พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิต กับ...ขุนอินทประมูลผู้ยักยอกพระราชทรัพย์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 24 ตุลาคม 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top>พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิต กับ...ขุนอินทประมูลผู้ยักยอกพระราชทรัพย์
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4></TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1><CENTER>[​IMG]</CENTER>


    พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตวัดขุนอินทประมูล หมู่ ๓ ต.บางพลับ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ถือว่าเป็นพระพุทธไสยาสน์(พระนอน)ที่มีพุทธลักษณะงดงานที่สุดในจำนวนพระพุทธไสยาสน์ที่มีการสร้างในประเทศไทย โดยเฉพาะในส่วนของพระพักตร์(ใบหน้า) ที่ยิ้มแย้มอย่างมีความสุข
    ในตำนานสิงหนวัติกล่าวถึงประวัติที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูลนี้ไว้ว่า สมัยกรุงสุโขทัยยังรุ่งเรืองในยุคที่พระยาเลอไท สืบราชสมบัติต่อมาจากพระเจ้ารามคำแหงผู้เป็นบิดา ครั้งนั้นพระยาเลอไทเสด็จจากกรุงสุโขทัย เดินทางโดยชลมารคมานมัสการพระฤาษีสุกกะทันตะ ณ เขาสมอคอนในเขตกรุงละโว้ ขณะประทับแรมอยู่ ณ โคกบางพลับเวลาสาม เกิดศุภนิมิตรทอดพระเนตรเห็นลูกไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นเหนือยอดไม้หายไปในอากาศทางทิศตะวันออก เกิดปิติโสมนัสดำริสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นเป็นพุทธบูชา ด้วยคติที่ว่า พระองค์ประทับแรมอยู่ ณ ที่แห่งนี้
    โดยมอบหมายให้นายบ้านเกณฑ์แรงงานทั่วแคว้นแดนลุ่มแม่น้ำน้อยทั้งหมดได้คนพันเศษ ขุดหลุมกว้าง ๒๐๐ วา นำท่อนซุงนับร้อยท่อนลงวางขัดตารางเป็นฐานแล้ว ขุดบ่อในทุ่งด้านหลัง ขนดินขึ้นถมสูง ๓ วา (ปัจจุบันเป็นสระกว้างอยู่ทางด้านหลังของวัด) ผู้คนอีกส่วนหนึ่งระดมทำ อิฐเผา (มีโคกที่เรียกว่า โคกเผาอิฐ และตำบลบ้านท่าอิฐอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ทองในปัจจุบัน) สร้างองค์พระพุทธไสยาสน์ได้สำเร็จยาว ๒๐ วา สูง ๕ วา เมื่อเดือน ๕ ปี พ.ศ.๑๘๗๐ ขนานนามว่า พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิต มอบให้นายบ้านผู้ดูแล แต่งตั้งทาสไว้ ๕ คน แล้ว เสด็จนิวัติสู่กรุงสุโขทัย <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    เนื่องจากพระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิต ถูกทอดทิ้งตากแดดตากฝนท่ามกลางป่ารกอยู่นาน การดูแลรักษาก็ไม่ได้กระทำต่อเนื่อง จนในที่สุดก็ถูกทิ้งร้างมาจนกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจ กรุงศรีอยุธยามีอำนาจขึ้นมาแทนที่ในระยะเวลาดังกล่าวนี้ มีพระภิกษุทรงวิทย (ชื่อตามคำเรียกของชาวบ้าน หลังที่มีการสร้างพระพุทธไสยาสน์แล้ว) เป็นที่กระทำวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีกำลังศรัทธาของชาวบ้านสร้างเพิงพักให้เป็นที่จำวัด ต่อเนื่องกันมาเนิ่นนานจนถึงกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกษ
    ตามประวัติเล่าสืบต่อมานั้นกล่าวว่า นายอาการตำแหน่ง ขุนอินทประมูล นั้นเป็นคนจีนมีชื่อเดิมว่า เส็ง มีภรรยาเป็นคนไทยชื่อนาก ไม่มีบุตรสืบตระกูล เป็นผู้ที่มีจิตใจใฝ่ในการพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ปรารภว่า จะพยายามซ่อมสร้างพระพุทธไสยาสน์ และสร้างวัด ณ โคกวัดนี้ให้สำเร็จด้วยอุตสาหะแห่งตนให้จงได้ โดยเริ่มแรกได้นำทรัพย์สินส่วนตัวที่เก็บออกไว้ประมาณ ๑๐๐ ชั่ง ออกมาสร้างวิหาร และเจดีย์ขึ้น ณ โคกใหญ่ด้านตะวันออกสำเร็จลงเรียบร้อย ต่อมาเห็นว่าพระพุทธไสยาสน์ทรุดโทรมลงทุกวัน องค์พระแทบพังทั้งหมดทลายลงกองกับพื้นดิน จึงดำริถากถางป่าและซ่อมองค์พระไสยาสน์ขึ้นใหม่ รวมทั้งจัดสร้างหลังคาคลุมองค์พระไสยาสน์ขึ้น โดยจัดทำเป็นเสาอิฐก่อ เครื่องบนเป็นเครื่องไม้หลังคามุงด้วยหญ้าแฝก เป็นเครื่องกันแดดฝน ขยายองค์พระออกไปเป็นความยาว ๒๕ วา สูง ๕ วา ๒ ศอก
    การซ่อมสร้างพระพุทธไสยาสน์ครั้งนั้นนับเป็นมูลค่าเงินหลายร้อยชั่งขุนอินทประมูลนำทรัพย์ส่วนตัวออกมาสร้างจนหมด จึงมีเจตนายักยอกพระราชทรัพย์หลายร้อยชั่งนำมาสร้างต่อจนสำเร็จ แล้วพยายามปกปิดไม่ยอมให้ข่าวแพร่งพรายไปถึงพระนครศรีอยุธยา แต่ข่าวก็เล่าลือไปถึงพระยาวิเศษไชยชาญเจ้าแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ส่งคนมาสอบถามได้ความจริงจึงนำเรื่องขึ้นกราบทูลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ โปรดเกล้าฯให้พระยากลาโหมขึ้นมาไต่สวน ขุนอินทประมูลภาคเสธ จึงสั่งให้ราชมัณฑ์ลงทัณฑ์เฆี่ยน ๓ ยก เพื่อรับเป็นสัตย์ แต่ขุนอินทประมูล ไม่ยอมรับสารภาพผิดอ้างว่าเป็นทรัพย์ส่วนตนจัดสร้างทั้งหมด ด้วยเกรงว่า เมื่อรับสารภาพแล้ว ส่วนกุศลทั้งหมดที่สร้างไว้จะตกอยู่แก่พระเจ้าแผ่นดิน
    ท้ายที่สุดทนการลงทัณฑ์ของราชมัณฑ์ไม่ไหวเมื่อใกล้สิ้นใจ ได้ขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้งดโทษแล้วสารภาพว่า ได้ยักยอกพระราชทรัพย์ไปจริง แต่มุ่งสร้างให้เป็นการเสริมพระบารมี ภายหลังขุนอินทประมูลรับการลงทัณฑ์ไม่ไหวถึงแก่ชีวิต เมื่อวันอังคาร เดือน ๕ พ.ศ.๒๒๙๖ ประมาณอายุได้ ๘๐ ปีเศษ พระยากลาโหมกลับไปทูลความให้ทรงทราบ
    พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษทราบความตามกราบทูลเสด็จขึ้นมาทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง ทรงเห็นว่าขุนอินทประมูล (เส็ง) มีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาเป็นที่ยิ่ง ทรงโปรดให้ฝังร่างของขุนอินทประมูลไว้ในเขตพระวิหาร ด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์ หลังจากทำพิธียกเกศทองคำหนัก ๑๐๐ ชั่ง พระราชทานประดับเหนือเศียรพระพุทธไสยาสน์ พระราชทานนามวัดว่า วัดขุนอินทประมูล และถวายนามพระพุทธไสยาสน์ว่า พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล
    มีประวัติบอกเล่าตามบันทึกคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า พม่าบุกเข้าปล้นเอาพระเกศทองคำ เผาพระวิหาร และองค์พระพุทธไสยาสน์เสียหายทั้งหมด เมื่อเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๓๑๐
    วัดขุนอินทประมูลถูกทอดทิ้งให้ร้างจมอยู่ในป่าโคกวัดนานถึง ๔๐๐ ปี จนร่วงมาสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีประวัติสำคัญเกี่ยวกับสมเด็จพระพุทธาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังว่า ครั้งนึงเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๐ เมื่อสมเด็จฯ เดินทางขึ้นมาตรวจสอบพื้นที่ที่จะสร้างพระพุทธรูปนั่ง พระมหาพุทธพิมพ์ ณ วัดเกษไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ครั้งนั้นเป็นฤดูน้ำหลาก สมเด็จฯ ให้ชาวบ้านผู้ติดตามแจวเรือลัดทุ่งมามนัสการพระพุทธไสยาสน์ วัดขุนอินทประมูล และพำนักพักค้างคืนอยู่ ณ บริเวณโคกวัด เป็นเวลา ๑ คืน
    หลังจากสมเด็จฯกลับไปวัดระฆัง ได้เข้าเฝ้าถวายพระพรเรื่องพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล ในรัชกาลที่ ๔ ทรงทราบ อันเป็นเหตุให้ เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูลเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๑ และเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล ๒ ครั้ง ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และ พ.ศ.๒๕๑๘ ส่วนงานนมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล มีปีละ ๒ ครั้ง ในเดือน ๕ แรม ๗-๘ ค่ำ ครั้งหนึ่ง และเดือน ๑๑ แรม ๖ ค่ำ อีกครั้งหนึ่ง
    วัดขุนอินทประมูลเริ่มมีการพัฒนาชัดเจนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ โดยมีพระอธิการสร่าง ธีรปัญโญ มาครองวัดเป็นเจ้าอาวาสแต่งตั้งองค์แรก ปัจจุบันมีพระครูวิเศษชัยวัฒน์ หรือ หลวงพี่เสวย เจ้าอาวาสวัดชัยมงคลเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดอ่างทองดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส ทั้งนี้ได้ขุดพบพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล บริเวณใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล

    อย่างไรก็ตามขณะนี้หลวงพี่เสวย กำลังดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถหลังให่และเป็นหลังแรกของวัดโดยคณะศรัทธาได้จัดให้มีการทอดผ้าป่าขึ้นในวัน เสาร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ขณะเดียวกันทางวัดได้นำพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลออกมาให้บูชาด้วยเพื่อสมทบทุนนการก่อสร้าง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญได้ที่ วัดขุนอินทประมูลโทรฯ๐๘๗-๘๒๔-๑๓๓๘ ,๐๘๖-๖๑๑-๒๖๐๒ และ ๐๘๑-๘๕๒-๔๙๘๑

    เรื่องไตรเทพไกรงู ภาพธงชัย เปาอินทร์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ขอกราบอนุโมทนากับทุกท่านที่ได้มีโอกาสได้ไปร่วมงานบุญในครั้งนี้ค่ะ
     
  3. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG][​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...[​IMG][​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...