ประวัติโดยย่อของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย paang, 27 ตุลาคม 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    [​IMG]

    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เป็นชาวญี่ปุ่น เป็นสัทธิวิหาริกรุ่นแรก
    ของพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) ท่านบวชมาได้ 19 พรรษา
    ได้จำพรรษาที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ได้อุปฐาก
    ดูแลหลวงพ่ออย่างใกล้ชิดเป็นเวลานานด้วยความเคารพบูชาอย่างสูง
    ท่านอยู่ในคณะผู้บุกเบิกวัดป่านานาชาติซึ่งมี พระอาจารย์สุเมโธ
    (ปัจจุบันคือพระสุเมธาจารย์) เป็นหัวหน้าคณะ

    ท่านบำเพ็ญเพียรมาหลายรูปแบบ และธุดงค์มาแล้วหลายแห่ง
    ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งที่อุดมสมบูรณ์และที่ทุรกันดาร
    ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุนันทวนาราม บ้านท่าเตียน
    ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นวัดสาขา
    ของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี


    การที่ท่านพระอาจารย์ได้มาประเทศไทย และได้บวชเป็นศิษย์ต่างชาติท่านหนึ่ง
    ของหลวงพ่อพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) นั้น เป็นเรื่องที่ "เป็นไปเอง" ตั้งแต่เด็กๆ

    ท่านคิดเสมอว่า "ชีวิตนี้น่าจะมีอะไรดีกว่านี้" ในที่สุดก็ได้ออกเดินทางท่องเที่ยว

    ไปประเทศต่างๆ วันหนึ่งไปถึงพุทธคยา เมื่อเห็นพระพุทธรูปที่พุทธคยาก็คิดว่า
    "นี่แหละคือสิ่งที่เราแสวงหา" จากนั้นท่านก็ได้ไปฝึกโยคะอยู่ที่สำนักโยคีแห่งหนึ่ง

    ในประเทศอินเดียนั่นเอง และก็เริ่มมีประสบการณ์โยคะบ้าง ท่านเกิดความพอใจ

    คิดว่าจะเป็นโยคีอยู่ที่อินเดีย ตลอดชีวิต แต่บังเอิญวีซ่าหมด มีคนแนะนำ
    ให้เดินทางมากรุงเทพฯ ต่อมาก็มีผู้แนะนำ ท่านให้ไปกราบหลวงพ่อชา สุภัทโท
    ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งท่านก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อ ตั้งแต่บัดนั้น
    ชาวอุบลได้อุปฐากท่านและพระอาจารย์องค์อื่นๆ ด้วยใจศรัทธา
    ท่านพูดถึงชาวบุ่งหวายและชาวบ้านก่อนอกว่า

    "เหมือนเป็นพ่อแม่พี่น้องของอาตมา ได้อุปการะเลี้ยงดูอาตมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร"

    และนี่คือที่มาของมูลนิธิมายาโคตมี ที่ท่านริเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2533
    เพื่อช่วยเหลือให้ทุนการศึกษาและจัดอบรม จริยธรรมให้เด็กและครู อาจารย์
    เป็นการตอบแทนบุญคุณคนไทย

    ท่านพระอาจารย์ได้เริ่มจัดอบรมอานาปานสติที่วัดป่าสุนันทวนารามเป็นครั้งแรก

    เมื่อวันที่ 19-27 ตุลาคม พ.ศ.2539 และได้มีการจัดอบรมเป็นระยะๆ ตั้งแต่นั้นมา


    ที่มา หนังสือพลิกนิดเดียว
    http://www.geocities.com/mindpoet_i
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    หลวงพ่อมิตซูโอะ พระญี่ปุ่นศิษย์หลวงพ่อชา

    เป็นที่ทราบกันดีว่าพระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท) แห่งวัดหนองป่าพง ท่านคือเอกอุพระกรรมฐานสายมหานิกาย ที่แผ่ไปในหลายประเทศ ทั้งยุโรปและอเมริกา ปัจจุบันหลวงปู่ชามีทายาทธรรมถึง 117 สาขาเป็นสักขีพยาน

    จำเพาะสาขาที่ 117 เพชรแท้แดนปลาดิบ "พระมิตซูโอะ" เจ้าอาวาสวัดสุนันทวนาราม บ้านท่าเตียน อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ยังทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมเป็นกิจวัตร ศิษย์ท่านไซร้มีทั้งไทยและต่างแดน ชาติภูมิเป็นชาวจังหวัดอีวาเต้ ประเทศญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2494 จบไฮสคูลสาขาเคมี

    เมื่อสำเร็จการศึกษา ท่านทำงานเก็บเงินได้จำนวนหนึ่งแล้ว จึงออกเดินทางจากบ้านเกิดเมืองนอนสู่อินเดีย เนปาล อิหร่าน และยุโรป แล้วเปลี่ยนความตั้งใจที่จะไปแอฟริกา วกกลับสู่อินเดีย เมื่อถึงพุทธคยา จ้องมององค์พระนึกถึงพระธรรมและประจักษ์ขึ้นมาในใจว่า นี่คือสิ่งที่แสวงหา สัจจะความจริงอยู่ภายในกายกับใจของเรานี้เอง ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ใจ ทุกคนทุกชีวิตสามารถพ้นทุกข์ได้

    ท่านจึงหยุดการแสวงหาจากภายนอก เข้าสู่การแสวงหาภายใน ได้เดินทางมาประเทศไทย และได้บวชเป็นสามเณรที่วัดเบญจมบพิตรเมื่อปี 2517 ขณะอายุ 23 ปี ต่อเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2518 ได้อุปสมบท ณ วัดหนองป่าพง โดยมีหลวงพ่อชา เป็นพระอุปัชฌาย์

    จากนั้นได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อชาตลอดระยะเวลา 5 ปี แต่ในช่วงเข้าพรรษา ได้จำพรรษาอยู่ตามวัดสาขาของหลวงพ่อชาภายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี คือ พรรษาที่ 1 ที่วัดหนองป่าพง และพรรษาที่ 2 ที่วัดป่านานาชาติ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยมีพระสุเมโธภิกขุ (ปัจจุบันคือพระราชสุเมธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ) เป็นหัวหน้าคณะ พรรษาที่ 3 ที่วัดป่าสุภัทราวาส (วัดป่าสุภัทราราม บ้านคำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร) พรรษาที่ 4 ที่วัดถ้ำแสงเพ็ชร อำนาจเจริญ พรรษาที่ 5 วัดก่อนอก อ.วารินชำราบ

    พ.ศ.2523-2524 เข้าห้องกรรมฐาน เก็บอารมณ์ ที่วัดสังฆทาน (หลวงพ่อสนอง) จังหวัดนนทบุรี เป็นเวลา 2 ปี พ.ศ.2525 ธุดงค์และปฏิบัติธรรมที่ประเทศอินเดีย พ.ศ.2526-2528 ปฏิบัติธรรมที่วัดหนองป่าพงและวัดป่านานาชาติ พร้อมทั้งอุปัฏฐากหลวงพ่อชา ขณะท่านอาพาธ

    พ.ศ.2529 กลับประเทศญี่ปุ่นครั้งแรก หลังจากมาเมื่อปีพ.ศ.2514 ครั้นพ.ศ.2532 ธุดงค์ในประเทศญี่ปุ่นร่วมกับพระญาณรโต เป็นการเดินด้วยเท้าจากสนามบินนาริตะไปฮิโรชิมา อนุสรณ์สถานแห่งสันติภาพ ระยะเวลาเดิน 72 วัน ระยะทาง 1,000 กิโลเมตร ตลอดทางได้โปรดญาติโยมทั้งไทยและญี่ปุ่นไปด้วย โทรทัศน์ของญี่ปุ่นติดตามถ่ายภาพทำสารคดีออกอากาศ เป็นการเผยแผ่พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้อย่างดี

    พ.ศ.2533 จำพรรษาที่บ้านท่าเตียน อ.ไทรโยค ซึ่งนางสุนันท์ บุษสาย ราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี ถวายที่ดิน 500 ไร่ เพื่อสร้างสำนักสงฆ์ รู้จักกันทั่วไปในชื่อ
    วัดป่าสุนันทวนาราม

    ด้วยข้อวัตรอันเคร่งครัดและเรียบง่ายของความเป็นพระป่าของพระอาจารย์มิตซูโอะ ทำให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงเข้าวัดปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก


    พระอาจารย์มิตซูโอะได้บุกเบิกพัฒนาพื้นดินซึ่งเป็นป่าเสื่อมโทรมด้วยการทำไร่อ้อย จนกระทั่งเป็นพื้นที่ซึ่งเขียวชอุ่มไปด้วยต้นไม้ยืนต้นน้อยใหญ่ มีเสนาสนะอันสมควรแก่สำนักสงฆ์ได้แก่ ศาลาปฏิบัติธรรม โรงฉันและที่พักสำหรับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตามสมควร

    พ.ศ.2545 กองทัพบกได้มอบที่ดินราชพัสดุ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งติดต่อกับเขตวัดสุนันทวนารามจำนวน 12 ไร่ ให้ใช้เพื่อสร้างวัดได้ และได้ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2545 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ 27 สิงหาคม 2545 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีตัดลูกนิมิตเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2545

    วัดสุนันทวนารามจึงเป็นวัดสมบูรณ์แต่นั้นมา

    เมื่อวัดสมบูรณ์ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาจนเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน จัดอบรมสมาธิวิปัสสนากรรมฐานแบบ "อานาปานสติ" แก่พุทธศาสนิกชนปีละ 6 ครั้งๆ ละ 8-9 วันรวมไม่ต่ำกว่า 37 ครั้งอีกทั้งจัดอบรมตามคำขอของทางราชการทั้งตำรวจ ทหาร ข้าราชการฝ่ายปกครอง คณาจารย์ นิสิต นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย และนักเรียน ปีละประมาณ 5,000 คน

    งานวิทยากรก็รับอบรมนิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ตามโครงการธรรมศึกษาสัญจรวัดสุนันทวนาราม ตั้งแต่ปี 2542 จนปัจจุบัน มิพักต้องกล่าวถึงเอกสารสิ่งตีพิมพ์ เทปธรรมบรรยายทั้งภาษาไทยและอังกฤษ รวมกว่า 20 เล่ม

    งานอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็เป็นหัวใจสำคัญ นับตั้งแต่เริ่มเข้าไปจัดตั้งสำนักสงฆ์สุนันทวนาราม ได้มีบทบาทในการอนุรักษ์ป่าไม้ อาทิ ได้กำหนดเขตอภัยทานขึ้นภายในพื้นที่วัดและพื้นที่ต่อเนื่อง เข้าร่วมในโครงการพระสงฆ์ช่วยงานด้านป่าไม้ของกรมป่าไม้ ปลูกป่าและรักษาสภาพแวดล้อมกว่า 5,600 ไร่ มีต้นไม้เบญจพรรณ 100,000 ต้น และอื่นๆ อีกกว่า 50,000 ต้น

    ด้วยวัตรปฏิบัติอันงดงามของท่านและคณะสงฆ์ เป็นสาเหตุสำคัญของการหยุดยั้งการทำลายป่า ส่วนการล่าสัตว์ ได้บรรเทาลงอย่างมาก

    พ.ศ.2544 ปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ร่วมมือกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยพื้นที่ 200 ไร่ ปี 2545 ร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในพื้นที่ 100 ไร่ นำพื้นที่ซึ่งปลูกป่านี้ขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีพ.ศ.2547

    เข้าร่วมในโครงการปลูกป่า 1 ในจำนวน 9 ป่า ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ถวายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษาโดยปลูกป่าต้นสาละ(ต้นไม้ในพุทธประวัติ) เป็นพื้นที่ 40 ไร่

    ท่านมิใช่แค่อนุรักษ์ยังให้ความรู้แก่ชาวบ้านโดยร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในโครงการชุมชนร่วมใจรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและคุณภาพชีวิต รักษาระบบนิเวศและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

    งานส่งเสริมการศึกษา ด้วยเมตตาธรรมและเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาของเยาวชน ตลอดจนเพื่อตอบแทนบุญคุณชาวบ้าน จ.อุบลราชธานีและกาญจนบุรีที่อุปัฏฐากจึงก่อตั้ง มูลนิธิมายา โคตมี ขึ้น ในปีพ.ศ.2533 จัดสรรทุนการศึกษาแก่เยาวชนด้อยโอกาสในชนบท เป็นทุนการศึกษาแบบต่อเนื่อง ตั้งแต่มัธยมจนจบอุดมศึกษา ซึ่งได้มาจากผู้มีจิตศรัทธาในปฏิปทาของท่านทั้งจากพุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวญี่ปุ่น นับถึงปีพ.ศ.2546 ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลา 13 ปีแล้ว ได้มอบทุนการศึกษาไปแล้วจำนวน 3,323 ทุน

    กิจกรรมที่มูลนิธิฯ ให้ความสำคัญ คือการอบรมจริยธรรมตลอดจนอบรมความรู้เกี่ยวกับปัญหาร้ายแรงของสังคมปัจจุบันคือปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ และการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียนรับทุนของมูลนิธิฯ ทุกปี ปีละประมาณ 6-7 วัน ถือเป็นภารกิจสำคัญของผู้รับทุน

    อีกทั้งสนับสนุนจักรยานเพื่อเป็นยานพาหนะไปโรงเรียนแก่เยาวชนด้อยโอกาสในท้องถิ่นชนบทที่บ้านพักอาศัยอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน ในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดกาญจนบุรีรวม 1,594 คัน ให้เงินสมทบเพื่อผลิตวัตถุดิบ เช่น ทุนในการปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เพาะเห็ด เพื่อเป็นอาหารกลางวันแก่โรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี 46 โรงเรียน และจังหวัดกาญจนบุรี 2 โรงเรียน

    ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนไทย-ญี่ปุ่น จากโรงเรียนสำโรงวิทยาคาร จ.อุบลราชธานี กับโรงเรียนอิชิโนเอะ และโรงเรียนไทรโยคมณี-กาญจน์วิทยา จังหวัดกาญจนบุรี กับโรงเรียนโอโตเบะ ได้มีการเดินทางแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างอาจารย์และนักเรียนเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ ความรู้จักคุ้นเคย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนของทั้งสองประเทศ

    ปีพ.ศ.2545 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติมอบโล่เชิดชูเกียรติคุณในฐานะเป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม จังหวัดกาญจนบุรี สาขามนุษยศาสตร์ เป็นเพชรแท้จากแดนปลาดิบ ศิษย์ธรรมสายหลวงพ่อชาที่ถวายตนเพื่อพระศาสนาอย่างแท้จริง !!!


    ที่มา : นสพ.ข่าวสด คอลัมน์ มงคลข่าวสด หน้า 1
    วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 ปีที่ 14 ฉบับที่ 5141
     
  3. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><HR>
    วัดป่าสุนันทวนาราม
    บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี



    สำนักสงฆ์วัดป่าสุนันทวนาราม
    ประกอบด้วยพื้นที่ซึ่งมีสถานะแตกต่างกัน 3 สถานะ คือ
    1. ป่าสงวนแห่งชาติ
    2. อุทยานแห่งชาติศรีนครินทร์
    3. จังหวัดทหารบกกาญจนบุรี


    สำนักสงฆ์วัดป่าสุนันทวนาราม เป็นวัดป่าสำหรับปฏิบัติธรรม และเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เป็นประธานสงฆ์/เจ้าอาวาส ปัจจุบันประกอบด้วยพระภิกษุสงฆ์จำนวน 20 รูป สามเณรจำนวน 2 รูป และคนงานจำนวนประมาณ 10 คน

    ปัจจุบันสำนักสงฆ์วัดป่าสุนันทวนาราม มีศาลาปฏิบัติธรรม 1 หลัง บรรจุคนได้ประมาณ 150 คน กุฏิสงฆ์ถาวรและชั่วคราวรวม 35 หลัง ที่พักอุบาสกอุบาสิกา 10 หลัง บรรจุคนได้ประมาณ 150 คน มีโรงครัว ห้องน้ำ รวมทั้งชุดปักกลดที่รอง รับผู้ปฏิบัติธรรมประมาณ 200 ชุด และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นตามแนวทางของวัดป่า

    ในแต่ละปี จะมีผู้เข้าไปปฏิบัติธรรม เช่น ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร ข้าราชการฝ่ายปกครองระดับสูง นักศึกษา นักเรียน และ อุบาสก อุบาสิกา โดยเฉพาะในช่วงเข้าพรรษา เฉลี่ยจำนวนปีละประมาณ 5,000 คน ชุมชนโดยรอบปริมณฑลวัดส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำพืชไร่ เช่น ไร่อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ละหุ่ง มันสำปะหลัง ฯลฯ

    ประวัติการก่อตั้ง

    ในปี พ.ศ. 2532 นางสุนันท์ บุษสาย คหบดีชาวจังหวัดกาญจนบุรีผู้ประกอบธุรกิจเหมืองแร่ ครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวนมากของจังหวัดกาญจนบุรี มีความศรัทธาในปฏิปทาและข้อวัตรอันเคร่งครัดของพระธุดงค์สายวัดป่า (ของหลวงพ่อพระโพธิญาณเถร - ชา สุภัทโท) ผู้ซึ่งธุดงค์รอนแรมอยู่ในป่าเขาบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี

    จึงได้ถวายที่ดินประมาณ 500 ไร่ ซึ่งหมดสภาพป่า และทำไร่อ้อยมาประมาณ 20 ปี บริเวณบ้านท่าเตียน ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อจัดตั้งวัด ทั้งนี้เพื่อพระสงฆ์จะได้มีเสนาสนะวัด ชาวบ้านจะได้มีโอกาสเข้าวัดปฏิบัติธรรมตามแนวทางของสายวัดป่า และเมื่อมีพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเข้าไปพำนักอยู่ จะสามารถยับยั้งการตัดไม้ทำลายป่าและการล่าสัตว์ในบริเวณดังกล่าว

    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก สัทธิวิหาริกรุ่นแรกของหลวงพ่อชา แห่งวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เป็นผู้ได้บวชบำเพ็ญเพียรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ธุดงค์มาแล้วหลายแห่ง ทั้งที่อุดมสมบูรณ์และทุรกันดาร และเป็นผู้ซึ่งอยู่ในคณะผู้บุกเบิกวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับมอบหมายให้มาเป็นผู้บุกเบิก ก่อตั้งสำนักสงฆ์วัดป่าสุนันทวนารามในปี พ.ศ. 2533 ด้วยเจตนารมณ์ในการรักษาป่า และ สร้างวัดให้เป็นวัดป่าอย่างแท้จริง

    การสถาปนาสำนักสงฆ์วัดป่าสุนันทวนารามบนพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะสถาบันวัดได้เข้าไปเป็นอุปสรรคต่อการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและล่าสัตว์ ด้วยความเพียรไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคของคณะผู้บุกเบิกนำโดย พระอาจารย์มิตซูโอะ สำนักสงฆ์วัดป่าสุนันทวนารามจึงได้พัฒนามาเป็นลำดับจากสภาพไร่อ้อยมาเป็นป่าเขียวชอุ่ม

    เนื่องจากพี้นที่ก่อตั้งสำนักสงฆ์วัดป่าสุนันทวนารามอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาพระฤาษี และ ป่าเขาบ่อแร่แปลงที่ 1 ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 802 (พ.ศ. 2521) และ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ สำนักสงฆ์วัดป่าสุนันทวนารามจึงขอเข้าร่วมโครงการของกรมป่าไม้ภายใต้ชื่อ "พระสงฆ์ช่วยงานด้านป่าไม้" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา

    สำนักสงฆ์วัดป่าสุนันทวนาราม เป็นวัดสาขาที่ 117 ของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันมีพื้นที่ในความรับผิดชอบประมาณ 1,000 ไร่ สภาพทางภูมิศาสตร์ เป็นที่ราบเชิงเขา ล้อมรอบไปด้วยภูเขา ภูเขาสำคัญคือ เขารูงู ซึ่งเป็นเทือกเขาสูงประมาณ 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล และเขาเหมาะบางสูงประมาณ 200 เมตร


    ที่มา :
    http://www.watpahsunan.org
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    [​IMG]


    <HR>เส้นทางไปวัดป่าสุนันทวนาราม
    บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี


    ..... [​IMG] ..... ปากทางเข้าวัดอยู่ กม. 90 ของทางหลวงหมายเลข 323
    ช่วงอำเภอไทรโยค-อำเภอทองผาภูมิ


    -- ระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงวัดประมาณ 220 กม.
    -- จากตัวเมืองกาญจนบุรี ถึงน้ำตกไทรโยคน้อยประมาณ 60 กม.
    -- จากน้ำตกไทรโยคน้อย ถึงปากทางเข้าวัดประมาณ 47 กม.
    -- จากปากทาง ถึงวัด 3 กม.

    .....[​IMG] ..... การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากกรุงเทพฯ
    ไปวัดป่าสุนันทวนาราม


    -- ขึ้นรถ กรุงเทพฯ - กาญจนบุรี ที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่
    ต่อรถ กาญจนบุรี - อ.ทองผาภูมิ ที่สถานีขนส่ง จ.กาญจนบุรี
    ไปลง กม. 90 (ปากทางเข้าวัดป่าสุนันทวนาราม)

    -- รถตู้จากหน้าโรงแรมรอยัล มุมถนนราชดำเนิน เชื่อมติดต่อจาก
    ท้องสนามหลวง ไปสถานีขนส่ง จ.กาญจนบุรี
     

แชร์หน้านี้

Loading...