พระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ยังหลงเหลืออยู่

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย อำนวยกรณ์, 29 เมษายน 2008.

  1. wutlions

    wutlions เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    793
    ค่าพลัง:
    +1,384
    หลวงปู่ผาด วัดไร่ ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
    ท่าน่ากราบมาก ๆ ครับ ถ้ามีโอกาสอยากให้ไปทำบุญเพราะว่า วัดร่มรื่นและไม่ได้สร้างอะไรใหญ่โตครับ อีกทั้งกำลังซ่อมแซมหลังคาศาลาอยู่

    อนุโมทนาครับ
     
  2. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    หลวงพ่อพระบวรปริยัติวิธาน

    [​IMG]

    คำนำ

    เมื่อวันที่ ๔ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ก่อนจะออกเดินทางจากวัดพิชโสภาราม ไปเยี่ยมศิษยานุศิษย์และญาติโยมทางจังหวัดภาคเหนือตอนล่างและภาคใต้ ได้สั่งไว้ว่า หากคณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลายจะประชุมกันเรื่องการเผยแผ่พระศาสนา ก็ให้ประชุมกันได้เลยไม่ต้อง รอหลวงพ่อ เพราะไปนาน หากที่ประชุมตกลงกันอย่างไร หลวงพ่อก็จะปฏิบัติตามนั้นแหละ และในที่ประชุมก็ได้ตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยปีนี้กำหนดเอาสถานที่เป้าหมายลงงาน ๑๔ จุด ๆ ละ ๙ วัน และงานนี้ให้หลวงพ่อไปเปิดและปิดทุกงาน ข้อที่ ๒ ขอให้หลวงพ่อพิมพ์ประวัติของหลวงพ่อ เพื่อจะได้ศึกษาเป็นทิฏฐานุคติเป็นแนวทางการปฏิบัติ สำหรับค่าพิมพ์นั้น คณะศิษยานุศิษย์จะพากันหาเอง ๑๓

    วันกลับจากภาคใต้อ่านดูมติที่ประชุม ก็ได้ถือปฏิบัติตามข้อที่ ๑ โดยสมบูรณ์ สำหรับข้อที่ ๒ เกิดความลังเลใจ ถ้าจะไม่ทำตามมติที่ประชุม ก็ได้สั่งไว้แล้ว พร้อมกันนี้ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายก็ได้เสียสละปัจจัยมาเป็นค่าพิมพ์เป็นจำนวนมากพอสม ควรแล้ว แต่ถ้าจะพิมพ์ก็คิดละอายใจเพราะเรานี้ไม่เห็นมีอะไรเป็นสิ่งสำคัญพอที่จะให้ศิษย์ทั้งหลายศึกษา หรือถือเอาเป็นตัวอย่าง ประกอบกับเรื่องที่ศิษย์ทั้งหลายอยากให้พิมพ์ ก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ คล้ายเป็นดาบสองคม ผู้ได้อ่านแล้วบางคนอาจจะเกิดอกุศลจิต บางคนอาจจะเกิดกุศลจิต คือเชื่อและไม่เชื่อ ผลที่ได้รับกลายเป็นดาบสองคม เชือดคอตัวเองด้วย เชือดคอคนอื่นด้วย แต่ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไรเพราะได้สั่งไว้แล้ว และศิษย์ทั้งหลายก็ได้พร้อมกันสละปัจจัยเป็นค่าพิมพ์แล้ว ด้วยเหตุนี้จึงได้ตัดสินใจเขียนประวัติให้ และประวัติที่เขียนนี้จะเขียนตามเป็นจริงทุกประการ จะไม่มีมายาสาไถย โกหกหลอกลวงกล่าวคำเท็จ จะเขียนเอาเฉพาะที่จำเป็นที่สุดสั้นที่สุดเท่าที่ จะทำได้

    อนึ่ง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาชีวประวัติ จะเขียนเป็น ๒ ภาค คือภาคปกติและภาคพิเศษ เพื่อความมั่นใจ สบายใจของท่านผู้อ่านผู้ศึกษา ขอตั้งสัจจะปฏิญญาต่อคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ไว้ในที่เป็นพยาน ว่าจะเขียนประวัตินี้ตามความเป็นจริงทุกประการ ด้วยความสัตย์นี้ ขอท่านผู้มีส่วนร่วมในการสร้างประวัติ จงได้พ้นทุกข์ ประสบมหาสันติสุขสมปรารถนาเทอญ
    นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี

    ขออนุโมทนา

    (พระบวรปริยัติวิธาน)​


    ประวัติหลวงพ่อพระบวรปริยัติวิธาน
    สถานะเดิม ชื่อ บุญเรือง นามสกุล คำแดง
    โยมบิดาชื่อ หนู ท่านออกบวชเมื่ออายุ ๕๖ มรณภาพตอนอายุ ๘๐ ปี รวมพรรษาที่บวช ๒๕ พรรษาเศษ
    โยมมารดาชื่อ จันทร์ ถึงแก่กรรมแล้วเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เกิดที่บ้านตาแหลว หมู่ที่ ๕ ตำบลเจียด (ปัจจุบันตำบลหัวนา) อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๓๑ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๕ ปีระกา มีพี่น้องเกิดร่วมมารดาเดียวกัน ๗ คนคือ

    ๑. พระครูวิศาลเขมคุณ
    ๒. นางบุญเหลือ คำแดง (ปัจจุบันบวชชี)
    ๓. นางเขี่ยม คำแดง (ปัจจุบันบวชชี)
    ๔. นางเนียม คำกัณหา
    ๕. นายเจียม คำแดง (รับราชการ ฝ่ายนักวิชาการ)
    ๖. นางสาวเสงียม คำแดง
    ๗. นางเตรียมใจ สืบก่ำ

    เมื่ออายุ ๓ ขวบ บิดามารดา ได้พาย้ายครอบครัวมาอยู่บ้านอีเติ่ง หมู่ ๗ ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
    บรรพชา เมื่อวัน ๒ ฯ ๖ ค่ำปีกุน วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ณ วัดโพธิ์ศรีสว่าง ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี พระอุปัชฌาย์ พระครูภัทรกิจโกศล วัดเหนือ ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

    อุปสมบท เมื่อวัน ๔ ฯ ๕ ค่ำ ปีมะเส็ง วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๖ ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ศรี ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
    พระอุปัชฌาย์ พระครูภัทรกิจโกศล วัดเหนือ ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
    พระกรรมวาจาจารย์ เจ้าอธิการชา โชตโก วัดกลาง ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
    พระอนุสาวนาจารย์ พระประดิษฐ์ เขมวีโร วัดโพธิ์ ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • luangpor.jpg
      luangpor.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.1 KB
      เปิดดู:
      1,339
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2008
  3. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    หลวงพ่อพระบวรปริยัติวิธาน

    [​IMG]

    ชีวประวัติพิเศษ
    วิถีชีวิตของข้าพเจ้านับตั้งแต่เป็นเด็กมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๔๐) เริ่มแต่เป็นเด็กรู้เดียงสามา ข้าพเจ้าไม่เคยสร้างศัตรูให้แก่ตัวเอง ถ้าหากว่าเพื่อน ๆ ไม่พอใจในเรื่องอะไร ข้าพเจ้าจะรีบขอโทษทันที ข้าพเจ้าเคารพเพื่อน รักเพื่อน ทั้งชายทั้งหญิง เวลาเล่น ส่วนมากก็ชอบเล่นกับผู้หญิง จนเพื่อน ๆ ล้อเลียนข้าพเจ้าว่าเป็นคนแม่ (นิสัยเหมือนผู้หญิง)
    ในบรรดาเพื่อนจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม พวกเขาจะรักข้าพเจ้ามาก มีอะไรก็จะแบ่งสรรปันส่วนเฉลี่ยเจือจานกัน ส่วนมากข้าพเจ้าจะทำงานผู้หญิง เช่น ตำข้าว เก็บฟืน หาอาหาร ปั่นฝ้าย ทอไหม เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแม่มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง ประกอบกับข้าพเจ้าเป็นบุตรคนโต จึงได้ทำงานช่วยแม่ นอกจากนี้สำหรับผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะรักข้าพเจ้ามาก มีอะไรก็อยากจะให้ อยากจะสอน มีวิชาอาคมขลัง ก็อยากจะสอนให้ บางท่านก็สอนให้ และก็นำมาใช้ได้ตามที่ท่านสอน
    ข้าพเจ้าแม้จะตัวเล็ก แต่ก็มีความคิดคล้ายผู้ใหญ่ มีอะไร ๆ เกิดขึ้น เพื่อน ๆ ก็จะเลือกให้เป็นหัวหน้า ด้วยเหตุนี้ชีวิตของข้าพเจ้าจึง ไม่ว้าเหว่ ไม่มีปมด้อย ได้รับความอบอุ่นจากเพื่อน ๆ ตลอดถึงผู้เฒ่าผู้แก่เป็นอย่างดีเสมอมา
    เมื่ออายุครบเกณฑ์เข้าโรงเรียน ข้าพเจ้าก็ได้เข้าเรียนเหมือนเด็กชาวบ้านทั่วไป เมื่อเข้าโรงเรียนจะด้วยบารมีหรือเหตุปัจจัยอะไรก็แล้วแต่จะเดา นับแต่ชั้นมูลขึ้นไป คณะครูอาจารย์ภายในโรงเรียนตลอดนักเรียนทั้งรุ่นน้องรุ่นพี่และรุ่นเดียวกัน ส่วนมากจะรักข้าพเจ้ามาก จนจบชั้นมูลแล้วก็ได้เลื่อนชั้นขึ้น ป.๑ และขึ้น ป.๒ ขณะเรียนอยูในชั้น ป.๒ นั้น คณะครูอาจารย์และนักเรียนได้ประชุมกันคัดเลือกนักเรียนผู้สมควรเป็นหัวหน้าในโรงเรียน ข้าพเจ้าได้ถูกคัดเลือกให้เป็นหัวหน้านักเรียนโดยไม่มีใครคัดค้านแม้แต่คนเดียว ข้าพเจ้าได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้านักเรียนในโรงเรียนตั้งแต่วันนั้นมา จนเรียนจบและออกจากโรงเรียน
    บัดนี้ ขอวกมาอีกฉากหนึ่ง ซึ่งเห็นว่าสมควรเขียนลงในประวัติ ถึงแม้ว่าไม่มีสาระน่ารู้ ก็อาจจะทำให้ผู้อ่านเบื่อเซ็งและหมั่นไส้ได้ เพราะเรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้ ไม่ใช่วิสัยของข้าพเจ้า ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับข้าพเจ้า และข้าพเจ้าก็ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น
    แต่ถึงอย่างไรก็ขอร้องท่านผู้อ่านได้ทำใจให้เป็นกลาง ๆ อย่าเพิ่งเชื่อและอย่าเพิ่งปฏิเสธ ขอให้อุเบกขา อย่าให้อกุศลจิตหรือกุศลจิตเกิดขึ้น ขอได้กรุณาใช้วิจารณญาณตัดสินเอาเอง เพราะเรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้ เขียนตามคำขอร้องของศิษยานุศิษย์ ที่ตกลงกันในที่ประชุม ในต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งขณะนั้นข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ร่วมในที่ประชุม เพราะเดินทางไปเยี่ยมศิษยานุศิษย์และญาติโยมทางปักใต้พร้อมด้วยคณะ เป็นเวลา ๑๓ วัน เมื่อกลับมาได้อ่านดูมติที่ประชุม เกิดอึดอัดใจหายเพราะ เป็นเรื่องที่ไม่อยากเขียน เหตุว่า เป็นดาบสองคม เป็นทั้งบุญเป็นทั้งบาป เป็นเรื่องหมั่นไส้ บางท่านก็จะตัดสินเอาว่า ข้าพเจ้าอวดอุตตริมนุษยธรรม
    แต่จะทำอย่างไรได้ ในเมื่อเรื่องดำเนินมาถึงนี้แล้ว จะกลืนก็ไม่เข้า จะคลายก็ไม่ออก จำต้องทำตามมติที่ประชุมที่ตกลงกันไว้แล้ว หากเรื่องอกุศลจิตหรือบาปกรรม อันจะพึงเกิดมีแก่ท่านผู้อ่านด้วยประการใดหรือประการหนึ่ง ข้าพเจ้าขอน้อมรับเอาด้วยตนเองทั้งหมด
    ก่อนอื่นก็ขอทำความเข้าใจว่า ชีวประวัตินี้ ไม่ได้มีเจตนาเขียนเพื่อที่จะอวด แต่เขียนไว้เพื่อท่านผู้อ่านทั้งหลายจะได้ศึกษา และจะเขียนตามความเป็นจริงที่สุด จำเป็นที่สุด สั้นที่สุด เท่าที่จะทำได้
    เพื่อให้ประวัติสมบูรณ์บ้างไม่มากก็น้อย ข้าพเจ้าขอย้อนกลับไปเมื่อสมัยเด็ก ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลสัมมาทิฏฐิ (มารู้เอาเมื่อตอนบวชแล้ว) พ่อแม่และญาติต่างพอใจในการทำบุญทำทาน โยมพ่อ โยมลุงได้แนะนำให้ข้าพเจ้ายินดีในการให้ทาน เจริญเมตตา และสงสารผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น อย่าไปทะเลาะกับผู้อื่น ที่สอนนักสอนหนาก็คือ ไม่ให้กินเนื้อดิบ ไม่ให้กินปลาดิบ สอนไม่ให้ฆ่าสัตว์ ไม่ให้ลักขโมย สอนไม่ให้ล่วงเกินลูกสาวเขา สอนไม่ให้ตั๋ว(พูดเท็จ) สอนไม่ให้กินเหล้า (มารู้เมื่อบวชแล้ว) สอนให้เคารพอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ สอนให้ไหว้พระก่อนนอน สอนให้ขยันทำงาน คำสอนเหล่านี้ ข้าพเจ้าได้ถือปฏิบัติมาโดยตลอด เพราะถ้าโยมพ่อ โยมลุง รู้เข้าว่าข้าพเจ้าไม่ปฏิบัติตาม ก็จะถูกเอ็ดเอาทันที (ถูกต่อว่า)
    ข้าพเจ้าจะเคารพและรักพระรักเณร มีใจผูกพันอยู่กับพระเณรมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เพราะกระท่อมนาเป็นทางผ่านของพระเณร รูปนั้นผ่านไปรูปนี้ผ่านมา บ้างก็ให้ขนม บ้างก็ให้ของกิน บ้างก็ลูบหัว เป็นต้น เพราะความเคารพ ความรัก ความคุ้นเคยและความผูกพัน จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าอยากบวชตลอดเวลา อนึ่ง โรงเรียนที่เรียนอยู่ในวัด เวลาหยุดพักก็ต้องกินข้าววัด ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวมา จึงทำให้ข้าพเจ้าอยากบวช พอออกโรงเรียนแล้วก็ขอพ่อขอแม่บวช แต่ท่านไม่อนุญาต เพราะเห็นว่ายังเด็กอยู่ โตกว่านี้ค่อยบวช
    ประกอบกับโชคไม่เข้าข้าง ช่วงนี้พ่อพร้อมกับลุงอีก ๒ คน รวมเป็น ๓ พากันออกบวช แล้วจำวัดอยู่ถ้ำพวง ปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์วิเชียร เพราะสมัยนั้น พระอาจารย์วิเชียร (อาจารย์หลง) ท่านมีชื่อเสียงมาก แสดงธรรมเก่ง คนเล่าลือกันว่าท่านเป็นพระอรหันต์ หลังจากคณะของพ่อบวชได้ ๓ เดือน อาจารย์เกิดวิปลาส ใช้มีดโกนเชือดคอตัวเองแล้วเอาประคตเอวรัดคอตัวเองตาย ในท่านั่งกระโหย่งประณมมือ (ทำอัตตวินิบาต) ถูกทางตำรวจสอบสวนพ้นคดี พ่อและลุงทั้งสองก็ลาสิกขา เพราะหมดที่พึ่ง

    เมื่อพ่อลาสิกขาออกมาประมาณ ๑ เดือน ท่านบอกและถามว่า จะให้บวชแล้วนะ จะบวชไหม ตอนนี้กลับไม่อยากบวชเสียแล้ว เพราะเกิดไปชอบผู้หญิง เหตุว่าวัน ๆ อยู่กับแต่ผู้หญิง ต้องเลี้ยงโค กระบือ เอาฟืน ตักน้ำ ตำข้าว หากิน เป็นต้น ตกกลางคืนก็ต้องตำข้าวกับเพื่อนผู้หญิง ๒ คนบ้าง ๓ คนบ้าง ๔ คนบ้าง กว่าจะแล้วเสร็จก็กินเวลา ๓ ทุ่มบ้าง ๔ ทุ่มบ้าง ๕ ทุ่มบ้าง ค่อยกลับไปนอนกัน วันใหม่ก็ตำข้าวอีกเนื่องจากเป็นฤดูจะลงนา โรงสีก็ไม่มี ต้องตำข้าวทุ่งนาไว้ อย่างน้อยคนละ ๑๐ กระสอบป่าน ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวนี้แล้วจึงไม่อยากบวช แต่จะทำอย่างไรได้ กลัวพ่อก็กลัว เคารพก็เคารพ เลยไม่กล้าขัดใจท่าน แต่ก็ขัดใจเรา แต่จะทำอย่างไรเพราะเรื่องดำเนินมาถึงขั้นนี้แล้ว จำเป็นต้องตัดสินใจบอกพ่อว่าบวช
    ตื่นเช้าวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ พ่อพาไปบวชเป็นสามเณรที่วัดโพธิศรีสว่าง บ้านตาแหลว ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิด โดยมีพระครูภัทรกิจโกศล เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชแล้วได้กลับมาสังกัดอยู่วัดโคกสว่าง บ้านอีเติ่ง ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเวลา ๑ เดือนเศษ บวชแล้วได้รับการอบรมพระธรรมวินัย ใจยิ่งเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระธรรมยิ่งขึ้น ใกล้จะเข้าพรรษาได้ย้ายสังกัดไปอยู่วัดโพธิ์ศรีสว่าง บ้านตาแหลวเพื่อศึกษาปริยัติธรรม เพราะในสมัยนั้นสำนักเรียนนักธรรมหายากมาก ตำบลหนึ่งก็จะมีเพียง ๑ สำนักเป็นอย่างมาก
    ผลของการศึกษาปริยัติธรรมในพรรษา ไม่ค่อยก้าวหน้าคือไม่เข้าใจเท่าที่ควร ผลการสอบสนามหลวงออกมาปรากฏว่า ไม่ผ่าน พ.ศ.๒๔๙๒ จึงได้ย้ายสังกัดไปอยู่วัดยางกระเดา ตำบลท่าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี การอยู่อาศัยในวัดนี้ ได้รับการศึกษาดีพอสมควร และสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปีนั้นเอง

    พ.ศ. ๒๔๙๓ เช้าวันหนึ่งข้าพเจ้าได้เข้าไปนั่งสมาธิอยู่ในอุโบสถ วัดยางกระเดานั่นเอง ได้เกิดปัญญาญาณขึ้นในดวงใจของข้าพเจ้าว่า
    "การท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะสงสารของข้าพเจ้าชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย การเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้ายของข้าพเจ้า การบวชครั้งนี้เป็นการบวชครั้งสุดท้าย ข้าพเจ้าจะไม่ได้ลาสิกขาเลย"

    นับตั้งแต่วันนั้นมา ข้าพเจ้าได้พยายามปฏิบัติพระกรรมฐาน ตามแต่โอกาสและเวลาจะเอื้ออำนวย ในส่วนที่เป็นกายาสติปัฏฐาน จากตำหรับตำราที่ได้เล่าเรียนมา โดยเฉพาะได้พิจารณาร่างกายอันเป็นอสุภะโสโครก น่าเกลียด เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ปฏิกูลน่าเกลียดทั้งร่างของตนเองและผู้อื่น จนมีความสามารถแยกร่างกายออกเป็นกอง ๆ เป็นส่วน ๆ ในอาการ ๓๒ จนบางครั้งคิดว่าตัวเองไม่มีอะไรเลย ข้าพเจ้าชำนาญในกรรมฐานบทนี้เป็นพิเศษ จึงเอาชนะรูปนามของเพศตรงข้ามได้

    พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนในหลักสูตรนักธรรมชั้นโท ได้อ่านประวัติของพระพุทธเจ้า และประวัติของพระสาวกบ้าง ยิ่งทำให้เกิดปีติเกิดปสาทะศรัทธาเพิ่มขึ้น เมื่อถึงคราวสอบ ข้าพเจ้าสามารถสอบผ่านได้นักธรรมชั้นโทในปีนั้น

    พ.ศ. ๒๔๙๓ ข้าพเจ้าได้สมาทาน เอกาสนิกังคะธุดงค์ คือฉันหนเดียว ตลอดไตรมาสพรรษา ๓ เดือน

    พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงพ่อพระครูวัตตกิจอาทร เจ้าอาวาสวัดยางกระเดา และเจ้าคณะตำบลท่าเมือง ได้ถึงแก่มรณภาพ ก่อนท่านจะมรณภาพประมาณ ๑ เดือน ทางวัดและชาวบ้านยางกระเดาได้จัดงานประเพณีบุญเดือน ๖ หลวงพ่อท่านได้ทำบั้งไฟไว้หลายบั้ง แต่บั้งที่ใหญ่หน่อยมีอยู่ ๒ บั้ง ๆ ที่ ๑ หมดดินประสิว ๖ หมื่น บั้งที่ ๒ หมดดินประสิว ๑๐ กิโลกรัม แต่ไม่มีช่าง ข้าพเจ้าเลยรับเป็นช่างเอง ตอนเช้าถึงเวลาจุดบูชา ประชาชนมาพร้อมกัน ข้าพเจ้าเอาบั้งที่หนัก ๖ หมื่นขึ้นจุดบูชา ไม่มีปัญหาเพราะบั้งไฟขึ้นสมใจที่ตั้งไว้ แต่มีปัญหาบั้งสุดท้าย ที่หนัก ๑๐ กิโลกรัมนั้น ไม่มีใครกล้าจุดแม้แต่คนเดียว ตกลงข้าพเจ้าขึ้นจุดเอง สมัยนั้นบั้งไฟจุดหม่อม คือชะนวนจะอยู่ข้างบนตัวบั้งไฟ ข้าพเจ้าใช้กระใต้ (กระบอง) จุดไปที่ชะนวน แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ออกห่างไปจากบั้งไฟ ระยะห่างจากบั้งไฟกับตัวข้าพเจ้าห่างกันเพียงช่วงแขนเดียวเท่านั้น ทันใดนั้นบั้งไฟก็ระเบิดขึ้นทันที และระเบิดอยู่กับที่ ยังไม่ได้เคลื่อนออกไปจากฐานเลย ควันไฟคลุ้งตลบไปหมด ข้าพเจ้ามองลงมาข้างล่างก็ไม่เห็นผู้คน คนที่อยู่ข้างล่างก็มองขึ้นไปไม่เห็นข้าพเจ้า ได้ยินเสียงคนร้องระงมไปหมดว่า
    เณรเฮืองตายแล้ว เณรเฮืองตายแล้ว ในขณะที่จุดบั้งไฟอยู่นั้น ข้าพเจ้าไม่ได้ตกใจ ในขณะบั้งไฟระเบิด ข้าพเจ้าก็ไม่ตกใจ และในช่วงที่บั้งไฟระเบิดเป็นประกายไฟลุกท่วมตัวข้าพเจ้า แทนที่จะร้อน กลับรู้สึกเย็นเหมือนถูกพัดลมเป่า เมื่อสร่างควันแล้ว จึงมองเห็นคนและบันได ข้าพเจ้าก็ลงบันได พอไปถึงพื้นเท่านั้น ผู้คนก็กรูกันเข้ามาถามว่า เป็นอย่างไร ๆ ข้าพเจ้าตอบเพียงคำเดียวว่า เย็น เล่นเอาคนทั้งหลายตกตะลึง พอพากันหายจากตะลึง ต่างก็หลีกไปเล่นงานบุญตามปกติ สำหรับตัวของข้าพเจ้านั้น ดำปานตอตะโก ผ้าสบงผ้าอังสะดำหมดใช้ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนใหม่ แต่แปลกอยู่อย่างหนึ่ง ตลอดทั้งวันข้าพเจ้ารู้สึกเย็นทั้งใจ ทั้งกาย ตามร่างกายแต่ละจุดหาพุพองเท่าเมล็ดงาก็ไม่มี เส้นผม ขนคิ้ว ขนตาและขนตามร่างกาย แม้แต่ขนเดียวก็ไม่ไหม้ อันนี้ก็เป็นเรื่องแปลกอีกอย่างซึ่งเกิดขึ้นกับข้าพเจ้าสมัยนั้น ข้าพเจ้าก็ไม่ได้คิดอะไรมาก เป็นแต่คิดว่า เออ อันนี้ก็เป็นอำนาจของเมตตาธรรมอย่างหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมา

    พ.ศ. ๒๔๙๔ หลังจากเสร็จงานฌาปนกิจศพหลวงพ่อเจ้าอาวาสแล้ว ข้าพเจ้าได้ย้ายสังกัดไปอยู่วัดท่าบ่อแบง ตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเรียนบาลี โดยมีท่านพระอาจารย์ไพ จนฺทสาโร เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้มอบหมายให้เป็นครูสอนปริยัติธรรม ตลอดถึงงานก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด

    พ.ศ. ๒๔๙๖ ข้าพเจ้ามีอายุครบบวชพระ โยมพ่อโยมแม่และญาติ ได้นำมาบวชพระที่บ้านเดิม และได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๖ ณ อุโบสถวัดโพธิ์ศรี ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีท่านพระครูภัทรกิจโกศล เจ้าคณะอำเภอเขมราฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการชา โชตโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการประดิษฐ์ เขมวีโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้กลับไปอยู่วัดท่าบ่อแบงอีก

    พ.ศ. ๒๔๙๖ หลังจากบวชพระแล้ว ข้าพเจ้าได้เริ่มบำเพ็ญพรตอีก คือฉันวันละครั้งบ้าง ฉันครั้งละ ๗ คำบ้าง บำเพ็ญอยู่ ๕ เดือน จนร่างกายผ่ายผอม ความจำเสื่อม หมอได้ขอร้องให้เลิก ถ้าไม่เลิก จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ข้าพเจ้าฝ่าฝืนคำหมอสั่งอยู่พักหนึ่ง อาการยิ่งทรุดลง จึงเลิกแล้วกลับมาฉันตามปกติ และในช่วง พ.ศ. ๒๔๙๖ นี้เอง จิตใจของข้าพเจ้าเริ่มหันเหหนักไปทางปฏิบัติ โดยมาคิดย้อนหลังวันที่ไปทำสมาธิอยู่ที่อุโบสถวัดยางกระเดา ว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของข้าพเจ้า การบวชครั้งนี้ถือว่าเป็นการบวชครั้งสุดท้าย การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะสงสารของข้าพเจ้า จะจบลงในชาตินี้
    แต่มาคิดอีกแง่หนึ่งว่า ข้าพเจ้ามีราคะกล้ามาก จะทำอย่างไรจึงจะเอาชนะมันได้ ถ้าเอาชนะมันไม่ได้ เราก็บวชอยู่ต่อไปไม่ได้ ตกลงตัดสินใจปฏิบัติกรรมฐาน แต่เกิดความลังเลใจว่า เราจะปฏิบัติกรรมฐานได้อย่างไร เพราะถ้าอยู่กับเพื่อนก็ไม่สะดวก จะอยู่ป่าก็กลัวผี ตกลงตัดสินใจเข้าป่าช้าฝึกตัวเอง เผื่อว่าความกลัวผีจะได้หมดไป โชคดีในวัดมีป่าช้าและเป็นป่าที่รกด้วย สะดวกต่อการฝึกด้วย

    วิธีฝึกวันแรก ๑๗.๐๐ น. เศษ ครองจีวรเสร็จแล้วเดินเข้าป่า เดินจงกรม นั่งภาวนา จนดึกสงัด เห็นว่าความกลัวมันลดลงไปบ้าง แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล อธิษฐานจิต แล้วออกจากป่าช้า
    เมื่อฝึกอยู่หลายวันเป็นที่พอใจแล้ว วันต่อไปก็เป็น ๑๘.๐๐ น. , ๑๙.๐๐ น. , ๒๐.๐๐ น., ๒๑.๐๐ น. แต่ละครั้งทำอยู่หลายวันจนเป็นที่พอใจ วันสุดท้าย เวลา ๒๒.๐๐ น. พระภิกษุสามเณรตีระฆังสัญญาจำวัดกันแล้ว เตรียมตัวครองผ้าเข้าป่าช้า พอเข้าไปถึงริมป่าช้า ได้ยินเสียงควายวิ่งฝ่าป่าทึบออกมา เสียงดังมาก เลยหยุดยืนฟังเสียงพร้อมกับพิจารณาในใจว่า เอ ควายทำไมมันวิ่งเสียงดังมาก หน้านาแท้ ๆ ทำไมเจ้าของไม่ผูก ปล่อยปละละเลย มันจะไม่ไปกินข้าวในนาเขาหรือ พอมันวิ่งพ้นป่าออกมา เห็นตัวเท่าสุนัขตัวโต ๆ พร้อมกับคิดว่า เอ ทำไมสุนัขตัวเล็ก ๆ มันวิ่งเสียงดังเกินตัว ขณะที่ยืนคิดอยู่ ขาทั้งสองไม่ชิดกัน มันวิ่งผ่านช่องขาทั้งสองเข้าไปในหมู่บ้าน เสียงดังเหมือนม้าวิ่งแข่งกัน และฉุกคิดขึ้นมาอีกว่า เอ สุนัขตัวเล็ก ๆ ทำไมมันวิ่งเสียงดังเหมือนม้าวิ่ง ยืนฟังอยู่จนเงียบเสียง จึงคิดว่า เออ มันไปแล้วก็ดีเราเข้าป่าช้าดีกว่า กำลังจะเดินเข้าป่าช้า ได้ยินเสียงมันวิ่งกลับมาอีก ตอนนี้ยืนเอาขาชิดกันไว้ เผื่อว่าจะไม่ให้มันวิ่งลอดขาอีก พอวิ่งมาถึงมันวิ่งเฉียดขาข้างขวาเข้าป่าช้า เสียงก็เงียบไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เลยคิดว่า เออ มันไปก็ดีละ มันก็ไปทางของมัน เราก็ไปทางของเรา จึงได้เข้าไปถึงกลางป่าช้า เดินจงกรมแล้วก็นั่งภาวนา และก็ไม่มีอะไรมารบกวนอีกเลย
    นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา ก็เริ่มเจริญกรรมฐานในส่วนที่เป็น กายาคตาสติกัมมัฏฐาน จนเกิดสติ สมาธิ ปัญญา สามารถมองเห็นความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจ ทำความเพียรอยู่ประมาณ ๑ เดือน เกิดอุปกิเลสจิตอย่างแรงกล้า สามารถอธิบายธรรมะได้พิศดารกว้างขวาง โดยเฉพาะเรื่องโมหะ นึกจะอธิบายอยู่ถึง ๑๐ วันก็ยังไม่รู้จบ ชวนะมันเกิดขึ้นตลอดเวลา คล้ายแตกฉานในอรรถ ในธรรม ในปฏิภาณ จนคิดว่า ทำไมหนอจึงเป็นเช่นนี้ เราจะไม่เป็นบ้าไปหรือนี่ ถ้าจะไปหาอาจารย์กรรมฐานแก้อารมณ์ ก็ไม่มีอาจารย์อยู่แถวนั้น ตกลงกัดฟันอดทนต่อสู้กับสภาวะ จนสามารถเอาชนะได้

    หลังจากอุปกิเลสสงบลง จิตเกิดพลัง หากว่ามีคนที่มีทิฏฐิมานะกล้า ๆ มาสนทนา มาถามปัญหา เราอธิบายธรรมให้ฟังไม่ถึง ๕ นาที น้ำตาจะคลอเบ้าหรือร้องไห้ พร้อมกับพูดว่า เมื่อก่อนทำไม อาจารย์ จึงไม่พูดให้ฟัง ผมหลงผิดไปมากแล้ว ต่อไปผมจะตั้งใจทำความดี
    สมัยนั้น คล้ายกับว่าได้บรรลุธรรมแล้ว จนนึกว่า หลังจากสอบธรรมสนามหลวงแล้ว เราจะขึ้นไปบ้านโปรดโยมพ่อโยมแม่ จะใช้เวลาเทศน์สัก ๑๕ นาที ท่านจะได้รู้แจ้งธรรมะ แต่โชคไม่เข้าข้าง เพราะท่านพระอาจารย์ที่วัดได้บังคับให้พระภิกษุสามเณร ดูหนังสือ เนื่องจากใกล้จะถึงวันสอบธรรมสนามหลวงแล้ว เลยเพลาๆจากการปฏิบัติ สภาวะที่เกิดขึ้นก็ลดลงไป สมาธิก็เริ่มอ่อนกำลังลงตามลำดับ

    พ.ศ. ๒๔๙๖ นั้นเอง ท่านพระอาจารย์ไพ จนฺทสาโร เจ้าอาวาส ได้พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรและ
    ญา่ติโยมชาวบ้านสร้างสิมน้ำ (อุทกกุกเขปสีมาหรือโบสถ์น้ำ) ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๖ เมตร สูง ๑๒ เมตร สร้างด้วยไม้ โดยเอาเสาต่อกันขึ้นไป
    วันหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้าตอกไม้คอสอง ด้านกว้างอยู่ บังเอิญไม้ที่พาดกันอยู่ตอนนั้น เกิดพลัดตกลง ข้าพเจ้าก็พลอยตกลงไปด้วย โดยเอาศีรษะลงก่อน มือขวาถือเหล็กชะแลง มือซ้ายถือขวาน ขณะตกลงได้ยินเสียงครูอาจารย์พระสงฆ์สามเณรและญาติโยมที่อยู่ข้างล่าง ได้อุทานออกมาพร้อมกันว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • luangpor.jpg
      luangpor.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.1 KB
      เปิดดู:
      984
  4. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    หลวงพ่อพระบวรปริยัติวิธาน

    เกิดบุรพนิมิต
    กลางคืนของวันนั้นเอง เวลาดึกสงัด ข้าพเจ้าปฏิบัตินั่งสมาธิอยู่ เกิดนิมิตขึ้น
     
  5. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    หลวงพ่อพระบวรปริยัติวิธาน

    เปรียบเทียบบุรพนิมิต

    บุรพนิมิตที่เห็น พณฯท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม มาสำรวจหาผู้มีบารมีที่จะได้บวชอยู่ในพระพุทธศาสนา ในวันที่ข้าพเจ้าจะลาสิกขาครั้งแรก แล้วท่านบอกว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีบุญบารมี จะได้บวชอยู่ในพุทธศาสนาได้นาน ๆ แล้วท่านนิมนต์ข้าพเจ้าไว้ไม่ให้ลาสิกขา หมายถึงบารมีที่เราได้เคยบำเพ็ญมาแล้ว มาเป็นแรงกระตุ้นไว้ ห้ามไว้ ไม่ให้ลาสิกขา

    สำหรับบุรพนิมิตเห็นปะรำอันกว้างใหญ่สวยงามมาก มีเครื่องตกแต่งประดับประดามากมาย มีสิ่งของต่าง ๆ ครบทุกอย่างอยู่ในปะรำนั้น ไม่ว่าจะต้องการสิ่งใด อะไร มีพร้อมหมด และมีพระราชบัลลังก์ประดิษฐานอยู่ตรงกลางของปะรำ มีในหลวงรัชกาลที่ ๔ ทรงประทับอยู่บนบัลลังก์นั้นด้วย โดยพระองค์ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศใต้ ข้าพเจ้าเดินเข้าไปทางทิศเหนือของปะรำ เมื่อไปถึงพระราชบัลลังก์ ข้าพเจ้ายืนทางทิศใต้แล้วมองขึ้นดูในหลวงท่าน พร้อมกันนั้นในหลวงท่าน ตรัสว่า เออ..ดีละ พระคุณเจ้ามาถึงแล้ว พระคุณเจ้าต้องการสิ่งใดในปะรำ นิมนต์เลือกหาเอาตามใจชอบเถิด ข้าพเจ้าเดินหาของที่ชอบใจทั่วปะรำ หาสิ่งที่ชอบใจไม่มี ผลสุดท้ายได้เดินไปทางทิศใต้ของปะรำ ไปพบหมากเกลี้ยงสุกผลหนึ่ง มีสีเหลืองคล้ายสีจีวร ชอบใจถือเอาไว้ แล้วเดินมาที่พระราชบัลลังก์ ซึ่งในหลวงทรงประทับอยู่ พระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า พระคุณเจ้าเคยขี่เครื่องบินแล้วหรือยัง ข้าพเจ้าถวายพระพรตอบว่า ยังไม่เคยขับขี่ พระองค์ตรัสอีกว่า ถ้าอย่างนั้น นิมนต์ท่านไปขับขี่เอาเครื่องบินที่จอดอยู่ทางทิศตะวันตกของปะรำนั้น ข้าพเจ้าถวายพระพรตอบว่า ขับขี่ไม่เป็น ในหลวงจึงนำข้าพเจ้าขึ้นเครื่องพาบินวนรอบปะรำ ๔ รอบแล้วจึงลงจอด พระองค์ท่านเสด็จขึ้นประทับบนบัลลังก์อีก ได้ตรัสกับข้าพเจ้าว่า ให้อยู่บำเพ็ญบารมี อบรมสั่งสอนศิษย์และญาติโยมต่อไป
    นิมิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น ยังไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องอะไร เมื่อได้ประพฤติปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ผ่านไปดีแล้ว จึงชะเง้อมองกลับมาพิจารณาย้อนหลัง จึงทราบได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ว่า ของที่มีอยู่ในปะรำทั้งหมด หมายถึงบุญบารมีที่เราได้บำเพ็ญมาเต็มบริบูรณ์แล้ว พระราชบัลลังก์นั้น หมายถึง ศีล สมาธิ ในหลวงรัชกาลที่ ๔ หมายถึง อริยมรรค ๔ อริยผล ๔ หมากเกลี้ยงสุกมีสีเหลืองสวยสดงดงาม หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความหมดจดของจิตใจ เครื่องบินที่ขึ้นขี่รอบปะรำ ๔ รอบ หมายถึง วิปัสสนาญาณ ๑๖ ซึ่งต้องเกิดขึ้นครบ ๔ รอบ จึงจะประหารอาสวะกิเลส เครื่องเศร้าหมองให้หมดจดลงได้โดยสิ้นเชิง ฯ
    หลักการสอน

    เมื่อผลของการศึกษาและการปฏิบัติของข้าพเจ้า เป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็ได้เริ่มแนะนำสั่งสอนศิษย์ที่เป็นพระภิกษุสามเณร ตลอดถึงญาติโยมชาวบ้าน ให้มีโอกาสเวลาได้ประพฤติปฏิบัติธรรมะ ทั้งสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน โดยได้สอนควบคู่กันไป ถ้าชั่วโมงปฏิบัติมีน้อย ก็จะสอนสมถกรรมฐานก่อน แล้วค่อยสอนวิปัสสนาต่อภายหลัง แต่ถ้าชั่วโมงปฏิบัติมีมาก จะสอนวิปัสสนาก่อนแล้ว ค่อยสอนสมถะกรรมฐานต่อภายหลัง
    ในด้านสมถะกรรมฐาน ก็จะสอนจะฝึกให้ชำนาญในวสีทั้ง ๕ สามารถเข้าสมาธิได้ ๑ ชั่วโมง ๒ , ๓, ๖, ๑๒, ๒๔, และ ๓๐ ชั่วโมง ส่วนจะเข้าได้มากหรือได้น้อยนั้น ขึ้นอยู่ที่บุญบารมีของผู้ปฏิบัติ
    ในด้านอภิญญาจิต ก็ได้สอนทิพพโสตอภิญญา ทิพพจักขุอภิญญา ปรจิตตอภิญญา ปุพเพนิวา-สานุสสติญาณ และจุตุปาตญาณ เป็นต้น เฉพาะเรื่องอภิญญานี้ ได้พิจารณาเลือกสอนเป็นราย ๆ ไป คือไม่ได้สอนทั่วไปทั้งหมด เพราะต้องพิจารณาดูเสียก่อนว่า ผู้นี้ได้เคยบำเพ็ญบารมีมา สามารถยังอภิญญาจิตให้เกิดขึ้นได้ไหม ถ้าได้จึงสอนให้
    เมื่อสอนเรื่องอภิญญาจิตแล้ว ก็พิจารณาดูอีกว่า เรื่องอภิญญาจิตนี้เป็นเรื่องลี้ลับ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก บุคคลธรรมดาทั่วไปไม่สามารถรู้ได้ หากเอามาสาธิตให้คนอื่นได้ดูได้ชม ก็ไม่สามารถหรือยากที่จะรู้ตามเห็นตามได้ แต่กลับจะไม่มีคนเขาเชื่อถือ ซ้าจะหาว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน หลอกลวงชาวโลก เป็นเรื่องโกหกไร้สาระ อวดอุตตริมนุสสธรรม ข้าพเจ้าจึงหันมาฝึกวิธีที่ง่าย คือให้คนหนึ่งนั่งหลับตา เอาผ้าขาวมาพับ ๕ - ๖ ชั้นเพื่อปิดตา แล้วนั่งสมาธิอ่านหนังสือให้ดู ให้ชม หรือให้ผู้ใดผู้หนึ่งมานั่งข้างหน้าหรือหาสิ่งของเช่น แจกัน เป็นต้น มาวางไว้ข้างหน้าของผู้ที่เอาผ้าปิดตานั้น ในระยะห่างพอสมควร คือห่างประมาณ ๒-๓ เมตร แล้วให้เขาเพ่งดู เขาก็จะเห็นและบอกได้ถูกต้อง ทุก ๆ อย่างที่เอามาวางไว้ข้างหน้านั้น
    การฝึกวิธีนี้ ก็ไม่ยากจนเกินไป หากผู้ใดได้เคยบำเพ็ญบารมีมาก็ฝึกได้เร็ว แต่ถ้าหากไม่เคยได้บำเพ็ญบารมีมา แม้จะฝึกเป็นปี ๆ ก็ไม่สำเร็จ เหตุนั้น ก่อนฝึกเราต้องพิจารณาดูก่อนว่า เขาจะฝึกได้หรือไม่ได้ การที่ฝึกและมีการสาธิตเช่นนี้ ก็เพื่อปลูกศรัทธาของผู้ปฏิบัติ หรือผู้อยากปฏิบัติ ทั้งเป็นการทรมานคนที่มีทิฏฐิมานะ เป็นกุศโลบายของการสอนอีกแผนกหนึ่ง
    ครั้นต่อมาได้สังเกตและพิจารณาดู ผู้ที่ได้รับการฝึกอภิญญาจิต ที่ยังไม่ผ่านมรรคญาณ ผลญาณ จะทำให้เกิดทิฏฐิมานะ เอาไปใช้ในทางที่ผิดต่อคำสอน ผิดต่อพระธรรมวินัย เป็นต้น เหตุนั้น นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จึงไม่รับฝึกรับสอนให้จนกระทั่งทุกวันนี้ (๑๒ กันยายน ๒๕๔๐)

    อนึ่ง พ.ศ. ๒๕๑๕ นั้นเอง ข้าพเจ้าได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ข้าพเจ้าได้กล่าวคำสัจจปฏิญญาณตน ท่ามกลางครูบาอาจารย์ พระภิกษุสามเณรและญาติโยม ที่มาแสดงมุทิตาจิตเป็นจำนวนมาก โดยมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูเขมราฐเมธี เจ้าคณะอำเภอเขมราฐในขณะนั้น เป็นประธาน
    ข้าพเจ้าได้กล่าวคำปฏิญญาณตนว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตอยู่ในเพศพรหมจรรย์ จะไม่ลาสิกขาตลอดชีวิต ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ

    ๑. เพื่อช่วยสืบอายุพระพุทธศาสนา เท่าที่ความสามารถจะทำได้
    ๒. เพื่อบำเพ็ญบารมีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    ๓. เพื่อตอบสนองอุปการคุณของบิดา มารดาและญาติโยม ที่ให้ความอุปการะ
    ๔. เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ ธุระ ของครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ในการบริหารงานพระศาสนา เต็มความสามารถ ตามอำนาจหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย เท่าที่สามารถจะทำได้

    ภาคผนวก


    วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ อาพาธเป็นไข้ไทฟอยด์อย่างหนัก เข้าโรงพยาบาลเขมราฐ หมอพิสูจน์โรคไม่ถูก ตัดสินว่า ข้าพเจ้าเป็นไข้มาเลเรีย จึงจัดการเข้าน้ำเกลือและฉีดยาควินินซัลเฟตลงในน้ำเกลือ เมื่อเข้าน้ำเกลือ ๆ ไม่ยอมไหล เพราะโลหิตแข็งตัวอุดตัน ตัวข้าพเจ้าดำคล้ำเหมือนถูกไฟไหม้ ข้าพเจ้าได้ขอร้องหมอให้ยกน้ำเกลือขึ้นสูง ๆ และเปิดน้ำเกลือไว้ให้เต็ม แช่ไว้อย่างนั้นแหละ จะไหลหรือไม่ไหลช่างมัน แช่ไว้ประมาณ ๑๕ นาที โลหิตละลาย น้ำเกลือเริ่มไหล เมื่อเข้าน้ำเกลือเสร็จถอดเข็ม เหมือนดังว่าข้าพเจ้าอยู่คนละโลก ประสาททุกส่วนดับหมด เสียงก็ไม่ได้ยิน แต่ใจยังพอมีความรู้สึกอยู่หน่อยหนึ่ง จึงพิจารณาว่า วันสุดท้ายของการปฏิบัติวิปัสสนา ได้พิจารณาถึงอายุสังขารว่า จะอยู่ได้เท่านั้นปี เท่านี้ปี แต่บัดนี้ทำไมหนอ จึงจะมามรณภาพกลางคัน พิจารณากลับไปกลับมา ก็ทราบว่ายังไม่ตาย แต่ถ้าขืนอยู่ที่นี้ต่อไปอีกจะตาย เพราะหมอให้ยาไม่ถูกกับโรค
    ในช่วงนั้น ข้าพเจ้าเหมือนสุนัขบ้า ลุกได้ นั่งได้ ยืนได้ เดินได้ ขึ้นบันไดได้ ลงบันไดได้ ซึ่งเมื่อก่อนนี้นอนอยู่กับที่ จะลุกก็ต้องพยุง แต่บัดนี้ พูดเก่ง ข้าพเจ้ารู้ตัวเองว่าไข้ขึ้นสูง จนถึงกับเป็นบ้า จึงบอกโยมที่ติดตามว่า หลวงพ่อจะกลับ ใครอยากอยู่ก็อยู่ แต่หลวงพ่อจะกลับ พูดจบก็ลุกขึ้นเดินไปหารถ ขึ้นรถสั่งให้โซเฟอร์ออกรถพากลับทันที คนที่ติดตามต่างพากันวิ่งขึ้นรถ ตลอดทางข้าพเจ้าพูดคนเดียว ​
    พวกญาติและโยมชาวบ้านเข้าใจว่า ข้าพเจ้าหายแล้ว ต่างก็พากันกลับหมด เมื่อโยมกลับหมดแล้ว จึงใช้ให้สามเณรที่อุปัฏฐากไปตามหมอประจำมา บอกว่า คุณหมอ ขณะนี้ไข้มันขึ้นสูงถึงที่แล้วนะ จะจัดการอย่างไรก็จัดการเลย คุณหมอตอบว่า ไม่เป็นไรดอกหลวงพ่อ ตายก็ตายวันนี้ละ ถ้าพ้นวันนี้ไปไม่ตายดอก หมอจึงฉีดยาให้ ประมาณ ๓๐ นาทีเกิดช็อค (ตายคืน) รู้สึกตัวขึ้นมาไม่ถึง ๑๐ นาที ช็อก(ตาย)ไปอีก รู้สึกตัวขึ้นมา ได้พูดกับลูกศิษย์ทั้งหลายว่า ตอนนี้ ถ้าลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ในถิ่นต่าง ๆ คิดถึงเรา ก็คงจะพากันฝันถึงเรา ในขณะเดียวกันนั้นก็ได้พูดกับหมอว่า คุณหมอ หัวใจมันหยุดทำงานไปสองครั้งแล้วนะ พูดจบ หมอยื่นมือมาจับชีพจรพร้อมกับพูดว่า หัวใจหยุดเต้น เป็นจังหวะเดียวกันกับวินาทีที่ข้าพเจ้าขาดความรู้สึกไป มารู้สึกตัวขึ้นมา คุณหมอฉีดยากระตุ้นหัวใจเสร็จพอดี แต่ข้าพเจ้าหมดกำลังแล้ว จะพลิกตัวจะเคลื่อนไหว จะพูด ทำไม่ได้ เพราะหัวใจมันจะหยุดทำงาน มันจะชัก มีแต่นอนลืมตาอยู่เฉย ๆ แต่ภูมิใจ ดีใจว่า ธรรมะที่ได้ปฏิบัติมาได้ประโยชน์ตอนนี้ เพราะว่าตอนนี้หากเรามีความหวั่นใจ กลัวตาย ห่วงนั้นห่วงนี้ พะวงหน้าพะวงหลัง เราคงไม่ฟื้นแน่ คงตายไปเลย และในขณะนั้น ก็รู้ว่า แม่ตาย คนนั้นตาย คนนี้ตาย เพราะมันเป็นอย่างนี้เอง หากเราไม่ได้ประสบด้วยตนเองก็คงไม่รู้
    เวลา ๒๔ นาฬิกาเศษ เกิดช็อค(ตาย)ไปอีก ๒ ครั้ง รู้สึกตัวขึ้นมาหมดสภาพ มีแต่นอนลืมตาดูเฉย ๆ กระดุกระดิกและพูดไม่ได้แล้ว พอถึงตอนเช้า ๖ นาฬิกาเศษ เกิดชักอย่างแรง ข้าพเจ้าคิดว่า โอ้..มันม้างขันธ์ทั้ง ๕ แล้วหรือนี่ (ม้างแปลว่าทำลาย) ขันธ์ ๕ มันจะแตกดับแล้วหรือนี่ แต่ใจเฉย ๆ ไม่หวั่นไหว ใจเป็นปกติดี ในช่วงที่ร่างกายหมดสภาพสงบแน่นิ่งอยู่กับที่ ๖-๗ วัน มีแต่ดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะที่ลูกศิษย์ลูกหาและญาติโยม มาขอขมาโทษ มาขอบุญขอคุณ เพราะต่างคนก็คงคิดว่าข้าพเจ้าคงถึงคราวมรณภาพแล้ว พออาการไข้ได้หายไปแล้ว ต้องฟักฟื้นอยู่นานเป็นเดือนจึงเข้าสู่สภาพปกติ

    พ.ศ. ๒๕๒๒ ตอนเช้าวันหนึ่ง ข้าพเจ้าเอาเตาฟู่น้ำมันก๊าดซึ่งเติมน้ำมันไว้เต็มพอดี จุดเพื่อจะต้มน้ำร้อน ชงโอวัลตินดื่ม และให้ทันกับรถประจำทางจากหมู่บ้าน เข้าตัวอำเภอเขมราฐ เพราะว่ารถจะออกก่อนฉันเช้า พอดีกำลังนั่งดูกาต้มน้ำซึ่งกำลังเดือดอยู่นั้น เตาฟู่เกิดระเบิดขึ้นอย่างแรง ไฟลุกท่วมกุฏิที่อยู่ ข้าพเจ้านั่งอยู่กลางเปลวเพลิง แต่รู้สึกไม่ร้อน จึงคิดว่า เอ้อ..ไฟนี้มันก็ยังรักเราอยู่หนอ ในขณะนั้นบรรดาพระภิกษุสามเณรและแม่ชีที่มีอยู่ในวัด ได้ยินเสียงระเบิดของเตาฟู่ และเห็นเปลวเพลิงกำลังลุกโชติช่วงอยู่ ต่างก็วิ่งมาที่เดียวกัน แล้วหาน้ำมาสาดใส่ไฟเพื่อจะดับให้ได้ ตอนนั้นข้าพเจ้ายังนั่งเฉยอยู่ที่เดิมกลางเปลวเพลิง จึงบอกว่า อย่าเอาน้ำสาด เพราะน้ำมันมันฟูมันลอย จะทำให้ไฟยิ่งลุกแรงเพิ่มขึ้นอีก ให้เอาดินสาดใส่ พูดจบต่างคนก็ต่างเอาดินสาดเข้าใส่ไฟ ข้าพเจ้าทนดินที่ถูกสาดใส่ไม่ไหวจึงลุกขึ้น เดินออกจากไฟ ซึ่งในขณะนั้นไฟยังลุกท่วมตัวของข้าพเจ้าอยู่ ข้าพเจ้าจึงรวบจีวรที่ห่มอยู่นั้น ม้วนเป็นลูกกลม ๆ แล้วโยนไว้ใต้โต๊ะรับแขก และยังมีไฟลุกท่วมจีวรอยู่ด้วย เมื่อไฟดับหมดแล้ว ข้าพเจ้าจึงให้สามเณรเอาจีวรมาคลี่ดูว่า ไฟไหม้ไหม สามเณรประมาณ ๔-๕ รูป ตอบขึ้นพร้อมกันว่า ไม่ไหม้ครับ หลวงพ่อ ช่วยกันมาดูผม ดูขนคิ้ว ดูขนตา ดูตามแขน ตามร่างกาย ซิว่าไฟไหม้ไหม ไม่ไหม้ครับหลวงพ่อ ตอบขึ้นพร้อมกัน โอ้..ไฟมันไม่มีหัวจิตหัวใจ มันก็ยังรู้จักรักเราอยู่หนอ หลวงพ่อพูดขึ้น
    วันนั้น ข้าพเจ้างดไม่เข้าเขมราฐ ร่างกายยังปกติดี ทุกส่วนไม่พอง ไม่ถูกไฟไหม้ กลับเย็นชุ่มฉ่ำอยู่ทั้งวัน ในขณะเตาฟู่ระเบิดเกิดไฟไหม้ ข้าพเจ้าเฉย ๆ ไม่ตกใจ ไม่กลัวเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เรื่องเช่นนี้ สุดวิสัยที่คนธรรมดาจะรู้ได้ เดาได้ว่า มันเป็นเพราะอะไร แต่ข้าพเจ้ารู้ว่า อันนี้เป็นอานิสงส์ของการเจริญเมตตา และพลังจิตที่มั่นคง หนักแน่นไม่หวั่นไหว ฯ

    วันที่ ๑๐ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เส้นโลหิตในโพรงจมูกแตกอย่างแรง ซึ่งวันนั้น หลังจากทำวัตรค่ำแล้ว พวกเด็ก ๆ พากันมาลงวัด ทำวัตร สวดสรภัญญะ ข้าพเจ้าได้พูดกับเด็ก ๆ ว่า ใครมาลงวัดวันนี้ ให้ลงชื่อในสมุดเยี่ยมไว้ทุกคน ข้าพเจ้าได้หยิบสมุดมาให้ ๒ เล่ม พวกเด็กๆ ก็พากันลงชื่อในสมุดเยี่ยม และในตอนนั้น ข้าพเจ้าคิดอยากดื่มเป๊ปซี่ จึงบอกสามเณรว่า น้อย..หลวงพ่ออยากดื่มเป๊ปซี่ เอามาให้ดื่มหน่อยซิ เอาแบบธรรมดาไม่ต้องแช่เย็น แล้วสามเณรก็นำมาถวาย พอดื่มเข้าไปเท่านั้นแหละ เส้นโลหิตในโพรงจมูกโปร่งออกมาและแตก หมอประจำสถานีอนามัย ในหมู่บ้าน พากันจัดการปฐมพยาบาล จนหมดความสามารถ โลหิตก็ยังไม่หยุดไหล วัดความดันแล้วไม่มีเลย ลูกศิษย์ทั้งหลาย จึงช่วยกันหามขึ้นรถไปโรงพยาบาลเขมราฐ หมอจัดการเอาสำลีชุบน้ำยาอุดจมูกทั้งสองไว้ โลหิตหยุดไหล แต่หารู้ไม่ว่า โลหิตมันกลับไหลลงไปในกระเพาะและลำไส้ เวลาประมาณตี ๑ - ๒ โลหิตมันเน่า เกิดเจ็บท้องอย่างหนัก ช็อก(ตาย)ไป ๒ ครั้ง พอฟื้นขึ้นมา ระบบขับถ่ายได้ถ่ายโลหิตออกมาจนหมด ร่างกายจึงเริ่มเข้าสู่สภาพปกติ
    การช็อคครั้งนี้ ข้าพเจ้ามีใจไม่หวั่นไหว ไม่กลัวตาย ฯลฯ กลับภูมิใจ ดีใจว่า ถ้าเราไม่ได้ประสบด้วยตนเอง ก็จะไม่รู้อย่างนี้ ที่หลวงปู่รูปนั้นรูปนี้ ท่านเข้าห้องน้ำแล้วช็อค หรือมรณะในห้องน้ำ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง เพราะนักปฏิบัติ จะมีใจเข้มแข็ง ไม่หวั่นไหว แต่ร่างกายหมดสภาพ ทานไว้ไม่ได้จึงเป็นเช่นนั้น


    ช่วงสุดท้ายของประวัติ
    ข้าพเจ้าได้เขียนประวัติมาเพื่อสนองเจตนารมณ์ ในที่ประชุมของคณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย โดยสังเขปกถา คิดว่าพอเป็นทิฏฐานุคติเครื่องเตือนใจไม่มากก็น้อย ก่อนจบก็ขอฝากข้อคิดไว้บางสิ่งบางประการ ว่า

    เราเกิดมา และได้มีศรัทธา มีโอกาสมาบวชในพระศาสนา ขออย่าได้ประมาท ให้เอาใจใส่ในการฝีกการฝน การอบ การรม ตนเองให้ดี ให้คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ เพื่อจะได้มีกำลังใจต่อต้านกับอารมณ์ดี อารมณ์ชั่ว อันจะเกิดขึ้นกับการดำเนินวิถีชีวิต​

    การฝึกนั้น มี ๒ อย่าง คือ

    ๑. ฝึกด้วยบุพพภาคมรรค ได้แก่ การลงมือปฏิบัติ ทั้งในส่วนที่เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นภาวนา ทั้งสมถและวิปัสสนา และข้อปฏิบัติอันสมควรอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินวิถีชีวิต

    ๒. ฝึกด้วยอำนาจอริยมรรค ได้แก่ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
     
  6. พระมหากุลวัฒน์ธนะ

    พระมหากุลวัฒน์ธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    607
    ค่าพลัง:
    +3,589
    กรุงเทพฯffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    1.หลวงปู่หลอด ประโมทิโต
    วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    2.หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร
    วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง จ.กรุงเทพมหานคร<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ภาคกลาง<O:p></O:p>
    1.ท่านอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าภูริทัตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    2.หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล
    วัดสระมงคล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    3.หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    สำนักสงฆ์สวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    4.พระอาจารย์สาคร ธัมวุธโธ
    วัดป่ามณีกาญจ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    5.หลวงปู่สุทัศน์ โกสโล
    วัดกระโจมทอง ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    6.หลวงปู่ทอง จันทสิริ
    วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    7.หลวงปู่จันทา ถาวโร
    วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูล จ.พิจิตร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    8.อาจารย์อ่ำ ธัมกาโม
    วัดธุดงคสถานสันติวรญาณ อ.วังโป่ง จ.เพรชบูรณ์<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    9.ท่านฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมญาณ ) (ท่านมรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ )
    วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    10.หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก
    วัดทุ่งสามัคคีธรรม จ.สุพรรณบุรี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    11.หลวงปู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    <O:p></O:p>
    12.พระอาจารย์เล็ก (พระครูธรราธรเล็ก)<O:p></O:p>
    วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ภาคเหนือ<O:p></O:p>
    1.หลวงปู่ขาล ฐานวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    2.ท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย
    วัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย

    <O:p></O:p>
    3.ครูบาพรชัย วรปัญฺโญ<O:p></O:p>
    วัดพระธาตุหมอกมุงเมือง ต.ไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    4.หลวงปู่หลวง กตปุญโญ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดคีรีสุบรรพต จ.ลำปาง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    5.พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญมากโร
    วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    <O:p></O:p>
    6.อาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    วัดอรัญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    <O:p></O:p>
    7. หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ
    วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ<O:p></O:p>
    1.หลวงปู่ลี กุสลธโร
    วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    2.หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร
    วัดป่าประชาชุมพลพัฒนาราม อ.เมือง จ.อุดรธานี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    3.พระอาจารย์เพียร วิริโย
    วัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    4.หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี

    5.หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป
    วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    6.หลวงปู่ถวิล สุจิณโณ
    วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม จ.อุดรธานี

    7.อาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสโก
    วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี

    8.อาจารย์วันชัย วิจิตโต
    วัดภูสังโฆ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    9.หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต
    วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    10.อาจารย์เสน ปัญญาธโร
    วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    11.อาจารย์คำแพง อัตสันโต
    วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    12.พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
    <O:p></O:p>
    13.พระอาจารย์จันทร์โสม กิตติกาโม
    วัดป่านาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    14.พระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร
    วัดถ้ำสหายธรรมจันทร์นิมิตร อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    15.หลวงปู่ทองใบ ปภสฺสโร
    สำนักวิปัสสนาธุระ (ภูย่าอู่) บ.นาหลวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    16.หลวงปู่คูณ สุเมโธ
    วัดป่าภูทอง ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    17.หลวงปู่ถิร ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดป่าบ้านจิก) อ.เมือง จ.อุดรธานี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    18.ท่านพระอาจารย์อุทัย ธมฺมวโร
    วัดภูย่าอู่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    19.พระอาจารย์แบน ธนากโร
    วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    20.หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
    วัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    21.หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม
    วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

    22.หลวงปู่บุญหนา ธัมทินโน
    วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    23.หลวงปุ่บุญพิน กตปุญโญ
    วัดผาเทพนิมิตร อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร

    24.หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดเหสลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    25.หลวงปู่แปลง สุนทโร
    วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    26.พระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม
    วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    27.พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ
    วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    28.หลวงปู่คำฟอง เขมจาโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดกุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    29.หลวงปู่แฟ็บ สุภัทโท
    วัดป่าดงหวาย อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร<O:p></O:p>

    30.หลวงปู่ผาง โกสโล
    วัดภูหินแตก อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    31.ท่านพระอาจารย์สิงทอง ธัมวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    32.ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม
    วัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร

    33.ท่านพระอาจารย์หลอ นาถกโร
    วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ( วัดถ้ำพวง วัดพระอาจารย์วัน อุตโม ) อ.ส่องดาว จ.สกลนคร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    34.หลวงปู่อว้าน เขมโก
    วัดป่านาคนิมิตร อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    35.หลวงปู่เนย สมจิตฺโต
    วัดป่าโนนแสนคำ บ.ทุ่งคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    36.อาจารย์เหรียญ วรลาโภ (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง)
    วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    37.พระอาจารย์อุทัย สิรินธโร
    วัดถ้ำพระ อ.เซกา จ.หนองคาย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    38.พระอาจารย์ทุย (ปรีดา) ฉันทกโร
    วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    39.พระอาจารย์แยง สุขกาโม
    วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    40.หลวงปู่ต้น สุทธิกาโม
    วัดบึงพลาราม ต.บ้านว่าน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    41.หลวงพ่อทองคำ กาญวันวัณโณ
    วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    42.หลวงปู่ศรี มหาวีโร
    วัดประชาคมวนาราม อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    43.พระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ
    วัดป่ากุง (วัดป่าประชาคมวนาราม ) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    44.พระอาจารย์สายทอง เตชธัมโม
    วัดป่าห้วยกุ่ม (ใกล้เขื่อนจุฬาภรณ์ ) อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    45.พระอาจรย์วิไล เขมิโย
    วัดถ้ำพญาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

    <O:p></O:p>
    46.พระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธัมโม
    วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    47.หลวงปู่ทา จารุธัมโม
    วัดถ้ำซับมืด จ.นครราชสีมา<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    48.อาจารย์สาย เขมธัมโม
    วัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    49.หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต
    วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    50.อาจารย์พวง สุขินทริโย
    วัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    51.พระอาจารย์สรวง สิริปุญโญ
    วัด่าศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    52.หลวงปู่ประสาร สุมโน
    วัดป่าหนองไคร้ ต.หนองหิน อ.เมือง จ.ยโสธร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    53.พระอาจารย์ท่อน ญาณธโร
    วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    54.หลวงปู่เผย วิริโย
    วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ จ.เลย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    55.หลวงปู่คำพอง ขันติโก
    วัดป่าอัมพวัน จ.เลย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    56.พระอาจารย์มหาโส กัสโป
    วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

    57.หลวงปู่บุญเพ็ง กัปโป
    วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าช้าเหล่างา) อ.เมือง จ.ขอนแก่น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    58.พระอาจารย์บุญทัน ปุญทัตโต (ท่านเพิ่งจะมรณภาพ เดือน ธค.49 )
    วัดป่าสามัคคีสันติธรรม อ.ฝาง จ.ขอนแก่น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    59.หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
    วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน (วัดระหาน) อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    60.คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    สำนักชีบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

    61.หลวงปู่หล้า เขมปัตโต (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)
    วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    62.หลวงปู่อ้ม สุขกาโม
    วัดภูผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    63.หลวงปู่สมศักดิ์ ปัณฑิโต
    วัดบูรพาราม ( วัดหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    64.หลวงปู่เณรคำ ฉันติโก วัดป่าขันติธรรม จ.ศรีษะเกษ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ภาคตะวันออก<O:p></O:p>
    1.อาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง)
    วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    2.พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม
    วัดพิชัยพัฒนาราม ( วัดป่าเขาน้อยสามผาน ) ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

    <O:p></O:p>
    3.หลวงปู่พิศดู ธรรมจารีย์
    วัดเทพธารทอง ต.พลวง กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    4.หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร
    วัดถ้ำประทุน ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ภาคใต้<O:p></O:p>
    1.หลวงปู่มหาเนียม สุวโจ(มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง)
    วัดเจริญสมณกิจ (หลังศาลภูเก็ต ) อ.เมืองจ.ภูเก็ต
     
  7. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    อนุโมทนากับทุก ๆ ท่าน ที่เข้ามาให้ข้อมูลในกระทู้นี้นะค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 777.jpg
      777.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.7 KB
      เปิดดู:
      829
  8. miss_aommie

    miss_aommie สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +21
    ถ้ารักมาก ทุกข์มาก ลำบากนัก
    ถ้ารักบ่อย ทุกข์บ่อยแน่ แก้ไม่ไหว

    ถ้ารักน้อย ทุกข์น้อย ค่อยคลายใจ
    ถ้าไม่รัก หมดทุกข์ สุขยั่งยืน

    `อนุโมทนา สาธุกับทุกท่านค๊ะ
     
  9. kamkaew

    kamkaew สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2008
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +3
    ดิฉันเป็นคนเชียงใหม่แต่ไม่เคยไปกราบท่านสักครั้งเลย
    จะพยายามหาโอกาสไปกราบท่านให้ได้ค่ะ [​IMG]
     
  10. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    รูปหลวงพ่อแช่ม วัดท่าฉลอง จ.ภูเก็ต ได้มาโดยบังเอินค่ะ
    ทราบมาว่าคนภูเก็ตนับถือท่านมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1174365098.jpg
      1174365098.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.3 KB
      เปิดดู:
      87
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2008
  11. chanthawat_k

    chanthawat_k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    955
    ค่าพลัง:
    +413
    ดินแดนแห่งนี้ เป็นดินแดนแห่งอริยชน
    ดินแดนแห่งมรรคผล สู่อมตะ แห่งพระนิพพาน
     
  12. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    [​IMG]
     
  13. jairlinethai

    jairlinethai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    375
    ค่าพลัง:
    +1,634
    คุณ อำนวยกรณ์ ก็อยู่ จ.อุบลฯ เหมือนกันเหรอครับ


    ถ้างั้นขอแนะนำพระอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในตัว จ.อุบลฯ เพิ่มเติมนะครับ เผื่อมีโอกาสจะได้ไปกราบและสนทนาธรรมกับท่าน

    -พระอาจารย์ชยางกูร วัดป่าโนนจ่าหอม ต.โพนเมือง อ.เหล่าเสือโก้ก จ.อุบลฯ
    -พระอาจารย์ชาญชัย(แขก) วัดป่าบ่อน้ำพระอินทร์ ต.ช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลฯ
    -หลวงปู่ประดิษฐ์ วัดทุ่งเกษม ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลฯ


    ส่วนวัดที่ หลวงพ่อท่านมรณภาพไปแล้ว แต่ก็ควรไปเคารพสรีระท่านคือ หลวงปู่บุญมี วัดบ้านนาเมือง (หัวสนามบิน) อ.เมือง จ.อุบลฯ ครับ

    หากต้องการสอบถามเส้นทางไปวัด ก็แจ้งมาได้ทาง pm ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2008
  14. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ขอบคุณมากเลยนะค่ะ
    อาจารย์แขกเพิ่งไปกราบเมื่อสองเดือนที่แล้วค่ะ เดือนหน้าว่าจะไปอีกค่ะ
    ส่วนปู่ประดิษฐ์วัดทุ่งเกษมก็เคยไปกราบเหมือนกันค่ะ ช่วงนี้ไม่ได้ไปนานแล้วค่ะ
    ส่วนท่านอาจารย์ชยางกูร ไม่เคยเลยค่ะ ขอบคุณมาก ๆ อีกครั้งนะค่ะ
     
  15. jairlinethai

    jairlinethai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    375
    ค่าพลัง:
    +1,634
    อุ๊บสสส

    ศิษย์หลวงพ่อแขกเหมือนกัน ยินดีด้วยครับ

    เดือนหน้าหลวงพ่อสั่งให้ไปถือศีล 8 พอดี โชคดีคงได้เจอกันครับ
     
  16. ข้าวขาว

    ข้าวขาว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +1
    อนุโมทนาสาธุค่ะ
    กรรมอยู่ที่เจตตนา ถ้าไม่เจตตนาถือว่าไม่ผิดแล้วแต่บุคคลที่มีศรัทธาในครูบาอาจาร์ยจะแนะนำให้ไปกราบค่ะ
     
  17. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ไม่ทราบว่ารู้จักอาจารย์หมูด้วยหรือเปล่าค่ะ
     
  18. jairlinethai

    jairlinethai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    375
    ค่าพลัง:
    +1,634
    รู้จักครับ

    เอ ไม่ใช่เคยเห็นหน้ากันป่าวครับนี่ อิอิ
     
  19. สิทธิศักดิ์

    สิทธิศักดิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +253
    ถ้าที่จ.อุบลผมขอแนะนำ ถ้ามีโอกาสก็มากราบและสนทนาธรรมกับท่านได้ครับ
    พระอาจารย์ธีรยุทธ วัดป่าหัวขัว กี่งอำเภอเหล่าเสือโก้ก จ.อุบล(ทางไปอ.ตระการพืชผล)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2008
  20. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ขอบคุณมากค่ะ
    มีโอกาสต้องไปแน่นอนค่ะ
    สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...