พุทธศิลป์กับพรพุทธาเวทย์ ตอน พระพุทธรูปศิลาขาว หรือ “หลวงพ่อประทานพร”พระประธานแห่งองค์พระปฐมเจดีย์

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 15 กันยายน 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    พุทธศิลป์กับพรพุทธาเวทย์ ตอน พระพุทธรูปศิลาขาว หรือ “หลวงพ่อประทานพร”พระประธานแห่งองค์พระปฐมเจดีย์
    [​IMG]
    “พระพุทธรูปศิลาขาว” หรือ “หลวงพ่อประทานพร”
    เป็นพระพุทธรูปปางประทานปฐมเทศนา หรือปางประทานเอหิภิกขุ
    (วิตรรก-มุทรา) โดยประดิษฐานเป็น พระประธานในพระอุโบสถ
    วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม
    สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี (ระหว่างปีพุทธศักราช ๑๑๐๐-๑๖๐๐)
    ชาวบ้านมักจะเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อประทานพร”
    พระพุทธรูปศิลาขาว ทำจากศิลาสีขาว (White Stone) ขนาดใหญ่
    มีพุทธลักษณะทั่วไปเป็นพระพุทธรูปศิลปะทวารวดี
    ประทับนั่งบนบัลลังก์ห้อยพระบาททั้งสอง (ปรลัมพปาทาสนะ)
    ลงบนฐานทำเป็นกลีบบัวบานรองรับ
    ซึ่งมีศัพท์เฉพาะเรียกว่า “ภัทรอาสน์” หรือ “ภัทราสนะ”
    พระหัตถ์ซ้ายของพระพุทธรูปวางหงายอยู่เหนือพระเพลาซ้าย
    ส่วนพระหัตถ์ขวายกอยู่ในระดับพระอุระ (หน้าอก) หันฝ่าพระหัตถ์ออก
    ปลายพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) กับพระดัชนี (นิ้วชี้) จีบงอโค้งจรดกันเป็นวงกลมส่วนอีกสามนิ้วของพระหัตถ์ขวากางออก องค์พระพุทธรูปในรูปท่าแบบนี้เรียกว่า “ปางประทานปฐมเทศนา” หรือ “ปางประทานเอหิภิกขุ” (วิตรรก-มุทรา)ขนาดความสูงจากยอดพระเกตุถึงปลายพระบาท ๓.๗๖ เมตร หรือ ๑๔๘ นิ้วพระพุทธรูปศิลาขาว องค์ที่ประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ พระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกันกับ
    “พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร”
    หรือเรียกพระนามสั้นๆ ว่า “พระพุทธนรเชษฐ์ฯ” หรือ “หลวงพ่อขาว”
    ที่ประดิษฐาน ณ ลานชั้นลด (กะเปาะ) ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์
    จากบันทึกประวัติสังเขปพระพุทธรูปศิลาปางประทานปฐมเทศนา
    ที่ พระธรรมวโรดม (โชติ ธมฺมปชฺโชติโก)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม
    ได้จัดทำขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
    เสด็จพระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ กล่าวเอาไว้มีความตอนหนึ่งดังนี้
    “...ท่านพระปลัดทอง พระอธิการวัดกลางบางแก้ว (วัดคงคา)
    ได้มาเห็นวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ซึ่งเวลานั้นว่างจากเจ้าอาวาส
    กุฏิเสนาสนะชำรุดมาก ท่านจึงพร้อมกันกับ “สามเณรบุญ”
    (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระพุทธวิถีนายก
    ตำแหน่งพระราชาคณะชั้นสามัญ เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว) ผู้เป็นศิษย์
    ได้มาช่วยบอกบุญขอแรงพระเณรและชาวบ้าน ต.พระปฐมเจดีย์
    ไปช่วยกันขนอิฐจากวัดทุ่งพระเมรุ หรือวัดพระเมรุ ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง
    (ครั้นมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
    ได้ทรงพระราชทานนามวัดทุ่งพระเมรุ หรือวัดพระเมรุ ใหม่ว่า สวนนันทอุทยาน)เพื่อนำมาใช้ในการบูรณปฏิสังขรณ์บริเวณวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหารปรากฏว่าพบเห็นจอมปลวกขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณซากโบราณสถานที่นั้นโดยมีพระเกตุมาลา (ยอดเศียร) ขององค์พระพุทธรูปโผล่พ้นยอดจอมปลวกขึ้นมาคณะของท่านพระปลัดทองจึงได้ช่วยกันทำลายจอมปลวกนั้นออกก็พบ พระพุทธรูปศิลาขาวขนาดใหญ่ องค์นี้ มีรอยต่อเป็นท่อนๆจึงถอดรอยตามรอยต่อนั้นออก แล้วนำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๔(ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔)ก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    ครองราชสมบัติ ๗ ปี นับถึง พ.ศ. ปัจจุบันได้ ๙๓ ปี...”
    สำหรับประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปศิลาขาวทั้ง ๔ องค์
    ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะและขนาดอย่างเดียวกันนั้น
    นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ
    “พระพุทธรูปศิลาขาว สมัยทวารวดี” ว่าพระพุทธรูปศิลาเนื้อหินขาว ๔ องค์
    แต่เดิมเคยประดิษฐานอยู่ ณ วัดทุ่งพระเมรุ หรือวัดพระเมรุ จ.นครปฐม
    โดยพบสถูปโบราณสมัยทวารวดีองค์ใหญ่ มีร่องรอยว่ามีมุขประจำ ๔ ทิศ
    และในแต่ละมุขทิศเคยมีีพระพุทธรูปขนาดใหญ่นั่งห้อยพระบาทประจำอยู่นั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร
    หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ รัชกาลที่ ๒-๓ แห่งกรุงศรีอยุธยาตามลำดับได้มีการขนย้ายพระพุทธรูปศิลาขาวมาประดิษฐานไว้ใน วัดพระยากง
    ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เกือบครบ ๓ องค์
    คงทิ้งไว้ที่เดิม (วัดทุ่งพระเมรุ จ.นครปฐม) ๑ องค์ กับชิ้นส่วนขององค์พระบางท่อนต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ได้นำองค์พระพุทธรูปศิลาขาวที่คงอยู่ ณ ที่เดิม (วัดทุ่งพระเมรุ จ.นครปฐม) นั้นไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหารกับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ได้นำชิ้นส่วนที่เหลือไปจัดตั้งไว้ ณ พระระเบียงคด ด้านนอกองค์พระปฐมเจดีย์ส่วนที่นำไปไว้ที่ วัดพระยากง เกือบครบ ๓ องค์นั้น ต่อมาประมาณกว่า ๒๐ ปีมานี้ได้มีพุทธบริษัทผู้ศรัทธานำชิ้นส่วนของพระพุทธรูปศิลาขาวที่วัดพระยากงบางส่วนมาปฏิสังขรณ์ประกอบเป็นองค์พระ แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ วัดขุนพรหมต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กันกับวัดพระยากงส่วนที่ยังคงอยู่ที่ วัดพระยากง ก็มีคนใจร้ายทุบทำลายพระเศียรของพระพุทธรูปศิลาขาว
    ๒ พระเศียรให้แตกแยกจากกันเพื่อสะดวกแก่การขนย้าย แล้วนำมาขายไว้ ณ ร้านค้าของเก่า
    ในเวิ้งนครเกษม ๒ ร้าน ซึ่งกรมศิลปากรก็ได้ติดตามคืนมาได้เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ครั้นเมื่อนายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น ไปสำรวจดูที่ วัดพระยากงก็พบชิ้นส่วนอื่นๆ ของพระพุทธรูปศิลาขาวอีก จึงลองประกอบกับพระเศียรของพระพุทธรูปที่ได้มาจากร้านค้าของเก่าในเวิ้งนครเกษม แต่ก็ไม่สามารถประกอบกันได้อย่างสนิทและยังพบว่าพระพุทธรูปศิลาขาวที่ วัดขุนพรหม ซึ่งปฏิสังขรณ์ด้วยการโบกปูนทับให้เรียบเสมอกันก็ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนของพระพุทธรูปคนละองค์กัน จึงได้แยกส่วนต่างๆ ออกมาประกอบใหม่แล้วนำชิ้นส่วนของพระพุทธรูปศิลาขาวที่เก็บรักษาไว้ ณ พระระเบียงคด ด้านนอกองค์พระปฐมเจดีย์วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร มาลองประกอบด้วย ก็พบว่าสามารถประกอบกันได้อย่างสนิทฉะนั้น นายธนิต อยู่โพธิ์ และกรมศิลปากรด้วยความร่วมมือของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงได้นำพระพุทธรูปศิลาขาวองค์ที่อยู่ วัดขุนพรหม กับชิ้นส่วนที่มีอยู่ทั้งหมดที่ วัดพระยากงและชิ้นส่วนขององค์พระที่มีอยู่ ณ พระระเบียงคด ด้านนอกองค์พระปฐมเจดีย์รวมทั้ง พระเศียรองค์พระ ๒ พระเศียร ที่ติดตามคืนมาได้จากร้านค้าของเก่าดังกล่าวมาประกอบกันขึ้นเต็มองค์อย่างสมบูรณ์และปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมโดยลดส่วนสัด ได้ทั้งหมด ๓ องค์แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร หนึ่งองค์ประดิษฐานไว้ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา หนึ่งองค์และได้นำมาประดิษฐานไว้เป็นที่บูชาสักการะของพุทธบริษัท ณ ลานชั้นลด (กะเปาะ)ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร อีกหนึ่งองค์ซึ่งในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ พระพุทธรูปศิลาขาวองค์นี้ได้รับขนานนามโดยพระสนิทสมณคุณ (พระอาจารย์แก้ว) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ในขณะนั้นว่า “พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร”เมื่อรวมกับพระพุทธรูปศิลาขาวองค์ที่รัชกาลที่ ๔ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ด้วยกันก็เป็นอันครบ ๔ องค์ทั้งนี้ พระพุทธรูปศิลาขาวองค์ที่พบอยู่ในจอมปลวกที่วัดทุ่งพระเมรุ หรือวัดพระเมรุแล้วนำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหารนั้นเป็นองค์ที่สมบูรณ์ที่สุดในกระบวนพระพุทธรูปศิลาขาวทั้งหมด ๔ องค์
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงแก้ววิหารหลวงพ่อโต-วัดกุฎีทอง-อยุธยา.553352/
     
  2. modpong

    modpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,609
    ค่าพลัง:
    +17,933
    .......
    ....พี่ก็คิดถึง..น้องjoni..เพราะไม่ได้เจอกัน..ที่พลังจิต..มานาน..
    ..เดี๋ยวนี้พี่เปลี่ยนแนวแล้ว...หยุดเรื่องพระ..สร้างความหลากหลายให้มากขึ้น..
    ..คิดถึงเสมอ..
     

แชร์หน้านี้

Loading...