ศีลอุโบสถ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย alkuwaiti, 1 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. alkuwaiti

    alkuwaiti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,257
    มาตามสัญญา มาตามหัวใจเรียกร้อง zzzz! แต่ก่อนจะเข้าเนื้อหาเรามาทบทวนความเข้าใจในเบื้องต้นเกี่ยวกับศีลกันก่อนดีกว่า (ผมจะไม่มามัวเสียเวลาถกเถียงเรื่องเล็กๆน้อยๆ งี่เง่า ไร้สาระอะไรทั้งนั้น ถ้าใครจะโพสต์อะไรแล้วหวังจะให้ผมมาคุยด้วยละก็ ผมบอกเลยว่าผมไม่คุย ไม่สนทนาด้วย แต่ถ้าเป็นเรื่องดีๆผมก็อาจจะคุยด้วย)

    ข้อมูลที่ผมเอามาลงทั้งหมดนี้มาจากเว็บอื่น 5 เว็บ และจากตัวผมเองนิดหน่อย เดี๋ยวผมจะให้เครดิตที่ด้านล่างของกระทู้

    ศีล นั้นมีหลายความหมายที่คล้ายๆกันแต่ไม่แตกต่างกันมาก แต่เมื่อสรุปใจความและภาพรวมของศีลนั้น จึงหมายถึง ข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม

    ศีล มีความสำคัญมากกว่าชีวิตเรา ---> คำกล่าวนี้ถูกต้อง (คนเราตายได้แต่ศีลต้องไม่ตาย)

    การถือศีลก็เปรียบเหมือนการเล่นกีฬา ผู้ที่ฝึกฝนและเล่นกีฬาทุกวันย่อมทำได้ดีกว่าผู้ที่ไม่เคยฝึกฝนหรือเล่นกีฬา ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิดคนเราเกิดมาก็หัดคลาน เดิน และวิ่ง ดังนั้นถ้าใครจะมาบอกหรือตำหนิเราว่าเราเดินไม่ดี แบบนี้สู้อย่าเดินดีกว่า เราควรเชื่อเขาแล้วหยุดเดินตามที่เขาบอก หรือเราจะพยายามเดินต่อไปเพื่อที่เราจะวิ่งได้ในที่สุด การถือศีลก็เช่นกันขอเพียงแค่เราเริ่มต้น ก็จงพยายามต่อไป แม้ต้องผจญขวากหนามสักเพียงใดก็อย่าได้ท้อถอย ขนาดพระพุทธเจ้ายังมีมารผจญ ตัวเราก็แค่คนธรรมดาไฉนเลยจะไม่เจอมารผจญด้วยเช่นกัน จงดูพระพุทธองค์เป็นตัวอย่าง ระลึกถึงท่านไว้เป็นพุทธานุสติ เพื่อความตั้งมั่นในกิจที่ทำ

    วันใดก็ตามที่เราตั้งใจถือศีลใดๆ ถ้าเราตายในวันนั้นเราจะได้ไปสุคติภูมิทันที(ยกเว้นการทำอนันตริยกรรมมาก่อน) คนเราสามารถตายเมื่อไหร่ก็ได้ วันไหนก็ได้ ถ้าเราถือศีลได้ทุกวัน ตายเมื่อไหร่ก็ไม่ตกนรกชัวร์ เราอาจไม่ได้เก่งกาจถึงขั้นเป็นพระโสดาบัน ปิดอบายภูมิ 4 ได้โดยอัตโนมัติ แต่เราสามารถป้องกันตัวเองได้ด้วยการถือศีล อ่านะดีใช่มั้ยละ!!

    เข้าเรื่องของศีลอุโบสถกันดีกว่า(ผมจะพูดถึงเฉพาะศีลอุโบสถแบบปกติคือ 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง)
    1. ศีลอุโบสถจะทำได้เฉพาะวันพระ ถ้าเป็นวันธรรมดาจะเป็นศีล 8 ถ้าเราเริ่มถือศีล 8 ในวันธรรมดาแล้วอยากจะให้เป็นอุโบสถศีลในวันพระ เราก็ควรทำการสมาทานศีลใหม่แบบศีลอุโบสถ(เพราะคำอาราธนาศีลอุโบสถ กับศีล 8 แตกต่างกัน)เพื่อให้ศีล 8 ของเรากลายเป็นอุโบสถศีล พอหมดเวลา 24 ชั่วโมงของศีลอุโบสถแล้ว เราก็มาสมาทานศีล 8 ใหม่ในวันปกติ (จริงๆแล้วเราสมาทานศีลแค่ 2 ครั้งนะครับ ไม่ใช่ทุกวัน แต่ถ้าจะสมาทานศีลทุกวันก็ดีครับจะได้เป็นการเตือนสติสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ แต่กับพระอรหันต์ถามว่าท่านต้องมาสมาทานศีลกันอยู่มั้ย คำตอบคือเขามีศีลอยู่ในใจ ในสันดานอย่างครบถ้วน ถือศีลได้โดยปกติ ไม่ต้องสมาทานศีลกันแล้วครับ)
    2. การหมดเวลารักษาศีลไม่ใช่เวลาเที่ยงคืน หรือ 00:00 น. แต่คือรุ่งเช้าของวันใหม่หรือพระอาทิตย์ขึ้น ประมาณ 6 โมงเช้า
    3. วันที่จะทำการถือศีลอุโบสถควรรีบตื่นแต่เช้า ไปล้างหน้าแปรงฟันให้เรียบร้อย ยังไม่ต้องอาบน้ำแต่งตัว เพราะจะได้ไม่ขัดต่อศีลที่รับ เช่น ทาแป้ง เพราะถ้ารับศีลมาแล้วแต่ตัวยังมีกลิ่นหรือคราบแป้งติดอยู่มันก็จะดูไม่เหมาะถูกมั้ยครับ หรือจะอาบน้ำก่อนก็ได้แต่ต้องระวัง เรื่องนี้ละเอียดอ่อนพอสมควร ต้องคิดไตร่ตรองให้ดีๆ ควรใส่ชุดสีโทนอ่อน เช่น ขาว ฟ้า ชมพู เหลืองอ่อน เขียวอ่อน แล้วมาทำพิธีการถือศีลให้เรียบร้อย จากนั้นจึงค่อยทานอาหารเช้า
    4. ข้อควรระวัง คือเรื่องการทานอาหาร 2 มื้อก่อนเที่ยงวัน เพราะบางคนยังติดพฤติกรรมการกินในวันปกติอยู่จึงยังไม่ทันได้คิดวางแผนการกินอาหาร จึงทำให้เกิดปัญหาหิวจัดในยามวิกาล ทรมานจากการหิว อาหารมื้อเช้าควรทานแค่พออิ่ม แล้วมื้อกลางวันประมาณ 11 โมงหรือ 11.30 จึงทานเยอะหน่อย เน้นพวกแป้งเพื่อเพิ่มพลังงานและอิ่มนาน ส่วนเนื้อสัตว์กับผักผลไม้ควรทานในปริมาณเท่าๆกัน เพราะเนื้อสัตว์ให้พลังงานสูงแต่อิ่มไม่นาน ส่วนผักผลไม้ทำให้อิ่มนานแต่ให้พลังงานต่ำ ทานข้าว เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้าว 40,50% เนื้อสัตว์ 30,25% ผักผลไม้ 30,25% แล้วตบท้ายด้วยนมอีกทีกันเหนียว พยายามอย่าออกกำลังกายหรือทำงานหนักมากเกินไป เพราะร่างกายจะดึงพลังงานออกมาใช้ และผลิตน้ำย่อยออกมามาก
    5. การปฏิบัติการสมาทานศีล รักษาศีลอุโบสถ จะไปทำที่วัดหรือทำที่บ้านก็ได้(แต่ที่วัดน่าจะเวิร์คกว่าเพราะจะมีพระพาสวดให้เลย)

    วิธีการสมาทานศีลอุโบสถ
    ความจริงเราควรไปทำขั้นตอนนี้ที่วัดจะดีกว่า เพราะจะมีพระมาสวดนำให้ ซึ่งถ้ามัวมานั่งอ่านนั่งคิดวิเคราะห์เอาเองจะพาให้งงเปล่าๆ หรือถ้าเราจะทำเองที่บ้านก็อาจจะมีการสวดคำสมาทานต่างๆพอเป็นพิธีแล้วตั้งจิตตั้งใจบอกว่าตนเองจะถือศีลอุโบสถในวันนี้ เอาแค่นี้ก็ได้ แต่เพื่อเป็นการเตรียมตัวในเบื้องต้น และความเข้าใจในศีลบางข้อ อีกทัั้งจะได้รู้ขั้นตอนที่วัดบ้างผมก็จะลงไว้ให้ก็แล้วกัน (ปล.พอเสร็จพิธีที่วัดแล้วจะกลับบ้านก็ได้หรือจะพักอาศัยที่วัดเพื่อปฏิบัติธรรมต่อ และป้องกันไม่ทำให้ศีลอุโบสถด่างพร้อย)

    คำสมาทานศีลอุโบสถ
    ศีลอุโบสถต้องกล่าวอธิษฐานรับมา
    ขั้นตอนที่ ๑ กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์
    (เบญจางคประดิษฐ์)

    ขั้นตอนที่ ๒ บูชาพระรัตนตรัย
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
    พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
    ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สังฆัง นะมามิ (กราบ)

    ขั้นตอนที่ ๓ อาราธนาศีลอุโบสถ(ไม่เหมือนกับคำอาราธนาศีล 8) ถ้าจะฝึกท่องจำไว้บ้างก็ดี หรือไม่ก็จดพกติดตัวไว้อ่านด้วยเวลาไปที่วัด
    มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ
    มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ
    มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ
    ( กรณีว่าคนเดียวให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง, เปลี่ยน ยาจามะ เป็น ยาจามิ ) --> แต่จริงๆแล้วไม่ต้องเปลี่ยนหรอกครับเอาตามบทสวดนั่นแหละ

    ขั้นตอนที่ ๔ นมัสการพระพุทธเจ้า ( นั่งพับเพียบ )
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    ขั้นตอนที่ ๕ ไตรสรณคมน์
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ขั้นตอนที่ ๖ สมาทานศีลอุโบสถ
    1.ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    2.อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    3.อะพรหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ(ศีล 5 คือกาเมสุมิจฉาจาร ชายหญิงอยู่ใกล้กันได้ แต่ศีล 8 หรืออุโบสถศีล ชายหญิงอยู่ใกล้กันไม่ได้)
    4.มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    5.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    6.วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    7.นัจจะคี ตะวาทิ ตะวิสุกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะ ทาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    8.อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

    ขั้นตอนที่ ๗ อธิษฐานรักษาศีลอุโบสถ(อันนี้ก็ควรหัดท่องจำเพื่อจะได้รู้อักขระตัวอักษร เวลาที่พระนำสวดจะได้ท่องถูก หรือไม่ก็จดพกติดตัวไว้อ่าน)
    อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ
    รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ
    ( ข้าพเจ้าสมาทานอุโบสถ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ อันประกอบด้วย
    องค์ ๘ ประการ ดังได้สมาทานมาแล้วนี้ จะรักษาไว้ให้ดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้
    ทำลาย ตลอดวันหนึ่ง คืนหนึ่ง ณ เวลาวันนี้ )

    ขั้นตอนที่ ๘ สรุปศีลอุโบสถ(พระกล่าว)
    อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อุโปสะถะวะเสนะ มะนะสิกะริตวา สาธุกัง อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ
    พอจบแล้ว ฆราวาสพูดรับว่า อามะภันเต(เกี่ยวกับการถามเรื่องการเป็นมนุษย์ประมาณนี้แหละ อามะภันเตแปลว่า ใช่)

    ขั้นตอนที่ ๙ กราบลาพระ
    กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์

    อานิสงส์อุโบสถศีล
    ผมไม่ลงรายละเอียดให้นะ แต่ขอให้เชื่อเถอะว่าเยอะมาก หรือไม่ก็ลองไป search หาอ่านเอาเองก็ได้

    เคล็ดลับการถือศีล
    ดังที่ผมบอกไปในตอนต้นว่าศีลมีความสำคัญมากกว่าชีวิตมนุษย์ และการถือศีลอุโบสถยังมีอีก 3 ระดับคือ โคปาลกอุโบสถ นิคัณฐอุโบสถ อริยอุโบสถ แต่ผมไม่เอารายละเอียดมาลงให้อ่านเพราะเห็นว่าไม่จำเป็น เราควรระลึกว่าจะรักษาศีลด้วยชีวิตของเรา และพยายามปฏิบัติธรรมร่วมด้วยเพื่อความไม่ฟุ้งซ่าน แล้วผลลัพธ์จะออกมาดี คือมันก็เหมือนกับนักเรียน 2 คน คนนึงนั่งจดจ่อดูนาฬิกาว่าเมื่อไหร่จะหมดเวลาชั้นเรียน กับอีกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานจนเพลิน พอหมดเวลาก็บอกว่าทำไมเวลาเดินเร็วจัง นั่นแหละครับ

    ถ้าข้อมูลทั้งหมดนี้ผิดพลาดประการก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ และผมหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย

    ให้เครดิต
    dhammataan.wordpress.com
    th.wikipedia.org
    www.watbuakhwan.com
    www.trisarana.org
    www.dmc.tv อันนี้เว็บของวัดพระธรรมกายแต่อย่าพึ่งกังวลไป ข้อมูลที่ผมเอามาจากเว็บนี้ไม่ได้เป็นข้อมูลหลักของกระทู้ แต่ผมต้องให้เครดิตเค้าด้วย เพราะข้อมูลที่เชื่อถือได้ของวัดพระธรรมกายก็มีอยู่
     

แชร์หน้านี้

Loading...