หลักปฏิบัติ๑๐ประการ..จากพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมในแผ่นดินสยาม

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 15 มกราคม 2010.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    หลักปฏิบัติ 10 ประการ...จากพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมในแผ่นดินสยาม




    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)


    ทรงพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมสังวาลย์) ทรงมีพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ต่อมาได้รับการสถาปนา เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และทรงมีพระบรมเชษฐาธิราช 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8

    เมื่อสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯ เสด็จทิวงคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานนามว่า “ภูมิพลอดุลยเดช” ซึ่งมีความหมายว่า “พลังของแผ่นดินเป็นอำนาจที่หาใดเปรียบมิได้” ราวกับจะทรงทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ จะทรงเป็นผู้ที่ประคองประเทศชาติให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ต่างๆ ไปได้อย่างไม่คาดฝัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงสละราชสมบัติ รัฐบาลได้กราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทานอัญเชิญ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ

    แต่จากนั้นไม่นาน ได้มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ สืบต่อจากพระบรมเชษฐาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ มาจนถึงปัจจุบัน และได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นอย่างครบถ้วน ตามโบราณราชประเพณี ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ

    จากนั้นพระมหาราชครูพราหมณ์ ได้ถวายพระมหาพิชัยมงกุฎตามขัตติยราชประเพณี ดังเช่นสมเด็จบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ได้เคยทรงปฏิบัติ และได้มีพระราชดำรัส ในการขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ หรือที่เรียกว่า พระปฐมบรมราชโองการ ตามพระราชประเพณีอันมีมาแต่โบราณว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” นับเป็นเวลา 60 กว่าปีแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกาย, พระสติปัญญา, พระอัจฉริยภาพ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เพื่อยกระดับสภาพความเป็นอยู่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตพสกนิกร ของพระองค์อยู่ตลอดเวลา

    โดยจะเสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องที่ต่างๆ พร้อมทอดพระเนตรพื้นที่เหล่านั้น เพื่อรับทราบปัญหาด้วยพระองค์เอง ซึ่งพระองค์จะทรงมีหลักธรรม 10 ประการ ที่ทรงยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ในการพระราชวินิจฉัยแก้ปัญหา เพื่อให้คนไทยได้รับประโยชน์และความสุข โดยไม่แบ่งแยก ด้วยวิถีแห่งหลักธรรม 10 ประการ ดังกล่าว จึงทำให้เราได้เห็นถึงพระราชจริยวัตรที่งดงาม เรียบง่าย พอเพียง พอดี และมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจของพระองค์ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างที่ดีที่คนไทยทุกคนควรน้อมนำมาปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาท ซึ่งหลักธรรม 10 ประการ มีดังนี้

    1. ทำงานอย่างผู้รู้จริง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นการเป็นผู้รู้จริง ก่อนที่จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เพื่อประชาชนในทุกเรื่อง ทรงศึกษาหาความรู้เป็นอันดับแรก โดยทรงค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ อย่างละเอียด เมื่อพร้อมแล้วจึงค่อยลงมือทำ ทุกคนจึงควรเป็นผู้รู้จริงในการทำงานเพื่อให้ผลงานเป็นที่ยอมรับและบังเกิดผลดีต่อทุกฝ่าย

    2. มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะและความถูกต้อง คือ การรู้จักอดทน ทำจนเป็นนิสัย ไม่ว่าสิ่งดีๆ ที่เข้ามา ทุกข์ที่เข้ามา สุขที่เข้ามา เราก็รับด้วยใจสงบ ไม่ตื่นเต้นหรือกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ หากเกิดปัญหา เราก็ทำจิตใจให้รู้สึกท้าทายกับปัญหานั้น เห็นปัญหาแล้วกระโดดเข้าใส่ เป็นการท้าทายสติปัญญา อย่ากลัว และละลายปัญหาจากเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย

    3. ความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่ายและประหยัด ถือเป็นสิ่งสำคัญ เช่น นาฬิกาข้อพระกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่จำเป็นต้องราคาแพง แต่ทรงเน้นที่ประโยชน์ของการบอกเวลา ในการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎร ทรงใช้การแก้ไขปัญหาด้วยธรรมชาติ เรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่น และประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีให้ยุ่งยาก

    4. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก ตลอดระยะเวลา 60 กว่าปีที่ทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง โดยไม่ทรงคำนึงถึงพระวรกายเลยแม้แต่น้อย อย่างเช่น โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นการดำเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ที่เป็นตัวอย่างที่ดี ที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และไม่ได้ละเลยคนส่วนน้อย ที่ต้องเสียสละเพื่อส่วนรวม เมื่อส่วนรวมได้ประโยชน์ คนส่วนรวมก็ต้องช่วยคนกลุ่มเล็ก ที่เสียสละอย่างเต็มที่

    5. รับฟังความเห็นของผู้อื่น และเคารพความคิดที่แตกต่าง ทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินไปในพื้นที่ต่างๆ ทรงทำประชาพิจารณ์ทุกครั้ง โดยวิธีการของพระองค์เป็นวิธีที่เรียบง่ายตรงไปตรงมา โดยจะทรงอธิบายถึงวัตถุประสงค์และผลที่ได้รับ จากโครงการพัฒนากับพสกนิกรที่มาเฝ้า และจะทรงถามถึงความต้องการของประชาชน ความสมัครใจ และให้ตกลงกันเองในกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์ และกลุ่มที่ต้องเสียสละในขณะนั้นเลย จากนั้นจะทรงเรียกผู้นำท้องถิ่นมารับทราบ ดำเนินการในเชิงบริหารและวิชาการต่อไปจนเสร็จสิ้นโครงการ

    6. มีความตั้งใจจริงและขยันมั่นเพียร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงมุ่งมั่นในเรื่องที่ทรงปฏิบัติมาก ทรงงานทุกวันไม่มีวันหยุด ซึ่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ โดยเฉพาะข้าราชการจึงต้องมีจิตสำนึกในการบริการ มีความขยัน และตั้งใจปฏิบัติงานเพื่อประชาชน

    7. มีความสุจริตและความกตัญญู ทรงแสดงให้ประจักษ์ในเรื่องของความกตัญญูต่อพระราชมารดา และความสุจริตต่อแผ่นดิน และต่อสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะส่วนรวม ทรงเตือนให้ยึดสิ่งนี้ไว้ เพราะเป็นเรื่องที่จำเป็นมีความสำคัญ และมีคุณค่ายิ่ง

    8. พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง ทรงสอนให้ชาวไทยสามารถดำรงชีวิตด้วยตนเองได้ และต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรง และยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้ หรือตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงพระราชทานให้แก่ประชาชนไทย ให้สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองในระดับพื้นฐาน

    9. รักผู้อื่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรักประชาชนและทำงานเพื่อประชาชน ครั้งหนึ่งมีรับสั่งกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ว่า ทรงทำราชการ ดังนั้นคนที่รับราชการ ซึ่งถือว่ารับงานของราชามาทำต่อ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ต้องรักประชาชนและทำงานเพื่อประชาชน เฉกเช่นเดียวกับพระองค์

    10. การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ต้องนึกถึงคนอื่นบ้าง อย่าคิดถึงแต่ตัวเอง เห็นแก่ตัวอย่างเดียวอยู่ไม่รอด ต้องรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่คนไทยว่า “สังคมใดก็ตาม ถ้ามีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันด้วยความมุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน สังคมนั้นย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิตร มิตรภาพ มีความร่มเย็นเป็นสุข น่าอยู่...”

    จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีงามในทุกด้าน สมควรที่ประชาชนคนไทย จะดำเนินรอยตามพระยุคลบาทด้วยหลักปฏิบัติ 10 ประการ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และหากประชาชนไทยทุกคนได้ทบทวน ยึดถือ และน้อมนำไปปฏิบัติดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติอยู่แล้ว จะสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยดี และสังคมไทยจะสงบสุขอย่างแน่นอน ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ ด้วยพระราชวิริยะอุตสาหะ ซึ่งก่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่พสกนิกรไทยนานัปการ

    สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยร่วมกันแสดงความจงรักภักดี โดยการดำเนินรอยตามพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 10 ประการ เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติมิให้หลงระเริงไปกับสังคมวัตถุนิยมในปัจจุบัน ตลอดจนเพื่อสร้างความสมัครสมาน สามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทย ในการสร้างความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคงให้เกิดขึ้นแก่ประเทศชาติ เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2552 ที่จะถึงนี้


    นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 ในระหว่างวันที่ 3 – 7 ธันวาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 18.00 น. – 24.00 น. ณ บริเวณตลอดเส้นทางของถนนราชดำเนินนั้น ในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม จะจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาทิ การจัดฉายภาพยนตร์ 3 มิติ ซึ่งเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การแสดงหุ่นนานาชาติ และการสาธิตการประดิษฐ์หุ่นจากประเทศต่างๆ กว่า 10 ประเทศ

    การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม และที่สำคัญมีการแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหัวข้ออัครศิลปิน ซึ่งเป็นการจัดแสดงงานศิลปะ พระบรมฉายาลักษณ์ เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม และภาพพระราชประวัติทรงดนตรีกว่า 40 ภาพ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวไทย ร่วมงานดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 3 – 7 ธันวาคม 2552 เพื่อร่วมแสดงถึงความจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยพร้อมเพรียงกัน พร้อมกับร่วมกันถวายพระพร ให้พระองค์ทรงพระเจริญ และมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตราบนานเท่านาน



    ข้อมูลข่าว : ศูนย์ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
    อัพเดทโดย : ศศิวิมล


    --------------------
    [​IMG]
    MCOT Variety : Art&Culture : ��ѡ��Ժѵ� 10 ��С��...�ҡ�����ҡ�ѵ��������ç��������蹴Թ����
     
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260

    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญครับ
    www.buddhasattha.com<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มีนาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...