระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ในเมื่อถึงกาลออกพรรษา จะมีภิกษุสามเณรมาจากทิศต่าง ๆ เข้ามาเฝ้าเพื่อทูลถามอรรถปัญหาต่าง ๆ และก็ได้รับประโยชน์มหาศาล บัดนี้ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้มีพระภิกษุสามเณรมาจากทิศต่าง ๆ ดูแต่เรากับอาจารย์ก็กำลังมา ข่าวว่ามีพระภิกษุสามเณรมาจากที่ต่าง ๆ ก่อนเราก็มี กำลังจะมาตอนหลังเราก็มี ดูก็จะเป็นการพิลึกกึกกืออยู่ไม่น้อย ดูก็จะเหมือนครั้งพุทธกาลเสียละกระมัง

    คิดไปคิดมา เอ... นี่จะคิดมากไปเสียแล้ว ทำไมจะนำเอาอาจารย์มั่นฯ ผู้เป็นเพียงพระสาวกมาเปรียบเทียบกับพระพุทธเจ้า ไม่ควรแม้ ถ้าไม่ปรียบอย่างนี้จะไปเปรียบอย่างไรจึงจะดี ก็ควรจะเปรียบกับสาวกบางองค์ แต่เราก็ไม่รู้ประวัติพระสาวกเหล่านั้น
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ตอนพระวิริยังค์พบกับพระอาจารย์มั่นแล้ว

    มโนภาพที่ข้าพเจ้ากำลังวาดไป ๆ อยู่นั้นได้สะดุดหยุดลง เมื่อพระอาจารย์ของข้าพเจ้าบอกว่า

    ถึงแล้ว วิริยังค์ โน่นยังไง บ้านโคก อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเรา และนี่ยังไง ทางเข้าไปวัดป่าที่ท่านอาจารย์มั่น ฯ พักอยู่

    เหมือนกับตัวลอยจะเหาะเสียแล้วเรา ดูให้มึนซู่ซ่าไปตามร่างกายคล้ายกับเกิดปีติในสมาธิอย่างไรก็อย่างนั้น ยิ่งใกล้เข้าไปก็ยิ่งเหมือนกับตกอยู่ในห้วงแห่งความปลื้มปีติอย่างไม่เคยมีมาก่อนเลย

    ข้าพเจ้าต้องยอมรับว่า ศรัทธาที่เกิดขึ้นจากศิษย์กับอาจารย์นี้ เป็นเรื่องมหัศจรรย์เหลือหลาย ได้แก่ตัวของข้าพเจ้า ขณะที่กำลังจะเหยียบย่างเข้าในบริเวณที่พักของท่านอาจารย์มั่นฯ เป็นความเชื่อตั้งแต่ยังไม่เห็นตัวท่าน เป็นธรรมตั้งแต่ยังไม่เห็นตัวท่าน เป็นความซาบซึ้งตั้งแต่ยังไม่เห็นตัวท่าน

    หวนระลึกถึงพระสาวกบางท่านแล้วมานมัสการพระพุทธเจ้า ยังมิทันได้เห็นพระพักตร์พระพุทธองค์ แม้เพียงนั่งอยู่ข้างคันธกุฎีเท่านั้น กำหนดจิตดูน้ำที่ตกชายคาเป็นนิมิตว่า น้ำตกลงมาแล้วก็หายไป เป็นฟองขึ้นแล้วก็หายไป ไม่ตั้งอยู่ได้นาน สังขารทั้งหลายก็เป็นเช่นเดียวกัน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ท่านพระสาวกรูปนั้นก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ แต่ก่อนที่จะพบพระพักตร์ของพระพุทธองค์ นี่ข้าพเจ้าก็จะเห็นเช่นนั้นหรืออย่างไร แม้ขณะที่จะก้าวย่างเข้าสู่ลานวัดที่พักก็ทำให้เกิดอาการผิดปกติ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ยากจะพูดออกมาว่าเป็นอย่างไร

    ถึงแล้ว ! ! ! ความรอคอยของผู้เขียนได้บรรลุจุดที่หมายอย่างสมบูรณ์ในเมื่อเข้าถึงที่พักและข้าพเจ้าต้องตกตะลึงนิดหน่อย เมื่อเห็นท่านอาจารย์มั่นฯ เป็นครั้งแรกของชีวิต ซึ่งท่านได้นั่งอยู่ที่ศาลาหลังเล็ก ชี้มือมายังอาจารย์ของข้าพเจ้าและผู้เขียน สั่งให้พระภิกษุรูปหนึ่งและสามเณรให้รีบมารับบริขาร ที่ผู้เขียนกับอาจารย์กำลังตะพายบาตรแบกกลด ความนึกความคิดไปต่าง ๆ นานาหายจากจิตไปแล้วโดยสิ้นเชิง กลับมาเป็นความเลื่อมใส

    ขณะที่มาถึงเป็นเวลาบ่าย ๕ โมงเย็นแล้ว และท่านอาจารย์มั่นฯ ได้สั่งให้พระเณรจัดบริขารนำไปที่กุฏิซึ่งได้จัดไว้เป็นอย่างดีล่วงหน้าแล้ว และพระอาจารย์ข้าพเจ้าได้พาผู้เขียนซึ่งขณะนี้ตัวเบาจริง ๆ เพราะบริขารที่ถูกตะพายมาถึง ๕๐๐ เส้น ได้ถูกปลดออกไปแล้ว เข้าไปกราบนมัสการท่านอาจารย์มั่น ฯ บนศาลาหลังเล็กซึ่งมุงด้วยหญ้าคา

    ประโยคแรกและน้ำเสียงครั้งแรกที่เป็นคำพูดของท่านอาจารย์มั่นฯ ที่เข้าสู่โสตประสาทของข้าพเจ้า ๆ ยังจำได้และจำได้แม่นยำ เพราะเป็นคำที่ซาบซึ้งอะไรเช่นนั้น

    “เออ เจ้าลูกศิษย์อาจารย์เหนื่อยแท้บ่อ” หมายความว่า “เหนื่อยมากนักหรือ”

    ท่านอาจารย์กงมาได้ตอบว่า “ไม่เหนื่อยเท่าไร พอทนได้”

    ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้ให้พวกเราไปสรงน้ำ มีพระภิกษุสามเณรได้จัดน้ำร้อนน้ำเย็นไว้พร้อม คอยรับพวกเรา ผู้เขียนสรงน้ำไปพลางคิดไปพลางว่า ข้อวัตรปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรที่อยู่กับพระอาจารย์มั่นฯ นี้ช่างเรียบร้อยและรู้ทุก ๆ อย่างยิ่งกว่าผู้ที่อยู่ในถิ่นเจริญที่ได้ศึกษาสูงเสียอีก

    แม้ว่าที่นี่จะเป็นบ้านนอกอยู่ในป่าดง ดูแค่ลานวัด แม้จะมีต้นไม้ปกคลุมอยู่หนาแน่น แต่ภายใต้ต้นไม้ที่เป็นลานจะถูกกวาดเตียนเรียบ ไม่มีใบไม้รกรุงรัง โอ่งน้ำทุกแห่งวางไว้อย่างมีระเบียบ กระทั่งฝาปิดโอ่ง ขันตักน้ำ แม้จะเป็นกระบวยซึ่งทำด้วยกะลามะพร้าว แต่ก็สะอาดเรียบร้อย โอ่งถูกขัดทั้งข้างนอกและข้างใน สะอาดสะอ้าน

    หลังจากสรงน้ำเสร็จแล้ว เข้าไปที่กุฏิที่จัดไว้แล้ว แม้จะเป็นกุฏิมุงหญ้าคา แต่สะอาดจริง ๆ แม้แต่ผ้าเช็ดเท้ายังพับเป็นระเบียบ แทบไม่กล้าเหยียบลงไปเลย เมื่อเข้าห้องยิ่งดูเป็นระเบียบ เพราะบริขารต่าง ๆ ถูกจัดไว้เรียบร้อย แม้กระทั่งบาตรตั้งแล้วเปิดฝา เพื่อไม่ให้อับและเหม็นกลิ่น ทั้งนี้เห็นจะเป็นเพราะภิกษุสามเณรทั้งหลาย ได้ถูกอบรมการปฏิบัติข้อวัตรต่าง ๆ อย่างดียิ่ง จึงเป็นอันว่า วัฒนธรรมของพระนี้มีอยู่แม้กระทั่งในป่าเขา ในท้องถิ่นป่าดงที่ห่างไกลความเจริญ

    เมื่อผู้เขียนได้กลับออกจากกุฏิ มองไปโดยทั่ววัด เห็นพระ-เณรทุกรูป ต่างก็เข้าที่จงกรมอยู่ตามกุฏิของตน เพราะกุฏิแต่ละหลังจะมีทางเดินจงกรมทุกหลัง ขณะนั้นบรรยากาศโดยทั่วบริเวณช่างสงบเอาจริง ๆ ต่างองค์ต่างก็มุ่งหวังเพื่อพระนิพพานโดยแท้

    แม้จะมองไปที่กุฏิอาจารย์มั่น ฯ ก็เห็นท่านกำลังเดินจงกรมอยู่เช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าก็เลยเข้าทางจงกรมต่อไป แม้จะเดินทางมาถึง ๒๐ กว่า ก.ม. แล้ว แทนที่จะพักกันวันนั้น แต่เมื่อเห็นทุก ๆ องค์เขาเข้าที่จงกรมหมดแล้วก็ต้องเข้ากับเขาต่อไป แต่ก็ไม่เห็นว่าจะเหน็ดเหนื่อยเลย เพราะขณะนี้มีปีติอยู่ในตัวแล้ว และเป็นความสำเร็จในชีวิตของความเป็นพระ อย่างที่จะต้องจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของตนเองด้วย ความหนักแน่นของจิตในขณะนี้ ดูเหมือนไม่มีอะไรจะมาเปรียบเทียบได้

    หลังจากเดินจงกรมเสร็จ พอท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านขึ้นกุฏิ พระภิกษุสามเณรก็หยุดจงกรม คอยสังเกตดูว่าท่านจะเข้าห้องเลย หรือท่านจะนั่งอยู่ข้างนอก ถ้าหากท่านนั่งอยู่ข้างนอก พระภิกษุสามเณรทั้งหลายก็จะรีบตามขึ้นไป เพื่อจะได้ฟังธรรมจากท่าน

    วันนั้นท่านได้มานั่งข้างนอก พระภิกษุสามเณรทั้งหลายก็ทยอยกันขึ้นไปที่กุฏิของท่าน

    ข้าพเจ้ามองเห็นอาจารย์กงมาผู้เป็นอาจารย์ของข้าพเจ้ากำลังเดินขึ้นไป ผู้เขียนก็เดินตามขึ้นไปบ้าง เป็นอันว่าการเดินทางแม้จะเหน็ดเหนื่อยก็ไม่ต้องคำนึงถึง ขึ้นไปเพื่อฟังธรรมจากท่านอาจารย์มั่น ฯ ซึ่งมันเป็นการรอคอยที่ออกจะนานพอดู ความตั้งใจก็ตั้งอย่างเที่ยงมั่นอยู่แล้ว

    เมื่อทุก ๆ องค์นั่งอยู่ในความสงบ ต่างก็ดูเหมือนจะพยายามสำรวมใจกันอย่างเต็มที่ เพราะเท่าที่สังเกตดู ทุก ๆ ท่านอยู่ในลักษณะเตรียมพร้อม หมายถึงพร้อมจะรับธรรมโดยอาการสงบเสงี่ยม สำรวมระวังแม้กระทั่งการเดินและการนั่ง น่าเลื่อมใสจริง ๆ ทำให้ผู้เขียนก็ต้องเตรียมพร้อมเช่นเดียวกัน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกของการพบท่านอาจารย์มั่น ฯ ซึ่งก็ได้รับแต่คำเล่าลือว่า ท่านมีความหนักแน่นในธรรมวินัย และมีพละกำลังจิตน่าเกรงขาม

    แต่ท่านกลับมีกิริยามรรยาทที่อ่อนน้อมละมุนละไม ทักทายปราศรัยกับอาจารย์ของข้าพเจ้าอย่างเป็นกันเอง คล้ายกับท่านได้คุ้นเคยกันมาตั้งเป็นสิบ ๆ ปี ทำให้ผู้เขียนคลายความตึงเครียดไปตั้งเยอะ ค่อย ๆ พอหายใจโล่งไปได้ เมื่อเห็นท่านคุยไปและยิ้มย่องผ่องใสเหมือนธรรมดา หลังจากท่านถามสารทุกข์สุกดิบกับอาจารย์ของข้าพเจ้าแล้ว ก็หันมาถามผู้เขียนว่า ได้มาพร้อมกันหรือ และมากันยังไง

    ผู้เขียนก็ตอบว่า

    “ครับ ! มากับอาจารย์ของกระผม เดินทางมาโดยเท้าตลอด เป็นระยะหลายร้อย ก.ม. !”

    ท่านยิ้ม แล้วก็ไม่พูดอะไรต่อไป หันไปทางภิกษุสามเณรทั้งหลายแล้วท่านก็เริ่มที่จะแสดงธรรม

    ตั้งแต่ ๒๐.๐๐ น. โดยประมาณ ถึง ๒๔.๐๐ น. เป็นการแสดงธรรมอย่างละเอียดอ่อน ในเนื้อความแห่งธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ซึ่งผู้เขียนยังไม่เคยฟังวิธีการอธิบายอย่างนี้มาก่อนเลย (ข้อความละเอียด ขอให้อ่านประวัติพระอาจารย์มั่น ฯ ที่ผู้เขียนได้เขียนไว้แล้ว) ตลอดเวลา ๔ ชั่วโมงเต็ม ซึ่งเป็นเวลามิใช่น้อยเลยสำหรับการแสดงธรรม ซึ่งท่านพูดอยู่ตลอดไม่มีเวลาหยุด

    ผู้เขียนและอาจารย์ของข้าพเจ้าก็กำลังเดินทางมาเหน็ดเหนื่อยมาก แต่ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านก็มิได้คำนึงถึงเหตุการณ์เหล่านั้น เอาธรรมเป็นใหญ่ ร่างกายช่างมัน ทรมานมัน นี้เป็นคำพูดของท่าน แต่เราทั้ง ๒ ก็ได้ถูกทรมานแล้วอย่างไม่ต้องมีการหลีกเลี่ยงได้ แต่การถูกทรมานในครั้งนี้ เป็นการทำโดยความเต็มใจทั้ง ๒ ฝ่าย คือผู้ถูกทรมานก็ไม่ย่อท้อ ผู้ทรมานก็ไม่ท้อถอย ก็เลยเข้ากันได้ เป็นอันว่าได้ต่อสู้กับกิเลสอย่างได้ผลคุ้มค่าที่สุด
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ สร้างวัดป่าวิสุทธิธรรม

    สร้างวัดป่าวิสุทธิธรรม
    <TABLE id=table18 border=0 width=150 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    กุฏิพระอาจารย์มั่น ที่เสนาสนะป่าบ้านโคก
    ปัจจุบันคือ วัดป่าวิสุทธิธรรม อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในปีนี้ (พ.ศ. ๒๔๘๕) ท่านพระอาจารย์มั่นได้จำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่าบ้านโคกกับพระอาจารย์กงมา ๑ พรรษา พร้อมกับพระเณรรูปอื่นๆ ได้แก่ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน (หลวงตาได้มอบตัวเป็นศิษย์และอยู่ฝึกหัดกัมมัฎฐานกับหลวงปู่มั่นเป็นครั้งแรกในปีนี้ ), พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท, พระพระอาจารย์สิงห์ จากบ้านหนองหลวง, พระอาจารย์พา, พระอาจารย์ทองปาน, พระอาจารย์สวัสดิ์, สามเณรอุ่น ( ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดร้างแห่งนี้ โดยมีหลวงปู่มั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยเป็นสามเณรรูปสุดท้ายที่หลวงปู่มั่นบรรพชาให้ ปัจจุบันคือหลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม มรณภาพแล้ว), สามเณรอี๊ด

    ในพรรษาถัดมา คือในปี ๒๔๘๖ ท่านพระอาจารย์มั่นได้ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านนามน ในปัจจุบันคือ วัดป่านาคนิมิตต์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์เนียมสหธรรมมิกของพระอาจารย์กงมา อยู่ห่างจากบ้านโคกประมาณ ๔ กิโลเมตร ในปีนั้นหลวงปู่บัวพาได้มาอยู่จำพรรษากับหลวงปู่กงมา และหลวงปู่อ่อน ที่วัดป่าบ้านโคกนี้ และในระหว่างพรรษา หลวงปู่กงมากับหลวงปู่อ่อน และหลวงปู่บัวพา ได้พร้อมใจกันไปรับการอบรมฟังธรรมองค์หลวงปู่มั่นสามวันต่อครั้งตลอดพรรษาอยู่มิได้ขาด เพราะสองวัดนี้ไม่ห่างไกลกันนัก

    <TABLE id=table23 border=0 width=150 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ภาพถ่ายพระอาจารย์มั่นที่วัดวิสุทธิธรรม
    </TD><TD>
    ต้นค้อที่อยู่ด้านหลังพระอาจารย์มั่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​















    ในระหว่างนี้พระอาจารย์กงมาได้พยายามวางรากฐานให้มีวัดป่าในแถบบ้านโคกนี้ ได้สร้างวัดใหม่อยู่ห่างจากที่เก่าประมาณ ๑ กิโลเมตร เนื่องจากที่เก่าอยู่ใกล้ทางสัญจรไปมาของผู้คน จึงไม่ค่อยสงบ เมื่อมาอยู่ที่ใหม่นี้ชาวบ้านจึงถวายที่ตั้งวัด ได้สร้างศาลาและกุฏิถวายพระอาจารย์มั่น ตั้งชื่อสำนักสงฆ์นี้ว่า "วัดป่าวิสุทธิธรรม" เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๔๘๕ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่พระอาจารย์มั่นได้มาจำพรรษา ณ บ้านโคก อันเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์กงมา และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงได้มาจำพรรษาที่วัดป่าวิสุทธิธรรมตามที่พระอาจารย์กงมาได้อาราธนานิมนต์ ในพรรษานี้มีพระเณรจำพรรษาร่วมกับท่าน ได้แก่ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร, พระอาจารย์หลอด ปโมทิโต, พระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโม, พระอาจารย์คำดี, พระอาจารย์มนู, พระอาจารย์บุญ, เณรดี, เณรได

    ณ วัดป่าวิสุทธิธรรมแห่งนี้ พระอาจารย์มั่นท่านได้ใช้ศาลาโรงธรรมที่พระอาจารย์กงมาสร้างขึ้นเป็นที่แสดงธรรมเทศนาอบรมศิษยานุศิษย์และพุทธบริษัท รวมทั้งเป็นที่ประชุมสงฆ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนของคณะกัมมัฎฐานให้ถูกต้อง บริเวณด้านขวาของศาลามีต้นค้อต้นใหญ่ยืนต้นอยู่ ต้นค้อนี้เป็นที่ที่พระอาจารย์มั่นถ่ายรูปยืนด้วย

    aìaìaìa ù aìaìaìaìa
    หลังออกพรรษาปี ๒๔๘๘ เสร็จฤดูกาลรับกฐิน พระอาจารย์ฝั้น ซึ่งได้ออกเที่ยวธุดงค์ไปในเขตเทือกเขาภูพาน ไปพักวิเวกตามสถานที่อันสงบตามเชิงเขาบ้าง ไปป่าทึบอันเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายต่าง ๆ บ้าง แล้วเลยขึ้นไปพักบนภูเขาใกล้ ๆ กับบ้านนาสีนวล (บริเวณที่เป็นวัดดอยธรรมเจดีย์ในปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่า เต็มไปด้วยเสือร้ายและสัตว์ป่านานาชนิด พักวิเวกอยู่ที่นั่นได้ประมาณเดือนเศษ ก็ลงมาแวะที่วัดป่าบ้านโคก (วัดป่าวิสุทธิธรรม) ได้ชวน พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ให้ร่วมธุดงค์ไปด้วยกัน จากนั้นเดินทางไปพักที่วัดป่าร้างใกล้กับบ้านหนองมะเกลือ ตำบลดงชนอีกประมาณเดือนเศษ จึงย้ายไปพักที่ป่าไผ่ บ้านธาตุดุม ห่างตัวเมืองสกลนครในราว ๔ – ๕ กิโลเมตร

    ครึ่งเดือนกว่า ๆ ต่อมา เมื่อทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นอาพาธอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ พระอาจารย์กงมากับ พระอาจารย์ฝั้นจึงรีบเดินทางไปเยี่ยม ปรนนิบัติท่านอยู่ในราว ๒ สัปดาห์ พระอาจารย์มั่นก็ทุเลาลง จึงเดินทางกลับไปพักที่ป่าไผ่บ้านธาตุดุมอีก และต่อมาได้ย้ายไปพักที่วัดร้างแห่งหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร คือวัดสระแก้ว วัดนี้ร้างพระเณรอยู่หลายปีมาแล้ว บริเวณวัดจึงเต็มไปด้วยป่ารกรุงรัง (ปัจจุบันปลูกสร้างเป็นโรงพยาบาลจังหวัดสกลนคร) ระยะแรกที่พระอาจารย์กงมา กับพระอาจารย์ฝั้น พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรอีกบางรูป ได้เข้าไปพักในวัดร้างแห่งนี้ ภายในวัดมีกุฏิร้างจะพังมิพังแหล่หันหน้าเข้าหากันอยู่ ๒ หลัง ระหว่างกลางเป็นชานโล่ง ปูพื้นติดต่อถึงกัน พระอาจารย์ทั้งสองท่านต่างก็พักอยู่รูปละหลัง พระภิกษุสามเณรไปพักรวมกันอยู่อีกหลังหนึ่ง คนละด้านกับพระอาจารย์ ส่วนอีกหลังหนึ่งนั้น จัดไว้สำหรับเป็นที่ฉันจังหันรวม พระอาจารย์กงมาพักอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก็เดินทางกลับไปวัดป่าวิสุทธิธรรม
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ สร้างวัดดอยธรรมเจดีย์

    สร้างวัดดอยธรรมเจดีย์
    <TABLE id=table20 border=0 width=150 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ทางเข้าวัดดอยธรรมเจดีย์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระอาจารย์กงมาพักอยู่ที่วัดป่าวิสุทธิธรรมได้ระยะหนึ่ง เมื่อท่านเห็นว่าการอยู่ใกล้บ้านเกินไป การบำเพ็ญเพียรก็ไม่สู้จะได้ผลนัก จึงได้เที่ยวขึ้นไปดูสถานที่บนภูเขา ท่านก็ได้พบสถานที่ๆ เหมาะสมแห่งหนึ่งในเทือกเขาภูพาน สถานที่นั้นอยู่ใกล้ๆ กับบ้านนาสีนวลประมาณ ๔ กม. ท่านก็ได้พบถ้ำ และมีน้ำผุดพอได้อาศัย

    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ท่านจึงเริ่มพาคณะสานุศิษย์ขึ้นไปจำพรรษา และพาประพฤติปฏิบัติในทางด้านจิตใจเป็นใหญ่ และท่านได้ปฏิบัติแม้จะเป็นพระธรรมวินัยภายนอก ท่านได้ถืออย่างเคร่งครัด เช่นการฉันหนเดียว ฉันในบาตรเป็นต้น ท่านได้รักษาเป็นกิจวัตรทีเดียว ไม่เคยอนุโลม ณ ที่ใด สถานใด ส่วนการปฏิบัติภายในด้านจิต ท่านได้ทำให้เป็นแบบอย่างแก่ศิษย์โดยการบำเพ็ญของท่าน เมื่อศิษย์ใดอยู่กับท่านๆ ต้องแนะนำ พยายามมิให้เกิดความเหนื่อยหน่ายต่อข้อปฏิบัติ

    ตลอดเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น ท่านอยู่ด้วยการปฏิบัติอย่างจริงจังและปรารภความเพียรอยู่เนืองๆ

    ถ้ำที่พระอาจารย์กงมาไปพบนั้น ชื่อว่า ถ้ำเสือ แต่เดิมเป็นที่อาศัยของเสือ ซึ่งสมัยนั้นมีอยู่ชุกชุม ท่านเล่าไว้ว่า...

    “ภายในถ้ำเสือ พวกมันอยู่กันเป็นครอบครัวเลยทีเดียว ท่านเคยเห็นมันออกมาจากถ้ำ บางครั้งก็ ๔ ตัว บางคราว ๕-๖ ตัว ก็มี”

    เวลามันออกไปจากถ้ำ ก็หมายความว่า “มันต้องลงไปจับวัวของชาวบ้านมากินเสมอๆ มันสามารถล้มวัวแล้วลากเอามาได้เพราะมันช่วยกัน”

    เมื่อท่านไปถึงก็ได้ปักกลดลง ณ ปากถ้ำ แล้วท่านก็เอ่ยกับพวกเสือโคร่งให้รับรู้ว่า...

    “พวกเจ้าจงไปอยู่ที่อื่นเถิด เราจะมาขอใช้สถานที่แห่งนี้ บำเพ็ญภาวนาธรรม และเราก็ได้ปักกลดอยู่ที่นี่แล้ว”

    ท่านพูดจบก็เข้าที่เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไป...

    พวกเสือที่อยู่ในถ้ำ ได้ยินท่านพูดประกาศให้รู้อย่างนั้นแล้ว มันก็มาร้องอยู่ต่อหน้าท่าน พระอาจารย์กงมา ท่านก็นั่งหลับตาทำสมาธิเฉยอยู่ ท่านเล่าว่า...

    มันร้องครวญครางอยู่เช่นนั้นตลอด ๗ วัน เพราะมันหวงถ้ำของมัน
    <TABLE id=table21 border=0 width=150 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    บริเวณวัดดอยธรรมเจดีย์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    แต่เสือก็ยืนร้องอยู่ใกล้กับตัวท่านอย่างนั้นเอง ไม่สามารถเข้ามาถึงตัวท่านได้ ในที่สุดพวกเสือโคร่งเหล่านั้นก็ลงไปอาศัยอยู่เชิงเขาต่อไป ส่วนพระอาจารย์กงมา ได้พาคณะลูกศิษย์ของท่านปฏิบัติธรรมจนได้รับความสงบเยือกเย็นเป็นอย่างยิ่ง

    ต่อมาพระอาจารย์วิริยังค์ได้นำสามเณรสนธิ์ ไปฝากไว้เพื่อปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์กงมา บนถ้ำเสือเทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนคร

    อยู่มาคืนหนึ่ง เวลาดึกสงัดแล้ว ผู้ใหญ่อ้อม เป็นคนอยู่ที่บ้านนาสีนวล มีความโกรธเสือโคร่งที่ไปลักกินวัวของตนไปตัวหนึ่งแต่มันกินไม่หมด ผู้ใหญ่อ้อมรู้ว่า มันจะต้องมากินซากอีก ด้วยความโกรธ แกจึงนำหน้าไม้ติดยางน่อง มาคอยดักยิงเสือ โดยตัวของผู้ใหญ่อ้อมขึ้นไปรออยู่บนยอดไม้

    ยามดึกสงัดนั้น เป็นเวลาเดียวกันกับท่านพระอาจารย์กงมา กำลังนั่งสมาธิภาวนาอยู่ในถ้ำ ผู้ใหญ่อ้อมคาดคิดไว้ถูกต้อง ยามดึกสงัดเสือตัวดังกล่าวก็ออกมากินซากวัวตัวนั้นจริงๆ พอผู้ใหญ่อ้อมเห็นเสือ ก็ตกใจสุดขีด ! มือไม้สั่นจนหน้าไม้ที่จับไว้นั้น หลุดมือตกลงมายังพื้นดิน ผู้ใหญ่อ้อมกลัวมาก นั่งกอดคบไม้เนื้อตัวสั่นเทาไปหมด ยิ่งดึกก็ยิ่งกลัว !

    ฉะนั้นอะไรๆ ก็ไม่ดีเท่าเอาเสียงเข้ามาเป็นเพื่อน แล้วก็ส่งเสียงร้องโหวกเหวกขึ้น เพื่อขอความช่วยเหลือ

    ส่วนเสือโคร่งตัวนั้น มันก็ไม่สนใจเสียงของผู้ใหญ่อ้อม นอกจากก้มหน้าก้มตากินซากวัวอย่างสบายใจ...ท่ามกลางแสงเดือนและสายลม

    เสียงที่ผู้ใหญ่อ้อมร้องขึ้นสุดเสียงในชีวิตที่เกิดมาได้ผลมาก เพราะได้ยินไปถึงพระอาจารย์กงมา ที่กำลังเจริญสมาธิภาวนาอยู่ ท่านเข้าใจว่า คนชาวป่าดงจะหลงทางร้องเรียกขอความช่วยเหลือ

    ท่านพร้อมด้วยสามเณรสนธิ์ สุสนฺธิโก รีบออกจากถ้ำตามเสียงนั้นไป สามเณรสนธิ์คว้าตะเกียงรั้วติดมือไปด้วย เมื่อเดินใกล้ต้นเสียงที่ร้องเรียก จนถึงที่เสือกำลังนอนกินซากวัวอย่างเพลิดเพลินอยู่

    แต่ท่านพระอาจารย์กงมา และสามเณรสนธิ์ก็ยังไม่เห็นเสือที่กำลังนอนอยู่ใกล้ๆ เท้าของท่าน

    ผู้ใหญ่อ้อมอยู่บนต้นไม้มองเห็นดังนั้น ก็รีบร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า...

    “พระอาจารย์ นั่นเสืออยู่ข้างหน้าท่าน”

    ขาดคำของผู้ใหญ่อ้อม สามเณรสนธิ์ก็เหลือบไปเห็นเสือนอนอยู่ตรงนั้นจริงๆ ทันทีสามเณรสนธิ์มีความรู้ดีกว่า ท่านสามารถวิ่งได้เร็วที่สุดในโลกก็คงเป็นครั้งนี้เท่านั้น สามเณรสนธิ์วิ่งตรงไปยังกุฏิที่สร้างไว้ชั่วคราวตรงปากถ้ำเสือนั้น

    ทางที่สามเณรสนธิ์วิ่งไปนั้น ปกติแล้วก็รกไปด้วยก้อนหินมองดูระเกะระกะไปหมด แต่ละก้อนก็สูงพอประมาณ ระหว่างทางก็ยังมีหมู่ไม้ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปบนภูเขา อีกทั้งยังมีเหวลึกลงไปอีก แต่สามเณรสนธิ์ก็สามารถทำสถิติ วิ่งจนตะเกียงหลุดหายไป แต่มือของท่านก็ยังกำหูตะเกียงไว้แน่นเป็นชิ้นส่วนสุดท้ายของตะเกียงที่เหลืออยู่เท่านั้นแล้วเข้ากุฏิปิดประตูลงกลอนนอนตัวสั่นไปทั้งคืน ส่วนท่านพระอาจารย์กงมา มองเห็นเสือ ท่านก็เอาไม้เท้าแตะสะกิดเสือให้รู้สึกตัวแล้วๆ กระโดดหนีไป

    สมัยที่พระอาจารย์กงมา อยู่จำพรรษาบนเทือกเขาภูพานสมัยนั้นเสือชุกชุมมาก แต่ละตัวก็น่าเกรงขามเพราะตัวโตมาก พระอาจารย์กงมาและลูกศิษย์ อยู่จำพรรษาไปนานๆ เข้า สามารถอยู่คลุกคลีกับเสือโคร่งทุกตัว เสือบางตัวจะรู้เวลาการประพฤติปฏิบัติของท่านด้วยซ้ำไป

    เวลาท่านบำเพ็ญสมณธรรม เสือบางพวกจะลงไปอยู่เชิงเขาบางพวกก็ขึ้นไปอยู่บนยอดเขาสูงและไม่เคยที่จะมาส่งเสียงรบกวนขณะท่านอยู่ในสมาธิ ลักษณะคล้ายเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้ท่าน จนเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์แก่ผู้เดินทางไปพบเห็น หรือลูกศิษย์ลูกหาของท่านเป็นอย่างยิ่ง

    เวลาเช้าของทุกๆ วัน ท่านพระอาจารย์กงมา ลงจากเขาเพื่อเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านใหญ่ ซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ ๖ - ๗ กิโลเมตร บรรดาเสือลายพาดกลอนทั้งหลาย มันจะพากันเดินตามหลัง ติดสอยห้อยตามไป ส่งท่านถึงชายป่า ก่อนจะถึงทางเข้าหมู่บ้าน แล้วมันก็จะหมอบนอนรอท่านอยู่ตรงนั้น

    เมื่อท่านพระอาจารย์กงมา กลับจากบิณฑบาต พอมาถึงชายป่ามันก็จะพากันเดินตามหลังท่านมา บางตัวก็หยอกล้อกันตามประสาสัตว์ตลอดทางจนถึงถ้ำ

    “มันจะทำอยู่อย่างนั้นทุกวัน บางวันก็ ๔ ตัว บางวันก็ ๕ ตัว

    มีเรื่องเล่าจากผู้ใกล้ชิดว่า...

    “เสือลายพาดกลอนนี้ ดูกิริยามันแล้วเหมือนรู้ภาษาคน เพราะเมื่อพระอาจารย์กงมา ได้อาหารจากบิณฑบาตแล้ว ท่านก็จะนั่งฉันอยู่ต่อหน้ามัน พวกเสือเหล่านั้นมันจะนอนหมอบเฝ้าเลย พอท่านฉันเสร็จแล้ว ท่านจะปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนเล็กๆ โยนให้มันกิน มันจะหมอบกินอย่างเรียบร้อย ดูแล้วเหมือนท่านเลี้ยงสุนัขไว้ฉะนั้น พอมันกินเสร็จ เห็นว่าท่านพระอาจารย์ล้างบาตร มันก็จะพากันเดินหายไปในราวป่า”

    นี่ถ้าไม่ใช่อำนาจกระแสจิตและพรหมวิหารธรรม ที่พระอาจารย์เจริญอยู่เป็นนิจแล้ว เห็นทีเสือพวกนั้นจะไม่มานั่งหมอบ นอนหมอบอยู่เช่นนั้นเป็นแน่ เพราะสัญชาตญาณสัตว์ย่อมเกรงกลัวภัยเหมือนมนุษย์เช่นกัน มันรู้ว่า สิ่งไหนเย็น สิ่งไหนร้อน ความร่มเย็นสันติสุขนั้นไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ย่อมมีความต้องการเหมือนกันหมด

    ขณะที่ท่านได้อยู่วัดดอยธรรมเจดีย์นั้น ก็มีทั้งอุบาสก อุบาสิกา ภิกษุสามเณร ณ ที่ใกล้และที่ไกลได้เข้าไปศึกษาธรรมะกับท่าน นับวันมีแต่มากขึ้นทุกๆ ปีเป็นลำดับ พระเถระผู้ที่ได้รับอบรมกับท่านที่วัดดอยธรรมเจดีย์ ก็มี...

    <TABLE id=table25 border=0 width=150 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์อว้าน เขมโก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ๑. พระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโม (เจ้าอาวาสวัดวิสุทธิธรรม ปัจจุบัน)
    ๒. พระอาจารย์ถวิล จิณฺณธมฺโม
    ๓. พระอาจารย์แบน ธนากโร (เจ้าอาวาลวัดดอยธรรมเจดีย์ ปัจจุบัน)
    ๔. พระอาจารย์สนธิ์ สุสนฺธิโก (พระครูสังฆรักษ์อนุสนธิ์)
    ๕. พระอาจารย์อว้าน เขมโก (เจ้าอาวาสวัดป่านาคนิมิตต์ บ้านนามน ปัจจุบัน)

    พระภิกษุสามเณรผู้อาวุโสยังน้อยก็มีอีกมากท่าน ที่พากันมาศึกษาและปฏิบัติ ต่างก็ได้รับผลสมความมุ่งหมายไปแทบทุกท่านทีเดียว

    ส่วนอุบาสกอุบาสิกา ตั้งแต่จังหวัดสกลนครจรดจังหวัดนครพนม ทั้งบ้านใหญ่น้อยรอบภูเขานั้น หาทางเดินตั้ง ๑๐ กว่า ๒๐ กิโลเมตร ก็พากันมาทำบุญและศึกษาธรรม มิใช่ขึ้นรถไป แต่เขาเหล่านั้นเดินไปโดยเท้าพากันไปทำบุญกัน ณ ที่วัดดอยธรรมเจดีย์อย่างเนืองแน่น บริเวณภูเขานั้นกว้างขวางมาก ไม่ต้องลาดปูนซีเมนต์ แต่ว่าหินลาดสวยงามยิ่งกว่าปูนซีเมนต์ เวลาประชาชนไปทำบุญบริเวณแคบไปหมด ยิ่งมาปีสุดท้ายยิ่งมากนับเป็นประวัติการณ์ทีเดียว

    นอกจากนั้น คนทางไกล เช่นกรุงเทพฯ ระยอง นครราชสีมา อุบลฯ เป็นต้น ก็หลั่งไหลกันมาไม่ขาด เขาเหล่านั้นล้วนแต่มาบำเพ็ญบุญและศึกษาธรรมปฏิบัติกันทั้งนั้น

    เกี่ยวกับการก่อสร้าง นับเป็นสิ่งอัศจรรย์มาก เพราะสถานที่ที่ท่านได้เลือกเอา เป็นวัดดอยธรรมเจดีย์นี้ เป็นสถานที่มีวิวทิวทัศนียภาพที่น่าชมกลมกลืนกับการก่อสร้าง ท่านช่างจัดระเบียบกุฏิ ศาลา ทำนบน้ำ ทำสระเขียวขจี วิวต่างๆ นั้น เมื่อเข้ากันกับปูชนียสถานก็ดูราวกับว่าเทพยดาสร้าง มีทั้งพระพุทธรูปอยู่ในถ้ำองค์หนึ่ง พระไสยาสน์องค์ใหญ่ พระปางเลไรยะกะ มีต้นจันไดได้เกิดขึ้นตามที่ต่างๆ เหมือนกับคนประดับประดาตกแต่งฉะนั้น

    อันบุคคลใดได้ไปพบเห็นหรือได้อยู่ จะรู้สึกเหมือนอยู่ในที่ประหลาดมหัศจรรย์ ไม่คิดถึงบ้านอยากจะอยู่นานๆ ทั้งยังเป็นที่สงบสงัดจริงจัง ยากนักที่จะพบเห็นเช่นนี้ คงจะมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้นในประเทศไทย การก่อสร้างที่ท่านได้พาทำมาเป็นเวลานาน ๑๗ ปีนั้น นับว่าพอเพียงแก่ภิกษุสามเณรทั้งหลายที่อยู่ จะอยู่ต่อไปภายหลังโดยไม่ต้องลำบาก ในการก่อสร้างอีกต่อไป

    นับว่าท่านอาจารย์ได้มาสร้างศักดิ์ศรี ให้แก่บ้านเกิดของท่านได้อย่าง

    สมบูรณ์ทุกประการ คือท่านได้แนะนำข้อปฏิบัติให้แก่ญาติโยมของท่าน จนบังเกิดผลเป็นหลักฐานไว้ภายในอย่างมั่นคง ได้สร้างวัดในภูเขาไม่ไกลบ้านท่านนัก เพื่อให้เป็นสำนักปฏิบัติแก่สมณะผู้ต้องการพ้นทุกข์อย่างจริงจัง

    ได้สร้างวัดใกล้บ้าน เพื่อผู้มีอายุมากจะได้มาปฏิบัติได้สะดวกไม่ต้องไปไกล ได้สร้างปูชนียวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์ไว้ ณ ที่สำคัญ คือ วัดดอยธรรมเจดีย์ อันจักเป็นปูชนียวัตถุชิ้นสำคัญต่อไปในอนาคต ทั้งเป็นที่อยู่ ณ ไม่สู้ไกลจากบ้านท่านนัก

    ได้สร้างถนนรถยนต์ยาว ๖ กิโลเมตร ขึ้นภูเขาไปยังวัดดอยธรรมเจดีย์ได้สำเร็จ เพื่อจะได้เป็นทางคมนาคมไปสู่ปูชนียวัตถุชิ้นสำคัญนั้น

    ขอกล่าวย้ำถึงพระพุทธรูปไสยาสน์นั้นงามเป็นที่หนึ่ง ข้าพเจ้าไม่เห็นพระพักตร์องค์ใดที่จะงามเท่าเลย นัยว่าเป็นยอดทีเดียว นี้ขอชมด้วยความจริงใจ

    การบำเพ็ญประโยชน์ของท่านอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ดังที่ได้กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งใน ๑๐ ส่วน นับว่าท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ทั้งแก่ผู้อื่นทั้งทางไกลทางใกล้ บำเพ็ญประโยชน์เฉพาะตัวของท่านเอง และบำเพ็ญประโยชน์แก่ญาติของท่านในวาระสุดท้าย

    <TABLE id=table24 border=0 width=150 align=left><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    กิจกรรมที่ท่านได้บำเพ็ญมานี้ นับว่าท่านได้บำเพ็ญทั้ง ๓ ประการ คือ โลกตฺถจริยา อตฺตตฺถจริยา ญาตตฺถจริยา โดยสมบูรณ์ ซึ่งในบรรดาพระอาจารย์ด้วยกันแล้ว จะหาทำได้เช่นท่านนั้นหาได้ยากทีเดียว

    เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ท่านได้ทำการอุปสมบท พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ณ พัทธสีมาวัดศรีโพนเมือง จ.สกลนคร โดยมีท่านเจ้าคุณ พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโลเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    พ.ศ. ๒๔๙๒ ในพรรษาสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ท่านมีอาการไข้ไอเรื้อรังมาตลอด ท่านได้บอกให้ศิษย์ทั้งหลายให้ทราบว่า การเจ็บป่วยของท่านครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงแต่ลมหายใจที่จะรอวันตายไปเท่านั้น เช่นเดียวกับไม้ที่ตายยืนต้น แม้จะรดน้ำพรวนดินเพื่อให้ผลิดอกออกใบ ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ รออยู่พอถึงวันโค่นล้มลงจมดินเท่านั้น

    ข่าวการอาพาธของท่านได้แพร่กระจายออกไป ใครทราบข่าว ไม่ว่าพระภิกษุสามเณรหรือฆราวาส ก็หลั่งไหลพากันมาเยี่ยมมิได้ขาดสาย

    อาการอาพาธของหลวงปู่มั่นเริ่มหนักขึ้นเป็นลำดับ พระภิกษุสามเณรในวัด ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาไม่ได้พากันนิ่งนอนใจ จึงได้จัดเวรคอยดูแลหลวงปู่มั่นบนกุฏิของท่าน ๒ รูป และใต้ถุนกุฏิ ๒ รูปมิได้ขาด ในช่วงนี้เองพระพวงก็ได้สลับผลัดเปลี่ยนกับพระภิกษุรูปอื่นๆ คอยปรนนิบัติหลวงปู่มั่นโดยตลอด

    พอออกพรรษา ครูบาอาจารย์พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในที่ต่าง ๆ ก็ทยอยมาเยี่ยมท่านมากขึ้นเป็นลำดับ พระอาจารย์กงมาเอง เมื่อได้ทราบข่าวก็รีบเดินทางมาเฝ้าดูอาการ เช่นเดียวกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่องค์อื่น ๆ เช่น พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นต้น อาการของท่านก็หนักเข้าไปทุกวัน ศิษยานุศิษย์รุ่นอาวุโสได้เรียกประชุมบรรดาศิษย์ทั้งหลาย เพื่อเตือนให้ทราบถึงอาการของท่าน และแจ้งให้ทราบว่าหลวงปู่มั่น ท่านได้ดำริที่จะให้นำตัวท่านไปที่สกลนคร ไม่อยากมรณภาพที่นี่ เพราะจะทำให้บรรดาสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายที่นี่ต้องตายไปด้วย เนื่องจากจะต้องมีคนจำนวนมากมาร่วมงาน จะต้องฆ่าสัตว์เป็นอาหาร

    บรรดาญาติโยมก็ได้ช่วยกันเตรียมแคร่เพื่อหามท่านจากวัดป่าบ้านหนองผือไปสกลนคร โดยได้แวะพักระหว่างทางที่วัดป่าดงภู่ เป็นเวลา ๙ วัน บรรดาญาติโยมในจังหวัดสกลนคร อาราธนานิมนต์ท่านเดินทางต่อ ก่อนเดินทางได้นำแพทย์ไปฉีดยาให้หลวงปู่มั่นเพื่อระงับเวทนา เมื่อฉีดยาเสร็จก็นำท่านขึ้นรถไปต่อยังวัดป่าสุทธาวาส อ.เมืองสกลนคร ระหว่างการเดินทางท่านไม่รู้สึกตัวเลย จนกระทั่งเวลาประมาณ เที่ยงคืนถึงตีหนึ่ง (ตรงกับวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๒) ในคืนนั้นท่านก็มรณภาพอย่างสงบ ยังความโศกเศร้าเสียใจของบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายทั้งพระและฆราวาส นับเป็นการสูญเสียครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของพุทธศาสนิกชนไทย

    หลังจากในงานประชุมเพลิงศพท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดป่าสุทธาวาส เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2493 แล้วท่านอาจารย์กงมาก็กลับไปจำพรรษาที่วัดดอยธรรมเจดีย์

    เมื่อออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๙๓ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พร้อมด้วยพระอาจารย์ฝั้นได้พาพระภิกษุสามเณรอีกบางรูป เดินธุดงค์ไปจังหวัดจันทบุรี ตามคำนิมนต์ของพระอาจารย์วิริยังค์ไปในงานที่วัดดำรงธรรม ในเขตอำเภอขลุง การเดินทางครั้งนี้ ท่านกับคณะได้นั่งรถยนต์โดยสารจากสกลนครไปขึ้นรถไฟที่อุดรฯ เข้ากรุงเทพฯ แล้วนั่งรถโดยสารจากกรุงเทพฯ ไปจันทบุรีอีกทอดหนึ่ง

    ระหว่างพักที่วัดดำรงธรรม อำเภอขลุง ได้มีประชาชนสนใจเข้าฟังธรรมและรับการอบรมเป็นจำนวนมาก ต่อมา พระอาจารย์วิริยังค์ได้นิมนต์ไปพักที่สำนักสงฆ์บ้านกงษีไร่ ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ลึกเข้าไปในป่า ท่านได้พักอยู่ที่นั้นหลายวัน แล้วจึงกลับไปพักที่วัดดำรงธรรม

    ต่อมาอีกหลายวัน ก็มีโยมนิมนต์ท่านและคณะไปพักวิเวกบนเขาหนองชึม อำเภอแหลมสิงห์ พักอยู่ที่นั่นได้ประมาณครึ่งเดือนก็มีโยมนิมนต์ท่านกับคณะไปพักที่ป่าเงาะ ข้างน้ำตกพริ้วอีกหลายวัน ซึ่งที่นั่นมีญาติโยมเข้ารับการอบรมในข้อปฏิบัติกันเป็นจำนวนมากตามเคย หลังจากนั้น จึงรับนิมนต์ไปพักตามป่าตามสวนของญาติโยมอีกหลายแห่ง

    การเดินทางกลับ พระอาจารย์กงมา พร้อมด้วยพระอาจารย์ฝั้น และคณะได้แวะตามสถานที่ต่าง ๆ อีกหลายแห่ง ครั้งสุดท้ายได้ไปพักที่วัดเขาน้อย ท่าแฉลบ เพื่อรอเรือกลับกรุงเทพฯ พักที่วัดนั้นประมาณ ๙ – ๑๐ วัน จึงได้ลงเรือมาถึงกรุงเทพฯ ในตอนเช้าของวันใหม่ รวมเวลาที่พักอยู่ในจันทบุรีเกือบ ๓ เดือน

    ในปี ๒๔๙๔ พอออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์วิริยังค์ได้นิมนต์พระอาจารย์กงมา และพระอาจารย์ฝั้นไปร่วมงานที่วัดดำรงธรรม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี อีกครั้งหนึ่ง เสร็จงานวัดนั้นแล้ว ท่านได้ไปพักวิเวกอยู่ในป่าข้าง ๆ น้ำตกพริ้ว และได้มีญาติโยมนิมนต์ไปพักตามที่ต่าง ๆ อีกหลายแห่งตลอดระยะเวลาร่วม ๒ เดือน

    หลังออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พร้อมด้วยพระอาจารย์ฝั้น มีกิจนิมนต์ลงไปกรุงเทพฯ เสร็จกิจแล้วได้เลยไปจันทบุรีอีกครั้งหนึ่ง กลับจากจันทบุรีได้แวะเข้าพักที่วัดอโศการาม

    ก่อนจะมรณภาพ หลวงปู่กงมาได้พยากรณ์เรื่องการมรณภาพของตัวท่านเองให้ศิษย์ฟังล่วงหน้านานแล้ว ว่าท่านจะมรณภาพด้วยรถ และก็เป็นเช่นนั้นจริง คือ ท่านประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ ขณะเดินทางไปงานนิมนต์แห่งหนึ่ง ที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ ได้นำความเศร้าโศกมาสู่บรรดาศิษยานุศิษย์และชาวพุทธเป็นอันมาก ถวายเพลิงศพท่านในวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ณ วัดดอยธรรมเจดีย์ เทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนคร สิริรวมอายุได้ ๖๐ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วัน ในวันถวายเพลิงศพท่านมีพระเณรและพระเถระในสายหลวงปู่มั่นมาร่วมงานจากทุกสารทิศ บรรยากาศเป็นไปด้วยความสงบ เรียบง่าย ต่างจากทุกวันนี้ เมื่อถึงเวลาถวายเพลิงศพ คณะศิษย์ได้เคลื่อนศพของท่านจากศาลาการเปรียญไปตั้งที่เมรุ ก่อนถึงพิธีถวายเพลิงศพ ได้มีครูบาอาจารย์พระภิกษุสามเณรขึ้นรวมกันที่ปะรำพิธีจำนวนประมาณ ๕๐๐ รูป มีท่านหลวงปู่เทสก์ เทสฺรงฺสี เป็นประธานสงฆ์ นายวัน คมนามูล ได้ถวายฉลากสิ่งของที่นำมาถวายพระ ให้พระเณรจับฉลาก องค์ไหนถูกอะไรก็นำของถวาย เสร็จจากการมาติกาบังสุกุลและถวายสิ่งของแก่พระภิกษุสามเณรแล้ว ก็เป็นพิธีถวายเพลิงศพ ภายหลังจากถวายเพลิงศพแล้ว ได้ยินว่าอัฐิธาตุของท่านเป็นพระธาตุมากมาย หลากสี หลากวรรณะ เป็นที่น่าอัศจรรย์
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปฏิปทาของหลวงปู่กงมา

    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และ มีปฏิปทาอันอุกฤษฏ์ ซึ่งมีลูกศิษย์ที่เจริญรอยตาม และ เป็นที่ยอมรับในวงศ์พระกรรมฐาน ก็ได้แก่ หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก ปทุมธานี , หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล ซอยสุขุมวิท101 เขตพระโขนง กทม., หลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม (หลานพระอาจารย์กงมา) วัดป่าวิสุทธิธรรม อ.โคกศรีสุพรรณ สกลนคร, หลวงปู่แบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ สกลนคร , หลวงปู่แสวง อมโร วัดป่าชัยวารินทร์ อ.บ้านไผ่ ขอนแก่น , หลวงปู่อว้าน เขมโก วัดป่านาคนิมิตร อ.โคกศรีสุพรรณ ขอนแก่น , หลวงปู่อ้ม สุขกาโม วัดถ้ำผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร และ คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ สำนักชีบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี มุกดาหาร เป็นต้น

    ปฏิปทาของหลวงปู่กงมา ที่ลูกศิษย์เลยเล่าไว้ได้แก่

    หลวงปู่แบน เคยเทศน์ว่า

    "สมัยอยู่กับหลวงปู่กงมา ที่วัดดอยธรรมเจดีย์เป็นป่าเป็นเขา ของขบของฉัน ไม่ได้มีอุดมสมบูรณ์อย่างนี้ งบน้ำอ้อยก้อนเดียว ปริแบ่งกันฉัน 3 - 4 รูป พวกน้ำตาล กาแฟ น้ำปานะ ไม่มีให้เห็น เพราะฉะนั้นเวลาฉันอะไรให้พิจารณา อย่าติดในรสอาหาร"

    หลวงปู่แสวง อมโร เคยเล่าประวัติสมัยอยู่กับหลวงปู่กงมาไว้ว่า

    "สมัยไปอยู่กับหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ กับท่านอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโม ท่านให้เราไปอยู่หน้าถ้ำเสือ เราก็ไม่รู้ว่าเป็นเสือแม่ลูกอ่อน จะทำอย่างไร เราไปปักกลดขวางทางเข้าออก มันก็หวงลูกของมัน แผ่ฤทธิ์ใหญ่ กระโดดข้ามกลดของเรา เราเลยนึกถึงคำครูบาอาจารย์เคยสอน แล้วอธิษฐานว่า

    "เรามาบำเพ็ญภาวนาไม่ได้มาเบียดเบียนอะไรเธอ แต่ถ้าเราเคยพยาบาทอาฆาต ก็ขอให้เธอจับเราเป็นอาหารเลย เราขออุทิศส่วนกุศลให้เธอ ต่อไปภายหน้าเธอจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มาบวชบำเพ็ญกุศลอยู่กับเรา"

    มันก็ไม่มีอะไร มันเป็นเสือเทวดา เสือภูมินั้นแหละ มาลองใจเรา
     

แชร์หน้านี้

Loading...