เรื่องเด่น อานิสงส์การรักษาอุโบสถศีลเพียงครึ่งเดียว อย่าคิดว่าเล็กน้อย

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย อกาลิโก!, 15 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. อกาลิโก!

    อกาลิโก! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    609
    กระทู้เรื่องเด่น:
    531
    ค่าพลัง:
    +3,731
    m-22-2-850x491.jpg

    อานิสงส์การรักษาอุโบสถศีลเพียงครึ่งเดียว อย่าคิดว่าเล็กน้อย
    ubosok-1000x600-300x180.png
    นอกจากนี้การรักษาศีล ๘ ยังมีพลังมหาศาลที่จะบันดาลสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เป็นความปรารถนา
    ของผู้ที่รักษา ให้ปรากฏขึ้นอย่างเป็นอัศจรรย์ ดังเรื่องราวของพระเจ้าอุทัย

    พระเจ้าอุทัย

    …….ในอดีตกาล มีเศรษฐีท่านหนึ่งแห่งนครพาราณสี ชื่อว่า สุจิบริวาร ท่านเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติ
    มากมายนับได้ประมาณ ๘๐ โกฏิ ท่านเป็นผู้ที่มีความชื่นชมยินดีในการทำบุญ ทั้งยังชักชวน บุตร
    ภรรยา และพวกพ้องบริวารทั้งหลายให้รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ครั้นถึงวันพระ ก็จะชักชวนให้
    รักษาอุโบสถศีล

    ครั้งนั้น มีชายยากจนคนหนึ่ง ได้ไปขอรับจ้างทำงานในบ้านของเศรษฐี ซึ่งตามปกติแล้ว
    ท่านเศรษฐีจะให้ลูกจ้างทุกคน ทำสัญญาตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานว่าจะรักษาศีล แต่สำหรับ
    ชายยากจนผู้นี้ ท่านเศรษฐีเพียงแต่กล่าวว่า

    “ เจ้าจงทำงานตามค่าจ้างของตนเถิด ” โดยมิได้ให้ทำสัญญาเกี่ยวกับการรักษาศีลเลย

    ชายหนุ่มผู้นี้เป็นคนว่าง่าย ตั้งใจทำงานทุกอย่างโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากกาย
    เขาจะออกไปทำงานแต่เช้าตรู่และกลับมาในเวลาเย็น

    วันหนึ่งท่านเศรษฐีได้สั่งหญิงรับใช้ว่า “ วันนี้เป็นวันอุโบสถ เธอจงจัดอาหารให้คนงาน
    ในบ้านเราแต่เช้าตรู่ เมื่อเขาบริโภคอาหารกันแต่เช้า จะได้สมาทานรักษาอุโบสถศีล”

    หญิงรับใช้ก็ได้ไปปฎิบัติตามคำสั่ง เมื่อคนในบ้านบริโภคอาหารเช้าแล้วได้อยู่รักษาอุโบสถศีล
    ในที่พักของตนเอง ยกเว้นแต่ชายยากจนนั้นได้ออกไปทำงานแต่เช้า และไม่ทราบเรื่องวันอุโบสถ
    เลย เขาทำงานตลอดทั้งวัน จนกระทั่งตะวันตกดินจึงกลับมา เมื่อหญิงรับใช้นำอาหารมาให้ เขา
    ก็ถามด้วยความแปลกใจว่า ” วันนี้ ผู้คนหายไปไหนกันหมด ทำไมไม่มีเสียงเอ็ดอึงเช่นเคย ”

    หญิงรับใช้ตอบว่า “ เขาพากันรักษาอุโบสถศีลอยู่ในที่พักของตนกันหมด ”

    ชายผู้นั้นจึงรำพันว่า “ทุกๆ คนเขาเป็นผู้มีศีล หากตัวเราไม่มีศีล ย่อมไม่สมควรเลย ”

    เขาจึงไม่บริโภคอาหาร แต่เข้าไปถามท่านเศรษฐีว่า“ นายครับ ผมจะอธิษฐานวันอุโบสถ
    ในเวลานี้ได้ไหม จะถือว่าเป็นอุโบสถกรรมหรือไม่ครับ”

    ท่านเศรษฐีตอบว่า “ เจ้าไม่ได้อธิษฐานไว้ตั้งแต่ตอนเช้า จึงไม่นับว่าเป็นอุโบสถกรรมที่ครบ
    ทั้งหมด แต่ก็ยังถือว่าเป็นอุโบสถกรรมครึ่งหนึ่ง”

    ชายยากจนจึงตอบว่า ” เพียงเท่านี้ก็ได้ครับ”
    ……เขาได้สมาทานศีล อธิษฐานอุโบสถ แล้วไปยังที่พักนอนรำพึงถึงศีลของตน

    ครั้นเวลาล่วงมาถึงกลางดึกคืนนั้น ชายยากจนผู้ไม่ได้บริโภคอาหารเลยตลอดทั้งวัน ก็มี
    อาการไม่สบาย เกิดลมขึ้นในท้อง แม้ท่านเศรษฐีจะนำเอาเภสัช ๕ ต่างๆ มาให้กินเขากลับตอบว่า
    “ผมจะไม่ทำลายอุโบสถศีลของผม ผมสมาทานอุโบสถศีล โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน”

    ในที่สุด เมื่อความเจ็บปวดรุนแรงขึ้น ชายผู้นั้นก็ไม่อาจครองสติได้ คนทั้งหลายเห็นว่า เขา
    คงจะถึงแก่ความตายเป็นแน่ จึงนำตัวเขาออกมานอนนอกระเบียง

    ขณะนั้นเอง พระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงทำประทักษิณพระนคร เสด็จผ่านมา ชายยากจนได้
    เห็นพระราชา ก็เกิดความปรารถนาอยากจะได้ราชสมบัติเช่นนั้นบ้าง จากนั้นเขาก็สิ้นใจตาย

    ด้วยผลจากการรักษาอุโบสถศีลเพียงครึ่งเดียวนั้น ทำให้เขาได้ไปเกิดในครรภ์ของพระอัครมเหสี
    แห่งพระเจ้ากรุงพาราณสี เมื่อครบ ๑๐ เดือน ก็ประสูติ และได้รับการขนานพระนามว่า อุทัยกุมาร
    เมื่อทรงเจริญวัยขึ้น ทรงศึกษาสำเร็จศิลปะทุกประการ และมีพระญาณระลึกชาติได้ พระองค์มัก
    จะทรงรำพึงถึงเหตุการณ์ในชาติก่อน แล้วเปล่งอุทานว่า

    “ นี่คือผลแห่งกรรมเพียงเล็กน้อยของเรา”

    ต่อมาเมื่อพระราชาบิดาสวรรคต พระองค์ก็ทรงครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ ทรง
    พระนามว่า พระอุทัยราชา

    การรักษาอุโบสถศีลเพียงครึ่งเดียว แม้จะดูเป็นการกระทำเพียงเล็กน้อย และเกิดขึ้นในช่วง
    เวลาสั้นๆ แต่กลับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตของชายผู้ยากจนเข็ญใจ เพราะการที่เขา
    ได้มุ่งมั่น ตั้งใจ รักษาอุโบสถศีลโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันนั้น ได้ก่อให้เกิดกระแสบุญอันมหาศาล
    ซึ่งสามารถบันดาลให้ความปรารถนาในวาระสุดท้าย ที่เปรียบเสมือนฝันอันแสนไกล ให้กลับ
    กลายมาเป็นความจริงได้ในทันที

    คำอุทานของพระอุทัยราชา และมหาสมบัติที่เกิดขึ้นนั้นย่อมยืนยันได้ว่า ผลแห่งการ
    รักษาอุโบสถศีลนั้น ไม่มีคำว่าน้อยเลย

    จากหนังสือ…..

    ศีล….เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม


    ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก https://watnonggai.com


    ขอบคุณที่มา
    https://www.devmeu.com/อานิสงส์การรักษาอุโบสถ.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...