พระอสีติมหาสาวก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 กันยายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๒๑ กลุ่มพระชาวแคว้นมคธ

    พระอุปเสนะ พระมหาจุนทะ และพระขทิรวนิยเรวตะ ได้บรรลุธรรมตามลำดับกันดังนี้

    พระอุปเสนะ หลังบวชแล้วได้ ๑ พรรษา ท่านได้เป็นอุปัชฌาย์บวชให้กุลบุตรคนหนึ่ง โดยมีจุดมุ่งหมายหวังจะช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา ต่อมาท่านได้พาสัทธิวิหาริกไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าครั้นทรงทราบว่าท่านบวชได้เพียงพรรษาเดียวแล้วเป็นอุปชฌาย์บ วชให้กุลบุตร จึงทรงตำหนิอย่างรุนแรง

    “โมฆบุรุษ เธอทำไม่ถูกนะ เธอเองยังต้องถูกสั่งสอน แต่นี่กลับไปสอนคนอื่นเสียแล้ว ดูช่างมักมากเหลือเกิน”

    ท่านสลดใจที่ถูกพระพุทธเจ้าตรัสตำหนิจึงคิดหนัก

    “เพราะ สัทธิวิหาริกนี้เองจึงทำให้เราถูกพระพุทธเจ้าตำหนิ ดังนั้นเราจะอาศัยการมีสัทธิวิหาริกนี้แหละทำให้พระพุทธเจ้าสรรเสริญเราให้ ได้”

    ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ท่านก็ลาพระพุทธเจ้า แล้วพาสัทธิวิหาริกกลับ จากนั้นก็เร่งบำเพ็ญเพียร ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล

    พระมหาจุนทะ หลังจากบวชแล้วก็ได้ศึกษากรรมฐานจากพระสารีบุตร ท่านบำเพ็ญเพียรอยู่ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล

    ส่วน พระขทิรวนิยเรวตะก็เช่นเดียวกัน หลังจากบวชแล้วก็ได้เรียนกรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์ ท่านได้เดินทางไปบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าไม้ขทิระ (ป่าไม้ตะเคียน) และได้บรรลุอรหัตผลภายในพรรษานั้นเอง

    พระมหาปันถก หลังจากบวชพระแล้ว ท่านเจริญโยนิโสมนสิการ คือกำหนดนามรูปเป็นอารมณ์อย่างลึกซึ้ง จนกระทั่งได้บรรลุอรูปฌาน ๔ ออกจากอรูปฌาน นั้นแล้วก็เจริญวิปัสสนา ต่อด้วยการพิจารณาองค์ฌานจนเกิดความรู้แจ้งได้บรรลุอรหัตผล พระไตรปิฎกเล่าว่า ท่านตั้งปณิธานไว้ว่าตราบใดยังถอนลูกศรคือตัณหาออกไม่ได้ จะไม่ยอมนั่งแม้แต่ครู่เดียว ปรมัตถทีปนีกล่าวเพิ่มเติมว่า ครั้นตั้งปณิธานอย่างนั้นแล้วท่านก็เจริญวิปัสสนาอยู่ทั้งคืน ด้วยการยืนกับการเดินจงกรม เท่านั้น เมื่อออกจากอรูปฌานก็เจริญวิปัสสนา โดยพิจารณาองค์ฌานเป็นหลัก จนทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล

    พระจูฬปันถก หลังจากบวชแล้วได้ ๔ เดือน ท่านถูกพระมหาปันถกผู้พี่ชายขับไล่ให้สึก เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นท่านท่องจำคาถา (คำร้อยกรอง) ไม่ได้เลยแม้แต่บทเดียว ท่านเสียใจมากจึงจะไปสึก เช้าวันนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จมาปลอบและพาท่านไปนั่งอยู่หน้าพระคันธกุฎี แล้วทรงประทานผ้าขาวให้ผืนหนึ่ง ทรงสอนให้ ท่านนั่งดูดวงอาทิตย์พลางลูบผ้าขาวพลาง พร้อมทั้งนึกบริกรรมว่า ‘ผ้าเช็ดฝุ่น ผ้าเช็ดฝุ่น’ (รโชหรณํ รโชหรณํ) วิธีปฏิบัติดังกล่าวถูกกับอุปนิสัยท่าน เพราะเมื่อลูบไปๆ ผ้าก็เริ่มสกปรกทีละน้อยๆ จนมีสภาพเหมือนผ้าเช็ดหม้อข้าว

    ในขณะเดียว กันความรู้ของท่านก็แก่กล้าขึ้นตามลำดับ จนทำให้ท่านมองเห็นความสิ้นความเสื่อมของสังขารได้ชัดเจน ท่านพิจารณาเปรียบเทียบจิตเหมือนผ้าขาว ซึ่งเดิมทีสะอาดแต่มาสกปรกไปเพราะอาศัยร่างกายนี้เอง จึงแสดงให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ท่านพิจารณาอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งจิตสงบบรรลุฌาน ออกจากฌานแล้วก็อาศัยฌานนั้นเองเป็นพื้นฐานเจริญวิปัสสนาต่อไป ท่านเจริญสมถะสลับกับวิปัสสนาอยู่อย่างนี้จนเกิดความรู้แจ้ง ได้บรรลุอรหัตผลหน้าพระคันธกุฎีนั้นเอง

    พระสภิยะ หลังจากบวชแล้วท่านเจริญวิปัสสนาอยู่ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล


    ๏ งานสำคัญ

    บรรดา พระอสีติมหาสาวกชาวแคว้นมคธ ๘ รูปนั้น แต่ละรูปได้ช่วยพระพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาตามกำลังความสามารถ แต่ที่มีบันทึกเป็นหลักฐานไว้มี ๔ รูปดังนี้

    พระมหากัสสปะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วได้ช่วยพระพุทธเจ้ารับภาระสอนพระ จนมีพระเป็นศิษย์ถึง ๕๐๐ รูป ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ ๒๑ วัน ท่านได้ปรารภเหตุที่พระสุภัททวุฑฒบรรพชิต กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย จึงได้ชักชวนพระสาวกที่ไป ร่วมงานถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีจำนวน ๗๐๐,๐๐๐ รูป จัดทำสังคายนาพระธรรมวินัย พระสาวกทั้งหลายต่างเห็นด้วย จึงมอบให้ท่านเป็นประธานในการจัดทำ ท่านคัดเลือกพระอรหันต์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม คือได้บรรลุอภิญญา ๖ และแตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ ได้ ๔๙๙ รูป โดยรวมทั้งท่านด้วยเป็น ๕๐๐ รูป จากนั้นจึงได้ร่วมกันทำการสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งแรก (ปฐมสังคายนา) ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภาระ ในพระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู แห่งแคว้นมคธ

    การทำปฐมสังคายนาครั้งนั้นนับว่าสำคัญมาก เพราะช่วยรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้คงอยู่ และจัดแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ แล้วแยกออกเป็น ๒ หมวดหมู่ใหญ่ คือ พระธรรมกับพระวินัย เพื่อสะดวกต่อการศึกษาทรงจำ ซึ่งทำให้คงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

    พระอุป เสนะ ชักนำให้สัทธิวิหาริกของท่านสมาทานธุดงค์ตามกำลังความสามารถ กล่าวคือหลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านได้สมาทานธุดงค์ครบทั้ง ๑๓ ข้อด้วยตนเอง ต่อมาเมื่อมีกุลบุตรจำนวนมากมาขอบวชในสำนักของท่าน แต่เนื่องจากท่านยังมีพรรษาไม่ครบ ๑๐ จึงให้กุลบุตรเหล่านั้นบวชเป็นสามเณรก่อน ครั้นเมื่อท่านมีพรรษาครบ ๑๐ แล้วจึงรับเป็นอุปัชฌาย์บวชพระให้ สัทธิวิหาริกของท่านทุกรูปต่างล้วนปฏิบัติธุดงค์อย่างเคร่งครัด โดยบางรูปสมาทานเพียงบางข้อ ขณะที่บางรูปสมาทานหมดทุกข้อ

    พระ พุทธเจ้าเคยตรัสถามสัทธิวิหาริกของท่าน ถึงเหตุผลที่สมาทานธุดงค์ สัทธิวิหาริกทั้งหลายกราบทูลว่า ที่สมาทานธุดงค์นั้นเพราะความเคารพในพระอุปัชฌาย์

    พระมหาจุนทะ คราวที่พระพุทธเจ้ายังไม่มีพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำนั้น ท่านได้ถวายการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าเป็นครั้งคราว และเคยรับอาสาจะแสดงฤทธิ์แข่งกับพวกนักบวชนอกศาสนาแทนพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต เพราะทรงมีพระประสงค์จะทรงแสดงฤทธิ์คือยมกปาฏิหาริย์ด้วยพระองค์เอง นอกจากนั้นท่านยังได้ทำงานสำคัญอื่นๆ อีก คือแจ้งข่าวการตายของนิครนถนาฏบุตรให้พระอานนท์ ได้ทราบ ซึ่งขณะนั้นท่านจำพรรษาอยู่ที่เมืองปาวา

    นิครนถนาฏบุตรหรือท่านมหาวี ระศาสดาของศาสนาเชน ได้มรณภาพลง แล้วสาวกของท่านได้แตกแยกเป็น ๒ ฝ่าย เพราะมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องคำสอน พระมหาจุนทะเห็นความแตกแยกในข้อนี้ จึงเดินทางจากเมืองปาวาไปพบพระอานนท์ที่หมู่บ้านสามะ ในแคว้นสักกะ ซึ่งขณะนั้นพระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่นั่นกับพระอานนท์ พระอานนท์ครั้นทราบเรื่องราวจากท่านแล้ว เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ จึงชวนท่านเข้าเฝ้ากราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าครั้นทรงทราบแล้ว จึงได้ตรัสถึงเหตุแห่งการขัดแย้ง เรื่องที่ขัดแย้ง และวิธีระงับความขัดแย้ง การทำปฐมสังคายนาภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานที่มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน นั้น ท่านก็ได้ร่วมทำอยู่ด้วย

    พระขทิรวนิยเรวตะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านได้แสดงฤทธิ์เนรมิตป่าให้เป็นพระคันธกุฎีและเรือนยอดถวายพระพุทธเจ้าและ พระสาวก ๕๐๐ รูปที่ตามเสด็จ เรื่องมีอยู่ว่า พระพุทธเจ้าทรงพาพระสาวก ๕๐๐ รูปมาเยี่ยมท่าน สถานที่ที่ท่านอยู่นั้นเป็นป่าไม้ตะเคียนใหญ่ ซึ่งไม่เหมาะที่พระจำนวนมากจะมาอยู่เนื่องจากเป็นป่ารก ครั้นท่านได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าจะทรงพาพระสาวก ๕๐๐ รูปมาเยี่ยม ท่านจึงเนรมิตป่าให้เป็นพระคันธกุฎีถวายพระพุทธเจ้า เนรมิตป่าอีกส่วนหนึ่งให้เป็นเรือนยอดเป็นที่อยู่ของพระสาวก ๕๐๐ รูป จากนั้นก็ได้เนรมิตที่จงกรม ที่พักกลางคืน และที่พักกลางวันอีกอย่างละ ๕๐๐ สำหรับพระสาวกทั้งหมดนั้นได้ใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญเพียร และหลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงพาพระสาวกเสด็จกลับแล้ว ท่านก็คลายฤทธิ์ ป่าทั้งป่ากลับมีสภาพดังเดิม
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๒๒ กลุ่มพระชาวแคว้นมคธ

    ๏ บั้นปลายชีวิต

    บรรดาพระอสีติมหาสาวก ชาวแคว้นมคธ ๘ รูปนั้น พระมหากัสสปะรูป เดียวที่มีกล่าวถึงบั้นปลายชีวิตของท่านไว้ว่า ท่านมีชีวิตอยู่ถึง ๑๒๐ ปีแล้วจึงนิพพาน ณ เชิงเขากุกกุฏสัมปาตะ ในแคว้นมคธ ก่อนที่จะนิพพาน ๑ วัน หลังจากได้ตรวจดูอายุสังขารและเห็นว่าจะอยู่ได้เพียงวันนี้อีกวันเดียว ท่านจึงสั่งให้ประชุมศิษย์ของท่าน แล้วกล่าวให้โอวาทและบอกพระที่เป็นปุถุชนไม่ให้เสียใจ วันรุ่งขึ้นก่อนนิพพานท่านได้เข้าไปถวายพระพรลาพระเจ้าอชาตศัตรู แล้วกลับมาที่เชิงเขากุกกุฎสัมปาตะ ณ ที่นั้นท่านได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ และให้โอวาทพุทธบริษัทที่มาประชุมกันอยู่ให้ยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วจึงนิพพาน


    ๏ เอตทัคคะ - อดีตชาติ

    บรรดาพระอสีติ มหาสาวกชาวแคว้นมคธดังกล่าวมานี้ มีที่ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ ๖ รูป คือ พระมหากัสสปะ พระราธะ พระอุปเสนะ พระขทิรวนิยเรตะ พระมหาปันถก พระจูฬปันถก

    พระมหากัสสปะ พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านสมาทานธุดงค์

    พระราธะ พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านมีปฏิภาณยอดเยี่ยมเข้าใจได้เร็ว

    พระอุปเสนะ พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านน่าเลื่อมใสของชนทุกชั้น

    พระขทิรวนิยเรตะ พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านอยู่ป่า

    พระมหาปันถก พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะด้านฉลาดในปัญญาวิมุติ (วิปัสสนา)

    พระจูฬปันถก พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านฉลาดในเจโตวิมุติ (สมถะ) และชำนาญในมโนมยิทธิ

    พระ พุทธเจ้าทรงตั้งพระอสีติมหาสาวกทั้ง ๖ รูป นี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ตามความสามารถในชาติปัจจุบันและตามที่ตั้งจิตปรารถนาไว้ในอดีตชาติ

    พระ มหากัสสปะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นบุตรกฎุมพีชาวเมืองหงสวดี มีชื่อว่า ‘เวเทหะ’ วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระมหานิสภะ พระสาวกรูปหนึ่งของพระองค์ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านสมาทานธุดงค์ แล้วเกิดความศรัทธาปรารถนา จะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

    ท่าน แสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวก ขณะที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกกำลังฉันภัตตาหารอยู่ที่บ้านของท่านนั้น พระมหานิสภะเดินบิณฑบาตผ่านมาพอดี ท่านจึงนิมนต์ให้เข้าไปฉันภัตตาหารในบ้าน พระมหานิสภะปฏิเสธเพราะท่านสมาทานธุดงค์ครบทั้ง ๑๓ ข้อ และมีธุดงค์อยู่ข้อหนึ่งว่าด้วยการฉันแต่เฉพาะอาหารที่บิณฑบาตได้มา โดยจะไม่ยอมฉันในที่นิมนต์ ท่านจึงให้คนจัดอาหารมาใส่บาตร

    ครั้นพระ มหานิสภะกลับไปแล้ว ท่านได้กราบทูลเรื่องพระมหานิสภะให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสรรเสริญพระมหานิสภะในด้านต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องสมาทานธุดงค์ ยิ่งทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใส จึงถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกเพิ่มอีกเป็น ๗ วัน วันสุดท้ายหลังจากพระพุทธเจ้าและพระสาวกฉันภัตตาหารแล้ว ท่านได้ถวายผ้าไตรจีวรให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกครอง แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า พลางกราบทูลว่า

    “ข้าแต่พระผู้มี พระภาคเจ้า ตลอด ๗ วันที่ข้าพระองค์ถวายมหาทานอยู่นี้ กายกรรม วจีกรรม นโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาสมบัติอื่นใด ไม่ว่าสวรรค์สมบัติหรือมนุษย์สมบัติ นอกจากนิพพานสมบัติเท่านั้น ด้วยผลบุญนี้ขอข้าพระองค์ได้เป็นผู้เลิศด้านสมาทานธุดงค์หมือนพระมหานิสภะ นี้เถิด ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล”

    พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูความเป็นไปได้ในอนาคตของท่านด้วยพระญาณแล้ว ทรงเห็นว่าความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่จึงทรงพยากรณ์ว่า

    “ใน อีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้บรรลุอรหัตผล และได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านสมาทานธุดงค์”

    ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้า ตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าวิปัสสี

    ชาติที่พบพระพุทธเจ้าวิ ปัสสีนั้น ท่านเกิดเป็นพราหมณ์ยากจนชื่อ ‘จูเฬกสาฎก’ ได้นางพราหมณี ยากจนคนหนึ่งเป็นภรรยา จูเฬกสาฎกกับภรรยาต่างผลัดเปลี่ยนกันไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ภรรยาไปฟังธรรมตอนกลางวัน ส่วนจูเฬกสาฎกไปฟังธรรมตอนกลางคืน เหตุที่สองสามีภรรยาไม่สามารถไปฟังธรรมพร้อมกันได้ เพราะมีผ้าห่มออกข้างนอกอยู่เพียงผืนเดียว ซึ่งต้องผลัดกันใช้ คืนวันหนึ่ง ขณะที่นั่งฟังพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่นั้น จูเฬกสาฎกเกิดศรัทธาจึงได้ถวายผ้าห่มที่มีอยู่ผืนเดียวของตนนั้นเป็นพุทธ บูชา พร้อมทั้งเปล่งวาจาว่า “ข้าพระองค์ชนะแล้ว”

    ชัยชนะที่จูเฬกสาฎก หมายถึง คือ ชนะความตระหนี่ในใจของตนเองได้ พระเจ้าพันธุมหาราช กษัตริย์แห่งเมืองพันธุมดีทรงทราบความจริง จึงพระราชทานทรัพย์ให้เขาเป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วยให้เขาพ้นจากความยากจน จูเฬกสาฎกกับภรรยาแม้จะมั่งมีขึ้นก็ไม่ได้ประมาท ทั้งสองได้บริจาคทรัพย์ส่วนหนึ่งบำรุงพระพุทธศาสนาและทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธันดรหนึ่ง (ช่วงระยะเวลาที่โลกว่างพระพุทธเจ้า ไม่มีพระพุทธศาสนา)

    ชาติหนึ่งในพุทธันดรนั้น ท่านเกิดเป็นบุตรกฎุมพี วันหนึ่งขณะเดินไปตามริมฝั่งน้ำ พบพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งกำลังทำจีวรอยู่ ทราบว่าผ้าสำหรับทำอนุวาตะ (ผ้าทาบชายจีวร) ไม่พอ จึงได้ถวายผ้าชิ้นหนึ่ง นอกจากนั้นท่านยังได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอีกอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้ากัสสปะ

    ชาติที่พบพระพุทธเจ้ากัส สปะนั้น ท่านเกิดเป็นบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธบริษัทได้ช่วยกันสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ท่านได้สละทรัพย์จำนวนหนึ่งออกร่วมทำบุญถวายเป็นพุทธบูชา นอกจากนั้นยังได้จัดดอกไม้บูชาพระเจดีย์จนดูสวยงาม ท่านยังได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอีกอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผล ให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ

    จนถึงพุทธุปบาทกาลพระพุทธเจ้าองค์ ปัจจุบัน ท่านได้มาเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์กปิละดังกล่าวมาแล้ว ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยจิตที่ตั้งปรารถนามาแต่อดีตชาติประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่เมื่อออกบวชแล้วก็ได้สมาทานธุดงค์ครบทั้ง ๑๓ ข้อก่อนได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านสมาทานธุดงค์
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๒๓ กลุ่มพระชาวแคว้นมคธ

    พระราธะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นกุลบุตรชาวเมืองหงสวดี วันหนึ่งเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับพวกชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านมีปฏิภาณยอด เยี่ยม แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็น เช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

    ท่าน แสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวก พร้อมทั้งได้ทำการบูชาอย่างยิ่งใหญ่อย่างที่พระมหากัสสปะทำ แล้วกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน และได้รับพุทธพยากรณ์อย่างที่พระมหากัสสปะได้รับมาแล้วคือ จักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดม ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านมีปฏิภาณยอดเยี่ยม

    ท่าน ได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านได้มาเกิดเป็นบุตรพราหมณ์ยากจนอยู่ในเมืองราชคฤห์ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่ อดีตชาติ ประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติที่เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้ว ก็ยังไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรมอยู่เนืองๆ จนเกิดความเข้าใจได้แจ่มแจ้งกว้างขวางลึกซึ้งและว่องไว พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านมีปฏิภาณยอดเยี่ยม

    พระ อุปเสนะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นกุลบุตรชาวเมืองหงสวดี คราวหนึ่งเห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ ณ เงื้อมเขาแห่งหนึ่งแล้วเลื่อมใส จึงได้นำดอกกรรณิกา ที่กำลังบานสะพรั่งมาทำเป็นร่มดอกไม้สีขาวไปกั้นถวาย พระพุทธเจ้า จากนั้นจึงได้ถวายอาหารแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกอีก ๘ รูปที่ตามเสด็จ ต่อมาท่านได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระอาราม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านเป็นที่ เลื่อมใสของคนทุกชั้น แล้วปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

    ท่าน แสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายทาน แล้วกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบถึงความปรารถนาของท่านและได้รับพุทธ พยากรณ์อย่างที่พระมหากัสสปะและพระราธะได้รับมาแล้วคือ จักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านเป็นที่เลื่อมใสของชน ทุกชั้น

    ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็น อย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตาย เกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านได้มาเกิดเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนาแต่อดีตชาติประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้วมีคนทุกระดับชั้นเลื่อมใสท่านมาก นิยมมาบวชในสำนักของท่าน พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านเป็นที่เลื่อมใสของชนทุก ชั้น

    พระขทิรวนิยเรวตะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นพ่อค้าชาวเมืองหงสวดี ทำการค้าขายทางเรือและจอดเรือทอดสมออยู่ที่ท่าปยาคปติฏฐานะ ซึ่งอยู่ด้านฝั่งแม่น้ำคงคา คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระเสด็จมาถึงท่าเรือพร้อมด้วยพระสาวกจำนวนมาก นายเรือทราบว่าพระพุทธเจ้ามีพระประสงค์จะพาพระสาวกข้ามฟาก จึงชวนพวกชาวเรือด้วยกันผูกเรือขนานตกแต่งให้สวยงาม จัดอาสนะเรียบร้อยแล้ว กราบทูลพระพุทธเจ้าให้เสด็จนำพระสาวกขึ้นเรือ จากนั้นนายเรือได้ออกเรือพาพระพุทธเจ้าและพระสาวกมาส่งยังอีกฟากหนึ่ง

    ขณะ ที่เรือยังแล่นอยู่กลางแม่น้ำนั้น พระพุทธเจ้าทรงเห็นเป็นโอกาส จึงทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านอยู่ป่า นายเรือเห็นดังนั้นเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

    ท่าน แสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทาน แด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน ๗ วัน วันสุดท้ายได้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน และได้รับพุทธพยากรณ์อย่างที่พระมหากัสสปะ พระราธะ พระอุปเสนะ ได้รับมาแล้ว คือ จักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมใน อีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านเป็นอยู่ป่า

    ท่าน ได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านได้มาเกิดเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนาแต่อดีตชาติประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่เมื่อออกบวชแล้วก็ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรด้วยจิตใจนิยมการอยู่ป่า พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านอยู่ป่า

    พระมหา ปันถก ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นกฎุมพี ชาวเมือง หงสวดี มีน้องชายอยู่ ๑ คน (คือพระจูฬปันถกในชาติปัจจุบัน) วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญใน ปัญญาวิมุติ แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

    ท่าน แสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทาน แด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน ๗ วัน วันสุด ท้ายได้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน และได้รับพุทธพยากรณ์อย่างที่พระมหากัสสปะ พระราธะ พระอุปเสนะ และพระขทิรวนยเรวตะได้รับมาแล้ว คือ จักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในปัญญาวิมุติ

    ท่าน ได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อ เนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตาย เกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านได้มาเกิดเป็นคนวรรณะจัณฑาล หลานของเศรษฐีราชคหะ ครั้นออกบวชก็ได้ บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่เมื่อออกบวชแล้วมีความชำนาญในการเจริญวิปัสสนา พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในปัญญาวิมุติ
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๒๔ กลุ่มพระชาวแคว้นมคธ

    พระจูฬปันถก ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นน้องชายของกฎุมพี ชาวเมืองหงสวดี (คือพระมหาปันถกในชาติปัจจุบัน) วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับพี่ชายและพวกชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญใน เจโตวิมุติ และด้านชำนาญในมโนมยิทธิ (การใช้ฤทธิ์ทางใจ) แล้วปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

    ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏ ด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน ๗ วัน วันสุดท้ายได้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน และได้รับพุทธพยากรณ์อย่างที่พระมหากัสสปะ พระราธะ พระอุปเสนะ พระขทิรวนิยเรวตะ และพระมหาปันถกผู้เป็นพี่ชายได้รับแล้ว คือ จักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในเจโตวิมุติ และชำนาญในมโนมยิทธิ

    ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติ โสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้ากัสสปะ

    ชาติที่พบพระพุทธเจ้ากัส สปะนั้น ท่านออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ มีสติปัญญาดีมาก ทรงจำพระพุทธพจน์ไว้ได้มากและแม่นยำ คราวหนึ่งได้ฟังพระปัญญาทึบรูปหนึ่งสาธยายพระพุทธพจน์ผิดๆ ถูกๆ แล้วหัวเราะเยาะ จนพระรูปนั้นอายเลิกท่องจำพระพุทธพจน์อีกต่อไป จากชาตินั้นท่านเวียน ว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านเกิดมาเป็นน้องชายของพระมหาปันถก ตอนบวชใหม่ๆ บาป กรรมที่เคยหัวเราะเยาะพระปัญญาทึบตามมาให้ผล โดยทำให้ท่านไม่ได้กัลยาณมิตรแนะนำการปฏิบัติธรรม จึงไม่สามารถท่องจำคาถาแม้เพียงบทเดียวได้ จนถูกพระมหาปันถกขับไล่ให้สึก แต่ต่อมาได้พระพุทธเจ้าเป็นกัลยาณมิตรทรงแนะนำให้เจริญกรรมฐาน จึงได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนา มาแต่อดีตชาติ ประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้วมีความชำนาญในการเข้าสมาธิ และชำนาญในการใช้ฤทธิ์ทางใจเนรมิตร่างกายท่านได้ตั้ง ๑,๐๐๐ ร่างในขณะจิตเดียว พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในการเข้าสมาธิ (เจโตวิมุติ) และชำนาญในการใช้มโนมยิทธิ

    ได้กล่าวถึงอดีตชาติของพระ อสีติมหาสาวกชาวแคว้นมคธที่ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ มาแล้ว ต่อไปนี้จะกล่าวถึงอดีตชาติของพระอสีติมหาสาวก ชาวแคว้นมคธที่ไม่ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ ซึ่งมีอยู่ ๒ รูป คือ พระมหาจุนทะ กับพระสภิยะ

    พระอสีติมหาสาวก ๒ รูปนี้ แม้จะไม่ได้ตั้งจิตปรารถนาตำแหน่งเอตทัคคะไว้เหมือนพระอสีติมหาสาวก ๖ รูปนั้น แต่ก็ได้ตั้งจิตปรารถนาเพื่อเป็นพระสาวกและได้บรรลุอรหัตผลในศาสนาของพระ พุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล ซึ่งแต่ละรูปก็ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีตทำนองเดียวกัน คือจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมและจักได้บรรลุอรหัตผลดังมีราย ละเอียดดังนี้

    พระมหาจุนทะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ในพระพุทธเจ้าในอดีตหลายพระองค์ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าสิทธัตถะ

    ชาติ ที่พบพระพุทธเจ้าสิทธัตถะนั้น ท่านเกิดเป็นกุลบุตรชาวเมืองเวภาระ มีจิตเลื่อมใสให้ช่างทำดอกไม้แล้วนำไปบูชาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน จึงตรัสพยากรณ์ว่าท่านจักได้บรรลุอรหัตผลในศาสนาของพระพุทธเจ้าโคดม เป็นเหตุให้ท่านเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง แล้วทำความดีอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อ เนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าวิปัสสี

    ชาติที่พบพระพุทธเจ้าวิ ปัสสีนั้น ท่านเกิดเป็นช่างหม้อชาวเมืองพันธุมดี วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ถวายบาตรดินแด่พระองค์ด้วยจิตเลื่อมใส แล้วตั้งจิตปรารถนาขอให้ได้บรรลุอรหัตผลในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล พระพุทธเจ้าทรงทราบความปรารถนาของท่าน จึงตรัสพยากรณ์อย่างที่พระพุทธเจ้าสิทธัตถะตรัสพยากรณ์ เป็นเหตุให้ท่านเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง แล้วทำความดีอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ท่านมาเกิดเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล สมตามที่ตั้งจิตปรารถนาไว้ดังกล่าวมาแล้ว

    พระสภิยะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ในพระพุทธเจ้าในอดีตหลายพระองค์ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ

    ชาติ ที่พบพระพุทธเจ้ากกุสันธะนั้น ท่านเกิดเป็นกุลบุตรชาวเมืองเขมะ วันหนึ่งเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จ พุทธดำเนินด้วยพระบาทเปล่าแล้วเกิดศรัทธาถวายรองเท้า แล้วตั้งจิตปรารถนาขอให้ได้เป็นสาวกของ พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล พระพุทธเจ้าทรงทราบความปรารถนาของท่าน จึงตรัสพยากรณ์ว่าท่านจักได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดม เป็นเหตุให้ท่านเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง แล้วทำ ความดีอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้ากัสสปะ

    ชาติที่พบพระพุทธเจ้ากัส สปะนั้น ท่านเกิดเป็น กุลบุตรชาวเมืองพาราณสี วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยชาวเมืองเพื่อฟังธรรม พระพุทธเจ้าทรงทราบความปรารถนาของท่าน จึงตรัสพยากรณ์อย่างที่พระพุทธเจ้ากกุสันธะตรัสพยากรณ์มาแล้ว เป็นเหตุให้ท่านเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง แล้วทำความดีอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ท่านมาเกิดเป็นบุตรของปริพาชิกานางหนึ่ง ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล สมตามที่ตั้งจิตปรารถนาไว้ดังกล่าวมาแล้ว
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๒๕ กลุ่มพระชาวแคว้นมคธ

    ๏ วาจานุสรณ์

    พระมหากัสสปะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วมีความประสงค์จะสอนพระทั้งหลายให้เห็นคุณค่าของการอยู่ในที่สงัด จึงกล่าวว่า

    ผู้มีปัญญาเห็นว่า ไม่ควรอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
    เพราะเป็นเหตุให้จิตฟุ้งซ่าน ได้สมาธิยาก
    การมัวแต่สงเคราะห์ (เกี่ยวข้องกับ) คนนั้นคนนี้อยู่ เป็นความลำบาก
    ดังนั้น จึงไม่ชอบใจจะอยู่กับหมู่คณะ
    ผู้มีปัญญา ไม่ควรเกี่ยวข้องกับตระกูลทั้งหลาย
    เพราะเป็นเหตุให้จิตฟุ้งซ่าน ได้สมาธิยาก
    ผู้ที่เกี่ยวข้องกับตระกูล ย่อมต้องขวยขวายในการเข้าไปสู่ตระกูล
    มักติดรสอาหาร จึงทำให้ต้องละทิ้งประโยชน์ที่จะนำสุขมาให้
    ผู้มีปัญญากล่าวว่า การไหว้และการบูชาในตระกูลทั้งหลาย
    เป็นเปือกตมและลูกศรที่ละเอียด ถอนได้ยาก
    บุรุษผู้เลวทรามย่อมละสักการะได้ยากอย่างยิ่ง

    ต่อมาท่านได้สอนพระให้ยินดีในปัจจัย ๔ โดยเฉพาะอาหารบิณฑบาตได้มา โดยกล่าวถึงข้อปฏิบัติของท่านว่า

    เราลงจากเสนาสนะแล้วเข้าไปบิณฑบาตในเมือง
    คนขี้เรื้อนคนหนึ่งกำลังบริโภคอาหารอยู่
    เราไปยืนอยู่ใกล้เขาด้วยอาการสำรวม
    คนขี้เรื้อนปั้นข้าวคำหนึ่งมาใส่บาตรเรา
    มือของเขามีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
    ขณะที่หย่อนข้าวลงในบาตร นิ้วของเขาขาดตกอยู่ในบาตร
    เรานั่งฉันข้าวคำนั้นอยู่ข้างฝาเรือนต่อหน้าเขา
    โดยไม่มีความรังเกียจเลยแม้แต่น้อย
    ภิกษุใดไม่ดูหมิ่นปัจจัยทั้ง ๔ คือ อาหารบิณฑบาต
    ที่จะต้องลุกขึ้นเดินไปรับที่ประตูเรือนของชาวบ้าน ๑
    บังสุกุลจีวร ๑ โคนต้นไม้ ๑ ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑
    ภิกษุนั้นแล สามารถจะอยู่ได้ในทิศทั้ง ๔ แม้ยามชรา

    เมื่อ จะย่างเข้าสู่วัยชรา แต่ท่านยังคงสมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้ออย่างเคร่งครัด กลับจากบิณฑบาตแล้วก็ขึ้นภูเขาบำเพ็ญฌาน ท่านได้กล่าวสรรเสริญภูมิภาคและภูเขาที่ท่านอยู่ไว้ว่า

    ภาคพื้นดินแห่งนี้มีต้นกุ่มขึ้นเป็นแถว
    กึกก้องด้วยเสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์
    นั่นภูเขาสูง ชูยอดเสียดเมฆ คล้ายปราสาท
    ณ เชิงเขานั้น มีสายน้ำใสสะอาด
    ดารดาษด้วยหญ้าสีเหลืองเหมือนแมลงค่อมทอง น่ารื่นรมย์
    ภูเขาที่ฝนตกรด มีต้นไม้ใบหญ้าขึ้นเขียวชอุ่ม
    เป็นถิ่นที่ฤาษีชอบมาอาศัย
    ไพเราะด้วยเสียงนกยูง น่ารื่นรมย์
    เราก็เหมือนคนที่จิตแน่วแน่ทั่วไป
    ที่พิจารณาเห็นได้อย่างแจ่มแจ้งถูกต้อง
    จึงไม่ยินดีในดนตรีมีองค์ ๕
    (แต่มายินดีเสียงน้ำตก เสียงช้างร้องและเสียงนกยูงแทน)
    คราวหนึ่ง ท่านกล่าวเตือนพระนักปริยัติ แต่ไม่สนใจการปฏิบัติว่า
    เพียงแค่ท่องบ่นพระพุทธวจนะได้
    ย่อมทำให้คนโง่มองไม่เห็นตัวเอง
    เขาย่อมเที่ยวชูคอสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าผู้อื่น

    พระ ราธะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วก็ยังสนใจในการเพ่งพินิจธรรม วันหนึ่งขณะนั่งพินิจธรรมอยู่ในกระท่อม เกิดฝนตกรั่วรดลงมาทางหลังคาที่มุงไม่ดี ท่านคิดเปรียบเทียบเรือนที่มุงไม่ดีว่าเหมือนกับจิตที่ไม่ได้ฝึกฝน จึงกล่าวว่า

    เรือนที่มุงไม่ดี ฝนตกรั่วรดได้
    จิตที่ไม่ได้ฝึกฝนก็เป็นเช่นนั้น
    ราคะย่อมรั่วรดได้
    เรือนที่มุงดี ฝนตกรั่วรดไม่ได้
    จิตที่ฝึกฝนไว้ดีก็เป็นเช่นนั้น
    ราคะย่อมรั่วรดไม่ได้

    พระ อุปเสนะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วได้มาจำพรรษาอยู่ที่เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ คราวนั้นเองพระชาวโกสัมพีได้แตกกันเป็น ๒ ฝ่าย พระรูปหนึ่งถามท่านว่า ควรวางตัวเช่นไรในสถานการณ์เช่นนี้ ท่านกล่าวว่า

    ป่าที่สัตว์ร้ายอาศัยอยู่ แต่สงบสงัดปราศจากเสียงอื้ออึง
    ภิกษุผู้หวังจะหลีกเร้น ควรอยู่ในเสนาสนะป่าเช่นนั้น
    ควรห่มจีวรเศร้าหมอง ที่ได้มาโดยเก็บผ้ามาจากกองขยะ
    จากป่าช้า จากตรอกซอกซอย แล้วมาทำเป็นจีวร
    ควรสยบจิตให้หมดมานะ คุ้มครองทวาร สำรวมอินทรีย์
    เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก
    บิณฑบาตที่ได้มาแม้จะไม่ประณีตก็ควรยินดี
    ไม่ควรอยากได้อาหารมากรส
    เพราะคนที่ติดในรสอาหาร จิตย่อมไม่ยินดีในฌาน
    ไม่ควรคลุกคลีกับใครๆ ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์
    ควรแสดงตนให้เป็นเหมือนคนบ้าและคนใบ้ คือ ไม่พูดมาก
    เมื่ออยู่ท่ามกลางหมู่คณะ ไม่ควรใส่ร้ายใคร ไม่ควรกระทบกระทั่งใคร
    ควรสำรวมในพระปาติโมกข์ และควรรู้จักประมาณในการฉันอาหาร
    ควรศึกษานิมิตรหมายที่ทำให้จิตเกิดให้ดี
    จิตเกิดแต่ละขณะเป็นอย่างไร ควรรู้ให้ทัน
    ควรบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเนืองๆ
    ไม่ควรวางใจในเมื่อยังไม่สิ้นทุกข์
    ภิกษุผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์ เป็นอยู่อย่างนั้น
    อาสวะย่อมหมดไปได้ เธอย่อมบรรลุนิพพาน

    พระ มหาจุนทะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วประสงค์จะประกาศว่า การที่ท่านบรรลุอรหัตผลได้นั้นเพราะอาศัยครูและการอยู่ในเสนาสนะอันสงัด จึงกล่าวว่า

    เพราะตั้งใจฟังครูสอน จึงได้ความรู้
    ความรู้ทำให้ได้ปัญญา
    เพราะปัญญาจึงทำให้รู้ประโยชน์
    ประโยชน์ที่รู้แล้วย่อมนำสุขมาให้
    ภิกษุควรเสพเสนาสนะอันสงัด
    ควรประพฤติธรรมอันเป็นเหตุให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัด
    ถ้าในเสนาสนะและธรรมนั้นยังยินดีเต็มที่ไม่ได้
    เมื่ออยู่กับคณะ ก็ควรมีสติรักษาตน
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๒๖ กลุ่มพระชาวแคว้นมคธ

    พระขทิรวนิยเรวตะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว คราวหนึ่งขณะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าท่านเดินผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่งถูกโจร ปล้น พวกชาวบ้านต่างร่วมใจกันต่อสู้ขัดขวาง ฝ่ายพวกโจรเมื่อได้ทรัพย์สินเงินทองแล้วก็ห่อหิ้วหนีออกจากหมู่บ้าน ครั้นเห็นว่าจวนตัวเพราะพวกชาวบ้านไล่ล่าติดๆ และพอดีเห็นพระเถระเดินสวนทางมาจึงทิ้งห่อของไว้ใกล้พระเถระ เพื่อลวงชาวบ้านให้เข้าใจผิดจะได้ไม่ติดตามตน ฝ่ายชาวบ้าน ก็เข้าใจผิดอย่างที่พวกโจรคาดหวัง จึงช่วยกันจับท่านไปถวายพระเจ้าแผ่นดินให้สอบสวน และลงโทษ ระหว่างการสอบสวนท่านได้กล่าวขึ้นว่า

    นับตั้งแต่ออกบวช อาตมาไม่เคยคิดร้ายใคร
    ตลอดเวลาที่บวชอยู่นี้ไม่เคยคิดให้ใครถูกฆ่า
    ถูกเบียดเบียนและได้รับทุกข์
    ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็คือ แผ่เมตตาไปอย่างไม่จำกัด
    ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
    อาตมาเป็นมิตรของสรรพสัตว์
    เป็นเพื่อนของสรรพสิ่ง
    ยินดีที่ไม่เบียดเบียนใคร
    แผ่เมตตาจิตอยู่ทุกเมื่อ
    จิตของอาตมาไม่หวั่นไหว ไม่กำเริบ
    อาตมาทำให้มันบันเทิงอยู่ด้วยการเจริญพรหมวิหารธรรม
    คือแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    ซึ่งคนต่ำช้าทำไม่ได้แน่
    จากนั้นท่านได้กล่าวแก่พระสัทธิวิหาริกที่เดินทางมาเยี่ยมท่านว่า
    พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เข้าเพียงทุติยฌานก็นิ่งได้ประเสริฐแล้ว เพราะหมดความหลง
    ภิกษุสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    จึงมั่นคงไม่หวั่นไหวคล้ายภูเขาหิน
    คนที่หมดกิเลส สะอาดทั้งกาย วาจา ใจ
    ย่อมเห็นความชั่วแม้เล็กน้อยขนาดเท่าปลายขนทราย
    ว่ามากมายเหมือนก้อนเมฆ
    ท่านทั้งหลายจงคุ้มครองตัวเอง
    ให้เหมือนนักรบ คุ้มครองเมืองหน้าด่านอย่างแข็งขัน
    จะเป็นหรือตายเราก็ไม่ไยดี
    เรารอแต่เวลาคล้ายลูกจ้างรอเวลางาน
    จะเป็นหรือตายเราก็ไม่ไยดี
    เรารอแต่เวลาอย่างคนมีสติสัมปชัญญะ
    พระศาสดาเราก็รับใช้แล้ว
    คำสอนของพระพุทธเจ้าเราก็ทำตามได้แล้ว
    ภาระหนักเราก็ปลงได้แล้ว
    อีกทั้งตัณหา ตัวการทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด
    เราก็ถอนรากถอนโคนได้แล้ว
    ประโยชน์ที่คนออกบวชต้องการ คือความหมดกิเลสเราก็ได้รับแล้ว
    ขอท่านทั้งหลายจงทำความดีให้สมบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด

    ท่านกล่าว สอนพระทั้งหลายเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นก็เหาะขึ้นไปนั่งขัดสมาธิอยู่ในอากาศ เข้าเตโชสมาบัติอธิษฐานให้เกิดไฟลุกไหม้ร่างกายท่านหลังจากนิพพานแล้ว ท่านนิพพานกลางอากาศนั้นเอง

    พระมหาปันถก หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วได้กล่าวแสดงความรู้สึกของท่านว่า

    ครั้งแรกที่ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นยอดคน
    เราก็เกิดความสลดใจ (ว่าทำไมจึงไม่มาเฝ้าพระองค์เสียตั้งนาน)
    ต่อมาเราสละสิ่งทั้งปวง ปลงผมและหนวดออกบวช
    เรารักษาศีลได้ดีเยี่ยม
    ศึกษาสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่างถ่องแท้
    สำรวมดีแล้วในในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่พ่ายแพ้แก่มาร
    ครั้งนั้นเราตั้งจิตปรารถนาไว้ว่า
    ถ้ายังถอนลูกศรคือตัณหาออกไม่ได้
    เราจะไม่ยอมนั่งแม้เพียงครู่เดียว
    แล้วสิ้นราตรีนั้นเอง พอพระอาทิตย์อุทัย
    เราก็ถอนลูกศร คือตัณหาได้หมดสิ้น
    จากนั้นจึงเข้าไปนั่งขัดสมาธิภายในกุฏิ

    พระ จูฬปันถก หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว พระทั้งหลายถามท่านว่า สามารถบรรลุอรหัตผลได้อย่างไร ในเมื่อท่านเป็นคนปัญญาทึบ ท่านเล่าให้ฟังว่า

    เมื่อก่อนผมเข้าใจได้ช้าจึงถูกตำหนิ
    หลวงพี่ได้ขับไล่ผมให้สึกเสีย
    ผมเสียใจมากเพราะยังอาลัยรักพระศาสนาอยู่
    จึงไปยืนร้องไห้อยู่ที่ซุ้มประตูวัดชีวกัมพวัน
    ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาหาผม
    ทรงลูบศีรษะแล้วจับแขนพาผมเข้าไปในวัด
    พระศาสดาทรงประทานผ้าแก่ผม
    แล้วทรงพระกรุณาตรัสบอกให้ผมไปนั่งบริกรรมจนขึ้นใจ
    พระดำรัสของพระพุทธเจ้าทำให้ผมยินดีอยู่ในศาสนา
    บำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้นเพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุด
    แล้วผมก็ได้บรรลุวิชชา ๓ ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้หมดสิ้น
    ผมเนรมิตตนได้ ๑,๐๐๐ ร่าง จนถึงเวลาเขานิมนต์
    ผมได้เหาะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วถวายบังคมแทบเบื้องพระยุคลบาท
    ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าได้ตรัสรับรองผม

    พระ สภิยะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดเวฬุวัน อันเป็นช่วงเวลาที่พระเทวทัตกำลังพยายามทำลายสงฆ์ พระทั้งหลายเกิดความสับสน ท่านจึงให้โอวาทว่า

    นอกจากบัณฑิตแล้ว ไม่มีใครรู้หรอกว่า
    เราทั้งหลายที่กำลังทะเลาะกันอยู่นี้กำลังย่อยยับ
    คนที่รู้ย่อมไม่ทะเลาะกัน
    เมื่อไม่รู้วิธีระงับการทะเลาะตามความเป็นจริง
    พวกเขาย่อมทำตัวเหมือนไม่แก่ไม่ตาย ก็จะทะเลาะกันร่ำไป
    ส่วนคนที่รู้ตามความเป็นจริงว่าการทะเลาะทำให้เร่าร้อน
    พวกเขาย่อมไม่ก่อการทะเลาะ
    การงานที่ทำเหลาะแหละ วัตรปฏิบัติที่ไม่น่าเลื่อมใส
    และพรหมจรรย์ที่ระลึกถึงด้วยความน่ารังเกียจ ทั้ง ๓ นี้ไม่มีผลมาก
    ผู้ใด ไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
    ผู้นั้น ย่อมห่างไกลจากพระสัทธรรม
    เหมือนฟ้ากับดินห่างไกลกัน
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๒๗ กลุ่มพระชาวแคว้นโกศล

    กลุ่มพระชาวแคว้นโกศล คือ กลุ่มพระที่เป็นชาวแคว้นโกศล โดยกำเนิด ซึ่งนอกจากกลุ่มพระมาณพ ๑๖ รูปแล้ว ยังมีพระอสีติมหาสาวกที่เป็น ชาวแคว้นโกศลอีก ๑๖ รูป คือ พระ วักกลิ พระยโสชะ พระกุณฑธานะ พระปิลินทวัจฉะ พระมหาโกฎฐิตะ พระโสภิตะ พระอุปวาณะ พระองคุลิมาล พระสาคตะ พระเสละ พระวังคีสะ พระลกุณฑกภัททิยะ พระกุมารกัสสปะ พระนันทกะ พระสุภูติ และพระกังขาเรวตะ แต่ละรูปมีประวัติที่น่าศึกษาดังนี้

    ๏ สถานะเดิม

    พระวักกลิ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ศึกษาจบไตรเพท อยู่ในเมืองสาวัตถี

    พระยโสชะ เป็นหัวหน้าชาวประมง มี ลูกน้องอยู่ ๕๐๐ คน ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ แม่น้ำอจิรวดี ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งที่ไหลผ่านแคว้นโกศล

    พระกุณฑธานะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ มีชื่อเดิมว่า ‘ธานะ’ ศึกษาจบไตรเพท

    พระปิลินทวัจฉะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ เชื้อสายวัจฉโคตร มีชื่อเดิมว่า ‘ปิลินทะ’ แต่มักมีผู้เรียกท่านว่า ‘ปิลินทวัจฉะ’ โดยนำเชื้อสายของท่านมาต่อท้าย ศึกษาจบไตรเพท

    พระมหาโกฎฐิตะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล บิดาชื่อ ‘อัสสลายนะ’ มารดาชื่อ ‘จันทวดี’ มีชื่อเดิมว่า ‘โกฏฐิตะ’ ศึกษาจบไตรเพท

    พระโสภิตะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ศึกษาจบศิลปวิทยาของพราหมณ์

    พระอุปวาณะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ศึกษาจบไตรเพท

    พระองคุลิมาล เกิดในวรรณะพราหมณ์ บิดาชื่อ ‘ภัคควะ’ เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล มารดาชื่อ ‘มันตานี’ มีชื่อเดิมว่า ‘อหิงสกะ’

    พระสาคตะ เกิดในวรรณะพราหมณ์

    พระเสละ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ที่อาปณนิคมในแคว้นอุตตราปะ ซึ่งตั้งอยู่ติดกับแคว้นอังคะ บิดาชื่อ ‘วาเสฏฐะ’ ศึกษาจบไตรเพทและศิลปวิทยาของพราหมณ์

    พระวังคีสะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ศึกษาจบไตรเพท

    พระ ลกุณฑกภัททิยะ เกิดในวรรณะไวศยะ ตระกูลของท่านร่ำรวย มีชื่อเดิมว่า ‘ภัททิยะ’ แต่เพราะมีร่างกายเล็กและเตี้ยจึงมักถูกเรียกว่า ‘ลกุณฑกภัททิยะ’ (ภัททิยะผู้มีร่างกายเล็กและเตี้ย)

    พระกุมารกัสสปะ เกิดในวรรณะไวศยะ คลอดในขณะที่มารดาเป็นภิกษุณี เนื่องจากมารดาตั้งครรภ์ท่านแล้วไม่ทราบ ได้ออกบวชจนเมื่อครรภ์ใหญ่จึงได้ทราบ และได้คลอดท่านในสำนักภิกษุณีนั้นเอง

    พระนันทกะ เกิดในวรรณะไวศยะ แต่งงานแล้ว

    พระสุภูติ เกิดในวรรณะไวศยะ ในตระกูลเศรษฐี เป็นน้องชายของอนาถบิณฑิกเศรษฐี

    พระ กังขาเรวตะ เกิดในวรรณไวศยะ ในตระกูลเศรษฐี มีชื่อเดิมว่า ‘เรวตะ’ เหตุที่มีคำว่า ‘กังขา’ แปลว่า ‘สงสัย’ นำหน้าชื่อนั้น เป็นเพราะก่อนได้บรรลุอรหัตผล ท่านมักมีความสงสัยเกี่ยวกับพระวินัยว่า อะไรควรอะไรไม่ควร และมักซักถามพระพุทธเจ้าและเพื่อนพระด้วยกันอยู่เนืองๆ ดังนั้นต่อมาจึงมีเพื่อนพระเรียกท่านว่า ‘กังขาเรวตะ’ แปลวว่า ‘เรวตะ ผู้ชอบสงสัย’


    ๏ ชีวิตฆราวาส

    พระวักกลิ แม้จะศึกษาจบไตรเพท แต่ไม่ปรากฏว่าท่านได้ทำหน้าที่เป็นครูสอนพระเวทแก่ใครแต่อย่างใด ตามประวัติกล่าวว่าท่านเป็นคนรักสวยรักงาม พบสิ่งใดที่ถูกตาถูกใจมักจะหลงใหลได้ง่าย

    พระยโสชะ เนื่องจากเกิดในครอบครัวของชาวประมง เมื่อเติบโตขึ้นท่านจึงประกอบอาชีพการทำประมงเลี้ยงดูครอบครัวอย่างที่ บรรพบุรุษได้ทำมา ท่านทำมาหากินอยู่บริเวณลุ่มน้ำอจิรวดี อันเป็นถิ่นกำเนิดนั้นเอง ท่านมีความสุขพอสมควรแก่อัตภาพ ทุกวันต้องออกไปหาปลากับเพื่อนชาวประมง

    พระกุณฑธานะ พระปิลินทวัจฉะ พระมหาโกฏฐิตะ พระอุปวาณะ เป็นเช่นเดียวกับพระวักกลิ กล่าวคือ แม้จะศึกษาจบไตรเพท แต่ก็ไม่ได้ทำหน้าที่เป็น ครูสอนพระเวท

    พระปิลิ นทวัจฉะ มีนิสัยพูดจาโผงผาง หากพูดกับคนที่ต่ำกว่าหรือเสมอกันมักจะจบลงด้วยคำว่า “วสลิ” (ไอ้ถ่อย) เสมอ แต่ความจริงแล้วด้านจิตใจนั้นท่าน เป็นคนโอบอ้อมอารี เข้าทำนองว่า ‘ปากร้ายใจดี’

    พระอุปวาณะ เป็นคนร่างกายใหญ่โตขนาดเท่าลูกช้าง

    ส่วนอุปนิสัยและบุคลิกภาพของ พระกุณฑธานะ และพระมหาโกฏฐิตะ น่าเสียดายว่ายังไม่พบหลักฐาน

    อย่าง ไรก็ตาม พระมหาสาวกทั้ง ๔ รูปนี้ ครั้งเป็นฆราวาสก็มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย โดยเฉพาะพระมหาโกฏฐิตะนั้นเกิดในตระกูลพราหมณ์ที่มั่งคั่ง จึงได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี นอก จากศึกษาจบไตรเพทแล้ว ท่านยังศึกษาจบศิลปวิทยาสาขาอื่นๆ ที่คนวรรณะพราหมณ์ควรศึกษา

    พระโส ภิตะ พระสาคตะ ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตฆราวาสของท่าน แต่อาศัยจากหลักฐานที่ว่าท่านศึกษาจบศิลปวิทยา จึงทำให้สันนิษฐานได้ว่าท่านคงเกิดในตระกูลที่มั่งคั่งและมีความเป็นอยู่ อย่างสุขสบาย

    พระองคุลิมาล เนื่องจากเป็นบุตรของปุโรหิตผู้ใหญ่ในราชสำนักของพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงมีความเป็นอยู่สุขสบายและมีเกียรติ เมื่อเจริญวัยขึ้นบิดาได้ส่งท่านให้ไปศึกษาศิลปวิทยาในสำนักของอาจารย์ทิสา ปาโมกข์ ณ เมืองตักกสิลา การศึกษาที่เมืองตักกสิลานี้เอง ที่ทำให้ท่านต้องมาเป็นโจรด้วยความจำเป็น ท่านเป็นคนแข็งแรงและมีกำลังเท่าช้าง ๗ เชือก

    พระเสละ ชอบแสวงหาความรู้ รักการสนทนาแลกเปลี่ยนทัศนะ เมื่อศึกษาจบไตรเพทและศิลปวิทยาของพราหมณ์แล้ว จึงตั้งสำนักสอนพระเวท มีผู้มาเรียนด้วย ๓๐๐ คน

    พระวังคีสะ นอกจากศึกษาจบไตรเพทแล้วยังได้ศึกษา ‘สีสมนตร์’ (มนตร์ที่ทำให้รู้ว่าคนตายไปเกิดที่ใดด้วยการเคาะกะโหลกศีรษะ) ท่านมีความชำนาญ ในมนตร์นี้มาก และได้อาศัยเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต

    พระลกุณฑกภัททิยะ พระนันทกะ ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตฆราวาสของท่าน

    พระ กุมารกัสสปะ เติบโตอยู่ในสำนักภิกษุณี เนื่องจากมารดาตั้งครรภ์ท่านแล้วไม่รู้ว่าตั้งครรภ์ได้ออกบวช นางได้คลอดท่านขณะที่เป็นภิกษุณีนั้นเอง ท่านได้รับการเลี้ยงดูในสำนักภิกษุณีตั้งแต่เกิด วันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จผ่านมาสำนักภิกษุณีได้ยินเสียงเด็กร้อง ครั้นทรงทราบเรื่องราวทั้งหมดจึงรับสั่งให้ขอท่านไปเลี้ยงไว้ในราชสำนัก ในฐานะพระ-โอรสของพระองค์และทรงตั้งชื่อให้ว่า ‘กัสสปะ’ ต่อมามีผู้เรียกท่านว่า ‘กุมารกัสสปะ’ แปลว่า กัสสปะผู้ได้รับการเลี้ยง ดูอย่างพระราชกุมาร

    พระสุภูติ มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบายอย่างที่เศรษฐีในยุคนั้นจะพึงเป็นได้

    พระกังขาเรวตะ เป็นเช่นเดียวกับพระสุภูติเพราะเกิดในตระกูลเศรษฐีเหมือนกัน
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๒๘ กลุ่มพระชาวแคว้นโกศล

    ๏ การออกบวช

    พระวักกลิ ออกบวชเพราะเลื่อมใสในพระวรกายอันสง่างามของพระพุทธเจ้า มีเรื่องเล่าว่าครั้งแรกที่ได้เห็นพระวรกายของพระพุทธเจ้า ท่านเกิดความเลื่อมใสทันที หลังจากนั้นก็วนเวียนมาเฝ้าดูพระวรกายของพระพุทธเจ้าอยู่เนืองๆ ในที่สุดท่านเกิดความคิดว่าจะต้องออกบวช เพื่อจะได้ดูพระวรกายของพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิดและตลอดเวลา ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงบวชให้ตามประสงค์

    พระยโสชะ ออกบวชเพราะเกิดความสังเวชสลดใจ ในบาปกรรมของปลาทอง ที่ท่านและเพื่อนชาวประมงจับได้ มีเรื่องเล่าว่า วันนั้นท่านและเพื่อนชาวประมงได้ออกไปจับปลาในแม่น้ำอจิรวดีเหมือนอย่างเคย จับได้ปลาใหญ่ตัวหนึ่งซึ่งมีตัวเป็นสีทองแต่ว่าปากเหม็น ทุกคนเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงเห็นพ้องต้องกันให้นำไปถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล และพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงรับสั่งให้นำปลานั้นไปถวายพระพุทธเจ้าต่อ ทั้งนี้เพื่อจะได้ถือโอกาสทูลถามเรื่องกรรมเก่าของปลานั้นด้วย

    พระ พุทธเจ้าครั้นทอดพระเนตรเห็นปลาแล้วก็ทรงทราบถึงกรรมเก่าที่ทำให้ปลานั้น มีตัวเป็นสีทองแต่ปากเหม็น จึงตรัสบอกพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ในครั้งศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะปลาทองนั้นเกิดเป็นกุลบุตรมีชื่อว่า ‘กปิละ’ มารดาชื่อ ‘สาธนี’ น้องสาว ชื่อ ‘ตาปนา’ พี่ชายชื่อ ‘โสธนะ’ ต่อมาหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว กปิละกับพี่ชายได้ออกบวช พระโสธนะผู้พี่ชายตั้งใจศึกษาปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล ส่วนพระกปิละตั้งใจศึกษาพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี แต่ไม่สนใจปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา ท่านเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกเป็นอย่างมาก มีพระมาศึกษาพระไตรปิฎกด้วยเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ท่านเกิดความหลงตนและลืมตัวด่าว่าพระรูปอื่นอย่างเสียหายทุกครั้ง ที่ไม่พอใจ ท่านหลงตนลืมตัวหนักขึ้นถึงขั้นประกาศว่าจะไม่ลงฟังพระปาติโมกข์อีกต่อไป เพราะไม่มีประโยชน์ ท่านประพฤติตัวก้าวร้าวอยู่อย่างนั้นแม้จะถูกพระพี่ชายตักเตือนด้วยความหวัง ดีก็ไม่เคยให้ความเคารพเชื่อฟัง ครั้นมรณภาพจากชาตินั้นแล้ว บาปกรรมก็ส่งผลให้ท่านไปเกิดในอเวจีนรกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้บาปกรรมที่ยังเหลืออยู่ส่งผลให้ท่านมาเกิดเป็นปลาใหญ่ปาก เหม็นอยู่ในแม่น้ำอจิรวดี แต่ที่มีตัวเป็นสีทองนั้นเป็นผลมาจากการที่ทรงจำพระไตรปิฎกได้ดีนั่นเอง

    พระ ยโสชะและเพื่อนชาวประมง ได้ฟังกรรมเก่าของปลาทองแล้วเกิดความสังเวชสลดใจในความไม่แน่นอน ของสัตว์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จึงพร้อมใจกันสละบ้านเรือนออกบวชในพระพุทธศาสนา

    พระกุณฑธานะ ออกบวชเมื่ออายุย่างเข้าวัยชราหลังจากวันหนึ่งได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วเกิดศรัทธาจึงทูลขอบวช

    พระ ปิลินทวัจฉะ ออกบวชเป็นปริพาชกก่อนเพราะเกิดความสลดใจในการเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุด ของ สัตว์ทั้งหลาย ขณะเป็นปริพาชกนั้นท่านได้ศึกษาวิชา ‘จูฬคันธาระ’ จนสำเร็จ จึงทำให้สามารถเหาะได้และทำให้สามารถรู้ใจของผู้อื่นด้วย วิชาจูฬคันธาระทำให้ท่านมีชื่อเสียง เมื่อท่านเดินทางมาถึงเมืองราชคฤห์ก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากเจ้าของ ถิ่น แต่ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้าไปถึงเมืองราชคฤห์ พุทธานุภาพทำให้วิชาจูฬคันธาระของท่านเสื่อม ท่านไม่สามารถเหาะและรู้ใจผู้อื่นได้เหมือนเมื่อก่อน อาจารย์ผู้สอนวิชาจูฬคันธาระเคยบอกท่านว่า หากวิชามหาคันธาระมีอยู่ที่ใด วิชาจูฬคันธาระก็จะไม่สัมฤทธิ์ผลในที่นั้น ท่านคิดตามที่เคยได้รับการบอกกล่าว ในขณะเดียวกันก็ได้ทราบข่าวคราวของพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองราชคฤห์ จึงเชื่อแน่ว่าพระพุทธเจ้าต้องทรงทราบวิชามหาคันธาระ ต่อมาเมื่อได้โอกาสจึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วทูลขอเรียนวิชามหาคันธาระ พระพุทธเจ้าทรงยินดีจะสอนให้ แต่ทรงเสนอเงื่อนไขให้ท่านบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนาก่อน ท่านยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขและทูลขอบวชทันที

    พระมหาโกฏฐิตะ ดังได้กล่าวแล้วว่าท่านเป็นบุตรพราหมณ์อัสสลายนะ บิดาของท่านเป็นคนมีชื่อเสียงมีความถือตัวจัดเรื่องชาติกำเนิด พระพุทธเจ้าทรงเห็นอุปนิสัยของพราหมณ์นั้นจึงเสด็จไปโปรดจนยอมคลายทิฐิมานะ และประกาศตนเป็นอุบาสกนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระมหาโกฏฐิตะเห็นบิดาเปลี่ยนศาสนามานับถือพระพุทธศาสนาก็เกิดศรัทธาขึ้นมา บ้าง วันหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวัน ฟังธรรมแล้วก็เกิดศรัทธายิ่งขึ้น จึงทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ท่านตามประสงค์ จากนั้นทรงมอบหมายให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ และทรงมอบหมายให้พระมหาโมคคัลลานะเป็นพระอาจารย์

    พระโสภิตะ พระสาคตะ พระลกุณฑกภัททิยะ พระนันทกะ พระกังขาเรวตะ ออกบวชเช่นเดียวกับพระกุณฑธานะและพระมหาโกฏฐิตะ กล่าวคือได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วเกิดศรัทธาจึงทูลขอบวช

    พระอุป วาณะ ออกบวชเพราะความเลื่อมใสพุทธานุภาพที่ท่านเห็นในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จไป รับวัดพระเชตวันจากอนาถบิณฑิกเศรษฐี เรื่องมีอยู่ว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีเดินทางไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดสีตวัน ฟังธรรมแล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล จึงทูลนิมนต์ให้พระพุทธเจ้าเสด็จ มาเมืองสาวัตถีบ้าง ครั้นพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้วท่านก็กลับมาสละเงินซื้อสวนเจ้าเชตสร้าง เป็นวัดเชตวันทันที แล้วส่งคนไปนิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จมารับถวาย เมื่อเสด็จมาถึงแล้ว ก่อนเสด็จเข้าไปในวัดเชตวันนั้นพระพุทธเจ้าทรงรับสั่งให้อุบาสกอุบาสิกาที่ ตามเสด็จมาด้วยเดินเป็นแถวนำหน้าเข้าไปก่อน จากนั้นพระองค์จึงเสด็จเข้าไปโดยมีพระสาวกเดินแถวตาม เสด็จ ขณะที่เสด็จเข้าไปนั้นพระพุทธเจ้าทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีสวยงามเรืองรองไป ทั่วบริเวณ พระอุปวาณะเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่มาเฝ้ารับเสด็จ เห็นพุทธานุภาพในวันนั้นแล้วเกิดความเลื่อมใสยิ่งนักจึงขอบวช

    พระ องคุลิมาล ดังได้กล่าวแล้วว่าการศึกษาที่เมืองตักกสิลานี้เองที่ทำให้ท่านต้องมาเป็น โจรด้วยความจำเป็น จึงขอกล่าวต่อไปว่าการมาเป็นโจรด้วยความจำเป็นนี้เองเป็นมูลเหตุชักนำให้ ท่านออกบวช ดังเรื่อง มีอยู่ว่า เมื่อมาศึกษาอยู่ในสำนักทิสาปาโมกข์นั้น ท่านตั้งใจศึกษาเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็ตอบแทนพระคุณอาจารย์ด้วยการรับใช้อาจารย์และภริยาด้วยความ เคารพ ความดีดังกล่าวเป็นผลให้อาจารย์และภริยาโปรดปรานท่านมาก โดยเฉพาะนางพราหมณีผู้ภริยาของอาจารย์ได้เกื้อกูลท่านด้วยของกินของใช้มิให้ ลำบาก จนศิษย์คนอื่นๆ พากันริษยาและหาเรื่องใส่ร้ายท่านว่าเป็นชู้กับภริยาของอาจารย์ ในที่สุดอาจารย์ก็หลงเชื่อจึงวางแผนฆ่าท่านโดยวิธีที่แนบเนียน โดยบอกว่าศิษย์ที่ศึกษาจบศิลปวิทยานั้นต้องให้ครุทักษิณา (ของบูชาครู) แก่อาจารย์ จากนั้นอาจารย์ก็บอกถึงของที่จะเป็นครุทักษิณานั้นคือนิ้วมือขวาของคน ๑,๐๐๐ นิ้ว ซึ่งจะหาได้มาก็ด้วยการออกล่าผู้คน ความจริงแล้วอาจารย์ มิได้ต้องการครุทักษิณาอย่างนั้น แต่ที่บอกไปนั้นก็ด้วยความเชื่อมั่นว่าวิธีนี้จะเป็นวิธีฆ่าศิษย์โดยอาจารย์ เองไม่มีความผิด เพราะก่อนที่จะได้นิ้วมานั้นศิษย์ก็คงจะถูกฆ่าตายเสียก่อน

    อาจารย์ คาดผิดถนัด อหิงสกะออกล่านิ้วคนเป็นว่าเล่น ได้นิ้วมาแล้วก็แขวนไว้ตามกิ่งไม้ ต่อมาเห็นว่าไม่ปลอดภัยเพราะถูกแร้งกาจิกกิน จึงนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องไหล่คล้ายสายธุรำ การกระทำดังกล่าวมานี้เองเป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า ‘องคุลิมาล’ (ผู้มีนิ้วมือเป็นพวงมาลัย) แทนชื่อ ‘อหิงสกะ’ มานับแต่นั้น
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๒๙ กลุ่มพระชาวแคว้นโกศล

    พฤติกรรมของโจรองคุลิมาลลือชาไปทั่วเป็นที่หวาดกลัวของผู้คน ความทราบถึงพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์จึงทรงรับสั่งให้จัดกำลังทหารออกตามล่าโจรองคุลิมาล ปุโรหิตภัคควะบิดาของโจรองคุลิมาลทราบเรื่อง ก็ไม่ได้แสดงอาการหวั่นวิตกแต่ประการใด เพราะปลงใจได้ว่าลูกชายได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้มาก จึงถึงคราวที่จะต้องได้รับผลกรรมตอบสนองบ้างแล้ว แต่นางพราหมณีผู้มารดาหวั่นไหวหนัก เมื่อสามีปฏิเสธไม่ยอมไปพบลูกชายตามที่นางขอร้อง นางจึง ออกไปเองตามลำพังด้วยหมายจะเกลี้ยกล่อมลูกชายให้ยอมมอบตัวแต่โดยดี

    วันนั้น โจรองคุลีมาลก็ดีใจว่าจะเป็นวันที่จบการศึกษาศิลปวิทยาแล้ว เพราะเหลือ อีกนิ้วเดียวก็จะครบ ๑,๐๐๐ พอดี และตั้งใจว่าเมื่อได้นิ้วครบ ๑,๐๐๐ ซึ่งถือว่าจบ การศึกษาแล้วก็จักตัดผม แต่งหนวด อาบน้ำ เปลี่ยนผ้านุ่งห่มใหม่ แล้วกลับไปเยี่ยม บิดามารดา จึงออกจากกลางป่ามายืนดักอยู่ที่ปากทางเข้าป่า

    ขณะนั้นนางพราหมณีผู้ เป็นมารดา กำลังเดินมุ่งหน้าไปทางป่าที่โจรองคุลีมาลซุ่มซ่อนอยู่นั้น โจรองคุลีมาลเห็นมารดาเดินมาแต่ไกลก็จำได้ แต่เพราะอยากได้นิ้วมือจึงถือดาบวิ่งเข้าหามารดาหมายจะฆ่าแล้วตัดเอานิ้วมือ ข้างขวาอีก ๑ นิ้ว ก็จะครบ ๑,๐๐๐ พอดี พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ตอนเช้ามืด ทรงเห็นอุปนิสัยของโจรองคุลีมาลว่าสามารถจะบรรลุมรรคผลได้และทรงเห็นว่า โจรองคุลิมาล จะบรรลุมรรคผลไม่ได้เลยหากจะต้องมาทำอนันตริยกรรมฆ่ามารดาของตนเอง

    ดังนั้น หลังจากเสด็จบิณฑบาตและเสวยพระกระยาหารแล้ว จึงรีบเสด็จไปถึงพร้อมกับเวลาที่นางพราหมณีมาถึง และเสด็จไปขวางหน้าก่อนที่โจรองคุลิมาลจะวิ่งถึงมารดา โจรองคุลิมาลเห็นพระพุทธเจ้าจึงเปลี่ยนใจไม่ฆ่ามารดา แต่หันมาไล่ตามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้โจรองคุลีมาลวิ่งตามไม่ทันจน รู้สึกเหนื่อยล้า แล้วหยุดยืนอยู่กับที่ร้องบอกพระพุทธเจ้าขึ้นว่า

    “หยุดก่อน สมณะ หยุดก่อน”

    “เราหยุดแล้ว องคุลิมาล และเธอสิก็จงหยุดด้วย”

    “ท่านหมายความว่าอย่างไร ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ”

    “ตถาคต หมายความว่า เราหยุดฆ่าสัตว์แล้ว แต่เธอสิไม่หยุด ฉะนั้น เธอต้องหยุดด้วย”

    โจรองคุลิมาลฟังแล้วก็รู้สึกได้ทันทีว่า ผู้ที่กำลังพูดอยู่กับตนนั้น คือพระพุทธเจ้า จึงทิ้งดาบแล้วก้มลงกราบแทบพระบาท เขาเกิดปีติโสมนัสอย่างแรงกล้าในพระพุทธเจ้า บุญบารมีที่สั่งสมมาแต่อดีตชาติได้โอกาสเกื้อหนุนให้จิตใจน้อมไปในการบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ตามที่ทูลขอ

    พระเสละ ออกบวชเมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดชฎิลเกณิยะ เรื่องมีอยู่ว่า ขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกอยู่ในอังคุตตราปถชนบทพร้อมด้วยพระสาวก ๑,๒๕๐ รูป ชฎิลเกณิยะเกิดเลื่อมใสในพระเกียรติคุณ จึงทูลนิมนต์พระองค์พร้อมด้วยพระสาวก ไปรับภัตตาหารที่อาศรมของตนในเช้าวันรุ่งขึ้น

    วันนั้นขณะที่บริวาร ของชฎิลเกณิยะกำลังขะมักเขม้นอยู่กับการผ่าฟืน เตรียมเตาไฟและเตรียมอาหารนั้น พราหมณ์เสละและศิษย์ผ่านมาพบเข้า จึงสอบถามได้ความว่าจะมีการถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้าในวันพรุ่งนี้เช้า ก็เกิดเลื่อมใสทันทีจึงพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะที่ทูลสนทนากับพระพุทธเจ้าอยู่นั้น พราหมณ์เสละก็ได้ตรวจดูมหาปุริสลักษณะของพระพุทธเจ้าไปด้วยจนครบถ้วนทั้ง ๓๒ ประการ จึงตกลงใจเชื่อแน่ว่านี่คือพระพุทธเจ้า ตกคืนนั้นเองพราหมณ์เสละและศิษย์ ๓๐๐ คนก็ตัดสินใจทูลขอบวชพร้อมกัน

    พระงคีสะ ออกบวชเพราะต้องการเรียนสีสมนตร์ดังกล่าวแล้ว เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อท่านตัดสินใจจะอาศัยมนตร์นี้เลี้ยงชีวิต พวกพราหมณ์พวกของท่านจึงพาท่านตระเวนไปแสดงความสามารถตามสถานที่ต่างๆ ปรากฏว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ใครก็ตามที่ต้องการทราบว่าญาติของตนที่ตายไปแล้วเกิดอยู่ในที่ใด นรก สวรรค์ หรือโลกมนุษย์ เมื่อมาหาท่านก็จะได้รับคำตอบหมด วิธีหาคำตอบก็คือ ท่านจะให้นำกะโหลกคนตายมาวางไว้แล้วเอานิ้วเคาะ ไม่นานก็จะได้คำตอบผ่านทางกะโหลกนั้น เกี่ยวกับสถานที่เกิดใหม่ของเจ้าของกะโหลก ด้วยวิธีการอย่าง นี้ท่านก็ได้รับสิ่งของ อาทิ อาหาร ของใช้ เป็นเครื่องสักการะตอบแทน

    หลังจากพากันตระเวนไปตามเมืองต่างๆ แล้วพวกพราหมณ์จึงพาท่านกลับมา ยังเมืองสาวัตถีตามเดิม และพำนักอยู่ใกล้ประตูทางเข้าวัดเชตวัน เหตุผลที่มาพำนักอยู่ที่นี้ก็เพื่อจะชักชวนพุทธศาสนิกชนที่มาเฝ้าพระ พุทธเจ้าให้หันมาเลื่อมใสท่านบ้าง

    “ท่านทั้งหลาย เชิญมาหาวังคีสะเถิด เขารู้ที่เกิดของคนตายอย่างไม่มีใครสู้ได้” พวกของท่านโฆษณา

    “วังคีสะ จะสู้พระพุทธเจ้าของเราได้หรือ” มีเสียงตอบจากกลุ่มพุทธศาสนิกชน

    ทั้ง ๒ ฝ่ายโต้เถียงกันรุนแรงถึงขั้นท้ากัน วังคีสะขอตามพุทธศาสนิกชนกลุ่มนั้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วย เพื่อจะได้ประลองวิชากัน พระพุทธเจ้าทรงรับคำท้าของท่าน ที่จะขอแสดงความสามารถให้ดูด้วยการให้นำกะโหลกคนตายมา ๕ กะโหลกด้วยกัน คือ กะโหลกคนตายที่ไปเกิดในนรก กะโหลกคนตายที่ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน กะโหลกคนตายที่ไปเกิดเป็นมนุษย์ กะโหลกคนตายที่ไปเกิดเป็นเทวดา และกะโหลกของพระอรหันต์ วังคีสะเคาะกะโหลกคนตายแล้วก็บอกได้ว่าเป็นกะโหลกของใคร ตามลำดับ แต่มาถึงกะโหลกสุดท้ายอันเป็นกะโหลกของพระอรหันต์ ท่านไม่สามารถบอกได้ เพราะเคาะแล้วก็ไม่ได้รับคำตอบว่าเจ้าของกะโหลกไปเกิด ณ ที่ใด จึงรู้สึก อับอายและยืนนิ่งอยู่โดยไม่ยอมปริปากพูดอะไร พระพุทธเจ้าทรงเข้าใจความรู้สึก ของท่านได้ดี จึงตรัสว่า

    ผู้ใดรู้การเกิดและการตายของสัตว์ทั้งหลายได้ครบถ้วน ไม่มีติดขัด
    เพราะดำเนินตามอริยมรรคและรู้แจ้งอริยสัจ เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์
    เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ ไม่รู้ที่ไปของบุคคลใด
    บุคคลนั้นสิ้นอาสวะห่างไกลกิเลสแล้ว
    เราเรียกเขาว่า เป็นพราหมณ์

    วังคีสะได้ฟังแล้วอยากจะเป็นพราหมณ์เช่นนั้นบ้าง จึงทูลขอให้พระพุทธเจ้าสอนวิชาให้ โดยคิดว่าเมื่อเรียนวิชาจากพระพุทธเจ้าได้แล้วก็จะทำให้รู้ที่เกิดของพระ อรหันต์ อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเลี้ยงชีพต่อไป พระพุทธเจ้าทรงรับที่จะสอนให้ แต่ทรงวางเงื่อนไขให้ท่านบวชก่อนจึงจะยอมสอน เมื่อวังคีสะตกลงจึงทรงบวชให้

    พระกุมารกัสสปะ ออกบวชเป็นสามเณรก่อน มูลเหตุที่ทำให้ออกบวชก็คือ ท่านเกิดความสลดใจในชีวิตของตนเอง เมื่อได้ทราบความจริงว่าท่านไม่ใช่โอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศลอย่างที่เข้าใจ มาแต่แรก แท้จริงแล้วเป็นลูกของภิกษุณี จึงทูลขอพระราชานุญาตพระเจ้าปเสนทิโกศลออกบวช พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทัดทาน แต่เมื่อทรงเห็นว่าไม่สามารถจะเปลี่ยนความตั้งใจของท่านได้ จึงทรงอนุญาต และเนื่องจากท่านมีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ พระพุทธเจ้าจึงทรงให้บวชเป็นสามเณรก่อน

    พระสุภูติ ออกบวชเพราะความเลื่อมใสในพุทธานุภาพที่ท่านเห็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จไป รับวัดพระเชตวันจากอนาถบิณฑิกเศรษฐี เช่นเดียวกับพระอุปวาณะ
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๓๐ กลุ่มพระชาวแคว้นโกศล

    ๏ การบรรลุธรรม

    พระวักกลิ บรรลุอรหัตผลหลังจากคิดฆ่าตัวตาย ดังได้กล่าวไว้แล้วว่าท่านหลงใหลในพระรูปกายของพระพุทธเจ้า ดังนั้นเมื่อบวชแล้วจึงละทิ้งการบำเพ็ญสมณธรรมทั้งหมด คอยเฝ้าแต่ติดตามดูพระรูปกายของพระพุทธเจ้าเท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสเตือนท่านเนืองๆ ให้เลิกละการเที่ยวดูร่างกายอันจะเปื่อยเน่า และทรงชี้ทางออกให้หันมามุ่งหน้าบำเพ็ญสมณธรรม

    วักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเท่ากับได้เห็นตถาคต
    ผู้ใดเป็นตถาคต ผู้นั้นเท่ากับได้เห็นธรรม

    พระ วักกลิ แม้จะได้ยินพระพุทธเจ้าตรัสเตือนเช่นนี้ก็หาได้เข้าใจไม่ ท่านยังคงทำตัวเหมือนเดิม ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะประทับอยู่ที่ใด ท่านก็จะไปเฝ้าอยู่ใกล้ๆ พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าหากให้เหตุการณ์ดำเนินไปเช่นนี้ ท่านเองจะเป็นคนเสียหาย เนื่องจากจะไม่ได้บรรลุมรรคผลอันใด วันต่อมาเมื่อพระวักกลิมาเฝ้าจึงทรงขับไล่ไปให้พ้นจากพระองค์ พระวักกลิไม่ ทันเข้าใจถึงวิธีการของพระพุทธเจ้าจึงรู้สึกเสียใจมาก และออกจากวัดเชตวันไปหมายจะกระโดดภูเขาฆ่าตัวตาย พระพุทธเจ้าทรงติดตามดูการกระทำของท่านตลอดเวลา ครั้นทรงเห็นว่าจะฆ่าตัวตายจริงๆ จึงทรง ปรากฏพระองค์ให้เห็นพร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อ ‘วักกลิ’ ซึ่งทำให้ท่านชงักและเกิดความดีใจว่าพระพุทธเจ้าตรัสเรียก ความน้อยใจแต่แรกหายไป กลายเป็นเกิดปีติ ขึ้นมาแทนที่ พระพุทธเจ้าทรงเห็นเป็นโอกาสอันสมควร จึงตรัสสอน

    ภิกษุผู้เลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธเจ้า
    มากด้วยความปราโมทย์
    สามารถบรรลุทางอันสงบสุข
    ซึ่งดับการปรุงแต่งเสียได้ทั้งหมด

    การ ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกและตรัสสอนท่านนั้น ทำให้ท่านเกิดความอบอุ่นใจและมีกำลังใจ จึงได้ตั้งสติเจริญวิปัสสนาพิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ครั้นแล้วก็พลันเกิดความรู้แจ้ง ได้บรรลุอรหัตผล

    พระยโสชะ บรรลุอรหัตผลหลังจากถูกขับไล่ออก จากวัดเชตวัน ดังได้กล่าวไว้แล้วว่าท่านเป็นชาวประมง หลังจากบวชแล้วก็พักอยู่แถบลุ่มน้ำอจิรวดีซึ่งเป็นบ้านเกิด วันหนึ่งได้พร้อมด้วยพระบริวารเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเชตวัน พระบริวารของท่านส่งเสียงดังอื้ออึงลั่นวัดด้วยความเคยชินมาแต่ครั้งเป็น ฆราวาส พระพุทธเจ้าจึงทรงตำหนิและขับไล่ให้ออกไปจากวัดเชตวันโดยด่วน ท่านรู้สึกสลดใจจึงพาพระบริวารออกเดินทางไปยังแคว้นวัชชี แล้วปลูกกระท่อมอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ท่านและพระบริวารต่างมุ่งมั่นบำเพ็ญสมณธรรมจนได้บรรลุอรหัตผลในพรรษานั้นเอง

    พระ กุณฑธานะ บรรลุอรหัตผลพร้อมกับเวลาที่กรรมชั่วให้ผลสิ้นสุด มีเรื่องเล่าว่า ครั้นบวชได้ไม่นาน ท่านก็เริ่มรู้สึกไม่สบายใจต่อคำพูดเสียดสีของเพื่อนพระด้วยกัน จนไม่สามารถบำเพ็ญสมณธรรมได้ มูลเหตุที่ทำให้ท่านถูกพูดจาเสียดสีจนจิตใจฟุ้งซ่านนั้น ก็คือ นับตั้งแต่วันบวชมีคนเห็นผู้หญิงคนหนึ่งเดินตามหลังท่านอยู่ตลอดเวลาและทุก สถานที่ ผู้หญิงคนนั้นตามที่คนทั่วไปเห็นมีรูปร่างสวยงาม เวลาเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ขณะใส่บาตรท่าน ชาวบ้านก็มักจะพูดว่า ส่วนนี้เป็นของท่าน อีกส่วนหนึ่งนี้เป็นของผู้หญิงที่ติดตามท่าน เวลาอยู่ในวัดเพื่อนพระก็จะพูดเสียดสีท่านว่าไม่น่าเลยท่านธานะคนดีต้องมา เป็นคนกุณฑะ (ชั่วช้า ในภาษาฮินดีใช้หมายถึง พวกนักเลงหัวไม้) จึงเป็นเหตุให้ท่านมีชื่อว่า ‘กุณฑธานะ’ มานับแต่นั้น

    พระกุณฑธานะ ไม่ทราบเลยว่ามีผู้หญิงติดตามท่านอยู่ จึงรู้สึกไม่พอใจเมื่อถูกพูดจาเสียดสีบ่อยครั้ง เมื่อทนไม่ไหวจึงกล่าวตอบโต้บ้างอย่างเผ็ดร้อน โดยเฉพาะแก่เพื่อนพระด้วยกัน

    “พวกท่านซีชั่วช้า อุปัชฌาย์อาจารย์ของพวกท่านก็ชั่วช้า”

    ต่อ มาความทราบถึงพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า แล้วตรัสถามถึงข้อเท็จจริง เมื่อท่านยอมรับว่าได้กล่าวตอบโต้ จึงตรัสเตือน

    “ภิกษุ กรรมเก่าเธอยังชดใช้ไม่หมด ไฉนจึงมาสร้างกรรมใหม่อีก”

    จากนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงกรรมเก่าที่ท่านทำไว้

    เรื่อง ที่พระกุณฑธานะมีผู้หญิงติดตามนี้ อื้อฉาวมากรู้กันทั่วเมืองสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศลในฐานะพุทธศาสนูปถัมภก ทรงเห็นว่าเป็นมลทินของพระพุทธศาสนา ทรงหวังจะช่วยชำระ จึงเสด็จไปตรวจสอบดูด้วยพระองค์เองถึงกุฏิของพระกุณฑธานะนั้น

    ขณะ นั้น พระกุณฑธานะกำลังนั่งเย็บผ้าอยู่ในกุฏิ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปถึงทอดพระเนตรเห็นหญิงคนหนึ่งแต่งตัวสวยงามยืนอยู่ ข้างหลังท่าน จึงทรงขออนุญาตเสด็จเข้าไปในกุฏิเพื่อดูหญิงนั้นให้ชัดเจน แต่ครั้นเสด็จเข้าไปแล้วก็ไม่ทรงพบเห็นแม้แต่เงา ทรงตรวจดูกุฏิทุกซอกทุกมุมก็ไม่ทรงพบเห็น จึงเสด็จกลับออกมาประทับยืนอยู่ในที่เดิม และขณะที่ประทับยืนทอดพระเนตรอยู่ในที่เดิมนั้น ก็ทรงเห็นหญิงนั้นอีก ในที่สุดทรงสรุปได้ว่าผู้หญิงนั้นคงไม่ใช่รูปจริง แต่คงเป็นรูปที่เกิดขึ้นมาจากกรรมเก่าของพระเถระ แรกทีเดียวที่เสด็จมาถึง พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงไหว้ แต่เมื่อทรงแน่พระทัยว่าท่านไม่ผิดอย่างที่ถูกกล่าวหา จึงทรงยอมไหว้แล้วทอดพระเนตรดูท่านอย่าง พินิจพิเคราะห์ ทรงเห็นท่านผ่ายผอมผิวพรรณซีดเซียว จึงทรงเข้าพระทัยได้ดีว่าท่านคงลำบากเรื่องอาหาร ดังนั้นก่อนเสด็จกลับจึงตรัสว่า

    “พระคุณเจ้า นับแต่นี้ไปไม่ต้องไปบิณฑบาตที่ไหนหรอก โยมจะบำรุงท่านด้วยปัจจัย ๔ ขอให้ท่านตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมก็แล้วกัน”

    นับ แต่นั้นมาพระกุณฑธานะก็เข้าไปบิณฑบาตในพระราชวังทุกวัน ร่างกายก็เริ่มมีกำลังเพราะได้อาหารพอฉัน จิตเริ่มสงบเพราะไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับคำพูดเสียดสี ท่านเจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างต่อเนื่อง ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล และทันทีที่ได้บรรลุอรหัตผลนั้นรูปหญิงที่ติดตามท่านก็หายไปพร้อมๆ กัน

    พระ ปิลินทวัจฉะ ดังได้กล่าวแล้วว่า ท่านบวชเพื่อต้องการศึกษาวิชามหาคันธาระจากพระพุทธเจ้า ดังนั้นครั้นบวชแล้วพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนวิชามหาคันธาระนั้นทันที ด้วยการประทานกรรมฐานที่เหมาะสมแก่อุปนิสัยให้ ท่านบำเพ็ญกรรมฐานไม่นานก็ได้สำเร็จวิชา มหาคันธาระ คือ บรรลุอรหัตผล อันทำให้หยุดการดิ้นรนขวยขวายเพื่อลาภสักการะดังแต่ก่อน

    พระมหาโกฏฐิ ตะ พระโสภิตะ พระอุปวาณะ พระเสละ พระนันทกะ มีหลักฐานกล่าวไว้คล้ายกันว่า หลังจากบวชแล้วไม่นานท่านได้บรรลุอรหัตผล แต่น่า เสียดายว่าไม่มีกล่าวถึงรายละเอียดการปฏิบัติธรรมของท่าน


     

แชร์หน้านี้

Loading...