เรื่องเด่น สภาวะของนิพพานจากหลักฐานในพระไตรปิฎก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สุปราณะ, 10 พฤศจิกายน 2010.

  1. สุปราณะ

    สุปราณะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    206
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +122
    IMG_0634.jpg


    สภาวะของนิพพานจากหลักฐานในพระไตรปิฎก

    คำว่า "นิพพาน" เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของความหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อ ว่า นิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานเช่นเดียวกับคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุกข์

    คัมภีร์พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะของฝ่ายเถรวาท ระบุไว้ชัดเจนว่า "นิพพานอันว่างจากตน" "นิพพานเป็นอนัตตา" เช่น ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก ปริวารระบุว่า อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา "สังขารทั้งปวงอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้" (วิ.ป.บาลี 8/257/194)

    นิพพานก็อยู่ใน อริยสัจจ์ 4 ด้วย คือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจจ์ข้อ 3 ที่เรียกว่า "นิโรธ" คำว่านิโรธนี้เป็น ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้กับ "นิพพาน" พระไตรปิฎกเล่ม 31 ระบุว่าอริยสัจจ์ 4 ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพาน ด้วยนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้ อนตฺตฏฺเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . . นิโรธสฺส นิโรธฏฺโฐ อนตฺตฏฺโฐ. (ขุ.ปฏิ. 31/546/450) แปลว่า: "สัจจะทั้ง 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีการตรัสรู้ด้วยกันเป็นอันเดียว (คือด้วยมรรค ญาณเดียวกัน) โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา . . . นิโรธมีความหมายว่าดับ (ทุกข์) ก็มีความหมายว่า เป็นอนัตตา " อรรถกถาอธิบายว่า อนตฺตฏฺเฐนาติ จตุนฺนมฺปิ สจฺจานํ อตฺตวิรหิตตฺตา อนตฺตฏฺเฐน. (ปฏิสํ.อ.2/229)

    ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรคระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" และในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาตมีระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ซึ่ง "ธรรม" ในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายต่อว่า "หมายรวมถึงนิพพานด้วย" นอกจากนี้ ยังมีข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎกอีก หลายแห่งทั้งที่ระบุโดยตรงและโดยอ้อมที่มีนัยบอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" คำว่า "อนัตตา" มีความหมายระดับปรมัตถ์ มีนัยที่ต้องไขความต่ออีก โดยเฉพาะในคัมภีร์ชั้นหลังจะบอกว่า "ที่ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะเกิดขึ้นจากองค์ประกอบต่าง ๆ มาประชุมกัน ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอยู่ ไม่มีตัวตนที่คงที่ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้เสวย ไม่มีอำนาจในตัวเอง บังคับให้เป็นไปในอำนาจไม่ได้ แย้งต่ออัตตา"

    ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนทูลแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ที่ทรงถามว่า ถ้านิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัย นิพพานก็ย่อมไม่มี โดยกราบทูลว่า

    "ขอถวายพระพรมหาบพิตร โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานหามีไม่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่ พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย มหาบพิตร เหมือนดั่งว่าชื่อว่าไฟย่อมมีอยู่ แต่โอกาสอันเป็นที่ตั้งของไฟนั้นหามีไม่ เมื่อบุคคลเอาไม้สองอันมาขัดสีกันก็ย่อมได้ไฟขึ้นมาฉันใด มหาบพิตร นิพพานก็มีอยู่ฉันนั้นนั่นแล โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานนั้นไม่มี (แต่) พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำนิพพานให้แจ้งด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย..."(มิลินฺท.336)

    ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา ยังมีข้อความแสดงสภาวะของนิพพานอีกหลายแห่ง เช่นในปฏิสัมภิทามรรค มีอธิบายว่า นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ "ธรรมคือนิพพาน ว่างจากอัตตา เพราะไม่มีอัตตา" (ขุ.ป.อ.2/287) นอกจากนี้ในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสะพยายาม อธิบายให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนของผู้ได้ชื่อว่าบรรลุนิพพาน ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีอัตตา และนิพพานก็มิใช่สิ่งที่จะต้องมีอัตตาถึงจะมีอยู่ได้ ดังที่พระพุทธโฆสะกล่าวว่า "นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" (วิสุทฺธิ.3/101) ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใด ๆ ที่ปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วบรรลุนิพพาน เมื่อปราศจาก "ตัวตน" ของผู้เข้าถึงนิพพาน นิพพานก็ย่อมไม่ใช่อัตตาไปด้วย

    ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม (จิต) และรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350) เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ใช่จิต หรือสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ซึ่งนั่นเป็นลักษณะของพรหมมันหรืออาตมันของปรัชญาฮินดู ทั้งยังไม่ใช่เจตสิกที่อาศัยจิตเกิดขึ้น เพราะทั้งจิตและเจตสิกนั้นล้วนเป็นสังขตธรรม ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง มีธรรมชาติเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ แต่นิพพานอยู่เหนือสภาพเช่นนี้ และว่างเปล่าจากสิ่งเหล่านี้ ขณะเดียวกัน นิพพานก็ไม่ใช่ความดับสูญอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นลักษณะของอุจเฉททิฏฐิการ ใช้ภาษาอธิบายนิพพานเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นอัตตาเที่ยงแท้ (สัสสตทิฏฐิ) หรือว่าเป็นความขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ซึ่งเป็นทัศนะที่คลาดเคลื่อนจากพระบาลีทั้งสิ้น


    พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ทรงตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90) ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่สมมติว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา นี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุด ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปก็เป็นอันยุติลง สภาพความสิ้นสุดกระบวนการแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยงแปรปรวนอยู่ทุกขณะนี้ เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามดับ นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่า อสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด


    นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก การอธิบายนิพพานโดยอาศัยพื้นฐานในทางโลกตลอดจนภาษาทางตรรกวิทยาจึง ไม่อาจกระทำได้ การจำกัดความจึงมักใช้การปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ไม่ใช่ทั้งสิ่งนั้นและสิ่งนี้ ไม่มีการอุบัติ ไม่มีการจุติ ไม่มีองค์ประกอบ ไม่มีการสร้างสรรค์ ไม่มีการแตกทำลาย ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ดังปรากฏในพาหิยสูตร ความว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." (ขุ.ขุ.อ.25/50)

    เมื่อนิพพานพ้นไปจากบัญญัติในทางโลก การอธิบายถึงนิพพานจึงเป็นเพียงการเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบกับความว่างเปล่า หรือไฟที่ดับไป เป็นต้น ในวิสุทธิมรรคกล่าว ว่า "เพราะพระนิพพานเป็นคำสุขุมนัก...เป็นธรรมที่ต้องเห็นด้วยอริยจักษุ เป็นธรรมอันบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมรรค (เท่านั้น) จะพึงถึงได้" นิพพานจึงมิใช่เรื่องของการเข้าใจ แต่อยู่ที่การเข้าถึง อันเป็นผลจากการปฏิบัติธรรมของตนเอง


    นิพพาน - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มิถุนายน 2017
  2. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    สิ่งทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง พระนิพพานเท่านั้นที่เที่ยง.................

    ผู้ใดเห็นว่าพระนิพพานสูญ ผู้นั้นหยาบช้านัก เพราะพระนิพพานมีอยู่จริงแท้แน่นอน



    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔
    กถาวัตถุปกรณ์</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    [๓๒๓] ส. เพราะนิพพานย่อมไม่ละความเป็นนิพพาน ฉะนั้น นิพพานจึงชื่อว่า เที่ยงยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. เพราะรูปย่อมไม่ละความเป็นรูป ฉะนั้น รูปจึงชื่อว่า เที่ยง ยั่งยืน คงทนมีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา หรือ?
    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
    [๓๒๔] ส. เพราะรูปย่อมไม่ละความเป็นรูป ฉะนั้น รูปจึงชื่อว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนไม่คงทน มีอันแปรผันเป็นธรรมดา หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. เพราะนิพพานย่อมไม่ละความเป็นนิพพาน ฉะนั้น นิพพานจึงชื่อว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปรผันเป็นธรรมดา หรือ ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2010
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    นำมาให้ทัศนาอีกละกันครับ

    นิพพาน อันปรากฎแก่ผู้สิ้นตัณหา<O:p</O:p
    ธัมมัตถาธิบาย<O:p</O:p
    ต่อไปนี้ เป็นเนื้อความ ในธัมมัตถาธิบาย ขยายคำในพระพุทธอุทาน
    ต่อจากอรรถกถาออกไปอีก เพื่อให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ใฝ่ใจทั้งหลาย

    กล่าวคือ
    ในพระพุทธอุทานนั้นมีเนื้อความว่า สิ่งที่ไม่มีเครื่องน้อมไปเป็นของที่เห็นได้ยาก
    ของจริงไม่ใช่เป็นของที่เห็นได้ง่าย
    เครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้แทงตลอดตัณหาแล้วรู้อยู่เห็นอยู่ ดังนี้
    คำเหล่านี้พระอรรถกถาจารย์ได้แก้ทุกคำแล้ว

    คือ
    คำว่า เห็นได้ยากนั้น พระอรรถกถาจารย์แก้ไขไว้ว่า
    ผู้ที่ไม่ได้สะสมญาณบารมีไม่อาจเห็นได้ เพราะนิพพานเป็นของลึก ตามสภาพ
    เป็นของละเอียดสุขุมอย่างยิ่ง ดังนี้<O:p</O:p

    คำของพระอรรถกถาจารย์นี้
    เป็นคำปฏิเสธว่า ไม่เห็นเสียเลย ไม่ใช่ว่าเห็นได้ยาก
    นัยที่ ๒ พระอรรถกถาจารย์แก้ไขไว้ว่า
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงการบรรลุนิพพานได้ยาก
    ด้วยคำว่าเห็นได้ยาก โดยอ้างเหตุว่า การอบรมสิ่งที่ไม่มีปัจจัย
    ไม่ใช่เป็นของที่สัตว์โลกทั้งหลายจะทำได้ง่ายโดยเหตุว่าสัตว์โลกทั้งหลาย
    ได้อบรมสิ่งที่มีปัจจัยด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น ซึ่งเป็นของทำปัญญาให้ทุผลภาพเสียกำลังดังนี้ ฯ

    ได้ใจความตามนัยที่ ๒ นี้ว่า ที่ว่าเห็นได้ยากนั้น คือ สำเร็จได้ยาก ฯ
    โดยเหตุนี้ขอให้ท่านทั้งหลายจงจำไว้เถิดว่า คำว่าเห็นได้ยากนั้น
    พระอรรถกถาจารย์ว่าไว้ ๒นัย นัยที่๑ ว่า ผู้ไม่ได้สะสมญาณบารมีไว้ไม่อาจเห็นได้
    นัยนี้ชี้ให้เห็นว่า เห็นไม่ได้ทีเดียว ฯ
    นัยที่ ๒ ว่าสำเร็จได้ยาก ฯ นัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ต่อเมื่อไรได้สำเร็จจึงจะเห็นได้
    การสำเร็จนั้นย่อมเป็นการสำเร็จได้ยากฯ
    ขยายคำข้อนี้ออกไปอีกชั้นหนึ่งว่า การจะเห็นพระนิพพานนั้น
    ต้องเห็นได้ด้วยปัญญาจักษุอันเป็นปัญญาที่ประเสริฐ
    ปัญญาจักษุนั้น เป็นของที่ทำให้เกิดขึ้นได้แสนยาก
    ด้วยเหตุว่า ต้องอบรมบารมี มีทาน ศีล ภาวนาเป็นต้น อยู่จนตลอดกาลนาน
    จึงอาจทำปัญญาจักษุ คือ ดวงปัญญาอันประเสริฐให้เกิดขึ้นได้
    ขอให้ดูแต่พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายเป็นตัวอย่างเถิด คือพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญบารมี มาตลอด ๔ อสงไขยกับอีกแสนมหากัลป์
    นับแต่ได้พุทธพยากรณ์มาแล้ว
    ก่อนแต่ยังไม่ได้พุทธพยากรณ์มานั้น
    พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญมาแล้วตลอดกาลนานคือ
    ทรงบำเพ็ญในเวลาที่ตั้งความปรารถนาในใจว่า
    จะเป็นพระพุทธเจ้านั้นอีก สิ้น ๙ อสงไขย จึงได้พุทธพยากรณ์
    จากสำนักพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๔ พระองค์
    มี พระทีปังกรเป็นต้น รวมเวลาบำเพ็ญบารมีทั้ง ๓ ตอน เข้าด้วยกัน ก็เป็น ๒0 อสงไขย
    เศษแสนมหากัลป์
    จึงจะทำพระปัญญาจักษุอันประเสริฐให้เกิดขึ้น

    แต่ถึงอย่างนั้น พระองค์ก็ยังทรงทำได้แสนยากต้องทนลำบาก
    พระองค์บำเพ็ญทุกขกิริยาอยู่ถึง ๖ พรรษาเพื่อแสวงหาดวงจักษุ
    คือ ปัญญาอันประเสริฐจึงได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    ทรงเห็นพระนิพพานแจ่มแจ้งด้วยพระองค์เอง
    โดยไม่เกี่ยวกับทุกขกิริยาที่ทรงกระทำมานั้น ไม่ใช่เป็นหนทางให้พระองค์ได้ตรัสรู้
    ส่วนหนทางที่ให้พระองค์ตรัสรู้นั้น ได้แก่ อัฏฐังกิมรรค ๘ ประการ
    มีสัมมาทิฐิเป็นต้น มีสัมมาสมาธิเป็นปริโยสาน
    ที่พระองค์ทรงทำให้เกิดขึ้นด้วยทรงเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน
    คือ ทรงตั้งพระหฤทัยกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์เมื่อพระองค์ทรงบ่ม อานาปานสติ การกำหนด ลมหายใจเข้าออกนั้นให้แก่กล้านั้น
    ก็เกิดเป็นสมาธิชั้นที่ ๑ ที่๒ ที่๓ ที่๔ ซึ่งเรียกตามบาลีว่า
    ปฐมฌาน
    ทุติยฌาน
    ตติยฌาน
    จตุตถฌาน
    เมื่อ จตุตฌานเกิดขึ้นแล้ว
    พระหฤทัยของพระองค์ดำรงมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง
    อ่อนโยน ละมุนละไม ตั้งอยู่ในฐานะที่จะบังคับได้ดังประสงค์ ดำรงมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว พระองค์ก็ทรงน้อมพระหฤทัยไป เพื่อให้เกิด บุพเพนิวาสญาณ ให้ระลึกการหนหลังได้
    ในลำดับนั้น พระองค์ก็ทรงระลึกกาลหนหลังได้
    ตั้งแต่ ชาติหนึ่งเป็นต้นไป จนกระทั่งถึงปลายกัลป์ หากำหนดมิได้ พร้อมทั้งอาการและ
    อุเทศ คือทรง ระลึกได้ว่า ในชาติโน้น พระองค์มีพระนาม และโครต ผิวพรรณ วรรณะ อาหาร สุขทุกข์ อายุ อย่างนั้นๆ จุติจากชาตินั้นแล้ว ได้มาเกิดในชาติโน้น
    ทรงระลึกได้อย่างนี้เป็นลำดับมา จนกระทั่งชาติปัจจุบันนั้น บุพเพนิวาสญาณ
    การระลึกชาติหนหลังนี้ ได้เกิดมีแก่พระองค์ในปฐมยาม ฯ
    ในปฐมยามนั้น พระองค์ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมจนตลอดแล้ว ก็ทรงเปล่งอุทานขึ้น ดังที่แสดงมาแล้วในกัณฑ์ ที่ ๑ โน้น<O:p</O:p
    เมื่อถึง มัชฌิมยาม พระองค์น้อมพระหฤทัยไปเพื่อให้รู้การจุติ
    และอุบัติของสัตว์โลกทั้งหลาย พระองค์ก็ได้ทรงเห็นสัตว์โลกทั้งหลายที่จุติ
    และเกิดได้ทุกจำพวก คือจำพวกที่เลวและดี ทั้งพวกที่มีผิวพรรณดีและไม่ดี
    ทั้งจำพวกที่ไปดีและไปไม่ดีด้วยทิพพจักษุญาณ
    คือ
    พระองค์ทรงทราบว่าพวกที่ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
    ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ถือมั่นมิจฉาทิฐิ ทำกาลกิริยาตายแล้ว
    ก็ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    การที่พระองค์ทรงทราบนั้น คือ ทรงเล็งเห็นด้วย ทิพพจักษุ
    เหมือนกับบุคคลยืนอยู่บนปราสาทซึ่งเล็งเห็นผู้ที่อยู่รอบปราสาทฉะนั้น

    เมื่อพระองค์ทรงได้ทิพพจักษุอันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าจตูปปาตญาณแล้ว
    พระองค์ก็ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาทในฝ่ายปฏิโลม แล้วทรงเปล่งอุททานเป็นครั้งที่ ๒ ดังที่แสดงมาแล้ว ในกัณฑ์ ที่ ๒ โน้น
    <O:p</O:p
    เมื่อพระหฤทัยของพระองค์บริสุทธิ์ดังที่แสดงมาแล้วในกัณฑ์ที่ ๓ โน้น ฯ
    ในขณะที่พระองค์ทรงไว้ อาสวักขยญาณอันทำให้สิ้น อาสวะกิเลสนั้น สรรพปรีชาญาณทั้งสิ้น คือ
    เวสารัชชญาณ ๔ ทศพลญาณ ๑0 และสัพพัญญุตญาณเป็นต้น
    ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน ฯ
    เป็นอันว่าในขณะนั้น พระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก เป็นอันว่าพระปัญญาจักษุ คือ ดวงปัญญาอันวิเศษ
    ซึ่งเป็นเหตุให้เห็นพระหฤพาน ก็เกิดมีขึ้นแก่พระองค์
    พร้อมทั้งพระพุทธจักษุพระสมันตจักษุ ทิพพจักษุทุกประการ ฯ
    เท่าที่สังวัณณนาการแล้วนี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า พระนฤพานนั้น เป็นของที่เห็นได้แสนยาก
    เพราะเหตุว่า
    เป็นของละเอียดลึกซึ้งไม่มีสิ่งจะเทียมถึง
    โดยเหตุนี้
    ควรที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จะอุตสาหะบำเพ็ญ บารมีทั้ง ๑0 ประการ
    คือ
    ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี
    อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี
    อันกล่าวโดยย่อว่า ได้แก่
    ทาน ศีล เนกขัมมะ บรรพชา ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตตา อุเบกขา
    ตามกำลังสามารถของตนๆ
    ตามภูมิชั้นของตน ๆ

    ที่ปรารถนาเป็น สาวก สาวิกา หรือเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ตามโอกาส บริสุทธิ์ มาด้วยบุพเพนิวาสญาณ และ จุตูปปญาณ ในปฐมยาม และมัชฌิมยาม

    ดังนี้แล้ว
    พระหฤทัยของพระองค์ก้ผ่องแผ้วยิ่งขึ้น
    พระองค์จึงทรงน้อมพระหฤทัยไปเพื่อให้เกิดอาสวักขยญาณ
    ทำให้สิ้น อาสวะจากสันดานของพระองค์ ฯ <O:p</O:p
    พระองค์ก็ทรงทราบตามความเป็นจริงว่า
    สิ่งไรเป็นทุกข์
    สิ่งไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
    สิ่งไรเป็นความดับทุกข์
    สิ่งไรเป็นทางหั้บทุกข์ฯ

    พระองค์ก็ทรงทราบตามความเป็นจริงว่า
    สิ่งเหล่านี้เป็นอาสวะ เป็นเหตุให้เกิดอาสวะ
    เป็นความดับอาสวะ เป็นทางให้ดับอาสวะ ฯ

    เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นอย่างนั้น
    พระหฤทัยของพระองค์ก็หลุดพ้นจาก
    กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ
    เมื่อพระหฤทัยของพระองค์หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้ง ๓ อย่างนั้นแล้ว
    ก็เกิดพระปรีชาญาณขึ้นว่า พระหฤทัยของเราหลุดพ้นแล้ว
    พระองค์สิ้นความเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในกำเนิด ๔ คติ ๕ สัตตาวาส ๙
    อันนับเข้าในสงสารเสร็จแล้ว พระองค์สำเร็จพรหมจรรย์แล้ว
    ได้ทรงทำสิ่งที่ควรทำ สำเร็จแล้ว
    ลำดับนั้น
    พระองค์ก็ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทกลับไปกลับมาทั้งฝ่าย อนุโลมและปฏิโลม
    แล้วทรงเปล่งอุทานขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ ดังที่ได้ ที่ควรกระทำ

    เมื่อผู้ใดพยายามบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑0 มีทานเป็นต้น ตามสมควรแก่เวลาแล้ว
    ผู้นั้นก็ใกล้ต่อการเห็นนิพพานไปโดยลำดับ
    ด้วยเหตุว่า
    จิตใจของผู้นั้น จะผ่องใสไปโดยลำดับ
    เหมือนกับทองที่ช่างทองได้ไล่ขี้ไปโดยลำดับฉะนั้น ฯ
    ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงสอนไว้ว่า
    บุคคลผู้มีปัญญา ควรกำจัดมลทินของตนไปทีละน้อยๆ ไปตามขณะสมัย
    ในเวลาอันสมควร ให้เหมือนกับช่างทองไล่สนิมทองฉะนั้น ดังนี้ ฯ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่ขอเตือนท่านทั้งหลายอีกอย่างหนึ่งว่า
    ท่านทั้งหลายอย่าท้อใจว่า กว่าจะได้เห็นนิพพานนั้นต้องบำเพ็ญบารมีอยู่ตลอดกาลนาน เพราะเหตุว่า
    เมื่อเราทำไป วันเวลาเดือนปี ก็สิ้นไปตามลำดับ เมื่อเราดับจิตแล้ว
    เราก็เกิดชาติใหม่ เมื่อเราเกิดชาติใหม่แล้ว เราก็ลืมชาติเก่า
    เรานึกไม่ได้ว่าเราได้บำเพ็ญบารมีมานานแล้ว เมื่อเราเกิดอยู่ในชาติใด
    เราก็นึกได้แต่เพียงชาตินั้น
    อันนี้ไม่เป็นเหตุให้เราเบื่อหน่าย ท้อทอยต่อการบำเพ็ญบารมี
    ถ้าเราไม่ลืมชาติหนหลัง
    เหมือนดั่งเราเดินทาง แล้วไม่ลืมระยะทางที่เดินมาแล้วในวันก่อนๆนั้นแหละ
    จึงจักทำความหนักใจท้อถอยให้แก่เรา

    อีกประการหนึ่ง
    การเดินทางนั้น ย่อมทำให้เกิดความเหนื่อยมากในวันแรก และวันที่ ๒ ที่ ๓ เท่านั้น
    สำหรับวันต่อๆไป ความเหนื่อยนั้นก็คลายลงไปทีละน้อยๆ

    ด้วยเหตุว่า
    ความคุ้นเคยต่อการเดินทางนั้น ย่อมมีขึ้นกับเท้าและแข้งขาของเรา
    การบำเพ็ญบารมี ก็ทำให้เรามีความชำนิชำนาญขึ้นทีละน้อยๆ ฉันนั้น
    เหมือนเราไม่เคยให้ทาน รักษาศีล ฟังพระสัทธรรมเทศนา เราย่อมรู้สึก ลำบากใจ
    เห็นว่าเป็นของทำได้ยาก

    แต่ว่าเมื่อเราทำได้มากขึ้นแล้ว
    ก็จะเห็นว่าเป็นของทำได้ง่ายขึ้นทุกทีฯ
    อีกประการหนึ่ง
    การบำเพ็ญบารมีเพื่อปรารถนาเป็น สาวก สาวิกาปกตินั้น
    ย่อมไม่กินเวลานานเท่าไรนัก กินเวลาเพียงแสนมหากัลป์เท่านั้น
    ส่วนปรารถนาเป็นมหาสาวก
    และอัครสาวก
    พระปัจเจกพุทธเจ้า
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
    จึงกินเวลานานมากกว่ากันขึ้นไปเป็นลำดับ ฯ
    เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็นพระนิพพานอยู่ตราบใด
    ก็ไม่เห็นความสิ้นทุกข์อยู่ตราบนั้น

    เหมือนกับเรายังไม่เห็นความมั่งมีตราบใดเราก็ไม่เห็นการสิ้นความจนอยู่ตราบนั้น

    ฉะนั้น โดยเหตุนี้
    จึงควรที่ทุกคนจะพยายามบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑0 ที่มีทานบารมีเป็นต้น
    ให้มีขึ้นในตนเสมอไป แก้ไขมาในคำว่า
    นิพพานเห็นได้ยาก ก็พอเป็นที่เข้าใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายแล้ว
    จึงจะได้อธิบายคำอื่นต่อไป <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มีคำว่า นิพพาน ไม่มีเครื่องน้อมไปเป็นต้น คือ
    คำว่า
    นิพพานไม่มีเครื่องน้อมไปนั้น
    พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า
    ตัณหาชื่อว่าเป็นเครื่องน้อมไป เพราะน้อมไปในอารมณ์ทั้งหลาย
    มีรูปเป็นต้นและน้อมไปในภพทั้งหลาย มีกามเป็นต้น

    ซึ่งท่านย่นใจความว่า
    นิพพานนั้นไม่มีตัณหา ฯ

    คำของพระอรรถกถาจารย์ที่อธิบายดังนี้ เป็นอันได้ความแจ่มแจ้งแล้ว

    คือ
    พระนิพพานนั้น ไม่มีตัณหาที่จะให้น้อมไปในอารมณ์
    และภพอันใดอันหนึ่ง จึงเป็นที่เกษมสุขอย่างยิ่ง

    เพราะเหตุว่า
    สิ่งที่มีตัณหานั้น เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์ทั้งนั้น
    คำว่านิพพานไม่มีเครื่องน้อมไป
    คือ
    ตัณหานี้ เป็นเครื่องชี้คุณของนิพพานให้เห็นว่า
    ไม่มีเหตุที่จะให้เกิดทุกข์ จึงจัดเป็น เอกันตบรมสุขอย่างยิ่ง
    สมกับคำว่า
    นิพพานัง ปรมัง วทันติ พุทธา
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมสุขดังนี้
    <O:p</O:p
    คำว่า
    ของจริงไม่ใช่เห็นได้ง่ายในพระอุทานนั้น
    พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่า
    นิพพานนั้นชื่อว่าเป็นของจริง เพราะเป็นของไม่วิปริต
    เป็นของมีอยู่โดยแท้ ใครจะแก้ไขให้เห็นว่า นิพพานไม่มีนั้นเป็นอันไม่ได้
    นิพพานนั้นถึงผู้ได้สะสมบุญญาณไว้ได้ตลอดกาลนาน ก็ยังยากที่จะเห็นได้ ดังนี้

    คำของพระอรรถกถาจารย์นี้เป็นคำที่แจ่มแจ้งอยู่แล้ว
    จึงไม่จำเป็นต้องชี้แจงซ้ำอีกให้พิสดาร
    เป็นแต่จับใจความว่า
    ตามถ้อยคำของพระอรรถกถาจารย์นี้มีมาว่า
    นิพพานซึ่งเป็นของจริงนั้น ถึงผู้บำเพ็ญบารมีมานานแล้ว
    ก็ยากที่จะสำเร็จได้
    <O:p</O:p
    คำว่าแทงตลอดตัณหานั้น พระอรรถกถาจารย์ว่า ได้แก่
    ละตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ฯ
    คำว่าผู้รู้ผู้เห็นนั้น ได้แก่
    ผู้รู้เห็นอริยสัจด้วยอริยมรรคปัญญา ฯ
    คำว่าไม่มีความกังวลนั้นได้แก่
    ไม่มีกิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์
    คือ
    ความวนเวียนแห่งกิเลส และกรรมกับทั้งผลแห่งกรรม ดังนี้ ฯ

    ถ้อยคำของพระอรรถกถาจารย์เหล่านี้ ก็มีใจความแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้น
    โดยเหตุนี้
    จึงของด ธัมมัตถาธิบายในพระพุทธอุทาน ที่ ๗๒
    อันมีเนื้อความว่า
    ธรรมชาติอันใดไม่มีเครื่องน้อมไปเป็นของเห็นได้ยาก
    เพราะของจริงไม่ใช่เป้นของเห็นได้ง่าย
    เครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้แทงตลอดตัณหาแล้วรู้อยู่เห็นอยู่ ดังนี้ ......
    <O:p</O:p
    ที่มา กัณฑ์ ที่ ๗๒ คัมภีร์ ขุททกนิกาย พุทธอุทาน ว่าด้วยนิพพานอันปรากฎแก่ผุ้สิ้นตัณหา<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 พฤศจิกายน 2010
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    .......................................................................................:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...