หลวงปู่หลิว ปณฺณโก" กับฉายา...เทพเจ้าพญาเต่าเรือน

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 14 พฤษภาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>หลวงปู่หลิว ปณฺณโก" กับฉายา...เทพเจ้าพญาเต่าเรือน</TD></TR><TR><TD vAlign=top>13 พฤษภาคม 2550 22:48 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] เหรียญพญาเต่าเรือน ของ หลวงปู่หลิว ปณฺณโก อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งศึกษาวิชาพญาเต่าเรือนมาจากหลวงพ่อย่น วัดบ้านฆ้องใหญ่ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ทั้งนี้ท่านทำพิธีปลุกเสกเหรียญพญาเต่าเรือนรุ่นแรกที่ออกไว้ที่วัดไร่แตงทอง เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖

    ลูกศิษย์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่รับแจกไปต่างได้รับประสบการณ์อย่างมากมาย สามารถช่วยเหลือขจัดปัดเป่าความทุกข์ของญาติโยมให้พ้นจากภยันตรายทั้งปวงอย่างอัศจรรย์ยิ่ง ทั้งด้านคงกระพัน แคล้วคลาดจากอันตราย เมตตาค้าขาย รวมทั้งนำโชคลาภ ซึ่งมีผู้นำประสบการณ์ปาฏิหาริย์มาเล่าอย่างต่อเนื่อง จนถึงทุกวันนี้ จึงได้รับคำสรรพนามจากลูกศิษย์ว่า "หลวงปู่หลิว ปณฺณโก เทพเจ้าพญาเต่าเรือน"
    อย่างไรก็ตาม เวลาใครไปหา หลวงปู่หลิว ก็มักจะขอของดีจากท่าน ท่านก็จะบอกอยู่เสมอๆ ว่า "อาตมาไม่มีอะไรจะให้หรอก เป็นหลวงตาแก่ๆ พระบ้านนอกรูปหนึ่งเท่านั้น ของดีนั้นอยู่ที่โยมแล้ว" เป็นการกล่าวอย่างถ่อมตน
    วัตถุมงคลของหลวงปู่หลิว ส่วนใหญ่เป็น พญาเต่าเรือน ลักษณะโดยทั่วไปของ พญาเต่าเรือน จะมีลักษณะเป็นรูปเต่า มี ๔ ขา ปลายหัวด้านบนจะมีหูติดลักษณะเดียวกับหูเหรียญ ส่วนรายละเอียดในตัวจะมีความแตกต่างกันไปตามรุ่น ซึ่งแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน
    ในหนังสือ "หลวงปู่หลิว ปณฺณโก เทพเจ้าพญาเต่าเรือน" ซึ่งมีพระใบฎีกาสายชล จิตตะกาโร (พระอาจารย์สายชล) เจ้าอาวาสวัดไร่แตงทองรูปปัจจุบัน เป็นประธานดำเนินงานจัดพิมพ์ นำคำบอกเล่าของหลวงปู่หลิวถึงเหตุผลของการสร้างพญาเต่าเรือนของหลวงปู่หลิวไว้ว่า
    "ต้องการทำวัตถุมงคลให้แปลกและดี จึงนึกถึง "เต่า" เพราะว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว เต่าเป็นสัตว์มีศีลธรรม นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังเคยเสวยพระชาติเป็นเต่ามาแล้ว"
    ขณะเดียวกัน หลวงปู่หลิว เล่าถึงตำนานพญาเต่าเรือนว่า เมื่อสมัยพุทธกาลนั้น มีพญากาเผือกผัวเมียคู่หนึ่งอาศัยอยู่ริมแม่น้ำใหญ่ พญากาเผือกตัวเมียออกไข่มา ๕ ฟอง ในรังบนต้นไม้ริมฝั่งแม่น้ำแห่งนั้น
    อยู่มาวันหนึ่ง พญากาเผือกบินออกไปหากิน ปล่อยให้ไข่ ๕ ฟอง อยู่ในรังโดยไม่มีใครเฝ้า วันนั้นเกิดพายุรุนแรงขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ไข่ ๕ ฟองจึงถูกพายุพัดตกลงไปในแม่น้ำ แล้วลอยกระจัดกระจายไปคนละทิศคนละทาง ไข่ทั้ง ๕ ฟองถูกเก็บไปเลี้ยงโดยสัตว์ชนิดต่างๆ
    ฟองแรก เต่านำไปเลี้ยงไว้ ฟองที่สอง นากนำไปเลี้ยงไว้ ฟองที่สาม ราชสีห์นำไปเลี้ยงไว้ ฟองที่สี่ โคนำไปเลี้ยงไว้ และ ฟองที่ห้า งูนำไปเลี้ยงไว้
    ไข่แต่ละฟองนั้นเมื่อถูกนำไปเลี้ยง ก็มีพระโพธิสัตว์มาเสวยพระชาติเป็นสัตว์ตามผู้เก็บมาเลี้ยงดู เช่น ไข่ฟองแรก เต่าเก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็มาเสวยพระชาติเป็นเต่า ไข่ฟองที่สอง นากเก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็มาเสวยพระชาติเป็นนาก
    ไข่ฟองที่สาม ราชสีห์เก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็มาเสวยพระชาติเป็นราชสีห์ ไข่ฟองที่สี่ โคเก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็มาเสวยพระชาติเป็นโค และ ไข่ฟองที่ห้า งูเก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็มาเสวยพระชาติเป็นงู
    รวมพระโพธิสัตว์ที่มาเสวยพระชาติ ๕ พระองค์ และในการต่อมา ไข่ทั้ง ๕ ใบ (พระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์) มาเกิดใหม่ในชาติสุดท้าย เป็นพระพุทธเจ้า ตามลำดับดังนี้ ๑.พระกุกกุสันโธ ๒.พระโกนาคมโน ๓.พระกัสสโป ๔.พระนามโคตาโม และ ๕.พระศรีอริยเมตไตรโย (ซึ่งยังไม่ประสูติ)
    พระพุทธเจ้าแต่ละองค์ ก่อนจุติต้องเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นสัตว์ หรือเป็นมนุษย์ บำเพ็ญบารมีมาแล้วเป็นร้อยชาติเป็นพันชาติ หรือเป็นหมื่นชาติเลยทีเดียว พญาเต่าเรือน ก็เป็นชาติหนึ่งของพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเพื่อ บำเพ็ญบารมี
    หลวงปู่หลิวท่านเล็งเห็นว่า พญาเต่าเรือนนี้ เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นสิริมงคล ท่านจึงนำมาเป็นแบบในการสร้างวัตถุมงคล ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง พญาเต่าเรือนนี้ใช้บูชากันได้ร้อยแปด ทั้งคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม สู้คดีความ ประกอบการธุรกิจ และอื่นๆ อีกมากมาย
    สำหรับชาติภูมินั้น “หลิว แซ่ตั้ง” (นามถาวร) เป็นชื่อและสกุลเดิมของหลวงปู่หลิว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ ธันวาคม ๒๔๔๘ ที่หมู่บ้านหนองอ้อ ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาอุโบสถวัดโบสถ์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โดยมีหลวงพ่อโพธาภิรมย์ วัดบำรุงเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์ห่อ วัดโบสถ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปณฺณโก”
    กลางปี ๒๕๔๓ หลังจากพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่นเสาร์ ๕ หลวงปู่หลิวก็เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา และได้ละสังขารอย่างสงบเมื่อวันจันทร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๓ ณ วัดหนองอ้อย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
    อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความดีของท่าน พระใบฎีกาสายชลและคณะศิษย์จัดสร้างรูปเหมือนหลวงปู่หลิว นั่งประทับพญาเต่าเรือน องค์ใหญ่ สูง ๘ เมตร ๑ ศอก กว้าง ๖ เมตร ๑ คืบ และยาว ๘ เมตร ๑ คืบ และวิหารครอบ ทั้งนี้เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนการก่อสร้าง วัดจึงจัดสร้างเหรียญพญาเต่าเรือน รุ่นพญาเต่าเรือนอัครมหาเศรษฐี ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่หลิวนั่งประทับพญาเต่าเรือน ด้านหลังองค์จตุคามรามเทพ ร่วมสบทบทุนสร้างวิหารถวายหลวงปู่หลิวได้ที่วัดไร่แตงทอง โทร.๐๘-๖๗๐๕-๔๑๓๙

    -->[​IMG]
    เหรียญพญาเต่าเรือน ของ หลวงปู่หลิว ปณฺณโก อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งศึกษาวิชาพญาเต่าเรือนมาจากหลวงพ่อย่น วัดบ้านฆ้องใหญ่ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ทั้งนี้ท่านทำพิธีปลุกเสกเหรียญพญาเต่าเรือนรุ่นแรกที่ออกไว้ที่วัดไร่แตงทอง เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖
    ลูกศิษย์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่รับแจกไปต่างได้รับประสบการณ์อย่างมากมาย สามารถช่วยเหลือขจัดปัดเป่าความทุกข์ของญาติโยมให้พ้นจากภยันตรายทั้งปวงอย่างอัศจรรย์ยิ่ง ทั้งด้านคงกระพัน แคล้วคลาดจากอันตราย เมตตาค้าขาย รวมทั้งนำโชคลาภ ซึ่งมีผู้นำประสบการณ์ปาฏิหาริย์มาเล่าอย่างต่อเนื่อง จนถึงทุกวันนี้ จึงได้รับคำสรรพนามจากลูกศิษย์ว่า "หลวงปู่หลิว ปณฺณโก เทพเจ้าพญาเต่าเรือน"
    อย่างไรก็ตาม เวลาใครไปหา หลวงปู่หลิว ก็มักจะขอของดีจากท่าน ท่านก็จะบอกอยู่เสมอๆ ว่า "อาตมาไม่มีอะไรจะให้หรอก เป็นหลวงตาแก่ๆ พระบ้านนอกรูปหนึ่งเท่านั้น ของดีนั้นอยู่ที่โยมแล้ว" เป็นการกล่าวอย่างถ่อมตน

    [​IMG]
    วัตถุมงคลของหลวงปู่หลิว ส่วนใหญ่เป็น พญาเต่าเรือน ลักษณะโดยทั่วไปของ พญาเต่าเรือน จะมีลักษณะเป็นรูปเต่า มี ๔ ขา ปลายหัวด้านบนจะมีหูติดลักษณะเดียวกับหูเหรียญ ส่วนรายละเอียดในตัวจะมีความแตกต่างกันไปตามรุ่น ซึ่งแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน
    ในหนังสือ "หลวงปู่หลิว ปณฺณโก เทพเจ้าพญาเต่าเรือน" ซึ่งมีพระใบฎีกาสายชล จิตตะกาโร (พระอาจารย์สายชล) เจ้าอาวาสวัดไร่แตงทองรูปปัจจุบัน เป็นประธานดำเนินงานจัดพิมพ์ นำคำบอกเล่าของหลวงปู่หลิวถึงเหตุผลของการสร้างพญาเต่าเรือนของหลวงปู่หลิวไว้ว่า
    "ต้องการทำวัตถุมงคลให้แปลกและดี จึงนึกถึง "เต่า" เพราะว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว เต่าเป็นสัตว์มีศีลธรรม นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังเคยเสวยพระชาติเป็นเต่ามาแล้ว" [​IMG]
    ขณะเดียวกัน หลวงปู่หลิว เล่าถึงตำนานพญาเต่าเรือนว่า เมื่อสมัยพุทธกาลนั้น มีพญากาเผือกผัวเมียคู่หนึ่งอาศัยอยู่ริมแม่น้ำใหญ่ พญากาเผือกตัวเมียออกไข่มา ๕ ฟอง ในรังบนต้นไม้ริมฝั่งแม่น้ำแห่งนั้น
    อยู่มาวันหนึ่ง พญากาเผือกบินออกไปหากิน ปล่อยให้ไข่ ๕ ฟอง อยู่ในรังโดยไม่มีใครเฝ้า วันนั้นเกิดพายุรุนแรงขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ไข่ ๕ ฟองจึงถูกพายุพัดตกลงไปในแม่น้ำ แล้วลอยกระจัดกระจายไปคนละทิศคนละทาง ไข่ทั้ง ๕ ฟองถูกเก็บไปเลี้ยงโดยสัตว์ชนิดต่างๆ
    ฟองแรก เต่านำไปเลี้ยงไว้ ฟองที่สอง นากนำไปเลี้ยงไว้ ฟองที่สาม ราชสีห์นำไปเลี้ยงไว้ ฟองที่สี่ โคนำไปเลี้ยงไว้ และ ฟองที่ห้า งูนำไปเลี้ยงไว้
    ไข่แต่ละฟองนั้นเมื่อถูกนำไปเลี้ยง ก็มีพระโพธิสัตว์มาเสวยพระชาติเป็นสัตว์ตามผู้เก็บมาเลี้ยงดู เช่น ไข่ฟองแรก เต่าเก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็มาเสวยพระชาติเป็นเต่า ไข่ฟองที่สอง นากเก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็มาเสวยพระชาติเป็นนาก
    ไข่ฟองที่สาม ราชสีห์เก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็มาเสวยพระชาติเป็นราชสีห์ ไข่ฟองที่สี่ โคเก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็มาเสวยพระชาติเป็นโค และ ไข่ฟองที่ห้า งูเก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็มาเสวยพระชาติเป็นงู
    รวมพระโพธิสัตว์ที่มาเสวยพระชาติ ๕ พระองค์ และในการต่อมา ไข่ทั้ง ๕ ใบ (พระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์) มาเกิดใหม่ในชาติสุดท้าย เป็นพระพุทธเจ้า ตามลำดับดังนี้ ๑.พระกุกกุสันโธ ๒.พระโกนาคมโน ๓.พระกัสสโป ๔.พระนามโคตาโม และ ๕.พระศรีอริยเมตไตรโย (ซึ่งยังไม่ประสูติ)
    พระพุทธเจ้าแต่ละองค์ ก่อนจุติต้องเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นสัตว์ หรือเป็นมนุษย์ บำเพ็ญบารมีมาแล้วเป็นร้อยชาติเป็นพันชาติ หรือเป็นหมื่นชาติเลยทีเดียว พญาเต่าเรือน ก็เป็นชาติหนึ่งของพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเพื่อ บำเพ็ญบารมี
    หลวงปู่หลิวท่านเล็งเห็นว่า พญาเต่าเรือนนี้ เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นสิริมงคล ท่านจึงนำมาเป็นแบบในการสร้างวัตถุมงคล ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง พญาเต่าเรือนนี้ใช้บูชากันได้ร้อยแปด ทั้งคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม สู้คดีความ ประกอบการธุรกิจ และอื่นๆ อีกมากมาย
    สำหรับชาติภูมินั้น “หลิว แซ่ตั้ง” (นามถาวร) เป็นชื่อและสกุลเดิมของหลวงปู่หลิว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ ธันวาคม ๒๔๔๘ ที่หมู่บ้านหนองอ้อ ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาอุโบสถวัดโบสถ์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โดยมีหลวงพ่อโพธาภิรมย์ วัดบำรุงเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์ห่อ วัดโบสถ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปณฺณโก”
    กลางปี ๒๕๔๓ หลังจากพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่นเสาร์ ๕ หลวงปู่หลิวก็เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา และได้ละสังขารอย่างสงบเมื่อวันจันทร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๓ ณ วัดหนองอ้อย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความดีของท่าน พระใบฎีกาสายชลและคณะศิษย์จัดสร้างรูปเหมือนหลวงปู่หลิว นั่งประทับพญาเต่าเรือน องค์ใหญ่ สูง ๘ เมตร ๑ ศอก กว้าง ๖ เมตร ๑ คืบ และยาว ๘ เมตร ๑ คืบ และวิหารครอบ ทั้งนี้เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนการก่อสร้าง วัดจึงจัดสร้างเหรียญพญาเต่าเรือน รุ่นพญาเต่าเรือนอัครมหาเศรษฐี ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่หลิวนั่งประทับพญาเต่าเรือน ด้านหลังองค์จตุคามรามเทพ ร่วมสบทบทุนสร้างวิหารถวายหลวงปู่หลิวได้ที่วัดไร่แตงทอง โทร.๐๘-๖๗๐๕-๔๑๓๙

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    -------------
    ที่มา:คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2007/05/14/j001_115956.php?news_id=115956
     
  2. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,045
    ค่าพลัง:
    +17,915
    เคยเห้นเต่าแบบนี้เหมือนกันครับ
     
  3. kim_osk119

    kim_osk119 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    264
    ค่าพลัง:
    +1,598
    โมทนาสาธุ ครับ

    เคยได้ยินมานานแล้วครับ พญาเต่าหลวงปู่หลิว
     
  4. mrYong

    mrYong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +361
    กราบรำลึกถึงหลวงปู่ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...