วรรคทอง ของ คนใจเพชร :: วาทะเด็ด แด่เพื่อน พุทธภูมิ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย A ferryman-101, 13 ตุลาคม 2005.

  1. จอมมาร

    จอมมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +176
    มัชฌิมาปฏิปทา​


    มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ทำให้บรรลุนิพพานไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป ซึ่งประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ

    นิพพาน หรือ นิโรธ เป็นความสุขที่คนในสังคมอินเดียโบราณต่างมุ่งแสวงหา เพราะถือว่าเป็นความสุข สงบที่เป็นอมตะ ไม่ผันแปร

    ในการแสวงหานั้น มีหลักความเชื่ออยู่ ๒ อย่าง คือความเชื่อที่ว่า การจะบรรลุถึงนิพพานได้นั้น มีได้ด้วยการทรมานตนเองให้ลำบาก กับความเชื่อที่ว่าการจะบรรลุถึงนิพพานนั้น มีได้ด้วยการทำตนเองให้พร้อมพรั่งด้วยสิ่งอำนวยความสุขต่างๆ

    เมื่อเกิดความเชื่อเช่นนั้น จึงทำให้เกิดการปฏิบัติต่าง ๆ ติดตามมา ผู้ที่เชื่อว่าการบรรลุนิพพาน มีได้ด้วยการทรมานตนเองให้ลำบาก ก็ได้ทรมานตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ อดอาหารจนร่างกายซูบผอม นอนบนหนาม เอาขี้เถ้าทาตัว และไม่อาบน้ำ ส่วนผู้ที่เชื่อว่า การบรรลุนิพพาน มีได้ด้วยการทำตนเองให้พร้อมพรั่งด้วยสิ่งอำนวยความสุขต่าง ๆ ก็ได้แสวงหาสะสม และหมกมุ่นอยู่กับการเสพสุข แล้วในที่สุดผู้ที่มีความเชื่อ ๒ อย่างนั้น ก็ไม่ได้บรรลุนิพพานอย่างที่หวังไว้ เพราะฝ่ายแรกตึงเกินไป และฝ่ายหลังหย่อนเกินไป เพราะเริ่มต้นมาจากการปฏิบัติผิดนั่นเอง

    พระพุทธเจ้า ก่อนตรัสรู้ทรงปฏิบัติตามข้อปฏิบัตินี้มาแล้ว ครั้นทรงเห็นว่าไม่ใช่ทาง หรือข้อปฏิบัติให้ได้บรรลุนิพพาน จึงทรงแสวงหาทางสายใหม่ ในที่สุดก็ทรงพบว่าอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
    ๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
    ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
    ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ
    ๔. สัมมากัมมันตะ การทำงานชอบ
    ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
    ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
    ๗. สัมมาสต ระลึกชอบ
    ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ

    เป็นทางสายกลางที่ดีที่สุด แล้วทรงปฏิบัติตามทางสายกลางนั้น ไม่ช้าก็ได้บรรลุนิพพาน

    ทางสายกลางที่ว่านั้น เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจเป้าหมายให้ชัดเจน แล้วคิดหาทางไปถึงเป้าหมายนั้นให้ได้ ซึ่งก็พบว่าต้องเริ่มต้นด้วยการทำจิตให้สงบไม่เอนเอียงไปทางข้างตึงหรือข้างหย่อน โดยอาศัยการฝึกสติเป็นตัวนำ พร้อมทั้งเพียรระวังไม่ให้ความคิดที่ไม่ดีเกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เพียรละให้ได้ในขณะเดียวกัน ก็เพียรให้เกิดความคิดที่ดีและเพียรรักษาความคิดที่ดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ และพบต่อไปว่าจิตสงบแล้วพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งทางกายและวาจาก็สงบด้วย เมื่อสงบครบทั้งกาย วาจา และใจแล้วก็ได้บรรลุถึงเป้าหมายสูงสุด คือ นิพพาน

    ในวิถีชีวิตของปุถุชนนั้น ย่อมมีความเสร็จเป็นเป้าหมายของชีวิต ความสำเร็จได้ ย่อมแตกต่างกันไปตามความปรารถนาของแต่ละคน บางคนปรารถนาความร่ำรวยเป็นความสำเร็จ บางคนปรารถนาความมีชื่อเสียงเป็นความสำเร็จ

    ความร่ำรวยและความมีชื่อเสียงมีองค์ประกอบให้ถึงความสำเร็จได้ ๒ ส่วน ส่วนแรกเกิดจากผู้ปรารถนาเอง และส่วนที่ ๒ เกิดจากสิ่งแวดล้อมสนับสนุน อันอาจได้แก่ บุคคล กาลเทศะ ผู้ปรารถนาต้องทำให้เกิดความพอดีระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อมสนับสนุน

    ความพอดีส่วนตนนั้นก็เริ่มจากทำความเข้าใจความสำเร็จให้ชัดเจนว่า คืออะไร มีขอบเขตแค่ไหน แล้วคิดหาทางไปสู่ความสำเร็จนั้นได้อย่างไร เมื่อพบทางแล้ว ก็ประคับประคองความคิดนั้นให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องในลักษณะไม่เคร่งเครียดจนกร้าว และปล่อยเฉยจนเฉื่อยชา ในขณะเดียวกันก็ประคับประคองการแสดงออกทั้งทางกายและวาจา ให้สอดคล้องกับความคิด จนเข้าได้กับบุคคลกาลเทศะ อย่างไม่เสียหลักธรรม

    ความพอดีดังกล่าวมานี้ เรียกได้ว่า "ทางสายกลาง" ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติส่วนตน ส่วนที่เกี่ยวกับส่วนรวมก็มีทางนำมาประยุกต์ใช้ได้ คืองานของหมู่คณะ จะสำเร็จได้ก็ด้วยอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยึดถือทางสายกลาง ก็ย่อมทำให้งานดำเนินไปได้ด้วยดี แม้จะไม่ราบรื่นและไม่เรียบร้อยในตอนแรก แต่ด้วยอาศัยการทำงานแบบทางสายกลาง ก็จะทำให้เกิดความคิด การกระทำและคำพูดที่พอดีต่อกัน ในกลุ่มผู้ร่วมงาน ซึ่งในที่สุดก็ยอมรับกันได้ ไม่เกิดการแบ่งฝ่ายซึ่งทำให้เกิดอุปสรรค

    ข้อมูลจากเว็ป http://www.watphrabuddhabat.com/ ครับ
     
  2. เถรี

    เถรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +6,511
    "พาลภายนอกย่อมเห็นด้วยตา พาลภายในมองไม่เห็นด้วยตา หากไม่คบหาบัณฑิต นักปราชญ์แล้วที่ไหนจะล่วงรู้ได้ การคบ บัณฑิตนักปราชญ์ คือ หมั่นฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เพื่อให้รู้ทันพาลภายใน ปุถุชนทั้งหลายพากันเชื่อว่า นามรูป เป็นตัวตน จึงตกอยู่ในอำนาจของมัน จึงบันดาลให้เป็นพาล "
    (f) ครูบาศรีวิชัย(f)
     
  3. ปทุมมุต

    ปทุมมุต ผมเป๋นใตร?

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +286
    มีความรักมากมายใจจึงอยู่
    ยังทนสู้หมุนวนไปในโลกสาม
    สัตว์เหล่าใดได้รับทุกข์จะทุกข์ตาม
    จักพาข้าม พ้นโพยภัย ในวันนึง
     

แชร์หน้านี้

Loading...