อารมณ์พระอรหันต์

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย mahaasia, 17 มกราคม 2008.

  1. mahaasia

    mahaasia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,130
    ค่าพลัง:
    +4,971
    (||) (||) (||) (||) (||) (||) (||) (||) (||)

    <CENTER><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=5 width="100%" bgColor=#ffa600 border=3><TBODY><TR><TD borderColor=black width="90%" background=../bgthai1.gif>
    <CENTER><TABLE borderColor=#0000ff cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>อารมณ์พระอรหันต์</TD></TR><TR><TD align=left> อารมณ์พระอรหันต์
    โอกาสนี้บรรดาท่านสาธุชนพุทธบริษัท และพระโยคาวจรทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล พากันสมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อแต่นี้ไปขอท่านทั้งหลายโปรดตั้งใจสดับคำ การศึกษาซึ่งจะแนะนำในด้าน อรหัตผล
    สำหรับภาคนี้เป็นภาคของ พระอรหัตผล ท่านทั้งหลาย คงจะยังไม่ลืมว่า ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สำหรับพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีเป็นผู้ทรง อธิศีล คือ มีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย แต่ทว่าเป็นผู้มีความมั่นคงในศีล
    สำหรับพระอนาคามีเป็นผู้ทรง อธิจิต นี่หมายความว่าศีลของท่านบริสุทธิ์ถึงศีล 8 และก็มีจิตทรงสมาธิมั่นคงถึงฌาน 4 อย่าลืมว่าจริยาคือ อาการของพระอนาคามี ท่านผู้ทรงความเป็นพระอนาคามีนั้น จะมีศีล 8 เป็นปกติ จะสมาทานหรือไม่สมาทานไม่มีความสำคัญ ผู้มีศีลไม่ได้ถือว่า จะต้องมานั่งสมาทานกันทั้งวันทั้งคืน ศีลที่มีจริง ๆ อยู่ที่ตัวเว้น เราไม่สมาทานเลย แต่ว่าเราเว้น ที่เขาเรียกกันว่า วิรัติ
    คำว่าวิรัติ แปลว่าเว้น เว้นจากความชั่ว 5 ประการ ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล 5 เว้นจากความชั่ว 8 ประการ ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล 8 ฉะนั้นท่านที่ทรงความเป็นพระอนาคามี จะมีศีล 8 เป็นปกติ เพราะว่าศีลเป็นศีลพรหมจรรย์ จะเห็นว่าพระอนาคามี หมดกามฉันทะ หมดความโกรธ พยาบาท และปฏิฆะ คือ อารมณ์ที่ไม่พอใจ อารมณ์ที่สะดุดใจให้ไม่สบายเกิดขึ้น เป็นความขัดข้องไม่มีในพระอนาคามี
    สำหรับพระอรหันต์เป็นผู้ทรง อธิปัญญา รวมความว่าพระอรหันต์นี้ทรงครบศีลก็บริสุทธิ์ สมาธิก็ทรงตัวตั้งมั่น ปัญญาก็รอบรู้จริง ๆ สำหรับการปฏิบัติ เท่าที่ผมอธิบายมารู้สึกว่ามันเยิ่นเย้อเกินไป แต่ว่านั่นเป็นแนวแห่งคำสอน วิธีปฏิบัติจริง ๆ นี่ไม่มีใครเขามุ่งพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี ก็ขึ้นต้นกันจริง ๆ ก็มุ่งอรหัตผลกันเลย เพราะว่าการมุ่งอรหัตผลนี้ เขาถือว่าอย่างเลวที่สุดจิตจะจับไว้เฉพาะพระโสดาบันก่อนเป็นอันดับแรก เพราะว่าเป็นของง่าย
    ความจริงการทรงพระโสดาบัน ไม่มีอะไรจะยาก เพียงทรงศีลบริสุทธิ์ ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์เราก็เป็นมนุษย์ไม่ได้อยู่แล้ว ถ้าร่างกายเป็นมนุษย์ เขาก็ถือว่า มนุสสเปโต คือ ร่างกายเป็นมนุษย์แต่ใจเป็นเปรต
    มนุสสติรัจฉาโน ร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ทว่าจิตใจเป็นสัตว์เดรัจฉาน
    มนุสสนิรโย ร่างกายเป็นมนุษย์ แต่จิตใจเป็นสัตว์นรก ตายแล้วก็ไปตามนั้น
    คำว่า มนุษย์ แปลว่า ผู้มีใจสูง หมายความว่า บุคคลผู้นั้นเป็นผู้ทรงศีล 5 ประการหรือว่าทรงกรรมบถ 10 โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านถือว่า ผู้ใดทราบกรรมบท 10 ผู้นั้นมีความเป็นมนุษย์สมบูรณ์ เพราะว่ากรรมบถ 10 เป็นธรรมให้บุคคลเกิดเป็นมนุษย์
    เป็นอันว่าตอนนี้เรามาพูดกันถึงอรหัตผล ก็ขอย้อนต้นไปถึงปลาย อันดับแรกการที่จะเข้ามาเจริญพระกรรมฐาน ก็ต้องใช้อารมณ์อย่างหนึ่งที่เราทิ้งไม่ได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา เป็นพระพุทธเจ้าแล้วท่านยังไม่ละ พระอรหันต์ทุกองค์ที่ทรงความเป็นอรหันต์แล้วไม่ละ นั้นก็คือ สมถภาวนา 3 ประการ ได้แก่
    1. อานาปานุสสติกรรมฐาน การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เพื่อความอยู่เป็นสุขของเรา เพราะเป็นการระงับทุกขเวทนา
    2. กายคตานุสสติ สำหรับสมถะพิจารณาเห็นว่า ร่างกายมันเป็นของสกปรกโสโครกไม่ทรงตัว
    3. ขอแถมนิด พระอรหันต์ก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดี ไม่ลืมความตาย
    เป็นอันว่าถ้าบรรดาท่านทั้งหลายทรงอารมณ์ทั้งสามประการนี้ทรงตัว คำว่าทรงตัวท่านเรียกกันว่าฌาน คำว่าฌานคือ อารมณ์ชิน
    ความเป็นอรหันต์อยู่ตรงไหน
    อันดับแรกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาสักกายทิฏฐิ พิจารณาร่างกายคือ ขันธ์ 5 ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง 5 อย่างนี้ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา ไปลงกับสมถะคำที่เรียกว่า ตาย สมถะเห็นว่าร่างกายตาย
    วิปัสสนาเห็นว่ากายพัง เราไม่มีอำนาจควบคุมกายให้ทรงตัว กายมันจะแก่ เราห้ามแก่ไม่ได้ กายมันจะป่วยเราห้ามป่วยไม่ได้ กายมันจะตายเราห้ามตายไม่ได้
    เขาทำกันยังไง วิธีเขาทำเขาใช้ปัญญานั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ นอนอยู่ ทำกิจการงานอยู่ มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าคนที่มีอิริยาบถอย่างเรา ๆ นี่ท่านตายไปแล้วนับไม่ถ้วนในสถานที่ที่เรานั่งอยู่ เรายืนอยู่ เราเดินอยู่หรือเราอาศัยอยู่ ในสถานที่ที่ตรงนี้เคยมีคนตายแล้ว สัตว์ตายแล้วนับไม่ถ้วน
    ถ้าหากว่าเราตายแล้วเกิดจะมีผลอะไร ดูผลของการเกิด เกิดอยู่ในท้องแม่ก็ทุกข์ ออกมาจากท้องแม่เป็นเด็กช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ก็ทุกข์ เป็นเด็กโตขึ้นไปหน่อยทุกสิ่งทุกอย่างต้องอาศัยแม่ อาการที่เราอาศัยท่าน ท่านมีเมตตาก็จริงแหล่แต่ทว่าสิ่งที่เราปรารถนามันไม่ค่อยจะสมหวัง เราก็เป็นทุกข์ โตขึ้นมาแล้วพ้นจากอกพ่ออกแม่ก็ต้องประกอบกิจการงานหนัก งานทุกอย่างเป็นปัจจัยของความทุกข์
    เราก็มาพิจารณาไปว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราโดยนำเอา สักกาทิฏฐิ กายคตานุสสติ และอสุภกรรมฐาน มาควบหาความเป็นจริง ว่าร่างกายไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่เป็นแท่งทึบ ร่างกายนี้แบ่งเป็นอาการ 32 เต็มไปด้วยความสกปรก ถ้าเราปรารถนาในการมีคู่ครองมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เราอยู่ตัวคนเดียวเราก็เป็นทุกข์ ถ้าเรามีคู่ครองก็เพิ่มทุกข์อีก
    มาด้านความโทสะความโกรธ พออนาคามีตัดได้ด้วยอาศัย พรหมวิหาร 4 กับสักกายทิฏฐิ ควบกันตามที่ได้อธิบายมาแล้ว นี่ต้องใช้ปัญญานะ จะไปนั่งภาวนาอยู่เฉย ๆไม่ได้
    เมื่อถึงอนาคามีแล้ว ความเป็นอรหันต์เก็บเล็กเก็บน้อยเป็นของสบาย ๆ ใช้ปัญญาว่ารูปฌานและอรูปฌาน เป็นบันไดสำหรับก้าวเข้าไปสู่พระนิพพาน เราจะไม่หยุดอยู่แค่นี้
    มานะการถือตัวถือตน ไปถืออะไรกันตรงไหน ถือนี่มันถือกาย หรือถือความเลว ถือชาติตระกูล ถือฐานะ ถือวิชาความรู้ ไอ้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่ทรงตัว จะไปถืออะไรกัน คนกับสัตว์มีสภาวะเท่ากัน ถ้าเรายังเห็นสัตว์เดรัจฉาน สัตว์ขี้เรือนเป็นที่น่ารังเกียจ เวลานั้นชื่อว่าเรายังเป็นผู้ตัดมานะไม่ไม่ จำให้ดีนะเท่านี้นะ ทำใจให้มันลงตัว
    และอุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่านนี่ หมายความว่าอารมณ์เราจับนิพพานตรงหรือเปล่า โลภะความโลภมีในจิตหรือเปล่า ราคะความกำหนัดยินดีมีในอารมณ์หรือเปล่า จิตเรายังนึกถึงว่านั่นเป็นเรา นี่เป็นของเราอยู่หรือเปล่า ถ้ายังมีอยู่ยังตัดไม่ได้อารมณ์ต้องเบาในสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ทั้งหมดจิตกำหนดเฉพาะพระนิพพานเป็นอารมณ์ อย่าง อย่างนี้ชื่อว่าตัดอุทธัจจะ คือ อารมณ์ฟุ้งซ่านได้
    แล้วก็อวิชชา มันไม่มีอะไร อวิชชานี่แปลว่า ไม่รู้ เหลือนิดเดียวอวิชชา ที่อารมณ์จิตคิดว่า การทรงเป็นพระอนาคามียังดี เกิดเป็นเทวดาหรือพรหมก็หมดกัน อย่างนี้เราตัดทิ้งมันไป ตั้งใจเฉพาะพระนิพพานเป็นอารมณ์ พอจิตเข้าถึงอรหัตผล จิตใจของเราจะมีอาการของความเบา ไม่มีความรู้สึกหนักในกรณีทั้งปวง จะมีอารมณ์โปร่ง มีใจเป็นสุข
    เท่านี้แหละบรรดาท่านทั้งหลาย เป็นอาการที่การปฏิบัติตนให้เข้าถึงอรหัตผล ผมพูดมาน่ะมันยาวเกินไป แต่ความจริงการปฏิบัติ เขาปฏิบัติกันแบบนี้ เขาลัด ประเดี๋ยวหนึ่งถึง เอาละเวลาก็หมดลงเสียแล้ว ขอความสุขสวัสดิ์จงมีแด่ท่านทั้งหลายสวัสดี
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>(||) (||) (||) (||) (||) (||) (||) (||) (||) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;)
     

แชร์หน้านี้

Loading...