พระพุทธศาสนาในไทย ตั้งแต่เริ่มเข้ามาจนมี 2 นิกาย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 12 กรกฎาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เพื่อศึกษาและให้เข้าใจนำไปสู่เป้าหมายของศาสนาพุทธจริง ๆ


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    http://larndham.net


    ก่อนอื่นขอ แจ้งให้ทราบก่อนว่า วัตถุประสงค์ที่ผมหา ค้นมาให้ทราบกันนี้ ก็เพื่อให้ศึกษา เข้าใจ แล้วน้อมนำไปสู่เป้าหมายตามคำสอนของพระพุทธเจ้ากัน โดยนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นกลาง มีการค้นหาหลักฐานจากที่อ้างอิง โดยเลือกที่ผมเห็นว่า น่าเชื่อถือได้แล้วประมวลมาด้วยกัน
    ซึ่งอาจจะมีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องอยู่บ้าง ดังนั้นในการอ่านและศึกษานี้ จึงควรพิจารณาตามสติปัญญาของแต่ละคนกัน
    ขอ <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo--> อภัยด้วย ในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พุทธศาสนาเผยแผ่สู่ดินแดนไทย

    พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ สมัยเดียวกันกับประเทศลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ๙ สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย
    ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ไม่น้อยกว่า ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า
    พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้

    คัดลอกมาจาก พระพุทธศาสนาในประเทศไทย


     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เนื่องด้วยที่บริเวณ จังหวัดดังกล่าว ปรากฏซากโบราณสถานมากมายล้วน แต่ใหญ่โต สร้างตามคตินิยมเก่า ถึงครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชก็มี เช่นพระสถูปพระปฐมเจดีย์องค์เดิมซึ่งอยู่ภายในพระสถูปใหญ่ที่เห็นอยู่บัดนี้ ตามรูปเดิมก็สร้างเป็นรูปทรงโอคว่ำอย่างพระสถูปสัญจิในอินเดีย และภาพอุเทสกเจดีย์อื่น ๆ ที่ทำเป็นรูปพระธรรมจักรมีกวางหมอบ รูปพระแท่นเปล่าๆ ฯลฯ ชึ่งสร้างกันในสมัยที่ชาวอินเดีย ยังไม่นิยมสร้างพระพุทธรูป คตินิยมที่สร้างอุเทศกเจดีย์ดังกล่าว ก็มีปรากฏที่โบราณสถานที่นครปฐม
    นอกจากนี้ในระยะสมัยต่อมา แบบพุทธศิลปะของอินเดียยุคสาคัญ ๆ เช่นพุทธศิลปะสมัยอมราวดีและสมัยคุปตะก็มีแพร่หลาย เข้ามาเจริญที่ศูนย์กลางแห่งนี้อีกเหมือนกัน
    จึงเป็นอันยุติได้ว่า จำเดิมแต่พระพุทธศาสนามาตั้งมั่นลง ณ ภาคกลางเเห่งประเทศไทย ก็ได้เจริญงอกงามพัฒนาตลอดมาไม่ขาด อนึ่งพระพุทธศาสนาซึ่งพระโสณะและพระอุคตระนำเข้ามานั้น เป็นพระพุทธศาสนาสาวกยานนิกายเถรวาทซึ่งเป็นนิกายดั้งเดิมเคารพมติของพระอรหันต์ครั้งปฐมสังคายนาโดยการรักษา พระธรรมวินัยของสมเด็จพระพุทธองค์ ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ดี
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    2. พุทธศาสนาในสมัยฟูนัน

    พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท จำเดิมแต่มาตั้งมั่น ณ สุวรรณภูมิก็ปรากฏว่า ได้พัฒนารุ่งเรืองขึ้น แต่รายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์ เราไม่สามารถที่จะค้นคว้าหาได้ ทราบแต่พอเป็นเลา ๆ ว่าประชากรของแว่นแคว้นสุวรรณภูมิ น่าจะเป็นมนุษย์ในตระกูลมอญ เขมร และพวกละว้า
    พวกเหล่านี้เจ้านายเป็นชาวอินเดียทั้งที่เป็นชาวอินเดียมัธยมประเทศ และชาวอินเดียทักษิณประเทศหรือมิฉะนั้น ก็มีเจ้านายที่มีเชื้อสายผสมกับชาวอินเดีย ฉะนั้นย่อมเป็น ธรรมดาอยู่เอง ที่อารยธรรมวัฒนธรรมของชมภูทวีปย่อมแพร่หลายทั่วไปในดินแดนดังกล่าวนี้ และจากศูนย์กลางนี้เอง พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจึงได้แพร่หลายตลอดทั่วไปในแหลมอินโดจีน ยกเว้นดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรนี้ ซึ่งเป็นดินแดนญวนเหนือ
    ณ บัดนี้ จำเนียรกาลล่วงมาเมื่อมีมนุษย์ต้นตระกูลพม่าและมนุษย์เผ่าไทย ซึ่งอพยพมาจากธิเบตและยูนนาน เมื่อมาถึงที่นี้ จึงได้รับเอาพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจากพวกมนุษย์ตระกูลมอญ-เขมรอีกต่อหนึ่ง
    ในราวพุทธศตวรรที่ ๖ ทางประเทศอินเดียพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้เจริญขึ้น พุทธมามกะชาวอินเดียก็ได้นำลัทธิมหายานออกมาสั่งสอน แพร่หลายในคาบสมุทรแห่งนี้ ได้เดินทางมาโดยทางบก ผ่านแคว้นเบงกอล เข้ามาทางพม่าเหนือก็มี เดินทางมาโดยทะเลมาขึ้นที่แหลมมลายูสุมาตราและแล่นเรืออ้อมอ่าวเข้ามาทางประเทศกัมพูชา บัดนี้ก็มี
    ในระหว่างนั้น ได้เกิดมีอาณาจักรฟูนัน หรือที่เรียกว่าอาณาจักรพนมขึ้น อาณาจักรนี้คือบริเวณดินแดนกัมพูชาในปัจจุบัน กินเลยเข้ามาในประเทศไทยตอนกลางและถึงภาคอีสานด้วย ปรากฏว่าประชาชนชาวฟูนันนับถือพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน จนถึงกับมีสมณฑูตชาวฟูนัน เดินทางไปแปลพระคัมภีร์ในประเทศจีน เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๐ สมณทูตชาวฟุนันที่มีชื่อดัง คือ พระสังฆปาละ และพระมันทรเสน
    อาณาจักฟุนันมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ก็เสื่อมโทรมไป ด้วยถูกอาณาจักรเจนละ ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นฟูนันมาก่อนแย่งอำนาจ พวกเจนละนับถือศาสนาพราหมณ์ ฉะนั้นพระพุทธศาสนาจึงชะงักความเจริญระยะหนึ่ง
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    3. พุทธศาสนาในสมัยทวาราวดี

    ในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ขณะที่อิทธิพลของฟูนันกระทบกระเทือน ก็ปรากฏว่าพวกมอญในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถือโอกาสประกาศอิสรภาพตั้งเป็นอาณาจักรทวาราวดีขึ้น อาศัยเคยเป็นศูนย์กลางความรุ่งเรืองมาเก่าก่อน แต่ครั้งยังเป็นแว่นแคว้นสุวรรณภูมิ
    อาณาจักรทวาราวดีจึงเจริญอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านศิลปะและการพระศาสนา ซึ่งปรากฏว่าอาณาจักรนี้ได้รักษาจารีตของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ซึ่งรับมาแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชไว้อย่างเคร่งครัด
    อาณาจักรทวาราวดีมีความสัมพันธ์กับชาวพุทธอินเดีย ในลุ่มแม่น้ำคงคามาก ฉะนั้นพุทธศิลปะของ ทวาราวดีมีเรียนแบบราชวงศ์คุปตะ

    [​IMG]

    ศูนย์กลางของทวาราวดีก็คงอยู่ที่นครปฐมนั่นเอง ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ปรากฏว่าอานุภาพของทวาราวดีได้ขยับขยายเหนือขึ้นไปจนถึงลพบุรี และจากลพบุรีได้แผ่ขึ้นไปอีกจนถึงภาคเหนือ ของประเทศไทย ดังปรากฏในตำนานว่า
    พระนางจามเทวีซึ่งมีเชื้อสายมอญจากลพบุรีได้ขึ้นไปครองนครหริภุญชัยหรือลำพูน และพระนางได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์จำนวนถึง ๕๐๐ รูป ซึ่งทรงพระไตรปิฎก ขึ้นไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่เมืองลำพูนด้วยเป็นเหตุหนึ่งที่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจากทวาราวดีได้ไปตั้งมั่นทางภาคเหนือ เป็นการย้ำศรัทธาปสาทะของประชาชนในภาคนี้ ให้กระชับแนบ กับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแน่นหนาขึ้น
    พวกมอญได้ปกครองหัวเมืองเหนือหลายร้อยปีจารึกภาษามอญเก่าเราอาจพบได้ ตั้งแต่นครปฐม ลพบุรี ตลอดจนถึงลำพูน
    ตกราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ อาณาจักรเจนละได้เปลี่ยนเป็นประเทศเขมรโบราณ อิทธิพลของเขมรโบราณได้แผ่ครอบงำแทนที่อาณาจักรทวาราวดีเขมรได้ตั้งหัวเมืองทำนองเป็นเมืองประเทศราชขึ้นหลายเมือง เช่น ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เขมรได้ยกเมืองลพบุรีขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง
    ในลุ่มแม่น้ำป่าสักท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์บัดนี้ก็มีเมืองศรีเทพเป็นเมืองสำคัญ นอกจากนี้อิทธิพลของเขมร ยังกินขึ้นไปถึงภาคอีสานด้วย มีเมืองพิมาย เมืองสกลนครเป็นหัวเมืองสำคัญ แต่อย่างไรก็ดีอำนาจของเขมรก็ยังไม่สามารถรุกล้ำเข้าไปล้างอำนาจมอญในภาคเหนือและภาคพายัพได้โดยสิ้นเชิง
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    4. พุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย

    ในสมัยที่อาณาจักรทวาราวดีกำลังรุ่งเรืองยู่นั้น ปรากฏว่าทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้มีแว่นแคว้นใหญ่น้อยหลายแคว้น ดังปรากฏในจดหมายเหตุจีนเรียกชื่อประเทศว่าเซี๊ยโท้ (แปลว่าดินแดง) ได้แก่แถวรัฐไทรบูรีในมลายบัดนี้มีพลเมืองนับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์
    ประเทศผานผานได้แก่บริเวณท้องที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีบัดนี้ มีพลเมืองนับคือพระพุทธศาสนาฝ่ายสาวกยานและที่เมืองเวียงสระเราเคยขุดพบพระพุทธรูปสมัยคุปตะ
    ดินแดนเหล่านี้ เคยมีสัมพันธ์ติดต่อกับอาณาจักรทวาราวดี จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ อาณาจักรศรีวิชัยได้เกิดขึ้นที่เกาะสุมาตรา ภายหลังได้แผ่ขยายอำนาจรุกล้ำขึ้นมาทางแหลมมลายูและปราบแว่นแคว้นต่าง ๆ ในแหลมมลายู มีอาณาเขตทางเหนือติดกับอาณาจักรทวาราวดี
    ในระยะเวลาดังกล่าวแคว้นเหล่านี้พระพุทธศาสนาฝ่ายสาวกยานยังรุ่งเรืองดี นักธรรมจาริกอี้จิง บันทึกว่า อาณาจักรนี้พระราชาตลอดจนเหล่าราษฎร์ ศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนามาก มีพระภิกษุสงฆ์ในนครหลวงกว่าพันรูป และมีคณาจารย์สำคัญรูปหนึ่งชื่อ ศากยเกียรดี์ การปฏิบัติธรรมก็เคร่งครัดเหมือนกับในอินเดียต่อมาเมื่อราชวงศ์ปาละแห่งมคธเบงกอลมีอำนาจขึ้น กษัตริย์ราชวงศ์นี้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน โดยเฉพาะคือนิกายมันตรยาน
    ราชวงศ์ไศเลนทระแห่งอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่ง ณ บัดนั้นได้แผ่อำนาจราชศักดิ์ ครอบงำทั่วคาบสมุทรทะเลใต้และแหลมมะลายูแล้วได้มีสัมพันธไมตรี กับราชสำนักปาละจึงพลอยได้รับลัทธิมหายานนิกายมันตรยานเข้ามานับถือด้วยลัทธิมหายานได้เป็นศาสนาประจำของจักรวรรดิ์ศรีวิขัย ซึ่งเป็นจักรวรรดิ์มลายู ตลอดระยะกาลแห่ง พ.ศ. ๑๒๐๐-๑๗๐๐ ปีเศษ
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทางตอนเหนือของแหลมมะลายูที่ในขณะนี้คือนครศรีธรรมราช ซึ่งมีชื่อเรียกในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ว่า เมืองตามพรพิงค์ เป็นประเทศราชของจักรวรรดิ์ศรีวิชัย เราได้พบศิลาจารึกภาษาสันสกฤต ยอเกียรติพระเจ้ากรุงศรีวิชัยและกล่าวถึงการสถาปนาพระเจดีย์ อุทิศในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. ๑๓๑๘ ดังข้อความตอนหนึ่งว่า
    "พระเจ้ากรุงศรีวิชัย มีชัยชนะและพระสิริขาว พระองค์มีวาสนาอันร้อยด้วยเปลวเพลิงรัศมี ซึ่งเกิดขึ้นจากพระราซาแห่งประเทศใกล้เคียงพระองค์นี้พระพรหมได้อุตส่าห์บันดาลให้บังเกิดราวกะว่าทรงพระประสงค์ที่จะให้พระธรรมมั่นคงในอนาคตกาล
    พระเจ้ากรุงศรีวิชัย ผู้เป็นเจ้าแห่งพระราชาทั้งหลายในโลกทั้งปวงได้ทรงสร้างปราสาทอิฐทั้ง ๓ นี้ เป็นที่บูชาพระโพธิสัตว์เจ้าผู้ถือดอกบัว (คือพระปัทมปาณี) พระผู้ผจญพญามาร และพระโพธิสัตว์เจ้าผู้ถือวซิระ (คือพระวัชรปาณี) ปราสาทอิฐทั้ง ๓ นี้ งามราวกับเพชร ในภูเขาอันเป็นมลหินของโลกทั้งปวงแลเป็นที่บังเกิดความรุ่งเรืองแก่ไตรโลกพระองค์ได้ถวายแก่พระชินราช ประกอบด้วยพระสิริอันเลิศกว่าพระชินะทั้งหลาย ซึ่งสถิตอยู่ในทศทิศ “

    (ปราสาทอิฐทั้ง ๓ ที่กล่าวในศิลาจารึก คือ ที่วัดแก้ว วัดหลง และที่วัดเวียง ทางภาคใต้ของประเทศไทย)
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นอกจากนี้ อาณาจักรศรีวิชัย ยังเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาพระปริยัติธรรมที่โด่งดัง จนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๕ พระทีปังกรอติศะ คณาจารย์ผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในธิเบตเคยมาพักศึกษาในสำนักพระธรรมเกียรติ์ ที่สุมาตราถึง ๑๒ ปี
    มหาเจดีย์บุโรบุโตสร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัย
    กล่าวเฉพาะในประเทศไทยเรามีปูชนียวัถุ เช่น พระเจดีย์บรมธาตุที่ไชยยา ก็ดีรูปปฏิมาพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสัมฆทธิ์ขนาดโตกว่าคน ที่ไชยยาก็ดี และบรรดาพระพิมพ์ดินดิบต่าง ๆ ซึ่งมีซึ่งมีทั้งพุทธพิมพ์ และพิมพ์พระโพธิสัตว์ตามคติมหายานมีปรากฎมากมายทางจังหวัดภาคใต้ของไทย เช่นที่ ถ้ำคูหาสวรรค์ ถ้ำอกทะลุจังหวัดพัทลุง ที่เขากำปั่นจังหวัดปัตตานีและที่ถ้ำเขาตะเภาจังหวัดยะลา เป็นอาทิเหล่านี้เป็นเครื่องหมายแห่งมหายานและอิทธิพลของศรีวิชัย
    ตามเรื่องราวที่ปรากฏในตำนานว่า อิทธิพลศรีวิชัยได้ขยายรุกขึ้นมาถึงประเทศกัมพูชา และบรรดาประเทศราชของเขมรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ๒ คราว เมื่อกลาง พุทธศตวรรษที่ ๑๓ คราวหนึ่ง และเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ อีกคราวหนึ่ง
    พระเจ้าสูริยวรมันที่ ๑ในกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ กษัตริย์กัมพูชาปรากฏน่าจะมีเชื้อสายสืบมาจากพวกศรีวิชัยประเทศกัมพูชาและ ประเทศไทยจึงได้รับนับถือลัทธิมหายานตามแบบอย่างศรีวิชัยอีกในระยะนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็นต้นมา
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    5. พุทธศาสนาสมัยลพบุรี

    ในยุคที่จักรวรรดิเขมรมีอำนาจครอบงำประเทศไทยเราเรียกว่ายุคลพบุรีมีระยะเวลา ราว พ.ศ. ๑๕๐๐-๑๘๐๐ ปี กษัตริย์เขมรบางพระองค์ก็เป็นพุทธมามกะ บางพระองค์ก็เป็นพราหมณมามกะ แต่พระพุทธศาสนาซึ่งแพร่หลายอยู่ในสมัยลพบุรีนี้ ปรากฏว่ามิทั้ง ลัทธิฝ่ายเถรวาทและลัทธิฝ่ายมหายาน
    สำหรับลัทธิฝ่ายเถรวาทนั้นดูเหมือน จะไม่เจริญแข็งแรงนัก ทั้งนี้เพราะกษัตริย์เขมรที่เป็นพุทธมามกะ ก็เป็นพุทธมามกะในลัทธิมหายาน ก็ลัทธิมหายานที่ลพบุรีนั้นแพร่หลายสืบเนื่องมาแต่ครั้งสมัยอาณาจักรฟูนันวาระหนึ่งแล้วเมื่ออาณาจักรทวาราวดีรุ่งเรืองขึ้นลัทธิมหายานได้ชะงักลงชั้วคราว
    ครั้นมาถึงสมัยนี้ลัทธิมหายานนิกายมันตรยาน ได้แพร่หลายขึ้นมาจากศรีวิชัยและเจริญงอกงามขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในประเทศกัมพูชาเองและในประเทศไทย ตั้งแต่ตอนกลางและอีสานบางส่วนลงไป สถานที่สำคัญเกี่ยวกับลัทธิมหายานนิกายมันตรยาน เช่นปราสาทหินพิมาย ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ที่ท่ามกลางลายประกอบส่วนบนประต ู(ทับหลัง) ด้านตะวันออกจำหลักรูปพระไตรโลกวิชัย ด้านตะวันตกเป็นพุทธประวัติตอนทรมานพญาชมภู ซึ่งภาพเหล่านี้ ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิมหายาน และโดยเฉพาะนิกายมัตรยาน

    ( หมายเหตุ :
    พญาชมภู คือ กษัตริย์ในชมพูทวีปองค์หนึ่งที่ทนงตนว่า ตนเป็นกษัตริย์มีเครื่องทรงที่งดงามมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงทรมาณโดยการแปลงพระองค์ให้ทรงเครื่องกษัตริย์งดงามยิ่งกว่า ต่อมาจึงเกิดควานิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ มีพระพุทธรูปปางทรงเครื่องกษัตริย์ ที่สำคัญในไทยคือ พระพุทธพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลี ศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุ เป็นต้น )
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ส่วนที่ลพบุรีนั้น ก็มีปรางค์สามยอดซึ่งเข้าใจว่าเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน และได้พบศิลาจารึกของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ที่ลพบุรีมีข้อความ ตอนหนึ่งว่า
    " ในสถานที่อยู่ของดาบสทั้งหลายหรือของผู้ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุมหายานก็ดี บวชเป็นสถวีระ (คือฝ่ายเถรวาท) ก็ดีให้ท่านทั้งหลายบวชโดยจริงใจถวาย"ตบะ"แก่พระบาทกัมรเดงกำตวนอัญศรีสุริยะวรรมเทวะ..."
    นอกจากนี้ในสมัยลพบุรี ได้มีการสร้างปฏิมากรรมทั้งขนาดใหญ่และเล็กขนาดเล็กนั้นคือพระพิมพ์ซึ่งนิยมกันในหมู่พระเครื่องว่าเป็นของขลังศักดิสิทธิเช่นพระร่วง ซึ่งเป็นพระทรงเครื่องปางประทานพร พระเศียรทรงกะบังมงกุฎเทริด ซึ่งข้าพเจ้าสันนิษฐนว่า พวกเขมรได้สร้างเป็นพระปฏิมาแห่งพระไวโรจพุทธเจ้า ซึ่งตามคติของนิกายมนตรยานมักจะเป็นพระทรงเครื่องเสมอ
    พระพิมพ์อีกแบบหนึ่งที่เรียกกันว่า " พระหูยาน " เป็นพระปางภูมิสัมผัสมุทระ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเป็นพระปฏิมาแห่งพระอักโษภยพุทธเจ้า ซึ่งฝ่ายมหายานถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าประจำพุทธเกษตรทางบูรพาทิศ พวกเขมรจึงสร้างขึ้นไว้ในฐานะสัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ของจักรวรรดิเขมร ในภาคตะวันออกของโลกด้วย
    นอกจากนี้ยังมีพระพิมพ์ที่ทำรูปเป็นพระอาทิพุทธ ประทับบนตัวพญานาคมีพระอวไลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระปรัชญาปารมิดาโพธิสัตว์ประทับยืนอยู่ซ้ายขวา ซึ่งจะพบได้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลพบุรี สุพรรณบุรี และ สวรรคโลก ฯ
    พระพิมพ์เหล่านี้ล้วนแล้วสร้างตามพิธีการของลัทธิมหายานนิกายมนตรยานซึ่งต่อมาได้แปรเป็นวิชาไสยศาสตร์ ฝ่ายพุทธคู่กับไสยศาสตร์ฝ่ายพราหมณ์ ในประเทศและเพื่อนบ้านใกล้เคียงต่อมา
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    6. ไทยนับถือพุทธศาสนาสมัยอาณาจักรอ้ายลาว

    ชนชาติไทยเป็นชาติใหญ่ชาติหนึ่งในทวีปอาเชีย แต่หากได้แบ่งแยกกันออกเป็นหลายเผ่าตามเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงได้กระจัดกระจายพลัดพรากห่างเหินกันไป พื้นเพเดิมของไทยอยู่ในประเทศจีน ตั้งแต่ครั้ง ๔๐๐๐ ปีมาแล้ว
    ไทยได้ตั้งแว่นแคว้นอยู่ทางตอนใต้ ของลุ่มแม่น้ำเหลือง ต่อมาจีนได้อพยพเข้ามาแย่งที่ของไทย ขับไล่ไทยให้แตกร่นลงมาทางใต้ถึงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง พอไทยจะตั้งหลักได้บ้าง ก็ถูกจีนขยายอำนาจตามลงมาขับไล่อีก ไทยจึงต้องร่นลงมาทางใต้ได้เข้ามาตั้งแว่นแคว้นกระจายอยู่ทั่วไปในภาคใต้ของประเทศจีน เช่น ในมณฑลเสฉวน กุยจิ๋ว กวางตุ้ง กวางซี และมาชุมนุมคับคั่งมากกว่าแห่งอื่น คือที่มณฑล ยูนนาน
    ในราวพุทธศตวรรษที่ ๕ไทยในยูนนาน ได้ตั้งอาณาจักรอ้ายลาวขึ้น จดหมายเหตุของจีน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นบอกแก่เราว่า อาณาจักรไทยอ้ายลาวมีความสัมพันธ์กับอินเดียบ้างแล้ว จึงเข้าใจว่า อารยธรรมของอินเดียเช่นพระพุทธศาสนาเป็นต้น อาจแพร่เข้าสู่อ้ายลาวในระหว่างนี้ก็เป็นได้
    ครั้นตกราวพุทธศตวรรษที่ ๖ เมื่อพระพุทธศาสนาแพร่เข้าสู่ประเทศจีนแล้ว ปรากฏว่า ขุนหลวงเม้ากษัตริย์ไทยอ้ายลาวพวกหนึ่ง (เวลานั้นไทยแบ่งเป็นหลายเหล่า)ได้ประกาศนับถือพระพุทธศาสนา นับเป็นกษัริย์ไทยองค์แรกที่เป็นพุทธมามกะ พระพุทธศาสนาในครั้งนั้น เข้าใจว่าจะยังไม่ใชลัทธิมหายาน เป็นลัทธิสาวกยาน แต่จะใช่นิกายเถรวาทหรือไม่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดได้
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    7. ไทยน่านเจ้านับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

    ในราวปลายพุทธศตวรรษที ๗ ราชวงศ์ฮั่นของจีนเสื่อมอำนาจบ้านเมืองระส่ำระสายแตกกันออกเป็น ๓ ก๊ก ขงเบ้งแม่ทัพของเล่าปี่ ซึ่งตั้งก๊กขึ้นที่เสฉวน ได้ยกทัพมาตีอาณาจักรอ้ายลาวแตก ไทยต้องอพยพหนีภัยแตกกระจายคนละทิศละทางไทยบางพวกลงมาอยู่ทางลุ่มแม่น้ำสาละวิน ตอนเหนือของพม่า บางพวกอพยพมาอยู่ในสิบสองพันนา สิบสองจุไทยและหัวพันทั้งห้าทั้งหก บางพวกลงมาอยู่ในแดนลานช้างและภาคเหนือของประเทศไทย ตามแถบลุ่มแม่น้ำโขง บางพวกล้ำเข้ามาอยู่ถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก็มี
    ในตอนแรก ๆ ก็อยู่อย่างฐานะผู้ลี้ภัย ต่อมาพอมีกำลังขึ้นจึงได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ซึ่งต้องกินเวลาช้านานอีกหลายร้อยปี
    ส่วนพี่น้องไทยที่ไม่ยอมอพยพหนีลงมา ก็คอยหาโอกาส กู้เอกราชของชาติอยู่ในยูนนาน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ไทยยูนนานเกิดวีรบุรุษขึ้นคือ พ่อขุนพีลก ได้รวบรวมไทยในยูนนานประกาศตั้งเป็นอาณาจักรอิสระเรียกว่า อาณาจักรไทยเมือง ต่อมาเปลี่ยนเป็นน่านเจ้า มีราชธานีอยู่ที่เมืองตาลีฟู อาณาจักรน่านเจ้ามีอายุยืนถึง ๕๐๐ ปี
    ในระยะกาลอันยาวนานนี้ ไทยต้องทำสงครามขับเคี่ยวกับจีนบ้าง ธิเบตบ้าง ญวนบ้าง บ้างคราวก็ชนะ บางคราวก็แพ้ ประจวบกับจีนตกอยู่ในสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง ทั้งสองราชวงศ์มีกษัตริย์เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอยู่หลายองค์โดยเฉพาะในสมัยถังพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายานเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก จนเรียกว่าเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนา
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ลัทธิมหายานจากจีนแพร่สู่น่านเจ้าและเจริญในเวลาไม่สู้ช้านัก จดหมายเหตุสมัยถังกล่าวถึงน่านเจ้าว่า " ประชาชนน่านเจ้ามีวัฒนธรรมเจริญดี นับถือเคร่งครัดในพระพุทธศาสนาสาธยายพระพุทธคัมภีร์ด้วยความเคารพ ตัวหนังสือใช้เขียนด้วยตัวทอง "
    เมื่อน่านเจ้ามีกำลังมากมักจะยกทัพขึ้นไปรุกรานเมืองเซ่งโตวของจีนในมณฑลเสฉวนจีนต้องส่งทูตมาขอเจรจาสัมพันธ์ไมตรี แต่น่านเจ้าไม่ยอมต้อนรับ อุปราชจีน มณฑลเสฉวนปรารภว่า น่านเจ้านับถือพระพุทธศาสนาแข็งแรง จึงเปลี่ยนเป็นส่งสมณจีนรูปหนึ่งชื่อ เก็งเซียน มาเป็นทูตเจรจา คราวนี้ได้ผลกษัตริย์ไทยน่านเจ้าพร้อมด้วยราษฎรได้กราบไหว้ต้อนรับสมณะเก็งเซียนและแผนเจรจาสันติจึงสำเร็จ
    ในสมัยราชวงศ์ซ้องเครี่องราชบรรณาการของน่านเจ้าที่ถวายต่อกษัตริย์จีน ปรากฏว่ามีคัมภีร์พระวัชรปรัชญาปารมิดาสูตร ๓ ผูก คัมภีร์มหายมานตกสตร ๓ ผูก ล้วนเป็นตัวทอง พระสูตรดังกล่าวนี้เป็นของลัทธิมหายาน เฉพาะสูตรหลังเป็นนิกายมนตรยาน
    นอกจากนี้ยังมีวัดวาอารามสถูปวิหาร ซึ่งสร้างสมัยน่านเจ้า ยังมีซากอยู่ในยูนนานสืบมาจนถึงทุกวันนี้
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อาณาจักรไทยน่านเจ้าต้องพินาศดับสูญด้วยกองทัพของพวกมองโกล อันมีกุบไล่ข่านเป็นจอมทัพยกมาตีประเทศจีนได้ แล้วกุบไลข่านทำการปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ ตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นในประเทศจีน แล้วส่งทัพมาตีน่านเจ้าแตกในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙
    จดหมายเหตุครั้งราชวงศ์หงวน บันทึกถึงความเจริญของพระพุทธศาสนาในนครหลวงน่านเจ้าว่า " ราษฎรในแว่นแคว้นนี้ ถ้าเดินทางไปอินเดียทางทิศตะวันตกใกล้กันมาก ทุกบ้านเรือนไม่ว่าจะมั่งมีหรือยากจน ส่วนมากจะต้องมีห้องบูชาพระพุทธปฏิมา ไม่ว่าจะเป็นคนเฒ่าชราหรือหนุ่มสาวที่มือจะต้องมีพวงประคำสำหรับชักเวลาสวดมนต์ติดประจำอยู่เสมอ "
    จากบันทึกเหล่านี้ เราพอจะมองเห็นภาพความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนาในน่านเจ้าได้อย่างแจ่มชัด เมื่ออาณาจักรน่านเจ้าแตกแล้ว ปรากฏว่า พี่น้องไทยน่านเจ้าได้อพยพมุ่งใต้ มาสมทบกับพี่น้องพวกที่มาอยู่ก่อนในแหลมอินโดจีนนี้มากขึ้นเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให
    ้ไทในแหลมอินโดจีนได้มีกำลังสามารถขับไล่พวกมอญและเขมรออกจากแผ่นดินไทยได้โดยสิ้นเชิงในเวลาต่อมา
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    8. พุทธศาสนาในสมัยโยนกเชียงแสน

    ชนชาวไทยที่อพยพมาอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีนแต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ ๘ ดังได้กล่าวมาแล้ว บรรพบุรุของเราเหล่านี้ได้เที่ยวแยกย้ายกันสร้างบ้านแปลงเมือง ต้องสู้รบกับเจ้าของที่มาอยู่ก่อน คือพวกมอญและเขมร บางคราวก็แพ้บางคราวก็ชนะ จนราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๖ ไทยตั้งอาณาจักรเป็นปึกแผ่นขึ้นในลานนา ภาคเหนือและพายัพของประเทศปัจจุบันนี้
    นักประวัติศาสตร์กะระยะกาลตอนนี้ว่า เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ ๑๖-๑๘ เรียกว่าสมัยเชียงแสนรุ่นแรกระยะหนึ่ง เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๑ เรียกว่าสมัยเชียงแสนรุ่นหลัง ระยะหนึ่ง แต่ที่จะ กล่าวในที่นี้มุ่งเฉพาะแต่สมัยเชียงแสนรุ่นแรก
    ในระหว่างที่ไทยมาอยู่ในดินแดนใหม่ดังกล่าวนี้ไทยนับถือพระพุทธศาสนาติดเนื่องมาตั้งแต่ยังอยู่ในอาณาจักรอ้ายลาว และเมื่อได้รับอารยธรรมจากพวกมอญกับเขมร ก็คงจะได้นับถือพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทตามแบบมอญ กับพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานตามแบบเขมรด้วยในระยะนี้ จึงเรียกได้ว่านับถือรวม ๆ กันไป แต่อิทธิพลของลัทธิเถรวาทมีสูงกว่าลัทธิมหายานมาก
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ครั้นตกราวพุทศตวรรษที่ ๑๖ ทางประเทศพม่าพระเจ้าอโนรธาได้เป็นใหญ่ครองพุกาม แล้วแผ่อานุภาพลงมาตีเมืองสูธรรมวดีของมอญแตก แผ่ขยายอำนาจเข้ามาปกครองหัวเมืองมอญ ในภาคเหนือของไทยกับภาคพายัพของไทยด้วย อาณาจักรไทยในขณะนั้น เช่น เวียงไชยปราการในท้องที่อำเภอฝางปัจจุบัน ก็พลอยแตกในตอนนี้ เป็นเหตุให้ไทยซึ่งรวมกำลังกล้าแข็งแล้วกลับทรุดลงระยะหนึ่ง แต่กลับได้อพยพลงมาทางภาคกลางมากขึ้น
    มีความเห็นของนักโบราณคดีบางท่านว่าพระเจ้าอโนรธา ถึงกับสามารถมาตีอาณาจักรเขมรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย และว่าเมืองนครปฐมต้องร้างไป เพราะศึกพม่าคราวนี้
    พวกพม่าแต่เดิมทีก็นับถือพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทต่อมาลัทธิมหายานกลับเจริญข่มรัศมีลัทธิเถรวาทลงมา ถึงสมัยพระเจ้าอโนรธา พวกมหายานนิกายมนตรยานแพร่หลายเข้ามาจากแคว้นเบงกอลเข้ามาในพุกามมากขึ้นและเป็นนิกายมนตรยานรุ่นปลาย ๆ ซึ่งปฏิบัติเลอะเทอะ ด้วยเอาลัทธิตันตระของฮินดูเข้ามาปะปนมาก ถึงกับพระสงฆ์อาจมีภริยาและดื่มสุราเมรัยได้ ใครถวายธิดาให้พระสงฆ์เหล่านี้เป็นเมียก็ถือว่าได้บุญ
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระเจ้าอโนรธาไม่พอพระทัยวัตรปฏิบัติอันเป็นสัทธรรมปฏิรูปชนิดขัดแย้งกับพระพุทธวจนะ อย่างกลับหน้าเป็นหลังอย่างนี้ เมื่อตึได้อาณาจักรมอญ ซึ่งเป็นอู่ความเจริญของพระพุทธศาสนลัทธิเถรวาท สืบเนื่องมาแต่ครั้งพระโสณะพระอุคตระก็บังเกิดความเลื่อมใสในลัทนี้ จึงทรงรับเป็นศาสนูปภัมภก์ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท ให้รุ่งเรืองขึ้น โดยมีเมื้องพุกามเป็นศูนย์กลาง
    เพราะฉะนั้น ในตอนนั้นพม่าจึงเป็นแหล่งสำคัญของความพัฒนาแห่งพระพุทธศาสนาฝายเถรวาทซึ่งได้ขยายเข้ามาในประเทศไทยด้วย ดังปรากฏโบราณสถานพระเจดีย์เจ็ดยอดเมืองเชียงใหม่ ซึ่งสร้างถ่ายแบบจากพระเจดีย์มหาโพธิเมืองกาม ซึ่งมีนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า พระเจดีย์มหาโพธินี้พระเจ้าติโลมินโล กษัตริย์พุกาม โปรดให้ไปถ่ายแบบสร้างจากปรางค์พุทธคยาในอินเดีย เมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เวลานั้นอาณาเขตทางลานนายังตกเป็นประเทศราชของพุกามอยู่นักประวัติศาสตร์ จึงกล่าวถึงพระพุทธศาสนาในประเทศไทยยุคนี้ว่า"เถรวาทอย่างพุกาม"
    แต่ตามความเห็นของข้าพเจ้าไม่อยากจะจัดระยะกาลอันนี้เป็นเหตุพิเศษ จนถึงกับจัดเข้าเป็นยุคเป็นสมัยทั้งนี้เพราะพระเจ้าอโนรธาก็ได้พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทจากมอญเอง เพียงแต่ว่าเวลานั้นมอญแพ้พม่าความสำคัญของศาสนาก็ไปอยู่ที่ผู้ชนะซึ่งเป็นผู้เลื่อมใสในลัทธิเถรววาทอยู่ด้วย เอาเป็นธุระบำรุงให้เจริญเท่านั้น

    <!--endemo--><!--endemo-->(หมายเหตุ:ข้าพเจ้าในที่นี้คือ อาจารย์เสถียร โพธินันทะ )
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    9. ลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์

    ประเทศลังกาหรือสิงหลนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทสืบมาแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชเหมือนกับทางสุวรรณภูมิ พระพุทธศาสนาในลังกาก็มีเจริญบ้างเสื่อมบ้างเช่นกับประเทศอื่น ๆ
    ครั้นตกราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ พระเจ้าปรักกรมพาหุได้เป็นใหญ่ในลังกา ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย ซึ่งนับเป็นหนที ๗ ในตำนานสังคายนาของฝ่ายเถรวาท กิตติศัพท์แพร่หลายมาถึงประเทศพม่า
    มีพระสงฆ์จากพุกามและมอญออกไปศึกษาเล่าเรียนในลังกา และได้อุปสมบทในหมู่คณะสงฆ์ลังกา แล้วพาคณะซึ่งมีทั้งพระสงฆ์พุกามและมอญที่บวซใหม่กับพระสงฆ์ลังกากลับมาพุกามและเมืองมอญ ตั้งเป็นคณะลังกาวงศ์ขึ้น ก็ได้รับความนับถือเลื่อมใสจากพระราชาและประซาชน จึงเจริญร่งเรืองขึ้น พระสงฆ์พวกเก่านับวันก็ค่อย ๆ หมดไปโดยพฤตินัย
    ครั้งนั้นมีคณาจารย์ในลังกาวงศ์นี้รูปหนึ่งชื่อพระราหุลเป็นชาวลังกาได้จาริกจากพุกามมาตั้งคณะลังกาวงศ์ขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งยังเรียกชื่อว่า เมืองตามพรลิงค์ มีกษัตริย์มลายูเชื้อสายศรีวิชัยปกครองอยู่ คณะสงฆ์ลังกาวงศ์ที่เมืองนคร ฯ ก็เจริญขึ้นเหมือนที่พุกาม เป็นเหตุให้แพร่หลายสู่ประเทศไทยและกัมพูชาในกาลต่อมา
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    10. ลัทธิมหายานรุ่งโรจน์ในสุวรรณภูมิเป็นครั้งสุดท้าย

    พวกพุกามปกครองอาจักรทางลานนาอยู่ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ก็หมดอำนาจ พวกมอญกลับได้เป็นใหญ่ขึ้นภูมิภาคนี้ ทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พวกเขมรก็กลับฟี้นอำนาจขึ้นใหม่ แต่มาถึงชั้นนี้ อิทธิพลทั้งมอญและเขมรหมดฤทธิ์ลงไปมากแล้ว บ้านเมืองต่าง ๆ ในอาณาเขตปรากฏว่ามีไพร่บ้านพลเมืองเป็นไทยเสียแหละมาก จนถึงกับต้องตั้งคนไทยให้เป็นเจ้าเมืองปกครองกันเองแต่ขี้นอยู่กับมอญหรือเขมร ทำนองประเทศราช
    ก็มี และบางครั้งก็ต้องใช้วิธีผูกน้ำใจกับไทยโดยยกธิดาให้แต่งูานกับเจ้าเมืองไทยก็มี
    เรื่องราวของมอญในตอนนี่มีทางทราบได้น้อย แต่เรื่องราวของเขมรปรากฎวว่านับตั้งแต่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์นักก่อสร้างมหาราชองค์สุดท้ายของกัมพูชา (พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๔๘) ได้เบ่งอำนาจของเขมร ให้ถึงจุดสว่างโพล่งอีกเป็นวาระสุดท้าย
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระองค์เป็นมหายานพุทธมามกะที่เคร่งครัด ทรงเลื่อมใสในพระพุทธไภสัชยคุรุเจ้ายิ่งนักโปรดให้สร้างพระปฏิมาโลหะขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก อุทิศ บูชาพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ซึ่งต่อมาเรียกกันในพวกนักนิยมพระเครื่องในเมืองไทยว่า "กริ่งพระปทุม" (สร้างกันบ้างแล้วในสมัยสูริยวรมันที่ ๑)
    ทรงสร้างพระพุทธปฏิมา "ชยพุทธมหานาถ" พระราชทานไปประดิษฐานบูชาตามหัวเมือง ๒๓ แห่งทรงสร้างปราสาทพระขรรค์ ประดิษฐานพระปฏิมาพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ทรงสร้างปราสาทบายนประดิษฐานพระปฏิมาพระปรัชญาปารมิดาโพธิสัตว์ และทรงสร้างปราสาทบายนประดิษฐานพระพุทธรูปสนองพระองค์เอง
    โปรดให้สร้างอโรคยาศาลาทั่วพระราชอาณาจักรถึง ๑๐๒ แห่ง แปลว่าพระเจ้าขัยวรมันที ๗ ได้ฟื่นฟูลัทธิมหายานในคาบสมุทรนี้เป็นการมโหฬารแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเมื่อพระองค์สวรรคลง ลัทธิมหายานก็เสื่อมโทรมลงทันที และพร้อมกันนั้นอำนาจราชศักดิ์ของเขมรก็เป็นอันยุติลงไปด้วย
    ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้มีคนไทยประกาศปลดแอกจากเขมร ตั้งอาณาจักรสุโขทัยขื้น พร้อมกับทางลานนา ก็มีไทยอีกพวกหนึ่งปลดแอกจากพวกมอญตั้งอาณาจักรเชียงใหม่ขึ้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...