ศาสนาเชน (Jainism) กับ ศาสนาพุทธ (Buddhism)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Ajarn Pithak, 25 มกราคม 2010.

  1. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    มหาวีระ
    ศาสดาแห่งศาสนาเชน
    ตอนที่ 1
    [​IMG]
    มหาวีระ

    สังคมอินเดียในสมัยพุทธกาล เต็มไปด้วยลัทธิความเชื่อเกิดขึ้นมาใหม่มากมาย ในครั้งนี้ ผมขอชวนไปทำความรู้จักกับผู้ก่อตั้งระบบความเชื่อคนสำคัญคนหนึ่ง นั่นคือ ศาสดามหาวีระ (Mahavira) ผู้ก่อตั้งศาสนาเชน (Jainism)

    ใครที่พอรู้จักศาสนาเชนอยู่บ้าง อาจจะข้องใจตงิดๆ ว่า ผมเปลี่ยนรสนิยม มีศรัทธาอยากเป็นชีเปลือย นุ่งลมห่มฟ้าหรือเปล่าหว่า จึงมาชวนคุยเรื่องของพวกเดียรถีย์ที่ทางพุทธเรียกชื่อว่า นิครนถ์นาฏบุตร ผู้นี้
    เหตุผลง่ายๆ ครับ คือ
    หนึ่ง - มหาวีระเป็นบุคคลร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ ดังนั้น เรื่องเล่าใดๆ ก็ตามที่ปรากฏอยู่ในประวัติของศาสดาองค์นี้ ย่อมจะสะท้อนสังคมและความคิดของผู้คนในสมัยพุทธกาลได้
    สอง – ไม่ว่าเราจะศรัทธาหรือเห็นคล้อยตามคำสอนมหาวีระหรือไม่ แต่ศาสดาองค์นี้ก็มีจุดประสงค์ที่ดีงาม คือ หวังช่วยผู้คนให้พ้นทุกข์
    สาม – ที่ผ่านมาชาวพุทธรับรู้สภาพสังคมอินเดียในสมัยนั้นจากมุมมองของพุทธศาสนาเป็นหลัก จะเป็นอย่างไรหนอ ถ้าเรามองด้วยสายตาของศาสนาอื่นร่วมสมัยดูบ้าง
    ผมเชื่อว่า คุณผู้อ่านจะได้มุมมองแปลกใหม่ติดสมองกลับไปบ้างแน่ๆ

    พระมหาวีระเกิดในวรรณะกษัตริย์ เป็นโอรสของพระเจ้าสิทธารถ (King Siddartha) ตระกูลชญาตริกะ อยู่ในพวกกษัตริย์ลิจฉวีที่ร่วมปกครองนครเวสาลี (ไพสาลี) นครหลวงของแคว้นวิเทหะในสมัยนั้น พระราชมารดามีพระนามว่า พระนางตฤศลา (Queen Trishala) พระมหาวีระเป็นบุคคลร่วมสมัยกับเจ้าชายสิทธัตถะ ตำราส่วนใหญ่ว่าเกิดก่อน แต่บางตำราก็ว่าเกิดทีหลัง
    ตำนานของเชนกล่าวว่า ก่อนประสูติ พระนางตฤศลามีพระสุบินนิมิตถึงสิ่งมงคล 14 อย่าง ได้แก่ ช้าง โค ราชสีห์ เทวีลักษมี พวงบุปผชาติ ดวงจันทร์วันเพ็ญ ดวงอาทิตย์ ธงผืนใหญ่ โถใส่น้ำทำด้วยเงิน สระบัว ทะเลน้ำนม อากาศยานของเทพ อัญมณี และไฟที่ปราศจากควัน (บางตำราเพิ่มเข้าไปอีก 2 อย่าง คือ ปลาคู่ และบัลลังก์)
    [​IMG]
    พระสุบินนิมิตของพระนางตฤศลา

    ในวันที่พระกุมารน้อยประสูติ ได้มีการจัดงานมหกรรมเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ตามท้องถนนทั่วนครเวสาลี ผู้คนนำเครื่องสังเวยไปเซ่นไหว้ในเทวสถาน กษัตริย์และพราหมณ์ไปสาธยายพระเวทและมนตร์ต่อหน้าปฏิมาของพระพรหมและพระวิษณุ
    ส่วนบรรดาฤาษีจากลุ่มแม่น้ำคงคาและเทือกเขาหิมาลัยที่มาเฝ้าชมพระบารมี เมื่อได้เห็นพระกุมารก็ทำนายว่า พระกุมารจะรุ่งเรืองในอนาคต โดยถ้าอยู่ครองเรือน จะได้เป็นจักรพรรดิราช แต่ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอก และได้มีพิธีขนานนามว่า วรรธมาน (Vardhaman) ชื่อนี้เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า เพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงว่า ขณะที่พระนางตฤศลาทรงมีพระครรภ์อยู่นั้น ราชอาณาจักรได้บังเกิดสิ่งที่เป็นมงคลขึ้นมากมาย มีความมั่งคั่งมากขึ้น เหล่ามวลบุปผชาติก็เบ่งบานสะพรั่ง เป็นอาทิ
    กล่าวกันว่า การถือกำเนิดของพระกุมารน้อยทำให้บรรลังก์ขององค์อินทร์ทั้งหลาย (มีหลายองค์) สั่นสะเทือน ร้อนถึงองค์ศักรินทร์ (Sakarindra) ซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่พระอินทร์ทั้งปวงต้องไปรับเสด็จ โดยทำให้พระมารดาบรรทมหลับ แล้วเชิญพระกุมารไปประกอบพิธียังเขาพระสุเมรุ (เรื่องเกี่ยวกับพระอินทร์นี่ไปกันได้ดีกับคนในวรรณะกษัตริย์ เพราะคนในวรรณะนี้ก็คือ ชาวอารยันซึ่งเดิมทีเป็นพวกเร่ร่อนที่นับถือเทพแห่งฟากฟ้า เช่น พระอินทร์ และพระวรุณ)

    [​IMG]
    เหล่าพระอินทร์นำพระกุมารไปเขาพระสุเมรุ

    เจ้าชายวรรธมานได้รับการศึกษาเยี่ยงกษัตริย์ โดยศึกษาไตรเพทจนจบบริบูรณ์ และศึกษาวิชาทางโลกอื่นๆ เช่น วิชายิงธนู วิชาหมอช้าง วิชาฝึกม้าพยศและม้าป่า และวิชาการทหาร เป็นต้น


    แล้วพระนาม “มหาวีระ” ได้มาเมื่อไร? อย่างไร?
    คำอธิบายมี 2 แนวครับ
    แนวแรกระบุว่า ท่านได้รับพระนามมหาวีระหลังจากที่ได้สละชีวิตทางโลก มุ่งมั่นค้นหาสัจธรรม โดยเผชิญกับความยากลำบากต่างๆ นานาด้วยความสงบ สุขุมเยือกเย็น และกล้าหาญ
    ส่วนอีกแนวหนึ่งอ้างถึงวีรกรรมในวัยเยาว์ กล่าวคือ วันหนึ่ง ขณะที่เจ้าชายทรงเล่นกับพระสหายในพระราชอุทยาน ได้มีช้างพลายเมามันเชือกหนึ่งหลุดจากโรงช้างต้น บุกเข้าไปในพระราชอุทยานและตรงเข้าไปยังพวกกุมารน้อยที่กำลังเล่นกันอยู่ กุมารทั้งหลายเมื่อเห็นดังนั้นก็ตกใจกลัว หนีเอาตัวรอดไปคนละทิศละทาง

    แต่เจ้าชายวรรธมานกลับไม่สะทกสะท้าน และเมื่อได้จังหวะก็ะกระโดดเข้าจับงวงขึ้นสู่หลังช้าง บังคับให้ช้างเดินกลับไปยังโรงช้างต้นตามที่ได้ศึกษามา เมื่อมอบช้างให้กับควาญช้างแล้ว ก็เสด็จกลับพระราชวัง
    เมื่อกิตติศัพท์เรื่องนี้เล่าลือแพร่หลายออกไป ประชาชนทั้งหลายก็ต่างแซ่ซ้องสรรเสริญว่า เจ้าชายทรงมีความกล้าหาญยิ่งนัก และถวายพระนามใหม่ว่า มหาวีระ (วีระ = ความกล้าหาญ) ซึ่งปรากฏว่าพระนามใหม่นี้ฮ็อตฮิตติดปากยิ่งกว่าพระนามเดิมเสียอีก

    [​IMG]
    เจ้าชายวรรธมานมีความกล้าหาญไม่กลัวงูเห่าตั้งแต่วัยเยาว์

    อีกตำนานหนึ่งเล่าเสริมว่า องค์เทพศักรินทร์ทรงอิจฉาความกล้าหาญของเจ้าชายวรรธมานซึ่งมีพระชนมายุได้เพียง 8 พรรษา จึงได้แปลงเป็นงูเห่ามาเลื้อยพันรอบต้นไม้ในบริเวณที่เจ้าชายและพระสหายกำลังเล่นกันอยู่ พระสหายทั้งหลายต่างวิ่งหนีกันกระเจิง มีแต่เจ้าชายน้อยเท่านั้นที่ไม่ประหวั่นพรั่นพรึง ฉวยมือคว้าหมับจับงูร้ายอย่างรวดเร็ว แล้วเหวี่ยงทิ้งไป!

    เรื่องตำนานช้างกับงูนี่น่าคิดทีเดียว เพราะในภาษาไทยมีคำว่า นาคินทร์ นาเคนทร์ นาเคศ และนาเคศวร (ที่มีรากมาจากบาลีและสันสกฤต) ซึ่งแปลว่า พญาช้าง หรือพญางู ก็ได้

    เรื่องนี้ของฝากไปถึงผู้รู้ทางภาษาและวัฒนธรรมอินเดียช่วยไขข้อข้องใจให้ด้วยเถิดว่า ตำนานช้างและงูที่ว่านี้ มีรายละเอียดสนุกๆ ซุกซ่อนอยู่หรือไม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2010
  2. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    มหาวีระ
    ศาสดาแห่งศาสนาเชน
    ตอนที่ 2 (จบ)

    เมื่อพระชนมายุได้ 12 พรรษา เจ้าชายวรรธมานทรงได้รับพิธียัชโญปวีต (พิธีสวมมงคล) คือ แสดงองค์เป็นศาสนิกตามคติของศาสนาพราหมณ์ โดยพระบิดาได้ส่งไปเล่าเรียนกับพรหมณาจารย์อยู่หลายปี แต่ปรากฏว่า แม้เจ้าชายจะสนใจในการศึกษา แต่ก็ไม่แฮ้ปปี้ในทิฐิและลัทธิของพราหมณ์ที่ว่า วรรณะพราหมณ์ประเสริฐที่สุด (แม้วรรณะกษัตริย์ก็ยังต่ำกว่า) แต่บรรดาพราหมณ์กลับมีความประพฤติไม่น่าเลื่อมใสนัก
    เมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา เจ้าชายได้ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิง ยโศธา โดยต่อมามีธิดาชื่อ อโนชา เจ้าชายวรรธมานได้เสวยสุขในฆราวาสวิสัยจนพระชนมายุได้ 28 พรรษา ก็เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของพระองค์ไปตลอดกาล กล่าวคือ พระบิดาและพระมารดาของพระองค์ได้สิ้นพระชมน์ไปในเวลาไล่เลี่ยกัน อันเนื่องมาจากการความเชื่อในช่วงเวลานั้นว่า หากผู้ใดปฏิบัติตบะอย่างเคร่งครัด จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหม ซึ่งทำให้มีผู้ปฏิบัติอย่างแรงกล้าจนถึงกับเสียชีวิตไปจำนวนหนึ่ง และพระบิดาและพระมารดาของพระองค์ก็อยู่ในจำนวนนั้น

    [​IMG]

    ชีวิตในวังของเจ้าชายวรรธมาน (มีวงแสงรอบพระเศียร)
    เจ้าชายวรรธมานทรงเสียพระทัยมาก และได้เข้าเฝ้าพระเชษฐาซึ่งจะได้เป็นกษัตริย์สืบแทนพระบิดา โดยทูลว่าจะขอออกผนวชบำเพ็ญตนเป็นคนพเนจรชั่วคราว เพื่อเป็นการไว้ทุกข์และรำลึกถึงพระบิดาและพระมารดา
    แต่พระเชษฐาไม่ทรงเห็นด้วยและกล่าวทัดทานไว้ จนเวลาล่วงมาอีก 2 ปี เจ้าชายวรรธมานก็ทูลลาอีกครั้งหนึ่ง โดยสละพระชายาและพระธิดา เปลี่ยนผ้าคลุมพระกายเป็นแบบนักพรต ออกจากนครเวสาลีไป และได้ทรงประกาศปฏิญญาว่า “นับแต่นี้เป็นต้นไป 12 ปี เราจะไม่พูดกับใครๆ แม้แต่คำเดียว”

    [​IMG]

    มหาวีระปลงผมและเปลื้องอาภรณ์ออกบวช

    เมื่อออกผนวชแล้ว มหาวีระก็ทรงปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด โดยมีจุดเด่นคือ ทมะ ขันติ และสัจจะ ที่ทำให้พระองค์มีชื่อเสียงโด่งดัง และสามารถเผยแผ่คำสอนออกไปได้อย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา
    ศาสดามหาวีระบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยวิธีนิ่ง พอครบ 12 ปี (บางตำนานว่า 12 ปีครึ่ง) ก็บรรลุธรรมขั้นสูงสุดเรียกว่า เกวัล (keval) ตำราเชนระบุว่าขณะนั้นมหาวีระอยู่ในท่านั่งยองๆ คล้ายท่ารีดนมวัว การบรรลุเกวัลตามคติของศาสนาเชนเป็นการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง เป็นพระอรหันต์ เป็นสัพพัญญู เรียกว่า พระชินะ คือ ผู้ชนะ (กิเลสในใจทั้งปวง) โดยสิ้นเชิง

    [​IMG]

    มหาวีระขณะบรรลุธรรมขั้นสูงสุด เรียกว่า เกวัล

    เล่ามาถึงตรงนี้แล้ว ชาวพุทธและคุณผู้อ่านที่นับถือศาสนาอื่น แต่พอรู้พุทธประวัติ อาจจะรำพึงในใจว่า เอ๊ะ! ทำไมประวัติของเจ้าชายวรรธมานจึงฟังเผินๆ แล้วคล้ายกับประวัติของเจ้าชายสิทธัตถะนัก ตั้งแต่เป็นเจ้าชาย เบื่อหน่ายชีวิตทางโลกจึงออกบวช และบรรลุธรรม (นี่ยังไม่นับศัพท์แสงต่างๆ ที่มีส่วนคล้าย เช่น อรหันต์ และสัพพัญญู เป็นต้น) แถมอยู่ในช่วงสมัยเดียวกันอีก

    นี่เองที่ทำให้ปราชญ์ฝรั่งยุคแรกๆ สงสัยว่าศาสดาทั้งสององค์นี้อาจจะเป็นคนเดียวกัน แต่เมื่อเจาะลึกลงไป ก็ถึงบางอ้ออย่างมั่นใจว่าเป็นคนละองค์ เพราะวิถีชีวิต พฤติกรรม และคำสอนอื่นๆ ที่เหลือ มีจุดเน้นต่างกันอย่างชัดเจน เพราะแม้ทั้งเชนและพุทธต่างก็เป็นอเทวนิยม แต่เชนเน้นอดีตกรรม ส่วนพุทธให้ความสำคัญกับปัจจุบันกรรม เชนสอนว่ามีอัตตา ส่วนพุทธสอนเรื่องอนัตตา เป็นอาทิ

    หากมีข้อสงสัยว่า ทำไมศาสดามหาวีระจึงนุ่งลมห่มฟ้า เรื่องนี้มีตำนานว่า ภรรยาของพราหมณ์ยากจนคนหนึ่งบอกให้ไปขอสิ่งของจากมหาวีระ ท่านจึงมอบผ้าห่มกายของท่านให้พราหมณ์ไปครึ่งหนึ่ง ครั้นเมื่อภรรยาของพราหมร์นำผ้าดังกล่าวไปให้ช่างทอผ้าดู ช่างทอผ้าก็ว่า หากได้ครึ่งที่เหลือมา เขาก็จะเย็บผ้าเข้าด้วยกันเป็นผืนเดียวซึ่งขายได้หลายเหรียญทอง

    [​IMG]

    มหาวีระมอบผ้าห่มกายแก่พราหมณ์

    พราหมณ์คนนั้นจึงได้กลับไปหามหาวีระในป่าอีกครั้ง แต่ก็ไม่กล้าเอ่ยปากขอ เดินไปได้ระยะหนึ่งผ้าพาดไหล่ของมหาวีระเกิดเกี่ยวติดพงหนามหลุดออกโดยอุบัติเหตุ พราหมณ์จึงฉวยโอกาสเก็บผ้าและรีบจากไป ส่วนมหาวีระนั้นก็ไม่ว่ากระไร เพราะตั้งใจว่าจะไม่กล่าวอะไรถึง 12 ปี

    นับแต่นั้นมา มหาวีระจึงไม่มีอาภรณ์ใดๆ ติดกายมานับแต่นั้น (น่ารู้ไว้ว่า ศาสนาเชนมี 2 นิกายหลัก คือ นิกายทิคัมพร ซึ่งนักบวชยึดถือการนุ่งลมห่มฟ้าแบบเคร่งครัด และนิกายเศวตามพร ซึ่งนักบวชนุ่งผ้าขาว)
    กลับไปช่วงเวลาหลังจากที่มหาวีระบรรลุเกวัลใหม่ๆ ท่านก็ได้ออกแสดงปฐมเทศนาใต้ต้นอโศก โดยตำนานกล่าวว่า องค์อินทร์และเหล่าเทพยดาทั้งปวงได้ลงมาจัดสร้างสถานที่แสดงธรรมให้

    [​IMG]
    ปฐมเทศนา

    ศาสดามหาวีระเสด็จท่องเที่ยวสั่งสอนศาสนาไปตามดินแดนต่างๆ เช่น แคว้นมคธ กาสี โกศล วัชชี และมัลละ และเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 72 พรรษา รวมเวลาสั่งสอนธรรมราว 30 ปีเศษ ในปีสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ พระองค์ได้ทรงประทับอยู่ที่ปาวา นครหลวงของแคว้นมัลละ และแสดงปัจฉิมโอวาท ณ เมืองนี้

    [​IMG]

    ปัจฉิมเทศนา

    ในวันที่ศาสดามหาวีระปรินิพพาน คัมภีร์ของเชนระบุว่ามีนักบวชราว 14,000 รูป มาร่วมงาน และประกาศเกียรติคุณของพระองค์ท่านไว้ว่า “พระองค์ทรงวางเฉยเสมอกันต่อกลิ่นแห่งโลกโสโครกและกลิ่นแห่งดอกไม้จันทน์ ทรงวางเฉยเสมอกันต่อฟางข้าวและเพชรพลอย ต่อสิ่งโสโครกและทองคำ ต่อความสุขและความทุกข์ ไม่ติดทั้งโลกนี้และโลกหน้า ไม่ต้องการชีวิตหรือความตาย”​
    [​IMG]






    <HR>ขุมทรัพย์ทางปัญญา
    ขอแนะนำหนังสือ ปรัชญาอินเดีย ประวัติและลัทธิ เขียนโดย สุนทร ณ รังสี สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    เรื่อง Mahavira ที่ Mahavira - Wikipedia, the free encyclopedia


    ศาสนาเชน เรียกอีกอย่างว่า ไชนะ หรือ ชินะ แปลว่า ผู้ชนะ ศาสนานี้เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล ซึ่งมีหลักฐานว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ขณะออกผนวชแสวงหาสำนักลัทธิต่าง ๆ ก่อนตรัสรู้ก็ได้เคยเสด็จไปศึกษาในสำนักเชนด้วย
    [​IMG]
    รูปสลักศาสดามหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน ในประเทศอินเดีย

    ศาสนาเชนไม่นับถือพระเจ้าคล้ายกับศาสนาพุทธ มีศาสดาคือพระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนานี้คือการบำเพ็ญตนให้หลุดพ้นจากกิเลส โดยนักบวชในศาสนานี้ใช้วิธีการตัดกิเลสโดยไม่นุ่งผ้าเรียกว่า นิครนถ์ แปลว่า ไม่มีกิเลสผูกรัด
    เนื้อหา:
    1. ข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือน
    2. ข้อปฏิบัติของบรรพชิต
    3. นิกายของศาสนาเชน
    4. คัมภีร์ทางศาสนา

    1. ข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือน

    1. เว้นจากการฆ่าสัตว์
    2. เว้นจากการพูดเท็จ
    3. เว้นจากการลักฉ่อ
    4. สันโดษในลูกเมียตน
    5. มีความปรารถนาพอสมควร
    6. เว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นอาหาร
    7. อยู่ในเขตของตนตามกำหนด
    8. พอดีในการบริโภค
    9. เป็นคนตรง
    10. บำเพ็ญพรตประพฤติวัตรในคราวเทศกาล
    11. รักษาอุโบสถ
    12. บริบูรณ์ด้วยปฏิสันถารต่ออาคันตุกะ
    2. ข้อปฏิบัติของบรรพชิต

    1. ห้ามประกอบเมถุนธรรม
    2. ห้ามเรียกสิ่งต่างๆว่าเป็นของตนเอง
    3. กินอาหารเที่ยงแล้วได้ แต่ห้ามกินในราตรี
    3. นิกายของศาสนาเชน






    เมื่อพระมหาวีระสิ้นไปแล้วศาสนิกก็แตกแยกกันปฏิบัติหลักธรรม จากหลักธรรมที่เรียบง่ายก็กลาย เป็นยุ่งเหยิง พ.ศ. 200 ก็แตกเป็น 2 นิกาย คือ
    1. นิกายทิคัมพร นุ่งลมห่มฟ้า
    2. นิกายเศวตัมพร นุ่งขาวห่มขาว
    4. คัมภีร์ทางศาสนา

    คือ คัมภีร์อาคมะ หรือ อาคม

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://gotoknow.org/blog/civilization/198538
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2010
  3. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    รูปเคารพของศาสนาเชนคล้ายกับพระพุทธรูป

    แต่ความแตกต่างอยู่ที่ของเชนจะเป็นรูปเปลือย ซึ่งแสดงถึง"ความสละสิ้นจากการยึดติดในกิเลส"

    [​IMG]

    นักบวชทิคัมพร นิกายนุ่งลมห่มฟ้า ของศาสนาเชน

    [​IMG]



    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #8cbde7; COLOR: #8cbde7" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]


    อินเดีย เป็นบ่อเกิดของหลากหลายลัทธิ และศาสนา
    ก่อนพระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้ไม่นาน มีศาสนาหนึ่งเกิดขึ้นก่อนแล้ว
    นั่นคือ ศาสนาเชน ของท่านศาสดามหาวีระ หรือ นิครนถ์นาฏบุตร
    ณ ปัจจุบัน ยังเห็นนักบวชเปลือยเดินธุดงค์ตามถนนหนทาง
    มีศาสนิกผู้นับถือประมาณสองล้านกว่าคนทั่วอินเดีย
    โดยมากเป็นพ่อค้าวานิชย์ฐานะค่อนข้างดีมีอันจะกิน
    ศาสนานี้เก็บตัวเงียบ ๆ อยู่แต่ในอินเดียเท่านั้น
    ไม่ปรากฏว่าเผยแผ่ไปสู่ต่างประเทศเลย

    [​IMG]



    นักบวชฑิฆัมพร (เปลือยกาย)

    [​IMG]

    ศาสนาเชน ถือกำเนิดก่อนพระพุทธศาสนา มีท่านศาสดามหาวีระ หรือ นิครนถ์นาฏบุตร เป็นศาสดา
    (เดิมเป็นเจ้าชายในราชตระกูลของเจ้าลิจฉวี เมืองไวสาลี)
    ในช่วงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และเผยแผ่ธรรม ท่านศาสดามหาวีระก็เผยแผ่ลัทธินิครนถ์ของท่านไปด้วย
    โดยมีเหตุการณ์ที่ขัดแย้งและเป็นปฏิปักษ์ต่อกันหลาย ๆ อย่าง
    พระพุทธองค์ทรงตรัสเรียกลัทธินี้ว่า เดียรถีย์
    ศาสดามหาวีระเข้าสู่นิรวาณก่อนพระพุทธเจ้า ณ ปาวาบุรี ไม่ห่างจากนครราชคฤห์มากนัก

    นักบวชหญิงเศวตัมพร (ชุดขาว)

    [​IMG]

    เมื่อมีผู้เลื่อมใสมากขึ้น ทั้งชายหญิงก็มีผู้ออกบวชติดตาม นักบวชชายจะปฏิบัติตามท่านศาสดามหาวีระทุกประการ ส่วนนักบวชที่เป็นสตรีที่เข้าสู่ลัทธิก็ให้นุ่งชุดขาว มีผ้าปิดปาก ว่ากันว่าเพื่อมิให้ทำลายเชื้อโรค หรือไม่ทำให้เชื้อโรคตาย

    ข้อสังเกตุ.- ระหว่างพุทธศาสนากับศาสนาเชนมีความแตกต่างและเหมือนกันหลาย ๆ อย่าง
    ส่วนที่เหมือนกันมาก ๆ คือ
    ๑. เป็นอเทวนิยม ไม่ถืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้าว่าสามารถบันดาลทุกข์สุขให้ได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับกรรม คือ การกระทำ ๒. ไม่เบียดเบียนตนและสัตว์อื่นให้ลำบาก
    ส่วนที่แตกต่างกันมีมากมาย และต้องสังเกตุให้ดี
    ถ้าเห็นหินแกะสลักหรือรูปเหมือน โดยเฉพาะปางที่ประทับนั่งจะเหมือนกันมาก
    ถ้าเป็นพระพุทธรูปจะมีพุทธลักษณะที่สวยงาม ส่วนถ้าเป็นสาสดามหาวีระที่กลางหน้าอกจะมีรูปดอกจันทน์ ชาวพุทธเคยไหว้ผิดไหว้ถูกมานักต่อนักแล้ว
    ส่วนปางประทับยืนนี้แตกต่างชัดเจน เพราะพระพุทธเจ้าทรงจีวร ส่วนศาสดามหาวีระยืนเปลือยกายเห็นทุกอย่างได้ชัดเจน

    [​IMG]

    รองเท้าพิเศษสำหรับนักบวชครับ ถ้าไม่ชำนาญจริง ๆ รองเท้าก็จะวิ่งออกหน้าคนใส่
    เวลาที่นักบวชเดินทางมักจะใส่รองเท้าแบบนี้ เวลาที่ไม่ได้เดินทางก็จะเอารองเท้ามาวางไว้ตรงทางเข้ามันดีร
    (ศาสนสถานหรือเทวาลัย)
    ให้คนรู้ว่าอยู่ ผู้คนมักเอาดอกไม้มาบูชาด้วยครับ ก็แปลกดี

    [​IMG]

    นี่ก็รองเท้าไม้อีกแบบครับ แปลกดีครับ

    <!-- / message -->

    รูปเคารพในศาสนาเชน

    [​IMG]


    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height="100%" vAlign=top width="85%">รูปเคารพในศาสนาเชน คล้ายกับของศาสนาพุทธ

    ความแตกต่างอยู่ที่ของศาสนาเชนไม่สวมเสื้อผ้า จีวร แบบพระพุทธรูป

    [​IMG]



    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #d9d9d9 1px solid; BORDER-LEFT: #d9d9d9 1px solid; BORDER-TOP: #d9d9d9 1px solid; BORDER-RIGHT: #d9d9d9 1px solid" border=0 cellSpacing=10 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff align=center><TBODY><TR><TD class=content_wb vAlign=top>พระประธานในวิหารของศาสนาเชน ย้ำครับไม่ใช่พระพุทธรูป แต่ก็เรียกว่าพระเหมือนกัน
    [​IMG]




    </TD></TR><TR><TD vAlign=top><HR color=#f0f0f0 SIZE=1 noshad></TD></TR></TBODY></TABLE>
    อีกรูปครับ ทั้งหมดอยู่ใน Khajuraho ใน INDIA
    [​IMG]


    รูปภาพบางส่วนนำมาจาก www.baanmaha.com


    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2010
  4. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    media/budda52/51 <<<=== สื่อมัลติมีเดียเพื่อสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม
    สัญลักษณ์ของศาสนาเชน


    [​IMG]
    ภาพ “มหาวีระและครอบครัวเมื่อครั้งยังคงครองเรือนในวรรณะกษัตริย์” จากเว็บไซต์ http://www.jainworld.com/
    สัญลักษณ์ของศาสนาเชนเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงหลักการสำคัญทางศาสนา ที่เพียงแต่ดูที่สัญลักษณ์ก็สามารถทำให้สามารถระลึกถึงหลักการและพื้นฐานความเชื่อที่สำคัญทางศาสนาได้ สัญลักษณ์ของศาสนาเชนประกอบด้วยสัญลักษณ์หลายๆ อันประกอบกันขึ้น โดยมีรูปแบบที่สำคัญหลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ คือ
    1. รูปแบบที่ 1
    [​IMG]
    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/User:Sarvagnya/Jainism
    รูปแบบที่เป็นรูปฝ่ามือนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดในกลุ่มศาสนิกชนชาวเชน
    2. รูปแบบที่ 2
    [​IMG]

    ภาพจาก “google”
    รูปแบบที่ 2 เป็นรูปที่พยายามแสดงให้ครอบคลุมถึงหลักการของศาสนาเชน โดยการนำสัญลักษณ์ต่างๆ มารวมไว้ในรูปเดียวกัน เป็นสัญลักษณ์ที่ศาสนิกชนเพิ่งสร้างขึ้นใหม่ในโอกาสครบรอบ 2,500 ปี การนิพพานของศาสดามหาวีระ (1972 A.D.)
    3. รูปแบบที่ 3

    [​IMG]
    ภาพสัญลักษณ์ “โอมในศาสนาเชน” จากเว็บไซต์ http://www.nirmalgyan.org/symbols/index.htm
    รูปแบบที่ 3 (ยังไม่สามารถหาภาพประกอบได้ครับ) เป็นรูปที่ปรับปรุงจากรูปที่ 2 โดยเปลี่ยนจากการใช้รูปสวัสดิกะไปเป็นตัวอักษรที่อ่านออกเสียงว่า “โอม” คำที่เป็นที่นิยมใช้ในทางศาสนาของอินเดีย แต่ในที่นี้มีความหมายเฉพาะสำหรับศาสนาเชนที่แตกต่างออกไป ออกแบบสร้างโดยศาสนิกชนชาวเชนในประเทศแคนาดา​
    สัญลักษณ์ย่อยต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในสัญลักษณ์ของศาสนาเชนทั้ง 3 รูปแบบ มีความหมายต่างๆ ดังนี้
    1. ฝ่ามือ (Palm of the hand / ปรากฏอยู่ในทั้ง 3 รูปแบบ) หมายถึง การปราศจากซึ่งความกลัวของพันธะแห่งกรรมทั้งปวง การดำเนินชีวิตอย่างมีศรัทธาและเปลี่ยนแปลงการกระทำของตนเองไปสู่หนทางที่ถูกต้องของศาสนา
    2. วงล้อแห่งธรรม หรือ จักระ (Chakra / ปรากฏอยู่ในฝ่ามือ ทั้งในรูปแบบที่ 1 และ 2) หมายถึง ธรรมที่เผยแผ่โดยติรธังกร ซี่ล้อทั้ง 24 ซี่ หมายถึงติรธังกรทั้ง 24 ท่าน ภายในมีตัวหนังสือเขียนว่า “อหิมสา” หรือ อหิงสา (Ahimsa) ที่หมายถึงการไม่ใช้ความรุนแรงในทุกมิติของชีวิต
    3. จุดบนรูปพระจันทร์เสี้ยว (Digit of the Moon / ปรากฏในรูปแบบที่ 2 และ 3) แสดงถึงจิตวิญญาณและดินแดนแห่งจิตวิญญาณที่หลุดพ้นจากกรรมทั้งปวง
    4. จุดสามจุด (ปรากฏในรูปแบบที่ 2 และ 3) หมายถึง หลักการที่สำคัญสูงสุดที่นำไปสู่หนทางแห่งการหลุดพ้น 3 ข้อ คือ
    1) การรับรู้อันถูกต้อง (Right Perception)
    2) การมีความรู้อันถูกต้อง (Right Knowledge)
    3) การกระทำอันถูกต้อง (Right Action)
    5. สวัสดิกะ (Swastika / ปรากฏในรูปแบบที่ 1 และ 2) หมายถึง วัฏจักรแห่งการเกิดและการตาย (Cycle of births and deaths) หรือ วัฏสงสาร จุดทั้งสี่จุด (ไม่มีในรูปตัวอย่าง) ที่อยู่ภายในสวัสดิกะ หมายถึง สรรพชีวิตที่อยู่ภายใต้วัฏจักรแห่งการเกิดและการตายทั้ง 4 คือ
    1) สิ่งที่กำเนิดในแดนสวรรค์
    2) มนุษย์
    3) สัตว์
    4) สิ่งที่กำเนิดในแดนนรก
    6. อักษรโอม (Jain OM / ปรากฏอยู่ในรูปแบบที่ 3) เป็นสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นมาจากตัวอักษร 5 ตัว คือ a, a, aa, u และ m โดยแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
    a มาจาก Arihant หมายถึง จิตวิญญาณที่บรรลุธรรมโดยสมบูรณ์ (หลุดพ้นจากวัฎสงสารแล้ว)
    a มาจาก Ashariri หมายถึง จิตวิญญาณที่หลุดพ้นจากกรรมทั้งปวง (อยู่ ณ จุดสุดยอดแห่งวัฏสงสาร)
    aa มาจาก Acharya หมายถึง ผู้นำศาสนาหรืออาจารย์สอนศาสนา
    u มาจาก Upadhyaya หมายถึง ผู้ที่สอนนักบวช
    m มาจาก Muni หมายถึง นักบวช
    ดังนั้นคำว่า “โอม” ในศาสนาเชน จึงหมายถึง กลุ่มบุคคลอันเป็นที่เคารพบูชาในศาสนาเชน
    ส่วนกรอบใหญ่ของสัญลักษณ์ในรูปแบบที่ 2 และ 3 แสดงถึงสรรพชีวิตในทั้ง 3 โลก ที่จะเคลื่อนย้ายจากครึ่งล่าง โดยอาศัยหลักการคำสั่งสอนของติรธังกรทั้ง 24 ท่านไปสู่ครึ่งบนและจุดสุดยอดคือการหลุดพ้นจากกรรมทั้งปวง และพื้นที่นอกกรอบดังกล่าวที่เป็นพื้นที่ของจิตวิญญาณที่หลุดพ้นจากวัฎสงสารแล้ว
    [FONT= ]แหล่งข้อมูล[/FONT]
    [FONT= ]จาก [/FONT][FONT= ]Essence of World Religions โดย Pravin K. Shah[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2010
  5. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    <CENTER>ศาสนาพุทธ</CENTER>




    ๑. กำเนิด <DD>พุทธศาสนากำเนิดขึ้น ณ ประเทศ อินเดียเมื่อประมาณก่อนคริสต์ศาสนาประมาณ 543 ปี เกิดขึ้นในยุคที่กำลังมีการค้นคว้ากาวิธีการดับทุกข์กันอยู่ทั่วไป โดยผู้คนในยุคนั้นจะนับถือศาสนาพรหามณ์กันอยู่โดยมาก.
    ๒. สิ่งเคารพสูงสุด




    <DD>พุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภท อเทวนิยม คือไม่ยอมรับว่ามีเทพเจ้าใดๆว่ามีอำนาจสูงสุด แต่จะยอมรับกฎธรรมชาติ(ธรรมะ หรือธรรม) ว่าเป็นสิ่งสูงสุดที่มีลักษณะคล้ายกับพระเจ้าของศาสนาประเภทเทวนิยม. ๓. ศาสดา




    <DD>คือพระพุทธเจ้า ซึ่งเดิมคือเจ้าชายสิทธัตถะ ที่ออกบวชค้นหาความจริงจนกระทั่งได้ค้นพบความจริงของธรรมชาติในเรื่องการดับทุกข์ของจิตใจตามหลักเหตุผล(หรือตามหลักวิทยาศาสตร์)ได้อย่างถาวร. ๔. คัมภีร์




    <DD>คือพระไตรปิฎก อันประกอบด้วย <DD>๑. พระวินัย ซึ่งรวบรวมเรื่องศีลของภิกษุและภิกษุณีเอาไว้ทั้งหมด <DD>๒. พระสูตร ซึ่งรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระสาวกเอาไว้ <DD>๓. พระอภิธรรม ซึ่งรวบรวมหลักปรัชญาที่พระสาวกรุ่นหลังๆแต่งขึ้นไว้ ๕. สรุปหลักคำสอน




    <DD>คำสอนของพุทธศาสนานั้นก็มีอยู่ 2 ระดับคือ <DD>๑. ระดับชาวบ้านซึ่งมีหลักการอยู่มากมายซึ่งสรุปอยู่ที่การมีศีล มีเมตตา มีความขยันอดทนและรู้จักใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต เป็นต้น. <DD>๒. ระดับสูงซึ่งได้แก่หลักอริยสัจ ๔ อันเป็นหลักในการดับทุกข์และจัดเป็นหัวใจของคำสอนทั้งหมด ซึ่งสรุปอยู่ที่การทำจิตให้ว่างจากกิเลสทั้งปวงโดยมีศีลเป็นพื้นฐานรวมทั้งมีสมาธิเป็นกำลังและมีปัญญาเป็นตัวควบคุม. ๖. จุดหมายสูงสุด




    <DD>คือ "นิพพาน" หรือความไม่มีทุกข์อย่างถาวรในชีวิตปัจจุบันซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุด ส่วนจุดหมายรองลงมาคือการมีชีวิตอยู่โดยให้มีความทุกข์น้อยที่สุด. ๗. ความเชื่อและหลักปฏิบัติ




    <DD>พุทธศาสนาสอนว่าทุกสิ่งเป็นไปตามธรรมชาติ(หรือธรรมดา)ของมันเอง คือเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย(ปัจจัยคือเหตุย่อยๆ)ที่ผลักดันกันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีตัวตนหรือผู้ใดมาดลบันดาล ดังนั้นการปฏิบัติก็คือการปฏิบัติหน้าที่ของตนๆให้ถูกต้องตามที่ธรรมชาติกำหนดมา อย่ามีความเห็นแก่ตัว จงเห็นแก่ผู้อื่น หรือเห็นแก่ธรรมชาติ. ๘. นิกาย




    <DD>ปัจจุบันมีอยู่ ๒ นิกายใหญ่ๆคือ <DD>๑. มหายาน หรืออาจาริยวาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงคำสอนเดิมจนหาหลักเดิมได้ยาก <DD>๒. หีนหาย หรือเถรวาท ซึ่งยึดถือพระไตรปิฎกดั้งเดิมมาปฏิบัติ ๙. ประเทศที่นับถือ




    <DD>นิกายมหายานก็มีประเทศจีน ,ไต้หวัน, เวียดนาม ส่วนเถรวาทก็มีประเทศ ศรีลังกา, พม่า, ลาว, กัมพูชา , ไทย และมีประปรายในประเทศต่างๆทั่วโลก. ๑๐. ประเพณี




    <DD>ดั้งเดิมนั้นไม่มีแต่ภายหลังเกิดมีขึ้นเช่น ประเพณีการทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และกดารทำบุญตามวันสำคัญทางศาสนา. ๑๑. ผู้สืบทอด




    <DD>ได้แก่พระสงฆ์ที่ถือศีล ๒๒๗ ข้อ รวมทั้งมีสามเณร ถือศีล ๑๐ แต่ก่อนมีภิกษุณี(นักบวชหญิง)ถือศีล ๓๑๐ ข้อ ซึ่งปัจจุบันยังไม่ยอมรับว่ามีอยู่ รวมทั้งอุบาสก อุบาสิกา ที่เรียกรวมๆว่า พุทธบริษัท ๔. ๑๒. วันสำคัญทางศาสนา




    <DD>วันสำคัญทางศาสนาก็มีอยู่ ๔ วันคือ <DD>๑. วันวิสาขบูชา อันเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า <DD>๒. วันอาฬาสหบูชา อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรก. <DD>๓. วันมาฆบูชา อันเป็นวันที่พระอรหันต์จำนวนมากมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย. <DD>๔. วันอัฐมีบูชา อันเป็นวันถวายประเพลิงพระสรีระพระพุทธเจ้า. ๑๓. สถานที่สำคัญ


    ได้แก่สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ, ตรัสรู้ , แสดงปฐมเทศนา,และปรินิพพาน.



    [​IMG]ศาสนาพุทธมีที่มา
    ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาหนึ่งในกลุ่มศาสนาสากล เป็นศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในเอเซียใต้ คือ อินเดีย มีผู้นับถือหลายประเทศ เช่น ไทย ลังกา ทิเบต เนปาล เขมร ลาว เกาหลี จีน เวียตนาม อินเดีย และ บางส่วนของประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา สถิติ ผู้นับถือประมาณไม่ต่ำกว่า 500 ล้านคน
    [​IMG] พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ โดยพระพุทธเจ้าทรงได้ค้นพบความจริงนั้น แล้วนำมาชี้แจงเปิดเผยบอกเล่าให้เข้าใจชัดขึ้น ความจริงหรือสัจธรรมที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาตินี้เป็นของกลางสำหรับทุกคน เพียงแต่ใครจะค้นพบหรือไม่เท่านั้น จึงไม่ใช่สิ่งที่ประดิษฐ์หรือคิดขึ้นตามอารมณ์เพ้อฝัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตราบใดที่พระองค์ยังมิได้ตรัสรู้ความจริงในลักษณะ ๓ อย่าง คือ รู้ความวามจริง รู้หน้าที่อันควรทำเกี่ยวกับความจริงนั้น และรู้ว่าได้ทำหน้าที่สำเร็จบริบูรณ์แล้ว ตราบนั้น พระองค์ก็ยังไมอาจกล่าวได้ว่าตรัสรู้แล้ว ข้อความจากธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า ความจริงนั้นพระองค์ได้ลงมือปฏิบัติจนค้นพบประจักษ์แล้ว พระองค์จึงได้นำมาสั่งสอน เพระาฉะนั้นคำสั่งสอนของพระองค์ที่เรียกว่า พุทธศาสนาจึงเป็นหลักคำสอนที่เกี่ยวกับความจริงที่มีเหตุผลสมบูรณ์ผ่านการพิสูจน์ทดลองมาแล้ว ไม่มีคำว่า "เดา" หรือ "สันนิษฐาน" ว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องเป็นความจริงที่ได้ค้นประจักษ์ชัดแล้วจึงใช้ได้และเป็นวิถีทางแห่งการตรัสรู้ อันจะนำไปสู่ความสิ้นทุกข์ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา
    [​IMG]พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิรูป เพราะเมื่อพุทธศาสนาได้เผยแพร่ในโลก ได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปทั้งศาสนาแลละสังคม กล่าวคือ ศาสนาต่าง ๆที่มีอยู่แล้วก่อนพุทธศาสนา ต่างก็สอนเรื่องพระเจ้า ให้นับถืออ้อนวอนพระเจ้า และสอนให้เกิดการนับถือชนชั้นวรรณะ มีการแบ่งชั้นวรรณะ ส่วนพุทธศาสนา ประกาศตัวเป็น "อเทวนิยม" ไม่ขึ้นตรงต่อพระเจ้าหรือพรหมองค์ใดเลย และสอนให้มนุษย์เลิกดูหมิ่นเหยียดหยามกัน เพราะเรื่องถือชั้นวรรณะ เพราะเหตุชาติและวงศ์สกุล โดยตั้งจุดนัดพบกันไว้ที่ศีลธรรม ใครจะเกิดในสกุลต่ำสูง ยากดีมีจนอย่างไรไม่เป็นประมาณ ถ้าตั้งอยู่ในศีลธรรมแล้วก็ได้ชื่อว่า เป็นคนดี ควรยกย่องสรรเสริญ ตรงข้ามถ้าล่วงละเมิดศีลธรรมแล้ว แม้เกิดในสกุลสูงก็นับว่าเป็นคนพาลอันควรตำหนิ นอกจากนี้หลักสัจธรรมทางพุทธศาสนายังมีเป้าหมายคือ มุ่งแก้ไขความทุกข์ร้อนของสังคม นับตั้งแต่ส่วนบุคคล ครอบครัว จนถึงโ,กส่วนรวม กฎหมายอย่างเดียวยังไม่เพียงพอสำหรับคุ้มครองและควบคุมพฤติกรรมของส่วนบุคคลของครอบครัว ศาสนาเป็นสิ่งสำคัญที่จะรักษาบุคคล สังคมให้ดำรงอยู่อย่างสันติสุข รวมทั้งที่จะให้บรรลุถึงความหวังที่จะพ้นทุกข์โดยประการทั้งปวงด้วย

    ในแง่ของการวิเคราะห์แล้ว พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักวิภชวาท ประกาศคำสอนเพื่อความเข้าใจง่ายสำหรับผู้ฟัง โดยการจำแนกแจกแจงหลักธรรมได้อย่างดีเยี่ยม เพราะฉะนั้นลักษณะคำสอนของพุทธศาสนา จึงเป็นการวิเคราะห์ออกเป็นข้อ ๆ อย่างละเอียดสุขุม และประสานสัมพันธ์กันเป็นระบบที่แน่นแฟ้น เช่น ถ้าจะอธิบายธรรมะข้อใดข้อหนึ่งก็สามารถอธฺบายเกี่ยวโยงไปถึงธรรมะข้ออื่น ๆ ได้อย่างมีระบบ และสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ในบรรดาศาสนาอื่นๆ ที่มีการวิเคราะห์แล้ว พุทธศาสนานับว่าเป็นเด่นในเรื่องนี้.

    ศาสนาพุทธ
    ศาสนาพุทธมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ประเภทอเทวนิยม (ไม่นับถือพระเจ้า) มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา คัมภีร์ของศาสนาพุทธ คือ พระไตรปิฎก หมายถึงตำราที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า แบ่งออกเป็น 3 คัมภีร์ คือ
    1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยศีลหรือวินัยของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
    2. พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) ว่าด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวก รวมทั้งชาดกต่าง ๆ
    3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมล้วน ๆ

    นิกายสำคัญของศาสนาพุทธ
    1. นิกายเถรวาท หรือหีนยาน
    ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงพระธรรมวินัย
    ประเทศที่นับถือ ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ลาว กัมพูชา
    2. นิกายอาจริยวาท หรือมหายาน
    ดัดแปลงพระธรรมวินัยได้ ประเทศที่นับถือ ได้แก่ จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลี

    หลักคำสอนของศาสนาพุทธ
    1. อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ
    - ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
    - สมุทัย คือ เหตุของความเป็นทุกข์ ได้แก่ ตัณหา
    - นิโรธ คือ ความดับทุกข์ หรือนิพพาน
    - มรรค คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความดับทุกข์ หมายถึง อริยมรรค 8 ประกอบด้วย
    1. สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
    3. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ
    5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ คือ ความพยายามชอบ
    7. สัมมาสติ คือ การตั้งสติชอบ 8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจชอบ
    อริยมรรค 8 เมื่อสรุปรวมแล้วเรียกว่า ไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

    2. ขันธ์ 5 หรือเบญจขันธ์ หมายถึง องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย และส่วนที่เป็นจิตใจ ได้แก่
    1. รูปขันธ์ คือ ร่างกายและพฤติกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    2. วิญญาณขันธ์ คือ ความรู้อารมณ์ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    3. เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึก ซึ่งเป็นผลมาจากสุขเวทนา ความสุขทางกายและใจ ,
    ทุกขเวทนา คือ ทุกข์ทางกายและใจ ,อุเบกขาเวทนา คือ ความไม่ทุกข์ไม่สุขทางกายและใจ
    4. สัญญาขันธ์ คือ การกำหนดได้ 6 อย่างจากวิญญาณและเวทนา คือ รูป รส กลิ่น เสียง
    5. สังขารขันธ์ คือ ความคิด แรงจูงใจ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว เป็นผลมาจากวิญญาณและเวทนา

    3. ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลก ได้แก่
    1. อนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง
    2. ทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์
    3. อนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัวตน


    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2010
  6. รพินทร์ไพรวัลย์

    รพินทร์ไพรวัลย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +1,122
    [​IMG]

    เห็นอะไรในภาพนี้บ้าง....

    เห็นชีวิต สัจจะธรรมแห่งชีวิต คนเรามีแค่นี้ จะปรุงแต่งอะไรกันหนักหนา
    .
    .
    ...ใครเห็นเป็นอย่างอื่น หรือเห็นอย่างอื่น ก็แล้วแต่...*-*
     
  7. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ผมไม่เข้าใจคำว่า "เดียรถีย์" ของคุณที่ได้กล่าวอ้าง...
    แต่โดยนัยแล้ว น่าจะครอบคลุมถึงสิ่งเหล่านี้

    เดียรถีย์
    (อ่านว่า เดียระถี) แปลว่า ผู้มีลัทธิดังท่าน้ำอันเป็นที่ข้าม หรือ ข้ามน้ำผิดท่า หมายถึงนักบวชนอกศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล (ที่แปลว่า "ข้ามน้ำผิดท่า" นั้นอุปมาถึงบุคคลผู้ออกบวชหวังความพ้นทุกข์ แต่กลับแสวงหาทางที่ผิดหรือศรัทธาปฏิบัติในลัทธิความเชื่อที่มิใช่พระพุทธศาสนา อันเปรียบเหมือนผู้ที่ข้ามแม่น้ำไปขึ้นท่าน้ำที่ไม่ดี ทำให้เสียประโยชน์อันพึงได้ไป)

    เดียรถีย์
    เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัญเดียรถีย์ หมายถึงพวกที่มี
    ลัทธิความเชื่อถืออย่างอื่นนอกจากพระพุทธศาสนา

    เดียรถีย์
    สมัย
    พุทธกาลมีหลายพวก เช่น ปริพาชก นิครนถ์ ดาบส อเจลก (ชีเปลือย)

    ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้เรียกผู้ทำนอกเรื่องหรือนอกรีตนอกรอย ประพฤตินอก
    ธรรมนอกพระวินัยว่า พวกเดียรถีย์ ซึ่งถือเป็นคำดูถูกหรือคำด่า

    ซึ่งทำให้ฉุกคิดและสะกิดใจกับข้อความที่ว่า...

    "พระพุทธองค์: ทรงตรัสเรียกลัทธินี้ว่า เดียรถีย์"

    ศาสนาเชนเป็นศาสนา ไม่ใช่ลัทธิ ที่สำคัญข้อความที่กล่าวถึงนี้ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์กล่าวมาหรือ? มีพยานหรือข้อเท็จจริงใดๆ ที่พอจะพิสูจน์ได้บ้าง

    เพราะในความคิดของผม ไม่น่าจะเป็นไปได้พระพุทธองค์เป็นผู้กล่าวพาดพิง ผมเกรงว่าจะเป็นการกล่าวให้ร้ายศาสนาอื่น ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดความสันติภาพแก่โลกใบนี้เลย
     
  8. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,572
    ค่าพลัง:
    +4,560
    เชน น่าจะกลายมาเป็น ธรรมกายในปัจจุบันนี้
    เชนปฏิบัติจนไปถึงอัตตา แล้วคิดว่าสูงสุดแล้ว
    แต่พุทธ ปฏิบัติเลยอัตตาไป จนพบอนัตตา แล้วข้ามฝั่ง(อัตตา และ อนัตตา)ไปเป็นอรหันต์
    เชน ถ้าคิดในหลักสมาธิกรรมฐาน ได้แค่ณานสมาบัติ8(ได้ญาน20ญาน) และสิ้นสุดลงแค่นั้น
    พุทธ ข้ามณานสมาบัติ8 ขึ้นไปถึง นิโรธสมาบัติเป็นอรหันต์(ได้ญาน21ญาน)
     
  9. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ศาสนาเปรียบเทียบ นะครับ เพื่อเรียนรู้เขา รู้เรา ไม่ได้กล่าวให้ร้ายศาสนาอื่นนะ ครับ:cool:

    ศาสนาเชนนักอหิงสาต่อความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต
    - เกิดควบคู่กันมากับพระพุทธศาสนา
    - เป็นศาสนาประจำชนชาติอินเดียทางภาคเหนือ
    - บำเพ็ญตบะด้วยวิธีต่างๆ โดยเฉพาะการทรมานร่างกาย(อัตตกิลมถานุโยค)
    - ปัจจุบันมีศาสนิกชนน้อยลงเรื่อยๆ (มีประมาณ 1 ล้าน 5 แสนคน)
    - สอนเรื่องอาตมันคล้ายฮินดู แต่แตกต่างที่เป็น อเทวนิยม
    - มีศาสนามาแล้วถึง ๒๔ องค์
    องค์แรก ชื่อ“ฤษภะ” องค์สุดท้ายชื่อ “มหาวีระ”(เจ้าชายวรรธมาน)
    - ศาสดาเรียกว่า “ตีรถังกร” (ผู้กระทำซึ่งท่า)
    - เชนหรือชินะแปลว่าผู้ชนะ (หมายถึงการชนะตัวเอง)
    - เป็นการชนะด้วยวินัยแห่งการควบคุมตัณหาของตนอย่างเข้มงวด

    จริยศาสตร์
    (บัญญัติ ๕ ประการ)
    ๑) อหิงสา = การไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายสัตว์
    ๒) สัตยะ = ซื่อสัตย์
    ๓) อัสตียะ =ไม่ลักขโมย หลบหนีภาษี
    ๔) พรหมจริยะ = เว้นจากกามสุข
    ๕) อปริคหะ = ไม่โลภ
    รวมเรียกว่า พรต = วัตร
    การปฏิบัติของนักบวชเรียกว่า “มหาพรต”
    การปฏิบัติของคฤหัสถ์เรียกว่า “อนุพรต”
    นักบวชที่ปฏิบัติเคร่งครัดเรียกว่า “สาธุ”
    ศาสนาเชนยึดอหิงสาธรรมและชีวิตสันโดษNon-violence

    “มันเป็นการยากที่จะเอาชนะตัวเองได้
    แต่เมื่อใดเอาชนะได้แล้วทุกอย่างก็ถูกเอาชนะได้ด้วย”

    นิกายนุ่งลมห่มฟ้า และนิกายนุ่งผ้าสีขาว
    นิกาย
    ๑. ทิคัมพร - เปลือยกาย
    - อนุรักษ์นิยม, เจริญอยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย
    - มีอาภรณ์เป็นอากาศ
    - พุทธศาสนา เรียกว่า อเจลกะ, นัคคะ, นิครนถ์
    ๒. เศวตัมพร - นุ่งห่มผ้าขาว
    - เจริญอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย
    - อาภรณ์สีขาว
    - แก้บทบัญญัติแห่งการเปลือยกายไม่ให้ตึงเกินไป
    - พุทธศาสนา เรียกว่า ปัณฑรังคะ = ผู้นุ่งขาวห่มขาว

    ข้อสังเกต

    ๑. การแบ่งแยกนิกาย นอกจากอิทธิพลของกาลเวลาแล้วสภาพแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญ
    ๒. ผู้หญิงสำเร็จเป็นสิทธาได้ ก็เพราะบางนิกาย (เศวตัมพร) มีติดถังกรเป็นผู้หญิง
    ๓. นักบวชทุกท่านต้องถอนผมของตนด้วยทางตาลหรือมือแทนการโกนเพื่อพิสูจน์ความอดทน
    ๔. ศาสนาเชนยกย่องการปฏิบัติแบบ อัตตกิลมถานุโลก
    เช่นการนิยมอดอาหาร (ถือเป็นการตายที่บริสุทธิ์)


    ความเหมือนกับพุทธศาสนา

    ๑. เดิมเป็นเทวนิยม เปลี่ยนเป็นอเทวนิยม สมัยศาสดามหาวีระ
    ๒. เน้นอหิงสาธรรม – เมตตา
    ๓. ปฏิเสธคัมภีร์พระเวทและความศักดิ์สิทธิ์ของระบบวรรณะ
    ๔. เชื่อเรื่อง “กรรม”(ความดีต้องมาจากดี)
    ๕. ยอมรับใน “สังสารวัฏ”และ “การหลุดพ้น” (นิรวาณ-นิพพาน)

    ความแตกต่าง

    ๑)คำสอนยึดถือ “อัตตา”(วิญญาณของบุคคลเป็นนิรันดร)
    ส่วนพุทธศาสนาเป็น “อนัตตา”
    ๒) เน้นหลัก “อหิงสาธรรม” มากกว่า (ถือเป็นมงกุฎของศาสนาเชน)
    ๓) เชนปฏิบัติในหลักอัตตกิลมถานุโยค ส่วนพุทธถือหลักมัชฌิมาปฏิปทา


    สัญลักษณ์
    ๑. รูปของ มหาวีระ ผู้เป็นศาสดาองค์สุดท้าย
    ทิคัมพร – รูปติดถังกรเปลือยกาย
    เศวตัมพร – รูปติดถังกรนุ่งห่มผ้า
    ๒. คัมภีร์เรียกชื่อว่า อาคม(หมายถึงศีล)
    ๓. เป็นนักมังสวิรัติ (อาชีพพวกพระ ครูอาจารย์ ศิลปิน พ่อค้า นักธุรกิจ นายธนาคาร)

    วจนะและสุภาษิตของเชน

    1. จงรู้ว่าอะไรเป็นเหตุผูกมัดวิญญาณ และเมื่อรู้ ก็จงพยายามขจัดออกไป
    2. นกติดอยู่ในกรงย่อมออกจากกรงไม่ได้ฉันใด บุคคลผู้เขลาต่อความถูกและความผิดก็ย่อมออกจากความระทมทุกข์ไม่ได้ฉันนั้น
    3. มีทางทำบาปอยู่ 3 ทาง คือโดยการกระทำของเรา โดยการสนับสนุนคนอื่น โดยการเห็นด้วย
    4. มุนีย่อมนำชีวิตออกห่างจากความรักให้ไกลมากเท่ากับจากความเกลียด
    5. ชีวิตทุกชีวิตย่อมเกลียดความเจ็บปวด เพราะฉะนั้นอย่าทำร้ายเขาหรือฆ่าเขา นี่เป็นแก่นสารแห่งปัญญา ไม่ฆ่าสิ่งใด
    6. ความเหย่อหยิ่งเป็นหนามที่บางมากแต่เป็นเรื่องยากที่จะดึงออก
    7. คนควรปฏิบัติต่อสัตว์โลกทั้งหมดในโลก ดังเช่นตัวเองชอบที่จะให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตน
    ฯลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2010
  10. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    ขอบคุณครับที่ให้ข้อมูล


    ทำให้ผมเพิ่งรู้ว่าผมไม่ได้ปฏิบัติมาทางพราหมณ์
    เพราะว่าผมห่มขาวช่วงหนึ่ง และก็เป็นชีเปลือยอีกช่วงหนึ่ง
    (ผมปฏิบัติเอง ไม่มีครู ทำไปเอง เป็นไปเอง แต่นึกว่ามัน
    เป็นการปฏิบัติของพราหมณ์น่ะครับ) อ้อ ครูก็มีนะ แต่ที่ทำ
    นี่ครูเขาไม่สอน เราลองของเราเอง เพราะที่ครูสอนนั่น
    เราก็ทำจนเบื่อแล้ว เลยนอกคอก นอกลู่นอกทางทำเอง
    มั่งน่ะครับ


    เอ แล้วมันเกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ไหม อย่างไรครับ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มกราคม 2010
  11. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    ตอนกามราคะรุมเร้ามากๆ ก็เลยแก้ผ้าปฏิบัติซะเลย



    ตอนนั้น ก็งงๆ นะ ที่ทำไป ไม่แน่ใจเหมือนกัน เป็นการลองผิดลองถูกเอาเองนะครับ
    แก้ผ้าทำสมาธิ ริมแม่น้ำ มีต้นโพธิ์ต้นหนึ่ง อยู่บนเนินดินกลางน้ำด้วย ไอ้เราก็งงๆ
    ทำไปทำไม ก็นั่งมองดูร่างกายตัวเอง ดูว่ากามอยู่ตรงไหน ลองจับตัวมันมาดูสิ
    ก็หาไม่เจอ มันคืออะไรกันแน่ เจ้ากามน่ะ ก็เลย "ปิ้งแว้บ" ขึ้นมาว่า "อ้อ มันคือ
    การปรุงแต่งนี่เอง" กามนี่มันน่าเบื่อมากเลยละ ลองมีเพศสัมพันธ์กับใครดูสิ
    มีอะไรแว้บเดียว เบื่อละ เหนื่อยหน่ายละ อยากเบือนหน้าหนีแล้ว อันนี้เป็นกันทั้งนั้นนะ
    จะเบื่อช้าหรือเร็วก็เท่านั้น แสดงว่าเพศสัมพันธ์นี่ มันก็ยังไม่ใช่กามเสีบทีเดียว
    แต่ที่เราติดอยู่ พันอยู่ หลงอยู่ เพลินอยู่ มันน่าจะเป็นการปรุง การแต่ง ทำให้เรา
    ไม่รู้สึกเบื่อ ปรุงไปเรื่อย แต่งไปเรื่อย ไม่จบเสียที ประมาณนั้นอ่ะ


    มาถึงตอนนี้ก็แค่นี้เอง นึกว่ามันจะเป็นอะไร จบ...
     
  12. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    แล้วศาสนาเชนนี่เกี่ยวข้องอะไรกับความเชื่อเรื่องพระอาทิพุทธไหม?





    [​IMG]


    แบบนี้น่ะ
     
  13. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    เพศสัมพันธ์และร่างกายที่เปลือยเปล่า


    มันเป็นความสกปรก ความเลวร้าย คือมารร้าย ความน่ารังเกียจ
    ความสวยงาม หรือความน่าหลงใหล หรืออะไรหรือ?


    หรือมันก็แค่ธรรมชาติเอง


    ตอนเด็กๆ ยายและป้าเป็นคนโบราณ แกไม่ใส่เสื้ออ่ะ นมแกย้านยาน
    แล้วมันทำให้ผม ไม่ค่อยรู้สึกจะมีอารมร์อะไรเลย ต่อมาก็เห็นแต่ละครอบครัว
    ทะเลาะกันดังน่ารำคาญอีก ได้ยินทุกวันเลยอ่ะ เลยเบื่อ แล้วไม่เอาละแบบนี้
    หนีดีกว่าตู


    ก็มีอารมณ์เพศตามปกตินะ มีตามธรรมชาติ แต่ว่ามันก็ไม่คิดจะเอาครอบครัวละ
    ไม่เคยด่าพอ่กะแม่ที่มีเพศสัมพันธ์กันเพื่อให้เราเกิดมา ก็ถือว่าศักดิ์สิทธินะ
    การมีเพศสัมพันธ์น่ะ ไม่งั้น คงได้เกิดในกอหญ้า ดอกบัว น้ำค้างตามแง่มไม้แล้ว
    ขอบคุณพ่อแม่ที่มีเพศสัมพันธ์กันให้ผมเกิดมา ไม่ได้รังเกียจกามนะ มันเป็นของ
    ธรรมชาติ แต่ไม่รู้เว็บนี้เขาจะหาว่าเราสกปรก ลบหลู่หรือเปล่านะ เพราะรูปพระพุทธเจ้า
    เปลือยน่ะ ไม่รู้เขาคิดอย่างไร แต่ก็ช่างเขาเถอะ หึๆๆ
     
  14. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    มีความน่าจะเป็นสักกี่เปอร์เซ็นต์ครับ ที่จะกลายพันธุ์ไปเป็นธรรมกาย

    ผมมีความเห็นว่า สภาวะอัตตาเกิดกับผู้เริ่มต้นเท่านั้น เมื่อเกิดความชำนาญและผ่านประสบการณ์เพียงพอ ก็จะเข้าสู่สภาวะอนัตตา ซึ่งเป็นธรรมดาของนักปฏิบัติที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะจากรูปไปสู่อรูป หรือสูญตา ก็คือความว่างที่ไร้ขอบเขต ไร้มิติ ไร้กาลเวลา ซึ่งเป็นฐานของฌาญสมาบัติทั้งหลาย เพียงแต่หากเรามีความสะอาดด้วยศีล สงบด้วยสมาธิ สว่างด้วยปัญญา เป็นฐานบารมีเพียงพอหรือไม่

    แต่เท่าที่ทราบมาไม่ว่าสายโยคะสูตรา สายวัชรยาน หรือแม้แต่สายเต๋า ก็คล้ายๆ กันหมด เป้าหมายเดียวกัน แต่มุ่งเน้นในรายละเอียดต่างกันเท่านั้น โดยใช้กฎเกณฑ์หรือขั้นตอนแตกต่างกัน เช่น

    การบรรลุพระอรหันต์ใช้สังโยชน์เป็นเกณฑ์ในการยกระดับการเป็นพระอริยเจ้า แต่สุดท้ายก็ต้องไปอยู่ในอาณัติของพระพุทธองค์

    สายวัชรยานมีการปฏิบัติจิตตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะไปรวมกับจิตกับพระผู้มีพระภาคเจ้า (ลัทธิบูชาพระพุทธเจ้าห้าพระองค์)
    สายพราหมณ์ก็ไปรวมจิตกับพระผู้เป็นเจ้า ก็มีขั้นตอนที่เคร่งครัดมากๆ
    สายเต๋าก็เช่นกัน

    จนอาจกล่าวได้ว่า ทุกศาสนาย่อมมีหนทางเป็นของตนเอง โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ สะอาด สงบ สว่าง แล้วใยต้องมายึดศาสนาให้กระทบกระทั้งกัน สู้เร่งปฏิบัติและสร้างบารมีไม่ดีกว่าหรือ?
     
  15. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    พระพุทธเจ้าพระองค์แรก
    สันสกฤตเรียก สมันตรพุทธเจ้า ทิเบตเรียกกุนตูซังโป จีนเรียกโพวเฮี่ยงฮุก
    อาทิพุทธเป็นพระพุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นมาพร้อมกับโลกประจำอยู่ชั่วนิรันดรเป็นแหล่งกำเนิดแห่งพระพุทธเจ้า ทั้งหลายทั่วจักรวาล พระองค์ทรงเป็นธรรมกายดั้งเดิม ด้วยอำนาจฌานของพระองค์ทำให้เกิดธยานิพุทธ5พระองค์ คือพร1ะไวโรจน์พุทธ พระอักโษภยพุทธ พระรัตนสัมภาวพุทธ พระอมิตภพุทธ พระอโมฆสิทธิ ดังนั้นอาทิพุทธก็คือต้นแบบแห่งพุทธภาวะทั้งมวล
    พุทธลักษณะ อาทิพุทธในนิกายดั้งเดิมของทิเบต เป็นรูปบูชาพุทธะวรรณะสีน้ำเงิน ในปางสมาธิมุทรา ส่วนใหญ่ไม่ทรงศิราภรณ์ มาคู่กับศักดิชื่ออาทิธรรม ในนิกายใหม่เป็นรูปบูชาในปางวัชระธารา เป็นรูปพุทธะวรรณะสีน้ำเงิน ทรงศิริภรณ์ ถือวัชระในหัตถ์ซ้ายขวาไข้วเหนือพระอุรา
    อาทิพุทธเจ้าทรงเป็นธรรมกายดั้งเดิมนั่นคือพระองค์คือพุทธภาวะ ซึ่งอยู่นอกเหนือการบรรยาย จะว่าพระองค์เป็นแสงสว่างสุกสกาวก็ได้ จะว่าพระองค์เป็นความเวิ้งว่างแห่งบรรยายกาศก็ได้ พระองค์เป็นท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลก็ได้ ด้วยเหตุว่าพระองค์เป็นธรรมชาติอันเปลือยเปล่าแห่งสรรพสิ่ง ในนิกายนิงมาปะดั้งเดิมจึงได้สร้างสัญลักษณ์แห่งพระองค์ด้วยรูปอันปราศจากการปรุงแต่งใดๆ พระวรกายสีน้ำเงินดังท้องฟ้าอันเวิ้งวางสุกใส ไม่ทรงศิราภรณ์ใดๆ
    ธรรมชาติแห่งสรรพสัตว์ ด้วยมุมมองแห่งพุทธตันตระยานในหลักการแห่งตรีกาย ประกอบด้วยกายเนื้อและกายทิพย์และธรรมกาย กายเนื้อหรือนิรมานกายก็คือกายที่เห็นได้ด้วยตาซึ่งเกิดจากส่วนผสมอันกลมกลืนกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ตัวในการแสวงหาหนทางเพื่อให้เกิดธาตุรู้ ส่วนกายทิพย์หรือสัมโภคกายอันเป็นแหล่งเก็บแห่งธาตุรู้หรือเป็นตัวปัญญา การรู้ธรรมชาติแห่งนิรมานกายให้ผลเป็นพลังแห่งปัญญา ความชัดเจนแจ่มแจ้งของสัมโภคกาย อันเกิดจากการกระตุ้นของพลังแห่งปัญญา ทำให้เกิดพลังแห่งเมตตา และนี่คือคำอธิบายว่าพระโพธิสัตว์ทั้งปวงเป็นตัวแทนแห่งมหาเมตตาของ พระพุทธองค์ด้วยว่าพระโพธิสัตว์เป็นสัมโภคกายแห่งพุทธองค์ การรวมกันระหว่างพลังปัญญาและพลังเมตตา นั่นคือพุทธภาวะหรือองค์ธรรมกาย ด้วยหลักปรัชญาแห่งมหามุทรา ที่ว่าสรรพสิ่งคือสัญลักษณ์ องค์ศักติในมณฑลการปฏิบัติพุทธตันตระจึงบังเกิดขึ้น ในหนังสือพุทธศาสนาระหว่าง2500ปีที่ล่วงแล้ว ได้กล่าวถึงพุทธตันตระยานว่า การที่มีผู้กล่าวว่า พุทธตันตระเป็นสาขาหนึ่งของลัทธิไศวะหรือตันตระฮินดูนั้น เป็นบุคคลที่ไม่ได้ศึกษาพุทธตันตระฉบับเดิมจริงๆ ถึงแม้ลักษณะภายนอกจะเหมือนกัน แต่วิธีปฏิบัติและจุดประสงค์ต่างกันอย่างสิ้นเชิง พุทธตันตระเกิดก่อนฮินดูตันตระเป็นเวลาช้านาน ปรัชญาแห่งฮินดูตันตระมีว่า เมื่อรวมเข้ากับศักติแล้ว จะเพียบพร้อมไปด้วยอำนาจ เพราะการรวมกันของพระศิวะกับศักติ โลกจึงถูกสร้างขึ้น ตรงข้ามกับพุทธตันตระ ไม่ต้องการสร้างโลก ไม่ต้องการอำนาจ เพียงต้องการศูนยตาสภาวะ สภาวะที่ไม่ได้เกิดจากการสร้าง หรือเกิดจากการปรุงแต่ เป็นสภาวะธรรมชาติ มีอยู่โดยปกติก่อนการสร้างและพ้นจากการสร้างทั้งปวง

    http://www.mahayana.in.th/ <== หาข้อมูลได้ในนี้ครับ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2010
  16. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ผมไม่ได้กล่าวว่าคุณให้ร้ายศาสนาอื่น เพียงแต่การนำเสนอบทความใดๆ ทั้งที่เป็นบทความของตนหรือไม่ก็ตาม ควรแก่วิเคราะห์และสังเคราะห์เสียก่อน เพื่อไม่ให้เกิดผลในแง่ลบ แต่ใครจะไปรู้ละว่าจิตมนุษย์ยากแท้หยั่งถึง
     
  17. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    ถามเล่นๆ นะ


    ถ้าจะช่วยให้กัปหน้ามีพระพุทธเจ้าครบห้าองค์
    คงต้องบำเพ็ญบารมีแบบ สมัตรพุทธะ ใช่ไหมน่ะ


    เข้าใจถูกป่ะ
     
  18. Ajarn Pithak

    Ajarn Pithak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,367
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ใครมีข้อมูลอะไรดีๆ หรือแสดงความคิดเห็นได้นะครับ เพื่อเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันครับ:cool::cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2010
  19. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ลัทธิบูชาพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ผมได้กล่าวในรายละเอียดเรื่อง บุโรพุทโธ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากกระทู้นี้ครับ http://palungjit.org/threads/ชมรมนักปฏิบัติธรรมและคนมีองค์.190071/page-52#post2751355

    บ้างก็กล่าวพระอาทิพุทธ พระไวโรจนะ พระสมัตรพุทธ พระวัชรธร คือองค์เดียวกัน

    พระอาทิพุทธ เป็นธรรมกาย
    พระสมัตรพุทธ พระวัชรธร เป็นสัมโภคกาย
    พระไวโรจนะ พระอักโษภยะ พระรัตนสัมภาวะ พระอามิตาภะ และพระอโมฆะสิทธิ เป็นสัมโภคกายเช่นกันครับ
    ในอนาคตกาล เป็นหน้าที่ของพระอโมฆะสสิทธิหรือพระศรีอริยะเมตไตรยครับ
     
  20. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    ฝึกจิตแล้วสัมผัสได้ไหม?


    จิตพอรู้ รับรู้ได้ไหมว่ามีจริงป่าว?
    (ถามทั่วๆ ไปนะ พอมีใครรับสัญญาณได้ไหม?)
     

แชร์หน้านี้

Loading...