หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท พระอริยสงฆ์ผ้าขี้ริ้วห่อทอง ตอน เป็นเด็กกลัวกะปิ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 9 พฤษภาคม 2016.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท พระอริยสงฆ์ผ้าขี้ริ้วห่อทอง ตอน เป็นเด็กกลัวกะปิ
    [​IMG]
    ตอนเด็กๆ กลัวกะปิเป็นที่สุด เพราะมันเหม็น เวลาจะตามพี่ชายไปที่ไหนๆ เขาไม่อยากให้เราไปด้วย เขาก็จะบอกด้วยถ้อยคำอันน่ากลัวว่า “ไอ้เจี๊ยะ...มึงไม่ต้องมา ถ้ามา เดี๋ยวจะเอากะปิเขวี้ยงหัวมึง เท่านั้นแหละเราร้องไห้วิ่งกลับบ้านแทบตาย” (หัวเราะ)

    เรื่องอาหารการกิน เป็นคนที่กินยากตั้งแต่วัยเด็ก อาหารอันใดที่มีมันหมูติดมามาก ๆ เมื่อเราเห็นเราจะร้องไห้ชักดิ้นชักงอไม่ยอมกิน เป็นคนจองหองเรื่องกิน ถ้าไม่พอใจเตะทิ้งไปเลย เรื่องการกินจึงเป็นคนกินยากมาตั้งแต่วัยเด็ก เพราะฐานะทางบ้านดี

    แม้แต่ทุกวันนี้เรายังไม่กล้ากินมันเลย กะปิน่ะ มันมีส่วนผสมคล้ายๆ หัวกุ้ง เราแพ้ แสลง เราเคยกินเข้าไปนี้แสบทวารหมดเลย ฉันเข้าไปมันเหมือนมาแทงทวาร ก็เลยไม่ฉันเลย แม้จนกระทั่งทุกวันนี้ก็ไม่ฉัน แสลงอาหารหลายอย่าง ปลากระเบน ปลาสวาย ปลาไหล อาหารจากปลาเหล่านี้กินไม่ได้หมด ผักผลไม้ประเภทแตง เห็ด ผงชูรสก็กินไม่ได้ ไปอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นจึงลำบากเป็นที่สุดเพราะเป็นคนกินยาก

    ในวัยหนุ่มทำมาค้าขาย ขายเงาะ ขายทุเรียน ขายมังคุด นิสัยออกจะติดทางนักเลง เป็นคนจริงจังในหน้าที่การงาน ไม่เกเร พูดจาโฮกฮาก ไม่กลัวคน ต้นตระกูลเป็นคนตรงไปตรงมา ไม่ชอบโกหก จึงเป็นมรดกทางอุปนิสัยติดต่อกันมาเรื่อย ๆ จนถึงผู้เป็นลูกหลาน เราเป็นคนทำอะไรต้องทำให้ได้ดั่งใจ เวลาไปบรรทุกผลไม้ที่ท่าแฉลบ เรือลำไหนมันขึ้นฝั่งไม่ได้ เรือเขาขึ้นไม่ได้ทั้งหมด แต่สำหรับเรือเราต้องขึ้นได้ คือเอาขึ้นจนได้ เราเป็นคนแข็งแรง สู้ทุกรูปแบบ เป็นคนจริงจัง ยอมหักแต่ไม่ยอมงอ เป็นคนซุกซน แต่ไม่เคยซุกซนเรื่องผู้หญิง และไม่เคยยอมแพ้ใครในหน้าที่การงานทั้งปวง

    สมัยยังหนุ่มแน่น เราไม่เคยคิดถึงเรื่องบาปบุญคุณโทษอะไร มุ่งแต่ทำงานอย่างเดียว แม้แต่คำว่า นโม ตสฺส ยังว่าไม่จบ แม้บางครั้งไปวัดได้ยินพระท่านเทศน์ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายในภายนอก เช่น ตาเห็นรูปอย่างนี้เป็นต้น ฟังแล้วไม่เคยรู้เรื่องอะไรเลย บางทียังคิดเลยว่า ท่านพูดเรื่องอะไร ไม่รู้เรื่อง ฟังแล้วไม่เห็นเข้าใจ พอตอนหลังมาบวชจึงได้ทราบว่า “อันนี้เป็นธรรมะที่บ่มอินทรีย์เป็นสำคัญ”
    ความเป็นอยู่ที่บ้านตอนเราเป็นเด็ก ที่บ้านค้าขายของเบ็ดเตล็ดในบ้าน ข้าวสาร น้ำตาล ของกระจุกกระจิก ค้าผลไม้ เราเองแหละเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการค้าขาย นอกจากการค้าที่บ้านแล้วยังนำไปขายที่ท่าแฉลบ

    การค้าขายสมัยที่เรายังเป็นฆราวาสอยู่นั้น โดยส่วนมากค้าผลไม้พื้นเมืองของเมืองจันท์ โดยผลไม้นั้นมีชาวบ้านหาบมาส่งที่บ้าน ซื้อแล้วก็นำมาบรรจุใส่ลังไม้ฉำฉา บรรทุกลงเรือล่องเลียบคลองด้านหลังบ้านออกทะเลไปขายที่ท่าแฉลบ เวลาหน้าปลาก็ไปจับปลา

    หลังจากเราเรียนจบ ป.๔ ที่ตำบลหนองบัวแล้วก็ช่วยพ่อแม่ค้าขาย ส่งผลไม้เข้ากรุงเทพฯ ส่งทุเรียนกวนคือรับซื้อเขามา แล้วก็นำไปขายต่อ ไปส่งถึงประเทศมาเลเซีย ปีนั้นซื้อไว้บาน (มาก) ซื้อไว้ตั้ง ๘๐๐ ปี๊บ เต็มบ้านไปหมดขนาดบ้านหลังใหญ่ ๆ การเก็บรักษาก็ยากเพราะสมัยนั้นมันยังไม่มีวิธีบัดกรี เก็บไว้นานจะมีแบคทีเรีย (เชื้อรา) ถ้าจะเก็บไว้นานต้องอัดให้แน่น ให้แข็ง ให้ดี เอากระดาษอ่อนๆ ปิด ถ้าตรงไหนมีราต้องค่อยๆ เฉือนออก ปีนั้นซื้อไว้ตั้ง ๘๐๐-๙๐๐ ปี๊บ กิโลกรัมละสิบกว่าบาท ปี๊บหนึ่งก็ประมาณ ๒๐ กิโลกรัม ครอบครัวของเราฐานะดีที่สุดในหมู่บ้านนั้น ที่ทางเราไม่ค่อยมีมากเท่าไหร่ เพราะเรามีพ่อเป็นคนจีน นำไปขายมาเลเซีย โลหนึ่ง (๑ กิโลกรัม) รู้สึกว่า ๒๘ บาท ใส่เรือไปขายที่มาเลเซีย ทำปีละครั้ง พอหมดฤดูทุเรียน ก็สีข้าวขายหน้าบ้าน ต้องนำออกไปสีที่โรงสีใหญ่ ปีหนึ่งๆ ก็ทำอยู่อย่างนี้เป็นอาซีพ ค้าขายประจำครอบครัวข้าวปีหนึ่ง ๆ ก็ได้มาก คนที่ไม่มีเงินทางบางละเก้า เสม็ดงาม จะมาขอเงินที่บ้านโดยนำข้าวมาแลกกับเงิน ฉะนั้นที่บ้านจึงมีการออกเงินให้คนกู้บ้าง ตอนนั้นอายุประมาณ ๑๕ ปี มีคนมากู้เงินที่บ้าน เจ้าละ ๑๐๐, ๒๐๐, ๓๐๐, ๒,๐๐๐ ๓,๐๐๐

    ตำบลหนองบัวบานที่เราอยู่นี้ สมัยก่อนเป็นตำบลที่เจริญที่สุดในจังหวัดจันทบุรี ผลหมากรากไม้มากจริง ๆ หน้าทุเรียน เงาะ มังคุด ลางสาด กินไม่หวาดไม่ไหว ร่วงหล่นสาดเซมาก จนเกินไม่หวาดไม่ไหว แต่เวลาหน้าแล้งก็อดหน่อ
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างศาลาการเปรียญ-วัดหัวสะแกตก-พร้อมรับวัตถุมงคล.564170/
     

แชร์หน้านี้

Loading...