อายตนะทั้ง ๖ เช่นมีตาเห็นรูป เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 5 มกราคม 2016.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ฮา
     
  2. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    > เหตุที่บรรลุธรรม-หลวงปู่เทสก์-เทสรังสี

    เหตุที่บรรลุธรรม


    ท่านผู้อ่านทั้งหลายคงเคยได้ทราบเรื่องของพระสาวกบางรูปมาแล้วว่า ท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลในขณะที่ท่านนั่งฟังพระธรรมเทศนาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธองค์นั่นเอง แล้วท่านเคยคิดบ้างไหมว่าทำไมท่านจึงสำเร็จง่ายดายนัก ท่านไม่ได้เจริญ ฌาน-สมาธิ-วิปัสสนา และมรรค ๘ บ้างหรือ


    หากท่านตั้งใจคิดและพิจารณาด้วยใจอันเป็นธรรมแล้ว คงจะเห็นชัดด้วยใจของตนเองว่า ท่านเหล่านั้นในขณะนั้นท่านไม่ได้เจริญฌาน หรือหากบางท่านจะเคยได้เจริญฌานมาก่อนแล้วก็ตาม แต่ในขณะที่ท่านนั่งฟังพระธรรมเทศนาอยู่นั้น ท่านไม่ได้เจริญฌาน ท่านเจริญสัมมาทิฏฐิ อันมีสัมมาสมาธิเป็นรากฐาน คือดำเนินตามองค์มรรค ๘ ทีเดียว มีวิปัสสนาคือ พระไตรลักษณญาณเป็นผู้อุดหนุน


    หากจะมีความสงสัยว่าสมาธิในขณะนั้นจะมีได้อย่างไร ขอเฉลยไว้ ณ โอกาสนี้เลยว่า สมาธิ ไม่ต้องดับรูป-เสียง-กลิ่น-รส-สัมผัส เหมือนฌาน แต่สมาธิจะยึดเอาอารมณ์ทั้ง ๖ นั่นแหละมาเป็นเครื่องพิจารณาจนเห็นอารมณ์ทั้ง ๖ นั้นชัดตามเป็นจริงว่า อายตนะ ๖ มีตาเป็นต้น เป็นบ่อเกิดของอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น กิเลสจะเกิดขึ้นที่อายตนะ ๖ นี้เพราะความไม่รู้ตามเป็นจริง แล้วเข้าไปยึดอารมณ์ ๖ นั้นมาไว้เป็นของตัวจึงเดือดร้อนเป็นทุกข์


    ความจริงแล้ว อายตนะ ๖ ก็มีไว้สำหรับรับรู้ทำหน้าที่ของตนๆเป็นธรรมดาอยู่แล้ว อายตนะมิได้มาไหว้วอนหรือร้องขอให้ใครๆ มาหลงรักหลงชอบหรือเกลียดชังอะไร แต่ใจของเราต่างหาก แส่ไปยึดไปถือเอาอารมณ์นั้นมาเป็นตน เป็นของตน ทั้งๆที่อารมณ์เหล่านั้นก็หาได้เป็นไปตามปรารถนาไม่ มันเกิดขึ้น ณ ที่ใด มันก็ดับลง ณ ที่นั้น มันเกิดๆ ดับๆ อยู่อย่างนี้ตลอดกาล


    ผู้มาพิจารณาเห็นชัดแจ้งอย่างนี้ด้วยใจด้วยปัญญาอันชอบแล้ว จิตจะไม่แส่ส่ายลังเลไปในอารมณ์นั้นๆ แล้วจะตั้งมั่นแน่แน่วอยู่ในความจริงใจว่า อายตนะทั้ง ๖ จะเป็นกิเลส และเป็นภัยก็แต่ผู้ที่ไม่เข้าใจตามเป็นจริง แล้วเข้าไปยึดถือ เอามาเป็นตนเป็นของตนเท่านั้น ผู้ที่รู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอายตนะทั้งหลายก็จะเป็นอายตนะอยู่ตามเดิม และทำหน้าที่อยู่ตามเคย ใจก็จะไม่หลงเข้าไปยึดเอามาเป็นตนของตนเลย ที่เรียกว่าสมาธิเกิดขึ้นเพราะเอาความเห็นอันเป็นจริงในสัจจธรรมมาเป็นอารมณ์ ต่อนั้นไป หากมีผู้มาแสดงสัจจธรรมอันเนื่องมาจากอายตนะ-ขันธ์ เป็นต้น อันมีมูลฐานอันเดียวกัน ท่านผู้นั้นก็จะส่องแสงปัญญาตามรู้ตามเห็นไปตามทุกแง่ทุกมุมจนสิ้นสงสัยในธรรมนั้นๆ ที่เรียกว่าได้บรรลุธรรม



    สมมติว่า หากท่านผู้อ่านสนใจในธรรมอยู่ ได้ไปเฝ้าฟังธรรมของพระพุทธเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาฉลาดเฉียบแหลมลึกล้ำ สรรเอาแต่ถ้อยคำที่เป็นอรรถเป็นธรรมนำมาซึ่งประโยชน์ เสียงก็ไพเราะเพราะพริ้ง ตรัสคำใดออกมาก็เป็นที่น่าจับใจ พระรูปพระโฉมผิวก็ผุดผ่อง นิ่มนวลชวนให้เกิดความเลื่อมใส จรณธรรมทั้งหลายของพระองค์ไม่มีบกพร่อง ทั้งด้านน้ำพระทัยของพระองค์เล่าก็เปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารทั้งสี่เช่นนี้แล้ว ท่านจะทำอย่างไร หากท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าดังนั้นเข้าแล้วท่านจะนั่งภาวนากรรมฐาน เจริญฌานกสิณ ดับอารมณ์ภายนอก มีรูปเป็นต้น เสวยความสุขยึดเอาเอกัคคตารมณ์ชมไม่รู้อิ่มไม่รู้เบื่อ จนเกิดวิปัสสนาญาณ ๙ แล้วจึงจะเข้าถึงมรรคผลนิพพานอย่างนั้นหรือ หากท่านมัวทำเช่นนั้นอยู่ เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าคงจะต้องเสด็จหนีก่อนเป็นแน่


    แต่ถ้าท่านไม่ดับอารมณ์เหล่านั้น แต่มายึดเอาอารมณ์เหล่านั้นขึ้นมาพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงดังแสดงมาแล้ว เมื่อพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีจิตใจอันบริสุทธิ์ กลั่นกรองเอาธรรมที่เป็นของบริสุทธิ์มาแสดงให้ท่านผู้มีความเห็นอันบริสุทธิ์ คือสัมมาทิฏฐิและมีสัมมาสมาธิ เป็นผู้อุดหนุนนั่งฟังธรรมอยู่นั้น เมื่อถึงพร้อมเช่นนั้น ขอให้ท่านพิจารณาดูว่าจะมีอะไรเกิดตามมา เท่าที่แสดงมานี้ เข้าใจว่าท่านผู้อ่านทั้งหลาย พอจะเข้าใจเนื้อความที่ว่า ผู้นั่งฟังธรรมของพระพุทธเจ้าได้บรรลุมรรคผลนิพพานในขณะนั้นจะมี ฌาน-สมาธิ หรือไม่


    ขอเฉลยว่า ฌานเป็นของเล็กน้อย ฌานเป็นเครื่องอยู่เครื่องเล่นของท่านผู้ที่ได้บรรลุธรรมชั้นสูงสุดแล้ว ท่านจะเจริญให้เกิดให้มีขึ้นเมื่อไรก็ได้ไม่เป็นของยาก เหมือนคนผู้มีความฉลาดเฉียบแหลมสมบูรณ์แล้ว จะทำตนเป็นคนโง่ย่อมง่ายดาย แต่ถ้าคนโง่นี่ซิ จะทำตนให้เป็นคนฉลาดเปรื่องปราดมันยากนัก ถึงจะทำได้ก็ไม่เหมือน ขอย้ำอีกว่า ถ้าหากท่านยังเห็นว่า ฌาน สมาธิเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว ข้อความที่แสดงมาข้างต้นนั้นก็จะไม่สามารถซึมซาบเข้าไปถึงใจของท่านได้เลย


    อนึ่ง มติของบางท่านยึดเอาตัวหนังสือเป็นหลักว่าพระอรหันต์สุขวิปัสสกไม่มีสมถะ เจริญวิปัสสนาล้วนๆ คำว่า สมถะใครๆ ก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ได้แก่ฌานหรือสมาธิ ถ้าพระสุขวิปัสสกไม่มีสมถะ มันจะไม่ขัดกันกับพระพุทธพจน์ที่ว่า ผู้เจริญสมาธิดีแล้วย่อมมีปัญญาเป็นผลเป็นอานิสงส์ใหญ่หรือ ที่ว่าผู้ที่จะถึงมรรคผลนิพพานต้องดำเนินอัฏฐังคิกมรรค มรรค ๘ ก็มีสมาธิอยู่ด้วย มรรค ๘ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น เป็นทางเอกอันจะนำสัตว์ให้ถึงซึ่งความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสได้


    ท่านผู้รู้ทั้งหลายทำไมไม่หยิบยกเอาคำเหล่านั้นขึ้นมาพิจารณาดูบ้าง หรือมิฉะนั้นก็ขอให้ลงมือปฏิบัติจนให้จิตเป็นสมถะ วางความยึดมั่นถือมั่นตัวหนังสือแล้วเกิดความรู้จากสมถะนั้น ภายหลังจึงเอาความรู้ทั้งสองอย่างนั้นมาเทียบเคียงกัน ท่านก็จะหายความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างน่าอัศจรรย์


    น้ำใสแสนใสถ้าไม่นิ่งจะเห็นตัวปลาและเม็ดทรายอยู่ใต้น้ำได้อย่างไร ใจไม่สงบจะเห็นกิเลสและอารมณ์ภายในของตนได้อย่างไร


    ที่มา..http://tesray.com/three-dhamma-forces
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มกราคม 2016
  3. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ...ได้อ่านหนังสือของเซ็นที่พวกเซ็นเขาแต่ง


    พวกเซ็นเป็นพวกมุ่งปฏิบัติ เขาไม่ใคร่สอนกันเป็นคำพูดนัก เป็นต้นว่าพระเซ็นรูปหนึ่งนั่งหาวนอนขณะภาวนา อาจารย์ก็ถือไม้มาฟาดเข้าที่กลางหลัง ลูกศิษย์ที่ถูกตีก็พูดว่า "ขอบคุณครับ" เซ็นเขาสอนกันอย่างนั้น สอนให้เรียนรู้ด้วยการกระทำ


    วันหนึ่งพระเซ็นนั่งประชุมกัน ธงที่ปักอยู่ข้างนอกก็โบกปลิวอยู่ไปมา พระเซ็นสององค์ก็เกิดปัญหาขึ้นว่า ทำไมธงจึงโบกปลิวไปมา องค์หนึ่งว่าเพราะมีลม อีกองค์ก็ว่าเพราะมีธงต่างหาก ต่างก็โต้เถียงโดยยึดความคิดเห็นของตน อาจารย์ก็เลยตัดสินว่ามีความเห็นผิดด้วยกันทั้งคู่ เพราะความจริงแล้วธงก็ไม่มี ลมก็ไม่มี


    นี่ต้องปฏิบัติให้ได้อย่างนี้ อย่าให้มีลม อย่าให้มีธง ถ้ามีธงก็ต้องมีลม ถ้ามีลมก็ต้องมีธง มันก็เลยจบกันไม่ได้สักที น่าเอาเรื่องนี้มาพิจารณา วางให้มันว่างจากลม ว่างจากธง ความเกิดไม่มี ความแก่ไม่มี ความเจ็บตายไม่มี มันว่าง ที่เราเข้าใจว่าธงเข้าใจว่าลมนั้น มันเป็นแต่ความรู้สึกที่สมมติขึ้นมาเท่านั้น ความจริงมันไม่มี น่าจะเอาไปฝึกใจของเรา


    ในความว่างนั้น มัจจุราชตามไม่ทัน ความเกิด ความแก่ความเจ็บ ความตาย ตามไม่ทัน มันหมดเรื่อง


    ถ้าไปเห็นว่า มีธงอยู่ ก็ต้องมีลมมาพัด ถ้ามีลมอยู่ ก็ต้องไปพัดธง มันไม่จบสักที เพราะความเห็นผิด แต่ถ้าเป็นสัมมาทิฐิความเห็นชอบแล้ว ลมก็ไม่มี ธงก็ไม่มี ก็เลยหมดหมดเรา หมดเขา หมดความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย หมดทุกอย่าง


    ถ้าเป็นโลกียวิสัย ก็สอนกันไม่จบ ไม่แล้วสักที เราฟังก็ว่ามันยาก เพราะมันเป็นปัญญาโลกีย์ หากเราพิจารณาได้ เราก็มีปัญญามาก พระพุทธเจ้าของเราก็เหมือนกัน เมื่อตอนที่ท่านครองโลกอยู่ ท่านก็มีปัญญาโลกีย์ ต่อเมื่อท่านมีปัญญามากเข้าท่านจึงดับโลกีย์ได้ เป็นโลกุตตระ เป็นผู้เลิศในโลก ไม่มีใครเหมือนท่าน


    ถ้าเราทำความคิดไว้ในใจให้ได้ดังนี้ เห็นรูปก็ว่ารูปไม่มี ได้ยินเสียงก็ว่าเสียงไม่มี ได้กลิ่นก็ว่ากลิ่นไม่มี ลิ้มรสก็ว่ารสไม่มี มันก็หมด ที่เป็นรูปนั้นก็เพียงความรู้สึก ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่า ความรู้สึกที่มีกลิ่นก็สักแต่ว่ามีกลิ่น เป็นเพียงความรู้สึกรสก็เป็นแต่เพียงความรู้สึกแล้วก็หายไป ตามความเป็นจริงก็ไม่มี


    รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นี้เป็นโลกีย์ถ้าเป็นโลกุตตระแล้ว รูปไม่มี เสียงไม่มี กลิ่นไม่มี รสไม่มี โผฏฐัพพะไม่มี ธรรมารมณ์ไม่มี เป็นแต่ความรู้สึกเกิดขึ้นเท่านั้นแล้วก็หายไปไม่มีอะไร เมื่อไม่มีอะไร ตัวเราก็ไม่มี ตัวเขาก็ไม่มี


    เมื่อตัวเราไม่มี ของเราก็ไม่มี ตัวเขาไม่มี ของเขาไม่มี ความดับทุกข์นั้นเป็นไปในทำนองนี้ คือไม่มีใครจะไปรับเอาทุกข์ แล้วใครจะเป็นทุกข์ ไม่มีใครไปรับเอาสุข แล้วใครจะเป็นสุข


    นี่พอทุกข์เข้า ก็เรียกว่าเราทุกข์ เพราะเราไปเป็นเจ้าของมันก็ทุกข์ สุขเกิดขึ้นมา เราก็ไปเป็นเจ้าของสุข มันก็สุข ก็เลยยึดมั่น ถือมั่น อันนั้นแหละ เป็นตัว เป็นตน เป็นเรา เป็นเขาขึ้นมาเดี๋ยวนั้น มันก็เลยเป็นเรื่องเป็นราวไปอีก ไม่จบ





    การที่พวกเราทั้งหลายออกจากบ้านมาสู่ป่า ก็คือมาสงบอารมณ์ หนีออกมาเพื่อสู้


    ไม่ใช่หนีมาเพื่อหนี ไม่ใช่เพราะแพ้เราจึงมา คนที่อยู่ในป่าแล้วก็ไปติดป่า คนอยู่ในเมือง แล้วก็ไปติดเมืองนั้น เรียกว่า คนหลงป่า คนหลงเมือง


    พระพุทธเจ้าท่านว่า ออกมาอยู่ป่าเพื่อกายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวกต่างหาก ไม่ใช่ให้มาติดป่า มาเพื่อฝึก เพื่อเพาะปัญญามาเพาะให้เชื้อปัญญามันมีขึ้น อยู่ในที่วุ่นวาย เชื้อปัญญามันเกิดขึ้นยาก จึงมาเพาะอยู่ในป่า เท่านั้นเอง เพาะเพื่อจะกลับไปต่อสู้ในเมือง


    เราหนีรูป หนีเสียง หนีกลิ่น หนีรส หนีโผฏฐัพพะ หนีธรรมารมณ์ มาอย่างนี้ ไม่ใช่หนีเพื่อจะแพ้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ หนีมาเพื่อฝึก หรือมาเพาะให้ปัญญาเกิด แล้วจะกลับไปรบกับมัน จะกลับไปต่อสู้กับมันด้วยปัญญา


    ไม่ใช่เข้าไปอยู่ในป่าแล้ว ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส แล้วก็สบาย ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ต้องการจะมาฝึก เพาะเชื้อปัญญาให้เกิดขึ้นในป่า ในที่สงบ เมื่อสงบแล้ว ปัญญาจะเกิด


    เมื่อใคร่ครวญพิจารณาแล้ว ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อเรา ก็เพราะเราโง่เรายังไม่มีปัญญา แต่ความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้คือ ครูสอนเราอย่างดี


    เมื่ออยู่ในป่าแล้ว อย่าไปยึดป่า อย่ามีอุปาทานในป่า เรามานี้เพื่อมาทำให้ปัญญาเกิด ถ้ายังไม่มีปัญญา ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั้นเป็นปฏิปักษ์กับเราเป็นข้าศึกของเรา


    ถ้าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์ นั้น ไม่ใช่ข้าศึก แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด เมื่อสามารถกลับความเห็นอย่างนี้ แสดงว่าปัญญาได้เกิดขึ้น แล้ว





    ยกตัวอย่างง่ายๆอย่างไก่ป่า


    เราก็รู้กันทุกคนว่า ไก่ป่านั้นเป็นอย่างไร สัตว์ในโลกนี้ที่จะกลัวมนุษย์ยิ่งไปกว่าไก่ป่านั้นไม่มีแล้ว เมื่อมาอยู่ในป่านี้ครั้งแรก ก็เคยสอนไก่ป่า เคยเฝ้าดูมัน แล้วก็ได้ความรู้จากไก่ป่าหลายอย่าง


    ครั้งแรกมันมาเพียงตัวเดียว เดินผ่านมา เราก็เดินจงกรมอยู่ในป่า มันจะเข้ามาใกล้ ก็ไม่มองมัน มันจะทำอะไรก็ไม่มองมัน ไม่ทำกิริยาอันใดกระทบกระทั่งมันเลย ต่อไปก็ลองหยุดมองดูมัน พอสายตาเราไปถูกมันเข้า มันวิ่งหนีเลย แต่พอเราไม่มองมันก็คุ้ยเขี่ยอาหารกินตามเรื่องของมัน แต่พอมองเมื่อไร ก็วิ่งหนีเมื่อนั้น


    นานเข้าสักหน่อย มันคงเห็นความสงบของเรา จิตใจของมันก็เลยว่าง แต่พอหว่านข้าวให้เท่านั้น ไก่มันก็หนีเลย ก็ช่างมันก็หว่านทิ้งไว้อย่างนั้นแหละ เดี๋ยวมันก็กลับมาที่ตรงนั้นอีก แต่ยังไม่กล้ากินข้าวที่หว่านไว้ให้ มันไม่รู้จัก นึกว่าเราจะไปฆ่าไปแกงมัน เราก็ไม่ว่าอะไร กินก็ช่าง ไม่กินก็ช่าง ไม่สนใจกับมัน


    ไม่ช้า มันก็ไปคุ้ยเขี่ยหากินตรงนั้น มันคงเริ่มมีความรู้สึกของมันแล้ว วันต่อมามันก็มาตรงนั้นอีก มันก็ได้กินข้าวอีก พอข้าวหมด ก็หว่านไว้ให้อีก มันก็วิ่งหนีอีก แต่เมื่อทำซ้ำอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ตอนหลังมันก็เพียงแต่เดินหนีไปไม่ไกล แล้วก็กลับมากินข้าวที่หว่านให้นั้น นี่ก็ได้เรื่องแล้ว


    ตอนแรก ไก่มันเห็นข้าวสารเป็นข้าศึก เพราะมันไม่รู้จักเพราะมันดูไม่ชัด มันจึงวิ่งหนีเรื่อยไป ต่อมามันเชื่องเข้า จึงกลับมาดูตามความเป็นจริง ก็เห็นว่า นี่ข้าวสารนี่ ไม่ใช่ข้าศึกไม่มีอันตราย มันก็มากินจนตลอดทุกวันนี้ นี่เรียกว่า เราก็ได้ความรู้จากมัน


    เราออกมาอยู่ในป่า ก็นึกว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏ-ฐัพพะ ธรรมารมณ์ ในบ้านเป็นข้าศึกต่อเรา จริงอยู่ เมื่อเรายังไม่รู้ มันก็เป็นข้าศึกจริงๆ แต่ถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ก็เหมือนไก่รู้จักข้าวสารว่าเป็นข้าวสาร ไม่ใช่ข้าศึก ข้าศึกก็หายไป


    เรากับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็เหมือนกันฉันนั้น มันไม่ใช่ข้าศึกของเราหรอก แต่เพราะเราคิดผิด เห็นผิด พิจารณาผิด จึงว่ามันเป็นข้าศึก ถ้าพิจารณาถูกแล้ว ก็ไม่ใช่ข้าศึก แต่กลับเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ ให้วิชา ให้ความฉลาดแก่เราต่างหาก
    ..."




    หลวงปู่ชา สุภัทโท
    ที่มา สองหน้าของสัจจธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มกราคม 2016
  4. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ..กามคุณ ๕


    ได้แก่อายตนะภายในและภายนอกทั้ง ๑๒ และที่ อายตนะทั้งสองนั้นสัมผัสกัน นี้เรียกว่า วิญญาณ นี้เป็นต้น เป็นเหตุให้ติด ให้พอใจ ยินดี เพลิดเพลิน หลงมัวเมาจมอยู่ในนั้น จึง เรียกว่า กามภพ พวกที่อยู่ในกามภพนี้แหละ เห็นความร้อนน้อยนั้นว่าเป็นของอบอุ่น ฉะนั้น กามภพ จึงกลายมาเป็น กามภูมิ ติดพันกันเหนียวแน่นเป็นก้อนใหญ่ จนเป็น กามกิเลส จึงเป็นเหตุให้เป็นโลก อันกว้างใหญ่ไพศาลหาประมาณมิได้



    ความร้อนที่เรียกว่า ไฟ อันพระพุทธเจ้าทรงตรัสเทศนาแก่ชฎิลทั้งพันนั้น เกิดจากอายตนะ ภายในมีตาเป็นต้น และเกิดจากอายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้น แล้วก็เกิดจากอายตนะภายในและ ภายนอกสัมผัสกัน แล้วเกิดความรู้สึกขึ้นที่เรียกว่า วิญญาณ นี้ทั้งนั้น นอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ไม่มี ความร้อนที่เรียกว่า ไฟ นั้น ก็เกิดจากกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นมูลฐาน ราคะ โทสะ โมหะ ที่จะเกิดขึ้น ก็เพราะจิตไปปรุงไปแต่งให้มันเกิด ถ้าจิตไม่ไปปรุงแต่งแล้ว กิเลสเหล่านั้นมี ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ไม่ทราบว่าไปอยู่ไหน เป็นตัวตนอย่างไรก็ไม่รู้ อย่างเราอยู่เฉย ๆ กิเลสเหล่านั้นก็ไม่มี


    เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ เป็นต้นเหล่านี้มันเกิดจากจิตเป็นต้นเหตุ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว จงตั้งสติค้นหาตัวกิเลสอันเป็นเหตุให้เดือดร้อนว่า มันเกิดจากอะไรมันจึงทำให้ เดือดร้อน เหมือนกับแพทย์ค้นสมุฏฐานของโรค เมื่อรู้ว่าเกิดสมุฏฐานอย่างนี้แล้วก็จะวางยาถูกให้กับ โรคนั้น ๆ ได้ฉันใด กิเลสอันมีราคะเป็นต้น มันเกิดจากจิต เข้าไปค้นดูจิตอีกที


    จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก สัญญาอารมณ์ต่าง ๆ นั่นคือ จิต แต่ไม่ใช่กิเลส กิเลส คือ เครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เครื่องเศร้าหมอง ซึ่งจะเกิดขึ้นมาได้ ต้องไปยึดเอาอารมณ์อันเกิดขึ้นมาจากจิต นั่นแหละกิเลสแท้


    พึงเข้าใจว่า จิต คือ ผู้นึกปรุงแต่งสัญญาอารมณ์ต่าง ๆ


    กิเลส เครื่องเศร้าหมองคือจิตที่ไปยึด เอาอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากจิตมาเป็นของตัว


    สติ คือผู้ควบคุมจิตไม่ให้หลงไปยึดเอาอารมณ์ต่าง ๆ มาเป็นของตัว


    เมื่อเข้าใจลักษณะอาการของสิ่งทั้ง ๓ อย่างนี้แล้ว เราเอาสติมาจับ ควบคุมจิต จิตก็จะ หยุดนิ่งเฉย กิเลสก็ไม่มีในที่นั้น จิตก็กลายเป็นใจ คือ มีแต่ความรู้สึก แต่ไม่คิดนึกปรุงแต่งอะไรทั้งหมด การฝึกหัดอบรมกัมมัฏฐานทั้งหลาย จะอบรมด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม จะต้องมาลงตรงนี้ด้วยกัน ทั้งสิ้น เว้นแต่การอบรมนั้นจะอบรมไปในแนวปริยัติ ซึ่งจะต้องคิดนึกไปตามปริยัติ ไม่มีที่สิ้นสุด


    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสพระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร ให้ชฎิลทั้งพัน มีปูรนะกัสสปะ เป็นประธานฟัง โดยยกเอาอายตนะขึ้นมาแสดงว่าเป็นของร้อน เพราะกิเลสมีราคะเป็นต้น ชฎิลเหล่า นั้นมีจิตศรัทธาเลื่อมใสน้อมใจลงเชื่อมั่นในพระธรรมเทศนาของพระองค์ ปลงใจลงเป็นเอกัคคตา- สมาธิแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียว พิจารณาไปตามก็รู้ชัดเจนขึ้นมาว่า ที่เราถือบูชาไฟว่าเป็นของ ดีแล้ว ตายแล้วสามารถไปเกิดในสวรรค์นั้นผิด ก็เกิดความสลดสังเวชในใจ เบื่อหน่าย คลายจาก ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนเห็นผิดนั้น เมื่อเบื่อหน่ายก็พ้นจากกิเลสเหล่านั้นทั้งหมด เมื่อพ้นแล้ว จิตใจก็ผ่องใส สะอาดเต็มที่ ไม่มัวหมอง แล้วก็เข้าใจว่า เราพ้นแล้ว (ถึงพระอรหัตผล) กิจอื่นที่เรา จะต้องทำเพื่อละกิเลสอีกไม่มีแล้ว..


    ที่มา อายตนะหก (ดับไฟนรก)
    พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มกราคม 2016
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ............แปะไว้ก่อน.............
     
  6. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ได้ครับ




    "..อายตนะทั้งหลาย เป็นเครื่องวัดจิตของตน
    ได้อย่างดีที่สุด เมื่ออายตนะผัสสะมากระทบ
    จิตของเรา เราหวั่นไหวไหม
    เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่ามีสติน้อย
    มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็ยังน้อย
    เมื่อหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเสียเลย
    ก็แสดงว่าเรามีสติมาก
    มีธรรมเป็นเครื่องอยู่มาก และรักษาตัวได้.."


    ที่มา สมาธิ โดยบริกรรมพุทโธ | หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มกราคม 2016
  7. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ..รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์ เป็นเครื่องให้เราตรัสรู้ธรรมะ


    เป็นที่ให้ข้อคิดแก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ถ้าเราเห็นชัดตามเป็นจริงแล้ว ก็จะเป็นอย่างนั้น ถ้าไม่เห็นชัดก็จะเป็นข้าศึกต่อเราตลอดไป แล้วเราก็จะหนีไปอยู่ป่าเรื่อยๆ


    อย่านึกว่าเรามาอยู่ป่าแล้ว ก็สบายแล้ว อย่าคิดอย่างนั้นอย่าเอาอย่างนั้น อย่าเอาความสงบแค่นั้น ว่าเราไม่ค่อยได้เห็นรูป ไม่ได้ยินเสียง ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์แล้วเราก็อยู่สบายแล้ว อย่าคิดเพียงแค่นั้น ให้คิดว่า เรามาเพื่อเพาะเชื้อปัญญาให้เกิดขึ้น เมื่อมีปัญญารู้ตามเป็นจริงแล้ว ก็ไม่ลุ่มๆดอนๆ ไม่ต่ำๆสูงๆ


    พอถูกอารมณ์ดีก็เป็นอย่างหนึ่ง ถูกอารมณ์ร้ายก็เป็นอย่างหนึ่ง ถูกอารมณ์ที่ชอบใจก็เป็นอย่างหนึ่ง ถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจก็เป็นอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นอย่างนี้ก็แสดงว่ามันยังเป็นข้าศึกอยู่


    ถ้าหมดข้าศึกแล้วมันจะเสมอกัน ไม่ลุ่มๆดอนๆ ไม่ต่ำๆสูงๆ รู้เรื่องของโลกว่ามันอย่างนั้นเอง เป็นโลกธรรม โลกธรรมเลยเปลี่ยนเป็นมรรค โลกธรรมมีแปดอย่าง มรรคก็มีแปดอย่าง โลกธรรมอยู่ที่ไหน มรรคก็อยู่ที่นั่น ถ้ารู้แจ้งเมื่อใด โลกธรรมเลยกลายเป็นมรรคแปด ถ้ายังไม่รู้ มันก็ยังเป็นโลกธรรม


    เมื่อสัมมาทิฐิเกิดขึ้นก็เป็นดังนี้ มันพ้นทุกข์อยู่ที่ตรงนี้ไม่ใช่พ้นทุกข์โดยวิ่งไปที่ตรงไหน


    ฉะนั้นอย่าพรวดพราด การภาวนาต้องค่อยๆทำ การทำความสงบต้องค่อยๆทำ มันจะสงบไปบ้างก็เอา มันจะไม่สงบไปบ้างก็เอาเรื่องจิตมันเป็นอย่างนั้น เราก็อยู่ของเราไปเรื่อยๆ


    บางครั้งปัญญามันก็ไม่เกิด ก็เคยเป็นเหมือนกัน เมื่อไม่มีปัญญา จะไปคิดให้ปัญญามันเกิด มันก็ไม่เกิด มันเฉยๆอยู่อย่างนั้น ก็เลยมาคิดใหม่ เราจะพิจารณาสิ่งที่ไม่มี มันก็ไม่ได้ เมื่อไม่มีเรื่องอะไรก็ไม่ต้องไปแก้มัน ไม่มีปัญหาก็ไม่ต้องไปแก้มัน ไม่ต้องไปค้นมัน อยู่ไปเฉยๆธรรมดาๆอย่างนั้นแหละแต่ต้องอยู่ด้วยความมีสติสัมปชัญญะ อยู่ด้วยปัญญา ไม่ใช่อยู่เพลินไปตามอารมณ์ อยู่ด้วยความระมัดระวังปฏิบัติของเราไปเรื่อยๆ ถ้ามีเรื่องอะไรมา ก็พิจารณา ถ้าไม่มีก็แล้วไป


    ได้ไปเห็นแมงมุมเป็นตัวอย่าง


    แมงมุมทำรังของมันเหมือนข่าย มันสานข่ายไปขึงไว้ตามช่องต่างๆ


    เราไปนั่งพิจารณาดูมันทำข่ายขึงไว้เหมือนจอหนัง เสร็จแล้วมันก็เก็บตัวมันเองเงียบอยู่ตรงกลางข่าย ไม่วิ่งไปไหน พอมีแมลงวันหรือแมลงอื่นๆ บินผ่านข่ายของมัน พอถูกข่ายเท่านั้น ข่ายก็สะเทือน พอข่ายสะเทือนปุ๊บ มันก็วิ่งออกจากรังทันที ไปจับตัวแมลงไว้เป็นอาหาร เสร็จแล้วมันก็เก็บไว้ที่กลางตาข่ายตามเดิม ไม่ว่าจะมีผึ้งหรือแมลงอื่นใดมาถูกข่ายของมัน พอข่ายสะเทือน มันก็วิ่งออกมาจับแมลงนั้น แล้วก็กลับไปเกาะนิ่งอยู่ที่ตรงกลางข่าย ไม่ให้ใครเห็นทุกทีไป


    พอได้เห็นแมงมุมทำอย่างนั้น เราก็มีปัญญาแล้ว อายตนะทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้ ใจอยู่ตรงกลาง


    ตา หู จมูก ลิ้น กาย แผ่พังพานออกไป


    อารมณ์นั้นเหมือนแมลงต่างๆ


    พอรูปมาก็มาถึงตา เสียงมาก็มาถึงหู กลิ่นมาก็มาถึงจมูก รสมาก็มาถึงลิ้น โผฏฐัพพะมาก็มาถึงกาย ใจเป็นผู้รู้จัก มันก็สะเทือนถึงใจ เท่านี้ก็เกิดปัญญาแล้ว


    เราจะอยู่ด้วยการเก็บตัวไว้ เหมือนแมงมุม ที่เก็บตัวไว้ในข่ายของมัน ไม่ต้องไปไหน


    พอแมลงต่างๆมันผ่านข่าย ก็ทำให้สะเทือนถึงตัว รู้สึกได้ ก็ออกไปจับแมลงไว้แล้วก็กลับไปอยู่ที่เดิม


    ไม่แตกต่างอะไรกับใจของเราเลย


    อยู่ตรงนี้ ให้อยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ อยู่ด้วยความระมัดระวัง อยู่ด้วยปัญญา อยู่ด้วยความคิดถูกต้อง เราอยู่ตรงนี้ เมื่อไม่มีอะไร เราก็อยู่เฉยๆ


    แต่ไม่ใช่อยู่ด้วยความไม่ประมาท ถึงเราจะไม่เดินจงกรม ไม่นั่งสมาธิ ไม่อะไรก็ช่างเถิดแต่เราอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ อยู่ด้วยความระมัดระวัง อยู่ด้วยปัญญาไม่ใช่อยู่ด้วยความประมาท นี่เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่เราจะนั่งตลอดวันตลอดคืน เอาแต่พอกำลังของเรา ตามสมควรแก่ร่างกายของเรา


    แต่เรื่องจิตนี้ เป็นของสำคัญมาก ให้รู้อายตนะว่ามันส่งส่ายเข้ามาเป็นอย่างไร ให้รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เหมือนแมงมุมที่พอข่ายสะเทือน มันก็วิ่งไปจับเอาตัวแมลงได้ทันที


    ฉะนั้น เมื่ออารมณ์มากระทบอายตนะ มันก็มาถึงจิตทันที เมื่อไปจับผ่านทุกข์ ก็ให้เห็นมันโดยความเป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตา


    แล้วจะเอามันไปไว้ที่ไหนล่ะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหล่านี้ ก็เอาไปไว้เป็นอาหารของจิตของเรา ถ้าทำได้อย่างนี้ มันก็หมดเท่านั้นแหละ


    จิตที่มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอาหาร เป็นจิตที่กำหนดรู้


    เมื่อรู้ว่าอันนั้นเป็นอนิจจังมันก็ไม่เที่ยง ทุกขังเป็นทุกข์ อนัตตาก็ไม่ใช่เราแล้ว ดูมันให้ชัด มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันไม่เป็นแก่นสาร จะเอามันไปทำไม มันไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของเรา จะไปเอาอะไรกับมัน มันก็หมดตรงนี้


    ดูแมงมุมแล้ว ก็น้อมเข้ามาหาจิตของเรา มันก็เหมือนกันเท่านั้น


    ถ้าจิตเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็วาง ไม่เป็นเจ้าของสุข ไม่เป็นเจ้าของทุกข์ อีกแล้ว ถ้าเห็นชัดได้อย่างนี้มันก็ได้ความเท่านั้นแหละ จะทำอะไรๆอยู่ก็สบาย ไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว มีแต่การภาวนาจะเจริญยิ่งขึ้นเท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้อยู่ด้วยความระมัดระวัง ก็เป็นการที่เราจะพ้นจากวัฏสงสารได้..


    หลวงปู่ชา สุภัทโท
    ที่มา สองหน้าของสัจจธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มกราคม 2016
  8. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    อันไหนเกิดที่ใจก่อนใช้อันนีั้น ส่วนที่บอกว่าร้อน ถ้าเจตสิก

    ไม่ร้อนยังไงมันก็ไม่ร้อน แต่ถ้าเจตสิกร้อนยังไงมันก็ร้อน
     
  9. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ทำยังไงเจตสิกถึงจะไม่ร้อนครับ
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ....เซ็ง....หามุขนัย "คำสืบค้น" เพื่อเอามาแปะ ยังไม่ได้ .....

    ....เย็นไฉน.....
     
  11. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ทำไมจึงรู้ใจฉัน ฮา
     
  12. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    ก็ไม่ต้องทำอะไร มันอยากร้อนก็ให้มันร้อน
     
  13. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ขอบคุณครับ
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ลูกกตากลมๆ มันกลมใสไม่เป็นต้อ อยู่ได้ ก็เพราะ "ผัสสะ"

    ขาด ผัสสะ ตาก็บอด วิบากกรรมจะไปเกิดได้ภพชาติเป็นสัตว์มี
    ลูกกตา ก็หมดปัจจัย เคี่ยวดินน้ำลมไฟก่อเป็นลูกกตา [ ทดสอบได้อยู่ในถ้ำสัก10ปี แล้ว เอาหิ่งห้อยมาจุดระเบิดแสง ตกใจขี้แตก แสงระเบิด]

    ตราบใดยังมี "ชาติ" ตราบนั้น ผัสสะ มันก็ร้อน หิวกระหาย เพราะ
    ความอยากรักษาไว้ซึ่ง ลูกกตา กลมๆ [ ผัสสาหาร คือ ปิติ ยินดี ยินร้าย แสร้งมองเฉย ]

    อันผู้ฮู้ ไม่ติดข้องอยู่ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่มองเฉยๆ ( ฮิววววววส์ )
     
  15. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ฮิ้ววววววส์
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง

    ตราบใดยังมี "ชาติ" ตราบนั้น ผัสสะ มันก็ร้อน หิวกระหาย เพราะ
    ความอยากรักษาไว้ซึ่ง ลูกกตา กลมๆ [ ผัสสาหาร คือ ปิติ ยินดี ยินร้าย แสร้งมองเฉย ]

    ชาติ ไม่ใช่สภาพแห่งสัตว์ เป็นเพียง สภาวะธรรม ตาม อิทัปปัจจัยยตา

    พูดซื่อๆ พอมี ลูกกตา ความ ชรา มรณะ ก็ รอกระทืบ !!!! เป็นของฮ้อน ที่ ผู้ไม่ฮู้ปราถนาตางาม สำคัญว่า เย็น "ใบโพธิ์ล่า"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2016
  17. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ครับ
     
  18. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    .. กุศลธรรมทั้งหลาย มีสติเป็นเค้ามูล ครั้นมีสติแล้ว กุศลธรรมทั้งหลายก็เกิดขึ้น


    ก็มีแต่ทำแต่ความดีทุกสิ่งทุกอย่าง รู้แล้วอย่างนี้ ก็ให้พากันหัดทำสติ มันผิดก็ให้รู้ เราจะทำด้วยกายก็ให้ระลึกนึกได้เสียก่อน เราจะพูด ก็ให้ระลึกนึกได้เสียก่อน เราจะทำด้วยกายก็ให้ระลึกนึกได้เสียก่อน จะคิดก็ให้ระลึกนึกได้เสียก่อน มันถูกเราจึงพูด มันถูกเราจึงทำ มันถูกเราจึงคิดนึก ให้ทำสติให้สำเหนียกให้แม่นยำ ให้พากันสมาทานเอง


    อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน ให้พากันสมาทานกันให้ศีลของเรา เอาศีลของเราเป็นอธิศีล คือเป็นใหญ่ เป็นอธิบดี ให้เป็นศีลมั่นคง อย่าให้เป็นศีลง่อนแง่นคลอนแคลน


    อธิจิตตสิกขาสมาทาเน ให้พากันสมาทานเอา คือตั้งใจมีสติควบคุมจิตใจของตน ให้ตั้งมั่นอยู่อย่างนั้น ทำการทำงานพูดจาหรือ ก็ให้จิตตั้งมั่น หรือนั่งภาวนาก็ให้จิตตั้งมั่น ให้เป็นอธิบดี อธิคือว่าให้เป็นใหญ่กว่าสิ่งทั้งปวง เรียกว่าไม่หวั่นไหวต่อสิ่งทั้งปวง


    อธิปญฺญาสิกฺขาสมาทาเน


    ให้สมาทานเอาอธิปัญญา ความรู้จริง รอบคอบ รู้เท่าสังขาร ปัญญาความเห็น คือเห็นทุกข์ เห็นชาติ ความเกิดเป็นทุกข์ เห็นชรา ความเฒ่าความแก่เป็นทุกข์ เห็นพยาธิ ความเจ็บไข้ได้พยาธิเป็นทุกข์ เห็นมรณะ ความตายเป็นทุกข์


    ความทุกข์เกิดขึ้นในกาย ความไม่ดีเกิดขึ้นในกาย เวทนาไม่ดีเกิดขึ้นแต่สัมผัสทางกาย อันนี้เรียกว่าความทุกข์กาย ให้กำหนดให้ดี


    ความทุกข์เกิดขึ้นที่ใจ ความไม่ดีเกิดขึ้นที่ใจ เวทนาไม่ดีเกิดขึ้นที่ใจ เกิดขึ้นสัมผัสทางใจ อันนี้ได้แก่ความโศก ความเสียใจ ความเศร้าใจ


    ให้กำหนดให้มันรู้เรื่องทุกข์ ให้มันเห็นเรื่องทุกข์เสีย สัจจะทั้ง ๔ นี้ พระพุทธเจ้าว่าเป็นทางไปพระนิพพาน นี่แหละทางดับทุกข์ นี่แหละให้พิจารณา


    ความประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักที่เจริญใจ มีความไปร่วม มีความมาร่วม มีความประชุมร่วม สัตว์ทั้งนี้ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ เรียกว่า อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข ทุกข์น่าเกลียด ทุกข์น่าชัง ทุกข์ไม่พอใจ เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร อันเป็นที่รักที่เจริญใจ มีญาติพี่น้องที่พลัดพรากไปไกล หรือล้มหายตายเสีย ไปจากกันแล้ว ก็มีความทุกข์โศก เรียกว่า ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วมกับสิ่งที่ชอบใจ อันนี้เป็นทุกข์ บุคคลปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นสมหวังก็เป็น


    ทุกข์ อันนี้มันมาจากไหน เราได้รับผลอย่างนี้มันมาจากไหน


    ต้องใช้สติปัญญาค้นคว้า มันก็จะเห็นกัน เมื่อทำจิตให้อยู่สงบ มันก็จะเห็นไป คือความอยาก มันเกิดมาจากความอยาก เรียกว่า


    กามตัณหา ความใคร่ ความพอใจในรูป ในสิ่งที่มีวิญญาณและสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ ความใคร่ ความพอใจ ทุกข์มันเกิดขึ้นจากความอยาก ความใคร่


    ภวตัณหา ความอยากเป็น อย่างนี้ ความอยากได้ อยากหอบ อยากกอบ อยากโกยเอา อันไหนก็อยากกอบโกยมาเป็นของตัว อยากเป็นเศรษฐีคฤหบดี ราชามหากษัตริย์ อันนี้เรียกว่า ภวะ ความอยากเป็นอยากมี


    ความไม่พอใจ เหมือนอย่างหนังหดเหี่ยวเป็นเกลียว ความแก่หง่อมแห่งชีวิต ความเสื่อมแห่งชีวิต มีหนังหดเหี่ยวเป็นเกลียว ผมหงอก ฟันหัก อันนี้ไม่พอใจ อยากได้ อยากให้มันเป็นอยู่เหมือนเก่า หนังก็ดี แต่มีนหดเหี่ยวเสียแล้ว ผมมันหงอก กลับไปเอายาดำ ๆ นั่นมาย้อม มาย้อมมันก็ส่งกลิ่น มันก็ขายหน้าอีกแล้ว มันก็ดำอยู่แต่ปลาย ทางโคนนั่นมันก็ขาว ขายหน้าอีกแล้ว ก็ไม่พอใจ อันนี้เรียกว่า วิภวตัณหา


    ตัณหา ๓ ตัว ๓ อย่างนี่แหละ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเหตุให้ทำชั่วอยู่บ่อย ๆ เราก็ใช้ปัญญาค้นหา มันเกิดอยู่ตอนไหน ตัณหามันเกิด มันจะเกิดมันเกิดขึ้นตอนไหน มันตั้งอยู่ มันตั้งอยู่ที่ไหน


    พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จกฺขุ◦ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอตฺเถสา ตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชติ เอตฺถ นิวิสมานา นิวิสติ ฯ .....เอตฺถ นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ ฯ” สิ่งใดเป็นที่รัก เป็นชนิดใด ใจไม่โลภ อะไรเป็นที่รัก ที่เป็นชนิดใด ใจไม่โลภ จกฺขุ◦” ที่ตา “โสตํ โลเก ปิยรูปํ ฯ ฆานํ โลเก ปิยรูปํ ฯ ชิวฺหา โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ ฯ กาโย โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ ฯ มโน โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอตฺเถสา ตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชติ ฯลฯ........ เอตฺถ นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ ฯ”


    มันเกิดขึ้นจากอายตนะทั้ง ๖ นี่เอง


    ตัณหาเกิดขึ้น ตัณหาเป็นที่รัก ตัณหาจะเกิดขึ้นที่ตา ตัณหาจะตั้งอยู่ที่ตา ตั้งอยู่ที่หู ตั้งอยู่ที่จมูก ตั้งอยู่ที่ลิ้น ตั้งอยู่ที่กาย สัมผัสอันใดมันมาถูกต้อง มันมีความพอใจ มีความกำหนัดชอบใจ


    อารมณ์อดีตที่ล่วงมาแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง แต่เอามาเป็นอารมณ์ เรียกว่าธรรมารมณ์ มันเกิดขึ้นที่ใจ รู้จักว่าบ่อนมันเกิดขึ้นที่นี่ ไม่เกิดขึ้นที่อื่น


    เกิดขึ้นจากอายตนะภายใน เกิดขึ้นจากอายตนะภายนอกประจวบกัน ต่อไปเกิดวิญญาณความรู้ขึ้น เกิดวิญญาณตัวนี้ขึ้น เกิดขึ้นจากสัมผัส เวทนาเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้นไป


    รู้แล้วเราเพียรละที่มันเกิด จากอายตนะภายนอก จากอายตนะภายใน เกิดขึ้นจากสัมผัส อายตนะเกิดขึ้นเพราะสัมผัส เมื่อรู้แล้ว เราก็เพียรละ เราเพียรปล่อยวาง


    เมื่อดับความทุกข์ชนิดนี้ได้ ความวิเวกดับทุกข์สิ้นดังนี้ ดับตัณหาทั้ง ๓ ได้ นิโรธ นิโรธคือความไม่หวั่นไหวเรียกว่า นิพพาน ..



    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    ที่มา
    อนาลโยวาท กัณฑ์ที่ ๑๖ หลวงปู่ขาว อนาลโย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มกราคม 2016
  19. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    .. อปัณณกะหลักที่สำคัญคือ ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด


    ถ้าเรากระทบทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันไม่ยินดียินร้ายนั่นแหละ
    คือเราไม่เป็นทาสอารมณ์นั่นแหละ คือเราไม่หลงอารมณ์



    ไม่ต้องหลงรูป เรามีการสังวรสำรวมอยู่อย่างนี้เรียกว่ามีการสอบอารมณ์ของเรา
    ไม่ต้องให้ใครสอบเพราะของเหล่านี้มีอยู่ในเราหมดแล้ว ของที่เรามีอยู่แล้วนี้
    ไม่จำเป็นจะต้องให้ผู้อื่นลำบากแก่เรา เราควรสอบเอาเองซิ


    ที่มันกระทบมาแล้วมันยินดีไหม ?
    เออ...มันยังยินดีอยู่ มันยังยินร้ายอยู่ เพราะอะไร ?
    หาเอาเองซิ


    เรารู้มาแล้วว่าอารมณ์นี้มันเป็นอย่างนี้ เราหลงอารมณ์แล้วนี่
    เราจะสอบอารมณ์ของเรา แก้ซิทำไมมันยินดี ?
    เพราะอะไร ? ต้องดูซิ


    เพราะเราทำความเข้าใจว่า อันนั้นเราชอบ อุปาทานมันเกิดเราก็เข้าใจอันนั้นดี
    เพราะเราปรุงแต่งขึ้นมา เราชอบจึงดี อันนั้นเราไม่ชอบ ปรุงแต่งไปก็ไม่ยินดี เป็นของร้าย


    มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ที่ดี หรือร้าย เราเอาเข้าไปใส่ในตรงนั้น
    แต่ความจริง อารมณ์มันไม่อะไร
    มันเป็นกับบุคคลที่ไปหมายมั่นยึดมั่นมัน
    ถ้าดีก็ยึดว่ามันดี ร้ายก็ยึดว่ามันร้าย เหมือนโลกนี้ โลโกนี้มันเป็นปกติของมันอยู่อย่างนี้
    เราว่ามันไม่ดี หรือว่าเราว่ามันดี สารพัดอย่าง โลกมันก็เฉย มันเป็นปกติของมันอยู่
    ตัวเราเองนี่ซิไม่เป็นปกติ เดี๋ยวชอบอันนี้ เดี๋ยวชอบอันนั้น เดี๋ยวนินทาอันนี้
    อย่างนี้นะ เราเองเสือกไสไปยึดมั่นถือมั่นอย่างนั้น


    ฉะนั้นจะปฏิบัติในที่สงบให้รู้จักว่า อันนี้คือสอบอารมณ์
    จนกว่าที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันสัมผัสอารมณ์มาแล้วทุกอย่าง
    มันจะวางตัวเป็นกลางๆ ไม่ยินดียินร้าย


    นี่ เพราะอะไร ?


    ถ้ายินดีก็ไม่ถูก มันจะนำทุกข์มาให้เรา
    ถ้ายินร้ายก็ไม่ถูก มันจะนำทุกข์มาให้เรา
    เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็เป็นทาสของอารมณ์อยู่ เป็นทาสของตัณหา
    เป็นทาสของความอยากอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ทางที่จะพ้นทุกข์
    เมื่อมันติดอารมณ์อยู่อย่างนั้น เราก็รู้จักว่าอารมณ์เป็นอย่างนี้
    เราก็เรียกว่าสอบอารมณ์ เรารู้จักมันอยู่ เราก็แก้ไปเรื่อยๆ
    นี่ปฏิบัติไม่ผิด


    จนกว่าจะเห็นโทษมัน เห็นโทษในการยึดมั่นถือมั่นในความร้าย เห็นโทษมันอย่างแท้จริง มันก็วาง
    และมองเห็นประโยชน์จากการปล่อยวาง นี้ก็มีประโยชน์
    เห็นประโยชน์อย่างสัมมาทิฏฐิ เห็นโทษอย่างสัมมาทิฏฐิแล้ว มันก็วางเท่านั้นแหละ


    มันจะไปตรงไหนล่ะ ?


    จะปฏิบัติขนาดไหน ? ถ้าไม่เห็นโทษแล้ว มันเป็นไปไม่ได้
    ถ้าไม่เห็นประโยชน์ แน่นอนก็หมดศรัทธา
    เมื่อเราดูอารมณ์แล้วเห็นโทษก็ละ เมื่อเห็นประโยชน์ลำบากก็ทำได้ เท่านี้เอง!


    เราจะรู้อารมณ์ก็เป็นสัมมาปฏิปทา
    ถ้าเป็นเช่นนี้เป็น อปัณณกปฏิปทา* ไม่ผิด
    เป็นข้อปฏิบัติอย่างนี้ เป็นข้อพิจารณาอย่างนี้ไม่ผิด คือไม่ยินดียินร้าย
    เกิดแล้วดับไป วางมันอย่างนั้นตลอดไป เป็นอุเบกขา


    การปฏิบัติท่านให้ดูอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันสัมพันธ์ติดต่อกันอยู่นี่
    จะโกรธ จะเกลียด มันก็รู้จักกันอยู่ตรงนี้ มันไม่รู้ที่อื่น
    ถ้าอารมณ์ยินดีก็ยินดีจนหลง เมาอารมณ์ดีก็เมาดี อารมณ์ร้ายก็เมาร้าย
    ทำไมจะไม่รู้จักว่า เราปฏิบัติผิด ปราชญ์ท่านพูดไว้ถูกแล้ว..


    หลวงปู่ชา สุภัทโท
    ที่มา ทางให้เกิดปัญญา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กุมภาพันธ์ 2016
  20. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    อปัณณกปฏิปทา
    คือข้อปฏิบัติไม่ผิด ๓ อย่าง คือ


    หนึ่ง อินทรียสังวร
    สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูปด้วยนัยน์ตา เป็นต้น


    สอง คือ โภชเนมัตตัญญุตา
    รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารแต่พอควร ไม่มากไม่น้อย


    สาม คือ ชาคริยานุโยค
    ประกอบความเพียร เพื่อจะชำระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก


    ข้อปฏิบัติสามประการนี้ พระศาสดาตรัสว่าไม่ผิด
    หมายความว่า ไม่ผิดทางไปสวรรค์ ไม่ผิดทางไปพระนิพพาน


    ในทางตรงกันข้าม ถ้าว่าใครไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติสามประการนี้ ก็เป็นอันว่าผู้นั้นเดินทางผิด
    ให้พึงเข้าใจ เดินทางผิดแล้วมันผิดทางไปสวรรค์ ผิดทางไปพระนิพพาน
    หมายความว่าอย่างนั้น อย่าว่าแต่พระนิพพานเลย แม้แต่สวรรค์ก็ไปไม่ได้



    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    ที่มา
    ทางสู่สวรรค์ สู่นิพพาน


    >> ลิงค์ฟังธรรมหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...