สันติศึกษา-พุทธอินเตอร์”มจร”มั่นใจคุณภาพตาม”TQR”

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 3 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    101945_th.jpg

    สันติศึกษา-พุทธอินเตอร์”มจร”มั่นใจคุณภาพตาม”TQR”

    วันที่ 2 ก.พ. 2561 ที่ผ่านมา พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า ตามที่หลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย และวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ก้าวสู่ TQR มุ่งพัฒนาหลักสูตรอย่างยั่งยืน” ระหว่าง 1-2 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ห้องพุทธเมตตา มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี รศ.ดร.สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์ กรรมการ TQR จากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นวิทยากรนำสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และมี ผศ.ดร.สุธินี อัตถากร ผู้เชี่ยวชาญด้าน TQR คณาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา และหลักสูตรพระพุทธศาสนา ทั้งปริญญาโท และเอก ทั้งภาษาไทยและอินเตอร์เข้าร่วมนั้น

    0b8b6e0b881e0b8a9e0b8b2-e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b8ade0b8b4e0b899e0b980e0b895e0b8ade0b8a3e0b98c.jpg

    “สิ่งใหม่ๆ ที่กำลังพาทีมงานกลุ่มเล็กๆ ทั้งทีมงานวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ และหลักสูตรสันติศึกษาในขณะนี้ คือ “TQR และ EdPEx” TQR เป็นแนวปฏิบัติการเผยแพร่หลักสูตรในฐานข้อมูลหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา หรือThai Qualifications Register (TQR) เพราะในมหาจุฬาฯ ยังไม่มีหลักสูตรใดที่ได้รับการประเมินจนสามารถได้รับการประกาศในฐานข้อมูลดังกล่าว และในขณะเดียวกัน EdPEx เป็นการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ หรือ Education Criteria for Performance Excellence ซึ่งการเป็นส่วนงานทำร่องทำทั้งสองอย่างดังกล่าว จึงเป็นความท้าทายตัวเองและทีมงานอย่างยื่งใหญ่ ซึ่งผลลัพธ์อาจจะออกได้ทั้งหัวและก้อย คือล้มเหลว หรือสำเร็จ” พระมหาหรรษา กล่าวและว่า

    ในการทำงาน และการดำเนินชีวิตที่ผ่านมานั้น มีหลายเรื่องราวที่ประสบความล้มเหลวจนหัวคะมำทั้งที่มั่นอกมั่นใจ ฉะนั้น การทำสองเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่สามารถการันตีความสำเร็จในทุกครั้งที่ผ่านมา คือ “กัลยาณมิตร” ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เชื่อมั่นอย่างสุดใจต่อพุทธพจน์ที่ว่า “กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์” ความเชื่อมั่นอันเกิดจากการพิสูจน์ทราบ และทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า หากมุ่งมั่นที่จะคิดและทำสิ่งใด การมีกัลยาณมิตรเฉกเช่นครูบาอาจารย์ เพื่อนพ้องน้องพี่ รวมถึงมวลกัลยาณศิษย์ที่คอยเกื้อหนุน ให้ข้อเสนอแนะ และชี้นำแล้ว จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้กิจการและงานที่ทำหลงทิศ และผิดทาง ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสในมงคลสูตรตอนแรกว่า “จงอย่าคบคนพาล จงคบแต่บัณฑิต… นั่นจัดเป็นมงคลอย่างสูงสุด”

    8b6e0b881e0b8a9e0b8b2-e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b8ade0b8b4e0b899e0b980e0b895e0b8ade0b8a3e0b98c-1.jpg
    “การนำหลักสูตรสาขาสันติศึกษา และหลักสูตรพระพุทธศาสนา ทั้งปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งภาษาไทยและอินเตอร์ก้าวไปสู่ TQR อันเป็นการประกาศในฐานข้อมูลของ สกอ. รวมไปถึงการนำวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติไปสู่การได้รับการประเมินการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ หรือ EdPEx นั้น จึงถือเป็นความท้าทาย และพิสูจน์ทราบความเป็นกัลยาณมิตรที่จะต้องทำงานร่วมกัน” พระมหาหรรษา กล่าวและว่า

    ทั้งคณาจารย์ IBSC และหลักสูตรสันติศึกษา รวมถึงเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหารทุกรูป/คน นำโดย ศ.ดร.พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร ดร.พระราชวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ศ.ดร.พระราชปริยัติกวี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ พระมหาสมบูรณ์ วุฒิกโร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย เป็นต้น รวมไปถึงทีมงานอีกจำนวนมากที่มิได้เอ่ยนาม เชื่อมั่นว่า ภายใต้การผลักดันของบุคลากรเหล่านี้ จะสามารถทำให้วิทยาลัยพุทธนานาชาติจะเป็นส่วนหนึ่งในการตอบโจทย์ของมหาวิทยาลัยที่จะก้าวไปสู่ “การเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาระดับโลก” หรือ “World University of Buddhism” ตามที่ประกาศไว้ในแผน 12 ของมหาวิทยาลัยต่อไป

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/101945
     

แชร์หน้านี้

Loading...