พระโสดาบันสุกขวิปัสสโก ตอนที่ .. ๒

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย mahaasia, 10 มกราคม 2008.

  1. mahaasia

    mahaasia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,130
    ค่าพลัง:
    +4,971
    <CENTER>พระโสดาบันสุกขวิปัสสโก ตอนที่ .. ๒</CENTER>
    ท่านเพื่อนสหธรรมิกทั้งหลาย และบรรดาท่านโยคาวจรทั้งหลาย สำหรับคืนนี้ ก็จะขออธิบายความเป็นมาของพระโสดาบัน ทั้งนี้ก็เพราะว่า ตามที่อธิบายมาแล้ว ๒ คืนนั่นเป็นวิสัยของพุทธจริต
    แต่ว่าท่านผู้ใดมีจริตเป็นพุทธจริตก็สามารถจะจำเอาไปปฏิบัติเป็นพระโสดาบันได้เลย ทั้งนี้เพราะว่าท่านทสี่มีนิสัยเป็นพุทธจริต เป็นคนฉลาดอยู่แล้ว
    แต่ว่าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็มีความห่วงใยบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายที่มีจริตอื่นนอกจากนั้น เช่น ราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต วิตกจริต ศรัทธาจริต เป็นอันว่าคำอธิบายที่ผ่านมา บรรดาท่านที่มีคจริตทั้ง ๕ อย่างนี้ ยังไม่สามารถจะก้าวเข้าสู่ความเป็นพระโสดาบันได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าต้องรับคำอธิบายก่อน เนื่องด้วยความฉลาดไม่สม่ำเสมอกัน
    วันนี้ก็จะขอพูดให้กับบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านเข้าใจความจริงความเป็นพระโสดาบันนี้มีความสำคัญอยู่ที่ศีล ถ้าหากว่าทุกท่านมีศีลบริสุทธิ์ก็ไม่ต้องกล่าวน้อมไปถึงการเคารพในพระรัตนตรัย ทั้งนี้เพราะว่าศีลมาจากพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ การที่เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่าเป็นผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยอยู่แล้ว ฉะนั้น ศีลของท่านทั้งหลายจึงบริสุทธิ์
    วันนี้ก็มาขอย้ำกันว่า การที่ศีลจะบริสุทธิ์นั้น ต้องอาศัยอะไรเป็นพี่เลี้ยง ศีลจะบริสุทธิ์ได้ตามที่กล่าวมาแล้วในสิกขาบททั้ง ๕ บรรดาท่านนักปฏิบัติทั้งหลายจะเห็นว่ามีเมตตากับกรุณาเป็นสำคัญ ถ้ามีเมตตากับกรุณาทั้ง ๒ ประการนี้ครบถ้วน เป็นอันว่าศีลบริสุทธิ์
    ฉะนั้น ความจริง เมตตา กับ กรุณา ทั้ง ๒ ประการนี้ยังมีเพื่อนอีก ๒ เป็นฝ่ายสนับสนุน นั่นก็คือ มุทิตา กับ อุเบกขา
    มุทิตา ได้แก่ ความอ่อนโยนของจิต คือ จิตมีอารมณ์ไม่อิจฉาริษยาบุคคลผู้ใด เห็นใครเขาได้ดีพลอยยินดีกับความดีนั้น นี่ประการหนึ่ง
    ประการที่ ๔ ก็ได้แก่ อุเบกขาความวางเฉย
    คำว่า "เฉย" ในที่นี้ ก็หมายความถึงว่า ไม่สะดุ้งสะเทือนในเมื่อกฎของกรรมมันเกิดขึ้น
    นี่ความจริงตามตำราท่านบอกว่า ไม่ซ้ำเติมเมื่อบุคคลอื่นได้รับความเดือดร้อน แต่นั่นเป็นจริยาหรือนิสัยของโลกียชน สำหรับที่พูดกันอยู่นี่ อาตมาพูดกับท่านที่ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบันก็ต้องพูดกันคนละชั้นกับโลกียชน
    สำหรับอุเบกขา มีอาการวางเฉยจากกฎของกรรม เช่น ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้นกับเราก็เฉย ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ความแก่ปรากฏก็เฉย ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ความตายจะเข้ามาถึงเราก็เฉย ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ก็จะต้องขอย้ำกันสักนิดว่า
    ศีลที่จะทรงอยู่ได้เพราะอาศัยพรหมวิหาร ๔ นั่นก็คือ : -
    ๑. มีเมตตา ความรัก รักทั้งตัวเรา รักทั้งบุคคลอื่น รักทั้งสัตว์เดรัจฉาน รักทั้งเกียรติยศและศักดิ์ศรีของบุคคลอื่น รักสิทธิของบุคคลอื่น ไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลผู้ใด นี่เป็นตัวเมตตา ความรัก
    ๒. กรุณา ความสงสาร เห็นคนก็ดี เห็นสัตว์ก็ดีที่เพลี่ยงพล้ำมีความทุกข์ ขาดแคลนเรื่องสิ่งใดก็ตาม เราพร้อมที่จะช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา จิตใจของเราก็พร้อมตามนั้นเป็นปกติ
    ๓. มุทิตา จิตอ่อนโยน คือ มีอารมณ์ไม่อิจฉาริษยาใคร มีอารมณ์ชอบส่งเสริมความดีของบุคคลอื่น บุคคลนั้นจะเป็นใครก็ตาม ชาติเดียวกันหรือคนละชาติ อยู่บ้านเดียวกันหรืออยู่คนละบ้าน เป็นเพื่อนกันหรือว่าเป็นศัตรูกันก็ตาม ไม่มีความหมาย จะเป็นอะไรก็ช่าง ในเมื่อเห็นเขาได้ดี เราก็พลอยยินดีกับความดีของเขา
    ๔. สำหรับอุเบกขานั้น ถ้าว่ากันไปตามเรื่องในความเป็นพระโสดาบัน ก็หมายความถึงว่า มีความวางเฉยในขันธ์ ๕ เป็นสำคัญ ถือว่าขันธ์ ๕ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น เรารู้ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็มีความเสื่อมไปเป็นปกติ เราจำได้ และต่อไปมันก็มีการสลายตัวไปในที่สุด เราเข้าใจ เมื่อเราเข้าใจแล้ว เราก็สนใจจริยาอย่างนี้ คิดว่านี่เป็นธรรมของขันธ์ ฿ ขันธ์ ๕ มันเกิดมาเพื่อทรงอารมณ์อย่างนี้
    ฉะนั้น เมื่อมันจะเป็นอย่างนั้น มันก็เป็นเรื่องของมันไม่ใช่เรื่องของเรา การป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้น การรักษาโรค ถือว่าเป็นการระงับเวทนา ในเวลาจะตายเกิดขึ้นมาถือว่าเป็นเรื่องปกติ มีอารมณ์ใจไม่หวั่นไหว มีความภูมิใจว่าเราได้ทำความดีแล้ว ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง ๔ มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานทั้งหมดอย่างนี้เราไม่ไป ดินแดนที่เราจะพึงไปก็คือ มนุษย์ หรือว่าเทวดา หรือว่าพรหม
    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะความดีของเราทรงอยู่แล้ว คือ คุณพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ ได้แก่ คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ อย่างนี้เรามีครบบริบูรณ์
    อย่างคนที่นึกถึงคุณของพระพุทะเจ้า แม้แต่ใช้เวลาเล็กน้อยอย่างท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ท่านไม่เคยสร้างความดี ทานไม่เคยให้ ศีลไม่เคยรักษา พระไม่เคยไหว้ แต่เวลาที่ใกล้จะตาย ท่านนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาเพียงเดี๋ยวเดียว ตายแล้วท่านก็ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก มีความสุข
    และอีกตัวอย่างท่านลาชเทวธิดา เป็นหญิงที่ประกอบไปด้วยความจน ไม่เคยบำเพ็ญกุศล เอาข้าวตอกใส่บาตรพระมหากัสสป เพียงครั้งเดียว แล้วนึกถึงความดีของพระมหากัสสปที่เรียกว่า สังฆานุสสติกรรมฐาน( สำหรับท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรจัดเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน ) ท่านใส่บาตรเพียงครั้งเดียวกลับไปกระท่อมถูกงูกัดตาย ท่านก็ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก มีความสุข
    สำหรับพระธรรมเราก็ถึงแล้ว คือ มีความเชื่อในพระพุทธเจ้า คนที่มีความเชื่อในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าว่าแต่คนเลย แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน เช่น ค้างคาว ๕๐๐ ตัว ฟังเสียงพระสวดอภิธรรมไม่รู้เรื่องว่าเป็นธรรมะ แต่พอใจในเสียง ตายแล้วเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงมาเกิดเป็นมนุษย์พบพระสารีบุตร บวชแล้วไม่นานนักก็เป็นพระอรหัตผล
    นี่เป็นอันว่าคุณธรรมความดีทั้ง ๓ ประการ ได้แก่ คุณพระรัตนตรัย เราเข้าถึงแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งของเรา การตายของเราย่อไม่ไปอบายภูมิ เราพอใจในความดีของเราจึงไม่หวั่นไหวในความตาย แล้วยิ่งไปกว่านั้น ปัญจเวร ๕ ประการ คือ ศีล ๕ เราสามารถระงับได้แล้วเป็นปัจจัยไม่ให้ลงอบายภูมิ
    นี่เป็นอันว่า เรามีความชุ่มชื่นใจ ไม่หันกใจในด้านสังขารุเปกขาญาณ ในอุเบกขาข้อสุดท้ายของพรหมวิหาร ๔
    [​IMG]แต่ว่า สังขารุเปกขาญาณ สำหรับพระโสดาบันนี้ทรงไม่ได้มากนัก เป็นแต่เพียงมีความรู้สึกว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันเป็นของธรรมดา แต่ว่าในสมัยที่มีชีวิตอยู่ ยังมีความรักสวยสดงดงามตามปกติของปุถุชน แต่ว่ากำลังใจของตนดีกว่าปุถุชนที่เข้าถึงคุณพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ
    นี่การที่จะลักขโมยทรัพย์ของเขา ถ้าเรามีความรัก เรามีความสงสารเจ้าของทรัพย์ เราก็คงไม่สามารถจะทำได้เหมือนกัน
    นี่หากว่าเราจะไปยื้อแย่งคนรักของบุคคลอื่น หรือคนที่อยู่ในปกครองของบุคคลอื่น โดยการละเมิดด้วยกาเมสุมิจฉาจาร เราก็ทำไม่ได้ เพราะว่าเรารัก เราสงสารบุคคลนั้นว่าจะเสียหายเพราะเรา และรักและสงสารผู้ปกครองของเขาว่าจะต้องเกิดความเสียใจน้อยใจ หรือมีความขุ่นข้องหมองใจในเมื่อเราเข้าไปละเมิด นี่เป็นอันว่า เรามีความรักความสงสาร เราทำไม่ได้
    อันนี้สำหรับข้อที่ ๔ คือ การมุสาวาท ก็ดี การพูดคำหยาบก็ดี พูดส่อเสียดยุยงส่งเสริมให้เขาแตกร้าวกันก็ดี พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล เป็นวาจาที่ไร้ประโยชน์ก็ดี อาการอย่างนี้จะมีกับเราไม่ได้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเรามีความรัก เรามีความสงสาร เราจะทำอย่างนั้นไม่ได้
    คนที่เรารัก เราก็ไม่โกหก คนที่เรารักมีแต่วาจาอ่อนหวานเท่านั้นที่เราจะพูดกับเขา ไม่มีวาจาสามหาว วาจาหยาบ
    การที่จะยุยงส่งเสริมให้คนรักกันเป็นศัตรูกัน มันก็ไม่มีสำหรับเรา เพราะเรามีความรักความสงสารบุคคลทุกคนว่า ถ้าเขาเป็นศัตรูกัน เขาก็มีความทุกข์มีแต่ความเร่าร้อน
    นี่สำหรับการที่จะพูดเพ้อเจ้อเหลวไหล เป็นวาจาหยาบคายสร้างความสะดุ้งสะเทือนใจให้เกิดแก่บุคคลอื่นก็ไม่มีกับเรา ซึ่งมีความรักความสงสารในบุคคลนั้น
    การดื่มสุราก็ย่อมไม่ปรากฏ เพราะเราสงสารตัวเองด้วย สงสารบุคคลในครอบครัวด้วย ว่จะต้องสูญเสียทรัพย์สินที่นำมาซึ่งเป็นเหตุให้เป็นประโยชน์จากทรัพย์นั้นให้สูญเสียไปเปล่า หรือมิฉะนั้นไอ้เจ้าเหล้าสุรายาฝิ่น มันก็จะพาเราเข้าคุกเข้าตะราง เป็นเหตุให้คนอื่นเหยียดหยามว่าเราเป็นคนขี้เหล้าขี้ยา ไม่มีศักดิ์ศรี ไม่เป็นที่สมควรจะคบค้าสมาคม เพราะคนเมาเหล้าไม่ใช่คนดี คนประเภทนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดากล่าวว่า เป็นคนที่ไม่ศักดิ์ศรี เป็นคนทำลายความดีของตนเอง
    นี่รวมความว่า ถ้าเรามีพรหมวิหาร ๔ ครบถ้วน ศีลเราก็บริสุทธิ์ คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ เรายึดมั่นทรงตัวอยู่ และคำแนะนำขององค์สมเด็จพระบรมครูในข้อที่ว่า ศีลบริสุทธิ์มีอยู่ เราก็เชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน ศีลของเรานั้นจะมีความั่นคงได้ ก็เพราะอาศัยพรหมวิหาร ๔ เป็นสำคัญ
    จะยกตัวอย่างให้เห็นว่า บุคคลที่เป็นพระโสดาบันย่อมมีเมตตาความรัก กรุณาความสงสาร และไม่อิจฉาริษยาบุคคลอื่นใดที่ได้ดี พลอยยินดีกับบุคคลผู้ได้ดีนั้น และยิ่งไปกว่านั้น ก็มีอุเบกขาวางเฉยเมื่อกฎของกรรม หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นที่รักของตนจะต้องสูญหายไป เพราะเหตุที่ไม่ได้ตั้งใจ อาการอย่างนี้มีตัวอย่าง จะยกตัวอย่างมาแบบง่าย ๆ สักรายเดียว แล้วก็จะขอนำมากล่าวแต่โดยย่อ ไม่ใช่พิสดารเพราะเวลาจำกัด
    ตัวอย่างที่บรรดาท่านพุทธบริษัทเห็นอยู่เสมอ ได้แก่ นางวิสาขามหาอุบาสิกา นางวิสาขามหาอุบาสิการนี่เป็นพระโสดาบัน จิตใจของนางนั้นเต็มไปด้วยความเกื้อกูล เต็มไปด้วยเมตตาความรัก กรุณาความสงสาร
    จะเห็นได้ว่า ในกาลครั้งหนึ่ง เมื่อองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงเสด็จประทับอยู่ที่พระคันธกุฎี ในวันหนึ่งนางวิสาขาได้อาราธนาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมไปด้วยพระสงฆ์ทั้งหมดไปฉันภัตตหารที่บ้าน วันนั้นจะถึงเวลาที่นิมนต์ บังเอิญฝนตกใหญ่
    สมัยนั้น บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายมีผ้า ๓ ชิ้น คือ สบง๑ จีวร๑ สังฆาฏิ๑ มีผ้าพิเศษ ก็ได้แก่ อังสะ เป็นผ้าซับใน แล้วก็ผ้ารัดประคดแทนเข็มขัด เวลาเดียวกันนั้นปรากฏว่าฝนตกจัด บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายเห็นเป็นโอกาส พระประมาณสัก ๒,๐๐๐ รูป ก็พากันอาบน้ำตามชายคามหาวิหาร เพราะเป็นวิหารใหญ่ เวลาอาบน้ำท่านก็แก้ผ้าด้วยกันทุกองค์ เป็นเวลาสายแล้ว
    นางวิสาขาท่านใช้คนใช้ไปนิมนต์พระ ปรากฏว่าเมื่อคนใช้ไปถึงเห็นพระแก้ผ้าอาบน้ำกันเป็นแถว เข้าใจว่า อเจลก คือ พวกชีเปลือย จึงได้กลับมาบอกกับนางวิสาขาว่า ที่วิหารไม่มีพระ มีแต่พวกอเจลกชีเปลือยเท่านั้น นางวิสาขาก็ทราบว่า พระคงจะอาบน้ำกันเพราะมีผ้า ๓ ผืน ถ้าสบงเปียกก็ไม่มีสบงนุ่ง เพราะมีสบงผืนเดียว มีจีวรตัวเดียว มีสังฆาฏิตัวเดียว
    เมื่อฝนหายแล้ว นางวิสาขาก็ใช้คนใช้ไปใหม่ เพราะว่าเวลานี้พระกลับมาแล้ว เธอจงไป ก็ปรากฏว่าคนใช้กลับไปคราวนี้ฝนหาย พระนั่งในมหาวิหาร ห่มผ้าผ่อนเรียบร้อย นางจึงเข้าไปบอกแก่พระอานนท์ว่า ถึงเวลาอาหารแล้ว ขอได้โปรดเผดียงพระให้ไปรับภัตตาหารได้
    เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรพร้อมไปด้วยพระสงฆ์ทั้งหลายฉันภัตตาหารเสร็จ นางวิสาขาเพราะอาศัยมีความเมตตาในพระมีความสงสารในพระเห็นว่ามีผ้าน้อยเกินไป จึงได้ขอพรแด่องค์สมเด็จพระจอมไตรว่า ขอให้หม่อมฉัน หรือ ขอให้พระได้มีโอกาสรับผ้าวัสสิกสา คือ รับผ้าอาบน้ำฝนได้เป็นชิ้นที่ ๔ ที่เป็นผ้าสำรองครอง คือ เป็นผ้าอธิษฐาน องค์สมเด็จพระพิชิตมารก็ทรงอนุมัติ
    นี่จะเห็นได้ว่าคนที่เป็นพระโสดาบัน มีจิตประกอบไปด้วยความเมตตาปรานี และประกอบไปด้วยเหตุผล ไม่ใช่เมตตาปรานีประเภทส่งเดช ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
    และอีกคราวหนึ่ง ในคราวที่ภิกษุชาวปาฐา ๓๐ องค์ มาเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาตั้งแต่ก่อนเข้าพรรษาแล้วแต่ยังไม่ถึงองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว จึงพักระหว่างทางที่เมืองสาเกต พอออกพรรษาก็รีบเดินทางมา น้ำค้างตามใบหญ้าใบไม้ก็เปียก เมื่อเธอก็ต้องใช้ผ้าเปียก ๆ ก็มันมีอยู่ชุดเดียว
    เมื่อถึงพระพุทธเจ้าแล้วก็เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ตอนนั้นนางวิสาขานั่งอยู่ที่นั้นด้วย เห็นพระเปียกทั้งหมด ถามได้ความชัดว่า เดินมาตั้งแต่ก่อนเข้าพรรษา มาเวลานี้เข้าพรรษาแล้ว ก็เมื่อเวลาเข้าพรรษาต้องพักระหว่างทาง ออกพรรษาก็รีบมา ผ้าผ่อนท่อนสไบไม่มีผลัด เพราะมีผ้าอยู่ ๓ ชิ้นจำกัด
    นางวิสาขาจึงขอพรองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เวลาออกพรรษาแล้ว ขอให้มีโอกาสได้ทอดกฐิน คือ พระจะได้รับผ้าไตรจีวรจากบรรดาทายก อุบาสก อุบาสิกา
    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้มีพระพุทธฎีกา อนุญาตว่า เมื่อออกพรรษาแล้ว ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ เป็นเวลา ๑ เดือน ขอให้บรรดาพระสงฆ์รับผ้าพระกฐินทานแก่ บรรดาทายก ทายิกาที่มาถวายได้...
    ฉะนั้น ผ้ากฐินที่เขากล่าวว่า สำคัญที่ไตรครอง ไตรอื่น ๆ ไม่สำคัญนั้นไม่จริง ความจริงสำคัญทุกไตร มีอานิสงส์เท่ากัน เพราะยิ่งถวายได้ทั้งวัดยิ่งดี เพราะพระจะได้มีใช้สม่ำเสมอกัน ...

    นี่การนำเรื่องนี้มาเล่าให้กแก่บรรดาท่านพุทธบริษัทฟัง ก็จะได้จำ เป็นตัวอย่างว่า
    ท่านที่เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน หรือ กำลังจะเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน จะต้องทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ เมื่อทรงพรหมวิหาร ๔ แล้วก็เป็นปัจจัยให้ศีลบริสุทธิ์ด้วย ทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นปัจจัยระงับโทสะและพยาบาท ทำให้โทสะและพยาบาทคลายตัว
    แล้วก็พรหมวิหาร ๔ เป็นปัจจัยให้คนใจดี พอใจในการให้ทาน แล้วก็ทานตัวนี้เป็นปัจจัยตัดโลภะ คือ ความโลภ ทำให้จิตใจของท่านที่เป็นพระโสดาบัน มีอารมณ์บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีความโลภ คือ ปรารถนาในการยื้อแย่งเขา พอใจในการหาได้ด้วยสัมมาอาชีวะ

    ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลายที่กำลังสดับอยู่ จงปรับกำลังใจของท่านให้ดีตามนี้ นี่การเข้าสู่ความเป็นพระโสดาบัน จะเห็นว่าเป็นของไม่ยาก ไม่มีอะไรลำบากที่บรรดาท่านพุทธบริษัทจะต้องหนักใจ
    นี่มองดูเวลาสำหรับจะพูดกันก็เห็นว่าหมดเสียแล้ว ต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน จะนั่งอยู่ก็ตาม จะนอนก็ได้ จะยืนก็ได้ จะเดินก็ได้ ควบคุมกำลังใจของท่านให้เป็นไปตามคำแนะนำที่กล่าวมาแล้วนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติเพื่อสุกขวิปัสสโก ใช้อารมณ์คิดเป็นสำคัญ เมื่ออารมณ์คิดมีเหตุมีผลทรงใจดีแล้ว จิตใจของท่านทั้งหลายก็มีความผ่องแล้ว ทรงความเป็นพระโสดาบันได้ง่าย เวลานี้ก็ถึงเวลาแล้วที่ต้องพักคำอธิบาย ขอทุกท่านจงทรงกำลังใจของท่านให้เป็นสมาธิ และพิจารณาไปตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ จิตใจจะได้มีความสุขเข้าถึงพระนิพพานต่อไปตามกาลตามสมัย ตามเวลาที่ท่านต้องการ สวัสดี *
     
  2. mahaasia

    mahaasia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,130
    ค่าพลัง:
    +4,971
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=right><OBJECT id=banner-new codeBase=http://active.macromedia.com/flash4/cabs/swflash.cab#version=4,0,0,0 height=30 width=180 classid=clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000>
























    <embed name="banner-new" src="banner-new.swf" quality="high"" width="70" height="15" type="application/x-shockwave-flash" pluginspage="http://www.macromedia.com/shockwave/download/index.cgi?P1_Prod_Version=ShockwaveFlash"> </embed></OBJECT></TD></TR></TBODY></TABLE></P><CENTER>พระโสดาบันสุกขวิปัสสโก ตอนที่ .. ๓</CENTER>
    ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย สำหรับคืนนี้ก็มาบรรจบครบรอบในการที่เราจะแนะนำในเรื่องการปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบัน ต่อไป นี่การปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบันนั้น สำหรับท่านนอกจากพุทธจริตก็ต้องมาคิดอีกมุมหนึ่ง นั่นก็คือ อริยสัจ
    คำว่า "อริยสัจ" ที่บรรดาท่านทั้งหลาย เมื่อฟังกันแล้วขึ้นชื่อว่าอริยสัจ รู้สึกว่ามันน่าหนักใจจริง ๆ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะคำว่า "อริยสัจ" ท่านกล่าวว่าเป็นธรรมะเบื้องสูง เป็นเรื่องของนักปราชญ์เท่านั้นที่จะพึงรู้ ที่จะพึงพิจารณา เพราะเป็นของยาก ทว่าว่ากันไปตามความเป็นจริง ความรู้สึกอย่างนี้ผมเองคิดว่าเป็นอุปาทานมากกว่า
    [​IMG] เพราะคำว่า อริยสัจ แปลว่า ของจริงที่บรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลายรับรอง หรือว่า ของจริงที่บรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลายมีความเข้าถึงแล้ว คือ มีจิตไม่หวั่นไหว ยอมรับนับถือตามความเป็นจริงในสิ่งนั้น อย่างนี้เรียกว่า "อริยสัจ" ก็เราพูดกันอย่างนี้ก็รู้สึกว่าจะเป็นของไม่ยากนัก
    ตอนนี้ก็มาพูดกันถึงอริยสัจของพระโสดาบัน ความจริงอริยสัจนี่ก็ต้องคิดกันเป็นชั้น ๆ ไม่ใช่ว่ากันดะ อยู่ ๆ ก็จะใช้อริยสัจของพระอรหันต์ มันก็หนักเกินไป ถ้าจะเป็นนักเพาะกำลังกายก็จะกลายเป็นปล้ำช้างไป อยู่ ๆ ไม่ทันจะฝึกกำลังกาย กำลังใจให้มันดี แล้วก็ไปตั้งท่าไปปล้ำกับช้าง นี่ถ้ามันจะแย่ อันดับแรกเราก็ต้องดูเสียก่อนว่า อะไรที่เราพอจะปะทะกันได้ แต่ก็ไม่ใช่ปะทะกับสิ่งที่ไม่มีกำลัง จะต้องมีกำลังพอฟัดพอเหวี่ยงกัน และเราจึงจะฟันฝ่าอุปสรรคเข้าไปได้ตามลำดับ
    ถ้าจะพูดกันแบบนักรบ เราก็ต้องเลือกตีจุดอ่อน ๆ ที่เราสามารถจะชนะได้ก่อน เก็บเล็กเก็บน้อยไปเรื่อย ๆ ไป เก็บเล็กเก็บน้อยมากเพียงใด ข้าศึกก็หมดกำลังไปมากเพียงนั้น ข้อนี้มีอุปมาฉันใด เหมือนกับการปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ก็เหมือนกัน อยู่ ๆ เราจะใช้กำลังพระอรหันต์มาปล้ำกับเราซึ่งเป็นปุถุชน ก็รู้สึกว่าจะหนักใจมากเกินไป
    แต่ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายใช้กำลังแต่พอสมควร อะไรแค่ไหนทำแค่นั้น กำลังเราแค่ยกได้ ๕ กิโลก เราก็ยก ๕ กิโล ถ้ากำลังมากขึ้น เราพอจะต่อสู้กับน้ำหนัก ๑๐ กิโลได้ เราก็ไปยกน้ำหนัก ๑๐ กิโล ทำอย่างนี้ก็รู้สึกว่าจะพอไปไหว
    สำหรับอริยสัจนี่ก็เหมือนกัน บอกว่า อริยสัจ ๔ ประการ มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ฟังแล้วปวดหัวไปเลย ไม่อยู่แล้วไม่เรียนแล้ว ไม่ศึกษาแล้วอริยสัจ ปวดหัวเกือบตาย ไม่เอาแล้ว ชาตินี้ทั้งชาติไม่ขอเรียนอริยสัจ นี่พูดอย่างนี้อาตมาว่าใคร ก็น่ากลัวจะต้องไม่ว่าไม่หาว่าใคร ไปหาคนว่า มันไม่ถูก ไม่รู้จะว่าใครมันถึงจะแน่ จะมานั่งว่าท่านผู้ฟังว่ามีอารมณ์อย่างนี้ก็ไม่แน่นักเหมือนกันว่าท่านผู้รับฟังอาจจะเห็นว่าอริยสัจไม่ใช่ของหนักก็ได้
    ฉะนั้น บุคคลที่ถูกว่าในเวลานี้ก็อาตมาเอง นี่ความจริงนักธรรมะอย่าเพิ่งประณามกันนะ ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า การเทศน์จงอย่าปรารภตนเป็นสำคัญ ไอ้เรื่องปรารภดีเป็นสำคัญไม่ควรปรารภ ถ้าปรารภชั่วอาตมาว่าควรปรารภ
    เพราะว่าในอันดับต้น อาตมาเองก็หนักใจในอริยสัจเหมือนกัน พอบอกว่าอริยสัจ ปวดหัวเลย ใครนิมนต์เทศน์อริยสัจไม่ยอมเทศน์ แต่ว่าพอมาศึกษาอริยสัจเข้าจริง ๆ ก็รู้สึกว่า อริยสัจนี่เป็นของธรรมดา ๆ ที่เรามีกันอยู่แล้วเป็นปกติ แต่เราไม่ได้คิดเอากำลังใจของเรามาคิดให้มันถูกต้องตามความเป็นจริงเท่านั้น ค่อย ๆ คิดกันไป เวลานี้เราศึกษาเพื่อพระโสดาบัน เราก็ใช้อริยสัจแค่พระโสดาบัน เราจะไปใช้อริยสัจขั้นอรหันต์ โรคเส้นประสาทจะกินตาย
    นี่อริยสัจขั้นพระโสดาบันเป็นยังไง?
    อันดับแรก ท่านบอกว่าทุกข์จงพิจารณาทุกข์ให้เห็น เราก็มานั่งดูว่า การเกิดมานี่อะไรมันเป็นทุกข์ ทุกข์ตรงไหนกันแน่ ตอนที่อยู่ในท้องแม่เรามองไม่เห็นว่าอยู่ในท้องแม่นี่เราเป็นทุกข์หรือเปล่า เราก็ไม่รู้ แต่ว่าในเมื่อไม่รู้ เราก็ยังไม่คิด เอาไปไว้คิดกันตอนจะเป็นพระอรหันต์ คือ พระอริยสัจของพระอรหันต์
    แต่ความจริงตอนนั้นก็ไม่สำคัญ ตอนนั้นถ้าจะปฏิบัติจากพระอนาคามีไปเป็นพระอรหันต์ บอกว่าหันไปเล่นอริยสัจไหม ท่านบอกไม่ต้องล่ะ เรียบร้อยแล้ว นี่ก็สำคัญ สิ่งที่ยากที่สุดก็สมัยที่เราจะฝึกเพื่อความเป็นพระโสดาบันเท่านั้น เพราะเป็นของใหม่ นี่เรามานั่งดูทุกข์ที่เรามองเห็นกันดีกว่า
    เวลานี้เราเป็นผู้ใหญ่ ย้อนหลังไปหาความเป็นเด็ก เรานึกถึงความเป็นเด็กไม่ออก ก็นึกถึงเป็นเด็กคนอื่นก็แล้วกัน เอาเด็กเล็ก ๆ มาคนหนึ่ง และที่เธอยังช่วยตัวของเธอยังไม่ได้ วางเธอลงเวลาเธอถ่ายอุจจาระ อุจจาระก็เลอะตัวเพราะลุกไม่ขึ้น ปัสสาวะก็เลอะตัว
    นี่เราอาจจะนึกไม่ออกว่าเด็กจะมีความรู้สึกยังไง เราก็มานึกถึงตัวเองก็แล้วกันว่า ถ้าเราต้องนอนถ่ายอุจจาระ นอนถ่ายปัสสาวะให้แปดเปื้อนตัวแบบนั้น อาการเหม็น อาการสกปรก มันเป็นปัจจัยของความสุขหรือความทุกข์ ถ้าเราจะตอบเองมันก็ไม่ยาก เราก็ตอบว่ามันเป็นความทุกข์ เพราะเราไม่ชอบ เราก็วิ่งหนี เพราะว่าถ้าเราถูกกับอุจจาระแล้ว ก็แสดงว่า เราไม่สบายกายไม่สบายใจ
    คำว่า "ทุกข์" แปลว่า ไม่สบายกายไม่สบายใจ
    นี่ตัวนี้รู้สึกว่าจะหนักไปสำหรับพระโสดาบัน เอากันง่าย ๆ อย่างนี้ดีกว่า ว่าขณะที่เราทรงกายเป็นผู้ใหญ่อยู่นี่ ความหิวมันเป็นสุขหรือว่าเป็นทุกข์ ถ้าเราไม่มีอาหารบริโภคตามกาลเวลาที่ร่างกายต้องการ มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ร้อนมากเกินไปเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
    การที่เราจะพลัดพรากจากของรักของชอบใจ สามีตาย ภรรยาตาย ลูกรักตาย พ่อตาย แม่ตาย เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ของที่เรารัก สมบัติที่เราหามาได้โดยยาก ถูกยื้อแย่งไปจากคนร้าย เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้นกับเรา เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ นี่น่าจะซ้ำกัน อาการที่เราจะตายเกิดขึ้นมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
    เป็นอันว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ท่านทั้งหลายตอบเองได้ จะมีใครบ้างไหมที่พูดมานี่มันเป็นสุข แต่ว่าท่านตอบว่ามันเป็นสุข อาตมาก็ต้องขอกราบท่าน เพราะว่าท่านมีความสุขใจ ไม่มีความหนักใจในสิ่งที่กล่าวมาแล้ว นั่นคืออารมณ์ของพระอรหันต์
    ถ้าท่านบอกว่าไม่เห็นสะเทือนใจสักนิดหนึ่ง มันเป็นของธรรมดา ฉันไม่เห็นจะหวั่นไหวเลย มันอยากจะหิวก็เชิญหิว มีให้มันกินฉันก็จะกิน เมื่อไม่มีให้มันกินก็แล้วไป มันอยากจะหิวก็เชิญ ร่างกายไม่ใช่ของฉันนี่ มันอยากจะร้อนก็เชิญ มันอยากจะป่วยไข้ไม่สบายก็เชิญ มันอยากจะตายก็เชิญ เพราะร่างกายไม่ใช่ของฉัน ร่างกายเป็นของกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมสร้างขึ้น ฉันไม่สนใจ
    ถ้าความรู้สึกของท่านเป็นจริงอย่างนี้แล้วก็ อาตมาขอกราบ ๓ วาระ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะนั่นท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่ต้องมาฝึกเพื่อความเป็นพระโสดาบัน อารมณ์ของพระอรหันต์ท่านไม่มีทุกข์เนื่องด้วยของขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มันจะทรุดมันจะโทรมยังไง ท่านไม่มีความรู้สึกเพราะสบายใจ มันปวดท่านรู้ว่าปวด มันหนาวท่านรู้ว่าหนาว มันร้อนท่านรู้ว่าร้อน แต่ว่าท่านไม่สนใจในมัน ถือว่าหน้าที่ของมันเป็นเช่นนั้นก็ปล่อยมันไปตามเรื่อง ไม่เห็นมีอะไรที่จะต้องหนักใจ นี่ว่ากันตามปกติ
    ทีนี้เราก็คุยกันต่อไป สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นทุกข์ ความเกิดมันเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักเป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ ความตายจะเข้ามาถึงมันก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะโง่ ทำไมจึงว่าโง่ ก็เพราะอยากเกิดมาเพื่อทุกข์ ถ้ามันไม่โง่ก็จงอย่าเกิด มันเกิดมาแล้วนี่ ที่เกิดมาก็เกิดเพราะความโง่ เข้าใจว่าเกิดเป็นของดีจึงเกิด
    เป็นอันว่า หาความทุกข์ขึ้นมาให้ได้ สิ่งใดก็ตามที่เราปรารถนามันทุกอย่าง สมบัติในโลกนี่ไม่มีอะไรเป็นปัจจัยของความสุข หาดูให้ดีก็แล้วกัน
    อยากจะมีแหวนเพชรสักวงหนึ่ง รักเหลือเกิน ราคาก็แสนจะแพง อยากจะได้แหวนเพชร เงินไม่พอต้องทำงานหนักเพิ่มกำลังงาน เพื่อต้องการแหวนเพชร ๑ วง และไอ้การเพิ่มกำลังงานเข้ามานี่มันเหนื่อยมากขึ้น มันสุขหรือมันทุกข์ ตอบเองกันนะ ตอบกันเอง ต่อนี้ไปได้แหวนเพชรราคาแพงมาแล้ว ดีใจว่าได้แหวนเข้ามา เกรงว่าโจรผู้ร้ายจะเข่นฆ่า จะมาทำร้ายเพื่อเป็นหารยื้อแย่งแหวนที่เรามีอยู่ มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เป็นอันว่าเป็นทุกข์เสียอีกแล้ว ไม่มีอะไรเป็นสุขสบายใจ
    ทีนี้สมมุติว่าเราอยากจะได้สามีหรือภรรยาสักคนหนึ่ง ขณะที่จะได้กันมาเป็นคู่ครอง จิตใจก็เต็มไปด้วยความเร่าร้อน ในขณะที่มีความรัก เกรงว่าความรักมันไม่สมหวัง มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ บางทีเห็นคนรักเดินทางควงคู่ไปกับคนอื่น ความเร่าร้อนใจเกิดขึ้นเพราะความหวงแหน และเป็นอันว่ามันก็ต้องทุกข์ นี่เรานั่งพิจารณากันไปมันก็ไม่จบ
    รวมความว่า ทุกอย่างในโลกที่ปรากฏมีอยู่ มันเป็นภาวะของความทุกข์ทั้งหมด เป็นอารมณ์ของความทุกข์ทั้งหมด เป็นเหตุนำมาของความทุกข์ทั้งหมด โลกทั้งโลกไม่มีอะไรเป็นสุข ค่อย ๆ คิดกันไป นี่ความทุกข์อย่างนี้ เรายังต้องการมันก็ปล่อยไปตามเรื่องไม่ต้องทำอะไร ถ้าเราไม่ต้องการมัน
    เราก็ควานหาจุดที่เหตุให้เกิดทุกข์ว่าอะไรหนอ อะไรมันเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ ต้องทำลายต้นเหตุมันเสียก่อน อยู่ ๆ มาจะทำลายผลอย่างนี้ไม่ถูก ต้องทำลายต้นเหตุ ต้นเหตุของความทุกข์ได้แก่อะไร นั่นก็คือตัณหา พระพุทธเจ้าบอกว่า ไอ้ความอยากนี่เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์
    ลองนั่งนึกดูซิ มีข้าวแล้ว อยากจะกินอาหารอย่างโน้น อยากจะกินอาหารอย่างนี้ ดีไม่ดีอาหารในบ้านมีเยอะแยะไม่พอ อยากจะไปกินอาหารนอกบ้านให้ราคามันแพงเล่นโก้ ๆ เสียน้ำมันค่ายานพาหนะไปแล้ว เสียไปหนึ่ง ไปนั่งในร้านอาหารก็เสียเวลา กิจการทางบ้านอีกหนึ่ง ราคาอาหารในร้านนั้นก็แพงอีกหนึ่ง และไอ้เงินที่จะจ่ายค่าอาหารก็ต้องเพิ่มภาระเข้าไปอีกหนึ่ง มันก็แบกความทุกข์หนัก แต่ว่าคนที่เขาไม่เห็นทุกข์นั่นเขาไม่รู้ คนที่จะรู้ได้ต้องมีอารมณ์ใจเป็นพระอริยเจ้า
    เป็นอันว่า ถ้าเราตัดตัณหาคือความอยาก นี่ตัดขั้นพระโสดาบัน ไม่ใช่ตัดขั้นพระอรหันต์ อยากตรงไหนล่ะ
    สำหรับขั้นพระโสดาบันก็คิดว่าเรามีเท่าไรพอใจเท่านั้น หมายความว่า เรามีมาได้ด้วยสัมมาอาชีวะ เราจะลงทุนเพิ่มสักเท่าไรก็ได้ ถ้าเราไม่คดไม่โกงเขา ไม่ปลอมไม่แปลงเขา พอใจที่หาได้มาโดยสัมมาอาชีวะ ไม่ตะเกียกตะกาย ไม่อยากได้เกินพอดี อย่างนี้เป็นอารมณ์ตัดตัณหาตัวหนึ่ง ตัดแบบเบา ๆ อย่างพระโสดาบัน
    นี่ความอยากอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ อยากจะยื้อแย่งความรักของบุคคลอื่น สำหรับพระโสดาบันก็ตัดอยากคือ ตัณหาตัวนี้เสีย มาตัดถึงว่าเราจะพอใจแต่เฉพาะคู่ตัวผัวเมียเราเท่านั้น ใครกี่คนกี่คนก็มีสภาวะเหมือนกัน ไม่มีอะไรแตกต่างกันไป จะเพิ่มมากเข้ามาเท่าไหร่ มันก็ทุกข์มากเท่านั้น เราพอใจที่เรามีอยู่ นี่เป็นที่พอใจของเราแล้ว ยับยั้งชั่งใจด้วยอาการแห่งสันโดษ ยินดีเฉพาะบุคคลที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ตะเกียกตะกายเกินไป อย่างนี้ก็เป็นอาการตัดตัณหาที่จะพึงหามาได้โดยไม่ชอบธรรม นี่ตัดกันแค่พระโสดาบัน
    นี่ถ้าเราอยากจะโกรธ อยากจะฆ่าเขา เราก็ตัดมันเสียด้วยอำนาจของพรหมวิหาร ๔ นี่เรามาคิดอีกทีว่า เราไปอยากฆ่าเขาทำไม อยากไปทำร้ายเขาทำไม เราไม่ฆ่า เขาก็ตาย เราไม่ทำร้าย เขาก็มีความทุกข์ เพราะเขามีความทุกข์อยู่แล้ว ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้น อารมณ์ใจของเราจะไม่มีความสุข เราไม่ต้องการเราจะปล่อยให้อารมณ์ความสุขของเราทรงตัว เขาทำไม่ดีเป็นเรื่องของเขา เขาพูดไม่ดีเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเราที่จะต้องทำอย่างนั้น
    ตัดอารมณ์อยากจะฆ่าเขา อยากจะทำร้ายเขาด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ แผ่เมตตาความรัก กรุณาความสงสาร ว่าเขาไม่น่าจะทำอย่างนั้น มันเป็นปัจจัยแห่งความทุกข์ เขาสร้างศัตรูแท้ ๆ ไม่น่าจะสร้างศัตรู อย่างนี้อารมณ์จิตก็สบายนี่
    แล้วก็มาตัดความอยากได้แก่ ความโลภ อยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นให้ได้ ด้วยอำนาจการให้ทานเป็นการแลกเปลี่ยนกัน การให้ทานเป็นจริยาที่ทำลายความทุกข์
    ก็เป็นอันว่า ตัวตัวดความทุกข์ได้แก่อะไร ท่านก็เลยไม่รู้ขอย้อนให้ฟังอีกนิดว่า ตัวที่จะเข้ามาตัดเหตุของความทุกข์ได้จริง คือ ตัดตัณหา ก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ท่านบอกว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    ไอ้ตัวมรรคนี่แหละ ได้แก่ ตัวศีล
    มรรคก็ได้แก่ มรรค ๘ ที่พูดมาแล้วในวันก่อน มรรคตัวนั้นรวมเข้าโดยย่อ คือมี ๘ กระจายไปเป็น ๘ ย่นลงเหลือ ๓ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
    เราก็ใช้ ศีล เป็นการตัวคุมอารมณ์ ยังไง ๆ เราไม่ยอมให้ศีลขาด เกรงว่าจะไปอบายภูมิ คุมไว้ก่อน
    สมาธิ ทำอารมณ์ศีลให้ทรงตัว ศีลนี่ถ้าไม่มีสมาธิก็ไปไม่รอด
    ปัญญา เราก็มานั่งพิจารณาว่า ถ้าเราจะมายื้อแย่งทรัพย์สินของบุคคลอื่นเป็นการสร้างเวรสร้างภัย เราไม่เอา กำลังใจที่อยากจะได้ มันเป็นกำลังใจของความชั่ว เราผลักมันออกไปด้วยอำนาจการให้ทาน
    ถ้ามันอยากจะยื้อแย่งความรัก ก็ผลักออกไปเสีย ความเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน นี่ใช้ปัญญานะ ใช้ปัญญาและใช้สมาธิเข้าควบคุม ใช้ศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่รอง กำลังใจต้องเข้มแข็ง สมาธิคือมีกำลังใจเข้มแข็งว่า ฉันจะไม่ยอมละเมิดอย่างนี้แน่นอน
    ตอนนี้หากว่าเราจะมีอาการความโกรธ ความพยาบาท เราก็ใช้ปัญญาพิจารณาว่าโกรธพยาบาทเขาทำไม ไม่เป็นเรื่อง คนโกรธกันมีความเร่าร้อน คนรักกันมีความสุข เรารักกันดีกว่า หาทางเกื้อกูลซึ่งกันและกันให้เกิดความรักดีไหม ใจเราก็สบาย มาอีกตัว หลงว่านั่นก็ของกู นี่ก็ของกู ก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาว่า ถ้าเราตายเสียแล้ว อะไรแบกไปได้บ้าง ถ้าเราไม่แน่ใจว่าเวลาเราตายเราจะแบกไปได้หรือไม่ได้ ก็มานั่งคิดกันใหม่ มานั่งคิดกันว่า
    ในเมื่อขณะก่อนที่เราจะตาย ชาวบ้านเขาตายให้เราดู แล้วมีคนไหนบ้างที่แบกทรัพย์แบกสินไปโลกหน้าได้ มีบ้างไหม ไม่มี สิ่งที่เขารักปานประหนึ่งว่าจะตายลงไปในสมัยที่เขามีชีวิตอยู่ แต่พอเขาตายจริง ๆ เขาก็หาบเอาไปไม่ได้ ไม่สามารถจะแบกไปได้ นี่เป็นปัจจัยอันหนึ่ง ที่เราจะเห็นว่าก็ไม่ควรจะมาหลงไหลทรัพย์สินต่าง ๆ ให้มันมากเกินพอดี
    ถ้าจิตใจของเราทรงได้อย่างนี้ ก็เข้าถึงนิโรธแบบพระโสดาบัน คือ : -
    ๑. ตัดความโลภเสียได้ ด้วยการให้ทาน
    ๒. ตัดความรักเสียได้ ด้วยการรักษาสิทธิซึ่งกันและกัน ยอมรับนับถือสิทธิซึ่งกันและกัน
    ๓. ตัดความโกรธเสียได้ ด้วยการมีพรหมวิหาร ๔ เป็นสำคัญ โดยการใช้ปัญญาพิจารณาทราบตามความเป็นจริงว่า โกรธกันเป็นทุกข์ รักกันเป็นสุข แล้วก็
    ๔. ไม่มัวเมาในทรัพย์สินกันมากเกินไป ด้วยใช้ปัญญาพิจารณาว่า คนตายแล้วแบกอะไรไปไม่ได้ เมื่ออยู่ก็ทำมาหากินเลี้ยงชีพไปตามหน้าที่ ตายแล้วก็แล้วกันไป ของมันจะหายไปด้วยจริยาใด ๆ ก็ตาม ติดตามได้ก็ได้ ไม่ได้ก็แล้วไป หมดเรื่องกัน
    ถ้าทำได้อย่างนี้ เป็นอันว่าทุกท่าน ถ้าทรงใจได้อย่างนี้เป็นอันว่าทุกท่านมีหวังว่า ทรงอารมณ์เป็นพระโสดาบันได้อย่างไม่ยาก เอาละ บรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย คืนนี้เวลาที่จะพูดกันก็หมดเสียแล้ว มากเกินไปท่านก็เบื่อ หรือว่าเฝือเกินพอดี ต่อแต่นี้ไป ขอทุกท่านพยายามทรงกำลังใจของท่านให้อยู่ในอารมณ์ตามที่กล่าวมาแล้วในอริยสัจสี่ เพื่อเป็นการพยุงอารมณ์จิตให้ตั้งอยู่ในความดี เพื่อความเป็นพระโสดาบัน ตามกาลตามเวลาที่ท่านต้องการตามอัธยาศัย สวัสดี *
     
  3. mahaasia

    mahaasia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,130
    ค่าพลัง:
    +4,971
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=right><OBJECT id=banner-new codeBase=http://active.macromedia.com/flash4/cabs/swflash.cab#version=4,0,0,0 height=30 width=180 classid=clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000>
























    <embed name="banner-new" src="banner-new.swf" quality="high"" width="70" height="15" type="application/x-shockwave-flash" pluginspage="http://www.macromedia.com/shockwave/download/index.cgi?P1_Prod_Version=ShockwaveFlash"> </embed></OBJECT></TD></TR></TBODY></TABLE></P><CENTER>พระโสดาบันสุกขวิปัสสโก ตอนที่ .. ๔</CENTER>
    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย คืนวันนี้ก็จะขอพูดอธิบายการที่จะก้าวเข้าสู่ความเป็นพระโสดาบันต่อไป ถ้าหากว่าท่านพระโยคาวจรทั้งหลายที่มีอารมณ์เข้าถึงแล้ว ก็ต้องขอประทางอภัยด้วย ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะว่าเพื่อบุคคลที่ยังเข้าไม่ถึงเป็นสำคัญ
    สำหรับวันนี้ก็จะขอพูดจุดที่สำคัญที่สุด ที่บรรดาพระโยคาวจรทั้งหลาย จะต้องสามารถทรงให้ได้ ถ้าทรงไม่ได้ในจุดนี้ การเป็นพระโสดาบันไม่มีทาง บอกได้เลยว่าไม่มีทาง ที่จะพูดกันวันนี้ก็ได้แก่ บารมี ๑๐ ว่าบารมี ๑๐ อย่าง แต่ก็จงอย่างลืมว่าการพูดวันนี้เป็นการพูดถึงบารมีของพระโสดาบันเท่านั้น ไม่ใช่บารมีของพระอรหันต์
    นี่ก็ต้องว่ากันไปตามขั้น นี่บางทีหลาย ๆ ท่านถามว่า บารมี ๑๐ นี่สามารถจะทรงได้ไหม ก็สั่นศีรษะบอกว่าไม่ไหว ชาตินี้ทั้งชาติไม่สามารถจะทรงบารมี ๑๐ ได้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าไม่ทราบว่า คำว่า "บารมี" มันแปลว่าอะไร ?
    นี่สำหรับคำว่า บารมี นี่แปลว่า กำลังใจ
    ความจริงบารมีท่านแปลว่าเต็ม
    นี่ตอนนี้ก็เคยไปเจ๊งเขามาแล้ว เจ๊งใคร เจ๊งพระอาจารย์ พระอาจารย์ใหญ่ท่านถามว่า คำว่า "เต็ม" หมายความว่าอย่างไร เอาอะไรเข้ามาเต็ม เช่น เต็มอย่างทานบารมี ถ้าต้องการจะให้เต็มโลก จะไปขนของที่ไหนมาให้เต็มโลก หรือว่าจะให้เต็มความปรารถนาของผู้รับ ทำยังไงมันถึงจะเต็ม ให้อย่างนี้เท่านี้แกก็จะเอาเท่าโน้น ให้เท่าโน้นแกจะเอาเท่านั้น ให้อย่างนี้แล้วแกก็อยากได้อย่างโน้น แล้วก็อยากได้อย่างนั้น ความอยากไม่มีที่สิ้นสุด
    ในเมื่อเราให้ ให้เขาเต็มความปรารถนาไม่ได้ ก็ชื่อว่าเราให้ไม่เต็ม เป็นอันว่าทานบารมีอย่างเดียว ก็หาทางคำว่า "เต็ม" ไม่ได้ นี่ถ้าจะแปลว่า เต็ม เฉย ๆ มันก็อย่างงั้น นี่ท่านบอกว่า บารมี นี่ถ้าจะพูดกันให้ตรงตามความเป็นจริงก็ต้อง แปลว่า กำลังใจ คือ กำลังใจของเราทรงอยู่ในระดับนั้นตลอดเวลา
    ในการศึกษาเพื่อความเป็นพระโสดาบัน ทั้งนี้ขอบรรดาพุทธบริษัททุกท่าน อย่าลืมว่า อาตมาพูดนี่พูดตามตำราขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสอน และจงอย่าถือว่าคำสอนทั้งหมดเป็นคำสอนของอาตมา จงถือว่าคำสอนนี้เป็นคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นแต่เพียงอาตมาเรียนมาแล้วก็มาเล่าสู่ให้ท่านฟัง มาบอกให้ท่านฟังแล้วก็จงอย่าทึกทักเอาว่าอาตมาเป็นพระอริยเจ้า เดี๋ยวจะยุ่งกันใหญ่
    จงสร้างความเข้าใจเพียงว่าอาตมาเป็นเพื่อนที่รักของท่านก็แล้วกัน ต่างคนต่างเราก็รักความดีด้วยกัน แต่ว่าความดีที่เราทำนั้นจะดีมากดีน้อย ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเราก็ไม่สามารถจะดัดแปลงแก้ไขได้ เป็นอันว่าจงเข้าใจไว้ว่า อาตมาจะพูดอะไรก็ตาม จงอย่าคิดว่าอาตมาเป็นพระอริยเจ้า ขอจงทำความรู้สึกไว้อย่างเดียวว่า
    นี่เป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสอนไว้ เพื่อยังปฏิปทาของเราให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า...
    แล้วก็ไม่ต้องมาย้อนถามว่า ถ้าไม่เป็นพระอริยเจ้าสอนได้ยังไง ก็บอกแล้วว่าแนะนำกันตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาท่านแนะนำมา ท่านว่ามาอย่างนี้อาตมาก็ว่าไปอย่างนั้น ก็หมดเรื่องกันไป เป็นอันว่าอาตมาเป็นสะพานเดินเท่านั้น
    นี่สำหรับบารมีนี่ ตอนที่บรรดาพระโบราณาจารย์ทั้งหลายท่านสอนกัน เมื่อเห็นว่ากำลังจิตของศิษย์ของท่านใกล้จะเข้าจุดความเป็นพระโสดาบัน ท่านก็เร่งรัดว่า จงสร้างบารมีกันให้ครบถ้วน หมายความว่า ทำบารมีที่มีอยู่นี่ให้ครบถ้วน ให้จิตมันทรงตัวในบารมี ๑๐ ประการ
    บารมี ๑๐ ประการนั้นมีอะไรบ้าง ต้องเปิดตำราไหม
    ข้อที่ ๑ ทานบารมี มีกำลังใจพร้อมอยู่เสมอในการให้ทาน ในการสงเคาระห์ ทานที่เราจะให้นี่ไม่ได้ให้เพียงเพื่อหวังผลตอบแทน เขาจะตอบแทนด้วยทานอันเป็นวัตถุก็ตาม หรือเขาจะตอบแทนด้วยการสรรเสริญเยินยอ ด้วยการยกย่องก็ตาม ไม่มีสำหรับพวกเรา เราต้องการอย่างเดียว ให้เพื่อการสงเคราะห์ให้เขามีความสุข
    และในขณะเดียวกันเราก็มีความรู้สึกว่า การให้ทานไปครั้งหนึ่ง ชื่อว่าเราตัดโลภะความโลภไปจุดหนึ่ง ความโลภมันขาดไปเลยจุดหนึ่ง ให้ ๑๐ ครั้ง ความโลภขาดไป ๑๐ ชิ้น ให้ ๑๐๐ ครั้ง ความโลภขาดไป ๑๐๐ ชิ้น ให้มากความโลภขาดก้อนใหญ่ ให้น้อยความโลภขาดไปก้อนเล็ก นี่หมายความว่าให้ด้วยศรัทธา ให้เพื่อการสงเคราะห์ ไม่ใช่หมายถึงการให้เพื่อแข่งขันกัน อันนี้ไม่ใช่
    เป็นอันว่าจิตใจในการที่เราคิดว่าจะให้ทานการสงเคราะหืมันมีเป็นปกติ ตั้งแต่ลืมตามาจนกว่าจะหลับไปใหม่ ใจมันพร้อมอยู่เสมอเพื่อการสงเคราะห์ด้วยการให้ทาน เมื่อให้ไปแล้ว อารมณ์ใจของเราก็ชื่นบาน คิดว่านี่ความโลภหายไปอีกชิ้นหนึ่งแล้ว จิตเราก็มีความเบา สร้างความชุ่มชื่นให้เกิดขึ้นมาในจิต
    นี่เป็นกำลังใจจุดหนึ่งในบารมี ๑๐ ประการ ให้ทรงไว้ว่าเราพอใจในการให้ทาน ในการให้ทานเพื่อความเป็นพระโสดาบันก็ต้องเลือกเหมือนกัน ถ้าให้ไปแล้วจะเป็นภัยย้อนหลังเข้ามาหาเรา หรือว่าจะเป็นภัยเพื่อทำลายบุคคลอื่น จงอย่าให้เป็นการสนับสนุนโจร นี่ไม่เป็นการสมควร เวลาจะให้ก็ต้งอใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเสียก่อน อย่าให้ส่งเดช จะไม่มีผล
    ข้อที่ ๒ ท่านบอกว่า ศีลบารมี ศีลบารมีหมายความมีกำลังใจรักษาอารมณ์ของศีลให้เต็ม ถ้าพระก็ศีล ๒๒๗ เต็มครบถ้วนบริบูรณ์ สามเณรทรงศีล ๑๐ ให้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์ ฆราวาสทรงศีล ๕ให้ครบถ้วนบริบูรณ์
    คำว่า "ศีลบริบูรณ์" นี่ ไม่ใช่หมายความถึงว่าเราจำศีลได้ เราต้องระมัดระวังว่า ไม่ยอมให้ศีลข้อใดข้อหนึ่งบกพร่องเป็นอันขาด เราจะรักษาศีลด้วยชีวิต เราจะยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด อารมณ์ทรงศีลตั้งแต่ลืมตาถึงหลับตา เราจะไม่ลืมเรื่องศีลของเราเป็นอันขาด จะระมัดระวังให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ
    ข้อที่ ๓ เนกขัมมะ เป็นบารมีที่ ๓
    เนกขัมมะ นี่แปลว่า จิตเราน้อมไปเสมอว่าจะพยายามทำลายอารมณ์ที่พอใจในกามให้พินาศไป นี่สำหรับพระโสดาบันนี่ยังไม่หมด เป็นอันว่าเราจะมีความพอใจในเรื่องกามารมณ์เฉพาะขอบเขตของเราเท่านั้น คือ ในระหว่างสามีและภรรยา เราจะไม่ต้องกาเสวยกามารมณ์นอกเหนือไปจากสามีและภรรยาของเรา อย่างนี้จัดเป็นเนกขัมมะของพระโสดาบัน
    และนอกจากนั้นอารมณ์ใจก็คิดไว้เสมอว่า เราจะพยายามตัดกามฉันทะ ลดความรู้สึกในกามด้วยการทำลายกามฉันทะในนิวรณ์ ลดความรู้สึกด้วยการพิจารณา สักกายทิฏฐิ และ อสุภกรรมฐาน คือ จะไม่เมาในกามฉันทะมากเกินไป ทั้ง ๆ ที่อยู่ระหว่างคู่ผัวตัวเมียก็ตามที แต่ถ้าว่าเรามีก็หาทางลดเท่าที่พึงจะลดได้ แต่ว่าเป็นการไม่ทำลายกำลังใจซึ่งกันและกัน พยายามรักษากำลังใจซึ่งกันและกันไว้ เรียกว่า บัวไม่ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น เราจะพยายามหาทางระงับความโกรธ และความพยาบาทไม่ให้มันฟูเกินไป เพื่อการรักษากำลังใจให้มีความสุข
    บารมีที่ ๔ ที่เรียกว่า ปัญญา ปัญญาตัวนี้หาทางความรอบรู้ พิจารณาดูตามความเป็นจริง ใช้ปัญญาในทรรศนะของพระโสดาบัน อย่าลืมว่าบารมีตอนนี้เป็นบารมีของพระโสดาบัน มานั่งพิจารณาหาความจริงว่า เราเกิดมานี่มันก็เป็นทุกข์ ตั้งแต่วันเกิดถึงวันนี้ไม่มีอะไรเป็นสุข แล้วต่อไปกว่าจะถึงวันตายมันก็ทุกข์ตลอดเวลา ฉะนั้น ความเกิดจึงเป็นปัจจัยทุกข์ ที่เราไม่เคยคิดว่าจะเกิดต่อไป นี่การที่เราจะไม่เกิดต่อไป เราควรจะทำยังไง พยายามหาทาง เหตุแห่งความเกิดใหญ่มีอยู่ ๓ อย่าง คือ : -
    โลภะ ความโลภ
    โทสะ ความโกรธ
    โมหะ ความหลง

    เราจะพยายามหาทางทำลายความโลภให้พินาศไป ทำลายความโกรธให้พินาศไป ทำลายความหลงให้พินาศไป ตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สอนไว้
    ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำว่าเป็นความดี ควรประพฤติปฏิบัติ เราจะทำตามนั้นทุกอย่างโดยไม่ฝ่าฝืนคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำว่าธรรมนั้นเป็นธรรมที่เป็นอกุศล ควรละ เราจะละทุกอย่าง จริยาใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าว ว่าเป็นปัจจัยให้จิตผ่องใส เราทำตามนั้น
    นี่เอาปัญญาของเราใช้ให้เป็นประโยชน์ แล้วก็มีอารมณ์ทรงตัวอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา เป็นอันว่าทำให้เต็มอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าเต็มขั้นระดับพระโสดาบัน
    [​IMG]
    บารมีที่ ๕ วิริยะ บารมีนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า ต้องทำกำลังใจให้ทรงความเพียร ต่อสู้กับอุปสรรคทุกอย่างที่จะเข้ามาขัดขวาง ไม่ว่าอะไรทั้งหมดที่จะเข้ามาทำลายหักล้างเรา เพื่อให้หมดกำลังใจที่จะพึงประพฤติปฏิบัติ สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเราไม่ต้องการ มันจะมีอุปสรรคต้านทานแข็งแรงเพียงใดก็ตามที จะไม่ยอมถอยหลัง จะฟันฝ่าอุปสรรคนั้นให้พินาศไป ถ้าเราไม่สามารถจะทรงกายไว้ได้ คือ จะตายเพราะฟันฝ่าอุปสรรคนั้นเราก็ยอม เพื่อเราจะก้าวไปสู่ความดี กำลังใจอย่างนี้ต้องทรงเป็นปกติ ไม่มีการท้อถอย ไม่ท้อแท้ ไม่ถอยหลัง
    บารมีที่ ๖ขันติ ความอดทน ความอดทนต้งอมีเพราะจิตเรามันชั่วอยุ่มาก ก็มาหาความดี อุปสรรคทางจิตมันก็มีมาก ก็ต้องต่อสู้กัน หมายความว่า อุปสรรคใด ๆ ก็ตาม จะเป็นอุปสรรคทางกายก็ดี อุปสรรคทางใจก็ตาม ที่มันจะเกิดขึ้นด้วยประการใดก็ตาม เราไม่ยอมท้อถอย อดทนต่อสู้จนถึงที่สุด กำลังใจจะไม่ยอมผ่อนลงไปให้ต่ำลง จะพยายามเฟื่องฟูอารมณ์ต่อสู้ให้มากขึ้นตามลำดับ เรียกว่าไม่ท้อถอย
    บารมีที่ ๗สัจจะ ต้องทรงความจริงใจไว้เสมอ ว่าเราจะนึกถึงความตายเป็นปกติ ไม่ประมาทในชีวิต จะคิดไว้เสมอว่าเราจะต้องประคับประคองอารมณ์ใจของเราให้อยู่ในความดี นั่นก็คือ หนึ่ง ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ มีศีล ๕ บริสุทธิ์ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ จะไม่ยอมให้มีความต้องการในการเกิดต่อไป ขึ้นชื่อว่าความเกิดจะไม่มีสำหรับเรา
    บารมีที่ ๘ เรียกว่าอธิษฐานบารมี อธิษฐาน แปลว่า ตั้งใจ ให้ทรงใจไว้ ตั้งอารมณ์ไว้ว่า ถ้าเราจะทำอย่างนี้เราจะทรงความดี เราจะเป็นพระโสดาบันให้ได้ เราจะไม่ท้อแท้ เราจะไม่ถอยหลัง คุณธรรมอันใดที่จะทำให้เราเป็นพระโสดาบัน คือ หนึ่งมรณานุสสติกรรมฐาน ร่างกายจะต้องตายรู้อยู่ทุกวัน แล้วก็รู้คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณของศีล เราจำได้ทรงตัว ใครจะชวนไปที่ไหน เราไม่ไปแล้ว เกาะคุณพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการนี้พอ แล้วมีศีลบริสุทธิ์ จิตใจน้อมยอมรับพระนิพพานเป็นอารมณ์
    บารมีที่ ๙ ท่านกล่าวว่า เมตตา ตัวเมตตานี่ เป็นตัวค้ำจุนที่มีความสำคัญ จิตใจตั้งไว้มั่นว่า เราจะมีเมตตา ความรักในตัวเราก็ดี บุคคลอื่นก็ดี สัตว์อื่นก็ดี จะไม่ยอมให้คลาดจากจิต คำว่าเป็นอมิตร กล่าวคือ ศัตรูจะไม่มีสำหรับเรา เขาประกาศตนเป็นศัตรูเป็นเรื่องของเขา สำหรับเราไม่ยอมเป็นศัตรูกับใคร จะมีแต่จิตใจเต็มไปด้วยความเมตตาปรานีเป็นปกติ
    บารมีที่ ๑๐ ข้อสุดท้ายอุเบกขา ความวางเฉย ตัวนี้หมายความว่า เฉยต่ออุปสรรค ขึ้นชื่อว่าอุปสรรคใด ๆ ก็ตาม ถ้ามันจะพึงเกิดขึ้นกับเรา โดยลักษณะใดก็ตาม อาการอย่างนั้นจะไม่มีสำหรับเรา เราไม่ท้อแท้ เขาจะด่าเราก็เฉย เขาจะว่าเราก็เฉย เขาจะชมเราก็เฉย แต่ว่าเฉยแบบพระโสดาบัน มันจะป่วยไข้ไม่สบายก็เฉย มันจะตายก็เฉย เฉยแบบพระโสดาบัน ไม่ใช่แบบพระอรหันต์ พระโสดาบัยังมีโกรธ แต่ว่าระงับความโกรธเข้าไว้ ที่ว่ามันอยากจะด่าได้ก็ช่างมัน อดใจไว้ไม่ตอบ มันอยากจะเลวคนเดียวก็เชิญเลวไป เราไม่ขอเลวด้วย ไม่ช่วยสนับสนุนความเลวของเขา นี่ถ้ามันอยากจะป่วย ก็ทราบแล้วว่ามันจะป่วย อยากป่วยก็เชิญ รักษาหายก็หาย ตายก็ช่างมัน ตายแล้วเรามีความสุข ถ้ามันจะตายก็เชิญมันตาย ไม่ว่าอะไร ถ้าจะเกิดการพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็รู้สึกว่ามันเป็นของธรรมดา
    นี่รวมความว่า การปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบัน เราก็มาสรุปกันในตอนที่เรียกว่า บารมี ๑๐ ประการ นี่พระโบราณาจารย์ที่ท่านสอนมา ท่านสอนแบบนี้ ท่านบอกว่า ตอนนี้ต้องควบคุมกำลังใจในบารมี ๑๐ ประการให้ครบถ้วน อย่าให้บกพร่อง ให้จิตมันเต็มอยู่เสมอ
    เมื่อจิตมันเต็มอยู่ในขั้นบารมี ๑๐ ประการในขั้นของพระโสดาบันแล้ว อารมณ์ตอนหนึ่งมันจะเกิดขึ้น มันจะเกิดขึ้นของมันเอง คือ อารมณ์มีจิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ จิตมีอารมณ์หน่วงเหนี่ยวในพระนิพพาน รักพระนิพพาน คิดอยู่เสมอ ฝันอยู่เสมอ ใคร่ครวญอยู่เสมอ ว่าเราต้องการพระนิพพาน อารมณ์ที่ต้องการไปพระนิพพานที่พระโบราณาจารย์ท่านบอกว่า เวลานี้จิตเข้าสู่โคตรภูญาณ
    คำว่า "โคตรภูญาณ" ก็หมายความว่า จิตอยู่ในระหว่างโลกีย์กับโลกุตตระ เหมือนกับเรายืนอยู่ที่ลำรางเล็ก ๆ เท้าซ้ายเหยียบทางนี้ เท้าขวาเหยียบทางโน้น ทั้ง ๒ เท้ายังเหยียบอยู่ ไม่มีเท้าใดยก ท่านเรียกว่า โคตรภูญาณ
    หลังจากนั้นไปชั่วขณะไม่มากนัก อารมณ์จิตจะยอมรับนับถือกฎของธรรมดา จะมีอารมณ์เห็นว่าใครจะด่า ใครจะว่า จะนินทา จะสรรเสริญ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา อารมณ์ใจจะไม่หวั่นไหวนัก ก็มีเหมือนกันแต่มีไม่มากนัก เรียกว่า พอมีแต่ว่ามีไม่มาก
    พอตัวธรรมดาเกิดขึ้นมาแล้ว ตอนนี้อารมณ์ใจของเรามีความมั่นคง มีจิตตรงต่อพระนิพพาน มองไปดูทาน ก็เต็มเปี่ยมด้วยการบริจาคทาน พอใจในทาน มองไปดูศีล ศีลของเราก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง ตอนนี้ถ้าเราจะมองไปดูความรู้สึกพอใจในร่างกาย ก็รู้สึกว่ามันรักน้อยลงไป เห็นว่าร่างกายเป็นแต่เพียงเรือนร่างที่อาศัยเท่านั้น
    เราจะไปมองดูคุณพระรัตนตรัย คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ เราไม่ยอมเหยียดหยามเป็นอันขาด จิตใจของเรามีเคารพพระรัตรตรัย มีองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถเป็นสำคัญ อาการอย่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ตามตำราหรือตามที่ท่านแนะนำกันมา ท่านกล่าวว่า เป็นพระโสดาบัน

    นี่ถ้าเรามาพูดกันถึงพระโสดาบัน อาจจะถามว่าทำไมไม่แนะนำในการทรงฌานบ้างล่ะ ก็ต้องตอบว่า สำหรับความรู้ขั้นสุกขวิปัสสโก ท่านไม่ได้ไปนั่งปล้ำกับสมาธิทั้งวันทั้งคืน ท่านปล้ำกับอารมณ์ความคิด หาความเป็นจริง การทรงอารมณ์อยู่ในด้านกุศล คิดหาความตายว่า มันจะมีกับเรา คิดว่าเราก่อนจะตาย เราจะต้องนับถือพระพุทธเจ้า นับถือพระธรรม นับถือพระสงฆ์ เพื่อกันอารมณ์หลงใหลไปสู่อบายภูมิ
    แล้วเราจะต้องมีศีลบริสุทธิ์ เพื่อตัดอบายภูมิให้มันเด็ดขาด นอกจากนั้นก็มีอารมณ์มุ่งมาดปรารถนาในพระนิพพานเป็นอารมณ์เมื่อว่ากันอย่างนี้ก็รู้สึกว่า เห็นว่าจะไม่มีอะไรมาก มันไม่มีอะไรมากซะแล้วนี่ท่านพุทธบริษัท
    รวมความว่า การที่จะเป็นพระโสดาบัน ถ้าว่ากันสั้น ๆ ก็คาสเซ็ทเดียวจบ นี่ว่ากันมาอย่างนี้ว่ายาวที่สุด น้อยคนนักที่เขาจะปฏิบัติตามแบบนี้ที่ว่ามา แต่ถึงอย่างไรก็ดี ก็พยายามว่าไป ว่าไปเพื่อความเข้าใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท แต่ความจริงพิจารณาแล้ว มันจะเกินความพอดีไป ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าคุณแห่งพระโสดาบันไม่จำเป็นต้องเดินทางให้ไกลถึงขนาดนี้ แต่อธิบายมาไกลหลายสิบกิโลแบบนี้ ก็เกรงว่าท่านจะไม่เข้าใจตอนใดตอนหนึ่งเท่านั้น
    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน รวมความว่าอารมณ์แห่งพระโสดาบันในขั้นสุกขวิปัสสโกก็จบลง ต่อนี้ไปขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้เวลาที่ต้องการ สวัสดี*
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
     
  4. mahaasia

    mahaasia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,130
    ค่าพลัง:
    +4,971
    ตอนที่หนึ่งอยู่กระทุ้อภิญญา
     
  5. รากแห่งธรรม

    รากแห่งธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    667
    ค่าพลัง:
    +3,173
    มีคำถามครับ ถ้าจิตเราทรงถึงขั้นโคตรภูญาณแล้วมันจะถอยกลับมาโลกียได้ไหมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...