พระปิดตา หลวงพ่อทับ วัดทอง พิมพ์ชะลูดเข่ากว้างหัวบายศรี เนื้อชินผสมแร่

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Chailai65, 18 กันยายน 2017.

  1. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    69
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    พระปิดตา หลวงพ่อทับ วัดทอง พิมพ์ชะลูดหัวบายศรี เนื้อชินเงินผสมแร่

    พระปิดตา หลวงปู่ทับ วัดทองเป็นถูกจัด
    เบญจภาคีพระปิดตาเนื้อโลหะ อันดับที่1
    พระปิดตาหลวงปู่ทับ วัดทอง เนื้อชินเงินผสมแร่ พิมพ์ยันต์ยุ่งชะลูดหัวบายศรี เส้นยันต์วางเต็มองค์พระเป็นเส้นขนมจีนขนาดเล็กเท่าเส้นหนังสติ๊ก

    เนื้อหาโดยทั่วไปจะออกสีเทาของเนื้อชินตามซอกมุมองค์พระจะมีคราบดินขี้เบ้าสีน้ำตาลและเม็ดแร่ต่างๆอย่างชัดเจน และด้านความเก่าจะเห็นไขของเนื้อชินผุดตามผิวองค์พระ
    p5210019-01-jpg.jpg

    พระปิดตาทุกองค์มีข้อพิจารณาคือพระทุกองค์จะไม่มีรอยตะเข็บปรากฏให้เห็นเป็นอันขาด เพราะเป็นการสร้างโดยการหล่อทีละองค์
    พระปิดตาสำนักวัดทองของหลวงพ่อทับ เป็นพระปิดตามหาอุตม์ที่ขึ้นชื่อมากทางด้านมหาอุตม์ ที่สำคัญของแท้หายากเพราะมีจำนวนการสร้างน้อย
    พุทธคุณพระปิดตาของท่านเด่นทาง เมตตามหานิยมและมหาอุตม์
    พระคาถานี้ใช้สำหรับปลุกเสกพระภควัมบดี

    ธัมมะจักกัง ปะทังสุตาวา พุทฌิติวา อัตตังปะทัง สันติเก อะระหาโลเก โลกานัง หิตะการะณา ภันเตควัมปติ นามะตีสุโลเกสุปากะโต พรหมปุตโตมหาเถโรอะระโห เชฎฐะโกมุนี นัตถิเถโร สะโมอินทะคันทัพพา อะสุราเทวา สักโกพรหมาภิปูชิโต นะโมพุทธัสสะควัมปะติสะ นะโม ธัมมัสสะควัมปะติสะ นะโมสังฆัสสะควัมปะติสะ
    สุกขา สุขะวะรัง ธัมมังธัมมะจักกัง ปะวะรัง วะรัง นิฎฐิตัง สิวลีจะมหาเถโร ยักขา เทวาภิปูชิโต โสระโหปัจจะยาทิมหิ อะหังวันทามิตังสะทา สิวลีจะมหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโหปัจจะยาทิมหิ มหาลาภภังกะโรนตุเม ลาเภนะ อุตตะโมโหติ โสระโหปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง สะทา โสตถีภวันตุเม ราชะปุตโตจะโยกะโร สิวะลีอิติสุคะโต ลาเภนะอุตตะโมโหติ ยังยังชนะปะทัง ยาติ นิคคะ เมราชะธานิโย สัพพัตกะปูชิโรโหติ เถรัสสาปาเทวันทามิ เถรัสสานะภาเวนะ สัพพะลาโภภวันตุเม สิวลีนันนทะ สิวะลีเถรัสสะ เอตคะตังคุณัง สัพพะธะนัง สุปติฎฐิตัง สาริกะธาตุ พุทธรูปัง อะหังวันทามิ สัพพะทานะมามิ สัตถะเถรัง มหาเตชัง มหาตัปปัง

    คาถาพระปิดตา
    นะโมพุทธัสสะ คะวัมปะติสสะ
    นะโมธัมมัสสะ คะวัมปะติสสะ
    นะโมสังฆัสสะ คะวัมปะติสสะ
    สุขา สุขะ วะรัง นะโมพุทธายะ
    มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา เจวะ เสกขา ธัมมา ยะธาพุทโมนะ ฯ
    " เป็นโภคทรัพย์ เจริญด้วยโชคภาลเมตตามหานิยม "
    .......................
    พระคาถาพิมพ์พระภควัมปติ " ปิดตา"
    ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
    โลกุตตะโร จะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม

    ประวัติหลวงพ่อทับ วัดทองและพระปิดตายันต์ยุ่ง
    https://goo.gl/NTv8tf
    ข้อมูลจำแนกพระปิดตาของหลวงพ่อทับและหลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง
    www.changwathuay.com/web15/home/9-release/48-pornoi.html
    วิดีโออธิบายประวัติหลวงพ่อทับ วัดทองและพระปิดตา

    อธิบายวิธีดูพิมพ์ต่างๆของปิดตา ของหลวงพ่อทับ วัดทอง
    ตอนที่1

    ตอนที่2

    ตอนที่3

    ตอนที่4


    รูปด้านหน้า เห็นพระกรคู่แรกปิดตา จมูก ปาก
    ?temp_hash=d4c35d17ad480c8a0aceb01f03465e29.jpg

    ยันต์เลขหนึ่งอยู่กลางหน้าอก มีพระกรคู่ที่สองปิดสะดือ

    ?temp_hash=d4c35d17ad480c8a0aceb01f03465e29.jpg

    รูปด้านหลัง จะเห็นเส้นสายยันต์เป็นตัวเฑาะธ์อยู่ต้องกลางหลัง มียันต์ตัวอุอยู่ด้านข้างตัวเฑาะธ์ทั้งสองข้าง และมียันต์ นะ มะ พะ ธะเรียงอยู่ด้านหลังแนวขา เส้นสายยันต์ของเนื้อชินจะมีรอยพรุน
    ?temp_hash=d4c35d17ad480c8a0aceb01f03465e29.jpg
    ?temp_hash=d4c35d17ad480c8a0aceb01f03465e29.jpg

    รูปด้านหน้าเต็มองค์เอียงซ้ายองค์พระ
    ?temp_hash=d4c35d17ad480c8a0aceb01f03465e29.jpg

    รูปด้านหน้าเต็มองค์เอียงขวาองค์พระ
    ?temp_hash=d4c35d17ad480c8a0aceb01f03465e29.jpg

    รูปด้านหน้าซ้ายองค์พระ เห็นพระกรคู่ที่สามปิดหู
    ?temp_hash=9023e45328b28490d1bd346978fbbbe7.jpg

    รูปด้านขวาองค์พระ
    ?temp_hash=9023e45328b28490d1bd346978fbbbe7.jpg

    รูปด้านบนเศียรองค์พระ เป็นหัวบายศรีขมวดคล้ายเลข๑
    ?temp_hash=9023e45328b28490d1bd346978fbbbe7.jpg

    รูปด้านล่างองค์พระ จะเห็นว่าด้านล่างเข่าซ้ายเป็นรอยชนวนสำหรับหล่อเบ้า มีพระกรคู่ที่สีปิดทวาร
    ?temp_hash=9023e45328b28490d1bd346978fbbbe7.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2018
  2. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    69
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    "พระปิดตา หลวงปู่ทับ วัดทอง" ในแวดวง ผู้นิยมพระเครื่อง มีความเชื่อว่าอัดแน่น ด้วยสรรพมงคล อันขลัง ไม่แพ้ "พระปิดตา วัดหนัง ของเจ้าคุณเฒ่า"
    "วัดทอง” หรือ "วัดสุวรรณาราม" ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันตก เขตบางกอกน้อย กทม. เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อดีตเจ้าอาวาสที่โด่งดังสุดกู่ในหมู่นักเลงพระเครื่องมาหลายสมัย คือ พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี หรือที่รู้จักกันในนาม “หลวงปู่ทับ” เป็นชาวบางกอกน้อยโดยกำเนิด เกิดในยุคใกล้เคียงกับหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังแต่อ่อนกว่า ๑๔ ปี
    หลังจากหลวงพ่อทับได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ต่อจากหลวงพ่อเนียม (พระครูวิมลปัญญาจาร) เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ ในปีเดียวกันนั้นเองก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี" ก็ได้เริ่มสร้างพระภควัมบดีหรือพระปิดตาเลื่องลือในด้านพุทธคุณและพุทธศิลป์อันงามเลิศ ยากที่จะหาพระปิดตาองค์ใดในยุครัตนโกสินทร์เทียบได้
    พระเครื่องที่หลวงพ่อทับสร้าง เนื้อหามักจะเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ เนื้อสำริด ซึ่งแยกออกดังนี้ เนื้อสำริดแก่ทอง สำริดแก่เงิน เนื้อขันลงหิน เนื้อทองผสม เนื้อทองแดงเถื่อน เนื้อชินเงิน ชินตะกั่ว ชินผสมแร่ และเนื้อเมฆพัตร์ พุทธลักษณะท่านก็ได้สร้างไว้หลายแบบหลายพิมพ์ แต่ก็มีจุดเด่น และโครงสร้างเป็นเอกลักษณ์ของท่านเอง ดังจะขอยกตัวอย่างไว้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพิจารณาศึกษากันต่อไป

    พระปิดตามหาอุตม์ที่หลวงพ่อทับสร้างขึ้น ส่วนมากมักจะเป็นแบบลอยองค์นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ที่ล้วงปิดทวาร จะล้วงลงทางด้านในไม่ผ่านหน้าแข้ง จึงทำให้เห็นกิริยาลักษณะที่ขัดสมาธิเพชรเด่นชัด หรือจะเรียกว่าเป็นแบบโยงก้นด้านในก็ดูจะเหมาะสมดี ด้านข้างองค์พระไม่ปรากฏรอยตะเข็บเลย เพราะท่านสร้างโดยวิธีปั้นหุ่นด้วยเทียนขี้ผึ้งทีละองค์แล้วจึงใช้ดินเหนียวประกอบด้านนอก
    จากนั้นจึงใช้โลหะที่หลอมละลายเทหยอดทางก้นหุ่น เนื้อโลหะที่ร้อนจัดจะทำให้เทียนสลายตัวสำรอกออกทางรูที่เจาะไว้ เหลือแต่เนื้อโลหะเป็นรูปองค์พระแทน นอกจากจะไม่ปรากฏรอยตะเข็บแล้ว พระมหาอุตม์วัดทองจะไม่เหมือนกันเลยทั้งรูปองค์ และลวดลายของอักขระยันต์ ถึงแม้จะเป็นพระที่มีลักษณะเดียวกัน หรือพิมพ์เดียวกันอย่างเช่นพิมพ์เศียรโตยันต์ยุ่ง พิมพ์เศียรบายศรี พิมพ์ยันต์ย่อง พิมพ์ตุ๊กตา ซึ่งต่างก็มีพุทธลักษณะเหมือนกันทุกองค์ มิฉะนั้นเราจะเปรียบเทียบแบ่งแยกพิมพ์ได้อย่างไร แต่ที่ว่าทุกองค์ไม่เหมือนกันนั้นคือ ไม่เหมือนแบบถอดออกมาจากบล็อกเดียวกันเหมือนกันทุกกระเบียดนิ้ว ถ้าเจอชนิดนั้นก็เป็นของเก๊ครับ

    การกำหนดเลขยันต์ที่จะบรรจุลงบนพระนั้น หลวงพ่อท่านจะเลือกอักขระที่เหมาะสมมีความหมาย มีอำนาจแห่งพุทธาคม บรรจุลงตามส่วนต่างๆ ขององค์พระ เว้นช่องไฟได้เหมาะเจาะสวยงามลึกซึ้งจับตาจับใจ สมกับเป็นฝีมือของท่านนักปราชญ์ ผู้มีจินตนาการอันล้ำเลิศบรรลุถึงฌานสมาบัติชั้นสูงนั่นเชียว จะหาผู้อื่นใดมาลอกเลียนสร้างให้เหมือนได้ยาก นอกเสียจากใช้วิธีถอดพิมพ์ แต่วิธีนี้ก็ยังมีพิรุธให้จับได้ เช่น รอยตะไบตกแต่งเพื่อลบรอยต่อข้างองค์พระ เส้นอักขระจะลดความคม และไม่เหมือนเส้นขนมจีน แต่ของปลอมเส้นยันต์ จะเหมือนกับเส้นหวายที่ผ่าครึ่งซีก และดูกระด้าง ไม่มีชีวิตชีวา ไม่มีความซึ้ง

    นอกจากการพิจารณาเอาความเรียบร้อยขององค์พระเป็นหลักใหญ่แล้ว ยังจะต้องศึกษาทางด้านเนื้อหาควบคู่กันไป เนื้อพระปิดตาวัดทองที่มีค่านิยมสูง อันได้แก่
    • เนื้อสำริดเงิน ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นวัตถุมงคลอันมีค่าหาชมได้ยาก อย่าว่าแต่จะหาไว้เป็นสมบัติของตนเลย พระปิดตาหลวงพ่อทับที่ท่านสร้างจากเนื้อสำริดเงินนี้ ผิวนอก มีวรรณะแดงปนทองคล้ายสีนาค ถ้าใช้แว่นขยายส่องดูจะเห็นเป็นเกล็ดสีทองแพรวพราวทั้งองค์ ส่วนตามซอกที่เราสัมผัสไม่ถึง จะมีประกายทองผิวปรอทจับอยู่ประปราย ส่วนด้านที่นูนเด่นถูกจับต้องอยู่เสมอ จะปรากฏผิวคราบดำอมเทาเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่ง แลดูงามซึ้งยากที่จะบรรยายได้
    • เนื้อหาที่นิยมรองลงมาได้แก่เนื้อสำริดแก่ทอง พระปิดตาที่ท่านสร้างจากเนื้อนี้ตามซอกขององค์พระจะปรากฏผิวสีทองปนนากจับประกาย และมีสนิมเขียวแทรกซึมอยู่ทั่วไป ผิวเนื้อด้านนอกจะเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ส่วนด้านที่ไม่ได้ถูกเหงื่อ สีจะออกเป็นสีทองจางๆ คล้ายจำพวกขันลงหิน แต่เข้มกว่า ผิวโลหะจะตึงเรียบและมีน้ำหนักกว่าเนื้อชนิดอื่น
    • เนื้อทองผสม เป็นเนื้อที่มีค่านิยมด้อยกว่าสองชนิดที่กล่าวมาแล้ว การทำปลอมก็ทำได้ง่ายแต่ยังมีข้อสังเกตได้คือ ของแท้เนื้อพระจะแห้ง ถ้าส่องด้วยแว่นขยายจะเห็นเป็นเกร็ด คล้ายโรยไว้ด้วยทรายทองมีผิวคราบน้ำตาลอ่อนจับอยู่เป็นแห่งๆ ตามซอกองค์พระจะปรากฏผิวไฟสีออกซีดๆ จับอยู่ประปรายและแห้งสนิท ทางด้านความเรียบร้อยก็เหมือนกับพระเนื้ออื่นๆ
    • เนื้อเมฆพัตร์ เป็นเนื้อที่นักนิยมสะสมรุ่นโบราณนิยมกันมาก ถือว่าเนื้อมีความวิเศษอยู่ในตัว เป็นเนื้อศักดิ์สิทธิ์ สีขององค์พระจะออกสีน้ำเงินอมดำ ผิวตึงเป็นประกายสวยงาม แต่เปราะ ถ้าทำตกหรือถูกกระทบกับของแข็งจะชำรุดแตกหักได้ง่าย เนื้อเมฆพัตร์จะพบมาก ในพระปิดตาพิมพ์เศียรบายศรี พิมพ์เศียรโต และพิมพ์ยันต์น่อง ผู้เขียนสังเกตพบว่า พระปิดตาเนื้อเมฆพัตร์นี้ ความคมชัดสู้เนื้อพระที่สร้างจากเนื้อสำริดไม่ได้ ส่วนที่ทำเทียมจากเนื้อเมฆพัตร์นี้ก็พบอยู่เสมอ แต่สีจะจืดกว่าของจริง น้ำหนักเบากว่าและดูสดกว่ามาก นับว่าเป็นข้อสังเกตได้อีกวิธีหนึ่ง
    • เนื้อชินเงินผสมแร่ เป็นเนื้อพระปิดตาหลวงพ่อที่พบน้อยมาก ท่านสร้างไว้ในสมัยแรกๆ และสร้างจำนวนน้อยองค์ ความสวยงามและความเรียบร้อย ออกจะด้อยกว่าเนื้อพระชนิดอื่น ผิวจะย่น ไม่ตึง ปรากฏพรุนทั้งองค์ ตามซอกจะปรากฏสนิมสีน้ำตาลจับอยู่ทั่วไป เนื้อพระคล้ายเนื้อแร่บางไผ่ ผิดกันตรงที่ไม่มีเสี้ยนให้เห็น น้ำหนักเบากว่าเนื้อพระชนิดอื่น มีความเปราะมาก ถ้าตกจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ทันทีและเป็นเนื้อที่ติดแม่เหล็กด้วย สนนราคาและค่านิยมเป็นรองเนื้อสำริดเงิน แต่สูงกว่าเนื้อเมฆพัตร์
    ในด้านพุทธคุณแล้วเสมอเหมือนกันหมด เป็นพระปิดตาที่เราท่านควรหาไว้ ถ้ามีกำลังเงินพอไม่มีคำว่าผิดหวังเลยเป็นอันขาด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...