สิงห์งาแกะ กรอบกระจก หลวงพ่อเดิม

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย wasan112, 1 ตุลาคม 2017.

  1. wasan112

    wasan112 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,186
    ค่าพลัง:
    +161
    ชื่อบัญชี นาย วสันต์ ปิงสอน เลขที่บัญชี 5130066332 ธนาคาร กรุงไทย สาขา ลอง โทร 0925421615 id lin wasan112 หรือ pm ครับ
    ปิดแล้วครับ

    สิงห์งาแกะ กรอบกระจก หลวงพ่อเดิม
    พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทธสโร) วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์

    พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทธสโร) วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ เกิดวันพุธที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๐๓ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๓ ปีวอก มรณะ วันอังคารที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๔ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ รวมศิริอายุ ๙๒ ปี ๗๐ พรรษา มีสมณศักดิ์ คือ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ รองเจ้าคณะ แขวงเมืองนครสวรรค์ ท่านได้ศึกษาวิชากับ พระอุปัชฌาย์ (ขำ) วัดอินทาราม, หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง และหลวงปู่เทศ วัดสระทะเล

    มีศิษยานุศิษย์ คือ หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว มีสหธรรมิก คือ หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน วัตถุมงคลคือ เหรียญรุ่นแรกสร้างปี พ.ศ.๒๔๗๐ เป็นเหรียญเสมา เหรียญที่นิยม คือ เหรียญรูปไข่ ปี พ.ศ.๒๔๘๒ มี ๒ เนื้อ คือ เนื้อเงินและทองแดง, รูปเหมือนปั๊ม, รูปเหมือนหล่อ, ตะกรุด, มีดหมอ, เสื้อยันต์ สิงห์งาแกะ ฯลฯ มีพุทธคุณคือ เมตตามหานิยม
    ...สิงห์ของหลวงพ่อเดิม ถ้าแบ่งตามศิลปะของการของแกะ จะเป็นประเภทที่แกะเป็นสองขวัญ กับแกะเป็นสามขวัญ ซึ่งถ้าเป็นศิลปะช่างชาวบ้านงานแกะจะดูไม่ค่อยเรียบร้อย (ทั้งตัวเลข ๑ ไทยที่เป็นรูปขวัญและรูปร่างของสิงห์) ส่วนลักษณะของขวัญนั้น จะสังเกตกันที่ด้านข้างของลำตัวสิงห์ ที่แกะคล้ายกับเลข ๑ ไทย มีมิตินูนขึ้นเล็กน้อย(ถ้าเป็นช่างฝีมือ) ซึ่งจะแกะเรียงกันไปตามลำตัวของสิงห์ โดยมีลายเป็นเส้นวงโค้ง ทั้งทางด้านล่างและด้านบนของขวัญที่คล้ายกับเลข ๑ นี้ ส่วนศิลปะของการแกะนั้น ยังแบ่งออกเป็นประเภทตามลักษณะ เช่นแกะเป็นรูป "สิงห์ตะปบเหยื่อ"คือจะแกะยกเท้าหน้าขึ้นมา กับแกะเป็นรูปสิงห์ที่ยืนอยู่บนฐานแบบธรรมดา และนอกจากนี้แล้วก็มีแกะเป็นสิงห์อยู่ในรูปหัวใจ หรืออยู่ในรูปกรอบสี่เหลี่ยม โดยอาจเป็นรูปสี่เหลียมกรอบกระจก หรือสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดก็มี ดังนี้เป็นต้น ส่วนลักษณะในการแกะนั้น โดยมากปากจะเจาะกลวงตรงกลาง ส่วนตาเป็นแบบลูกเต๋า และอาจมีการลงรักหรือลงชาดไว้ในบางตัวก็มี ส่วนที่เท้าของสิงห์จะงุ้มจิกเข้าเกาะกับฐาน และในส่วนปลายของหาง จะแกะงอโค้งขึ้นมาติดกับแผงขนด้านท้ายทอย และในบางตัวก็แกะเป็นลายแผงขนคอ มองเป็นเส้นขีดยาวตามช่วงของลำคอ หรือขีดเป็นขั้นตรงหน้าอกก็มี ส่วนช่วงของลำตัวสิงห์จะยาว อกอยู่ต่ำใต้ท้องจะเว้ายกขึ้นช่วงหาง หลังจะแอ่นและส่วนท้ายของช่วงสะโพก ก็จะยกโค้งขึ้นมองดูรับกัน

    ...ส่วนการพิจารณารอยแกะ ลายเส้นจะเป็นร่องที่เกิดจากการใช้ของมีคมมาแซะ เป็นรอยที่ลึกไม่สม่ำเสมอ และเป็นรอยที่แกะเก่า คือมองในร่องที่แกะจะไม่คมและสด ถ้าตรงไหนอยู่ตามลำตัวด้านนอกที่ผ่านการสัมผัสบ่อย รอยแกะที่เป็นขนขึ้นก็จะไม่มี เว้นแต่อยู่ในซอกลึกๆที่ไม่ค่อยโดนสัมผัส จะมองเห็นเป็นเส้นขนที่เกิดจากรอยการแกะบ้าง ส่วนในเรื่องการดูธรรมชาติกับความเก่าของงานั้น ยังแบ่งเป็นงาอ่อนหรือที่เรียกว่า"งาขนาย" สิงห์ที่แกะจากงาประเภทนี้เนื้อจะละเอียด บางตัวที่ไม่ค่อยสัมผัสจะขาวใส หรืออมเหลืองเล็กน้อย แต่ถ้าในส่วนตรงไหนผ่านการสัมผัสมามาก ก็จะขึ้นสีเหลืองฉ่ำหรือเป็นสีน้ำตาลเข้มไปก็มี และถ้าสิงห์ตัวไหนที่แกะจากงาแก่ จะแกร่งจนแตกเป็นลาย พอผ่านการสัมผัสการใช้ก็จะขึ้นแกร่งมัน โดยเนื้อในจะมีสีเหลืองเข้มอมน้ำตาล หรือไม่บางตัวก็ขึ้นแซมเป็นสีเขียวก็มี ซึ่งเรียกกันว่างาเป็นโรค

    ...ส่วนการพิจารณารอยจารที่ใต้ฐาน ซึ่งเป็นอักขระขอมที่หลวงพ่อท่านได้จารไว้นั้น โดยอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีจะต้องเป็นรอยจารที่คมและเก่า คือเป็นรอยจารที่มีแนวเส้นดูสม่ำเสมอ และมักจะติดแค่เพียงแผ่วๆ ซึ่งมีผู้บอกเล่าต่อกันมาว่า หลวงพ่อท่านจะใช้ปลายมีดหมอของท่านจาร และที่เห็นรอยจารในสิงห์ของหลวงพ่อตัวนี้ได้ผ่านการสัมผัสมาบ้าง จึงมองเห็นแค่เพียงลางๆ

    ...คาถาบทหนึ่งซึ่งหลวงพ่อเดิมท่านใจอ่อนให้ถาคาไว้ ซึ่งเป็นคาถาที่ศิษย์หลวงพ่อเดิมใช้กันทุกคน คือ "นะ เมตตา โม กรุณา พุท ปรานี ธา ยินดี ยะ เอ็นดู มะ คือตัวกู อะ คือคนทั้งหลาย อุ เมตตาแก่กูสวาหะ นะ โม พุทธายะ"สำหรับ คาถากำกับสิงห์ => "ตะโตโพธิสัตโต ราชะสิงโห ตะมะหิทธิโกติ ตะมัตถังปะกาเสนโต สัตถาอาหะ"

    ...ศิลป์นิยมสุด สวยสมบูรณ์ ฟอร์มล่ำ สามขวัญ ปากเจาะ

    เปิดให้บูชา 14999 บาท ค่าจัดส่ง 50 บาทตัวนี้ปากเจาะสวยสมบูรณ์ยุคต้นหายากมากๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF4802.JPG
      DSCF4802.JPG
      ขนาดไฟล์:
      71.3 KB
      เปิดดู:
      2,704
    • DSCF4801.JPG
      DSCF4801.JPG
      ขนาดไฟล์:
      65.3 KB
      เปิดดู:
      1,412
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...