อานุภาพการสวดมนต์และเสียงสาธุการ และ สาเหตุของการต้องตั้ง นโมหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย pinkpink, 16 พฤษภาคม 2010.

  1. pinkpink

    pinkpink เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,249
    ค่าพลัง:
    +11,631

    สาเหตุของการต้องตั้ง นโม

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
    [​IMG]
    คัดลอกจาก
    ได้มีโยมคนหนึ่ง คือ อาชญาขุนพิจารณ์ (บุญมาก) สุวรรณรงค์
    เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีอยู่ในอำเภอพรรณา นิคม บุตรของพระเสนา
    ณรงค์ (สุวรรณ์) เจ้าเมืองพรรณานิคมคนที่ 4 ( และเป็นนายอำเภอ
    พรรณานิคม คนแรกในรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
    ได้นมัสการถามพระอาจารย์มั่นถึงเรื่อง"นโม" ว่าเหตุใดการให้ทาน
    หรือการรับศีลจึงต้องตั้ง "นโม" ก่อนทุกครั้ง จะกล่าวคำถวายทาน
    และรับศีลเลยที เดียวไม่ได้หรือ ?

    พระอาจารย์มั่นได้เทศน์ชี้แจงเรื่อง "นโม" ให้ฟังว่า...
    "เหตุใดหนอ นักปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดีจะรับ ศีลก็ดีหรือจะ
    ทำการกุศลใดๆก็ดีจึงต้องตั้งนโมก่อนจะทิ้ง นโมไม่ได้เลย เมื่อเป็น
    เช่นนี้ นโม ก็ต้องเป็น สิ่งสำคัญ จะยกขึ้นพิจารณา ได้ความปรากฏ
    ว่า น คือธาตุน้ำ โมคือธาตุดิน พร้อมกับบทพระคาถาขึ้นมาว่า

    มาตาเปตฺติกสมฺภโว โอทนกุมฺมาสุปจโย

    สัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกันจึงเป็นตัวตนขึ้นมาเมื่อคลอดจาก
    ครรภ์มารดาแล้วก็ได้รับข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็นเครื่องเลี้ยงจึง
    เจริญเติบโตขึ้นมาได้

    "น" เป็นธาตุ ของมารดา โม เป็นธาตุของบิดา ฉะนั้น เมื่อธาตุทั้ง 2
    ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า "กลละ"
    คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิ ได้
    จิต จึงได้ปฏิสนธิในธาตุ "นโม" นั้น

    เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว "กลละ" ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น "อัมพุชะ" คือ
    เป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น "ฆนะ" คือ แท่งและเปสี
    คือ ชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็น ปัญจสาขา
    คือ แขน 2 ขา 2 หัว 1

    ส่วนธาตุ "พ" คือ ลม "ธ" คือ ไฟนั้น เป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลัง
    เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจาก" กลละ" นั้นแล้ว กลละ ก็ต้องเข้ามา
    อาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละ ก็
    ต้องทิ้งเปล่า หรือ สูญเปล่า ลม และไฟก็ไม่มี คนตายลมและไฟก็
    ดับหายสาบสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุ ทั้ง 2 คือ นโม เป็นดั้งเดิม

    ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย "น" มารดา "โม"
    บิดาเป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา ด้วยการให้ข้าวสุก และ
    ขนมกุมมาสเป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง

    ท่านจึงเรียกมารดาบิดา ว่า "ปุพพาจารย์" เป็นผู้สอนก่อนใคร ๆ ทั้ง
    สิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้
    มรดกที่ท่านทำให้กล่าวคือ รูปกายนี้แลเป็นมรดกดั้งเดิม ทรัพย์สิน
    เงินทองอันเป็นภายนอก ก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มี
    แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลย

    เพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น "มูลมรดก" ของมารดาบิดาทั้ง
    สิ้น จึงว่าคุณของท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลาย
    จึงหาได้ละทิ้งไม่

    เราต้องเอาตัวเราคือ นโม ตั้งขึ้นก่อน แล้วจึงทำกิริยา หาได้แปล ต้นกิริยาไม่

    มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุนทำการฝึกหัดปฏิบัติตน ไม่ต้องเป็นคนจน
    ทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ

    นโม เมื่อกล่าวเพียง 2 ธาตุเท่านั้นยังไม่สมประกอบ หรือยังไม่เต็ม
    ส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้ คือ เอาสระอะ จากตัว "น" มาใส่
    ตัว "ม" เอา สระโอจากตัว "ม" มาใส่ตัว "น" แล้วกลับตัวมะ มาไว้
    หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่า ใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้ทั้งกายทั้งใจ
    เต็มตามสมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้

    มโน คือ ใจ นี้เป็นดั้งเดิมเป็นมหาฐานใหญ่ จะทำจะพูดอะไรก็ย่อม
    เป็นไปจากใจนี้ทั้งหมดได้ในพระพุทธพจน์ว่า

    มโนปุพฺพงฺ คมา ธมฺมา มโนเสฎฐา มโมยา


    ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ
    พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัยก็ทรงบัญญัติออกไป
    จากใจ คือ มหาฐานนี้ทั้งสิ้น

    เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้สึก นโมแจ่มแจ้ง
    แล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมบัติทั้งหลาย
    ในโลกนี้ต้องออกไปจากนโมทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใคร ต่างคน
    ต่างถือเอาก้อนอันนี้ ถือเอาเป็นสมบัติ บัญญัติตามกระแสแห่งน้ำ
    โอฆะ จนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลง
    ถือว่าตัวเป็นเราเป็นของเราไปหมด"

    [​IMG]



    อานุภาพการสวดมนต์และเสียงสาธุการ

    สมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่บนดอยปะหร่อง (เชียงใหม่) กับพระ
    อาจารย์มนู ตอนเช้าเที่ยวบิณฑบาต พอให้พรเสร็จ ท่านได้สอนให้ชาว
    บ้านกล่าวสาธุพร้อมกันด้วยเสียงสูง ท่าน (พระอาจารย์มั่น) เล่าเป็นเชิงตลก
    ว่า มือทั้งสองข้างของเขาชูขึ้นข้างบนเหมือนบั้งไฟจะขึ้นสู่ท้องฟ้า ว่างั้น
    วันหนึ่ง ท่านนั่งพักในส่วนที่ทำเป็นที่พักกลางวัน มีเทพพวกหนึ่งมาจากเขาจิตรกูฏ
    มาถามท่านว่า

    "เสียงสาธุ สาธุนั้น สาธุอะไร สะเทือนสะท้านทุกวัน พวกเทพทั้งหลาย
    ได้ฟัง มีความสุขไปตามๆ กัน"

    ท่านมาพิจารณาว่า เสียงอะไร ที่ไหน จึงระลึกได้ว่า เสียงสาธุการของชาว
    บ้านตอนถวายทานนั่นเอง
    พอรับทราบแล้วพวกเทพก็กล่าวว่า "เขาก็สาธุการด้วย" แล้วทำประทักษิณ
    เวียนขวาลากลับไป ส่วนมากพวกเทพเขาจะทำอย่างนั้น
    ท่านพระอาจารย์มั่น เลยมาพิจารณาต่อได้ความว่า
    พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตาม จะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์เช้า
    เย็น หรือชาวพุทธทุกคน

    สวดมนต์ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล

    สวดออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล

    สวดมนต์เช้าเย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล

    สวดเต็มเสียงสุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล

    แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพ และที่สุดอเวจีมหานรก ยังได้รับความสุข
    เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ผ่านลงไปถึงชั่วขณะชั่วครู่หนึ่ง ดีกว่า
    หาความสุขไม่ได้เลยตลอดกาล

    นี้คืออานิสงส์ของพระพุทธมนต์ ท่านพระอาจารย์มั่นว่าอย่างนี้



    จากหนังสือ "รำลึกวันวาน"
    หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ
    เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    จากเว็บ http://www.dharma-gateway.com/monk-hist-index-page.html


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2010
  2. fullmoonsun

    fullmoonsun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    735
    ค่าพลัง:
    +2,321
    Anumothana Sathu
     
  3. ucon888

    ucon888 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2009
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +993
    โมทนาบุญด้วยครับ
    ทุกวันนี้สวดมนต์ในใจ ไม่ออกเสียงครับ
     
  4. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    ขออนุโมทนา สาธุ ๆ
    ยินดีกับท่านทั้งหลาย

    ที่ได้มีโอกาสทำบุญสร้างกุศล
    ต่าง ๆ ในกาลนี้ด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...