สังโยชนน์ที่พระโสดาบันละได้

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย พ่อคากคก, 25 พฤศจิกายน 2007.

  1. พ่อคากคก

    พ่อคากคก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +128
    <CENTER><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=5 width="100%" bgColor=#ffa600 border=3><TBODY><TR><TD borderColor=#000000 width="90%" background=bgthai1.gif>
    <CENTER><TABLE borderColor=#0000ff cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>สักกายทิฏฐิ</TD></TR><TR><TD align=left> สักกายทิฏฐิ
    พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ 3 อย่างคือ
    (1) สักกายทิฏฐิ เห็นว่าอัตภาพร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา จิตใจของเรายอมรับนับถือกฎของธรรมดา ร่างกายเกิดมาแล้วต้องแก่ ป่วย พลัดพรากจากของรักของชอบใจ และมีความตายไปในที่สุด และขณะที่เราทรงตัว มันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ อาการอย่างนี้จับใจของท่านแล้วหรือยัง ว่าธรรมดาของเรานี้จะหนีความทุกข์ไม่พ้น ถ้าเรามีร่างกายเราก็มีการกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ มีความปรารถนาไม่สมหวัง ต้องป่วยไข้ไม่สบาย ความตายจะเข้ามาถึง
    เวลานี้ท่านมีความกล้าแล้วหรือยัง กล้าต่อความตายที่มันจะตายโดยปกติ จะตายโดยอาการเช่นใดก็ช่าง แต่ต้องตายแน่ คิดไว้แล้วหรือยัง หรือว่าความเมาในร่างกาย หรือเรียกว่าเราปรับปรุงร่างกาย ยังไงก็ตามมันไม่สวยหรอก เพราะว่าร่างกายของเรานี้มันสกปรก ทีนี้เรื่องของร่างกายผ่านไป
    วิจิกิจฉา
    (2) วิจิกิจฉา เรื่องสงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คลายความสงสัยแล้วหรือยัง ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า
    ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์
    ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์
    มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์
    นี่หมายความว่าถ้าเราเกิดมาแล้วเรายึดถือว่าร่างกายมันเป็นเรา เป็นของเรา หรือเมื่อถึงเวลาความแก่มันเข้ามาถึงเราก็หนักใจ เพราะนี่มันแก่เสียแล้วหรือเนี่ย แย่สิ เราทำอะไรมันก็ไม่ไหว นี่เรียกว่าเรามี อุปาทานขันธ์ ยึดมั่นในร่างกายเกินไป นี่พอเราป่วยขึ้นมาก็ เกรงไปว่า นี่ถ้าเราตายเสียแล้ว ลูกก็ดี หลานก็ดี เหลนก็ดี นี่มันจะทำยังไงกัน ทรัพย์สินทั้งหลายก็มีไม่พอใช้ไม่พอกิน อารมณ์นอกคอกอย่างนี้ยังมีสำหรับท่านหรือไม่ ถ้ากฎของกรรมอันใดมันเกิดขึ้นกับท่าน คือทำให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ อย่างนี้จิตใจของท่านยอมรับนับถือกฎของกรรมหรือเปล่า จะไปนั่งบนเจ้าบนเทวดา บนผีสางนางไม้ที่ไหนก็ตาม ขออย่าให้แก่ ขออย่าให้ป่วย ขออย่าให้มีอาการขัดข้อง ขออย่าให้จน ขอให้อยู่เป็นปกติ จิตอย่างนี้ของท่านมีหรือเปล่า ถ้ายังมีอยู่มันก็ยังใช้ไม่ได้
    เป็นอันว่าตั้งหน้าตั้งตาจับอารมณ์พระโสดาบันเสียให้ได้จะได้พ้นทุกข์ เพราะการเป็นพระโสดาบันนี่เราบรรเทาการเกิด เรายังไม่ได้งดเกิด เพราะว่าถ้าเราไม่บรรเทาเสียแล้ว เราก็ต้องเกิดนับชาติไม่ถ้วน คือ ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย การเกิดแต่ละชาติมันเป็นทุกข์ที่พระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น นี่มาคุยกันตอนเช้า ๆ เพราะอารมณ์ของท่านยังดี แต่ว่าเสียงคนพูดสิมันไม่ดี มันเป็นไข้หวัด ช่างมันนะ ขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา พอพูดกันเสียงไม่เพราะไม่เป็นไร เอารู้เรื่องก็แล้วกัน
    สีลัพพตปรามาส
    (3) สีลัพพตปรามาส ทีนี้การปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบันที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งนั่นก็คือ ศีล 5 จิตใจของท่านรักษา ศีล 5 ได้เป็นปกติแล้วหรือยัง เรื่อง ศีล 5 นี่มีความสำคัญมาก เพราะว่าพระโสดาบันนี่ไม่มีอะไรมาก แค่มี ศีล 5 เข้มข้น เคารพในพระพุทธเจ้า เห็นว่าร่างกายนี่มีการเกิด การแก่ การเจ็บ การตายเป็นของธรรมดา เพราะยังมีกิเลสเต็มตัวแต่ว่าขังกิเลสไว้ ไม่ละเมิดศีลนั่นเอง ยังรักยังมีผัวมีเมียได้แต่ว่าไม่นอกใจผัว ไม่นอกใจเมีย ไม่ละเมิดในศีล 5 ยังรวยได้แต่ก็ไม่คดโกงใคร ยังมีความหลงอยู่ในขันธ์ 5 ยังมีอยู่ แต่ว่าไม่ยึดมั่นเกินไป ตายก็ช่าง มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นที่สุด อย่างนี้อารมณ์ของท่านเข้าถึงแล้วหรือยัง นั่งใคร่ครวญดู ดูกำลังใจของท่านไม่ต้องไปดูใครเขา ในเมื่อเราเห็นคนแก่ เห็นคนป่วย เห็นคนตาย เห็นคนมีทุกข์ยาก ท่านเคยคิดถึงไหมว่าการเกิดนี่มันทุกข์ อย่ามาเกิดกันเลย บอกใจไว้อย่างนี้บ้างหรือเปล่า ถ้ายังบกพร่องอยู่ ก็โปรดทราบว่าความเป็นพระโสดาบันของท่านยังไม่ปรากฏ
    เรามาเป็นพระอริยเจ้ากันเถิด
    ทีนี้ให้หัวข้อเรื่องนี้ว่า เรามาเป็นพระอริยเจ้ากันเถิด
    ความจริงการเป็นพระอริยเจ้าไม่ใช่ของหนัก เป็นของเบา เพราะว่าเราปลดกิเลส ตัณหา อุปาทานให้มันน้อยลง มันเบาลง คือว่าถ้าเป็นพระโสดาบันได้ก็เบามาก เพราะว่ายังเกิดอีก 7 ชาติ หรือว่า 3 ชาติ หรือว่า 1 ชาติ นี่ก่อนที่เราจะพิจารณาเรื่องอะไรทั้งหมด ถ้ายังปลดไม่ได้ ถ้าปลดได้ก็พิจารณาเป็นพระอนาคามีต่อไป
    สำหรับพระสกิทาคามีกับพระโสดาบันระดับเดียวกัน แต่ว่าจิตละเอียดกว่ากันเท่านั้น ทีนี้เรามานั่งดูสิว่าทำไมหนอ เราจึงจะเป็นพระอริยเจ้ากันได้ นี่เราก็มานั่งนึกอย่างนั้น ที่เราจะเป็นพระอริยเจ้ากันได้ เราก็ต้องมานั่งดูใจ ดูอารมณ์ของใจที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า จริต เรามาพูดกันถึง โทสะจริต แล้วนะ ก่อนที่จะเข้าวิปัสสนาญาณน่ะจับสมถะเสียก่อน ให้จิตมันทรงตัว ถ้าจิตมันดิ้นกระสับกระส่ายเราก็คุมอารมณ์ จับลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้คุมอารมณ์ให้มันทรงตัวเสียก่อน ที่เรียกกันว่า สมาธิ พอใจสบายปัญญามันก็เกิด มันจะได้คุมใจไม่ให้เราคิดนอกรีตนอกรอยไป นี่สมมติว่าตอนก่อนเราพูดกันถึง โทสะจริต ถ้า โทสะจริต จะเข้ามาข้องใจก็ระงับเสียได้ด้วย พรหมวิหาร 4 หรือ ว่า กสิณ 4
    อันนี้มีในแบบแล้วนี่ เราก็ไปเปิดดูใน คู่มือปฏิบัติ นี่เรามาเตือนกันนะ เวลานี้มาคุยมาเตือนกันด้วยความหวังดีในฐานะที่เป็นพี่เป็นน้องกัน ทุกคนเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน อาตมาเองไม่ได้เคยคิดว่าจะเป็นอาจารย์ของท่านเคยคิดอย่างเดียวว่าเป็นพี่เป็นน้องกัน เราก็มาคุยอย่างพี่อย่างน้อง
    ตั้งอารมณ์
    นี่เราก็มานั่งดูจริตอีกตัวหนึ่งอีกจุดหนึ่งก็คือ โมหะจริต กับ วิตกจริต
    วิตกจริต ความคิดใคร่ครวญไตร่ตรองไม่ตกลงใจ ตัดสินใจอะไรไม่ได้ มีความสงสัยอยู่เป็นปกติ
    สำหรับ โมหะจริต นั้นมีความหยาบอยู่มาก ไม่ค้นคว้าหาความจริง คิดว่านั่นก็ของกู นี่ก็ของกู ร่างกายของเรามันจะต้องไม่ตาย มันจะต้องไม่แก่ มันจะต้องไม่ป่วย ทรัพย์สินทั้งหลายที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตก็ตามหรือไม่มีชีวิตก็ตาม จะต้องทรงตัวตลอดเวลา นี่เป็นอาการของโมหะ เห็นชาวบ้านเขาตายก็ไม่คิดว่าตัวจะตาย เห็นชาวบ้านเขาป่วยก็ไม่คิดว่าตัวจะป่วย เห็นชาวบ้านเขาลำบากหรืองานที่เราทำมันลำบากมันมีทุกข์ เราก็ไม่คิดว่าเราจะมีทุกข์ นี่เป็นอารมณ์ของโมหะ
    ถ้าอารมณ์ฟุ้งซ่านที่ว่ารำคาญเสียงภายนอกบ้าง จัดตั้งอารมณ์ไม่อยู่บ้าง นี่เป็นอาการของโมหะและวิตก 2 ประการ และก็ วิตกจริต กับ โมหะจริต ทั้ง 2 อย่างนี้ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุมธเจ้าแนะนำให้โปรดยับยั้งอารมณ์นี้ด้วยการเจริญ อานาปานุสสติกรรมฐาน อย่างเดียว หรือจับลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นก็ให้รู้อยู่ ขณะใดที่จิตยังรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกอยู่แบบนี้ นี่แหละชื่อว่าจิตมีสมาธิ พออารมณ์สบายแล้วเราก็มาพิจารณาขันธ์ 5 กัน และก็ปลดเปลื้องขันธ์ 5 ตามหลักของ อริยสัจ
    อริยสัจ
    อริยสัจ ข้อต้นนี่ยังไม่จบ ที่กล่าวว่า ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ความจริงความเกิดตัวเดียวมันไม่สำคัญ สำคัญไอ้เพื่อนของความเกิดน่ะสิ พอเกิดขึ้นมาแล้วมันก็ต้องการหาเพื่อน มันก็เอาไอ้ตัวแก่เข้ามา ตัวเปลี่ยนแปลงเข้ามา ตัวหิว ตัวกระหาย ตัวร้อน ตัวขัดข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ตัวป่วยไข้ไม่สบาย ตัดพลัดพรากจากของรักของชอบ ตัวอยากโน่นอยากนี่ และก็มีความตายไปในที่สุด
    นี่เจ้าตัวเกิดมันนำมาที่ทำให้เราทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพของความทุกข์อย่างนี้ ก็เพราะเจ้าตัวเกิดมันนำมา แล้ววิธีที่เราจะไม่เกิดเราจะทำยังไง เรื่อง ชาติปิ ทุกขา ของดไว้ชั่วขณะหนึ่ง เรามาพูดกันถึงแนวทางที่เราจะไม่เกิดกัน เอาไม่เกิดกันเลย ไม่ใช่ผ่อนเกิด แต่ทว่าไอ้การที่จะไม่เกิดกันเลยทีเดียวน่ะไม่ได้ ต้องผ่อนเป็นการชำระหนี้ผ่อนกันไปก่อน การที่เราจะสกัดกั้นการเกิดให้น้อยลงก็ดี หรือว่าจะตัดการเกิดให้หยุดไปเข้าถึงพระนิพพานก็ดี พระพุทธเจ้าบอกว่ามีกฏอยู่ 10 อย่าง ที่เราเรียกกันว่า บารมี 10
    บารมี 10
    บารมี นี่เขาแปลตามภาษาบาลีแปลว่า เต็ม แต่เนื้อแท้จริง ๆ ต้องใช้กำลังใจให้เต็ม ไม่ใช่เอาวัตถุมาเต็ม คือ
    (1) ทานบารมี จิตใจท่านพร้อมแล้วหรือยังที่จะให้ทานตามความสามารถ เพราะการให้ทานนี่เป็นการทำลายโลภะ ความโลภ
    (2) ศีลบารมี ศีลของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่องหรือเปล่า ทุกวันท่านพิจารณาศีลของท่านหรือเปล่าว่าครบถ้วนไหม
    (3) เนกขัมมบารมี การถือบวช การถือบวชในที่นี้ก็หมายถึงว่าเป็นการระงับนิวรณ์ 5 ประการ คือ กามฉันทะ เห็นรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย และสัมผัสที่ต้องการการมั่วสุมไปด้วยกามารมณ์เป็นโทษ มันเป็น อนิจจัง ไม่มีการทรงตัว รูปมันสวยไม่จริงสวยนิดหนึ่ง แล้วก็แก่ไปเสื่อมไปทุกวัน เสียงผ่านหูแล้วก็หายไป กลิ่นหอมกระทบจมูกแล้วก็หายไป สัมผัสที่เรานึกว่าดี ความจริงมันเป็นปัจจัยนำโทษมา นี่หมายถึงว่าสัมผัสระหว่างเพศมันนำโทษมาให้ หากต้องการสัมผัสแบบนั้นงานมาก งานมันก็เกิดขึ้นมาก กำลังใจต้องรักษาไว้ซึ่งกันและกัน ต้องเอาใจคนโน้น ต้องเอาใจคนนี้หนักใจมาก
    (4) ปัญญาบารมี นี่เราเห็นหรือยังว่าการเกิดเป็นทุกข์ เกิดมาแล้วนี่ภาระต่าง ๆ เต็มไปหมด ที่พูดไปแล้วนี่มีแต่ความทุกข์ทั้งนั้นหาความสุขไม่ได้ ถ้าเราจะสุขได้จริง ๆ ก็ต้องวางการเกิดคือ วางขันธ์ 5 นี่เป็น ปัญญาบารมี
    (5) ทีนี้ วิริยบารมี ได้แก่ความเพียร เรามีความเพียรครบถ้วนแล้วหรือยัง คือใช้กำลังใจเป็นสำคัญ ไปหักห้ามความชั่วไม่ให้เข้ามายุ่งกับใจ (6) ทีนี้ ขันติบารมี แปลว่า ความอดทน การกระทำความดีที่ฝืนอารมณ์เดิมต้องอดทนเพราะใจมันคอยจะต่ำ มันคบกิเลส ตัณหา อุปาทาน คือ มีความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่เราก็พิจารณาเห็นว่าความรักเป็นโทษ ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นโทษ เราจะฝืนกำลังใจที่มันคบกันมานาน เราก็ต้องใช้ความอดทน ไม่อย่างนั้นเราก็จะทรงตัวอยู่ไม่ได้
    (7) ต่อไป สัจจบารมี ความจริงใจ ที่เราตั้งใจจะห้ำหั่นกิเลสทั้ง 3 ประการให้มันสิ้นไป เราจะไม่ละความพยายามทรงสัจจะเข้าไว้ จะไม่ยอมทิ้งสัจจะคือความจริงใจ แต่ว่าการรักษาสัจจะต้องให้มันพอดีพอควร อย่าทำเกินพอดี การนั่งกรรมฐานเครียดเกินไป พระพุทธเจ้าไม่ใช้ ใช้อารมณ์ย่อหย่อนเกินไปไม่ใช้ ใช้อารมณ์พอดี ๆ เพื่อรักษาอาการของขันธ์ 5 ให้เป็นปกติ
    (8) และต่อไป อธิษฐานบารมี อธิษฐานต้องตั้งใจไว้เลยว่า การปฏิบัติแบบนี้ เราต้องการพระนิพพาน ไม่ใช่สักแต่เพียงว่าทำเป็นแค่อุปนิสัย ถ้าอารมณ์คิดว่าเป็นแค่อุปนิสัยมันขี้เกียจง่าย ตั้งใจไว้เฉพาะว่าชาตินี้ทั้งชาติ อย่างเลวที่สุดเราจะเป็นพระโสดาบันให้ได้
    (9) และอีกอันหนึ่งคือ เมตตาบารมี เมตตาบารมีตัวนี้ก็เป็นตัว ตัดโทสะ ความพยาบาท ที่เป็นกิเลสตัวสำคัญ
    สำหรับ ปัญญาบารมี นั้นตัดโมหะ
    (10) อุเบกขาบารมี ทรงอารมณ์เฉย ในเมื่อกฎของกรรมที่เราทำไว้เป็นอกุศลในชาติก่อนที่เราทำมันมาให้ผล เราก็มีอารมณ์สบาย อะไรมันจะเกิดแก่เราบ้าง เราก็สบายที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ คือร่างกายมันจะแก่เราก็สบาย เฉย
     
  2. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ...สักกายทิฐิ....

    1.รู้ว่าชีวิตนี้ต้องตาย.....ไม่ลืมความตาย....(โสดาบัน)

    2.ไม่สนใจร่างกาย....ไม่สนใจชีวิต..........(อนาคามี)

    3.มีปัญญามาก รู้ เข้าใจ เห็นจริงตาม ยอมรับตามเป็นจริงว่า ..ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา..เป็นไปตามกฎแห่งกรรม.....(พระอรหันต์)
     

แชร์หน้านี้

Loading...