หลวงพ่อพระราชพรหมยานสอนธรรมานุปัสนามหาสติปัฏฐาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 15 มกราคม 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    [​IMG]
    สำหรับวันนี้เราจะเรียนกันในด้าน เรียกว่าธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน สำหรับธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน มีด้วยกันหลายบรรพ เรียกว่าหลายตอน คำว่าบรรพแปลว่าตอนนะ สำหรับธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐานนี่ พระพุทธเจ้าท่านแนะนำให้ใช้จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐานควบตลอดเวลา มาตอนนี้ท่านไม่ได้ใช้ สติสัมปชัญญะแล้วเพราะว่าเป็นตอนที่ร่วมด้วยทั้งสมถะและวิปัสสนา ใช้กำลังสูงมาก
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>การเรียนมหาสติปัฏฐานสูตร หรือว่าการเจริญมหาสติปัฏฐานสูตร อันนี้เราจะทำเฉพาะบทหนึ่งบทใดไม่ได้ ก็ขอเตือนไว้เพื่อทราบ อันดับแรกสุดก่อนที่เราจะพิจารณาในมหาสติปัฏฐานสูตร ในด้านกายานุปัสสนาก็ดี ในด้านเวทนานุปัสสนาก็ดี หรือว่าธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐานก็ดี บทต้นที่สุดที่พระพุทธเจ้าทรงสอนคือ "อานาปานุสสติกรรมฐาน" เราทิ้งไม่ได้เด็ดขาด ถ้าหากว่าใครทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐานเสียแล้ว อารมณ์จิตไม่เป็นสมาธิถือว่าอารมณ์จิตไม่เป็นฌาน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ถ้าอารมณ์จิตเข้าไม่ถึงปฐมฌานเป็นอย่างต่ำกำลังจิตที่เราใช้พิจารณาพระกรรมฐานทุกกอง เพราะว่าพระกรรมฐานทุกกองในด้านมหาสติปัฏฐานสูตร แม้แต่อานาปานุสสติกรรมฐานก็ดี พระพุทธเจ้าสอนควบกันไว้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ถ้าหากว่าจิตเราไม่เข้าถึงปฐมฌานเป็นอย่างต่ำ การใช้วิปัสสนาญาณเป็นเครื่องควบคุมจิต หรือพิจารณาจิต จะไม่มีกำลังตัดกิเลส
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>ฉะนั้นสำหรับท่านที่เจริญพระกรรมฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้งหมด อย่าคิดว่าเราจะเลือกเฉพาะบทใดบทหนึ่งตอนหนึ่งนี่ไม่ได้ อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับอารมณ์ ส่วนที่สำคัญที่สุดที่เราจะใช้อันแรกที่สุดก็คืออานาปานุสสติกรรมฐาน คำว่าอานาปานุสสติกรรมฐาน การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกนี่ต้องว่ากันตลอดวัน

    ผมไม่ได้บอกนะว่าทำเฉพาะเวลาไหน คือว่าท่านบอกแล้วนี่ว่าเราจะต้องใช้สติสัมปชัญญะให้สมบูรณ์แบบ เราจะเป็นคนทรงไว้ซึ่งสติและสัมปชัญญะ สติแปลว่าการนึกไว้ สัมปชัญญะแปลว่ารู้ตัว ถ้านึกไว้เสมอ รู้ตัวไว้เสมอ ว่าเราเกิดแล้วต้องตาย ขณะที่ทรงอยู่เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าเราเกิดใหม่ก็จะมีสภาพแบบนี้ ก็จะเกิดมาทำเกลือทำไม ทำเกลือก็ทำไม่ได้ เวลาตายเขาต้องเอาเกลือมาใส่ถึงจะไม่เน่า ถ้ามันเป็นเกลือได้ก็ยังขายได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ความจริงไอ้คนนี่มันจัญไรกว่าสัตว์เดรัจฉานนะ หรือไง ควายตายเขาขายหนังก็ได้ ขายเขาก็ได้ ขายเนื้อก็ได้ใช่ไหม ควายตายได้สตางค์ หมูตายได้สตางค์ เอ็ะหมาตายไม่ได้อะไรเลย ได้ถ้าฝังไว้ใกล้ๆ ต้นมะม่วง เป็นปุ๋ย คนนี่จัญไรถ้าตาย เราขายคนเป็น ตายเมื่อไรชาวบ้านแหลกเมื่อนั้น เดี๋ยวก็แจกการ์ดดำรอบบ้าน ชาวบ้านเสียสตางค์หมด

    เป็นอันว่าถ้าเราเกิดมาแล้วก็ต้องตาย ก่อนที่จะตายเต็มไปด้วยความทุกข์ นี่เราก็จะมาเกิดกันเพื่อประโยชน์อะไร ความเกิดไม่มีความหมาย คนที่จะไปเกิดใหม่ได้ต้องเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ คนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์จริงๆ ก็คือคนที่ทรงฌาน คำว่า ฌาน เป็นภาษาบาลี ถ้าไม่แปลออกมามันยุ่ง ไม่รู้ว่าฌานรูปร่างหน้าตามันเป็นอย่างไร ถ้าหากว่าเราแปลออกมาแล้วก็จะเห็นว่าเป็นของไม่ยาก

    ฌานัง แปลว่าการเพ่ง ก็ได้แก่การทรงอารมณ์สติสัมปชัญญะนั่นเอง แต่หากว่า เราทรงอารมณ์สติสัมปชัญญะได้ดีมาก ก็ชื่อว่าเป็นฌาน ๔ คือทำใจของเราให้แยกจากกาย จากประสาทของกายเสีย เราทรงสติสัมปชัญญะ รู้อยู่ มีความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าทางประสาทของร่างกายสัมผัสกับอะไรก็ตามจิตไม่ยอมรับนับถือ จิตไม่ยอมรับรู้ด้วย แสดงว่าจิตมันแยกออกจากกาย

    เป็นการฝึกกายเมื่อเวลาจะตาย ฝึกจิตเมื่อเวลาจะตาย ถึงบอกว่าเวลาจะตายเขาเข้าฌานตายกัน คนที่เข้าฌานตายมันไม่ตายเหมือนชาวบ้านเขา อาการตายเหมือนกัน แต่ความหนักใจของบุคคลผู้ทรงฌานไม่มี ทั้งนี้เพราะถ้าจิตทรงฌาน อารมณ์ก็เป็นทิพย์ เมื่ออารมณ์เป็นทิพย์แล้วก็สามารถจะเห็นในสิ่งที่เป็นทิพย์ได้ เห็นรูปที่เป็นทิพย์ ได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ได้ เราก็รู้สภาวะความเป็นทิพย์ของเราได้

    นี่คนที่เขาเข้าฌานตายนี่เขาเลือกไปเอาตามอัธยาศัย ว่าเขาจะไปจากร่างกายอันนี้แล้วเขาจะไปอยู่ที่ใหม่ เขาจะไปอยู่ที่ไหนนี่รู้ก่อน คนที่ทรงฌานจริงๆ สถานที่ที่จะพึงอยู่ได้ คือพรหมโลก ถ้าหากว่าเราจะไม่อยากอยู่พรหม อยากจะอยู่สวรรค์ ชั้นใดชั้นหนึ่งที่ต่ำลงมาอันนี้ก็เลือกได้ แต่ว่าเลือกสูงขึ้นไปไม่ได้ นี่ว่าถึงความสำคัญของการทรงอานาปานุสสติกรรมฐาน เพราะว่าในมหาสติปัฏฐานสูตร มีกรรมฐานกองเดียวที่สามารถจะทรงฌานได้ คือ อานาปานุสสติกรรมฐาน

    นับตั้งแต่จิตตานุปัสสนาหรือเวทนานุปัสสนาก็ดี หรือว่ากายานุปัสสนามหาสติปัฏฐานก็ดี ที่พระพุทธเจ้าสอนด้วยสมถะนี่ก็จบลงด้วยวิปัสสนา ก็หมายความว่าเราเจริญใน มหาสติปัฏฐานสูตร จะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งในความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้พิจารณาครบถ้วนทุกกอง แต่เราก็สามารถจะเป็นพระอริยเจ้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรามีความชำนาญในอานาปานุสสติกรรมฐาน ให้ยกอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นวิปัสสนาญาณ อานาปาจริงๆ เป็นสมถะ เอาอานาปานเป็นวิปัสสนาญาณ จิตก็สามารถตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน เป็นพระอริยเจ้าได้

    นี่เป็นอันว่าถ้าใครเขามาถามว่าเราเจริญพระกรรมฐานกองไหน ถ้าเราบอกตามความต้องการของใจของเราที่เราพอใจ แต่เขาบอกว่าไอ้นี่ไม่ดี สู้อย่างนั้นไม่ได้เราต้องไม่เชื่อ เชื่อพระพุทธเจ้าดีกว่า เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านเป็นพระอรหันต์องค์แรก และก็สามารถสอนคนอื่นให้เป็นพระอรหันต์ได้ คนที่บอกว่าธรรมะอย่างนั้นดี อย่างนี้สู้อย่างนั้นไม่ได้ แสดงว่าคนนั้นยังไม่ได้อะไรเลย นี่เราก็รับฟังไม่ได้

    วันนี้ก็มาพูดกันถึงธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน พูดตามพระบาลีท่านกล่าวว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ เป็นต้น ความก็มีอยู่ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุย่อมพิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่เนืองๆ คำว่า ธรรมในธรรมในที่นี้ เบื้องต้นพระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายเอานิวรณ์ ๕ ประการ การพิจารณานิวรณ์ของพระพุทธเจ้าในบทพระบาลีนี้ สนฺตํ วา อชฺฌตฺตํ กามฉนฺทํ เมื่อกามฉันทะ คือความพอใจในกามารมณ์ มีอยู่ในจิต เราก็รู้ชัดว่าเวลานี้เรามีความพอใจ ในกามารมณ์อยู่ในจิตของเรา

    นี่เราใช้สติสัมปชัญญะคุมตลอดเวลา หรือว่ากามฉันทะไม่มีภายในจิต เราก็รู้ว่ากามฉันทะไม่มีในจิตของเรา อนึ่ง กามฉันทะอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดเราก็รู้ด้วยประการนั้น หรือว่ากามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ก็ย่อมรู้ด้วยประการนั้น ถ้ามันยังไม่เกิดเราก็รู้ว่ามันยังไม่เกิด ถ้ามันเกิดด้วยเหตุใด ก็รู้ว่าเกิดด้วยเหตุนั้น ความที่กามฉันทะอันตนละเสียแล้วไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ด้วยประการนั้น ว่าย่อๆ นะ

    อันนี้เรามาพูดถึงคำว่ากามก่อน คำว่ากามคือความใคร่ ไอ้กามนี่มันจะไปโทษกันไม่ได้ ถ้ามีชาวบ้านเขาบอก ไอ้เจ้านี่บ้ากาม บางทีเราจะโกรธ ความจริงคำว่ากามนี่ก็แปลว่า ความใคร่ ได้แก่ความชอบใจนั่นเอง ถ้าอยากจะได้อย่าโน้น อยากจะได้อย่างนี้ จะถือว่ากามเป็นสิ่งสกปรก เป็นที่น่ารังเกียจของชาวโลกอย่างนั้นหรือ อันนี้ก็ถือว่าเป็นการเข้าใจผิด คำว่ากามจริงๆ เป็นคำกลางเหมือนกับคำว่า ทิฏฐิ คำที่ว่าทิฏฐิเฉยๆ ก็แปลว่าความเห็น ยังไม่ได้แยกลงไปว่า ความเห็นนี่ดีหรือชั่ว ถ้า มิจฉาทิฏฐิ ก็เป็นความเห็นด้านชั่ว ไม่เป็นตามความเป็นจริง

    ถ้า สัมมาทิฏฐิ ก็เป็นความเห็นด้านดี คำว่ากามก็เหมือนกัน กามจริงๆ เฉยๆ ก็แปลว่าความใคร่ จะถามว่าคนที่มีกามารมณ์ ใคร่อยู่ อย่างนี้เป็นอารมณ์ชั่วหรือเป็นอารมณ์ดี หรือว่าชั่วได้ฝ่ายเดียว จะมีความดีบ้างไหม เราก็ต้องตอบว่า ถ้าอารมณ์ที่ประกอบไปด้วยความใคร่ มันก็มีได้ทั้งชั่วทั้งดี ถ้าหากว่าเรามีความใคร่ในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันเป็นอารมณ์ของชาวโลกอย่างนี้ชื่อว่ามีอารมณ์ชั่ว เพราะว่าจะต้องเป็นทาสของกิเลสตัณหา อุปทาน อกุศลกรรม ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ มีแต่ความทุกข์ หาความสุขจริงๆ ไม่ได้

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=130>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ถ้าจะถามว่า คำว่ากามเป็นความดีมีบ้างหรือเปล่า ต้องดูพระบาลีบทหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเป็นพุทธภาษิตว่า ธมฺมกาโม ภวํ โหติ ซึ่งแปลเป็นไทยว่า "ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ" ฉะนั้นจึงกล่าวว่า คำว่ากามนี่อย่าเพิ่งไปโทษเข้านะว่าเจ้าคนนี้มีกาม เราจะหาว่าเขาเลวยังไม่ได้ เป็นคำกลางๆ ว่าเป็นความใคร่ ถ้าบังเอิญเขาใคร่ในธรรมขึ้นมาล่ะ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าดี แต่ใคร่ในโลกีย์อันนี้ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงติ แต่แนะนำให้ละ

    ที่ไม่ติก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงรู้ว่าพวกเราที่เกิดมาทุกคน ไม่ใช่คนดีแท้ ถ้ามันดีแท้จริงๆ ก็ไม่มีใครเขาเกิดกันหรอก เขาไปนิพพานกันหมด ที่เราเกิดมาก็เพราะว่า เรามีกิเลส ตัณหา อุปทาน อกุศลกรรม เป็นเจ้านายบังคับขู่เข็นเราอยู่ มันจึงต้องเกิด เพราะการเกิดมันเกิดมาเพื่อแสวงหาความทุกข์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ถ้าจะกล่าวไปในอีกทีตามพระอริยะสมัยปัจจุบัน ที่พบหน้ากัน ท่านพูดวันนั้น มาที่นี่พูดไปพูดมาถึงเรื่องการเกิด การเกิดไม่ดีอย่างนั้น การเกิดไม่ดีอย่างนี้ เลยถามว่าแล้วก็เสือกเกิดขึ้นมาทำไมล่ะ ท่านตอบว่ายังไงรู้ไหม ก็มันโง่น่ะซีมันถึงได้เกิด ไม่โง่มันจะเกิดรึ ตอนนี้ท่านเลิกโง่เสียแล้ว ท่านจึงไม่อยากเกิดต่อไป เป็นอันว่าท่านไม่เกิด ในเมื่อเราเกิดขึ้นมา มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ความแน่นอนของชีวิตไม่มี ความแน่นอนของอารมณ์ไม่มี คำว่าความแน่นอนของอารมณ์ไม่มี ก็เพราะว่าอารมณ์ของเราไม่คงที่ เดี๋ยวก็มีอารมณ์เป็นสุข เดี๋ยวก็มีอารมณ์เป็นทุกข์ อย่างที่เราเรียนกันมาแล้วในเวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน นี่เพียงแค่อารมณ์มันก็เอาดีไม่ได้

    ทีนี้มาทางด้านของกาย มีแต่ความทุกข์ตลอดเวลา แต่ความจริงกายมันไม่ได้ทุกข์ มันเป็นไปตามปกติของมัน เราสิทุกข์เอง คำว่าทุกข์ของกายมันไม่ได้เกี่ยวกับใจ ใจมันวิ่งเข้าไปหากายเอง ไปเกาะกายเอง ถ้ากายมันป่วยไข้ไม่สบายเราก็เป็นทุกข์ เราคือจิต หรือที่เรียกกันว่า อาทิสมานกายที่สิงอยู่ในกายเนื้อ ทำไมมันจึงทุกข์ เพราะเข้าไปยึดถือว่านี่เป็นเราเป็นของเรา ไม่ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาตามความเป็นจริง เพราะว่ากฎธรรมดานี่มีอยู่ว่า กายนี่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว มันก็วิ่งเข้าไปหาความเสื่อมทุกวินาทีที่เคลื่อนไป ไม่มีร่างกายของบุคคลใดจะทรงตัวอยู่เป็นปกติ หรือใครว่าร่างกายมันทรง บอกมาซิ มีไหม มันจะทรงได้อย่างไร

    เรื่องของกายนี่มันไม่แน่คือขาน่ะ เคยยันหน้ายันหลังได้โดยสะดวก ไอ้บันไดนี่ขึ้นมาไม่รู้เท่าไหร่ แต่ตอนนั้นทำไมร่างกายขามันไม่อยู่ แสดงว่าตอนนั้นร่างกายขามันไม่มีการทรงตัว ขาเราเคยใช้ให้เป็นประโยชน์ แต่เกิดขาแพลงขึ้นมาเสีย แสดงว่ามันเป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ นี่เป็นอันว่าร่างกายของเราไม่ดี มันเป็นทุกข์ ตัวทุกข์จริงๆ น่ะ กายมันไม่ได้ทุกข์ จิตมันทุกข์ ถือร่างกายว่ามันจะต้องทรงอยู่แบบนั้นแบบนี้ไม่ยอมรับนับถือตามความเป็นจริง

    สำหรับพระอรหันต์ทั้งหลายที่ท่านไม่มีความทุกข์ เพราะอะไร เพราะท่านรู้ว่าร่างกายนี่มันไม่ทรงตัว เกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในระยะกลาง ประกอบด้วยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ คือมันเสื่อมมันโทรมลง และก็สลายตัวในที่สุด นี่ท่านรู้แล้วท่านไม่ลืมตัว ไม่ลืมก็คือตัวที่มีสติสัมปชัญญะ รู้ว่าร่างกายนี่มันพังแน่ มันจะพังเมื่อไหร่นี่ ไม่แน่นอนนัก บอกวันบอกเวลาไม่ได้ แต่ความพังมันมีแน่นอน ในเมื่อท่านรู้ว่ามันจะพัง มันเกิดพังขึ้นมา มันเกิดทรุดโทรมขึ้นมา ท่านก็นอนยิ้มสบาย พังก็พังซินายพังเมื่อไหร่ฉันก็สบายเมื่อนั้น ฉันจะไปนิพพาน คำว่านิพพานในที่นี้ ความจริงเขาพูดว่า นิพพานสูญ แต่ไม่เคยเห็นพระอรหันต์องค์ไหนท่านบอกว่าสูญ

    ไอ้คำว่าสูญนี่มันเรื่องของคนที่ติดในกามสุข และโลกีย์วิสัยแม้แต่ศีล ๕ ยังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ เท่านั้นที่จะเห็นว่าพระนิพพานสูญ อารมณ์ของท่านผู้ใดเข้าถึงตั้งแต่โคตรภูญาณ หรือว่าโสดาบันเข้าไปแล้ว ไม่มีใครเห็นว่าพระนิพพานสูญ ถ้าจะว่าสูญก็ได้อยู่ส่วนหนึ่ง คือสูญจากวัฏฏะ อำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ไม่สามารถจะบีบบังคับจิตของท่านที่เข้าถึงพระนิพพานให้มาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในอำนาจของเขาได้ นี่สูญจริงๆ สูญจากวัฏฏะ แต่ว่าอยู่ที่นิพพาน คำว่านิพพาน แปลว่า ดับ ไม่ใช่ว่าดับอะไรทั้งหมด ท่านบอกว่ากิเลสดับ กิเลสไม่เหลือ ก็ไปนิพพานนี่ว่ากันส่งเดชไปแล้ว

    ทีนี้มาธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน ผมพูดถึงนิพพานทำไม เพราะว่าจากนิวรณ์ไปแล้วพระพุทธเจ้าพูดถึงสังโยชน์ นี่เราก็เรียนความเป็นพระพุทธเจ้ากัน มา่ว่าถึง นิวรณ์ ๕ ประการที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ๕ อย่าง รู้รึไม่รู้ก็ช่าง เพราะเป็นภาษาบาลี มาว่ากันเป็นภาษาไทย
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=150>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ตัวแรก ท่านบอกว่า จิตของเราข้องอยู่ในกามารมณ์ คือ กามฉันทะ ความพอใจในกาม ถ้าจิตของเรามีความพอใจในกามารมณ์ หมายความว่าอารมณ์เข้าไปข้องอยู่ใน รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย หรือสัมผัสตามอารมณ์

    ของ ๕ อย่างนี้เห็นว่า รูปสวย จะเป็นรูปคน รูปสัตว์ รูปวัตถุก็ช่าง ไม่เลือกว่ารูปประเภทไหน เห็นว่ารูปสวยว่ารูปนี่เป็นที่พอใจของเรา เราชอบรูปนี้ ยึดถือความสวยเป็นกำลังอย่างหนึ่ง เสียงเพราะ พอใจในเสียงอย่างหนึ่ง กลิ่นหอม ติดใจในกลิ่น กลิ่นประเภทนี้เราชอบ แต่กลิ่นประเภทอื่นเราไม่ชอบ รสอร่อย ติดใจในรส การสัมผัสที่เราพึงประสงค์ กระทบเข้าชอบใจ แหมการสัมผัสนี่ดีจริง แล้วแถมอารมณ์หมกมุ่นอยู่ในเขตของกามอยู่ตลอดเวลา ของวัตถุกามนะ นี่มันก็เป็นทั้งวัตถุกาม และกิเลสกามรวมกัน ไอ้วัตถุเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสกับจิต ความจริงวัตถุมันไม่ได้มาบังคับบัญชาเรา ไอ้ใจของเรามันเสือกไปติดมันเอง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นี่ที่ผมพูดอย่างนี้เพราะอะไร ภาษามันจะเลวไปหน่อยละมั๊ง แต่ว่าอย่าลืมนะว่าพวกเราเป็นคนไทย นี่เราใช้ภาษาไทยกัน ไอ้บทภาษาทฤษฎีน่ะไม่ใช้ ภาษาที่ฟังยากไม่ใช้ คำว่าใจมันเสือก ก็หมายความว่าใจมันวิ่งเข้าไปหาวัตถุกาม เข้าไปติดไม่ได้ใช้จิตพิจารณาหาความเป็นจริง

    ในกรรมฐานบทต้นพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า เวลานี้จิตของเราใคร่อยู่ในกามารมณ์ เราก็รู้อยู่ว่าจิตของเราใคร่อยู่ในกามารมณ์ คือว่าให้พยายามพิจารณาจิตของเราควบคุมจิตของเราว่าเวลานี้ไอ้จิตของเรานี่มันพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส หรือสัมผัส หรือเปล่า อารมณ์หมกมุ่นครุ่นคิดในความพอใจอยู่หรือเปล่า ความจริงอารมณ์แบบนี้มันมีกับเราตลอดวัน แต่ว่าเราลืม ลืมคิด ลืมเพราะอะไร เพราะว่าสติสัมปชัญญะของเราไม่สมบูรณ์ เราไม่ได้ควบคุมอารมณ์จิตให้อยู่ในขอบเขต

    ตอนนี้เป็นธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐานก็จะว่าถึงระดับนิพพาน หรือว่าความเป็นพระอริยะละ ผมก็เห็นจะก้าวไปไม่เร็ว ต่อจากนี้ไปการสอนจะไปแบบช้าๆ เรามาพูดกันถึง โทษของกามฉันทะ คือว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ที่พอใจในกามก่อน

    ที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า รูปเป็นโทษ ถ้าเราพอใจในรูปจะเป็นรูปประเภทไหนก็ช่าง ที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ช่าง จะเป็นรูปคนหรือว่ารูปสัตว์ก็ช่าง จะเป็นรูปคนที่เป็นผู้หญิง ผู้ชาย สัตว์ที่เป็นตัวผู้ตัวเมียก็ช่าง เป็นรูปเหมือนกัน นี่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าเราเอาจิตเข้าไปติดในรูป มันเป็นความมัวหมองของจิต คือเป็นอารมณ์ของกิเลส ทำจิตให้เศร้าหมอง เป็นอารมณ์ของตัณหา สร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้น เพราะตัณหานี่เป็นปัจจัยของความทุกข์ ทำไมพระพุทธเจ้าจึงว่าอย่างนั้น ก็เพราะว่ารูป ถ้าเราพอใจขึ้นมาแล้วความปรารถนาอยากได้มันปรากฏขึ้น ความดิ้นรน ความต้องการในรูป ปรารถนาในรูปนั้นมันก็มีขึ้น ความดิ้นรนของใจมันก็บังคับกายให้ดิ้นรนไปด้วย ความลำบากยากแค้นมันก็เกิด

    ความจริงคนเกิดมามีรูป ถ้าเราต้องการสิ่งที่มีรูป พระพุทธเจ้าไม่น่าจะตำหนิ ถ้าจะว่าไปตามพระบาลีแล้ว พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ตำหนิ เป็นแต่เพียงแนะนำว่ามันไม่เป็นปัจจัยของความสุข เพราะความปรารถนาในรูปมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ นี่ว่าแต่รูปอย่างเดียวให้มันชัดเสียก่อน เพราะว่ารูปที่เราต้องการมันมีสภาพคล้ายผี เพราะรูปทุกอย่าง รูปคน รูปสัตว์ รูปวัตถุ มันมีสภาพคล้ายผี ผีนี่เรียกว่าผีหลอกมันหลอกเราอยู่ตลอดเวลา
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=140>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ถ้าเราไปเห็นรูป สมมติว่าวัตถุเขาทาด้วยสีสวยเราพอใจในสีก็ดี หรือพอใจในทรวดทรงของรูปก็ดี ว่าทรวดทรงของรูปส่วนไหนสวยดี มีลักษณะส่วนสัดดีมาก เราพอใจ และเขาก็ฉาบทาด้วยสี เป็นที่พอใจของเรา เราพอใจในรูปนั้น ถ้าเราลองเอารูปนั้นมาตั้งวาง เอามาเก็บไว้ มาไว้ในปกครอง ถ่ายภาพเอาไว้ให้ชัด ภาพฟิล์มสีน่ะดีมาก จะได้ลอกสีเอาไว้ใด้หมด เอาเก็บไว้สัก ๓ ปี แล้วลองเอารูปนั้นมาดูใหม่ ความเปลี่ยนแปลงมันจะปรากฏ แสดงว่าสภาวะของรูปไม่คงที่

    ถ้าเป็นคน จากเล็กก็ค่อยๆ ใหญ่ขึ้นมา ถ้ามีร่างกายสมบูรณ์แบบจริงๆ ถึงความเป็นหนุ่มเป็นสาว ความเปล่งปลั่งเต็มที่แล้วมันก็โรยลง อีคราวนี้ก็เริ่มเหลาเหย่ลงมาล่ะซี หาความดีไม่ค่อยจะได้ สิ่งใดที่เราเห็นว่าสวยสดงดงามสง่าผ่าเผยมันก็ค่อยๆ หายไป มันเสื่อมไปทีละน้อยๆ ในที่สุดรูปนี่ก็พัง ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า รูปเป็นอนิจจัง มีความไม่เที่ยง มีการสลายตัวไปในที่สุด เฉพาะรูปอย่างเดียว มันมีสภาพหลอกแต่ความจริงมันไม่หลอก เราหลอกตัวเอง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูปนี้มันเป็นธรรมดาของมัน อย่างหนึ่ง เมื่อมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น ก็มีความเปลี่ยนแปลงตามปกติ เรียกว่าปกติของรูปเป็นอย่างนั้น แล้วในที่สุดมันก็พัง แล้วอารมณ์ที่ยึดถือเข้าใจว่ารูปสวย รูปมั่นคง รูปดีเป็นที่น่าปรารถนา นั่นมันใคร รูปมันแนะนำเราหรือเปล่า เราเอง อารมณ์ใจที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของตัณหา หรือความทะยานอยาก ตัณหามันสอนให้เราโง่ ตัณหามันบอกรูปนี่สวย รูปนี่ดี ควรจะเอามาเก็บไว้ในปกครอง เพราะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์

    นี่เราผู้มีกิเลสกำลังมันต่ำ จิตมันมัวหมองเศร้าหมองอยู่แล้ว ไอ้คำว่ากิเลส ก็คือว่า ถ้าพูดถึงตาก็ตาบอด ถ้าพูดถึงใจก็ใจบอด เพราะไม่ได้ใช้ปัญญา พิจารณาหาความเป็นจริง ในเมื่อเราโง่แล้ว เมื่อเป็นคนตาบอด หรือเป็นคนใจบอด เมื่อถูกจูงไปทางไหนมันก็ไปทางนั้น เมื่อกิเลสมันจูงไปเห็นว่ารูปดี จิตพอใจในรูป เราก็ตามใจกิเลส เมื่อเราตามใจกิเลสเราก็ถึงความทุกข์เพราะถูกรูปมันหลอกเอา ความจริงไม่ได้หลอก เพราะใจของเรามันหลอก ใจของเรามันเลวเอง
    ที่มา http://www.geocities.com/4465/samadhi/maha441.htm
     
  2. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    ขออนุโมทนา...สาธุ....สาธุ....สาธุ ให้ตราบเข้าถึงพระนิพพาน
    ขออนุโมทนา...สาธุ....สาธุ....สาธุ ให้ตราบเข้าถึงพระนิพพาน
    ขออนุโมทนา...สาธุ....สาธุ....สาธุ ให้ตราบเข้าถึงพระนิพพาน
    ข้าจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า พระปริยัติธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้า แลคุณพระพุทธเจ้า แลคุณพระนวโลกุตรธรรมเจ้า แลคุณพระอริยสงฆ์เจ้าในอดีตอนาคตปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าตราบเข้าสู่พระนิพพาน แลข้าจะขอนมัสการกราบไหว้ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้า อันเป็นอดีตอนาคตปัจจุบันสิ้นกาลนานทุกเมื่อ แลข้าพเจ้าจะข้อเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้า ขอพระบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ ขออาราธนาพระธรรเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นหใหญ่ ข้าขอาราธนาคุรแห่งพระอริยสงฆ์
    จงประดิษฐาน อยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นที่จะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นแต่พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าเที่ยงแท้นักหนา ข้าไหว้ละอองธุลีบาททั้งหลายพระลายลักษณ์สุริยฉาย มงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่งโทษอันใดข้าได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีจอนาคตปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าขอมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้านี้เถิด ข้าขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้ง 2 ประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้ง 2 ประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้ง 2 ประการจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้านี้เถิด ข้าขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้ง 2 ประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้ง 2 ประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้ง 2 ประการจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้านี้เถิด
     

แชร์หน้านี้

Loading...