วันอัฏฐมีบูชา วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธองค์

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 14 พฤษภาคม 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    วันอัฏฐมีบูชา วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธองค์

    [​IMG]

    วันอัฏฐมีบูชา คือวันบูชาพระในวันแรมค่ำเดือนเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือเป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๘วัน คือหลังจากวันวิสาขบูชาแล้ว ๘วัน เป็นที่น่าเสียดายว่า วันอัฏฐมีบูชานี้ในเมืองไทยเรามักลืมเลือนกันไปแล้ว จะมีเพียงบางวัดเท่านั้นที่จัดให้มีการประกอบกุศลพิธีในวันนี้ซึ่งในปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ นี้ ตรงกับ วันเสาร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒

    ประวัติ
    พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพหลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี ๑๕ ค่ำ เดือน ๖เหล่าเจ้ามัลลกษัตริย์ แห่งนครกุสินารา จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ในเมืองกุสินาราตลอด ๗ วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๘ คน สรงเกล้านุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวาย พระเพลิงพวกเจ้ากษัตริย์มัลละ ถามถึงวิธีปฏิบัติพระสรีระกับพระอานนท์เถระแล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลีแล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า ๕๐๐ คู่แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์และของหอมทุกชนิด จากนั้นอัญเชิญ พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๔ คน สระสรงเกล้าและนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุพระอนุรุทธะ พระเถระ แจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะและภิกษุหมู่ใหญ่ ๕๐๐ รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อนไฟก็จะลุกไหม้" ก็เทวดา เหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระและพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อนจึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี

    ครั้งนั้นพระมหากัสสปะเถระและหมู่ภิกษุเดินทางจากเมืองปาวาหมายจะเข้าเฝ้าพระศาสดา ระหว่างทาง ได้พบกับพราหมณ์คนหนึ่ง ถือดอกมณฑารพสวนทางมาพระมหากัสสปะได้เห็นดอกมณฑารพก็ทราบว่า มีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นดอกไม้นี้มีเพียงในทิพย์โลก ไม่มีในเมืองมนุษย์ การที่มีดอกมณฑารพอยู่แสดงว่าจะต้องมีอะไร เกิดขึ้นกับพระศาสดา พระมหากัสสปะถามพราหมณ์นั้นว่าได้ข่าวอะไรเกี่ยวกับพระศาสดาบ้างหรือไม่ พราหมณ์นั้นตอบว่าพระสมณโคดมได้ปรินิพพานไป ล่วงเจ็ดวัน แล้ว "พระศาสดาปรินิพพานแล้ว"
    <O:p</O:p
    คำนี้เสียดแทงใจของพระภิกษุปุถุชนยิ่งนัก พระภิกษุศิษย์ของพระมหากัสสปะบางรูปที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็กลิ้งเกลือกไปบนพื้น บ้างก็คร่ำครวญร่ำไห้ ว่า "พระศาสดาปรินิพพานเสียเร็วนัก" ส่วนพระภิกษุผู้เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้วย่อมเกิดธรรมสังเวชว่า "แม้พระศาสดา ผู้เป็นดวงตาของโลก ยังต้องปรินิพพานสังขารธรรมไม่เที่ยงแท้เสียจริงหนอ"

    แต่ในหมู่ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนั้นเสียงของสุภัททะ วุฑฒบรรพชิตก็ดังขึ้น "ท่านทั้งหลายอย่าไปเสียใจเลยพระสมณโคดมนิพพานไปซะได้ก็ดีแล้ว จะได้ไม่มีคนมาคอยจ้ำจี้จ้ำไชว่าสิ่งนี้สมควรกับเรา สิ่งนี้ไม่สมควรกับเรา" คำพูดของหลวงตาสุภัททะเป็นที่สังเวชต่อ พระมหากัสสปะยิ่งนัก ท่านคิดว่า "พระผู้มีพระภาคยังนิพพานไปได้ไม่นาน ก็มีภิกษุบาปชนกล่าวจาบจ้วงพระศาสดาจาบจ้วงพระธรรมวินัยเช่นนี้ ถ้าเวลาผ่านไป ก็คงมีภิกษุบาปชนเช่นนี้กล่าวจาบจวงพระธรรมวินัยเกิดขึ้นเป็นอันมาก" แต่ท่านก็ยั้งความคิดเช่นนี้ไว้ก่อนเพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะกระทำสิ่งใดๆ นอกจากจะต้องจัดการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสียก่อน

    เมื่อพระมหากัสสปะ และภิกษุ ๕๐๐ รูปเดินทางมาถึงสถานที่ถวายพระเพลิงมกุฏพันธนเจดีย์แล้ว ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่งประนมอัญชลี กระทำประทักษิณ รอบเชิง ตะกอน ๓ รอบ พระมหากัสสปะเปิดผ้าทางพระบาทแล้วถวายบังคมพระบาททั้งสองด้วยเศียรเกล้า โดยท่านกำหนดว่าตรงนี้เป็นพระบาทแล้วเข้าจตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากฌานแล้วอธิษฐานว่า "ขอพระยุคลบาทของพระองค์ที่มีลักษณะเป็นจักรอันประกอบด้วยซี่พันซี่ ขอจงชำแรกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่พร้อมทั้งสำลี ไม้จันทน์ ออกเป็นช่องประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าของข้าพระองค์ด้วยเถิด" เมื่ออธิษฐานเสร็จพระยุคลบาทก็แหวกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ออกมา พระเถระจับยุคลบาทไว้มั่นและน้อมนมัสการเหนือเศียรเกล้าของตน มหาชนต่างเห็นความอัศจรรย์นั้นก็ส่งเสียงแสดงความอัศจรรย์ใจ <O:p</O:p

    เมื่อพระเถระและภิกษุ ๕๐๐ รูป ถวายบังคมแล้วฝ่าพระยุคลบาทก็เข้าประดิษฐานในที่เดิมครั้นแล้วเปลวเพลิงก็ลุกโพลงท่วมพระสรีระของพระศาสดา ด้วยอำนาจของเทวดาในการเผาไหม้นี้ ไม่มีควันหรือเขม่าใดๆฟุ้งขึ้นเลย เมื่อเพลิงใกล้จะดับก็มีท่อน้ำไหลหลั่งลงมาจากอากาศ และมีน้ำพุ่งขึ้นจากกองไม้สาละดับไฟที่ยังเหลืออยู่นั้น เหล่าเจ้ามัลละก็ปะพรมพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยของ หอม ๔ชนิด รอบๆบริเวณ ก็โปรยข้าวตอกเป็นต้น แล้วจัดกองกำลังอารักขา จัดทำสัตติบัญชร( ซี่กรงทำด้วยหอก) เพื่อป้องกันภัย แล้วให้ขึงเพดานผ้าไว้เบื้องบน ห้อยพวง ของหอมพวงมาลัย พวงแก้ว ให้ล้อมม่านและเสื่อลำแพนไว้ทั้งสองข้าง ตั้งแต่มกุฏพันธนเจดีย์จนถึงศาลาด้านล่าง ให้ติดเพดานไว้เบื้องบน ตลอดทางติดธง ๕ สีโดยรอบ ให้ตั้งต้นกล้วยและหม้อน้ำ พร้อมกับตามประทีปมีด้ามไว้ตามถนนทุกสายพวกเจ้ามัลละนำพระธาตุทั้งหลายวางลงในรางทองแล้ว อัญเชิญไว้บนคอช้างนำพระธาตุเข้าพระนครประดิษฐานไว้บนบัลลังก์ที่ทำด้วยรัตนะ ๗ อย่าง กั้นเศวตรฉัตรไว้เบื้องบน แล้วจัดกองกำลังอารักขาอย่างนี้คือ "จัดเหล่าทหารถือหอกล้อมพระธาตุไว้จากนั้นจัดเหล่าช้างเรียงลำดับกระพองต่อกันล้อมไว้ พ้นจากเหล่าช้างก็เป็น เหล่าม้าเรียงลำดับคอต่อกัน จากนั้นเป็นเหล่ารถ เหล่าราบรอบนอกสุดเป็นทหารธนูล้อมอยู่"พวกเจ้ามัลละจะจัดฉลองพระบรมธาตุตลอด ๗ วัน ต้องการความมั่นใจว่า ๗ วันนี้แม้จะมีการละเล่นก็เป็นการละเล่นที่ไม่ประมาท

    หลังจากนั้นเมื่อข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระสรีระกลายเป็นพระบรมสารีริกธาตุแล้ว เหล่ากษัตริย์และผู้ครองนครแคว้นต่าง ๆ ได้ส่งทูตมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุรวม ๗ แคว้น ได้แก่
    (๑.) พระเจ้าอชาตศัตรู เมืองมคธ
    (๒.) กษัตริย์ลิจฉวี เมืองเวสาลี
    (๓.) กษัตริย์ศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์
    (๔.)กษัตริย์ถูลี เมืองอัลกัปปะ
    (๕.) กษัตริย์โกลิยะ เมืองรามคาม
    (๖.) มหาพราหมณ์เมืองเวฏฐทีปกะ และ
    (๗.) กษัตริย์มัลละ เมืองปาวา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผู้ครองนครต่างๆ ทั้ง ๗ แคว้น เมื่อทราบข่าวก็ปรารถนาจะได้พระบรมธาตุไปบูชา จึงส่งสาสน์ส่งฑูตมาขอพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยเหตุผลว่า "พระผู้มีพระภาคของเรา" ...."พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น กษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์เราจึงมีส่วนที่จะได้พระบรมธาตุบ้าง" เหล่ามัลละกษัตริย์ แห่งนครกุสินารา ก็ไม่ยอมยกให้จนเกือบจะเป็นชนวนให้เกิดสงครามระหว่างพวกเจ้ามัลละกับกษัตริย์และพราหมณ์ทั้งแคว้นด้วยเหตุผลว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานในเมืองของเรา"
    <O:p</O:p
    ดังนั้นกษัตริย์ในพระนครต่างๆ เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู จอมกษัตริย์แคว้นมคธและกษัตริย์เหล่าอื่นๆ จึงยกกองทัพมาด้วยหวังว่า จะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุเมื่อยกกองทัพ มาถึงหน้าประตูเมือง ทำท่าจะเกิดศึกสงครามแย่งชิงพระบรมธาตุครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ใหญ่คนหนึ่ง คือ โทณพราหมณ์ หวั่นเกรงว่าจะเกิดสงครามใหญ่จึงขึ้นไปยืน บนป้อมประตูเมือง ประกาศว่า

    "พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทรงสรรเสริญขันติ สรรเสริญสามัคคีธรรม การที่เราจะมาประหัตประหารเพราะแย่งชิงพระบรมธาตุ ของพระองค์ผู้ประเสริฐ ย่อมไม่สมควร ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงยินดีในการที่จะแบ่งกันไปเป็น ๘ ส่วน และนำไปบูชายังบ้านเมืองของท่านทั้งหลายเถิดเพราะ ผู้ศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีมาก"

    ในพระไตรปิฎก ทีฆนิกายมหาวรรคมหาปรินิพพานสูตร ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ขณะที่โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ว่าหมู่คณะเหล่านั้นตอบว่า ข้าแต่พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นขอท่าน นั่นแหละจงแบ่งพระสรีระพระผู้มีพระภาคออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน ให้เรียบร้อย เถิด โทณ พราหมณ์รับคำของ หมู่คณะเหล่านั้นแล้ว แบ่งพระสรีระพระผู้มีพระภาค ออกเป็น ๘ส่วนเท่ากันเรียบร้อย จึงกล่าว กะหมู่คณะเหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ทั้งหลายขอพวกท่าน จงให้ตุมพะนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้า จักกระทำพระสถูปและกระทำการฉลองตุมพะบ้าง ทูตเหล่านั้นได้ให้ตุมพะแก่โทณพราหมณ์

    พวกเจ้าโมริยะเมืองปิปผลิวัน ได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ในเมืองกุสินารา จึงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่าพระผู้มีพระภาค เป็นกษัตริย์ แม้ เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรจะได้ส่วนพระสรีระพระผู้มีพระภาคบ้าง จักได้กระทำพระสถูปและการ ฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคพวกเจ้ามัลละ เมือง กุสินาราตอบว่า ส่วนพระสรีระพระผู้มี พระภาคไม่มี เราได้แบ่งกันเสียแล้ว พวกท่านจงนำพระอังคารไปแต่ที่นี่เถิด พวกทูตนั้น นำ พระอังคารไปจากที่นั้นแล้ว ฯ<O:p</O:p

    ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหิบุตร ได้กระทำ พระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในพระนครราชคฤห์ พวกกษัตริย์ ลิจฉวีเมืองเวสาลี ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองเวสาลี พวกกษัตริย์ ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกบิลพัสดุ์ พวกกษัตริย์ถูลีเมือง อัลกัปปะก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมือง อัลกัปปะ พวกกษัตริย์โกลิยะเมืองรามคาม ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองรามคาม พราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกะ ก็ได้ กระทำพระสถูป และการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองเวฏฐทีปกะ พวก เจ้ามัลละเมืองปาวาก็ได้กระทำพระสถูปและ การฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในเมืองปาวา พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ก็ได้กระทำพระสถูป และการ ฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกุสินารา โทณพราหมณ์ ก็ได้กระทำสถูปและ การฉลอง ตุมพะพวกกษัตริย์โมริยะ เมืองปิปผลิวัน ก็ได้กระทำพระสถูปและการ ฉลองพระอังคารในเมืองปิปผลิวัน ฯ พระสถูปบรรจุพระสรีระมีแปดแห่ง เป็นเก้าแห่งทั้งสถูปบรรจุตุมพะเป็นสิบแห่ง ทั้งพระสถูปบรรจุพระอังคาร ด้วยประการฉะนี้ การแจกพระธาตุและการก่อพระสถูปเช่นนี้ เป็นแบบอย่างมาแล้ว ฯ

    พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุแปดทะนาน เจ็ดทะนาน บูชากันอยู่ในชมพูทวีป ส่วนพระสรีระอีกทะนานหนึ่งของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุรุษที่ ประเสริฐ อันสูงสุด พวกนาคราชบูชากันอยู่ในรามคาม พระเขี้ยวองค์หนึ่งเทวดา ชาวไตรทิพย์บูชาแล้วส่วนอีกองค์หนึ่ง บูชากันอยู่ใน คันธารบุรี อีกองค์หนึ่งบูชากันอยู่ในแคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ อีก องค์หนึ่ง พระยานาคบูชากันอยู่ ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ด้วยพระเดชแห่งพระสรีระพระพุทธเจ้า นั้นแหละ แผ่นดินนี้ ชื่อว่า
    ทรงไว้ซึ่งแก้วประดับแล้วด้วยนักพรตผู้ ประเสริฐที่สุด พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุนี้ ชื่อว่าอันเขาผู้สักการะๆ สักการะดีแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์ใดอันจอมเทพจอมนาคและจอมนระบูชาแล้ว อัน จอมมนุษย์ผู้ประเสริฐสุดบูชาแล้วเหมือนกันขอท่านทั้งหลาย จงประนม มือ ถวายบังคมพระสรีระนั้นๆของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นพระพุทธเจ้า ทั้งหลายหาได้ยากโดยร้อยแห่งกัป ฯ
    พระทนต์ ๔๐องค์ บริบูรณ์ พระเกศา และ พระโลมาทั้งหมด พวกเทวดานำไปองค์ละองค์ๆ โดยนำต่อๆกันไปในจักรวาล ดังนี้แล ฯ

    (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตรข้อที่๑๕๙-๑๖๒)


    การบำเพ็ญกุศลเนื่องในพิธีวันอัฏฐมีบูชา
    การบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันอัฏฐมีบูชานี้มีไม่กี่แห่งที่จัด เพราะในเมืองไทยมักไม่เป็นที่นิยมแม้สมัยก่อนอาจจะมีงานฉลองในพิธีวันอัฏฐมีบูชาบ้าง แต่เดี๋ยวนี้ก็เลิกราไปมากแล้วคงมีไม่กี่วัด เฉพาะในกรุงเทพ ที่ยังจัดพิธีเฉลิมฉลองในวันนี้อยู่ เช่นวัดราชาธิวาสส่วนการบำเพ็ญกุศลในวันนี้ ก็เหมือนกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ มีการให้ทานรักษาศีล เจริญภาวนา และมีการเวียนเทียนในตอนค่ำ บางวัดในบางจังหวัดยังมีการนิยมบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันอัฎฐมีบูชานี้อยู่บ้างบางแห่งถึงกับจัดเป็นงานใหญ่ มีการจำลองเหตุการณ์วันถวายพระเพลิงพุทธสรีระเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลด้วย
    <O:p</O:p
    ธรรมเนียมปฏิบัติในวันอัฏฐมีบูชา
    ในวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระนั้นนับเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธมีความโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่งเพราะการสูญเสียประทีปที่นำทางให้มวลมนุษย์ก้าวล่วงสังสารวัฏ
    <O:p</O:p
    เมื่อวันนี้เวียนมาบรรจบ พุทธศาสนิกชนบางส่วนผู้มีความเคารพในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีปฏิบัติบูชา ณ ปูชนียสถานต่าง ๆซึ่งเป็นอีกวันหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนพึงระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล
    <O:p</O:p
    การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำณ ปูชนียสถานและปฏิบัติอย่างเดียวกับประกอบพิธีวิสาขบูชา เพียงแต่แตกต่างตรงคำบูชาเท่านั้น
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ที่มาข้อมูล<O:p</O:p
    http://www.watkoh.com/data/ssn_phitee/arthamee.php<O:p</O:p
    http://www.duangden.com/ImportantDay/7-Atthamepuja.html
    http://www.phutto.com/forums/showthread.php?p=128
    www.stv.ac.th/jariyatam/parinippan.htm - 5k <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Pang_Parinibhan.jpg
      Pang_Parinibhan.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.8 KB
      เปิดดู:
      3,218
    • images 1.jpg
      images 1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.8 KB
      เปิดดู:
      685
    • images 2.jpg
      images 2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      3.1 KB
      เปิดดู:
      682
    • images 3.jpg
      images 3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.8 KB
      เปิดดู:
      670
    • images 4.jpg
      images 4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.6 KB
      เปิดดู:
      671
  2. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ขอคาราวะบูชาน้อมรำลึกถึงด้วยค่ะ สาธุ

    [​IMG]
     
  3. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ ... ดีแล้วชอบแล้ว


    ขอบคุณครับคุณบุญญสิกขา ที่นำสาระดีดีมาให้ได้อ่านครับ

    .
     
  4. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ก่อนที่พระพุทธองค์ จะปรินิพพาน พระองค์ทรงฝากมรดกล้ำค่า ไว้ให้กับสาวกของพระองค์ นั่นก็คือ ปัจฉิมโอวาท อันมีความดังนี้

    [๑๔๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความ

    เสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด.

    นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต.

    ข้อความจากอรรถกถา

    .................บทว่า อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ความว่า จงยังกิจทั้งปวงให้
    สำเร็จด้วยความไม่ไปปราศจากสติ. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรทม
    ที่เตียงปรินิพพาน ประทานพระโอวาทที่ประทานมา ๔๕ พรรษา รวมลงใน
    บทคือความไม่ประมาทอย่างเดียวเท่านั้น.
     
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ขอบคุณพี่บุญเจ้าค่ะ หนูกำลังต้องการทราบอยู่พอดี เมื่อวันวิสขบูชาที่ผ่านมาพอดีนึกถึงคำว่า อัฏฐมีบูชา หมายถึงอะไร สาธุ สาธุ สาธุ อุโมทนาด้วยเจ้าค่ะ
     
  6. ZmenS

    ZmenS สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +13
    ผู้เสด็จไปด้วยดี
     
  7. ZmenS

    ZmenS สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +13
    ผู้เสด็จไปด้วยดี
     
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ปัจฉิมโอวาท


    "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลาย
    สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม ความสิ้นไปเป็นธรรมดา
    ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา
    ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

    [music]http://palungjit.org/attachments/a.584030/[/music]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. โป๊ยเซียนสาว

    โป๊ยเซียนสาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,543
    ค่าพลัง:
    +2,279
    สาธุ สาธุ สาธุ

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...