สังฆทานที่ถูกต้อง

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย เฮียปอ ตำมะลัง, 12 สิงหาคม 2007.

  1. รุน

    รุน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +77
    ข้าพเจ้า อลิสา เศษฐคำ ขอตั้งจิตอธิฐาน ขอแผ่ส่วนกุศลที่ได้กระทำดี ที่มีอยู่ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ท่านอโหสิกรรมและอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ไม่ว่าเวลานี้หรือเวลาไหน ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม ชาตินี้ หรือภพหน้า สาธุ สาธุ สาธุ
     
  2. countdown

    countdown เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,016
    ค่าพลัง:
    +3,165
    เอาข้างโยนให้หมากินยังดีกว่าตักบาตรกับพระทุศีล แล้วท่านทั้งหลายจะรู้ได้ไงว่าองค์ไหนทุศีล .....
     
  3. กัมพ์

    กัมพ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +118
    ขออนุโมทนา ทุกๆข้อความ ขอให้ทุกท่านที่ให้ความรู้และผู้อ่านทุกท่านจงมีความสุขความเจริญ มีดวงตาเห็นธรรมเขัาถืงนิพพานทุกๆท่านเทอญ
     
  4. เกสรช์

    เกสรช์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +1,398
    คุณต้องกลับไปอ่านต้นเรื่องของกระทู้นี้อีกครั้งนะคะ เพราะจะมีคำตอบของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ คลิ๊กเมาท์ลงมาเรื่อยๆก็จะพบคะ คำถามที่คุณนั้นมีอยู่ในนั้น
    (kiss)
    สวัสดีคะ
     
  5. เกสรช์

    เกสรช์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +1,398
    "ผมว่าการทำสัฆทานก็ไม่ยากครับเอาแบบหลวงพ่อฤาษีท่านบอกสังฆทานคือการที่ทำบุญให้กับของที่พระสงฆ์ใช้รวมกันอ่ะครับเอาเป็นว่าไปวัดเห็นตู้ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเล่าเรียนภิกษุ สามเณร ค่าบำรุงพระพุทธรูปหรือพระอุโบสถ เราก็อาเงินไปใส่ตู้เหล่านี้ก็เป็นสังฆทานแล้วอ้อใส่บาตรหน้าบ้านทุกเช้าไม่เจาะจงว่าพระรูปนั้นรูปนี้มาเราจะใส่ก็เป็นสังฆทานแล้วครับ ไม่ยุ่งยากหรอกครับ" น่าจะเป็นคำตอบได้นะคะคุณradius อ้างอิงจากคุณjoinni
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  6. เกสรช์

    เกสรช์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +1,398
    ขอขอบคุณ เฮียปอ ตำมะลัง คะ
    *แต่ดิฉันสงสัยคือ เราได้กล่าวคำถวายสังฆทาน (ซึ่งก็มีคำว่า ภิกขุสังฆัสสะในคำถวายสังฆทานอยู่แล้ว)ซึ่งพระจะให้กล่าวคำถวายตามท่านทุกครั้ง มันก็น่าจะเป็นการถูกต้องแล้วไม่ใช่หรือคะ แล้วเราต้องบอกกล่าวกับพระอีกครั้งด้วยหรือคะ
    **แล้วเวลาใส่บาตรพระตอนเช้าที่มาบิณฑบาตรตามบ้าน พระจะมาวัดละรูปเดียว บางวันก็มารูปเดียว บางวันก็มาสองรูป รูปละวัด อย่างงี้เป็นเรียกว่าเป็นสังฆทานหรือไม่
    กรุณาตอบด้วยนะคะ

    ขอบคุณคะ(kiss)
     
  7. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    ขอขอบคุณ เฮียปอ ตำมะลัง คะ
    *แต่ดิฉันสงสัยคือ เราได้กล่าวคำถวายสังฆทาน (ซึ่งก็มีคำว่า ภิกขุสังฆัสสะในคำถวายสังฆทานอยู่แล้ว)ซึ่งพระจะให้กล่าวคำถวายตามท่านทุกครั้ง มันก็น่าจะเป็นการถูกต้องแล้วไม่ใช่หรือคะ แล้วเราต้องบอกกล่าวกับพระอีกครั้งด้วยหรือคะ

    ถ้าแบบนี้ ถือว่าได้บอกกล่าวแล้วแหละครับ
    ถ้าจะเอาแบบแน่นอน ก็บอกท่านไปเลยครับว่า "ถวายสังฆทาน "
    เผื่อว่าเจ้าลูกศิษย์ในกุฎิมันอยากกิน จะได้ไม่กล้าขโมยก็แล้วกันครับ

    **แล้วเวลาใส่บาตรพระตอนเช้าที่มาบิณฑบาตรตามบ้าน พระจะมาวัดละรูปเดียว บางวันก็มารูปเดียว บางวันก็มาสองรูป รูปละวัด อย่างงี้เป็นเรียกว่าเป็นสังฆทานหรือไม่
    กรุณาตอบด้วยนะคะ

    จากคำตอบของหลวงพ่อ ฯ

    จะใส่กี่รูป ก็แล้วแต่จะเป็นสังฆทานก็ต่อเมื่อ ฉันภัตตาหารตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปครับ


    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff colSpan=2 height=65>
    ปัญหาการใส่บาตร [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=61 bgColor=#ffffff>ผู้ถาม</TD><TD vAlign=top width=435 bgColor=#ffffff>การที่เราทำบุญใส่บาตร ตามหน้าบ้านกับพระที่เรารู้จักตามวัด แล้วไปทำที่วัด อันไหนจะมีอานิสงส์มากกว่ากันเจ้าคะ.....?
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>หลวงพ่อ</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>คือว่าการใส่บาตรตามหน้าบ้าน ถือว่าเป็นสังฆทาน คือไม่เจาะจง ใช่ไหมล่ะ ทีนี้ไปใส่บาตรตามพระที่ชอบ ใช่ไหม......?

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>ผู้ถาม</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>ไม่ใช่ชอบคะ คือว่าศรัทธาค่ะ</TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>หลวงพ่อ</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>ชอบกับศรัทธาก็คือกันละ ถ้าศรัทธา ถ้าฉันตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไป เป็นสังฆทานมีอานิสงส์เหมือนกัน แต่ถ้าหากท่านฉันตั้งแต่ ๑ องค์ ถึง ๓ องค์ อย่างนี้เป็น"ปาฏิปุคคลิกทาน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลวงพ่อตอบปัญหาธรรมเล่ม8
     
  8. แม่ลูกตาล

    แม่ลูกตาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    784
    ค่าพลัง:
    +1,206
    อนุโมทนา สาธุค่ะ
    วันที่ 12 เมษา นี้ เป็นวันเกิด ดิฉันจะพาลูก ไปร่วมกันทำบุญถวายสังฆทานที่วัดเช่นกันค่ะ ซึ่งประมาณตอนต้นเดือนก็ไปบริจาคเลือด บริจากโลงที่มูลนิธิมาแล้ว และที่ทำทุกวันก็คือ ทำบุญครั้งละ 9 บาท ที่วัดพระบาทน้ำพุค่ะ
     
  9. เกสรช์

    เกสรช์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +1,398
    ขอบคุณ คุณKomodo ที่กรุณาชี้แนะธรรมะหลายๆแนวให้(y)
     
  10. เกสรช์

    เกสรช์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +1,398
     
  11. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    แฮ่ๆ สงสัยจัง "หลายๆแนว" มันคืออะไรน้อ 55

    สำหรับผม ธรรมะ คือ เส้นตรงครับ
    แต่วิธีเข้าถึงธรรมอาจมีหลายรูปแบบครับ
    อันไหนผมเพี้ยนไปก็ตักเตือนด้วยนะครับ

    ขออนุโมทนา
     
  12. วัฏจจักรสงสาร

    วัฏจจักรสงสาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +67
    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
    อย่างกรณีที่1 เราไปซื้อสังฆทานตามวัดที่เขาจัดไว้ เช่นถังเล็ก 100บาท ถังกลาง 200บาท หรือถังใหญ่ 500 บาท (ราคาแล้วแต่วัดอาจไม่เท่ากัน) อย่างนี้แล้วเราบูชาต่อแล้วทำสังฆทาน จะได้บุญหรือไม่
    อย่างที่ 2 หากเราชื้อถังสังฆทานมาแล้วถวายไป สังฆทานั้นก็วนเวียน ตามข้อ 1 เราจะได้บุญหรือไม่
     
  13. เกสรช์

    เกสรช์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +1,398
    ขออนุโมทนาด้วยคะกับคุณ เฮียปอ ตำมะลังกับสมาชิกทุกท่านในกระทู้นี้

    เกสรช์ขออนุญาติ copy เพื่อส่งต่อให้เพื่อนๆเพื่อเป็นธรรมทานด้วยนะคะ

    ขอบคุณคะ
     
  14. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
     
  15. ธยาน์

    ธยาน์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2008
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    ขออนุโมทนา

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ให้ความรู้ทางธรรมะเพิ่มขึ้น
     
  16. SOMDEJ

    SOMDEJ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    611
    ค่าพลัง:
    +353
    หมู่เราทั้งหมดนั้น ล้วนมีจิตมั่นคงในพระพุทธศาสนา
    มีศรัทธาในการให้
    อนุโมทนาสาธุกับญาติธรรมทุกท่าน
     
  17. ศึกษาธรรม2551

    ศึกษาธรรม2551 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +234
    การถวายสังฆทาน จริงๆมี7แบบในสมัยพุทธกาล แต่ปัจจุบันเหลือ2แบบ
    ที่คุณพูดก็แบบนึง แต่มีอีกแบบ คือถวายแด่ตัวแทนสงฆ์ จะเป็นพระ1รูปก็ได้ แต่ต้องได้มติจากคณะสงฆ์ที่วัดให้รับทานจากเรา ถือว่าเป็นสงฆ์ และการถวายก็ต้องถวายด้วยความน้อบน้อมและยำเกรงแดสงฆ์ครับ
     
  18. วรเมตตา

    วรเมตตา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +10
    การถวายสังฆทาน ห้ามถวายสังฆทานเวียนโดยเด็ดขาด เพราะเป็นสังฆทานที่ได้มีการถวายและอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรไปแล้ว ผู้ที่ทำก็จะอธิฐานจิตอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรให้หมดเคราะห์หมดโศก หากเรานำสังฆทานเวียนมาถวายอีกครั้งก็เหมือนกับการรับเคราะห์รับกรรมของเขา เพราะเขาได้ถวายและอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรไปแล้ว เรามิใช่เจ้ากรรมนายเวรของเขา นำของเขามาถวายต่อ ก็เหมือนกับรับเคราะห์รับกรรมของเขามา รวมถึงต้องถวายก่อนเพล..ทางที่ดีซื้อสังฆทานใหม่ไปเลยดีกว่าค่ะ (เมื่อก่อนวรเมตตาก็ทำสังฆทานเวียนเช่นกันด้วยความรู้ไม่เท่าถึงการณ์ แต่ต่อมาได้รับคำชี้แนะจากพ่อปู่ฤาษีนารอด ท่านได้สอนและชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงในเรื่องนี้)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2008
  19. ศึกษาธรรม2551

    ศึกษาธรรม2551 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +234
    เอามาให้อ่านดูครับ จากพระไตรปิฏก ฉบับมงกุฏ ฯ 91 เล่ม
    ปัจจุบันจะพบว่าเหลืออยู่2วิธีคือข้อ3และ6
    ที่คุณเฮียปอ พูดมาก็ถูกส่วนหนึ่งแต่ไม่หมด
    ดูข้อ3 คำว่าภิกษุสงฆ์ คือพระที่บรรลุธรรมตั้งแต่โสดาปัตติผลขึ้นไป
    เดี๋ยวจะเข้าใจผิดกันไปใหญ่!!! ว่าสังฆทานต้องถวายพระ4รูป(ซึ่งเป็นเหตุผลทางวินัยครับ)

    การถวายทานในสงฆ์ที่เรียกว่าสังฆทานนั้น คำว่า สงฆ์ ท่านมุ่งเอา พระอริยสงฆ์ คือ พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล พระสกทาคามิมรรค พระสกทาคามิผล พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล พระอรหัตตมรรค และพระอรหัตตผล รวมเป็น ๔ คู่ ๘ บุคคล หาได้หมายเอาสมมุติสงฆ์ไม่ ทั้งนี้เพราะพระอริยสงฆ์นั้นเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุปฏิปันโน คือ ปฏิบัติดี อุชุปฏิปันโน ปฏิบัติตรง ญายปฏิปันโน ปฏิบัติแล้วเพื่อญายธรรม สามีจิปฏิปันโน ปฏิบัติชอบ ทั้งพระอริยสงฆ์เหล่านั้นยังเป็นอาหุเนยโย คือ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาบูชา ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาต้อนรับทักขิเณยโย เป็นผู้ควรแก่ไทยธรรมที่เขานำมาถวายด้วยศรัทธา อัญชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การกระทำอัญชลี อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นนาบุญอันเยี่ยมของโลก ไม่มีนาบุญอื่นที่ยิ่งกว่า
    แต่ที่คุณเฮียปอ บอกว่าต้องมีพระ4รูปขึ้นไปอันนั้นเป็นเหตุผลทางวินัย(ซึ่งอาจจะถูกก็ได้
    ในความคิดของคุณเฮียปอ ลองไตร่ตรองพิจารณาดูใหม่หลายๆรอบ)ที่ต้องการให้ครบองค์สงฆ์ ในมติสงฆ์เช่นการจะสร้างโบสถ์ ก็ต้องมีมติจากสงฆ์ก่อนคือประกอบไปด้วยพระตั้งแต่4รูปขึ้นไปมีมติให้สามารถสร้างได้
    เฮียปอว่าถูก อาจารย์ผมเคยบอกว่าหากมีการเถียงกันเรื่องธรรมมะให้แสดงแหล่งที่มาครับ ทางคุณเฮียปอ มีแสดงไว้หรือไม่ว่าอยู่เล่มใหนหน้าไหน ที่บอกว่าถวายพระ4รูปแล้วเป็นสังฆทาน
    คงจะกระจ่างกันถ้วนหน้านะครับ ลองอ่านดูครับ
    สังฆทาน
    .......
    คือ ทานที่ให้แก่หมู่คณะไม่เฉพาะเจาะจงผู้ใดผู้หนึ่ง เมื่อผู้ให้ต้องการถวายปัจจัยไทยธรรม (สิ่งของที่ควรถวายพระ) ก็เต็มใจถวายแก่ภิกษุทั้งนั้น ด้วยความเคารพยำเกรงในสงฆ์ (หมู่คณะ) โดยมิได้เจาะจงผู้ใดผู้หนึ่ง เช่น เมื่อจะนิมนต์พระไปทำบุญบ้าน ก็เข้าไปหาเจ้าอาวาส หรือเจ้าหน้าที่รับนิมนต์ของวัดกราบเรียนท่านว่าจะทำบุญบ้าน ขอนิมนต์พระสงฆ์ไปรับไทยธรรม๙ รูป ทางวัดจะส่งพระรูปใดไปรับไทยธรรม ก็มีความยินดี เต็มใจถวายทานแก่ท่าน ทานที่ผู้ให้มีเจตนากว้าง ไม่เจาะจงนิมนต์อย่างนี้เรียกว่า " สังฆทาน "


    .......
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า เมื่อถวายทานแด่สงฆ์ ๗ ประการนี้ เรียกว่าสังฆทาน

    ได้มีคำอธิบายมาใน ทักขิณาวิภังคสูตร อุปริปัณณาสก์มัชฌิมนิกาย ถึงคำว่า " สงฆ์ " ว่า สงฆ์มี ๗ ประเภท คือ

    ๑. สงฆ์ ๒ ฝ่าย ( ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ ) มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข

    ๒. สงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว

    ๓. ภิกษุสงฆ์

    ๔. ภิกษุณีสงฆ์

    ๕. บุคคลที่ได้รับอนุมัติจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย

    ๖. บุคคลที่ได้รับอนุมัติจากภิกษุสงฆ์

    ๗. บุคคลที่ได้รับอนุมัติจากภิกษุณีสงฆ์


    .......สรุปว่า ในปัจจุบันนี้ เราสามารถถวายทานแด่สงฆ์ได้ในข้อที่ ๓ และ ๖ ( เพราะภิกษุณีสงฆ์ไม่มีแล้ว ) สงฆ์จึงมีอยู่ ๒ แบบ คือ

    ๑. ภิกษุสงฆ์ ในที่นี้คือโสดาปัตติผลขึ้นไป และไม่เจาะจง ก็จัดเป็นสังฆทาน

    ๒. ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ที่ได้รับอนุมัติจากสงฆ์ให้ไปรับไทยธรรม เช่น เราไปนิมนต์ โดยขอภิกษุกับคณะสงฆ์ว่า " ขอจงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปรับสังฆทานที่บ้านด้วยครับ " ครั้นได้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ก็มีความเคารพยำเกรงในภิกษุรูปนั้น ยินดีว่าได้สงฆ์มาแล้ว ก็เต็มใจถวายทานนั้นลักษณะเช่นนี้เรียกว่า สังฆทานเหมือนกัน......(ตรงนี้ สรุปกันตามที่คิดทำกันในสมัยปัจจุบัน)

    ดังมีเรื่องเล่าว่า
    กุฎุมพีผู้เคารพสงฆ์
    .......
    กุฎุมพีคนหนึ่งเป็นเจ้าของวัดแห่งหนึ่ง โดยปกติแล้วเขาจะมีความเลื่อมใสในภิกษุผู้มีศีลลาจารวัตรอันงาม แต่ไม่เคารพในภิกษุผู้ทุศีลเลย ได้ไปขอภิกษุรูปหนึ่งมาจากสงฆ์ ด้วยคำว่า " ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงให้ภิกษุรูปหนึ่งจากสงฆ์แก่ข้าพเจ้า "

    แม้เขาจะได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่ง เขาก็ปฎิบัติต่อภิกษุรูปนั้นด้วยความเคารพนอบน้อม ตกแต่งเสนาสนะและเครื่องบูชาสักการะพร้อมล้างเท้าให้ภิกษุรูปนั้น เอาน้ำมันทาเท้าให้ แล้วถวายไทยธรรมด้วยความเคารพยำเกรงต่อสงฆ์ เหมือนกับบุคคลเคารพยำเกรงต่อพระพุทธเจ้า ภิกษุรูปนั้นฉันภัตตาหารแล้วก็กลับวัด หลังจากนั้นได้กลับมาขอยืมจอบที่บ้านของกุฎุมพีนั้นอีกครั้งหนึ่ง

    คราวนี้กุฎมพีเอาเท้าเขี่ยจอบให้ พวกชาวบ้านเห็นกิริยาของกุฎมพีนั้นก็ถามว่า " เมื่อเช้านี้ ท่านถวายทานแก่ภิกษุรูปนั้นด้วยความเคารพนอบน้อมอย่างยิ่ง แต่บัดนี้แม้สักว่ากิริยาที่เคารพก็ไม่มี "

    กุฎุมพีตอบว่า การทำบุญเมื่อตอนเช้า เขาทำไปด้วยใจเคารพยำเกรงต่อสงฆ์ แต่มิได้หมายความว่าเขามีความเคารพยำเกรงต่อภิกษุรูปนั้นเป็นส่วนตัว

    จากเรื่องข้างต้น ชี้ให้เห็นว่ากุฎุมพีมีความเคารพต่อสงฆ์เมื่อได้รับอนุมัติจากสงฆ์ให้พระภิกษุผู้ทุศีลมารับสังฆทาน แม้ตนมิได้เคารพเลื่อมใสในภิกษุทุศีลรูปนั้น แต่ด้วยความเคารพที่เขามี
    ต่อสงฆ์ ก็สามารถปฎิบัติต่อภิกษุรูปนั้น ขณะมารับสังฆทานด้วยความเคารพนอบน้อมอย่างเต็มใจได้


    และอีกตอนหนึ่งโดยถวายแค่สมมุติสงฆ์รูปเดียวแต่มีใจที่จะถวายก็เป็นสังฆทาน แต่ทั้งนี้พระที่มารับทานเราต้องได้รับการแต่งตั้งจากสงฆ์

    ภาค ๓ (หน้า ๗๑๗) อรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตร ว่า<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    กุฎุมพี คือ เศรษฐีคนหนึ่งเป็นเจ้าของวัดวัดหนึ่ง ได้ไปขอภิกษุรูปหนึ่งมาจากสงฆ์ ด้วยคำว่า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงให้ภิกษุรูปหนึ่งจากสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แม้เขาจะได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่งเขาก็ปฏิบัติต่อภิกษุรูปนั้นด้วยความเคารพนอบน้อม ตกแต่งเสนาสนะและเครื่องบูชาสักการะพร้อม ล้างเท้าให้ภิกษุนั้นเอาน้ำมันทาเท้าให้ แล้วถวายไทยธรรมด้วยความเคารพยำเกรงต่อสงฆ์เหมือนกับบุคคลเคารพยำเกรงต่อพระพุทธเจ้า ภิกษุรูปนั้นฉันภัตตาหารแล้วก็กลับวัด หลังจากนั้นได้กลับมาขอยืมจอบที่บ้านของกุฎุมพีนั้นอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้กุฎุมพีเอาเท้าเขี่ยจอบให้ คนที่เห็นกิริยาของกุฎุมพีนั้นก็ถามว่า เมื่อเช้านี้ท่านถวายทานแก่ภิกษุรูปนี้ด้วยความเคารพนบนอบอย่างยิ่ง แต่บัดนี้แม้สักว่ากิริยาที่เคารพก็ไม่มี กุฎุมพีตอบว่า เมื่อเช้านี้เราเคารพยำเกรงต่อสงฆ์ เราหาได้เคารพยำเกรงต่อภิกษุรูปนี้เป็นส่วนตัวไม่

    และบทสรุป......
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 407 (บรรทัดที่ 18) - 408 (บรรทัดที่ 3)

    ก็บุคคลได้เตรียมไทยธรรมด้วยคิดว่า
    เราจักให้ทักขิณาถึงสงฆ์ ไปวิหารแล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจง
    ให้พระเถระรูปหนึ่งเจาะจงสงฆ์เถิด. ลำดับนั้น ได้สามเณรจากสงฆ์ย่อมถึง
    ความเป็นประการอื่นว่า เราได้สามเณรแล้ว ดังนี้. ทักขิณาของบุคคลนั้น
    ย่อมไม่ถึงสงฆ์. เมื่อได้พระมหาเถระแม้เกิดความโสมนัสว่า เราได้มหาเถระ
    แล้ว ดังนี้ ทักขิณาก็ไม่ถึงสงฆ์เหมือนกัน. ส่วนบุคคลใดได้สามเณร ผู้อุป-
    สมบทแล้ว ภิกษุหนุ่ม หรือเถระ ผู้พาลหรือ บัณฑิต รูปใดรูปหนึ่งจาก
    สงฆ์แล้ว ไม่สงสัย ย่อมอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ว่า เราจะถวายสงฆ์.
    ทักขิณาของบุคคลนั้นเป็นอัน ชื่อว่าถึงสงฆ์แล้ว.
    <o:p>..................................................................</o:p>
    <o:p>จะเห็นว่าการถวายสังฆทานที่คุณทำนั้น เป็นเหตุผลทางวินัยมากกว่า 4รูปขึ้นไป</o:p>
    <o:p>แต่จริงๆแล้วอยู่ที่จิตใจต่างหาก ว่าคุณจะทำใจที่จะน้อมใจ ในการถวายแด่สงฆ์หรือไม่ และถวายโดยไม่เจาะจงหรือไม่</o:p>
    <o:p>และมีความเคารพ ยำเกรงในสงฆ์ในการถวายทานนั้นๆด้วย </o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p>ทสรุปอีกที<o:p></o:p>
    ใส่บาตรพระทุศีลตอนเช้าแต่คิดว่าถวายในสงฆ์ ถ้าคิดเป็นน้อมใจเป็นไ่ม่ใช่พูด) จัดเป็นสังฆทาน
    พระรูปเดียวรับไทยทานจะได้รับแต่งตั้งหรือไม่ได้รับไม่สำคัญ จะเดินไปเจอโดยบังเอิญก็ได้
    ถ้าถวายเป็น จัดเป็นสังฆทาน
    ขอทำความเข้าใจเรื่องสงฆ์ที่จะถวายสังฆทาน สงฆ์ในที่นี้ไม่ใช่พระสงฆ์ที่มีตัวตน - รูปร่าง
    ไม่ใช่พระสงฆ์ทั้งวัด - ตำบล - อำเภอ - ประเทศ - โลก - จักรวาลเดียวเท่านั้น
    เป็นสงฆ์ที่หาประมาณไม่ได้ สงฆ์ที่ว่านี้มีความบริสุทธิ์อยู่ตลอดกาล
    ทีนี้ความยากในการถวายทานให้เป็นสังฆทานก็คือ
    ใครจะสามารถทำความเข้าใจสภาพดังว่ามา จะทำความรู้สึกถูกไหม ไม่ง่ายเลย
    เพราะฉะนั้นถ้าหากไม่ศึกษา - เรียนรู้ตาม ไม่มีทางเลยที่จะถวายทานให้เป็นสังฆทานได้
    เราทั้งหลายส่วนมากก็จะหิ้วกระแป๋งสีเหลืองๆเข้าวัดไปหาพระแล้วก็บอกว่ามาถวายสังฆทาน
    พระก็ไม่เห็นบอกอะไร โยมก็ไม่รู้ว่ารู้เรื่องหรือเปล่า ถวายกันเสร็จสรรพ
    เจอใครถามก็บอกว่า ไปถวายสังฆทานมา
    ย้ำ สงฆ์นะไม่ใช่พระสงฆ์

    คงจะเข้าใจกันบ้างนะครับ ศาสนาและวิธีปฏิบัติจะได้ไม่คลาดเคลื่อนไปจากธรรมวินัยครับ
    จาก ผู้ที่ศึกษาธรรม ในพระไตรปิฏกครับ



    </o:p>






     
  20. ศึกษาธรรม2551

    ศึกษาธรรม2551 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +234
    เอ้า....ลืมบอกไปว่า มีบุญใหญ่ที่มากกว่าการทำสังฆทานอีกมากนะครับ
    จะได้ไม่ต้องมาเถียงกันว่าอยากทำสังฆทาน....

    เช่น
    การถวายวิหารเป็นทาน
    การมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
    การรักษาศีล5,ศีลอุโบสถ
    การภาวนา เช่นสมถภาวนา ,วิปัสนาภาวนา
    หากไม่ต้องการบุญใหญ่ ต้องการแค่บุญแค่เท่าบุญสังฆทาน ซึ่งก็มีบุญที่เทียบเท่าก็คือ
    การเลี้ยงดูบิดา มารดา ครับ พระพุทธองค์บอกว่าได้บุญเท่าพระอรหันต์
     

แชร์หน้านี้

Loading...