มองดูตนเอง : พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 10 มีนาคม 2012.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [​IMG]

    “ม อ ง ดู ต น เ อ ง”
    หลักธรรมของพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

    ท่ามกลางบรรยากาศต้นไม้ใหญ่
    ใบสีเขียวหนาทึบทั่วบริเวณภายใน วัดอรัญญาวิเวก (บ้านปง)
    ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    ล้วนแล้วมาจากการจรรโลงให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของ
    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

    คำพูดที่พระอาจารย์เปลี่ยนมักใช้สนทนาธรรม
    กับประชาชนที่เดินทางมาปฏิบัติธรรม ณ วัดแห่งนี้กันเป็นจำนวนมาก
    หลายคนที่มาที่วัดก็เพราะขาดสติคือ

    “ต้องใช้สติปัญญาในการพิจารณา
    หาต้นเหตุแห่งกองทุกข์นั้นยังไม่สมบูรณ์
    จึงพากันมีความทุกข์อยู่
    มีความเดือดร้อนกันอยู่ทั้งบ้านทั้งเมืองในปัจจุบันนี้นั้น
    ก็คือบุคคลนั้นไม่รู้จักความพอดีนั่นเอง”

    นอกจากนี้พระอาจารย์เปลี่ยนยังย้ำเสมอ
    ในการสอนญาติโยมเกี่ยวกับการมองตนเองว่า

    “เมื่อคนเราเกิดมาแล้วอยู่ร่วมกัน ทำการงานร่วมกัน
    พูดจากัน ในเรื่องราวต่างๆ ประชุมหารือกัน
    ความคิดเห็นก็ต่างกัน บางบุคคล บางหมู่คณะก็คิดถูกบ้าง
    บางบุคคลบางหมู่คณะก็คิดผิดบ้าง นี้เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ”

    พระอาจารย์เปลี่ยนได้ให้สัมภาษณ์
    พร้อมความกระจ่างเกี่ยวกับการมองดูตนเองดังนี้

    • พระอาจารย์เน้นย้ำเรื่องการมองดูตนเองเพราะอะไรครับ ?

    ก็เพราะคนเราเกิดขึ้นมานั้น ไม่ใช่พวกเราจะเสียสละ
    ละกิเลสให้หมดไปได้ง่ายๆ
    เพราะกิเลสทั้งหลายนั้นนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดาน
    ของพวกเรามาหลายภพหลายชาติแล้ว
    เขาครอบงำย่ำยีมาหลายภพหลายชาติแล้ว
    แต่พวกเราก็ไม่สามารถที่จะแกะหรือสำรอก
    หรือลดละปล่อยวางกิเลสออกไปได้หมด
    พวกเราจึงพากันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารตามฐานะของตน

    เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้
    การที่ขัดเกลากิเลสของพวกเรามาแต่ชาติอดีตที่ผ่านมานั้น
    ใครจะขัดเกลาได้มากน้อยเท่าไร

    บุคคลใดขัดเกลาได้มาก
    เมื่อมาเกิดในชาตินี้กิเลสก็เบาบางจากจิตใจ
    บุคคลใดขัดเกลากิเลสได้น้อย กิเลสก็ยังมืดมน
    บุคคลใดไม่ได้ขัดเกลากิเลสเลย
    จึงมืดมนไม่รู้จักบุญบาป ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

    จิตของบุคคลเป็นคนใจดำอำมหิตทั้งหลายอยู่ในปัจจุบันนี้
    มันจึงมีหลายระดับหลายขั้นหลายตอน

    • คนเราเกิดมามีหลายระดับชั้นหมายความว่าอย่างไรครับ ?

    ใช่ ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทรงสอนไว้ว่าดอกบัวสี่เหล่า
    เหมือนเปรียบเทียบกับดอกบัวสี่เหล่า
    คนเราเกิดมาอยู่ในโลกนี้ย่อมเป็นอย่างนั้น

    ดังนั้นเมื่อเราคิดดูอย่างนี้แล้ว
    มันก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
    บางคนจิตหยาบมาก บางคนหยาบปานกลาง
    กิเลสของคนเราจึงแตกต่างกัน

    อาตมาก็อยากให้ฝึกหัดสติของพวกเรา
    เพื่อจะให้มีสติมากขึ้น ระลึกได้เร็วขึ้น
    สัมปชัญญะ หรือตัวของปัญญา
    ให้รอบรู้เร็วทันกับเหตุการณ์ที่จะเป็นสิ่งสำคัญที่ดีในอนาคต

    • แล้วทำไมถึงต้องทันเหตุการณ์ครับ ?

    ทำไมต้องทันเหตุการณ์
    มันก็คือ พวกเราคิดดูซิ ถ้าพวกเราขาดสติอยู่
    สติยังอ่อนอยู่นั้น
    แม้พวกเราเห็นวัตถุต่างๆ
    จิตก็ย่อมรั่วไหลไปตามวัตถุนั้นได้ทันที
    เพราะขาดสตินั่นเอง

    เราไม่มีสติพอจะรู้ว่า
    รูป ร่างกาย ของพวกเราก็เหมือนกัน
    รูปร่างกายของพวกเราทำอะไร

    เมื่อทำลงไปมันผิดพลาดลงไปแล้ว
    มันผิดพลาดเพราะอะไร เพราะเราขาดสติ
    เราระลึกไม่ทันก็ต้องทำไปก่อน

    สัมปชัญญะก็รู้ไม่ทันเขาจึงทำผิดพลาดกัน
    ทุกวันนี้เราจะเห็นเขาทุบเขาตีฆ่าฟันแทงกัน
    ไม่เว้นบนหน้าหนังสือพิมพ์นั้น
    เป็นเพราะขาดสติสัมปชัญญะควบคุมไม่ได้
    ควบคุมร่างกายไม่ได้
    ก็เลยทำให้กายนี้ไปทำบาปทำชั่วได้อย่างง่ายดาย

    ตรงนี้แหละเราจะเห็นได้ชัด
    ฉะนั้นพวกเราต้องฝึกหัด ฝึกมองตนเอง

    เราอย่ามองแต่คนอื่น ถ้าเราไม่มีสติปัญญา
    เราก็จะมองแต่คนอื่น มองจับผิดคนอื่นได้หมด
    เขาทำอะไรกัน เราก็มองว่ามันผิดไปหมด

    • การมองดูตนเองควรเริ่มต้นอย่างไร ?

    พระพุทธองค์ยังสั่งสอนเอาไว้ว่าให้ดูตนเอง
    ฝึกฝนตนเอง แก้ไขตนเอง ปรับปรุงตนเอง จับผิดที่ตนเอง
    เรียกว่ามาดูที่ตัวเราก่อน อย่าไปดูคนอื่น
    อย่าไปเพ่งโทษคนอื่นแต่อย่างเดียว
    เพราะที่ผ่านมาคนเราชอบโทษคนอื่น

    ดังนั้นการเพ่งโทษตนเองนี้มันยาก
    ก็เหมือนกับเราดูขนตา ขอบตาเรา
    มีลูกตาแต่เราดูขนตาไม่เห็น ว่า
    ขนตามีกี่เส้น ขนตามันยาวแค่ไหน มันมองไม่เห็นเลย
    ตรงนี้มันดูตนเองไม่เห็นอย่างนี้ เพราะอะไร
    เพราะเราขาดสติปัญญา

    มาถึงตรงนี้อาตมาอยากให้ทุกคนมองดูตนเอง
    ไม่ต้องมองคนอื่น เป็นเรื่องของคนอื่นไปซะก่อน
    ถ้าเรามีความสงสารเราก็เตือนกันได้
    ถ้าหากเรายังตักเตือนตนเองไม่ได้
    เราจะต้องฝึกตนเองก่อน
    ด้วยการตักเตือนตนเองก่อน

    มามองดูตนเองก่อน
    เพื่อจะชำระตนเองก่อน แก้ไขตนเอง
    เราเกิดมาไม่ใช่จะทำถูกหมด
    มันต้องทำผิดบ้างถูกบ้าง

    • แล้วสติสัมปชัญญะสำคัญมากน้อยแค่ไหน ?

    ไม่ว่าคนเราจะยืน เดิน นั่ง นอน ล้วนแล้วต้องมีสติ
    ถ้าเราขาดสติในการยืน
    เช่น ถ้าเรายืนอยู่บนสะพานที่จะข้ามน้ำก็ดี
    หรือยืนอยู่ ณ ที่สูงที่ใดที่หนึ่ง
    หรือเราไปยืนที่ขอบประตูหน้าต่างก็แล้วแต่

    คนที่ขึ้นต้นไม้ก็ดีหรือคนที่ก่อสร้างตึกยืนทำงานอยู่บนไม้นั่งร้าน
    ถ้าขาดสติก็จะทำให้คนเหล่านั้นพลัดตกลงจากสถานที่ยืนได้
    ผลของมันก็จะทำให้เกิดความเสียหาย
    แข้งขาหัก หรืออาจล้มตายไปก็ได้
    นี่เป็นตัวอย่างของคนที่ขาดสติ

    หรือบางคนนอนก็ต้องกำหนดว่าตนเองกำลังนอนอยู่
    ใช้สติสัมปชัญญะประคองตนเองในขณะนอน
    เมื่อมีสติประคองตนเองแล้วมันจะไม่ตกเตียง
    คนนอนอย่างมีสติหัวมันก็ไม่ตกหมอน
    คนนอนอย่างมีสตินั่นแหละมันมีประโยชน์

    พระพุทธองค์ทรงสอนให้พวกเราศึกษา
    พัฒนาตนเอง ปรับปรุงตนเอง
    ให้มีสติสัมปชัญญะในการยืน เดิน นั่ง นอน จึงจะไม่มีอันตราย



    (คัดลอกบางตอนมาจาก “มองดูตนเอง” โดย พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    ใน ธรรมดาถามธรรมะตอบ ธรรมะสู่การรู้ตื่น, พิมพ์ครั้งที่ ๒, หน้า ๑๔-๑๙)
    ::
     
  2. ไอ้นอกโลก

    ไอ้นอกโลก Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    572
    ค่าพลัง:
    +72
    ถ้ารู้สึกว่า ฟุ้งซ่านมาก ก็ช่วยเข้ามาอ่านธรรมะดีๆของพระอาจารย์ด้วยนะ.. โมทนา สาธุ..ธรรมะสอนอะไร?.. สอนให้ดูคนอื่น.. ตำหนิคนอื่น.. ยุ่งกรรมของคนอื่นเหรอ? กรรมของตัวเองยังไม่พอเหรอจ๊ะ?..(ขอโทษนะครับ..ผมก็พูดโดยทั่วๆไป ขอบคุณจขกทสำหรับธรรมะดีๆ ...เว็บพลังจิตมีสิ่งดีๆเยอะ..
    คนเก่งก็เยอะ.. แต่คนเข้าใจธรรมะจริงๆแทบจะไม่มี)
     

แชร์หน้านี้

Loading...