สร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะรับมอบพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐ ปี

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 13 มีนาคม 2008.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,444
    ค่าพลัง:
    +141,948
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,444
    ค่าพลัง:
    +141,948
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วันพรุ่งนี้ผมจะไปที่พบช่างที่จัดสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะเพื่อตกลงในรายละเอียดทั้งการลงรัก และปิดทอง ...

    ช่วงนี้มีวาสนาได้รับพระลำพูนมาอีกจำนวนหนึ่ง ท่านที่ติดตามศึกษาพระลำพูนก็คอยชมนะครับ ที่สำคัญคือพระร่วง ๒ หน้า แทนรางปืน...
     
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เนื่องจาก Hard Disk ผมตกพื้น พยายามที่จะให้ช่างผู้ชำนาญการกู้ข้อมูลคืนมา แต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะไปกระทบที่เข็ม ทำให้ฐานข้อมูลเกี่ยวกับกับการจัดสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ และอื่นๆสูญหายไป จะพยายาม updated ข้อมูลใหม่อีกครั้งนะครับ

    ขอโมทนาบุญมายังทุกท่านด้วยครับ
     
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วันนี้ผมได้ไปที่วัด.......(การบอกสถานที่ไปอาจจะเกิดภัยที่คาดไม่ถึงกับทางวัด ขออภัยด้วยครับ หากดำเนินการจัดสร้างเสร็จ ผมจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง และหากท่านใดประสงค์จะเดินทางไปถวายวัดพร้อมกัน ก็ขอให้ PM แจ้งความประสงค์นั้น)สถานที่ประดิษฐานพระโมคคัลลานะ ช่างได้ประมาณกำหนดเวลาจัดสร้างแล้วเสร็จภายใน ๒ เดือน(เสร็จสิ้นเดือนหน้า) และจะติดต่อช่างที่ชำนาญด้านการลงรัก และปิดทอง (ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๒๐ วัน)มารับช่วงงานนี้ต่อ

    เท่าที่ตรวจสอบดูองค์พระโมคคัลลานะในวันนี้ ผมรู้สึกว่า ความเสียหายจากการแตกร้าวยิ่งมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากผู้คนที่ศรัทธานำแผ่นทองไปปิดกันมาก ปูนเก่าร่วม ๕๐๐ ปีก็ย่อมแตกหักไปตามแรงมือที่กดลงไป ปรึกษาช่าง และหลวงพี่ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ได้ให้ความเห็นว่าจะทำกระจกใสปิดรอบด้านกันผู้คนสัมผัสแตะต้ององค์พระ ไม้ที่ใช้จะเป็นไม้เก่า ลวดลายแกะสลักจะออกแบบให้สอดรับกับบุษบกเก่าในพิพิธภัณฑ์..

    งานสร้างบุษบกนี้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ประมาณสิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๑ ทั้งนี้คณะผู้ร่วมจัดสร้างบุษบกนี้ขอถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์ พรหมเทพ เทพยดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆกันมา โดยมีหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร หลวงปู่ทวด หลวงปู่โต หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง เป็นที่สุด ขอน้อมอุทิศส่วนกุศลนี้แด่พระยายมราช และท่านท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ขอจงโมทนาส่วนบุญส่วนกุศลนี้ และเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลของปวงข้าพเจ้าด้วยเทอญ ขอน้อมอุทิศส่วนกุศลนี้แด่องค์อัครปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญไชย(ชัย) บูรพกษัตราธิราชทุกๆพระองค์ในสมัยพระแม่จามเทวีลงไปทุกๆพระองค์ พระร่วงเจ้าทุกๆพระองค์ในสมัยสุโขทัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช บูรพกษัตราธิราชในสมัยอยุธยาทุกพระองค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บูรพกษัตราธิราชในสมัยรัตนโกสินทร์ทุกๆพระองค์ พระมหาอุปราชวังหน้าทุกๆพระองค์ ขอทุกๆพระองค์ได้โปรดโมทนาส่วนกุศลการสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะนี้ด้วยเทอญ

    ขออานิสงค์ที่พึงมี พึงเกิด เป็นปัจจัยให้ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานทุกๆท่านด้วยเทอญ..

    พระกรุลำพูนพิมพ์ต่างๆที่ผมได้นำมามอบให้เพื่อนๆผู้ร่วมสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะตามกำลังนี้มีวาระของการมอบ เมื่อโครงการนี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ผมก็จะปิดการมอบทันที โดยต่อไปพระพิมพ์บางส่วนจะนำไปช่วยเหลือการบูรณะพระเจดีย์พระแม่จามเทวีที่วัดจามเทวีที่ผมจะเดินทางไปที่ลำพูนในวันศุกร์นี้ ซึ่งถือเป็นการถวายกุศลแด่พระแม่จามเทวีโดยตรง ตามข่าวที่กรมศิลปากรจะมีงบประมาณการบูรณะในเดือนกันยายนนี้ ปัจจัยนี้จะรวมเข้ากับเงินงบประมาณของหลวงในการบูรณะ

    ส่วนพิมพ์พระฤาษีวาสุเทพ และสุกกทันตฤาษีจำนวน ๖๐ องค์ ก็จะร่วมในมูลนิธิพระดาบสของในหลวงเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล...
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    โยนก คำว่าโยนก นี้ตามความรู้ของคนทั่วไปมักจะหมายถึงเขตแดนหรือผู้คนในภาคเหนือสมัยโบราณ อาจใช้แทนคำว่า ลานนา หรือ ลานนาไทยได้ เช่นพงศาวดารโยนก ซึ่งพวกพระยาประกิจกรจักร (แช่ม บุนนาค)เรียบเรียงขึ้นก็หมายถึงเรื่องราวของอานาจักรหรือบ้านเมืองทางภาคเหนือ ลิลตยวนพ่าย ซึ่งเป็นวรรณกรรมสำราญชิ้นหนึ่งในสมัยอยุธยาตอนต้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับคำว่า โยนก คือคำว่า ยวน นั้น มีความหมายเดียวกัน ซึ่งหมายถึงชาวยวน หรือชาวโยนกในภาคเหนือนั้นเอง

    แต่ในทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ คำว่า โยนกมีความหมายเก่าแก่ลึกซึ้งไปกว่าชื่อของเขตแคว้น และประชาชนตามที่กล่าวมาแล้ว จากหลักฐานทางตำนานพงศาวดารโยนกนั้นเดิมหมายความถึงดินแดนและประชาชนในเขตจังหวัดเชียงรายซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาคเหนือเท่านั้น บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงและแม่น้ำวังในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพุน และลำปางหารวมอยู่ด้วยไม่มีเอกสารอันได้แก่ ศิลาจาลึกตำนานและพงศาวดารระบุอย่างแน่ชัดว่าเรียกว่าดินแดนแห่งเนื้อ สมันนครประเทศและ พิงครัฐ มีนครสำคัญที่อยู่เมืองหริภุญชัย(ลำพูน) และเขลางคนคร (ลำปาง)แคว้นหริภุญชัย (ศรีศักรวัลลิโภดม,๒๕๑๗) ได้รับอารยธรรมจากแคว้นละโว้ในภาคกลางของประเทศไทยเจริญขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก็สลายตัวถูกพ่อขุนมังรายซึ่งเป็นใหญ่อยู่ในที่ราบลุ่มเชียงรายหรือแคว้นโยนกยึดเมืองหริภุญชัยได้เมื่อ พศ ๑๘๒๔ รวมดินแดนในเขตจังหวัดเชียงใหม่ลำพูนลำปางเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเชียงรายพร้อมกับทรงตั้งนครเชียงใหม่ขึ้นในที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงเป็นราชธานีของอานาจักรที่เกิดใหม่ซึ่งมักจะเรียกกันว่า ลานนา แต่โดยเหตุที่พ่อขุนมังราย และชาวโยนกเป็นผู้มีชัยได้เป็นใหญ่ในแคว้น อานาจักรนี้ในบางครั้งจึงเรียกว่าอานาจักรของชาวยวนหรือโยนก


    จากประวัติความเป็นมาดังกล่าวมานี้การศึกษาเรื่องราวในเรื่องโบราณคดี-ประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองในภาคเหนือของประเทศไทยจำเป็นต้องแยกวิเคราะห์กันเป็น ๒ สมัยอย่างกว้างๆดังนี้ครับ

    ๑ สมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ขึ้นไป เป็นสมัยที่กล่าวได้ว่าบ้านเมืองยังแบ่งแยกออกเป็น ๒ แคว้นคือหริภุญชัยในที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง และโยนกในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เป็นระยะเวลาที่ยังมีหลักฐานทางโบราณคดี-ประวัติศาสตร์น้อยไม่พอที่จะมาสร้างเป็นประวัติศาสตร์แน่นอนได้

    ๒ สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ลงมาเป็นระยะที่ขุนมังรายตีแคว้นหริภุญชัยได้ และตั้งเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีของแคว้นลานนา เมื่อ พศ ๑๘๓๕ มีหลักฐานที่แน่นอนให้เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้ ดังนั่นสมัยนี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นสมัยในทางประวัติศาสตร์อย่างแท้จริงพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พ่อขุนมังรายทรงปกครองอาณาจักรสืบต่อมาหลายชั่วรัชกาลจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ก็สิ้นสุดลงเมื่อลานนาเสียเอกราชให้แก่พม่า และมีกษัตริย์พม่าเข้ามาปกครองจนถึงสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาในระยะที่อาณาจักรลานนารุ่งเรืองอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงค์มังรายนั้นได้เป็นอาณาจักรคู่แข่งที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยา ยกตัวอย่างเช่น ในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช ซึ่งทรงอยู่ร่วมสมัยเดียวกันกับของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถของกรุงศรีอยุธยา เกิดสงครามระหว่างสองราชอาณาจักรอยู่เป็นเวลานานถึง๗ปี เป็นสงครามที่แยกดินแดนที่เคยเป็นอาณาจักสุโขทัยกัน แต่ในที่สุดก็ลงเอยด้วยการไมตรีต่อกัน ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับคำว่า โยนก ที่เป็นดินแดนในเขตที่ราบลุ่มจังหวัดเชียงรายเป็นสำคัญซึ่งจะได้แบ่งสาระสำคัญออกเป็นเรื่องสภาพในทางภูมิศาสตร์-โบราณคดี ปัญหา และข้อจำกัดในการศึกษาวัฒนธรรมโยนกดังต่อไปนี้

    1.ภูมิศาสตร์-โบราณคดี ซึ่งแบบแรกนี้เราไม่เกี่ยวเท่าใหร่ก็หาอ่านเอาตามห้องสมุดเอาละกันนะครับ

    2.ศิลปะวัฒนธรรมและศาสนา เรามาว่ากันด้วยการแบ่งแยกยุคสมัยของผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ผ่านทางศิลปะ วัฒนธรรมที่แตกต่าง ผสมผสาน แปรเปลี่ยนไปตามการเมืองการปกครอง และแนวคิดของชนชั้นที่ปกครองอยู่ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของศิลปะเป็นอย่างยิ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่าศิลปะแห่งยุคไหนๆก็พัฒนาเพื่อชนชั้นปกครองในยุคนั้น ศิลปะของโยนก ลานนา หริภุญไชย(ชัย)นั้นมีความคาบเกี่ยวกันอย่างยิ่ง ทั้งในการแลกเปลี่ยนทักษะในเชิงช่าง ความเชื่อ และวัสดุแต่ที่ชัดเจน และผมเองจะนำมาเป็นตัวอย่างแก่การศึกษานั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงของศิลปะแบบลานนา-หริภุญไชย(ชัย) ที่เริ่มต้นเมื่อพุทธศตวรรธที่ ๑๐ จนถึง ๑๙ นับเป็นเวลายาวนานกว่า ๙๐๐ ปี

    ผู้รู้ท่านหนึ่งได้กล่าวคำที่เป็นอมตะวาจาไว้ว่าความเปลี่ยนแปลงเท่านั้นที่เป็นนิรันดร์ ศิลปะก็เช่นกันความเปลี่ยนแปลงของศิลปหริภุญไชย(ชัย)นั้นอาจแบ่งเป็นแบบ และสมัยได้ดังนี้

    เริ่มต้น พระพิมพ์ศิลปะนี้ปรากฏ พระพิมพ์ปางสมาธิ ปางมารวิชัย และประทับยืนปางประทานพร พระพักตร์กว้างมน หรือบาง แต่โดยมากแล้วมักนิยมสร้างเป็นแบบพระพิมพ์ที่แสดงถึงพุทธานุภาพที่ไพศาล อาจมีรูปพระหลายๆองค์ในพิมพ์เดียว และพิมพ์ดูเป็นรูปสี่เหลี่ยมตามแบบพระพุทธรูปทวารวดี พระเนตรอูมโปน พระนาสิกเป็นสัน แสดงขอบจีวรเป็นเส้นนูนรอบคอ พระพุทธรูปและพระสาวกโดยมากมีประภามณฑลรอบเศียร พระพิมพ์ที่แสดงศิลปะแบบทวารดีนี้น่าจะมีอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่๑๐ - ๑๓ พระพิมพ์สกุลช่างหริภุญไชย(ชัย)ศิลปทวารดีนี้ได้แก่ พระกวาง พระกล้วย และพระยืนวัดมหาวัน พระสิบแปด เป็นต้น

    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"></v:shapetype>
    <v:shapetype stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"> <v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock></v:shapetype>พระแม่จามเทวีทรงบัลลังก์(พระเลี่ยง)ศิลปหริภุญไชยศิลปแบบทวาราวดี อายุราว ๑๒๐๐ ปี
    แบบที่ ๒ พระพิมพ์ศิลปแบบอินเดีย อายุ: ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๕
    พระพิมพ์ศิลปะนี้ แสดงพระพิมพ์ที่ปรากฏพระพุทธรูปประทับนั่งแบบปางมารวิชัย องค์เดียว นั่งขัดสมาธิเพชรตามศิลปะแบบอินเดีย โดยศิลปะแบบอินเดียนี้มีต้นแบบมาจากพุทธคยาของอินเดีย แบบศิลปะคุปตะ ซึ่งสังเกตุได้ตามแบบของการครองจีวรพระพิมพ์ที่มีความน่าสนใจสำหรับศิลปะแบบนี้ได้แก่พระคง พระเปิม ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีผู้สนใจมากที่สุด ส่วนพระพิมพ์ที่มีความหายากมากที่สุดได้แก่ "พระพิมพ์พุทธคยา" พระพิมพ์ดินเผารูปเกือบกลม มีคาถาหัวใจพุทธศาสนา เย ธมมา ปรากฏที่ใต้ฐานพระพุทธรูป ในประเทศไทยพบไม่เกิน ๕ องค์พระพิมพ์แบบนี้พบที่วัดมหาวัน และวัดประตูลี้ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๒ นอกจากนี้พระพิมพ์ที่มีศิลปะแบบเดียวกันที่แสดงลักษณะศิลปะแบบล้อคุปตะ และปาละได้แก่ พระคง และพระบาง โดยน่ามีอายุน้อยกว่า พระพิมพ์แบบพุทธคยา โดยพระพิมพ์แบบนี้น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕

    พระคงลำพูนศิลปหริภุญไชยแบบคุปตะ

    แบบที่ ๓ พระพิมพ์ศิลปแบบศรีเกษตรและพุกามของพม่า อายุ: ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖
    ศิลปะแบบศรีเกษตร และพุกามของพม่าเป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจาก ศิลปะอินเดีย แบบปาละโดยตรง สังเกตได้จากลักษณะการนั่งที่ยังคงเป็นการนั่งขัดสมาธิเพชร แตกต่างกันที่การนั่งขัดสมาธิจะเทลาดลงมาด้านหน้า และพระวรกายและพระพักตร์ ไม่ล่ำสันเหมือนแบบอินเดีย พระพิมพ์ศิลปะนี้สามารถสังเกตได้จากซุ้ม และสถูปที่คล้ายกับแบบพุทธคยาของอินเดีย โดยคาดว่าน่าจะมีการเผยแพร่เข้ามายังดินแดนหริภุญไชยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ พระพุทธรูปศิลปะนี้ประกอบด้วย พระรอด พระสิบสอง พระสามหอม ฯลฯ

    พระรอดมหาวันศิลปะหริภุญไชยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕


    แบบที่ 4 พระพิมพ์ศิลปะลพบุรี อายุ: ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘
    พระพิมพ์ศิลปะนี้ได้รับอิทธิพลจาก ศิลปะเขมร แบบนครวัด ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ พระพิมพ์ศิลปะนี้ประกออบด้วยพระพุทธรูปสามองค์นั่งเรียงกัน องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่า องค์ด้านข้าง ลักษณะพระพักตร์แบบสี่เหลี่ยม มักประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ เช่น เทริด ทองพระกร พระพิมพ์ศิลปะนี้ประกอบด้วย พระสาม กรุวัดดอนแก้ว พระสามกรุท่ากาน พระสิกขี พระป๋วย ฯลฯ

    การสันนิษฐานอายุของพระพิมพ์ จากการศึกษาศิลปะแบบต่างๆ ซึ่งอาจเกิดความคลาดเคลื่อนในแง่ของอายุของพระพิมพ์ที่อาจน้อยกว่าอายุที่คาดคะเน เนื่องจากนั้นการสร้างขึ้นมาในภาพหลัง แต่ทำแม่พิมพ์ขึ้นโดยล้อแบบศิลปะแบบต่าง ๆ เช่น ศิลปะแบบอินเดีย และศิลปะแบบพุกาม ส่วนเรื่องของอายุที่อาจจะเก่าแก่กว่าที่คาดคะเนนั้น ไม่น่ามีความเป็นไปได้ เนื่องจากอายุที่คาดคะเนนั้นเป็นยุคแรกของการสร้างพระพุทธรูปของศิลปะแขนงนั้นๆ เช่น พระคงที่สร้างขึ้นในยุคหลัง แบบวัดช้างค้ำ และแบบวัดดอยคำ สร้างแบบศิลปะอินเดียจริง แต่เป็นการสร้างล้อแบบพระคง กรุลำพูน ที่มีความเก่าแก่กว่า

    พระลือลำพูนอายุ: ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘

    ความเป็นจริงในโลกนี้อาจกล่าวได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงเท่านั้นที่เป็นนิรันดร์ สิ่งที่เป็นอมตะนั้นคือสิ่งที่ตายไปแล้ว อายุขัยของคนเรานั้นสั้นนัก ความเชื่อ อิทธิพลทางศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม การเมือง การปกครอง ความหิวแร้นแค้นอดอยากหรือร่ำรวย ประเพณีนั้นล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องต่อการรังสรรค์งานศิลปะทั้งสิ้นดังจะเห็นจากบทความที่ผมเองได้เรียบเรียงไว้ อาจเพียงเพื่อเป็นการจำแนก และเสริมสร้างทักษะเล็กน้อยในการพิจารณารูปแบบของศิลปะ และวัตถุโบราณ อาจหมายรวมถึงทักษะทางโบราณคดีทั้งหมด และหากท่านผู้อ่านนั้นหมั่นพิจารณาตามที่ผมเขียนไว้ในบทความนี้ท่านเองจะเป็นผู้หนึ่งที่รู้จักและเข้าใจในความหมายของศิลปะแบบโยนก และหริภุญไชยได้อย่างลึกซึ้งเลยทีเดียวครับ

    ด้วยความขอบพระคุณที่ติดตามตลอดมาครับ ชนก 07-ธันวาคม-2546
    ขอบพระคุณภาพจาก วัดมหาวัน และข้อมูลบางส่วนจาก ลุงหนาน ทาลำพูน ,นายดาบแสง
    http://images.google.co.th/imgres?i...%A2%E0%B8%B2&start=18&ndsp=18&um=1&hl=en&sa=N
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2008
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เกี่ยวกับพระเปิดโลกนี้มีเรื่องแปลกๆเล่าสู่กันฟัง คงยังจำกันได้เมื่อคราวที่มอบให้เพิ่มเติมจากการร่วมปัจจัยธรรมทานCD+DVD และค่าจัดส่ง EMS จนจบรายการ จำนวน ๑๐ ท่านๆละ ๑ องค์ รวม ๑๐ องค์พอดี ที่ได้มอบให้เพื่อนๆไป มาเมื่อวานซืนพระเปิดโลก ๑๐ องค์ผมได้รับมาครบตามจำนวนไม่ขาดไม่เกินจากท่านผู้หนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่แปลกครับ...

    ผู้ได้รับพระพิมพ์นี้ไป หากนำมากำหนดเป็นอารมณ์วิปัสสนากรรมฐาน พระเปิดโลก(ทั้ง ๓) จะช่วยเปิดทิพจักขุญานให้เห็นตามความเป็นจริง ...ขอโมทนาด้วยครับ
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ท่านผู้ได้รับพระกรุลำพูนชุดนี้ไป ท่านสามารถนำไปให้กรมทรัพยากรธรณีตรวจสอบอายุของพระพิมพ์ลำพูนนี้ได้ทุกเวลาด้วยวิธีคาร์บอน ๑๔ จะทราบข้อเท็จจริงของพระกรุโบราณนี้ได้เอง

    หรือจะลองอ่านบทความนี้ และลองติดต่อสถาบันนี้ดูก็ได้ครับ

    ผมเล่าถึงพระเบญจภาคีไปบางองค์ รวมทั้งพระกรุอื่นๆบ้าง ยังไม่ได้คุยเรื่องพระผงสุพรรณเลย วันนี้จึงขอเล่าเกร็ดสนุกๆเกี่ยวกับพระผงสุพรรณให้ฟัง

    ครั้งที่เชษฐาจารย์ ตรียัมปวาย ได้จัดพระผงสุพรรณรวมอยู่ในชุดพระเครื่องยอดนิยม ที่เรียกว่า เบญจภาคี เมื่อ ๕๐ ปีก่อนนั้น พระผงสุพรรณเป็นพระที่ถูกจัดให้เข้าชุดเป็นองค์สุดท้าย พร้อมๆกับพระพิมพ์จากลานทุ่งเศรษฐีเมืองกำแพงเพชร

    ด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณที่เป็นที่เชื่อถือ และประสบการณ์ทางด้านพุทธานุภาพที่บังเกิดแก่ผู้ที่อาราธนาด้วยความศรัทธา ประกอบกับศิลปะแบบ นูนต่ำ ( Low Relief ) ที่งดงาม ราวกับมีชีวิต และความหายาก ทำให้ปัจจุบันนี้ ค่านิยมของพระผงสุพรรณงามๆนั้น ดูเหมือนจะขยับแซงขึ้นหน้าพระนางพญา ซึ่งถูกจัดให้เป็นพระยอดนิยมในชุดไตรภาคีก่อนหน้านั้น

    ราวปี พ.ศ. ๒๔๘๐ กว่าๆ รอ.หลวงบรรณยุทธชำนาญ ได้กล่าวถึงพระนางพญาในหนังสือของท่านว่า พระผงสุพรรณนี้ทำด้วยดินเผา บางท่านเรียกกันว่า พระนางพระยาเมืองสุพรรณ เหตุที่เรียกกันดังนั้นก็เพราะสัณฐานที่คล้ายพระนางพญาเมืองพิษณุโลก เทวีแห่งพระเครื่องซึ่งโด่งดังเป็นที่แสวงหาของนักนิยมพระรุ่นคุณทวด

    อ. มนัส โอภากุล นักนิยมพระเครื่องผู้อาวุโสแห่งเมืองสุพรรณ ได้แสดงทรรศนะของท่านไว้ในงานค้นคว้าเรื่อง
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการวิเคราะห์ดินที่ติดอยู่บนองค์พระ พิสูจน์ได้ว่าคราบดินที่ติดอยู่เป็นคราบมูลค้างคาวที่มีสีน้ำตาลไหม้ โดยเมื่อล้างออกจะพบกับคราบขาวที่เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งคราบดังกล่าวจะพบได้กับพระเครื่องที่มีอายุเก่าแก่เท่านั้น

    เมื่อวานนี้พระยอดขุนพลองค์หนึ่งเกิดแตกหักบนผิวบางส่วน เมื่อปัดผิวดูเนื้อหามวลสาร จึงพบว่า เป็นส่วนผสมของว่านดอกแร่มะขาม แร่มะขามเป็นอย่างไรก็ลองอ่านบทความที่หลวงพ่อจรัลได้เปิดเผยไว้บางส่วน..



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center border=0><TBODY><TR align=middle><TD class=title5 bgColor=#b9b9b9 colSpan=2 height=30>หนังสือกฎแห่งกรรม เล่ม 5<!-- InstanceEndEditable --></TD></TR><TR vAlign=top><TD class=title width=278 height=65>:<!-- InstanceBeginEditable name="groupname" -->: ภาคชีวประวัติ ::<!-- InstanceEndEditable --></TD><TD class=txt9 align=right width=282><!-- InstanceBeginEditable name="name" -->เรื่อง พรหมนคร เมืองแห่งความหลัง
    พระภาวนาวิสุทธิคุณ
    ๒๗ มี.ค. ๓๔ <!-- InstanceEndEditable -->
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2><!-- InstanceBeginEditable name="txt" -->จะขอเล่าประวัติเมืองพรหมนครว่ามีประวัติมาอย่างไร ต่อเนื่องกับเมืองพรหมนคร คือเรื่องแม่ครัวหัวป่า ทีเรียกแขก ๒๕ แม่ครัว ๓๐ แม่ครัวหัวป่าอยู่ตรงไหนกัน ได้รับพรจากพระพุทธเจ้าหลวงทำขนมอร่อยหมด และจะเล่าถึงอาตมาได้ผงจากพระเครื่องของสมเด็จพระนเรศวรประการใด เรื่องนี้ยังไม่เคยเปิดเผยให้ใครฟัง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>เมืองพรหมนครเป็นเมืองมาแต่สมัยโบราณ พระเจ้าพรหมมหาราช พระราชบิดาพระเจ้าไกรสรราช ผู้ทรงสร้างเมืองสิงห์บุรี เป็นผู้สร้าง เพราะชื่อเมืองตรงกับพระนามของพระองค์
    พระเจ้าพรหมมหาราช ทรงสร้างเมืองพรหมบุรีแล้ว ต่อมาพระเจ้าไกรสรราช พระราชโอรส ทรงสร้างเมืองสิงห์บุรีขึ้น พระราชทานนามเมืองให้สอดคล้องกับพระนามว่า "สิงห์บุรี"

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมืองสิงห์ไม่ใช่อยู่ตรงปัจจุบันนี้ เป็นเมืองสิงห์อยู่ที่แม่น้ำน้อยโน้น ที่เรียกว่า เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณบุรี บ้านช้าง บ้านตาล บ้านพรานแสวงหา บ้านกุ่ม บางบาล อำเภอวิเศษไชยชาญ ตัวตะพาน กบเจา อยู่แม่น้ำสายโน้น
    เมืองพรหมบุรีนี้ปรากฎพงศาวดารว่า เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า "เมืองพรหมนคร" และในกฎมนเฑียรบาลก็เรียกว่า เป็นเมืองสำหรับหลานหลวงปกครอง
    มาในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดให้ยุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดสิงห์บุรี
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD background=../images/dot01.gif>ที่ตั้งเมืองพรหมนครเก่านั้น อาตมาได้สอบประวัติได้ถูกต้องหมดแล้ว เมืองพรหมนคร ตั้งอยู่ใต้วัดอัมพวัน เหนือวัดประสาท (เจดีย์หัก) ตำบลพรหมบุรี ปัจจุบันคือบ้าน นางเฮี๊ยะ พรหมายน อาศัยอยู่ขณะนี้ นางเฮี๊ยะ นั้นเป็นแม่ยายช่างปุ่น เชยโฉม มัคทายกวัดนี้ และเป็นผู้สืบเชื้อสายเจ้าเมืองพรหมนคร ตัวเมืองเก่ามีกำแพงเมืองถึงเหนือวัดอัมพวัน ที่เรียกว่าวัดกำแพงเมือง ยังมีซากอยู่ขณะนี้ เหนือขึ้นไปเรียกว่าวัดพระแก้ว มีเนื้อที่มาก บริเวณด้านตะวันออกยังมีวัดสมิด วัดช่างเหล็ก วัดช่างทอง ขณะนี้ไม่มีซากเหลืออยู่ เพราะถูกขุดถูกทำลายไปหมด

    </TD></TR></TBODY></TABLE>สมัยนั้นเจ้าคณะเมืองสงฆ์คือ พระครูญาณสังวร วัดอัมพวัน ต่อมาสมัยหลังคือ พระครูพรหมนครบวรราชมุนี วัดอัมพวัน เป็นเจ้าคณะเมือง
    ต่อมาสมัยหลังอีก เจ้าคณะเมืองย้ายไปอยู่วัดคงคาเดือด ซึ่งตรงกับวัดอัมพวัน ปัจจุบันเรียกว่าวัดป่าหวาย สมัยต่อมาเมืองพรหมบุรีย้ายตั้งที่ทำการใหม่ ไปตั้งที่ปากบางหมื่นหาญ ต.บ้านหมื่นหาญ ปัจจุบันคือร้านดาวทอง ตลาดปากบาง และย้ายไปตั้งที่ ทำการจวนหัวป่า เหนือวัดพรหมเทพาวาส แล้วย้ายข้ามไปฝั่งตะวันออกที่ ร.ร. พรหมวิทยาคาร สมัยต่อมา นายอนันต์ โพธิ์พันธ์ นายอำเภอพรหมบุรีได้ย้ายที่ว่าการอำเภอ ล่องไปตั้งอยู่ที่เหนือวัดกุฎีทองในปัจจุบันนี้ ประวัติพระเครื่องเมืองพรหมบุรี วัดประสาทเดิมเป็นวัดโบราณใหญ่โตมาก มีเนื้อที่ถึง ๑๘๐ ไร่ เจริญมาก่อนที่พม่าจะได้สร้างค่ายคูแห่งนี้ขึ้น
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" background=../images/dot01.gif border=0><TBODY><TR><TD>ในสมัยก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่า เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ได้ขนย้ายทรัพย์สินสิงของมีค่ามาเก็บไว้ในวัดนี้มากมาย ภายหลังชำรุดทรุดโทรมลงมากมายจนกลายเป็นวัดร้างไป เหนือวัดอัมพวันที่เรียกว่าบ้านเตาอิฐนั้น เป็นหมู่บ้านมอญ ได้ทำอิฐสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดประสาทสมัยนั้น อาตมาได้ทราบจากศิลาจารึก ถึงการสร้างพระเครื่องนั้น สร้างบรรจุสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประกาศอิสรภาพและออกสงคราม จนได้ปลงพระชนม์พระมหาอุปราชา ณ สถานดอนเจดีย์ เสร็จสงครามแล้ว ได้จัดสร้างพระเครื่องขุนแผนเนื้อแบบกระเบื้องดินเมืองจีน บรรจุไว้ ณ วัดป่าแก้ว (วัดใหญ่ชัยมงคล) อยุธยา พระเครื่องประกอบด้วย แร่มะขาม เป็นพระขุนแผนเสมาชัย ขุนแผนเสมาขอ และทำการฉลองใหญ่ ฉลองการมีชัยชนะแก่พม่าในครั้งนั้น

    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>เสร็จแล้วได้นำไปบรรจุตามวัดต่าง ๆ ในกรุงศรีอยุธยาและวัดประสาท เมืองพรหมนคร (พรหมบุรี) ในศิลาจารึกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดชัยชนะสงคราม เจดีย์วัดประสาทก็ได้ชำรุดโดยภัยธรรมชาติ จากแรงน้ำพุ่งจากวัดคงคาเดือด (ป่าหวาย) เจดีย์ก็หักลงแม่น้ำเจ้าพระยา เหลือต่านแล้วหักลงน้ำมาได้ ๔๐ กว่าปีแล้ว พระเครื่องจากเจดีย์นั้นมากมาย เรียกว่าเสมาชัยเสมาขอมีความศักดิ์สิทธิ์มาก
    ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ อาตมาได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน ปีนั้นก็มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อ ก๋งเหล็ง ช่างปราณีต บ้านใต้วัดอัมพวัน ได้นำพระเสมาชัย เสมาขอที่ชำรุดไปถวาย ได้จากเจดีย์วัดอัมพวันบ้าง และได้แร่มะขามจากเจดีย์หักบ้าง อาตมาคิดว่าพระเครื่องประวัติศาสตร์ อำเภอพรหมบุรีของเราจะสูญไปโดยคนรุ่นใหม่จะไม่ทราบประวัติ จึงได้นำเอาแร่มะขามและพระที่ชำรุดนั้น มาประกอบเป็นองค์ขึ้นใหม่
    เป็นการจำลองพระขุนแผนเสมาชัย และขุนแผนเสมาขอ เมื่อประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกแล้ว ก็ได้แจกแก่ท่านทั้งหลายเพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป นับว่าเป็นพระมิ่งขวัญประวัติศาสตร์ของเมืองพรหมนคร จังหวัดสิงห์บุรี
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" background=../images/dot01.gif border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>อาตมาบรรจุไว้ในโบสถ์ และทรัพย์สมบัติจากพระนครศรีอยุธยาก็เคลื่อนที่อยู่ในป่าของบริเวณกรรมฐานนี้มากมาย มีทั้งทอง เพชรนิลจินดา แต่เราเอาไม่ได้ ไม่ใช่ของเรา ขอฝากไว้ นี่เมืองพรหมนคร ไม่มีใครรู้ประวัติ และพอดีอาตมาได้ประวัติมา และยังมีอีกมากมายหลายประการ ก็ได้ไว้เป็นของเก่าแก่ของดีมีปัญญาเก็บไว้เป็นหลักฐาน และได้มากกว่านี้ สมัยก่อนก็มีประวัติมากกว่านี้ด้วย อาตมารวบลัดตัดความให้ท่านฟังสั้น ๆ เพราะเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้โดยไม่ยากนัก ได้จากสมุดหมายเหตุของชาติด้วย ในประวัติศาสตร์ของชาติไทย และได้จากศิลาจารึกมาปะติดปะต่อ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>พระเสมาชัย เสมาขอยังอยู่ อาตมาก็จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกที่ดอนเจดีย์ เพราะได้แร่มะขามผุดขึ้นมาจากวัดชนะสงคราม และนำมาผสมไม่มีใครรู้
    ต้องการให้เด็กรุ่นใหม่ได้ทราบว่าพระประวัติศาสตร์ของเมืองพรหมนคร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเสมาชัย เสมาขอก็เอาบรรจุไว้ บางคนเห็นพระใหม่ไม่อยากได้ นี่แหละเราก็ไม่เคยไปแจกจ่ายให้ใคร ก็เล่าสู่กันฟัง พระพุทธเจ้าหลวงเคยเสด็จมาที่วัดนี้ ตอนนั้นเสด็จแปรพระราชฐานมาอยู่ที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เสด็จวัดพระนอนจักรสีห์ทางชลมารคถึง ๒ ครั้ง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>ในด้านพุทธจักรคณะสงฆ์ก็สั่งจากมณฑลอยุธยาลงมา ให้วัดอารามต่าง ๆ ประดับธงทิว และปลูกพลับพลาหน้าวัดถวายพระพรชัยมงคล ตอนที่พระองค์เสด็จชลมารคมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา มีเรือขาว มีเรือนำมากมาย แห่โหมยมนาเสด็จไปตามชลธาร

    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ตอนนั้นจังหวัดสิงห์บุรียังไม่มี จังหวัดสิงห์อยู่ที่แม่น้ำน้อย เรียกเมืองสิงห์ เมืองพรหมนครมีอาณาเขตถึงบ้านบางเบิก เลยตัวจังหวัดไปติดต่ออำเภออินทร์บุรีนั้น
    วัดพรหมสาครบ้านบางพุทรานั่นแหละ เป็นสถานที่ของเมืองพรหมนคร และตัวจังหวัดสิงห์บุรีปัจจุบันก็คือ เขาเมืองพรหมนคร <DD>พระพุทธเจ้าหลวง ท่านเสด็จมาวัดนี้ ปัจจุบันตอนนั้น ร.ศ. ๑๒๕ มีเจ้าอาวาสชื่อ พระครูพรหมนครบวรราชมุนี ชินสีห์ภานุวัตรสังฆปาโมกข์ เป็นเจ้าคณะเมืองพรหมนคร ขณะนั้นเมืองยังอยู่ใต้วัดนี้ ยังไม่ได้ล้มเมืองพระครูพรหมนครก็สั่งลูกวัดในเขตของท่าน ได้ปลูกพลับพลาหน้าวัด เพราะน้ำเจ้าพระยาเพียบเต็มฝั่ง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จ ตามวัดก็ถวายพระพรชัยมงคล สวดชยันโต <DD>http://72.14.235.104/search?q=cache...5h0401.html+แร่มะขาม&hl=en&ct=clnk&cd=2&gl=th<!-- InstanceEndEditable --></DD></TD></TR></TBODY></TABLE>

    แร่มะขามจึงเป็นของดีที่หายาก แต่บรรจุในพระพิมพ์ลำพูนนี้มากมาย เอาไว้จะ post ภาพให้ชมกันครับ
     
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คุณจาตุรงค์ เตชะกำพุ ร่วมสร้างบุษบกฯ ๒,๐๐๐ บาท ได้มอบให้กับทางช่างผู้จัดสร้างโดยตรงวันที่ ๑ มิ.ย. ๒๕๕๑

    ขอโมทนาบุญด้วยครับ
     
  11. yosshi

    yosshi สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +19
    เข้ามาทักทายครับ
    สวัสดีครับ คุณเพชร และผู้ร่วมบุญกับกระทู้นี้ทุกท่าน
    ผมเป็นคนนึงที่ร่วมทำบุญไว้ด้วย ในระยะแรก ๆ ได้ติดตามตลอด
    แต่ช่วงหลังไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาติดตามกระทู้นี้สักเท่าไหร่
    แต่ก็จะพยายามติดตามอ่านย้อนหลังทั้งหมดอยู่ครับ
    รู้สึกดีทุกครั้งที่ได้เข้ามากระทู้นี้และติดตามอ่านเรื่องราวต่าง ๆ ที่ทั้ง
    คุณเพชรและท่านอื่น ๆ ได้ลงไว้ มีประโยชน์มากจริง ๆ ครับ

    ก็ขออนุโมทนาบุญแก่ทุกๆ ท่านด้วยครับ
     
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ช่วงนี้ผมก็กำลังจัดการกับแผนการทำงานของผม ยังไม่เข้าที่เท่าไหร่เลย จากนี้ไปอีกไม่นานเกินรอ ราว ๓ เดือนของการสร้างบุษบกนี้ เราๆท่านๆก็จะได้ชมงานศิลปะชั้นสูงกันว่าจะงดงามเพียงใด การสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะนี้มีอานิสงค์เทียบเท่ากับการสร้างวิหารทาน เปรียบเสมือนการสร้างวิหารถวายพระพุทธเจ้า พระอัครสาวกโดยตรง เนื่องจากเมื่อเสร็จสิ้นแล้ว..

    -ส่วนบนสุดของบุษบกจะเป็นฐานบัวรองรับพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร อายุร้อยปี คุณหนุ่มเป็นธุระในการดำเนินการ
    -ภายในบุษบกจะซ่อนไฟ downlight ไว้ สาดส่องกระทบองค์พระโมคคัลลานะในยามค่ำคืน
    -เบื้องหน้าจะประดิษฐานผอบบรรจุพระธาตุโมคคัลลานะจำนวน ๒๖๑ องค์
    -อาสนะ และหมอนรองรับองค์พระโมคคัลลานะที่ได้พี่แอ๊ว และคณะศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำที่เคยจัดสร้างพานดอกไม้ธูปเทียนแพช่วยดำเนินการ ออกมาต้องวิจิตรงดงามเป็นแน่แท้
    -ผ้าห่มคลุมองค์พระโมคคัลลานะ ก็ได้พี่แอ๊ว และคณะศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำช่วยดำเนินการเช่นกัน

    ระหว่างการดำเนินการจัดสร้างอยู่นี้ ต้องอาศัยจินตนาการนึกเห็นภาพตาม เมื่อเสร็จสิ้นแล้วก็จะได้ชื่นตาชื่นใจที่ได้พบเห็นกัน

    สำหรับพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรนี้ หากท่านใดประสงค์จะร่วมสมทบปัจจัยร่วมถวายพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรอายุร้อยปีนี้ประดิษฐานยังส่วนที่อยู่บนฐานบัวเหนือบุษบกหลังนี้ก็เชิญนะครับ ส่วนนี้ผมไม่ขอกำหนดปัจจัยทำบุญ ถือว่าแล้วแต่ศรัทธาของแต่ละท่านที่จะร่วมถวายพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรโบราณก็แล้วกันนะครับ...

    ขอโมทนาบุญร่วมกันด้วยครับ
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    หลายท่านที่สนใจพระบูชาขนาดเท่าฝ่ามือของพระลำพูนที่ผมเคย post ภาพให้ชมกันนั้น ทั้ง PM และสอบถามกันนั้น ผมเรียนว่า ไม่ได้นำออกให้บูชาครับ เพียงนำมาเปรียบเทียบให้เห็นขนาดขององค์พระ และเพื่อการศึกษาพระลำพูนกันเท่านั้น อีกทั้งพระบูชานี้มีคุณค่า และมูลค่าที่ค่อนข้างจะสูงมากเกินกว่าที่บุคคลทั่วไปจะสามารถมีไว้ครอบครองได้ ผมจึงขออภัยด้วยที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้น...
     
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ตามสัญญาครับ พอมีเวลาจึงนำภาพมาให้ชมเป็นการศึกษาถึงคราบสนิมแดงกัน หนึ่งในพระยอดขุนพลเนื้อชิน คือพระร่วงหลังรางปืน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัชชนาลัย สุโขทัย เพียงแต่องค์นี้คือพระร่วง ๒ หน้า เนื้อชินสนิมแดง ที่หายากเอาการ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010606.jpg
      P1010606.jpg
      ขนาดไฟล์:
      217.7 KB
      เปิดดู:
      187
    • P1010607.jpg
      P1010607.jpg
      ขนาดไฟล์:
      135.9 KB
      เปิดดู:
      171
    • P1010608.jpg
      P1010608.jpg
      ขนาดไฟล์:
      226.7 KB
      เปิดดู:
      126
    • P1010617.jpg
      P1010617.jpg
      ขนาดไฟล์:
      105.6 KB
      เปิดดู:
      139
  15. ixy

    ixy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +486
    โอ.....ต้องทำบุญด้วยสิ่งไรกันหนอ ชาตินี้ชาติหน้าจึ่งได้รับสิ่งของทรงคุณค่าปานนี้
     
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เพียงทำจิตให้เป็นกุศล เชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น ก็จะเห็นในสิ่งที่เชื่อ

    ตั้งแต่วันที่ผมไปกราบสักการะพระร่วงเจ้าที่วัดตะพังทองเป็นอาจารย์แล้ว เพียง ๑ อาทิตย์ พระร่วงเจ้าท่านก็ประทานองค์แทนองค์ท่านมาเป็นพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงที่ทรงคุณค่า และเป็นที่ปรารถนาของผู้นิยมพระยอดขุนพลเนื้อชินต่างใฝ่ฝันกลับมาอยู่กับผม และนับจนวันนี้ ก็รู้สึกเหมือนท่านดลใจให้ไปพบไปเจอเรื่องมงคล เรื่องวัตถุมงคล และเกินกว่ามนุษย์จะคาดเดา หรือตั้งใจพานพบได้
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    รวมทั้งเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับพระแม่จามเทวีนี้มีมาเป็นเวลาร่วม ๑,๓๐๐ ปี งานกุศลทุกขณะก็นึกถึงท่าน ทำบุญทำทานตั้งใจน้อมถวายพระองค์ท่าน พระองค์ท่านก็เหมือนจะดลใจให้ผมได้ไปพบเรื่องราวของหริภุญไชย(ชัย)อยู่บ่อยๆ พบทั้งคน พบทั้งเรื่องราว และพบทั้งพระเครื่องวัตถุมงคล การเดินทางไปเชียงใหม่ ลำพูน ครั้งนี้ไม่ได้มุ่งหวังจะได้อะไรจากพระองค์ท่าน เพียงนึกว่าจะไปช่วยบูรณะวัดพระแม่จามเทวีที่แตกร้าวเสียหาย และวัดหัวเมืองทั้ง ๔ (วัดมหาวัน วัดพระคงฤาษี วัดดอนแก้ว วัดประตูลี้)เท่านั้นครับ

    ขอโมทนา..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2008
  17. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เป็นเช่นนั้นแลครับท่านเพชร ทำจิตใจให้ดีงามมุ่งทำดี เพื่อศาสนา สังคมและประเทศชาติ ความเชื่อมั่นในกรรมดีย่อมนำพาเราไปพบกับสิ่งดีๆครับ...
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,444
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    วันพรุ่งนี้ผมจะไปที่พบช่างที่จัดสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะเพื่อตกลงในรายละเอียดทั้งการลงรัก และปิดทอง ...

    ช่วงนี้มีวาสนาได้รับพระลำพูนมาอีกจำนวนหนึ่ง ท่านที่ติดตามศึกษาพระลำพูนก็คอยชมนะครับ ที่สำคัญคือพระร่วง ๒ หน้า แทนรางปืน...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    (y) เยี่ยมมากจริงๆ ;) ครับคุณเพชร :cool:
    (||)(deejai)(smile)(ping)(ping-love(tm-love)(good)(evil)
     
  19. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พี่ท่านหนึ่งมีประสบการณ์แปลกๆตลอดเวลาก็มักแนะนำผมทุกครั้งที่พบกันว่า
    "เวลาไปหาพระหาเจ้า อย่าไปขออะไรท่าน ควรนึกว่าจะไปให้ท่านได้อย่างไร ไปให้ไม่ใช่ไปขอ"
    ผมก็เคยนึกทบทวนดูนะครับ คนส่วนใหญ่มักจะขอมากกว่าให้จริง แต่เพราะเขาเดือดร้อนไม่ใช่หรือ? จึงไปหาพระหาเจ้าให้ช่วย ซึ่งก็คงจะถูกอีกเช่นกัน เพราะหากไม่เดือดร้อนก็คงไม่เข้าหาพระหาเจ้า หรือไปเข้าวัดเข้าวา และเป็นเช่นนั้นประจำ เดือดร้อนที่ไรเป็นต้องเข้าวัดเข้าวา พึ่งพระพึ่งเจ้า
    คราวนี้ลองสร้างจิตเป็นกุศลใหม่ ตั้งใจไปให้มากกว่าจะไปเอา ค่อยๆทำไป หมั่นสะสมกันไป ก็จะพบหนทาง พบทางออก พบโอกาสจากการที่ไม่เคยหวังว่าจะได้อะไร มีแต่จิตใจที่อยากจะช่วย อยากสงเคราะห์ เมื่อเราถึงคราวลำบาก ก็มักจะมีทางออก มีคนยื่นมือออกมาช่วย โดยไม่ต้องร้องขอ สิ่งนี้จะเป็นเพราะอานิสงค์การทำบุญแบบนี้หรือเปล่าหนอ..

    หลายท่านอาจจะแย้งว่าไม่มีปัจจัย ไปวัดมีแต่เสียเงิน ผมคิดว่า หากนำเรื่องเงินทองมาพูดคุย หรืออ้างกัน ก็ต้องบอกว่า การอยู่บ้านก็ต้องเสียเงิน ไหนเอยจะเปิดไฟ เปิดพัดลม เปิดทีวี เปิดตู้เย็น เสียเงินทั้งนั้นเลยนะ ไปวัดทำบุญด้วยอริยทรัพย์ภายในก็ได้ ไม่เสียเงินเลยแม้แต่บาทเดียว เป็นบุญละเอียด ทำง่าย แต่ไม่ค่อยมีคนทำ ก็น่าแปลกนะครับ..

    พี่ท่านนี้ท่านไม่เคยลำบากเลยเท่าที่ผมได้รู้จัก และจำความได้ก้ร่วม ๑๐ ปีแล้ว ท่านแคล้วคลาดจากเรื่องร้ายๆไปแทบจะทุกเรื่อง ท่านพบใครขอท่าน ท่านก็จะให้ทุกทีไม่เคยคิดว่า ทำไมเขาขอ มือเท้าก็ดีๆ ดังนั้นเวลาท่านได้รับสิ่งใด มักจะไม่ใช่ได้มาเพราะเหตุผล แต่เกิดจากเมตตามหานิยมในตัวท่านนี่เอง เมตตามหานิยมสามารถสร้างได้เองง่ายๆ เพียงรู้สึกว่าอยากช่วย อยากให้เท่านั้นเอง...
     
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    องค์ขวาเป็นฟาโรห์(Pharaoh) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ และเร้นลับด้วยพลังอำนาจแห่งอียิปต์โบราณ ผู้สร้างพีระมิดอันยิ่งใหญ่

    องค์ซ้ายคือ โอซิริส เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ โอซิริสหมายถึงดวงตานิรันดร์

    นำเข้าจากประเทศอิตาลี ทำด้วยส่วนผสมจากผงหินอ่อน และเรซิ่น สงสัยจะได้วาระไปท่องดินแดนอียิปต์ซักวันหนึ่งข้างหน้า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010622.JPG
      P1010622.JPG
      ขนาดไฟล์:
      277.9 KB
      เปิดดู:
      41
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...