หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม : พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ในยุคปัจจุปัน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 29 พฤศจิกายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๙๔

    นิมนต์กลับไปจำพรรษาที่เชียงใหม่

    เมื่อ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ไม่อยู่ ลูกศิษย์ลูกหาทางเชียงใหม่คงต้องรู้สึกว้าเหว่และคิดถึงท่านอย่างแน่นอน จึงจ้องหาโอกาสที่จะนิมนต์หลวงปู่กลับเชียงใหม่คืนให้ได้ (อันนี้ผู้เขียนว่าเอง)

    พอออกพรรษาในปีนั้นแล้ว ศรัทธาญาติโยมทางเชียงใหม่จึงได้เดินทางไปนิมนต์หลวงปู่ของพวกเขาให้กลับไป อยู่ที่เชียงใหม่คืน ด้วยเหตุผลที่ว่า “ท่านหลวงตาชราภาพมากแล้ว สุขภาพก็ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องการให้ท่านได้พักผ่อน เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยจะได้พยาบาลรักษา และต้องการให้ท่านหลวงตาได้อยู่ใกล้โรงพยาบาล เพื่อจะได้ตอบแทนพระคุณด้วยการอุปัฏฐากรักษาท่านได้เต็มที่”

    หลวงปู่ ตอบญาติโยมชาวเชียงใหม่ว่า “อยู่ใกล้หมอยาถ้าหากเราไม่กินยาโรคก็ไม่หาย เราต้องอาศัยตัวของเราเอง” แล้วท่านก็หัวเราะอารมณ์ดีตามแบบฉบับของท่าน

    เมื่อ ถอดรหัสคำพูดของท่าน ก็หมายความว่า ข้ออ้างที่ว่าเพื่อจะได้ใกล้หมอ ใกล้โรงพยาบาล จึงไม่จำเป็นสำหรับท่าน

    ญาติโยม “จาวเจียงใหม่” ก็กราบนิมนต์ด้วยเหตุผลอื่นคือ “ที่วัด (วัดป่าอาจารย์ตื้อ) ได้สร้างเจดีย์ สร้างพระพุทธรูป และศาลาฟังธรรม เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เลยจะจัดให้มีการฉลองและทำบุญด้วย และขอนิมนต์ให้ท่านหลวงตาได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุด้วยองค์ของ ท่านเอง”

    เมื่อโดนไม้นี้ ท่านหลวงตาตื้อของจาวเจียงใหม่ก็จำเป็นต้องรับนิมนต์ และแน่นอนปุถุชนคนใดเล่าที่จะยอมปล่อยผู้ที่ตนรักและเคารพบูชายิ่ง ให้หลุดมือไปอยู่กับคนอื่นได้

    ผลก็คือ...หลวงปู่ตื้อท่านกลับไปจำ พรรษาที่จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔

    และแน่นอน...ชาวนครพนมคง จ้องรอจังหวะไปทวงหลวงตาตื้อที่รักและเคารพของเขากลับนครพนมคืนให้จงได้

    ว่า โดยส่วนตัวของหลวงปู่แล้ว ท่านถูกอัธยาศัยกับอากาศทางภาคเหนือมาก เพราะเย็นสบายและเหมาะอย่างยิ่งต่อการบำเพ็ญภาวนา ญาติโยมก็ให้การอุปัฏฐากหลวงปู่ดี และเป็นแดนแห่งคนใจบุญสุนทาน และที่สำคัญหลวงปู่ท่านอยู่ทางเหนือมานาน ท่านบอกว่าท่านได้ “ธุดงค์ไปทุกหนทุกแห่งในภาคเหนือนี้ จนชินกับความหนาวเย็นของภาคเหนือ”

    เป็นอันว่าตลอดพรรษาปี ๒๕๑๔ หลวงปู่พำนักอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่วัดป่าอาจารย์ตื้อนั่นเอง

    ท่าน ผู้อ่านคงจะลุ้นระทึกเช่นเดียวกับผมว่า ชาวนครพนมจะไปทวงหลวงปู่ผู้เป็นที่เคารพรักยิ่งของพวกเขาคืนได้อย่างไร และในโอกาสใด ต้องติดตาม !
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๙๕

    หลวงปู่กลับนครพนม

    หลัง จากออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๑๔ แล้ว ลูกหลานและทายกทายิกาชาวนครพนมพร้อมใจกันเดินทางไปกราบนิมนต์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ให้กลับไปจำพรรษาที่นครพนม ถิ่นกำเนิดของท่าน และกับขออาราธนานิมนต์ให้ท่านอยู่จำพรรษาที่นครพนมตลอดไป

    ไม้ตายของ ชาวนครพนมอยู่ที่คำว่า “ตลอดไป” นี้เอง

    เหตุผลคือ “หลวงปู่จากนครพนมไปนานจนแก่เฒ่าแล้ว ขอให้เมตตากลับไปโปรดลูกหลานที่บ้านเกิดด้วย”

    หลวงปู่จึงรับนิมนต์ และไปจำพรรษาที่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ตั้งแต่ออกพรรษาปี ๒๕๑๔ ติดต่อกันไปตราบจนท่านละขันธ์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ คืออยู่ที่นครพนมได้ ๔ ปีเท่านั้นเอง

    ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เจดีย์ที่เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ ก็เสร็จสมบูรณ์ ได้จัดพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและจัดงานฉลองสมโภชน์องค์พระเจดีย์ มีการบวชชีพราหณ์จำนวน ๒๓๐ คน มีการแสดงธรรมและปฏิบัติภาวนาตลอดคืน ตลอดทั้งปีมีผู้มาฟังธรรมะ และมาเข้ารับการอบรมกรรมฐานกับหลวงปู่จำนวนมาก หลวงปู่ต้องเทศน์ ต้องแสดงธรรมโปรดญาติโยมแทบไม่ว่างเว้นในแต่ละวัน แม้หลวงปู่จะอยู่ในวัยชราภาพ อายุ ๘๕ ปี แล้วก็ตาม ท่านลงสวดมนต์ ทำวัตร และเทศน์ ที่ศาลาการเปรียญเป็นประจำและไม่เคยว่างเว้นการปฏิบัติกิจของสงฆ์เลย

    ทาง ด้านสุขภาพของหลวงปู่ก็แข็งแรงดี ท่านไม่เคยเจ็บป่วย และไม่เคยบ่นว่าเหนื่อยหรือลำบากอะไรเลย

    (จากการศึกษาประวัติชีวิต ของหลวงปู่ ก็ไม่บอกว่าหลวงปู่เคยเจ็บป่วยถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อเลย จัดว่าหลวงปู่มีสุขภาพที่ดีเยี่ยมองค์หนึ่ง)

    [​IMG]
    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร-หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม-หลวงปู่แดง ธมฺมรกฺขิโต
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๙๖

    บันทึกธรรมในช่วงที่หลวงปู่อยู่นครพนม

    ท่านพระอาจารย์บูรฉัตร พรหมจาโร ศิษย์ผู้รวบรวมประวัติของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เล่มที่ผู้เขียนใช้เป็นหลักในการเขียนครั้งนี้ ได้บันทึกธรรมะที่หลวงปู่ได้แสดงช่วงที่ท่านอยู่ที่นครพนม ดังต่อไปนี้

    เมื่อ ท่านมาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม นี้ ข้าพเจ้าได้ไปกราบคารวะท่าน (ข้าพเจ้าเรียกท่านว่า หลวงตา) เป็นประจำ ได้กราบเรียนถามถึงการที่ท่านได้ออกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ และท่านก็ชอบเล่าให้ฟังเสมอ

    เพราะท่านหลวงตาท่านเดินธุดงค์ตั้งแต่ บวชมาจนถึงวัยชราภาพ ด้วยความมุ่งมั่นในพระธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว มีชื่อเสียงเป็นที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว

    ท่านชอบเดินเข้าไปในดงเสือร้าย ชอบนั่งภาวนาในป่าช้า ชอบธุดงค์ไปพบผีเจ้าที่ ผีเจ้าป่า เป็นผู้มีวิชาที่ผีบอกให้ ท่านเคยบอกคาถาป้องกันไฟให้ และเคยใช้ได้ผลมาแล้ว

    เมื่อ ข้าพเจ้าไปกราบท่านหลวงตา ท่านชอบเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ให้ฟังเสมอ และท่านหลวงตาชอบเทศน์ให้ฟังยาวๆ ถึง ๒-๓ ชั่วโมง ซึ่งก็เป็นความประสงค์ของผู้ฟังที่อยากให้เป็นเช่นนั้น

    ครั้งหนึ่ง ท่านได้เล่าเหตุการณ์ที่ท่านเดินธุดงค์ไปตามภูเขา ตามป่า ดงพงไพร ให้ฟัง แบบการแสดงพระธรรมเทศนา ว่า

    หลวงตาได้ออกเดินกรรมฐานมาหลายปี แล้ว จะเล่าให้ฟัง เมื่อครั้งไปจำพรรษาที่ภูลังกา อำเภอบ้านแพง นครพนม ได้เร่งทำความเพียรที่ภูลังกานั้นจนไม่ได้ฉันข้าวฉันน้ำ ตั้งใจแน่วแน่จะให้เห็นแจ้งต่อโลก พอจิตสงบบรรลุถึงโคตรภูญาณแล้ว รู้ไปถึงวิญญาณหลายพวกว่าเป็นอยู่อย่างไร

    นี่แหละหลาน เราบรรพชาอุปสมบทมา ต้องเร่งทำให้รู้ และเร่งทำให้ได้ เมื่อได้แล้วจะหมดสงสัยในการบรรพชา และจะลืมโลก อันมีระบบการเดินทางอันยืดยาวนี้เลยเด็ดขาด โลกนี้เขามีเครื่องผูกอันเหนียวแน่น ยากที่จะตัดได้ด้วยอย่างอื่น นอกจากพระธรรมของพระพุทธเจ้า

    มนุษย์เราเกิดมาก็ต้องทำบาปแล้ว เมื่อทำแล้วก็ต้องได้รับผลกรรมที่เราทำไว้ พ่อแม่เรานั้นทำกรรมมา เราเกิดมาก็ทำกรรมไป อะไรที่สุดของกรรม ไม่มีใครรู้ได้ ทำบาปแล้วมีตัวอย่างให้เห็นมากมาย

    ...ฯลฯ...

    ท่านหลวงตาเล่า ว่า สัตว์บางพวกในโลก หัวเป็นไก่ ท่อนตัวเป็นคน หัวเป็นควาย ท่อนตัวเป็นคน เป็นต้น ตามแต่บุญแต่กรรมที่ตนทำเอาไว้

    วิญญาณเหล่านี้ ถ้าหากพ้นจากสภาพนี้แล้วคงมิได้กลับมาเกิดเป็นคน คงต่ำลงไปต่ำกว่าที่ตนอยู่

    นักธรรม นักกรรมฐาน พระมหาเปรียญ ถ้าหากยังไม่บรรลุโคตรภูญาณแล้ว ก็คงไม่มีโอกาสได้รู้ได้เห็น ไม่ว่าจะเป็นท่านพระครู ท่านเจ้าคุณ หรือสังฆราชก็เช่นกัน เพราะจิตนั้นไม่มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ และยังเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าไม่ได้

    พระพุทธเจ้าประสูติ กับพวกเราเกิด ต่างกันที่ตรงไหน ก็ต่างกันตรงที่พระพุทธเจ้าไม่หลงโลก ไม่ติดอยู่ในโลกเหมือนพวกเราทั้งหมดในทุกวันนี้

    พระพุทธเจ้าท่านรู้ แจ้งรู้จริง คือรู้ที่เกิดที่ตายของพวกสัตว์ด้วยปัญญา ทั้งนี้ก็เพราะท่านรู้และตรัสรู้ของจริงตามความเป็นจริงนั่นเอง แต่เมื่อถึงเวลาแล้ว พระองค์ก็จากโลกนี้ไปเข้าสู่พระนิพพาน ไม่มีการเกิดอีก เหลือไว้แต่ความดีให้พวกเราได้คำนึงระลึกถึง เพื่อไม่ให้เป็นผู้หลงตาย อย่างนี้เราจึงเคารพเลื่อมใส กราบไหว้อย่างไม่จืดจาง ยอมมอบกายถวายชีวิต

    พวก เราทั้งหมดก็เกิดมาด้วยบุญวาสนา จึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นเวไนยชนอันหาได้ยาก เป็นที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว

    พระพุทธเจ้าจึงสอน ให้ไม่ประมาท ไม่ให้ลืมตัว ไม่ให้ลืมบุญวาสนาของตน คือไม่ให้ลืมตัวในการสร้างคุณงามความดี เพราะถ้าเราไม่สร้างคุณงามความดี ใจเราก็ไม่มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ อันจะเป็นเหตุให้ต่อภพต่อชาติเป็นมนุษย์ต่อไป เมื่อบารมีไม่แก่กล้า หากเราไม่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เราก็จะพากันไปสู่ภพที่ต่ำทรามก็ได้

    หลาย สิบครั้งที่ได้ฟังเทศน์ของท่านหลวงตา ปรากฏว่าไม่มีใครที่จะแสดงธรรมได้อย่างท่าน และท่านก็แสดงธรรมได้ไม่เหมือนใคร ท่านหลวงตากล้าพูด พูดในสิ่งที่เป็นความจริงมาก ตรงไปตรงมา

    เมื่อท่านได้แสดงธรรมจบลง แล้ว ท่านชอบอธิบายซ้ำอีก เพื่อความแจ่มแจ้งในการปฏิบัติตามธรรมให้ชัดขึ้น ท่านหลวงตาเทศน์ได้ดี ตามทัศนะของนักฟังความจริง และท่านได้เล่าเรื่องแปลกๆ ให้ฟังเสมอ โดยเฉพาะท่านชอบสั่งสอนว่า “ธรรมะ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเรามองข้ามไปเสียหมด อยู่ที่ตัวของเรานี้เอง มิใช่อื่น พุทธะ คือ ผู้รู้ ก็ตัวของเรานี้เองมิใช่ใครอื่น

    เช่นเดียวกันกับไข่ ไข่อยู่ข้างในของเปลือกของไข่ ทำให้เปลือกไข่แตก เราก็ได้ไข่

    พิจารณา ร่างกายของเราให้แตก แล้วเราก็จะได้ธรรมะ”

    “ธรรมะจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องการทำอะไรที่จริงจัง คือการตัดสินใจ อย่างแน่นอนลงไป แล้วเลือกเฟ้นธรรมะปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่นานหรอก เราก็จะได้พบสิ่งที่เราต้องการ

    ความกลัวทุกอย่างจะหายไปหมด ถ้าเราตัดสินใจอย่างใดแล้ว คือเราต้องเป็นคนมีจุดมุ่งหมาย อย่างหลวงตานับตั้งแต่บวชมา ได้ ตัดสินใจปฏิบัติธรรมะอย่างจริงจังจนทุกวันนี้ ไม่เคยลดละและท้อถอยเลย

    นักธรรม นักกรรมฐาน ต้องมีนิสัยอย่างเสือโคร่ง คือ ๑. น้ำจิต น้ำใจต้องแข็งแกร่ง กล้าหาญ ไม่กลัวต่ออันตรายใดๆ ๒. ต้องเที่ยวไปในเวลากลางคืนได้ ๓. ชอบอยู่ในที่สงัดจากคน ๔. ทำอะไรลงไปแล้วต้องมุ่งความสำเร็จเป็นจุดหมาย”

    “สัตว์ ดิรัจฉานมันดีกว่าคน ตรงที่มันไม่มีมายา ไม่หลอกลวงใคร มีครูอาจารย์ก็คือคน เป็นสัตว์นี้น่ารักน่าสงสาร คนเราซิโง่ เป็นพุทธะได้ แต่หลอกลวงตนเองว่าเป็นไปไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ให้พิจารณาว่าเป็นของเน่า เป็นของเหม็น แต่เราพิจารณาว่าเป็นของหอมน่ารัก โง่ไหมคนเรา?”

    ท่านบอก ว่า ผู้ที่สงสัยในกรรม หรือไม่เชื่อว่าจะต้องส่งผล คือ คนที่ลืมตนลืมตาย กลายเป็นคนมืดคนบอด คนประเภทที่ว่านี้ย่อมช่วยอะไรเขาไม่ได้เลย แม้จะมีกำเนิดสูงส่งสักปานใด ได้รับการทนุถนอมเลี้ยงดูมาอย่างวิเศษเพียงไรก็ตาม หากเขาไม่มองเห็นคุณข้าวคุณน้ำ คุณบิดามารดาแล้วนั้น เขาเรียกว่าคนรกโลก และก็ไม่รู้ด้วยว่าตนเองเป็นคนรกโลก และก็ไม่สนใจจะรู้ด้วย

    คิดเห็น แต่ว่า เพียงเขาเกิดมาและเจริญเติบโตมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ด้วยการดื่ม การกินอาหารบำรุงเลี้ยงร่างกายจนเติบใหญ่ เป็นเพราะมันจะต้องเป็นไปในทำนองนั้น

    มิได้คิดไปว่า ตนเองนั้นได้เกิดขึ้นเป็นตัวเป็นตน เพราะคุณของบิดามารดาทั้งสองป้องกันรักษาให้ชีวิตและร่างกายแก่ตนมา การทำความดี แม้แต่รูปร่างกายเรานี้ โดยกระทำให้ถูกให้ควรว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นกุศล อกุศล สิ่งที่บันดาลให้ร่างกายเราเจริญเติบโตขึ้นมาได้ ถ้าไม่เรียกว่าเป็นผล เราสมควรจะเรียกว่าเป็นอะไร จึงจะถูกต้องตามความเป็นจริง

    ความดี ความชั่ว สุข ทุกข์ ที่สัตว์โลกได้รับกันมาโดยตลอดสาย ถ้าปราศจากแรงหนุนเป็นต้นก็คงอยู่เฉยๆ

    ฉะนั้น นักกรรมฐานขอจงได้พิจารณาธรรมะของพระพุทธเจ้า คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นที่อยู่อาศัยของจิตนั้นให้มั่นคงถาวร

    และเมื่อเทศน์จบลง ท่านชอบถามผู้ฟังว่า ฟังเทศน์ดีไหม? คำถามเช่นนี้เคยกราบเรียนท่านว่า หมายถึงอะไร? ท่านบอกว่า หมายถึง การฟังธรรมครั้งนี้ ได้รับความสงบเป็นของจิตไหม และเกิดสังเวชในความชั่วไหม?

    ท่านหลวงตา ชอบตักเตือนเสมอว่า การปฏิบัติธรรมะนั้น อย่างที่ท่านบูรพาจารย์ทั้งหลายดำเนินมานั้น ท่านพยายามไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติธรรม พยายามให้เกิดความสนใจในธรรมปฏิบัติอยู่เสมอ

    การที่เราเกิดความเบื่อ หน่ายในธรรมปฏิบัตินี้เป็นการที่เราจะดำเนินการไปไม่ได้นาน และจะเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก

    แต่เกิดความสังเวชใน ธรรมบางอย่างนั้นเป็นการดี เพราะจะเป็นประโยชน์แก่เราผู้ปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง แต่ถ้าเบื่อหน่ายในความชั่ว ไม่เป็นไร เพราะถ้าเบื่อหน่ายในความชั่วแล้ว ก็เร่งพยายามทำความดีต่อไป
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๙๗

    ภารกิจช่วงสุดท้ายด้านการพัฒนา

    ใน ช่วง ๔ ปีระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๑๗ ที่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พักจำพรรษาที่วัดอรัญญวิเวก วัดบ้านเกิดของท่านนั้น หลวงปู่ได้แสดงธรรมโปรดลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ ญาติโยมทั้งไกลทั้งใกล้ อย่างไม่ขาดเลย

    แม้หลวงปู่จะชราภาพมากแล้วก็ตาม ถ้ามีญาติโยมไม่ว่าใกล้หรือไกลมากราบเยี่ยมท่าน ท่านจะต้อนรับขับสู้ด้วยการให้โอวาทธรรม และแสดงธรรมโปรดเสมอ

    ในช่วง ๔ ปีสุดท้ายนี้ หลวงปู่ได้ก่อสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๑ องค์ ที่วัดอรัญญวิเวกแห่งนี้ เพื่อให้เป็นที่สักการบูชาของประชาชนทั่วไป สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๔ หมื่นบาทเศษ ได้มีผู้ศรัทธาถวายปัจจัยร่วมการก่อสร้างจำนวนมาก ท่านได้นำปัจจัยที่เหลือจากการสร้างเจดีย์มาสร้างโบสถ์ต่อไป

    หลวงปู่ ได้ปรารภถึงวัดศรีวิชัย บ้านศรีเวินชัยของท่านพระครูอดุลธรรมภาณ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ประจำอำเภอศรีสงคราม ว่าสมควรจะได้สร้างพระอุโบสถไว้บวชลูกหลานเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา

    ท่านพระ ครูอดุลธรรมภาณจึงได้ขออนุญาตหลวงปู่เพื่อจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น เพื่อหารายได้ในการสร้างโบสถ์ หลวงปู่ท่านก็อนุญาต

    วัตถุมงคลที่จัด สร้าง มี ๓ ประเภท คือ (๑) พระกริ่งรูปเหมือนของท่าน มีเนื้อเงิน ๑๒ องค์ และเนื้อนวโลหะ ๕๐๐ องค์ (๒) พระผงรูปเหมือนของท่าน เนื้อว่านสี่เหลี่ยม ๒,๐๐๐ องค์ และชนิดกลม ๑,๒๐๐ องค์ (๓) เหรียญเนื้อทองแดง และชุบนิกเกิ้ล ๑๕,๐๐๐ เหรียญ เนื้อเงิน ๙๐ เหรียญ และเนื้อนวโลหะ ๒๐๐ เหรียญ

    วัตถุ มงคลชุดนี้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๖ แล้วนำถวายให้ท่านปลุกเสกเดี่ยวจนถึงวาระสุดท้ายในชีวิตของท่าน จึงเป็นวัตถุมงคลรุ่นสุดท้ายจริงๆ

    ภายหลังจากหลวงปู่มรณภาพแล้ว ก็ได้จัดพิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคลชุดนี้อีกครั้งหนึ่งในวันทำบุญครบรอบมรณภาพ ๑๐๐ วันของท่าน

    งาน พิธีได้จัดขึ้นที่วัดอรัญญวิเวกนี้ ได้นิมนต์ครูบาอาจารย์สายกรรมฐานมาเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกหลายองค์

    ได้ กล่าวแต่ต้นแล้วว่า รายได้จากการสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ นำไปสร้างพระอุโบสถวัดศรีวิชัยของท่านพระครูอดุลธรรมภาณ และอีกส่วนหนึ่งนำไปก่อสร้างพระอุโบสถวัดอรัญญวิเวก ซึ่งขณะนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์

    ทั้งหมดนี้คือภารกิจด้านการพัฒนาใน ช่วงสุดท้ายในชีวิตของหลวงปู่ ซึ่งในชีวิตของหลวงปู่แล้วท่านทุ่มเทในการสร้างคนมากกว่าการสร้างวัตถุสิ่ง ของ ถาวรวัตถุในวัดของท่านจึงมีเท่าที่จำเป็นและต้องใช้ประโยชน์จริงๆ เท่านั้น

    [​IMG]
    หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๙๘

    ท่านหลวงตาพระมหาบัวพูดเรื่องเสือกับหลวงปู่ตื้อ

    ใน หนังสือพ่อแม่ครูอาจารย์ ซึ่งเป็นประวัติของ ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ได้พูดถึงหลวงปู่ตื้อ ภายใต้หัวข้อ “เสือกับหลวงปู่ตื้อ” ดังนี้

    “หลวง ปู่ตื้อ บ้านข่า สามผง เราเคยไปพักอยู่เหมือนกันแต่ก่อน ไปภาวนา เสือชุมมากแถวนั้น หลวงปู่ตื้อ ท่านมีคาถาเป็นครูเสือ ไปอยู่ไหนเสือมักมานอนเฝ้าอยู่รอบๆ ข้างๆ ที่พักท่าน

    หลวงปู่ตื้อ ท่านไปอยู่แม่ฮ่องสอนไปอยู่ในบ้าน เสือก็มาอยู่ด้วย เสือโคร่งใหญ่นะมันมาแอบอยู่ด้วย

    ผู้เฒ่า (หลวงปู่ตื้อ) ไม่ได้สนใจกลัวมันแหละ เพราะมันเป็นครู คนอื่นนั่นสิ พระไปอยู่ด้วย พอดีกลางคืนพระปวดเบา จะออกมาเบา ออกมาเสือมันหมอบอยู่ข้างๆ เสือฮ่าๆ ใส่ เสียงร้องจ้าก วิ่งมา

    มันไม่มีอะไร มันจะเป็นอะไร มันไม่เป็นไรแหละ หลวงปู่ตื้อบอกไม่เป็นไร มันตื่น บางทีมันอาจทักทายเฉยๆ ก็ได้ ท่านว่าอย่างนั้น เสือมันโฮกๆ ใส่ พระก็โดดเข้ากุฏิ กุฏิพังกระมัง พระองค์นั้นมาอยู่ได้คืนเดียว วันหลังเผ่นเลย กลัว โอ๊ย ! อยู่ไม่ได้

    ไม่ เป็นไรแหละ อยู่จะเป็นไรไป มันก็อยู่กับคนดีแล้วนี่ หลวงปู่ตื้อท่านว่างั้นนะ

    เสือมันอยู่แอบๆ อยู่นี่ไม่ออกมาหาคนแหละ บางทีก็เห็นมันอยู่ในป่า คนอยู่อย่างนี้ แต่ถ้ามีคนแปลกหน้ามา มันคำรามนะ ท่านว่าให้มันทำ มันไม่ทำแหละ เพราะมันเป็นหมาของพระ ว่างั้นเถอะ รักษาเจ้าของ ใครมาแปลกๆ หน้านี่ไม่ได้ มันขู่คำราม ว่างั้น

    พอหลวง ปู่ตื้อว่า อย่าไปขู่เขานะ มันก็เงียบเลย

    เวลาหลวงปู่ตื้อไปไหนมาไหน เสือมักจะตามไปรักษาท่าน รักษาเงียบๆ นะ มันอยู่ในป่าแหละเสือ ท่านไปพักภาวนานี่ เสือมักจะมาอยู่ข้างๆ ถ้ามีคนแปลกหน้ามา เราถึงจะรู้ว่ามีเสือนะ

    ถ้าไม่มีคนแปลกหน้ามาก็เหมือนไม่มีเสือ มันไม่แสดงตัว มันอยู่ รอบๆ ข้างๆ ถ้ามีคนแปลกหน้ามา มีพระแปลกหน้ามา มันคำรามใส่ บางทีขู่คำราม เฮ่อๆ ใส โอ๊ย !

    ไม่เป็นไรแหละ มันรักษาพระ มันอยู่นี้เป็นประจำไม่เป็นไร ไม่ต้องกลัวมัน

    นี่หลวง ปู่ตื้อท่านเป็นอย่างนั้นนะ”
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๙๙

    เสือขับไล่เจ้าคณะอำเภอ

    ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้กล่าวถึงเรื่องเสือกับหลวงปู่ตื้อ ต่อไปนี้ว่า

    ท่านว่า ข้ามไปเที่ยวตั้ง ๕ อำเภอ มันยังตามไปนะเสือตัวนี้

    อันนี้เรายังไม่ เล่าให้ฟังถึงเรื่องเจ้าคณะอำเภอจะมาขับไล่ท่าน อันนี้ขบขันดีนะ

    ตอนกลาง คืนแต่ก่อนไม่มีไฟฟ้า มีแต่ตะเกียงเจ้าพายุ เจ้าคณะอำเภอเห็นท่านไปอยู่ในป่า จะมาขับไล่ท่าน จุดตะเกียงเจ้าพายุหิ้วมากลางคืน จะมาขับไล่ท่าน

    พอมาถึงวัด เสือตัวนั้นออกมาคำรามใหญ่เลย เฮ่อๆ ทางนี้ เปิดเลย ตะเกียงเจ้าพายุจะตกฟากแม่น้ำโขง (กระมัง) ไปใหญ่เลย

    ตกลงเสือขับ เสียก่อน พระนั้นยังไม่ได้มาขับหลวงปู่ตื้อแหละ ถูกเสือขับเสียก่อนแล้ว เผ่นใหญ่เลย ไปใหญ่เลย แตกทั้งญาติทั้งโยม ทั้งพระ แตกไปด้วยกัน ฮือๆ เลย

    เสือ มันคำรามใส่ มันยังไม่ทำไมแหละ มันก็เหมือนกับหมามี เจ้าของ ก็คาถาท่านครอบไว้นี่ มันกลัว ใจมันลง มันไม่ถือเป็นข้าศึก ถือเป็นเหมือนเจ้าของ

    [​IMG]
    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๐๐

    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท พูดถึงหลวงปู่ตื้อ

    หลวงปู่เจี้ยะ จุนโท แห่งสำนักวัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นศิษย์อาวุโสที่สำคัญอีกองค์หนึ่ง ท่านรับใช้ใกล้ชิด และหลวงปู่มั่นเอ็นดูเหมือนลูกเหมือนหลานท่านจริงๆ

    ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๙-๒๕๑๘ หลวงปู่เจี้ยะ พำนักจำพรรษาที่วัดเขาแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี บ้านเกิดของท่าน ท่านได้ปฏิบัติพัฒนาวัดแห่งนี้จนเจริญรุ่งเรือง สร้างเสนาสนะบริบูรณ์ทุกอย่าง

    ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ หลวงปู่เจี้ยะได้จัดงานทำบุญฉลองพระอุโบสถ โดยนิมนต์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม มาเป็นประธาน และพระกรรมฐานทั้งหลายได้มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก พระผู้ใหญ่ก็เช่น หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร หลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย เป็นต้น

    เมื่อ หลวงปู่ตื้อ มาพักที่วัดเขาแก้ว ท่านจะสนทนาธรรมกับหลวงปู่เจี้ยะ เป็นเวลานานๆ หลวงปู่เจี้ยะจะแสดงกิริยานอบน้อมน่ารักยิ่งนัก พูดจาวา “ครับ...ครับ...ครูอาจารย์” ในเวลาพูดก็พนมมือโดยตลอด

    ขณะหลวงปู่ ตื้อพักที่วัดเขาแก้วนั้น มีคนมาถามปัญหาท่าน บางปัญหาก็น่าขำ เช่น มีโยมคนหนึ่งกราบเรียนถามท่านว่า “หลวงปู่ครับ มุตโตทัย มันเกิดที่ไหน? หลวงปู่รู้ไหม?”

    “เฮ้ย ! รู้ๆๆ จากโคราชลงมาทางกรุงเทพฯ นี่มุตโตไทย จากโคราชขึ้นไปทางอุดร ขอนแก่นโน่น เป็นมุตโตลาว !” ญาติโยมหัวเราะกันครืน

    แล้ว หลวงปู่ตื้อท่านก็พูดว่า “มีปัญหาอะไรถามมาเลย กูนี่ตอบ ได้หมด ยิ่งปัญหาเป็นพันๆ ปี ก็ยิ่งตอบได้ถนัด”

    “โอ ! ขนาดนั้นเลยหรือหลวงปู่” โยมคนนั้นกล่าว โยมคนอื่นๆ มองหลวงปู่ตื้อ นัยน์ตาสลอนเหมือนตุ๊กตา

    “เออซีวะ...กูตอบได้หมดปัญหาในโลกนี้ ยิ่งนานเป็นพันปี ยิ่งตอบ ได้เต็มปากเต็มคำ”

    “ทำไมเป็นอย่างงั้นล่ะ ปู่” โยมผู้หญิงคนหนึ่งถาม

    “มันนานาแล้ว ไม่มีคนไปรู้กับกูหรอก ไม่มีคนไปค้นได้ ไอ้คนที่ถามกู มันก็ไม่รู้เรื่องหรอกนะ”

    หลวงปู่ ตื้อท่านว่าอย่างนั้น คนก็ยิ่งหัวเราะกันครื้นเครง

    มีโยมคนหนึ่งนั่ง ใกล้ๆ กับหลวงปู่เจี้ยะ พูดกระซิบถามท่านว่า “ถ้าหลวงปู่ตื้ออยู่ ท่านหลวงตามหาบัว จะกล้าหยอกเล่นไหมครับ?”

    “อู้ย ! ไม่กล้าหรอก”

    หลวง ปู่เจี้ยะ ตอบแบบเน้น ป้องปากแบบซุบซิบๆ

    (จากหนังสือหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท : พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง หน้า ๓๐๔-๓๐๕)

    [​IMG]
    พระครูสถิตธรรมวิสุทธิ์ (หลวงปู่ถิริ ฐิตธมฺโม)
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๐๑

    ได้พระผู้มีบุญญฤทธิ์มาช่วยสร้างโบสถ์

    ใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ขณะที่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พำนักจำพรรษาที่วัดอรัญญวิเวก (วัดป่าบ้านข่า) อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ท่านปรารภที่จะสร้างโบสถ์ที่วัดแห่งนี้ขึ้น

    หลวงปู่ท่านได้นิมิตเห็น เทวดาสวมชุดขาว สวมชฎาเหมือมงกุฎกษัตริย์ อุ้มท่านเหาะขึ้นไปบนยอดเขาสูง ซึ่งมีปราสาทสวยงามมาก ก่อนเข้าในปราสาท หลวงปู่ขอล้างเท้าก่อน พอน้ำที่ใสและเย็นถูกหลังเท้าของท่าน จิตท่านเลยถอนออกจากนิมิต

    หลวง ปู่ได้เพ่งพิจารณานิมิตนั้น ก็ได้ความว่าจะมีพระที่มีบุญญฤทธิ์ ชื่อคล้ายๆ กับสิงห์ หรือสิม นี้แหละ อยู่จังหวัดอุดรธานี จะมาช่วยสร้างโบสถ์ให้สำเร็จ

    หลัง จากนั้นอีกไม่กี่วัน หลวงปู่ได้นิมิตอีกครั้งหนึ่งว่า ท่านเห็นเครื่องบินผ่านวัด (ช่วงนั้นอยู่ระหว่างสงครามเวียดนาม เครื่องบินสหรัฐบรรทุกระเบิดไปทิ้งในเวียดนามและบินผ่านวัดเป็นประจำ) ท่านจึงหยิบปืนที่อยู่ข้างๆ เล็งขึ้นไป ปรากฏว่าท่านเห็นมีพระปัจเจกโพธิ์อยู่ในเครื่องบินลำนั้น ท่านจึงวางปืนลง และรำพึงว่า “เราเกือบยิงพระปัจเจกโพธิ์แล้ว”

    วันรุ่งขึ้นได้มีคณะ ผ้าป่ามาจากจังหวัดอุดรธานี นำโดยโยมกุ้ยกิ่ม ในคณะได้มี ท่านพระครูสถิตธรรมวิสุทธิ์ (หลวงปู่ถิริ ฐิตธมฺโม) ร่วมเดินทางมาด้วย

    ท่านพระครูสถิตธรรมวิสุทธิ์ พำนักอยู่ที่วัดทิพย์รัฐนิมิตร หรือวัดบ้านจิก อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ชื่อของท่านคือ หลวงปู่ถิร ฐิตธมฺโม ท่านมีฝีมือในการสร้างโบสถ์ได้อย่างงดงาม ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปฝึกหัด หรือร่ำเรียนจากที่ใดมาก่อน ชื่อของท่านคือ “ถิร” อ่านว่า “ถิน” เสียงคล้ายๆ กับ สิงห์ หรือ สิม ในนิมิตของหลวงปู่ตื้อ

    ช่วงนั้น หลวงปู่ถิร ได้ช่วย หลวงปู่ชอบ ฐานสโม สร้างโบสถ์กลางน้ำที่วัดป่าสัมมานุสรณ์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ซึ่งใกล้จะเสร็จแล้ว

    หลวงปู่ตื้อยังไม่รู้จักหลวงปู่ถิร แต่หลวงปู่ถิรรู้จักหลวงปู่ตื้อมาก่อน ในฐานะที่หลวงปู่ตื้อเป็นลูกศิษย์รุ่นใหญ่ในสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

    เมื่อ หลวงปู่ตื้อปรารภเรื่องการสร้างโบสถ์ หลวงปู่ถิร ได้กล่าวว่า “ถ้าเรามีบุญบารมีร่วมกันมาก่อน ก็คงจะร่วมกันสร้างโบสถ์ได้สำเร็จ”

    แล้วหลวงปู่ถิรก็รับปากจะ ช่วย โดยขอข้อแม้ ๒ ประการ หนึ่ง ต้องไม่มีการสร้างเหรียญหรือวัตถุมงคลออกจำหน่ายหาเงินเข้าวัด และสอง ต้องไม่มีการจัดมหรสพเพื่อหาเงินเข้าวัด

    วัตถุประสงค์ของหลวงปู่ทั้ง สองตรงกัน และก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวัดป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่ถือปฏิบัติอยู่แล้ว การก่อสร้างโบสถ์ที่วัดป่าบ้านข่าจึงเริ่มดำเนินไปตั้งแต่บัดนั้น และการก่อสร้างก็ก้าวหน้าไปด้วยดี

    ในหนังสือธรรมประวัติของพระครู สถิตธรรมวิสุทธ์ (หลวงปู่ถิริ ฐิตธมฺโม) ได้กล่าวถึงว่า ทุกครั้งที่หลวงปู่ถิรเข้าพบหลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ตื้อจะได้นิมิตทราบเหตุการณ์ต่างๆ ล่วงหน้าเสมอ ท่านที่สนใจกับนิมิตเหล่านั้น โปรดติดตามหาอ่านจากหนังสือดังกล่าวได้

    เมื่อ การสร้างโบสถ์ดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง หลวงปู่ตื้อได้บอกหลวงปู่ถิร ว่า

    “ช่วย สร้างโบสถ์ให้เสร็จเร็วๆ ด้วย เพราะขณะนี้เหล่าเทวดามานิมนต์แล้ว ๔๐๐ องค์ ฝ่ายมนุษย์มานิมนต์เพียง ๒๐๐ คน คงต้องมรณภาพในเวลาอันใกล้นี้”

    หลวง ปู่ถิรได้เร่งก่อสร้างโบสถ์ แต่ต้องใช้เวลา ดังนั้น โบสถ์วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า จึงเสร็จภายหลังจากที่หลวงปู่ตื้อได้มรณภาพไปแล้ว

    [​IMG]
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๐๒

    วาระสุดท้ายก่อนละขันธ์

    ใน ปี พ ศ. ๒๕๑๗ เป็นปีที่ ๔ ที่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม มาพักจำพรรษาที่วัดอรัญญวิเวก บ้านเกิดของท่านนั้น ไม่มีใครคาดคิดเลยว่า หลวงปู่จะรีบละวางขันธ์จากพวกเราไปในปีนี้

    ก่อนเข้าพรรษาในพรรษาสุด ท้าย หลวงปู่จะพูดเสมอว่า “ใครต้องการอะไร ก็ให้เร่งรีบสร้างเอา คุณงามความดีทั้งหมดอยู่ที่ตัวของเราแล้ว ขันธ์ ๕ นี้เมื่อมันยังไม่แตกดับ ก็อาศัยมันประกอบความดีได้ แต่ถ้ามันแตกดับแล้วก็อาศัยมันไม่ได้เลย ขันธ์ ๕ ของหลวงตาก็จะดับแล้วเหมือนกัน..”

    หลวงปู่ย้ำบ่อยครั้งที่สุดว่า “ธาตุลมของหลวงตาได้วิบัติแล้ว บางครั้งมันเข้าไปแล้วก็ไม่ออกมา นานที่สุดจึงออกมา และเมื่อมันออกมาแล้ว ก็ไม่อยากจะเข้าไป”

    หลวงปู่ท่านพูดอยู่เช่นนี้ แต่ดูเหมือนไม่ค่อยมีใครใส่ใจถึงเรื่องการจะมรณภาพวางขันธ์ของท่าน เพราะสุขภาพของท่านก็แข็งแรงดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บอะไรที่จะต้องกังวล ท่านก็ไม่ได้อาพาธอะไรเลย เดินเหินไปไหนมาไหนได้แคล่วคล่องตามปกติ เพียงแต่ลูกศิษย์คอยช่วยประคับประคองบ้าง เนื่องจากเป็นห่วงเพราะท่านชราภาพมากแล้วเท่านั้น

    ก่อนเข้า พรรษา จะมีคณะสงฆ์ที่เคารพศรัทธาในองค์หลวงปู่ท่าน มาทำวัตร เพื่อกราบสักการะและถวายดอกไม้ธูปเทียนต่อหลวงปู่ ซึ่งปฏิบัติเป็นประเพณีทุกปี แล้วหลวงปู่ก็ให้โอวาทธรรม และสนทนาธรรม ต้อนรับขับสู้ไปตามระเบียบที่เคยปฏิบัติ

    ในพรรษา หลวงปู่แสดงธรรมโปรดญาติโยมลูกศิษย์ลูกหา ทั้งฝ่ายฆราวาสและฝ่ายบรรพชิตทุกวันไม่เคยขาด แต่มีที่แปลกกว่าพรรษาก่อนๆ กล่าวคือ เมื่อท่านแสดงธรรมจบแล้ว ท่านจะพูดเสมอว่า

    “ลมไม่ค่อยดี ลมไม่ค่อยเดินสะดวก ลมของหลวงตาวิบัติแล้ว ลูกหลานเอ้ย”

    แล้วท่านก็ ยิ้มและหัวเราะอย่างสบายใจตามปกติวิสัยของท่าน มิหนำซ้ำท่านไม่เคยบ่นว่าเหนื่อยหรือแสดงอาการลุกนั่งลำบากให้เห็นเลย จึงไม่มีใครใส่ใจและกังวลเรื่องธาตุขันธ์ของท่านเท่าที่ควร

    การแสดง ธรรมของท่าน ยังคงรูปแบบเอกลักษณ์ของท่าน ไม่ว่าจะเป็นสำนวนโวหาร ทัศนะ ลีลา ทุกอย่างเป็นปกติ โปรดญาติโยมและคณะสงฆ์อย่างสม่ำเสมอ

    ในเวลา กลางคืน ซึ่งเป็นเวลาประชุมพระภิกษุสามเณร และญาติโยมชาวบ้าน หลวงปู่จะต้องลงมาจากกุฏิเพื่อแสดงธรรม ไม่เคยงดเว้นแม้แต่วันเดียว จะไม่มีคำว่าหลวงตาอาพาธแสดงธรรมไม่ได้ ลูกศิษย์ลูกหาพูดอยู่เสมอว่า “หลวงตาถึงจะมีอายุ แต่ก็ยังแข็งแรงดี” ใครๆ ก็ว่าอย่างนั้น

    หลังการ แสดงธรรม เมื่อหลวงปู่พูดว่า “ขันธ์ ๕ จะดับแล้ว ธาตุลมวิบัติแล้ว” ก็มีผู้กราบเรียนถามท่านว่า “ท่านหลวงตาไม่เหนื่อยหรือ?”

    หลวงปู่ ท่านบอกว่า

    “ขันธ์ ๕ จะให้หยุดการแสดงธรรมเหมือนกัน แต่จิตไม่หยุด มันก็หยุดไม่ได้ การแสดงธรรมเป็นหน้าที่ของเรา เกิดมาเพื่อทำประโยชน์ทั้งนั้น

    ให้ความดี แล้วก็ทำความดี ต้องทำความดีเพื่อความดีอีก

    คนเกิดมารู้จักพุทโธ ธัมโม สังโฆ จึงจะเป็นคนไม่ใช่สัตว์ เราต้องรู้จักพระธรรมให้ดีที่สุด จึงจะเรียกได้ว่าพระมหาเปรียญ พระนักธรรม พระกรรมฐาน”
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ๑๐๓

    สามวันก่อนหลวงปู่มรณภาพ

    หลัง จากเข้าพรรษาไปได้ ๑๑ วัน คือ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๑๗ เวลาประมาณเที่ยงวัน หลวงปู่แว่น ธนปาโล ได้นำคณะสงฆ์จาก วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร มาทำวัตร และขอโอวาทธรรมจากหลวงปู่ตามประเพณีปฏิบัติ

    หลวง ปู่แสดงพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ จบแล้วสังเกตเห็นว่า ท่านเหนื่อยมาก อาการเช่นนี้แสดงให้เห็นตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม คือ ๒ วันที่แล้ว

    หลวง ปู่ไม่เคยปริปากบอกว่าท่านเหนื่อย แต่ท่านพูดว่า “เทศน์วันนี้มีหัวใจธรรม”

    แล้ว ท่านก็เอนหลังลงพักผ่อน ดูอาการภายนอกแล้วเห็นว่า ท่านเหนื่อยจริงๆ ตัวท่านร้อน มีไข้ ลูกศิษย์ได้ถวายยาแก้ไข้ ท่านรับมาฉันแล้วพูดว่า

    “ยา นี้รักษาใจไม่ได้ แต่รักษาขันธ์ ๕ ได้ แต่ขันธ์ ๕ ของหลวงตาจะดับแล้วล่ะ”

    วัน ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗ ท่านพระอาจารย์อุ่น จากวัดอุดมรัตนาราม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร มากราบเยี่ยมทำวัตรหลวงปู่แล้วท่านแสดงพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ เรื่องอายตะภายใน อายตนะภายนอก

    สอนให้รู้อายตนะภายในและอายตนะภายนอก ให้รู้อาการเป็นไปของอายตนะทั้งสอง สุดท้ายท่านแสดงว่าอายตนะของหลวงตาจะแตกดับแล้วละ

    ท่านพระอาจารย์ อุ่นกราบลา เดินทางกลับเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น.

    เย็นวันนั้นสังเกตเห็น ว่าหลวงปู่ท่านเหนื่อย พูดเบา บางครั้งก็พักหายใจยาวๆ แล้วจึงพูดสอนลูกศิษย์ต่อ

    ลูกหลานและลูกศิษย์กราบเรียนให้ท่านพัก ผ่อน ท่านเอนหลังลง แล้วก็เทศน์สั่งสอนลูกศิษย์ไปเรื่อยๆ ไม่หยุด

    ลูก ศิษย์ได้ถวายยาท่าน ท่านบอกว่า

    “ยามีประโยชน์แก่ร่างกาย ก็ต่อเมื่อร่างกายต้องการเท่านั้น”

    เช้าวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗ หลวงปู่ฉันภัตตาหารเช้าตามปกติ แต่ฉันได้น้อย สังเกตดูอาการภายนอกเห็นว่าท่านเหนื่อยและอ่อนเพลียมากทีเดียว

    ฉัน เสร็จท่านเข้าไปพักผ่อนเพียงเล็กน้อย แล้วแสดงธรรมโปรดศิษย์และญาติโยมตลอด แต่เสียงเบามาก พอดีมีพระภิกษุสามเณรจากวัดอื่นมากราบท่าน ท่านจึงบอกให้ลูกศิษย์พยุงท่านลุกขึ้นนั่ง แล้วท่านพูดว่า

    “สังขาร ไม่เที่ยง หลวงตาเกิดมาก่อน ก็ต้องไปก่อนตามธรรมดา”

    ท่านแสดงธรรม โปรดคณะสงฆ์ชุดนั้นประมาณ ๑๕ นาที คณะพระสงฆ์และสามเณรได้กราบลาเมื่อเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. หลวงปู่แสดงอาการเหนื่อยมาก พูดเบามาก ท่านบอกว่า

    “ลมวิปริตแล้ว ไม่มีแล้ว”

    ท่านให้พรลูกศิษย์ที่อยู่ ณ ที่นั้นเป็นภาษาบาลีว่า

    “พุ ทโธ สุโข ธมโม สุโข สงฺโฆ สุโข
    จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ”

    แล้วหลวงปู่ก็หัวเราะ ยิ้มให้ลูกศิษย์ตามนิสัยปรกติของท่าน ท่านมีอารมณ์ดีไม่สะทกสะท้านต่อความตายที่ประชิดเข้ามา ไม่หลง ไม่กังวลใดๆ ยังสงบเย็นเป็นปกติ

    คณะศิษย์ที่อยู่ ณ ที่นั้น ก็มีท่านพระอาจารย์อุ่น พระอาจารย์บาน และพระภิกษุสามเณรอีกหลายสิบรูป เฝ้าดูอาการท่าน และรับคำสอนจากท่านจนวินาทีสุดท้าย

    หลวงปู่พูดธรรมะ สอนศิษย์ไปเรื่อยๆ แม้เสียงจะเบาแต่ก็ยังพอรู้เรื่อง จนประโยคสุดท้ายท่านพูดว่า

    “ธาตุลมในหลวงตาวิปริตแล้ว”

    จาก นั้นท่านไม่พูดอะไรอีก สังเกตดูอาการเคลื่อนไหวทุกอย่างหยุดสนิท ทุกคนจึงแน่ใจว่า หลวงปู่ได้ละขันธ์แล้ว เมื่อเวลา ๑๙.๐๕ น.

    แทบไม่ ต้องนัดแนะกัน ศิษย์ทุกท่าน ณ ที่นั้นก้มลงกราบแทบเท้าของท่านด้วยความรัก ความศรัทธา และความเคารพในองค์ท่านอย่างสุดจิตสุดใจ

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ลูกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลูกศิษย์เอกของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างสมบูรณ์ที่สุด เท่าที่สมณะในพระพุทธศาสนาจะพึงทำ ได้ละวางขันธ์ถึงแก่มรณภาพด้วยความองอาจ และสง่างามครบถ้วนบริบูรณ์ที่สุด เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราซ ๒๕๑๗ เวลา ๑๙.๐๕ นาฟิกา สิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี ๕ เดือน ๑๖ วัน อายุพรรษาเฉพาะธรรมยุติกนิกาย ๔๖ พรรษา รวมทั้งสองนิกายได้ ๖๕ พรรษา

    [​IMG]
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม-หลวงปู่สิม พุทธาจาโร-หลวงปู่ทองบัว ตนฺติกโร
    ณ วัดโรงธรรมสามัคคี ต.สันกำแพง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๐๔

    หลวงปู่เคยกลับไปเชียงใหม่อีกไหม?

    ตอน แรกคิดว่าจะจบประวัติและเรื่องราวของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ในตอนที่ ๑๐๓ เมื่อท่านละสังขารแล้ว เผอิญมีผู้ถามมาว่า ภายหลังที่หลวงปู่กลับไปอยู่ที่นครพนมแล้ว ท่านได้กลับไปโปรดลูกศิษย์ลูกหาที่เชียงใหม่อีกหรือเปล่า? อัฐิของท่านเป็นพระธาตุหรือไม่? เป็นต้น เผอิญข้อมูลต่างๆ เหล่านี้มีอยู่บริบูรณ์แล้วในหนังสือทิพย์ : พระอรหันต์ยุคปัจจุบัน ผมเพียงแต่ยกมาตกแต่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็ใช้ได้

    ในหนังสือทิพย์ ได้กล่าวถึงการกลับไปโปรดลูกศิษย์ลูกหา ที่เชียงใหม่ ดังนี้

    “ก่อนหน้าที่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม จะมรณภาพ ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน ท่านมักจะได้รับนิมนต์ไปเชียงใหม่บ่อยมาก...”

    ก็ ขออนุโมทนาสาธุกับพี่น้องชาวเชียงใหม่ทุกท่าน หลวงปู่ท่านต้องไม่ลืมชาวเชียงใหม่แน่เพราะท่านได้บรรลุธรรมสูงสุดก็ ที่เชียงใหม่นั้นเอง และชาวเชียงใหม่ก็ได้ดูแลอุปัฏฐากถวายอาหารบิณฑบาต ซึ่งก็คือให้ชีวิต ให้เลือด ให้เนื้อในร่างกายของท่าน ทำให้ท่านมีกำลังวังชาที่จะบำเพ็ญเพียรและเผยแผ่ธรรมะต่อไป แล้วท่านจะลืมพวกท่านได้อย่างไร?

    ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ หลวงปู่ตื้อ ได้ไปเยี่ยม หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ที่สันกำแพง (คาดว่าน่าจะเป็น วัดโรง ธรรมสามัคคี ซึ่ง ท่านหลวงปู่ทอง บัว ตนฺติกโร เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และคุณทักษิณ ชินวัตร ก็เคยบวชอยู่ที่วัดนี้ โดยมีท่านหลวงปู่ทองบัว หรือพระวิมลธรรมญาณเถร เป็นพระอุปัชฌาย์)

    หลวงปู่ตื้อท่านได้กล่าวกับหลวงปู่สิมว่า

    “ผม จะขอลาท่านกลับไปบ้านเกิด จะเอาสังขารไปทิ้งที่นั่น คงจะมิได้กลับมาเชียงใหม่อีก”

    แล้วท่านก็กล่าวต่อไปว่า

    “ผมมีความลับจะบอกท่านอยู่เรื่องหนึ่ง ผมรักษาเอาไว้ ๓๔ ปีนี่แล้ว เมื่อครั้งที่หลวงปู่มั่นยังอยู่ที่เชียงใหม่ ก่อนท่านจะกลับไปอุดรธานี ท่านได้พยากรณ์ไว้ว่า ศิษย์รุ่นต่อไปที่จะมีชื่อเสียงโด่งดังคือ ท่านสิม กับ ท่านมหาบัว (ท่านหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนโน) นี่แหละ”

    แล้วในปีต่อมา คือ พ.ศ. ๒๕๑๗ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เอาสังขารของท่านไปทิ้งที่นครพนม บ้านเกิดของท่านจริงๆ

    ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากหนังสือทิพย์ ตามที่ได้กราบเรียนตั้งแต่ต้น

    [​IMG]
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

    [​IMG]
    พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๐๕

    พระมหาเถระคนละนิกายท่านคุยกัน

    ก็ ในหนังสือทิพย์เล่มเดียวกันนั่นแหละ ได้ถ่ายทอดการสนทนาถึงเรื่องหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ระหว่างมหาเถระต่างนิกาย คือ ท่านพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) แห่งสำนักวัดจันทาราม (ท่าซุง) อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย กับ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร แห่งสำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย

    ผมขอ คัดลอกบันทึกการสนทนาจากหนังสือทิพย์มาเสนอ ดังนี้

    เป็นที่เชื่อกัน ว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านได้สำเร็จภูมิธรรมขั้นสูงเพราะอัฐิของท่านได้กลายเป็นพระธาตุ และแม้แต่ท่านจะเข้าสู่แดนนิพพานไปแล้วก็ตาม แต่ในบางครั้งท่านก็ยังเมตตามาโปรดเยี่ยมเพื่อนสหธรรมิกที่เป็นศิษย์ในสาย เดียวกัน ดังเช่น หลวงปู่สิม พุทธาจาโร (มรณภาพเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๕) แห่งสำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหลวงปู่สิมท่านมีความเคารพนับถือหลวงปู่ตื้อเป็นอย่างมาก

    ในการ สนทนาครั้งหนึ่ง ที่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (มรณภาพเมื่อ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕) แห่งวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ได้ไปเยี่ยมหลวงปู่สิม ที่ถ้ำผาปล่องในครั้งนั้น

    เมื่อเจอกัน หลวงปู่สิมได้นิมนต์ให้หลวงพ่อฤๅษีฯ ขึ้นนั่งบนอาสนะที่วางอยู่บนยกพื้นสูงขึ้นไป ส่วนหลวงปู่สิมคงนั่งอยู่บนอาสนะที่พื้นล่าง แต่หลวงพ่อฤๅษีฯ ได้ปฏิเสธ ขอนั่งบนพื้นล่างเสมอกับหลวงปู่สิม

    ในคำสนทนาตอนหนึ่ง หลวงพ่อฤๅษีท่านได้ปรารภว่า “หลวงปู่ตื้อไปเสียแล้ว เสียดายจริงครับ”

    หลวงปู่สิม ท่านพึงพอใจที่กล่าวถึงครูบาอาจารย์ของท่าน ที่ท่านเคารพ จึงได้ถามว่า “ท่านเคยไปเยี่ยมหลวงปู่หรือ?”

    “เจอกันครับ ทะเลาะกัน” หลวงพ่อฤๅษีตอบยิ้มๆ ท่านหมายความว่าได้โต้ตอบโอวาทธรรมกันไม่ใช่ทะเลาะกัน

    “หลวง ปู่ตื้อปฏิภาณโวหารมาก” หลวงปู่สิมพูดยิ้มๆ

    “หลวงปู่ตื้อดีมากครับ ปฏิภาณเก่งจริงๆ ยอดจริงๆ นี่ได้ตัวยอดปัญญาจริงๆ หายาก เสียดาย” หลวงพ่อฤๅษีฯ กล่าวต่อ

    หลวงปู่สิม ท่านก็กล่าวเสริมขึ้นว่า “เคยถามหลวงปู่ตื้อสมัยท่านมีชีวิตว่า เอ...พระที่มีปฏิภาณโวหารนี้มีอยู่หรือในประเทศไทย หลวงปู่ตื้อตอบว่าไม่มี แต่ไอ้ปฏิภาณโวหารมันมี แต่ว่าเพื่อนมักจะขัดคอ”

    “ธรรมดาหลวงปู่เก่ง จริงๆ ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างคาดไม่ถึง...เสียดายหลวงปู่ตื้อ ถึงหลวงปู่ตื้อไม่มีรูป แต่ยังมีพิษนะครับ ฤทธิ์เดชมีมาก” หลวงพ่อฤๅษีฯ กล่าวต่อ

    “บางทีหลวงปู่ตื้อจะมาอยู่ที่นี่ก็ไม่รู้” หลวงปู่สิมพูดยิ้มๆ

    หลวงพ่อฤๅษีฯ โพล่งออกมาทันทีว่า “ฮึ หลวงปู่ตื้อมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมา ท่านมานานแล้ว ไม่จะหรอกครับ ท่านเป็นพระที่น่ารักมาก”

    “ครับ” หลวงปู่สิมตอบยิ้มละมัย

    “ชอบ ในปฏิปทาของหลวงปู่ตื้อ คือไม่อั้นใครทั้งนั้น เรื่องตอบเลี่ยงคนไม่มี ตรงไปตรงมา หายาก” หลวงพ่อฤๅษีฯ กล่าวต่อไป

    “ครับ” หลวงปู่สิมตอบรับ

    “นี่ ธรรมแท้ ถ้าทำขึ้น ทำละพังเลย ขืนตั้งกำแพงเมื่อไร ชนพังเมื่อนั้น ดีจริง หายาก หาไม่ได้ แต่ก็ยังมีอยู่ที่นี่ก็ยังมีรูปหนึ่ง” หลวงพ่อฤๅษีฯ ว่า

    “ใคร ครับหลวงพ่อ” ลูกศิษย์ท่านหนึ่งเรียนถาม

    “นี่...อยู่ตามถ้ำนี้แล้ว ไม่ช้าหรอกไม่ช้าก็เป็นหลวงปู่ตื้อรูปที่สอง”

    ที่หลวงพ่อฤๅษีฯ ตอบอย่างนั้น ท่านหมายถึงหลวงปู่สิม จะเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณเหมือนหลวงปู่ตื้อ

    หลวงปู่สิมหัวเราะ น้อยๆ ไม่กล่าวอะไร

    ต่อมาหลวงพ่อฤๅษีฯ ได้เล่าให้ลูกศิษย์ทั้งหลายฟังถึงเรื่องนี้ในภายหลังว่า หลวงปู่ตื้อมาถ้ำผาปล่องนานแล้ว ท่านนั่งอยู่บนอาสนะที่ยกพื้นนั้น

    ฉะนั้น ตอนที่หลวงปู่สิมนิมนต์ให้หลวงพ่อฤๅษีฯ นั่งบนยกพื้น ท่านจึงไม่ยอมนั่ง เพราะจะเป็นการขึ้นไปนั่งเทียบเสมอหลวงปู่ตื้อ ซึ่งไม่บังควรเป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อฤๅษีฯ จึงขอนั่งเสมอหลวงปู่สิม

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านเป็นพระอรหันต์ทรงคุณธรรมพิเศษยอดยิ่ง ได้ปฏิสัมภิทาญาณ คือ มีความรู้พร้อมในหัวข้อธรรมวินัยอย่างยอดเยี่ยมเป็นเลิศ อันเป็นคุณวิเศษที่เรียกว่า เหนือ อัจฉริยะ ซึ่งหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน

    [​IMG]
    (จากซ้ายมาขวา) หลวงปู่ทองบัว ตนฺติกโร-พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล)
    และ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ส่วนพระคุณเจ้าอีก ๒ รูปถัดไปนั้นไม่ทราบนาม
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๐๖

    อัจฉริยภาพด้านภาษาและการสื่อสาร

    จาก การศึกษาประวัติและเรื่องราวของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม จากตอนต่างๆ ที่ผ่านมา จะเห็นว่าหลวงปู่ท่านสามารถติดต่อสื่อสารกับบรรดาเทพทั้งหลาย รวมถึงภูตผีปีศาจและวิญญาณในระดับต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

    หลวงปู่ สามารถเข้าใจภาษาสัตว์ชนิดต่างๆ นับตั้งแต่ลิง นก ไปถึงสัตว์ที่ดุร้าย เช่น เสือ และสัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง ได้อย่างไม่ต้องสงสัย

    ผู้เขียนได้รับ การบอกเล่าจากหลวงพ่อเปลี่ยน ปัญฺญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ว่าหลวงปู่ตื้อ กับหลวงปู่แหวน ท่านเดินธุดงค์ไปถึงพม่า อินเดีย เนปาล จนถึงทิเบต และลงเรือสำเภาไปเกาะศรีลังกา จึงแน่ใจว่าท่านสามารถสื่อสารกับประชาชนในประเทศเหล่านั้น อย่างน้อยก็สามารถเอาตัวรอดได้

    เรื่องภาษาบาลี หลวงปู่ท่านรู้แน่นอน เพราะท่านเคยเรียนมูลกัจจายน์ หรือหลักสูตรนักปราชญ์มาแล้ว

    ภาษาที่ หลวงปู่ใช้อยู่ประจำ คือ ภาษาไทยภาคกลาง ไทยภาคอิสาน ไทยภาคเหนือ ภาษาลาว ท่านใช้ได้คล่องแคล่วอยู่แล้ว ไม่ต้องสงสัย

    หลวงพ่อเปลี่ยนท่านบอก ว่า หลวงปู่ตื้อท่านพูดฝรั่งเศสได้ตั้งแต่ครั้งธุดงค์ไปทางฝั่งลาว และก็เคยได้ยินหลวงปู่ท่านพูดภาษาเขมรกับพระที่มาจากจังหวัดสุรินทร์ได้ อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งไม่ทราบว่าท่านไปเรียนมาตั้งแต่เมื่อใด

    นอกจาก นี้ภาษาชาวเขา และชาวป่าเผ่าต่างๆ หลวงปู่ตื้อท่านก็สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี

    เท่าที่ศึกษาประวัติ ของท่านโดยละเอียด ผู้เขียนเห็นว่า หลวงปู่ตื้อ ท่านเป็นพระอรหันต์ที่ครบเครื่องอย่างแท้จริง ท่านแตกฉานด้านพระธรรมวินัย เทศน์เก่ง สอนเก่ง ด้านพลังจิต อิทธิฤทธิ์ของท่านก็มีอย่างเพียบพร้อมบริบูรณ์ (คือได้ทั้ง “บุ๋น” และ “บู๊” อย่างครบเครื่องจริง)

    ดังนั้น ผู้เขียนจึงไม่มีความเคลือบแคลงแม้แต่น้อยนิดกับคำกล่าวของพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ที่ว่า

    “หลวงปู่ตื้อ ท่านเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ”
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๐๗

    หลวงปู่คล้องลูกประคำอยู่เสมอหรือ?

    รูป ของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ปรากฏแพร่หลายในปัจจุบัน จะเห็นท่านสวมลูกประคำไว้ที่คอเหมือนกับเกจิอาจารย์ และพระครูบาทางภาคเหนือ

    เท่า ที่ปรากฏ ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ไม่เห็นมีพระองค์ใดที่สวมลูกประคำ ก็เห็นมีแต่หลวงปู่ตื้อองค์นี้แหละที่ต่างไปจากพระวิปัสสนาจารย์องค์อื่นๆ

    หลายๆ ท่านคงมีความสงสัยในเรื่องนี้ ว่าปกติหลวงปู่ตื้อท่านคล้องหรือไม่คล้องลูกประคำไว้ที่คอ?

    ผู้เขียน สงสัยเรื่องนี้มานาน ได้มีโอกาสกราบเรียนถามครูบาอาจารย์อาวุโส ๓ องค์

    องค์ แรก ผู้เขียนได้กราบเรียนถาม พระครูภาวนา ภิรัต (หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ) หลานของหลวงปู่ตื้อ และเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอาจารย์ตื้อ สืบต่อมาจากหลวงปู่

    หลวงปู่สังข์ ท่านบอกว่า ท่านก็ไม่ค่อยชอบใจที่เห็นรูปหลวงปู่ตื้อแขวนสร้อยประคำไว้ที่คอ จนทำให้ใครต่อใครเข้าใจผิด โดยคิดว่าท่านแขวนเป็นประจำ ซึ่งโดยปกติทั่วไปท่านไม่ได้แขวน แต่ท่านมีลูกประคำไว้ในย่ามเป็นประจำ ท่านแขวนบ้างตอนทำพิธีหรือปลุกเสกบางอย่าง เสร็จแล้วท่านก็เก็บ ไม่ได้แขวนเป็นประจำเหมือนที่เห็นในภาพถ่าย

    หลวงปู่สังข์บอกว่า ก็เป็นปฏิปทาที่แปลก เวลามีคนขอถ่ายรูป ท่านจะหยิบสร้อยประคำที่อยู่ในย่ามมาคล้องคอ แล้วจึงอนุญาตให้ถ่ายได้ เป็นดังนี้เสมอ ดังนั้นรูปหลวงปู่ตื้อที่เผยแพร่ออกมา จึงแขวนสร้อยประคำแทบทุกรูป จนคนรุ่นหลังจำติดตา คิดว่าท่านสวมสร้อยประคำเป็นประจำ นอกจากนี้เวลามีคนขอลูกประคำจากท่าน ท่านจะแกะให้ทีละลูก หรือบางคนขอไปทั้งสาย ท่านก็ถอดให้เขาเรียกว่า ลูกประคำบุญญฤทธิ์

    [​IMG]

    องค์ ที่สอง ที่ผู้เขียนมีโอกาสกราบเรียนถาม คือ พระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) วัดเจดีย์หลวง ในเมืองเชียงใหม่

    เมื่อหลวงปู่ตื้อเข้ามาในตัวเมืองเชียงใหม่ ท่านมักจะมาพำนักที่วัดเจดีย์หลวงแห่งนี้

    หลวงพ่อวัดเจดีย์หลวง ท่านบอกกับผู้เขียนว่า ท่านไม่ค่อยแน่ใจนัก ท่านก็ยืนยันว่าเคยเห็นหลวงปู่ตื้อท่านสวมสร้อยลูกประคำ แต่ว่าสวมเป็นประจำหรือไม่นั้นหลวงพ่อไม่ยืนยัน ให้ถือตามหลวงปู่สังข์ ที่วัดป่าอาจารย์ตื้อก็แล้วกัน เพราะหลวงปู่สังข์ท่านใกล้ชิดกับหลวงปู่ตื้อมากกว่า

    องค์ที่สาม ได้แก่ หลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่ผู้เขียนไปเป็นประจำ หลวงพ่อเปลี่ยน ท่านได้อุปัฏฐากหลวงปู่ตื้อกับหลวงปู่แหวนอยู่หลายปี

    หลวง พ่อเปลี่ยนท่านบอกว่า “อาตมาอยู่ปรนนิบัติหลวงปู่ตื้อ ติดต่อกัน ๕ แล้ง (ห้าปี) ก็ไม่เห็นท่านแขวนลูกประคำเลย โดยปกติท่านไม่แขวน ยืนยันได้”
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๐๘

    พระธาตุของหลวงปู่ตื้อ

    ข้อ ความในตอนนี้ ขออนุญาตคัดลอกออกมาจากหนังสือปิยารำลึก ของคุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔ วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ ในหน้า ๒๘๑-๒๘๒ ดังต่อไปนี้

    หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เป็นศิษย์อาวุโสที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ รุ่นใกล้เคียงกับหลวงปู่ขาว อนาลโย และหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ชาติภูมิของท่านเป็นคนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ท่านกำเนิดในปี ๒๔๓๑ มีนิสัยรักความสงบ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในสายมหานิกาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ เมื่ออายุ ๒๑ ปี ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และท่องบ่นสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนานจนขึ้นใจ แต่ระยะหลังท่านคิดว่า การเล่าเรียนแบบนี้มิใช่ทางตรงต่อการบรรลุธรรม ท่านกลับมาสนใจการปฏิบัติกรรมฐานแทน และได้ออกธุดงค์ไปทั่วภาคอิสาน แล้วข้ามแม่น้ำโขงไปสู่ฝั่งประเทศลาว ไปเวียงจันทน์ หลวงพระบาง เมืองแมด เมืองกาสี และภูเขาควาย ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นดินแดนที่ฤๅษี หลวงปู่ ครูบาอาจารย์มักจะขึ้นไปบำเพ็ญความเพียรกันอย่างอุกฤษฎ์ จากลาวท่านข้ามกลับมาฝั่งไทยทางด้านจังหวัดน่าน ธุดงค์ต่อไปแพร่ เลย และมาหยุดที่เชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ซึ่งท่านได้พบท่านพระอาจารย์มั่น

    ความ เลื่อมใสศรัทธาในองค์ท่านพระอาจารย์มั่น ทำให้หลวงปู่ตื้อ ซึ่งขณะนั้นมีพรรษาถึง ๑๖ แล้ว คิดขอแปรญัตติเป็นธรรมยุต ท่านได้แปรญัตติเป็นธรรมยุต โดยท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ในเดือน ๖ ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ซึ่งท่านมีอายุถึง ๓๘ พรรษาแล้ว

    “เรา ต้องมานับหนึ่งใหม่” ท่านว่า

    แม้จะมีอายุแก่กว่ามาก แต่ตามพรรษาทางธรรมยุตท่านมีพรรษาอ่อนกว่า หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร และหลวงปู่ขาว อนาลโย

    ข้าพเจ้า (คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต) ไม่มีบุญพอ ไม่มีโอกาสได้กราบองค์ท่าน เพราะท่านมรณภาพไปแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ ซึ่งขณะนั้นข้าพเจ้า ผู้เขลา ผู้หลง ยังคงเปรียบเสมือน “วุ้น” ในธรรมพิภพ ต่อมาภายหลังจึงได้ยินกิตติศัพท์เลื่องลือถึงบารมีธรรมของท่าน ที่ท่านเป็นที่รักของทวยเทพเทวดา รวมทั้ง ด้านอิทธิฤทธิ์นานาประการด้วย

    พระ ธาตุของท่านนี้ ได้มาจากเส้นเกศา ซึ่งท่านอาจารย์องค์หนึ่งเมตตาแบ่งให้ ท่านเล่าว่าได้มาจากคาคบไม้ใหญ่ เข้าใจว่าเทวดาคงรักษาไว้ให้ เพราะเวลาผ่านมานับยี่สิบปี ห่อเส้นเกศานั้นก็ไม่สูญสลาย ข้าพเจ้า (คุณหญิงฯ) รับเส้นเกศามาบูชาด้วยความเคารพอย่างสูงสุด

    และสุดท้าย ภายในตลับเส้นเกศานั้น ก็ปรากฏพระธาตุดังที่ถ่ายภาพมา

    หมายเหตุ : รูปถ่ายพระธาตุหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ตามข้อความในตอนนี้ ได้แสดงไว้ในตอนต้นของหนังสือ ก็กราบและขอบพระคุณท่านคุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย - ปฐม นิคมานนท์

    [​IMG]
    พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๐๙

    เรื่องพระธาตุของหลวงปู่

    ผู้ เขียน (นายปฐม นิคมานนท์) ขอสารภาพว่ายังไม่มีโอกาสได้เห็น ได้สักการะพระธาตุของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เมื่อตอนที่พาคณะไปทอดผ้าป่าที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ ในวันอาสาฬหบูชา ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕ นั้น ก็ค่อนข้างเร่งรีบ จึงไม่ได้ถามไถ่เรื่องพระธาตุของท่าน

    การ ที่กระดูก หรืออัฐิของบุคคลใดแปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุนั้น เป็นหลักฐานทางวัตถุที่ยืนยันว่าบุคคลผู้นั้นได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนจิตเป็นอริยะ บรรลุถึงมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติตามแนวทางในพระพุทธศาสนา

    องค์ หลวงปู่ตื้อเองท่านก็เคยกล่าวถึงการที่กระดูกคนเรากลายเป็นพระธาตุว่า

    “อำนาจ ตบะที่พระอริยบุคคลได้ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรเพื่อขัดเกลากิเลสนั้น มิได้แผดเผาแต่เฉพาะกิเลสเท่านั้น หากแต่ได้แผดเผากระดูกในร่างกายให้กลายเป็นพระธาตุไปด้วยในขณะเดียวกัน”

    ดัง นั้น พระธาตุจึงเป็นวัตถุที่ยืนยันถึงความบริสุทธิ์ หมดกิเลสของเจ้าของกระดูก หรืออัฐิธาตุนั้นเอง

    ถ้าเป็นของพระ พุทธเจ้า เราเรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุ หรือเรียกย่อๆ ว่า พระบรมธาตุ แต่ถ้าเป็นของพระอรหันตสาวก เราเรียกว่า พระ ธาตุ เฉยๆ

    หลังจากถวายเพลิงศพของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ที่วัดอรัญญวิเวก นครพนม เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๑๘ แล้ว หลังจากนั้นไม่นาน อัฐิของท่านก็ได้แปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุที่งดงาม ปรากฏให้เห็นในหลายที่หลายแห่ง

    ในการแสดงพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อ เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป เรื่องอภิญญาหลวงปู่แหวน ท่านได้กล่าวในตอนหนึ่งว่า “อัฐิหลวงปู่ตื้อเป็นพระธาตุ สีดั่งทับทิม สวย” และท่านก็บอกลูกศิษย์ลูกหาว่า“ อัฐิของหลวงปู่ตื้อกลายเป็นพระธาตุ ในเวลาประมาณ ๒๗ วันภายหลังการถวายเพลิงศพท่าน”

    บุคคลที่กล่าวถึงใน หนังสือ “ทิพย์” ว่า เป็นผู้ที่ได้ประสบกับปาฏิหาริย์ของพระธาตุหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม คือ คุณภาสกร ศิวโสภา (ในข้อมูลไม่ได้บอกว่าเป็นใครและอยู่ที่ไหน)

    คุณภาสกรบอกว่าเคยได้ไป ชมพระธาตุหลวงปู่ตื้อที่บ้านลูกศิษย์ของท่านคนหนึ่ง ที่จังหวัดนครพนม เล่าให้ฟังว่า “ท่านได้เปิดตลับพระธาตุให้ดู เห็นมีพระธาตุประมาณ ๑๐ กว่าองค์ องค์ใหญ่ ๔ องค์ องค์เล็ก ๑ องค์ เป็นหินปูน ๒ องค์ เป็นสีเทา ๑ องค์ เป็นหินมันเลื่อม ๔ องค์มีขนาดเล็กมาก มีลักษณะเป็นแก้ว ๑ องค์ อีกองค์หนึ่งยังเป็นอัฐิธรรมดา และที่เหลือองค์เล็กๆ มีลักษณะเป็นหินปูน คล้ายพระธาตุของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ”

    ท่านเจ้าของพระธาตุหลวงปู่ตื้อ ที่คุณภาสกรไปชมนี้บอกว่า “ท่านได้รับมาจากชาวท่าอุเทนที่เคยรู้จักกัน ได้ไปร่วมงานถวายเพลิงหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม และได้นำอัฐิส่วนหนึ่งมามอบให้ เป็นอัฐิธรรมดา ๒ ชิ้น ปรากฏว่าต่อมาได้ย่อยละเอียดลงกลายเป็นส่วนย่อยดังกล่าว ตอนแรกเข้าใจว่าคงแตกแล้วกระจายออกเป็นเม็ดเล็กๆ แต่พอมาศึกษาเรื่องพระธาตุ จึงได้รู้ว่าพระธาตุสามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้”

    คุณภาสกรได้ไปขอชมพระ ธาตุหลวงปู่ตื้อ กับท่านเจ้าของข้างต้นนั้น อีกครั้งเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๓๖ แล้วเล่ามาว่า “ปรากฏว่า พอเปิดตลับถึงกับตะลึง เพราะพระธาตุจำนวนเกือบสิบองค์ได้รวมตัวเหลือเพียงสององค์ องค์หนึ่งมีลักษณะเป็นสีงาช้าง ตรงปลายเป็นผลึกวาวสีดำ อีกองค์ก็ยังคงเป็นอัฐิธรรมดาอยู่”

    นอกจากนี้คุณภาสกร ยังได้กล่าวถึงพระธาตุหลวงปู่ตื้อที่ท่านได้รับแบ่งปันมาว่า “สำหรับพระธาตุที่ข้าพเจ้ามีไว้บูชา ก็มีขนาดใหญ่ขึ้นเกือบทุกองค์...”

    ยัง มีเรื่องราวปาฏิหาริย์พระธาตุหลวงปู่ตื้อ ที่หลายท่านได้ประสบ แต่ผมจะขอเล่าเพียงแค่นี้ก็น่าจะพอ ท่านที่สนใจมากกว่านี้โปรดติดตามหาอ่านหาศึกษากันต่อไป และอย่าลืมไปกราบพระธาตุของท่านที่ วัด ป่าอาจารย์ตื้อ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ กับที่ พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อ วัดอรัญญวิเวก อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ด้วยก็แล้วกัน ประสบเรื่องราวอะไรดีๆ อย่าลืมมาเล่าแบ่งปันความรู้กันด้วยนะครับ

    สำหรับผู้เขียนเอง จะพาครอบครัวขึ้นเชียงใหม่เพื่อไปเยี่ยม และภาวนากับพระลูกชายคนเล็ก (พระพรภัทร ขีณมโล) ที่ลางานมาบวช และจำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป ในพรรษาปี ๒๕๔๕ นี้ แล้วจะไปกราบพระธาตุและบารมีธรรมของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ที่วัดป่าอาจารย์ตื้อด้วย เพราะอยู่ห่างจากวัดหลวงพ่อเปลี่ยน เพียง ๓ กิโลเมตรเท่านั้น

    ผมจะไปวันที่ ๙-๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๕ แต่จำเป็นต้องปิดต้นฉบับหนังสือ และส่งให้โรงพิมพ์ในวันนี้ คือวันที่ ๗ สิงหาคม จึงไม่สามารถนำเรื่องราวมาเขียนลง ณ ที่นี้ได้

    ขอบารมีหลวง ปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้โปรดอำนวยพรชัยให้กับท่านผู้อ่านทุกท่านครับ

    สวัสดี

    ปฐม นิคมานนท์
    ๗ สิงหาคม ๒๕๔๕


    [​IMG]

    [​IMG]
    รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งขององค์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    ภายในพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก


    [​IMG]
    พระอัฐิธาตุขององค์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    ภายในพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก


    [​IMG]
    บริขารขององค์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    ภายในพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก



    คัด ลอกมาจาก ::
    <!-- m -->http://www.dharma-gateway.com/<!-- m -->

    .............................................................

    ประมวลภาพ “หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม”
    ลานธรรมจักร &bull; แสดงกระทู้ - ประมวลภาพ “หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม”
     

แชร์หน้านี้

Loading...