รอยพระบาทแห่งสันติภาพ

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 3 พฤศจิกายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>รอยพระบาทแห่งสันติภาพ</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] รอยพระพุทธบาท คือ รอยเท้าของพระพุทธเจ้า ที่ชาวพุทธสร้างขึ้นก่อนมีพระพุทธรูป เพื่อเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของพระพุทธองค์ และ เป็นสื่อในการระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า สมัยต่อมา

    แม้จะมีพระพุทธรูปแล้วก็ตาม แต่การสร้างรอยพระพุทธบาทก็ยังคงมีอยู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ชาวพุทธน้อมจิตใจให้เข้าใกล้พระพุทธเจ้า ดังปรากฏว่า ในประเทศไทยมีรอยพระพุทธบาทอยู่หลายแห่ง ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจและศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ได้ดำเนินตามรอยพระบาทของพระศาสดา
    นอกจากนี้ ยังมี รอยพระบาท หรือ รอยเท้าอีกคู่หนึ่ง ที่มีความสำคัญไม่น้อยยิ่งกว่าคือ รอยพระบาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรอยพระบาทของพระองค์ ประทับลงบนแผ่นปูนปลาสเตอร์ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่เหล่าทหารหาญทั้งปวง ยังความปลื้มปีติ และกำลังใจแก่เหล่าทหารอย่างหาที่สุดมิได้
    จากวีรกรรมการต่อสู้หลายต่อหลายครั้ง เป็นเวลายาวนานกว่า ๒๐ ปี ณ สมรภูมิบนดอยยาว ดอยผาหม่น จ.เชียงราย เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ และปราบปรามทำลายฐานที่มั่นคงของพรรคคอมมิวนิสต์ (พคท.) ซึ่งมีความพยายามที่จะขยายอิทธิพลมายังประเทศไทย จนในที่สุดในปี ๒๕๒๔ กองพันทหารราบที่ ๔๕๓ ก็สามารถนำกำลังเข้ายึดฐานที่มั่นหลักของฝ่ายตรงข้ามได้สำเร็จ และจัดตั้งฐานปฏิบัติการขึ้นที่ดอยพญาพิภักดิ์ ใน จ.เชียงราย
    ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเยี่ยมเหล่าทหารและราษฎร ณ ฐานปฏิบัติการ โดยมิได้หวั่นเกรงต่อภยันตรายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการสู้รบเพิ่งจะจบไปเพียงไม่นาน ราษฎรจำนวนมากที่อาศัยอยู่บนดอยและบนพื้นราบ ต่างพากันเดินเท้าเป็นระยะทางไกล เพื่อมาเฝ้ารับเสด็จอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
    รอยพระบาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คู่นี้ยังคงประทับเป็นขวัญและกำลังใจแก่เหล่าทหารหาญทั้งในยามศึกและยามสงบ ในเขตพื้นที่ของกรมทหารราบที่ ๑๗ ในองค์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ค่ายพญาเม็งรายมหาราช อ.เมือง จ.เชียงราย ตลอดระยะเวลา ๒๔ ปี จวบจนปัจจุบัน
    หลังจากได้ชัยชนะจากการต่อสู้ในครั้งนั้น ก็ไม่ปรากฏการสู้รบบนดอยแห่งนั้นอีก หลายคนเรียกรอยพระบาทคู่นี้ว่า "รอยพระบาทแห่งสันติภาพ" ซึ่งเป็นเพียงรอยพระบาทเพียงคู่เดียวในสยามประเทศ เพราะหลังจากนั้นเป็นต้นมา ปรากฏว่า พระองค์ไม่เคยพระราชทานรอยพระบาทไว้ให้ ณ ที่ใดเลย
    ภาพขณะที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับรอยพระบาทลงบนแผ่นปูนปลาสเตอร์นั้น มีบุคคลที่ปรากฏอยู่ ๕ คน คือ ๑.พ.ท.วิโรจน์ ทองมิตร อดีตผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๓ กรมการทหารราบที่ ๗ ค่ายพญาเม็งรายมหาราช จ.เชียงราย (ถึงแก่กรรมแล้ว) ๒.ร.ท.ปราโมทย์ รัตโนภาพ นายทหารฝ่ายข่าว (ฝอ.๒) กองพันทหารราบที่ ๓ กรมการทหารราบที่ ๗ ค่ายพญาเม็งรายมหาราช ๓.นายสนธยา แสงอรุณ ๔.นายวรวุฒิ ไชยวรรณ และ ๕.น.ส.พิมพา ชินเมธีพิทักษ์ หรือ "ป้าพิมพา" เจ้าของร้านพิทักษ์อะลูมิเนียม
    เนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในปี ๒๕๔๙ กองทัพบกจึงพิจารณาเห็นควรให้อัญเชิญรอยพระบาทขึ้นประดิษฐาน ณ สถานที่แห่งใหม่ และเพื่อความสง่างามสมพระเกียรติ พร้อมทั้งจัดสร้างครอบแก้วควบคุมอุณหภูมิ และปริมาณอากาศ เพื่อเก็บรักษารอยพระบาทบนวัสดุปูนปลาสเตอร์ให้คงทนถาวรสืบไป จัดสร้างอนุสรณ์สถานแด่วีรชนผู้เสียสละเพื่อรักษาแผ่นดิน เรียกว่า "ปราสาทที่ประดิษฐานรอยพระบาท"
    ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ สถานที่แห่งนี้ได้มีโอกาสรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกครั้งหนึ่ง เมื่อทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างศาลารอยพระบาทแห่งใหม่ หรือ ปราสาทที่ประดิษฐานรอยพระบาท
    ทั้งนี้เมื่อสร้างปราสาทที่ประดิษฐานรอยพระบาทเสร็จแล้ว จะเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสักการะชื่นชมพระบารมี เป็นอนุสรณ์สติให้พสกนิกรได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงแสดงออกถึงความกล้าหาญในการทรงเยี่ยมทหารหาญ ณ พื้นที่เสี่ยงภัย โดยไม่ทรงหวั่นเกรงต่อภยันตรายทั้งปวง ทั้งยังเป็นอนุสรณ์สถานคู่บ้านคู่เมืองแห่งใหม่ของ จ.เชียงรายต่อไป โดยกำหนดการที่จะทูลเกล้าถวายอนุสรณ์สถานดังกล่าว ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ในปี ๒๕๕๐ นี้0 สิริมา สุริยะมงคล 0

    -->[​IMG]
    รอยพระพุทธบาท คือ รอยเท้าของพระพุทธเจ้า ที่ชาวพุทธสร้างขึ้นก่อนมีพระพุทธรูป เพื่อเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของพระพุทธองค์ และ เป็นสื่อในการระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า สมัยต่อมา
    แม้จะมีพระพุทธรูปแล้วก็ตาม แต่การสร้างรอยพระพุทธบาทก็ยังคงมีอยู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ชาวพุทธน้อมจิตใจให้เข้าใกล้พระพุทธเจ้า ดังปรากฏว่า ในประเทศไทยมีรอยพระพุทธบาทอยู่หลายแห่ง ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจและศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ได้ดำเนินตามรอยพระบาทของพระศาสดา
    นอกจากนี้ ยังมี รอยพระบาท หรือ รอยเท้าอีกคู่หนึ่ง ที่มีความสำคัญไม่น้อยยิ่งกว่าคือ รอยพระบาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรอยพระบาทของพระองค์ ประทับลงบนแผ่นปูนปลาสเตอร์ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่เหล่าทหารหาญทั้งปวง ยังความปลื้มปีติ และกำลังใจแก่เหล่าทหารอย่างหาที่สุดมิได้
    จากวีรกรรมการต่อสู้หลายต่อหลายครั้ง เป็นเวลายาวนานกว่า ๒๐ ปี ณ สมรภูมิบนดอยยาว ดอยผาหม่น จ.เชียงราย เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ และปราบปรามทำลายฐานที่มั่นคงของพรรคคอมมิวนิสต์ (พคท.) ซึ่งมีความพยายามที่จะขยายอิทธิพลมายังประเทศไทย จนในที่สุดในปี ๒๕๒๔ กองพันทหารราบที่ ๔๕๓ ก็สามารถนำกำลังเข้ายึดฐานที่มั่นหลักของฝ่ายตรงข้ามได้สำเร็จ และจัดตั้งฐานปฏิบัติการขึ้นที่ดอยพญาพิภักดิ์ ใน จ.เชียงราย
    ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเยี่ยมเหล่าทหารและราษฎร ณ ฐานปฏิบัติการ โดยมิได้หวั่นเกรงต่อภยันตรายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการสู้รบเพิ่งจะจบไปเพียงไม่นาน ราษฎรจำนวนมากที่อาศัยอยู่บนดอยและบนพื้นราบ ต่างพากันเดินเท้าเป็นระยะทางไกล เพื่อมาเฝ้ารับเสด็จอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
    รอยพระบาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คู่นี้ยังคงประทับเป็นขวัญและกำลังใจแก่เหล่าทหารหาญทั้งในยามศึกและยามสงบ ในเขตพื้นที่ของกรมทหารราบที่ ๑๗ ในองค์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ค่ายพญาเม็งรายมหาราช อ.เมือง จ.เชียงราย ตลอดระยะเวลา ๒๔ ปี จวบจนปัจจุบัน
    หลังจากได้ชัยชนะจากการต่อสู้ในครั้งนั้น ก็ไม่ปรากฏการสู้รบบนดอยแห่งนั้นอีก หลายคนเรียกรอยพระบาทคู่นี้ว่า "รอยพระบาทแห่งสันติภาพ" ซึ่งเป็นเพียงรอยพระบาทเพียงคู่เดียวในสยามประเทศ เพราะหลังจากนั้นเป็นต้นมา ปรากฏว่า พระองค์ไม่เคยพระราชทานรอยพระบาทไว้ให้ ณ ที่ใดเลย
    ภาพขณะที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับรอยพระบาทลงบนแผ่นปูนปลาสเตอร์นั้น มีบุคคลที่ปรากฏอยู่ ๕ คน คือ ๑.พ.ท.วิโรจน์ ทองมิตร อดีตผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๓ กรมการทหารราบที่ ๗ ค่ายพญาเม็งรายมหาราช จ.เชียงราย (ถึงแก่กรรมแล้ว) ๒.ร.ท.ปราโมทย์ รัตโนภาพ นายทหารฝ่ายข่าว (ฝอ.๒) กองพันทหารราบที่ ๓ กรมการทหารราบที่ ๗ ค่ายพญาเม็งรายมหาราช ๓.นายสนธยา แสงอรุณ ๔.นายวรวุฒิ ไชยวรรณ และ ๕.น.ส.พิมพา ชินเมธีพิทักษ์ หรือ "ป้าพิมพา" เจ้าของร้านพิทักษ์อะลูมิเนียม
    เนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในปี ๒๕๔๙ กองทัพบกจึงพิจารณาเห็นควรให้อัญเชิญรอยพระบาทขึ้นประดิษฐาน ณ สถานที่แห่งใหม่ และเพื่อความสง่างามสมพระเกียรติ พร้อมทั้งจัดสร้างครอบแก้วควบคุมอุณหภูมิ และปริมาณอากาศ เพื่อเก็บรักษารอยพระบาทบนวัสดุปูนปลาสเตอร์ให้คงทนถาวรสืบไป จัดสร้างอนุสรณ์สถานแด่วีรชนผู้เสียสละเพื่อรักษาแผ่นดิน เรียกว่า "ปราสาทที่ประดิษฐานรอยพระบาท"
    ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ สถานที่แห่งนี้ได้มีโอกาสรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกครั้งหนึ่ง เมื่อทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างศาลารอยพระบาทแห่งใหม่ หรือ ปราสาทที่ประดิษฐานรอยพระบาท ทั้งนี้เมื่อสร้างปราสาทที่ประดิษฐานรอยพระบาทเสร็จแล้ว จะเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสักการะชื่นชมพระบารมี เป็นอนุสรณ์สติให้พสกนิกรได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงแสดงออกถึงความกล้าหาญในการทรงเยี่ยมทหารหาญ ณ พื้นที่เสี่ยงภัย โดยไม่ทรงหวั่นเกรงต่อภยันตรายทั้งปวง ทั้งยังเป็นอนุสรณ์สถานคู่บ้านคู่เมืองแห่งใหม่ของ จ.เชียงรายต่อไป โดยกำหนดการที่จะทูลเกล้าถวายอนุสรณ์สถานดังกล่าว ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ในปี ๒๕๕๐ นี้ 0 สิริมา สุริยะมงคล 0



    ที่มา:คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2006/11/03/j001_61815.php?news_id=61815
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...