สติเกิดเองไม่ได้ ต้องเจริญต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสวนัง, 10 พฤศจิกายน 2009.

  1. กุนซือ

    กุนซือ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +33
    สติมันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่จะเป็นมิจฉาสติ หรือสัมมาสติเท่านั้นเอง

    ตัวอย่างมิจฉาสติ

    พุทธทาส:-แม้คนโง่ไม่รู้จักพระนิพพานเอาเสียเลย เขาก็ยังลงไปกินไปอาบในสระแห่งนิพพานนั้นได้โดยไม่รู้สึกตัว ข้อนี้ก็เพราะว่า พระนิพพานเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในที่ทั่วไป

    นิพพานสำหรับทุกคน
     
  2. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ประเด็น เรื่อง การเพ่ง

    มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันอีกจุดหนึ่ง คือ คำว่า "เพ่ง"







    ประเด็น...มีรูปฌาน๑-๔ ที่เป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน คืออย่างไร

    ควรอ่าน

    ทันตภูมิสูตร ที่ ๕
    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

    http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=14&item=388&items=1&preline=0&pagebreak=0



    ฌาน หรือ การเพ่ง ในพระสูตรนี้ และ อีกหลายๆพระสูตร ...หาใช่เป็นเพราะ การเผลอ(ขาดสติ) หรือ ที่เรียกกันในปัจจุบันว่า เผลอเพ่ง.(ซึ่งมีความหมายในทางลบ)

    แต่ รูปฌาน๑-๔ ในพระสูตรนี้ บังเกิดจากการที่จิตมีสติพิจารณากายในกาย(เวทนา จิต ธรรม) อย่างสืบเนื่อง ไม่ขาดสติ จิตจึงเป็นฌาน น่าจะเรียกว่า เพราะไม่เผลอจึงชื่อว่าเพ่ง....(ซึ่งมีความหมายในทางบวก)



    หรือ ลองอ่าน อินทริยภาวนาสูตร

    http://202.44.204.76/cgi-bin/stshow.pl?book=14&lstart=10862

    ดูกรอานนท์
    นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
    เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
    นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ


    ในพระสูตรนี้ กล่าวถึง" การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ"

    และ ในท้ายพระสูตรตรัสสรุปด้วยคำว่า "เพ่งฌาน"

    ในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงคำว่า"รู้ชัด"คือ มีสติระลึกได้ เอาไว้ ดังนี้

    [๘๕๗] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขาๆลๆ


    การเพ่งฌาน ในลักษณะนี้ จึงเป็นการเพ่งฌานเพราะรู้ชัด คือ มีสติ .... เป็นลักษณะ เพราะไม่เผลอจึงชื่อว่าเพ่ง เช่นกัน


    ................................



    อนึ่ง คำว่า เพ่ง นอกเหนือที่มาจากคำว่า ฌาน แล้ว


    คำว่า เพ่ง ในลักษณะที่อาจจะไม่ใช่ความหมาของคำว่า ฌาน ก็ยังมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกแปลไทย หลายต่อหลายแห่ง....

    เป็นความหมายไปในทางที่ดี คือ พึงเจริญ ครับ

    เป็นความหมายไปในทางที่มีสติจดจ่อ พิจารณาธรรม(อาจจะตรงกับ ลักขณูปฌิชฌาน ใน ระดับคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล)


    เช่น

    http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=0&valume=17&item=124&Roman=0

    [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    ก็ภิกษุเป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เป็นอย่างไร?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    ย่อมเพ่งพินิจโดยความเป็นธาตุประการหนึ่ง
    โดยความเป็นอายตนะประการหนึ่ง
    โดยความเป็นปฏิจจสมุปบาทประการหนึ่ง.


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    อย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ. ภิกษุฉลาดในฐานะ ๗ ประการ

    ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เรา เรียกว่า ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.
     
  3. กุนซือ

    กุนซือ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +33
    มันคนละอย่างกันต้องเรียกให้ถูก ฌาน คือสัมมาสมาธิ

    ส่วนสติ คือสติปัฎฐาน ๔

    ๒ อย่างนี้ต้องใช้คู่กันเสมอจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

    การที่เรานั่งสมาธิ แล้วลืมตัวไปเลย เมื่อขึ้นฌานสูงขึ้นไป ไม่ได้เรียกว่าเผลอ ต้องเรียกว่ามีสติที่สมาธิฌานที่สูงขึ้นไป
     
  4. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ประเด็น สติต้องเกิดเองโดยไม่ได้ตั้งใจ? (ห้ามไม่ให้ตั้งใจ)




    คำว่า ตั้งใจ นั้น ต้องพิจารณากันให้ละเอียด



    1.จาก พจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน

    ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ

    สติที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ตั้งใจ...นัยยะหนึ่ง ที่กล่าวกันมากในปัจจุบัน คือ จะหมายถึง เกิดโดยปราศจาก การเอาใจจดใจจ่อ หรือ ปราศจากความพยายาม(ห้ามพยายาม=ห้ามเพียร?=ห้ามวิริยะ?=ห้ามสัมมาวายามะ?)

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

    สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรในที่ ๔ สถาน ได้แก่
    ๑. สังวรปธาน
    ๒. ปหานปธาน
    ๓. ภาวนาปธาน
    ๔. อนุรักขนาปธาน
    (ข้อ ๖ ในมรรค);
    ดู ปธาน

    วิริยะ ความเพียร, ความบากบั่น, ความเพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี, ความพยายามทำกิจ ไม่ท้อถอย
    (ข้อ ๕ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๓ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๒ ในอิทธิบาท ๔)


    ตรงจุดนี้ ผมขอเสนอ บทธรรมของ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต ที่ท่านเคยสอน เกี่ยวกับ การเจริญสติปัฏฐาน ครับ

    พระธรรมเจดีย์ :

    นิวรณ์แลสังโยชน์นั้น ข้าพเจ้าทำไมจึงไม่รู้จักอาการ คงรู้จักแต่ชื่อของนิวรณ์แลสังโยชน์ ?

    พระอาจารย์มั่น :

    ตามแบบในมหาสติปัฏฐานพระพุทธเจ้าสอนสาวก ให้รู้จักนิวรณ์แลสังโยชน์

    พระสาวกของท่านตั้งใจกำหนดสังเกต ก็ละนิวรณ์แลสังโยชน์ได้หมดจนเป็นพระอรหันต์โดยมาก

    ส่วนท่านที่อินทรีย์อ่อน ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็เป็นพระเสขบุคคล

    ส่วนเราไม่ตั้งใจไม่สังเกต เป็นแต่จำว่านิวรณ์หรือสังโยชน์ แล้วก็ตั้งกองพูดแลคิดไปจึงไม่พบตัวจริงของนิวรณ์และสังโยชน์ เมื่ออาการของนิวรณ์แลสังโยชน์อย่างไรก็ไม่รู้จัก แล้วจะละอย่างไรได้

    พระสุปฏิปันโน ท่านสอนให้เบื้องต้น ต้องตั้งใจก่อน แน่นอนครับ




    2. แต่ ในปัจจุบัน คำว่า ตั้งใจ จะมีความหมายไปในทาง การมีเจตนา ด้วย

    เช่น ไม่ได้ตั้งใจจะทำให้เกิดความเสียหาย คือ ไม่ได้มีเจตนาจะทำให้เกิดความเสียหาย ๆลๆ

    สติที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ตั้งใจ(ในลักษณะที่เป็นอัตโนมัติ) ....อีกนัยยะหนึ่ง จะสื่อถึง ความหมายในแบบนี้คือ เป็นของที่เป็นเองโดยอัตโนมัติ คือ ณ ขณะนั้น(เมื่อประกอบเหตุพร้อมแล้ว ) ไม่ใช่ทั้งการจงใจให้เกิด และ ไม่ใช่ทั้งการปราศจากเหตุปัจจัย.... ตรงจุดนี้ ครูบาอาจารย์ท่านจะเรียกว่า เป็นโลกุตระกุศล หรือ กุศลที่พ้นเจตนา.และ.... นี่ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นลอยๆ แต่อย่างใดครับ




    เรา-ท่าน ที่คงไม่น่าจะใช่ ขิปปาภิญญา(ตรัสรู้ฉับพลัน เช่น ท่านพาหิยะ ท่านสันตติมหาอำมาตย์) มา มุ่งประกอบเหตุ คือ ตั้งใจ(ให้พอดี)ในการเจริญสติปัฏฐานกันดีกว่าครับ
     
  5. กุนซือ

    กุนซือ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +33
    เจริญสติปัฎฐาน ๔ อย่างเดียวบรรลุพระนิพพานไม่ได้หรอกครับ

    เครื่องสนับสนุนสัมมาสมาธิ

    ปัญหา อะไรคือเครื่องประกอบสนับสนุนสัมมาสมาธิ ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิอันประเสริฐ ที่มีที่อาศัย มีเครื่องประกอบคืออย่างไร ? คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะฯ สัมมาสติ
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ความที่จิตประกอบด้วยอุปกรณ์ ๗ อย่าง เหล่านี้เรียกว่า สัมมาสมาธิอันประเสริฐ มีทั้งที่อาศัย มีทั้งเครื่องประกอบ....”

    สมาธิสูตร มหา. สํ. (๘๒-๘๓)
    ตบ. ๑๙ : ๒๕-๒๖ ตท. ๑๙ : ๒๒
    ตอ. K.S. ๕ : ๑๙

    เบื้องต้นของสติปัฏฐาน ๔

    ปัญหา ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว ทูลขอร้องให้พระองค์ทรงแสดงธรรมโดยย่อ เพื่อจะได้ไปปฏิบัติอย่างจริงจังต่อไป... ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงชำระข้อปฏิบัติเบื้องต้นในธรรมทั้งหลายให้บริสุทธิ์ก่อน เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร ? คือศีลที่บริสุทธิ์ ดีและความเห็นตรง เมื่อใดศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดีและความเห็นของเธอจักตรงเมื่อนั้นเธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓.....
    “เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายภายใน.... ภายนอก ...ทั้งภายในภายนอก.... จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายใน.... ภายนอก ...ทั้งภายในภายนอก....
    จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายใน.... ภายนอก ...ทั้งภายในภายนอก....
    จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายใน.... ภายนอก ...ทั้งภายในภายนอก....อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
    “ดูก่อนภิกษุ เมื่อใดเธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้โดยส่วน ๓ อย่างนี้เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ตลอดคืนหรือวันอันจักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย...”

    ภิกขุสูตร มหา. สํ. (๖๘๖-๖๘๙)
    ตบ. ๑๙ : ๑๙๒-๑๙๓ ตท. ๑๙ : ๑๘๕-๑๘๖

    อธิบายองค์มรรคทั้ง ๘

    ปัญหา องค์แต่ละอย่างแห่งอริยมรรคคืออะไร ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์ ในเหตุแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.....

    “ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ....

    “เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา...

    “เจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ การถือเอาของที่เขาได้ให้ และการไม่ผิดลูกผิดเมียเขานี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ....

    “อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ....

    “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังความพอใจให้เกิด พยายามปรารภความเพียรตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น ปรารภความเพียร เพื่อความตั้งมั่นไพบูลย์ เพิ่มพูนแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ...

    “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นภายในกายเนือง ๆ พิจาณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้เรียกว่าสัมมาสติ....

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ เธอบรรลุทติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก วิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ให้ฌานนี้มีอุเบกขา สติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะทุกข์และสุข และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ "

    วิภังคสูตร มหา. สํ. (๓๔-๔๑)
    ตบ. ๑๙ : ๑๐-๑๒ ตท. ๑๙ : ๙-๑๐
    ตอ. K.S. ๕ : ๗-๙
     
  6. กุนซือ

    กุนซือ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +33
    คือต้องได้ฌาน ๔

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ เธอบรรลุทติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก วิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ให้ฌานนี้มีอุเบกขา สติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะทุกข์และสุข และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ "

    ฌาน ๔ นำไปสู่นิพพานได้

    ปัญหา ลำพังการทำสมาธิจนได้ฌาน จะสามารถนำไปสู่นิพพานได้หรือไม่ ?

    พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก หลั่งไปสู่ทิศตะวันออก บ่าไปสู่ทิศตะวันออกฉันใด ภิกษุเจริญพอกพูนซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฉันนั้น....
    “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ (คือ รูป ราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา) เหล่านี้แล”

    ฌานสังยุต มหา. สํ. (๑๓๐๑-๑๓๐๔ )
    ตบ. ๑๙ : ๓๙๒-๓๙๓ ตท. ๑๙ : ๓๖๐-๓๖๑
    ตอ. K.S. ๕ : ๓๗๒
     
  7. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    การเจริญสติปัฏฐาน ก็คือ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘

    ถ้าเจริญสติปัฏฐาน ๔ ถูกต้องตามแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอนแล้ว
    ย่อมบรรลุพระนิพพานได้แน่นอน

    เพราะการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง
    เป็นการปฏิบัติทางจิต เป็นทางเดินของจิต ซึ่งมีทางเดียวเท่่านั้น
    ทางอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว

    ดังมีพระพุทธพจน์รับรองไว้ดังนี้


    คาถาธรรมบท มรรควรรค (มรรค ๘)

    ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัศนะ ทางอื่นไม่มี
    เพราะเหตุนั้นท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แหละ
    เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลง
    ด้วยว่าท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

    มหาสติปัฏฐานสูตร (สติปัฏฐาน ๔)

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
    เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
    เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฯ

    (smile)
     
  8. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง

    การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง

    ต้องเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติสมาธิ เจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ)
    บรรพะแรกในการเจริญสติปัฏฐาน ดังแสดงไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
    เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า...ฯลฯ...(สัมมาสติ)
    การที่จิตจะเป็นสมาธิได้ ต้องอาศัยความเพียรประกอบด้วย (สัมมาวายามะ)

    และจิตจะเป็นสมาธิบรรลุปฐมฌานได้ ต้องสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    (คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ = ศีล)

    เมื่อจิตเป็นสมาธิ(จิตตั้งมั่นชอบ) ก็ย่อมได้ศึกษารู้จักอารมณ์ตามความเป็นจริง
    เกิดญาณรู้ตามความเป็นจริง (ปัญญา) คือ รู้อริยสัจ ๔ (สัมมาทิฐิ)
    และเกิดปัญญาปล่อยวางความยึดถืออารมณ์ต่างๆออกไปได้ (สัมมาสังกัปปะ)

    สรุป
    อริยมรรค ๘,ศีล-สมาธิ-ปัญญา,สติปัฏฐาน ๔ เป็นเรื่องเดียวกัน
    เป็นวิธีปฏิบัติทางจิตเพื่อให้จิตพ้นจากทุกข์
    และเป็นภาเวตัพพะ ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต
    เกิดเองไม่ได้

    (smile)
     
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471




    ปุจฉา (smile) อันความหมายของ การสละ ค่ะ ?
     
  10. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    การสละ ณ ตรงนี้ น่าจะตรงกับคำในพระบาลีที่ว่า สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค
    คือ สละคืนอุปธิทั้งปวง หรือก็คือ คืนความยึดติดทั้งปวงออกไป
    อย่างที่บอก ต้องอยู่ที่สัมมาสมาธิฌานที่ ๔ น่ะค่ะ อุเปกฺขา สติปาริสุทฺธึ

    นึกถึงพระยสกุลบุตร ที่รำพึงว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ
    แล้วพระองค์ตรัสว่า ที่นี่ไม่วุ่นวายหนอ ที่นี่ไม่ขัดข้องหนอ
    (ที่นี่ ของพระองค์ น่าจะตรงสัมมาสมาธิ ฌานที่ ๔ นี้ล่ะค่ะ)

    เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ
    ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค
    ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ


    ที่นี่สงบหนอ (แม้กระทั่งลมหายใจ) ที่นี่ประณีตหนอ
    ณ ที่นี้ สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงดับเงียบ คืนความยึดติดทั้งปวงออกไป
    สิ้นตัณหา สิ้นความยินดี กิเลสดับ เป็นนิพพาน(สิ้นทุกข์)


    (smile) คุณหม้อ... ผู้มีลีลา...ดี เห็นว่าอย่างไรคะั ?
     
  11. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471




    :boo: วุ้ย ! มาจากไหนกันเนี๊ยะ
    มาเป็นชุดเลยนะคะ คุณหม้อ ...!
    นั่นซิ นะ รสชาดอมเปรี้ยวอมหวาน
    แต่ .. บางที มันก็แยกไม่ออกเหมือนกันนะคะ
    ระหว่าง สละ กับ ระกำ น่ะ










     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ระกำ.jpg
      ระกำ.jpg
      ขนาดไฟล์:
      100.4 KB
      เปิดดู:
      287
    • สละ.jpg
      สละ.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.7 KB
      เปิดดู:
      267
  12. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [QUOTE=ธรรมะสวนัง;2658580]
    การสละ ณ ตรงนี้ น่าจะตรงกับคำในพระบาลีที่ว่า สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค
    คือ สละคืนอุปธิทั้งปวง หรือก็คือ คืนความยึดติดทั้งปวงออกไป
    อย่างที่บอก ต้องอยู่ที่สัมมาสมาธิฌานที่ ๔ น่ะค่ะ อุเปกฺขา สติปาริสุทฺธึ

    นึกถึงพระยสกุลบุตร ที่รำพึงว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ
    แล้วพระองค์ตรัสว่า ที่นี่ไม่วุ่นวายหนอ ที่นี่ไม่ขัดข้องหนอ
    (ที่นี่ ของพระองค์ น่าจะตรงสัมมาสมาธิ ฌานที่ ๔ นี้ล่ะค่ะ)

    เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ
    ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค
    ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ


    ที่นี่สงบหนอ (แม้กระทั่งลมหายใจ) ที่นี่ประณีตหนอ
    ณ ที่นี้ สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงดับเงียบ คืนความยึดติดทั้งปวงออกไป
    สิ้นตัณหา สิ้นความยินดี กิเลสดับ เป็นนิพพาน(สิ้นทุกข์)


    (smile) [/QUOTE]


    กราบสาธูการ คุณพี่ค่ะ (f)
     
  13. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ตามนั้น.....55+ที่ตอบมา มันไม่เห็นจะตามนั้นเลยอะค่ะ
    เพราะต่อด้วยคำว่า
    ท่านครับ แต่อย่าลืมสิว่า
    พระพุทธเจ้าท่านสอนคนหลากหลายตามวาสนาบารมีที่สั่งสมมา
    แล้วคราวนี้ ที่ว่าสัมมาสมาธิ จะต้องเป็นฌานที่4 เสมอไปหรือไม่ล่ะ
    อรหันต์ผู้มีไม่ได้ฌาน4 ที่เรียก สุขวิปัสโก ไง
    แล้วจะเอาฌาน4 ที่ไหนมาวิปัสนาฆ่ากิเลสมัน

    ใครบอกคะ พระสุกขวิปัสสโก ไม่ได้ผ่านฌาน ๔ ในสัมมาสมาธิ
    พูดอย่างนี้ ขัดกับที่พระพุทธองค์ทรงสอนนะคะ
    (มรรค ๘ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา...สัมมาสมาธิฌานที่ ๔ อยู่ในองค์มรรค)

    และคุณก็พูดเองไว้ข้างบนนะว่า

    มรรคทั้ง 8 จึงหมุนวนเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อให้มันทำงานเต็มประสิทธิภาพ
    ก็ถ้าไม่ผ่านสัมมาสมาธิ ฌานที่ ๔ ซึ่งอยู่ในองค์มรรค ๘
    แล้วมรรคจะสมังคี จะหมุนเวียนหนุนเนื่องกันได้ยังไงคะ
    ลองพิจารณาดูนะคะว่า พูดขัดขาตัวเองรึเปล่า???

    อ้อ แล้วจำพระสูตรนี้ได้ใช่มั๊ย
    ในเมื่อพระสุกขวิปัสสโก เป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา
    ดังนั้นแสดงว่าต้องปฏิบัติอริยมรรค ๘ ตามเสด็จ
    และสัมมาสมาธิ ฌานที่ ๔ ก็เป็นหนึ่งในองค์มรรค

    และยังมีปรากฏในพระไตรปิฎกว่า
    ให้ภิกษุพึงศึกษา อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
    ซึ่งก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง


    แล้วทราบกันมั๊ยว่า อธิจิตตสิกขา หมายถึงอะไร
    ก็ไม่พ้นต้องมีการปฏิบัติสัมมาสมาธินั่นเองค่ะ

    (smile)
     
  14. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ถ้าสัมมาสมาธิฌานที่ ๔ เนี่ย มันไม่ติดในองค์ฌานแล้วค่ะ พ่อคุณ
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
    และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่


    อ้อ ไม่ทราบเคยกล่าวไว้ตรงไหนมิทราบคะว่า
    เวลาปฏิบัติต้องคอยคิดว่า ตอนนี้ฌาน ๑ แล้ว อ้อ นี่ฌาน ๒ แล้ว
    ผู้ปฏิบัติระดับเด็กๆ เค้าก็รู้กันทั้งนั้นแหละค่ะว่า
    เค้าไม่มาคิดกันหรอกว่าตอนนี้เราอยู่ฌานไหน
    เราปฏิบัติเพื่อจะหยุดคิดนะจ๊ะ
    ไม่ใช่มันจะคิดอะไรก็ปล่อยให้มันคิด เราแค่ตามดู(มันคิด)เฉยๆ
    55+อันนั้นตามดูอาการของจิตแล้วล่ะค่ะ


    แล้วที่ต้องฝึกเข้าฝึกออก ให้ชำนาญเป็นวสีน่ะ
    ก็เพื่อจะได้มาใช้ในชีวิตประจำวันไงจ๊ะ
    เวลากระทบอารมณ์ ก็จะได้เอาความชำนาญที่ฝึกไว้ตอนนั่งสมาธิ
    มาใช้ปล่อยวางอารมณ์ที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ไง
    ที่เรียกว่า พิจารณากายในกายเป็นภายนอก อะจ้า ท่านหม้อ...ผู้มีลีลา...ดี

    (smile)
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    [​IMG]



    [​IMG]

    เอ้า...อีกที ชัดๆ ...
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านหม้อครับ ที่ท่านพูดมานี้หาชอบไม่
    การพูดโดยอ้างอิงพุทธพจน์นั้น
    เป็นการใช้พุทธพจน์มารองรับว่าไม่ได้พูดตามกิเลส

    การที่ท่านไม่สามารถตอบพุทธพจน์ได้ ก็ใช้กิเลสอ้างว่า คนอื่นใช้พุทธพจน์กิเลสอ้าง
    แบบนี้ พุทธพจน์เสียหายหมดนะ เป็นการทำบาปโดยไม่รู้ตัว
    ถ้าเราไม่เชื่อพระพุทธพจน์แล้วเราจะเชื่อใครที่ไหน ได้ดียิ่งกว่าพระพุทธพจน์อีกหละ
    แม้แต่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
    ยังต้องอ้างพระพุทธพจน์เพื่อมารองรับคำสอนของท่านเลย

    แล้วเราจะได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธหรือ
    แม้แต่พระพุทธวจนะของพระบิดาเรายังปฏิเสธ

    ส่วนเรื่องสมาธินั้น มีมาก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงอุบัติขึ้นเสียอีก
    พระพุทธพจน์ถึงได้ทรงแยก สัมมาสมาธิ ออกจากสมาธิทั่วไป

    อะไรๆก็สัมมาๆ สัมมานี่อยู่ในอริยมรรค ๘ นะ
    ถ้าอะไรๆไม่สัมมา ก็ไม่มีอริยมรรคสิ

    ;aa24
     
  17. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471




    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>อุปัททุตัง วตโภ ที่นี่วุ่นวายหนอ อุปสัฎฐัง วตโภ ที่นี่ขัดข้องหนอ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER>[SIZE=+1]ยสกุลบุตรเดินพร่ำบ่นไปคนเดียวจนล่วงเข้าไปในป่านอกเมืองโดยไม่รู้ตัว และได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าในป่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่วุ่นวาย เมื่อยสกุลบุตรได้ยินดังนั้นก็ได้คิด เกิดความโล่งใจ และได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค [/SIZE]



    [​IMG]

    เรานึกถึงเรื่องราวพระยศเส จริง ๆ ด้วยเหมือนกันนะ
    แปลกดี จู่ๆ เราเห็นแต่ ตัวโมหะ โทสะ และตัวทิษฐิ เต็มพร่านกันไปหมดเล้ย ! :'(

    อภิที่สุดของจิต คือ จิตเมตตา ใช่มั้ย !


    [​IMG]







    <CENTER></CENTER>
     
  18. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    ไม่ได้อ่านรายละเอียดนะครับ

    ...จึงตอบว่า: สติมี 2 ประเภท
    สัมมาสติ และ มิจฉาสติ
    ส่วนรายละเอียดไปค้นเองนะครับ

    ปลีกย่อย การเกิดสตินั้นมีได้ทุกคน แต่จะเกิดโดยอัตโนมัตินั้นต้องอาศัยการฝึกเพื่อให้สัมผัสในรายละเอียด แต่ถ้าหากเพ่งเพียรจนเกินไปจะเป็นเหมือนโรคประสาทละแวดระวัง ฯ

    การกำหนดสติ จุดประสงค์เพื่อให้เป็นการตั้งสติโดยจงใจทำให่้เกิดขึ้น จนเกิดความชำนาญจนกระทั่งสติจะมีความตื่นรู้เองเป็นปรกติ หากมีอะไรมากระทบหรือได้รับพัสสะใดๆ
    เรียกว่ามีความไวขึ้น จุดนี้มีความสำคัญต่อขบวนการสุดท้ายของภพชาติมาก และดำเนินต่อไปในการเกิดใหม่ของสภาวะจิต ณ.ขณะจิตนั้นๆที่ดำเนินไปอย่างกระวนกระวายสะเปะสะประหรือหยุดนิ่งดูความเกิดดับไปอย่างเป็นกลางไม่ยินดียินร้ายต่อกระธารของกิเลส ตัณหา อุปาทานใดๆ

    โดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้ามีความเห็นว่า "สติสำคัญมาก"


    อนุโมทนา สาธุ แด่ผู้เดินทางไปยังแสงสว่างแห่งปัญญา ความสุขชั่วนิรันดร์
     
  19. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255

    พูดแล้วก็แถไปได้เรื่อยๆนะจ๊ะ พ่อหนุ่มน้อยหม้อ...ผู้มี...ลีลา.ดี

    55+ค้่านคนยกพุทธพจน์มาแจกแจงแสดงหลักฐาน
    เพราะพุทธพจน์ที่ยกมานั้น ไม่ตรงกับใจพ่อหนุ่มล่ะสิท่า
    กิเลสของพ่อหนุ่มมันชอบยอกย้อนพุทธพจน์สินะ
    ถึงพูดมาได้ว่า พุทธพจน์กิเลสอ้าง...

    (smile)
     
  20. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ในเมื่อไม่ได้อ่านละเอียด ก็คงต้องขอกล่าวอีกครั้ง

    สติแบบที่คนในโลกเข้าใจ ...ระลึกรู้เรื่องอะไร(อารมณ์)ขึ้นมา ก็เรียกว่า มีสติ
    รู้แล้วยึด(อารมณ์) ปรุงแต่งไปตามเรื่อง(อารมณ์)ที่ระลึกรู้ขึ้นมา
    เป็นกระบวนการเกิดของขันธ์ ๕ ตลอดเวลา ไม่ได้เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์
    เพราะเมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป
    จิตก็แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป


    สติแบบที่เข้าใจนี้ มีในคนทุกคน ทุกชาติ ทุกศาสนา

    สติแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอน = สัมมาสติ ต่างจากสติแบบที่คนในโลกเข้าใจ
    เพราะสัมมาสติ เป็นมรรคจิต เป็นทางเดินของจิตเพื่อความพ้นทุกข์

    สัมมาสติ คือ ระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติอย่างต่อเนื่อง(สติปัฏฐาน)
    จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆที่เข้ามาปรุงแต่งจิต
    เป็นกระบวนการยับยั้งการเกิดของขันธ์ ๕ ที่จิต เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์
    เพราะเมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป
    จิตก็ไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป


    ● พระพุทธองค์ตรัสว่า
    จำเ้พาะในธรรมวินัยนี้(ศาสนาพุทธ)เท่านั้น ที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘

    สัมมาสติ อยู่ในองค์อริยมรรค ๘

    ● ในธัมมจักกัปปวัตนสูตร ทรงแสดงกิจที่พึงทำในอริยสัจ ๔ คือ
    ทุกข์ เป็นปริญเญยยะ ควรกำหนดรู้
    สมุทัย เป็นปหาตัพพะ ควรละ
    นิโรธ เป็นสัจฉิกาตัพพะ ควรกระทำให้แจ้ง
    มรรค เป็นภาเวตัพพะ ควรเจริญ

    เพราะฉะนั้น สัมมาสติ คือ สติในองค์มรรค เกิดขึ้นเองไม่ได้
    ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต

    นั่นคือ ต้องปฏิบัติอริยมรรค ๘ หรือสติปัฏฐาน ๔ ตามเสด็จเท่านั้นจึงจะเกิดสัมมาสติ

    (smile)
     

แชร์หน้านี้

Loading...