เต๋าแห่งฟิสิกส์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เจ้าโง่, 1 พฤศจิกายน 2007.

  1. เจ้าโง่

    เจ้าโง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +181
    จักรวาลอันเคลื่อนไหว
    จุดหมายสำคัญอันเป็นแกนกลางของศาสนาตะวันออกก็คือ การหยั่งรู้การที่ปรากฏทั้งมวลในโลกพิภพนี้เป็นสิ่งปรากฏแสดงของสัจธรรมสูงสุดประการเดียว สัจธรรมนี้ถือเป็นแก่นแท้ของจักรวาล รองรับและเอาสรรพสิ่งและเหตุการณ์อันหลากหลาย ซึ่งเราสังเกตเห็นได้นั้น อยู่ในเอกภาพอันหนึ่งอันเดียวกันฮินดูเรียกสิ่งนั้นว่า พรหมัน ชาวพุทธเรียกว่า ธรรมกาย (กายแห่งสัตตะ) หรือตถตา(ความเป็นเช่นนั้นเอง) และเต๋า สำหรับผู้นับถือลัทธิเต๋า แต่ละฝ่ายล้วนยืนยันว่าสัจธรรมดังกล่าวอยู่เหนือความคิดนึก และท้าทายต่อคำอธิบายต่าง ๆ​
    อย่างไรก็ตาม แก่นแท้อันเป็นปรมัตถ์นี้ มิอาจแยกออกจากสิ่งปรากฏแสดงอันหลากหลายของมัน แกนกลางแห่งธรรมชาติของสัจธรรมนั้นก็คือการปรากฏแสดงออกมาในรูปลักษณ์นับหมื่นแสน ซึ่งเกิดและสลายเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งอื่น ๆ โดยไม่รู้ที่สิ้นสุด ในแง่ปรากฏการณ์ของตัวมันเอง สัจแห่งเอกภพจึงเป็นสิ่งซึ่งทรงสภาพเคลื่อนไหวโดยเนื้อหา และการเข้าใจธรรมชาติแห่งการเคลื่อนไหวของเอกภพนับเป็นพื้นฐานของทุกสำนักนิกายของศาสนาตะวันออก ดี.ที. สึซึกิ ได้เขียนเกี่ยวกับนิกายคีกอน(Kegon School) แห่งพุทธศาสนาแบบมหายานไว้ว่า
    ความคิดสำคัญอันเป็นแกนกลางของนิกายคีกอนก็คือการเข้าใจจักรวาลในเชิงเคลื่อนไหว จักรวาลซึ่งมีลักษณะสำคัญคือเคลื่อนที่อยู่เสมอ อยู่ในภาวะแห่งการณ์เคลื่อนไหวตลอดเวลา นั้นก็คือชีวิต<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    การสอนเน้นอยู่ที่การเคลื่อนไหว เลื่อนไหล และเปลี่ยนแปลง มิใช่เป็นลักษณะสำคัญของคำสอนของศาสนาตะวันออกเท่านั้นหากยังเป็นแง่มุมสำคัญในโลกทัศน์ของผู้สนใจในความลึกซึ้งของชีวิตตลอดทุกยุคทุกสมัย ในกรีกโบราณเฮราคลิตัสสอนว่า
     
  2. เจ้าโง่

    เจ้าโง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +181
    ผู้มาและไป
    ชาวพุทธเรียกโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงไม่รู้หยุดนี้ว่า สังสารวัฏ ซึ่งมีความหมายว่า “การเคลื่อนไหวหมุนวนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด” และชาวพุทธยังยืนยันว่าไม่มีสิ่งใดในวังวนนี้ซึ่งมีค่าควรแก่การยึดถือ ดังนั้นผู้รู้แจ้งของชาวพุทธก็คือผู้ที่ไม่ต่อต้านการเลื่อนไหลของชีวิต หากทว่าทำตนให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงนั้นเมื่อมีผู้ถามท่านอวิ่นเหมิน (Yun-,men) พระภิกษุนิกาย ธยาน ว่า”อะไรคือเต๋า” ท่านตอบว่า “เดินต่อไป” ชาวพุทธยังเรียกพุทธองค์ว่า ตถาคต ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้มาและไปแล้วเช่นนั้น” ในปรัชญาจีน สัจธรรมแห่งการเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงไม่รู้หยุดนี้เรียกกันว่า เต๋า และถือเป็นกระบวนการของเอกภาพซึ่งเกี่ยวโยงกับทุกสิ่ง เช่นเดียวกับชาวพุทธ ผู้นับถือเต๋ากล่าวว่า บุคคลไม่ควรต้านการเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลง แต่ควรปรับเปลี่ยนการกระทำของตนให้สอดคล้องกับมันซึ่งนี่ก็คือคุณสมบัติของนักปราชญ์-ผู้รู้แจ้ง หากว่าพระพุทธเจ้าคือ “ผู้มาและไปแล้วเช่นนั้น” นักปราชญ์เต๋าคือ ผู้ซึ่ง “เลื่อนไหลในกระแสของเต๋า” ตามคำของฮวยหนั่นจื๊อ​
    ยิ่งเราศึกษาคัมภีร์ของฮินดู พุทธ และเต๋ามากขึ้นเท่าใด เราก็ยิ่งประจักษ์ชัดเจนขึ้นว่าในทุกศาสนานั้นถือว่าโลกมีลักษณะแห่งการเคลื่อนไหว เลื่อนไหลเปลี่ยนแปลง นักปราชญ์ตะวันออกเห็นว่าจักรวาลเป็นข่ายใยอันไม่อาจแยกจากกันได้ และความเชื่อมโยงภายในข่ายในนั้น มีลักษณะ เคลื่อนไหว เติบโต และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับ วิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ก็เห็นว่าจักรวาลเป็นข่ายใยแห่งสัมพันธ์ซึ่งมีลักษณะเคลื่อนไหวโดยเนื้อหา พลวัตแห่งสสารวัตถุเกิดขึ้นในทฤษฎีควอนตัมโดยเป็นผลเนื่องมาจากคุณสมบัติความเป็นคลื่นของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม และยิ่งมีความสัมพันธ์มากยิ่งขึ้นในทฤษฎีสัมพัทธภาพ ซึ่งการรวมเป็นหนึ่งเดียวของอวกาศและเวลาได้แสดงนัยที่ว่า การดำรงอยู่ของสสารวัตถุไม่อาจแยกได้จากกิจกรรมของมัน ดังนั้นคุณสมบัติของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมนั้น เราจะต้องศึกษาเข้าใจในแง่การเคลื่อนไหว ในปฏิกิริยา และการเปลี่ยนแปลงของมัน
    ตามทฤษฎีควอนตัม อนุภาคเป็นคลื่นด้วย นี่แสดงนัยที่ว่ามันประพฤติตนในลักษณะที่ประหลาดอย่างยิ่ง เมื่อใดที่อนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมถูกจำกัดอยู่ภายในขอบขนาดเล็ก ๆ มันจะมีปฎิกิริยาต่อการจำกัดขอบเขตนี้โดยการเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ยิ่งขอบเขตจำกัดนั้นมีขนาดเล็กลงมากเท่าใด อนุภาคจะยิ่ง “สั่น” เร็วขึ้นเท่านั้น พฤติกรรมของอนุภาคในลักษณะนี้เป็น “ผลแห่งควอนตัม” (Quantum Effect) ซึ่งเป็นคุณลักษณะของโลกแห่งโลกอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม โดยยังไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบให้เห็นในโลกของวัตถุที่มองเห็นได้ แนวโน้มของอนุภาคที่จะต่อต้านต่อการจำกัดขอบเขตของมันด้วยการเคลื่อนที่ แสดงให้เห็น “สภาพอันไม่หยุดนิ่ง” อันเป็นพื้นฐานของสสารวัตถุ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ในอาณาจักรแห่งอนุภาคทั้งหลายเหล่านี้ อนุภาคของวัตถุส่วนใหญ่ถูกดึงดูดไว้กับโครงสร้างของโมเลกุล อะตอมและนิวเคลียส ดังนั้นจึงไม่หยุดนิ่ง แต่มีแนวโน้มภายในที่จะเคลื่อนที่ไป นั่นคือมันมีสภาพที่ไม่อาจหยุดนิ่งโดยเนื้อหา ดังนั้นตามทฤษฎีควอนตัมสสารวัตถุจึงไม่เคยสงบนิ่ง แต่อยู่ในสภาพที่เคลื่อนไหวอยู่เสมอ
    วิชาฟิสิกส์สมัยใหม่จึงมองภาพของสสารวัตถุมิใช่สิ่งซึ่งเฉื่อยชาไร้การกระทำแต่เป็นสิ่งที่มีการร่ายรำและเคลื่อนไหวสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่อง โดยที่จังหวะการเคลื่อนที่ของมันถูกกำหนดโดยโครงสร้างของโมเลกุล อะตอมและนิวเคลียส และนี่ก็เป็นวิธีที่นักปราชญ์ตะวันออกมองโลกแห่งวัตถุ โดยต่างเน้นให้เห็นว่าต้องเข้าใจจักรวาลในเชิงพลวัต เนื่องจากมันเคลื่อนที่ สั่นไหว และร่ายรำตลอดเวลาเน้นให้เห็นว่าธรรมชาติอยู่ในดุลยภาพอันเคลื่อนไหว มิใช่หยุดนิ่ง ในคัมภีร์ของเต๋ากล่าวไว้ว่า
    ความสงบนิ่งในความสงบนิ่งมิใช่ความสงบนิ่งที่แม้จริง แต่เมื่อมีความสงบนิ่งในท่ามกลางการเคลื่อนไหวเท่านั้น ท่วงทำนองแห่งจิตวิญญาณจึงปรากฏ ทั้งในสวรรค์และบนโลกพิภพ
     
  3. เจ้าโง่

    เจ้าโง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +181
    การหมุนวนของดาราจักร
    ในวิชาฟิสิกส์ เราตระหนักถึงลักษณะอันเคลื่อนไหวของจักรวาลไม่เพียงแต่ในมิติของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น อะตอมหรือนิวเคลียสเท่านั้น แต่รวมถึงในมิติของสิ่งที่มีขนาดใหญ่ เช่นอาณาจักรแห่งดวงดาวและดาราจักร (galaxies) เราสังเกตเห็นว่าจักรวาลกำลังเคลื่อนที่ ทั้งนี้โดยอาศัยกล้องโทรทัศน์ซึ่งมีขนาดกำลังขยายมาก กลุ่มเมฆของก๊าซไฮโดรเจนหมุนเคลื่อนไปในท้องฟ้าได้รวมตัวและหดตัวลงเป็นดวงดาว ซี่งก่อให้เกิดความร้อนขึ้นถึงจุดหนึ่ง ทำให้มันลุกไหม้ขึ้นเป็นดวงไฟในท้องฟ้า เมื่อถึงสภาวะนั้น มันก็ยังคงหมุนไป ดาวบางดวงได้สลัดเอาชิ้นส่วนของมันหลุดออกมาในอวกาศ หมุนคว้างออกไป และชิ้นส่วนเหล่านั้นได้รวมตัวเข้าเป็นดาวเคราะห์โคจรรอบ ๆ ดาวดวงนั้น ในที่สุด นับจากเวลาผ่านไปนับด้วยล้าน ๆ ปี เมื่อก๊าซไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงนั้นส่วนใหญ่ถูกใช้หมดไป ดวงดาวก็ขยายตัวออก และแล้วก็หดตัวเข้าอีกครั้งหนึ่งด้วยอำนาจแรงโน้มถ่วง การยุบตัวนี้อาจทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงสุดประมาณ หรืออาจทำให้ดวงดาวนั้นกลายเป็นหลุมดำ (Black Hole) ไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการก่อตัวขึ้นเป็นดวงดาวจากกลุ่มก๊าซซึ่งลอยอยู่ระหว่างหมู่ดาว การหดตัว การขยายตัวของมันในเวลาต่อมา และการยุบตัวในท้ายที่สุด เป็นสิ่งที่เรามารถสังเกตเห็นได้ในอาณาบริเวณต่าง ๆ ในท้องฟ้า​
    ดวงดาวซึ่งกำลังหมุนวน หดตัว ขยาย หรือระเบิดนั้น รวมกันเข้าเป็นกระจุกของดาวหรือดาราจักรในรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น เป็นรูปจานแบน รูปทรงกลม รูปทรงก้นหอย เป็นต้น ทุก ๆ ดาราจักรก็ไม่หยุดนิ่ง ทว่ากำลังหมุนไปรอบ ๆ ทางช้างเผือก (The Milky Way) อันเป็นดาราจักรของเรานั้นมีรูปลักษณะเป็นจานมีดวงดาวและก๊าซรวมกันอยู่อย่างหนาแน่น หมุนไปในอวกาศเช่นเดียวกับกงล้ออันมหึมา ทำให้ดวงดาว รวมทั้งดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์บริเวณของมันเคลื่อนตัวไปรอบ ๆ แกนกลางของดาราจักร จักรวาลประกอบขึ้นด้วยดาราจักรจำนวนมหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วอวกาศที่เราอาจมองเห็นได้ ทุก ๆ อันกำลังหมุนเช่นเดียวกับอาณาจักรของเรา
    เมื่อเราศึกษาจักรวาลโดยส่วนรวมทั้งหมดซึ่งกอปรด้วยดาราจักรนับล้านๆ อัน เราได้บรรลุถึงสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของอวกาศและเวลา และในระดับของเอกภาพนี้เช่นกัน ที่เราค้นพบว่าจักรวาลนี้มิได้หยุดนิ่ง มันกำลังขยายตัว สิ่งนี้นับเป็นการค้นพบที่สำคัญในวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่ การวิเคราะห์แสงซึ่งมาจากดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไปนั้นอย่างละเอียดลออทำให้เราทราบว่า กระจุกดาราจักรทั้งหมดกำลังขยายตัวออกอย่างสัมพันธ์กัน ความเร็วในการเคลื่อนตัวออกของดาราจักรหนึ่ง ๆ เป็นปฏิภาคโดยตรงกับระยะทางของดาราจักรนั้น ๆ ยิ่งห่างออกไปเท่าไร
     
  4. เจ้าโง่

    เจ้าโง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +181
    อวกาศไม่แบนแต่โค้ง
    เพื่อที่จะให้เข้าใจการขยายตัวของจักรวาลได้ดีขึ้น เราจะต้องระลึกถึงโครงร่างในการศึกษาเกี่ยวกับจักรวาลในระดับกว้างของไอน์สไตน์ตามทฤษฎีนี้อวกาศไม่ใช่สิ่งที่ “แบน” “แต่” “ โค้ง” และความโค้งของมันขึ้นอยู่กับการกระจายตัวของสสารวัตถุตามทฤษฎีไอน์สไตน์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของวิทยาสมัยใหม่​
    [​IMG]
    เมื่อเราพูดถึงการขยายตัวของจักรวาลในโครงร่างของทฤษฎีทั่วไป เราหมายถึงการขยายตัวในมิติที่สูงกว่า เช่นเดียวกับภาพอวกาศที่โค้งตัวเราจะเข้าใจภาพการขยายตัวของจักรวาลโดยอาศัยข้อเปรียบเทียบ 2 มิติ ลองนึกถึงลูกโป่งที่มีจุดเล็ก ๆ อยู่ทั่วผิวหน้าของมัน และจุดเล็ก ๆ เหล่านั้นแทนดาราจักรซึ่งกระจายอยู่ทั่วอวกาศ เมื่อลูกโป่งถูกเป่าให้พองขึ้นระยะห่างระหว่างจุดเล็ก ๆ แต่ละจุดให้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ดาราจักรใดดาราจักรอื่น ๆ ก็จะเคลื่อนออกจากคุณ​
    คำถามเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของจักรวาลจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนทั้งหมดนี้เริ่มต้นมาได้อย่างไร จากความสัมพันธ์ระยะทางระหว่างดาราจักรและความเร็วของมัน ตามทฤษฎีของฮับเบิล(็Hubble’s Law) เราก็จะคำนวณจุดเริ่มต้นของการขยายตัวได้ กับอีกนัยหนึ่งคือคำนวณอายุของจักรวาลได้ สมมติว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราการขยายตัว ซึ่งแน่นอนไม่มีทางเป็นไปได้ เราจะคำนวณอายุของจักรวาลได้ประมาณ 10,000 ล้านปี ในปัจจุบันนักจักรวาลวิทยาส่วนใหญ่เชื่อกันว่าจักรวาลเริ่มต้นเมื่อ 10,000 ล้านปีที่แล้ว โดยมวลสารทั้งหมดของมันระเบิดออกมาจากลูกไฟดวงแรกซึ่งมีขนาดเล็ก การขยายตัวของจักรวาลที่ยังคงเป็นอยู่ในปัจจุบันแสดงถึงแรงระเบิดที่ยังหลงเหลืออยู่ตามแบบจำลอง หากเราต้องการจะรู้ว่าก่อนขณะนั้นเรามีอะไรเกิดขึ้นเราจะต้องเผชิญกับความยุ่งยากอย่างฉกาจฉกรรณ์ในทางความคิดและภาษาอีกครั้งหนึ่ง เซอร์เบอร์นาร์ด โลเวลส์ ได้กล่าวไว้ว่า
    เราได้มาถึงอุปสรรคอันมหึมาของความคิดเนื่องจากเราเริ่มต่อสู้กับความคิดเรื่องเวลาและอวกาศก่อนที่จะมีอยู่ ในความหมายอย่างที่เราประสบในประจำวันของเรา ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนกับว่าได้ขับรถเข้าไปในหมอกอันหนาทึบที่สุดซึ่งโลกทั้งโลกที่เคยคุ้นได้มลายไป<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    เกี่ยวกับอนาคตของจักรวาลซึ่งกำลังขยายตัวอยู่ ต่างกันออกไปแล้วแต่แบบจำลองของจักรวาล บางแบบก็ทำนายว่าการขยายตัวจะช้าลงและในที่สุดจะหดตัวเข้า ความคิดที่ว่าจักรวาลจะขยายตัวและหดตัวสลับกันไปในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานมากในแต่ละจังหวะ ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่ในจักรวาลวิทยาสมัยใหม่เท่านั้น หากยังปรากฏในเทพปกรณัมของอินเดียแต่โบราณ แนวหนึ่งคือความคิดเรื่องลีลา(Lila) การแสดงแห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งพรหมันได้จำแลงร่างเป็นโลกลีลาเป็นการแสดงหรือการละเล่นซึ่งประกอบด้วยจังหวะจะโคนแห่งการที่หนึ่งได้กลายเป็นหลากหลาย และสิ่งหลากหลายได้กลับเป็นหนึ่งในคัมภีร์ภควัทคีตา พระกฤษณะได้ตรัสถึงจังหวะแห่งการรังสรรค์นี้ว่า
    เมื่อสิ้นยามราตรี สรรพสิ่งกลับมาสู่ธรรมชาติข้า ๆ และเมื่อเริ่มวันใหม่ข้า ๆ นำมันออกมาสู่ความสว่าง<O:p> </O:p>
    ด้วยธรรมชาติแห่งข้า ๆ ข้า ๆ เป็นเหตุแห่งการรังสรรค์ทั้งมวล และมันก็หมุนไปในวงเวียนแห่งเวลา<O:p> </O:p>
    แต่ข้า ๆ ไม่ผูกยึดอยู่กับงานสร้างสรรค์อันใหญ่หลวงนี้ ข้า ๆ เป็น และ ข้า ๆ เฝ้าดูการดำเนินแห่งการงานนั้น <O:p></O:p>
    ท่านเหล่านั้นให้ภาพของจักรวาลซึ่งขยายตัวและหดตัวสลับกันไป และเรียกระยะเวลาระหว่างการเริ่มต้นและสิ้นสุดของการรังสรรค์ครั้งหนึ่ง ๆ อันเป็นเวลายาวนานเกินกว่าที่จะจินตนาการ จากขอบเขตที่กว้างไพศาลแห่งจักรวาล ซึ่งการขยายตัว ขอให้เราย้อนกลับมาสู่โลกของสิ่งที่เล็กอย่างไม่อาจประมาณได้ อาณาจักรของอะตอม นิวเคลียสและส่วนประกอบของมันการสืบค้นอย่างจริงจัง ได้ส่งผลเปลี่ยนแปลงทัศนของเราในเรื่องสสารวัตถุหลายประการ เรากำลังเกี่ยวข้องกับมิติซึ่งเล็กกว่าอะตอมหลายแสนเท่าซึ่งในอนุภาคขนาดที่เล็กเช่นนี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก จำเป็นต้องใช้โครงร่างซึ่งเกี่ยวข้องกับทฤษฎีควอนตัมและทฤษฎีสัมพัทธภาพและด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพนี้เองที่ทำให้เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทัศนที่เกี่ยวกับสสารวัตถุของเราอีกครั้ง
     
  5. เจ้าโง่

    เจ้าโง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +181
    มวลสารเป็นพลังงาน
    ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดก็คือสมการของไอน์สไตน์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี E=mc<SUP>2 </SUP>แสดงความสัมพันธ์ของพลังงานและมวลสารซึ่งเป็น2แนวคิดที่ดูเหมือนว่าไม่น่าจะสัมพันธ์กันได้ พลังงานคือความสามารถในการทำงานเช่นเมื่อเราต้มน้ำให้เดือดเราต้องอาศัยพลังงานความร้อนที่อาจเปลี่ยนแปลงมาจากพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานเคมี และความสำคัญขั้นพื้นฐานของมันอยู่ที่ข้อเท็จจริงที่ว่าพลังทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในกระบานการหนึ่ง นั้นจะต้องไม่สูญหายมันอาจจะเปลี่ยนรูปด้วยกลวิธีที่ซับซ้อนและยังไม่เคยมีสิ่งที่อยู่นอกกฏนี้ปรากฏขึ้น<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    ในปัจจุบันทฤษฎีสัมพัทธภาพได้บอกเราว่ามวลสารไม่ใช่อื่นใดนอกจากพลังงาน ตัวอย่างเช่นพลังงานที่มีในอนุภาค(E) ย่อมเท่ากับมวลสารของอนุภาค(m) คูณด้วยความเร็วของแสงยกกำลังสอง (C<SUP>2</SUP>) แต่ทว่ามันอาจจะถูกเปลี่ยนไปเป็นรูปอื่น ๆ ของพลังงาน ลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคชนกัน พลังงานจลน์นี้จะแบ่งเฉลี่ยไปให้แก่อนุภาคตัวอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับการชนกันนี้ พลังงานจลน์ของมันอาจถูกใช้ไปในการสร้างมวลของอนุภาคตัวใหม่<O:p> </O:p>
    [​IMG]<O:p> </O:p>
    การค้นพบระหว่างมวลสารเป็นพลังงานรูปหนึ่งได้ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนความคิดของเราในเรื่องอนุภาคไปในทางที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น และดังนั้นอนุภาคจึงไม่ถูกถือว่าประกอบด้วยก้อนพื้นฐานใด ๆ อย่างไรก็ตามเนื่องจากพลังงานเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมและกระบวนการดังนั้นมันจึงแสดงนัยที่ว่าธรรมชาติของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม เราระลึกเสมอว่าจะต้องนึกถึงในแง่สัมพัทธ์กล่าวคือในกรอบโครงร่างของอวกาศและเวลาได้หลอมรวมเป็นสภาพต่อเนื่อง4มิติ แต่จะมองเป็นวัตถุในสภาพ 4 มิติแห่กาลอวกาศ อนุภาคซึ่งเล็กกว่าอะตอมเป็นแบบแผนอันเคลื่อนไหวมีทั้งในด้านอวกาศและเวลา ในด้านอวกาศทำให้มันปรากฏเป็นวัตถุมีมวลสารที่แน่นอนอันหนึ่ง<O:p> </O:p>
    แบบแผนอันเป็นพลวัตหรือ กลุ่มพลังงาน เหล่านี้ก่อรูปขึ้นเป็นโครงสร้างของนิวเคลียส อะตอม และโมเลกุลที่คงตัวตามลำดับ จนถึงสสารวัตถุที่ดูแข็งแรงถาวร จึงทำให้เราเชื่อว่ามันประกอบด้วยสสารขนาดเล็กอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปความคิดเช่นนี้ดูใช้ได้ แต่ในระดับของอะตอมแล้วมันใช้ไม่ได้อะตอมประกอบขึ้นจากอนุภาคก็จริงทว่าอนุภาคเหล่านี้ มิได้ประกอบด้วยก้อนสสารอันใดอันหนึ่ง เราไม่เคยเห็นส่วนประกอบใด ๆ ของมัน แบบแผนแห่งการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาอย่างต่อเนื่องเป็นระบำแห่งพลังงานเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันไป<O:p> </O:p>
    ทฤษฎีควอนตัมได้แสดงให้เราเห็นว่า อนุภาคมิได้เป็นเมล็ดแห่งสสารแยกโดดเดี่ยวโดยลำพัง ทว่าเป็นแบบแผนแห่งความอาจเป็นไปได้ เป็นความเชื่อมโยงสัมพันธ์ภายในข่ายใยแห่งเอกภพที่ไม่อาจแบ่งแยก อาจจะกล่าวได้ว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพได้ทำให้แบบแผนดังกล่าวเหล่านี้มีชีวิตขึ้น โดยแสดงให้เห็นถึงลักษณะการเคลื่อนไหว การดำรงอยู่ของสสารวัตถุและกิจกรรมของมันไม่อาจแยกออกจากกันได้ มันเป็นเพียงคนละแง่มุมของความจริง<O:p> </O:p>
    นักปราชญ์ตะวันออกในสภาวะแห่งสำนึกพิเศษได้หยั่งรู้สอดประสานสัมพันธ์ของกาละและเทศะ โดยเฉพาะในพระพุทธศาสนาซึ่งปรากฏคำสอนที่สำคัญประการหนึ่งไว้ว่า สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงคำว่าสังขารนั้นชั้นต้นหมายถึง เหตุการณ์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นและยังอาจหมายถึงการกระทำ ความประพฤติในชั้นที่สองหมายถึงสิ่งที่คงอยู่นี้แสดงให้เห็นว่าชาวพุทธมองวัตถุในเชิงเคลื่อนไหวเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงอันไม่จบสิ้น ชาวพุทธมองเห็นวัตถุทุกชนิดเป็นกระบวนการร่วมในการเปลี่ยนแปลงของจักรวาลและปฏิเสธความคงอยู่ของสสารใด ๆ
     
  6. เจ้าโง่

    เจ้าโง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +181
    ความว่างและรูปลักษณ์
    โลกทัศน์แบบกลจักรดั้งเดิมมีรากฐานอยู่บนความคิดที่ว่าอนุภาคซึ่งเป็นวัตถุแข็งและไม่อาจทำลายได้ เคลื่อนที่อยู่ในที่ว่าง วิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ได้กำหนดให้ภาพใหม่ที่ต่างจากความคิดดังกล่าวสิ้นเชิง ซึ่งไม่เพียงแต่นำมาสู่ความคิดใหม่ในเรื่อง “อนุภาค” เท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความคิดเรื่องที่ว่างไปในทางลึกซึ้งยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในทฤษฎีสนาม(Field Theories) ทฤษฎีนี้มีจุดกำเนิดที่ความคิดของไอน์สไตน์ซึ่งประ สงค์จะรวมเอาสนามความโน้วถ่วงกับโครงสร้างทางเรขาคณิตของอวกาศเข้าด้วยกัน และได้รับการขยายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในการวมกันของทฤษฎีควอนตัมและทฤษฎีสัมพัทธภาพเพื่อการพยายามอธิบายสนามของแรงของอนุภาคซึ่งเล็กกว่าอะตอมใน “ ทฤษฎีสนามควอนตัม” (Quantum Field Theories) นี้ การแบ่งแยกระหว่างอนุภาคและที่ว่างรอบ ๆ ตัวมันได้สูญเสียความแหลมคมที่มีมาแต่เดิมลง และที่ว่างถูกถือเป็นปริมาณอันมีลักษณะเป็นพลวัตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่ง
    ความคิดในเรื่องสนามถูกเสนอเข้ามาอธิบายถึงแรงระหว่างประจุไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า โดยฟาราเดย์และแมกซ์เวลส์ในศตวรรษที่สิบเก้า สนามไฟฟ้าคือสภาพการณ์ในที่ว่างรอบประจุอันหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดแรงกระทำบนประจุอื่นที่ปรากฏในที่ว่างนั้น ดังนั้นสนามไฟฟ้าจึงเกิดจากประจุไฟฟ้า และจะมีผลต่อประจุไฟฟ้าอันอื่น สนามแม่เหล็กเกิดจากประจุไฟฟ้าซึ่งกำลังเคลื่อนที่นั่นคือจากกระแสไฟฟ้า และแรงแม่เหล็กจะมีผลเฉพาะต่อประจุซึ่งเคลื่อนที่ ในทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าดั้งเดิมที่เสนอโดยฟาราเดย์และแมกซ์เวลส์นั้น สนามเป็นสภาพจริงทางฟิสิกส์ขั้นปฐมภูมิซึ่งอาจศึกษาได้โดยไม่จำเป็นต้องอิงอาศัย ตัววัตถุสนามแม่เหล็กและไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ผ่านอวกาศในรูปของวิทยุ คลื่นแสงหรือในรูปรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดอื่น
    ทฤษฎีสัมพัทธภาพได้ตกแต่งโครงสร้างของวิชาพลศาสตร์ไฟฟ้า (electrodnamics) ให้สละสลวยยิ่งขึ้น โดยรวมเอาความคิดเรื่องประจุและกระแสไฟฟ้า สนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก เนื่องจากการเคลื่อนที่ทุกชนิดเป็นสิ่งสัมพัทธ์ประจุไฟฟ้าทุกตัวอาจปรากฏเป็นคลื่นไฟฟ้า ในกรอบอ้างอิงอันหนึ่งซึ่งเคลื่อนที่เมื่อเทียบกับผู้สังเกต และในทำนองเดียวกัน สนามไฟฟ้าของมันก็อาจปรากฏเป็นสนามแม่เหล็กได้เช่นกัน ดังนั้นในสูตรพลศาสตร์ไฟฟ้าเชิงสัมพัทธ์ สนามทั้งสองชนิดได้รวมตัวเป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
    ความคิดในเรื่องสนามมิได้เกี่ยวข้องกับแรงแม่เหล็กไฟฟ้าเท่านั้น หากยังสัมพันธ์กับแรงอันสำคัญในโลก นั่นคือแรงโน้มถ่วง สนามความโน้มถ่วงมีผลต่อวัตถุซึ่งทรงมวลทั้งหลายทุกชนิด โดยดึงดูดวัตถุนั้น โดยต่างจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีผลต่อเฉพาะประจุไฟฟ้าและอาจเป็นแรงผลักหรือแรงดูดก็ได้ ทฤษฎีสนามซึ่งกล่าวถึงสนามความโน้มถ่วงได้อย่างถูกต้องที่สุดคือทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป และในทฤษฎีนี้มีการกล่าวถึงอิทธิพลของวัตถุซึ่งทรงมวล ต่อที่ว่างโดยรอบตัวของมันอย่างละเอียอลออ มากกว่าอิทธิพลของวัตถุซึ่งมีประจุในวิชาพลศาสตร์ไฟฟ้า อีกครั้งหนึ่งที่ที่ว่างรอบ ๆ วัตถุถูก “กำหนดสภาพ” ในลักษณะที่วัตถุอื่นจะรู้สึกถึงแรงของมัน ทว่าในครั้งนี้มีผลต่อโครงสร้างอวกาศ
    วัตถุและที่ว่าง สภาพซึ่งมีมวลสารและสภาพว่างเปล่า เป็นความคิดที่แตกต่างกันในระดับพื้นฐาน นักศึกษาเรื่องอะตอมอย่างเดโมคริตัสและนิวตันยืนยันเช่นนั้น ในทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปความคิดทั้งสองประการนี้ไม่อาจแยกออกจากกันอีกต่อไป ที่ใดปรากฏวัตถุทรงมวล ณ ที่นั่นย่อมมีสนามความโค้งและสนามดังกล่าวแสดงตัวมันเองออกมาในรูปของการโค้งตัวในอวกาศหรือที่ว่างรอบ ๆวัตถุนั้น อย่างไรก็ตามใช่ว่าสนามนั้นแผ่คลุมทั่วที่ว่างและทำให้มัน”โค้งตัว” ทั้งสนามและอวกาศที่โค้งไม่อาจแยกจากกัน สนามก็คืออวกาศที่
    โค้งตัว ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปสนามความโน้มถ่วงและโครงสร้างหรือเรขาคณิตของอวกาศเป็นสิ่งเดียวกัน โดยที่มันถูกแทนด้วยปริมาณทางเรขาคณิตศาสตร์อันเดียวกันในสนามของไอน์สไตน์ ดังนั้นในทฤษฎีของไอน์สไตน์ สสารวัตถุไม่อาจแยกออกจากสนามความโน้มถ่วงของมัน และสนามความโน้มถ่วงไม่อาจแยกออกจากสนามที่โค้งตัวได้ สสารวัตถุและอวกาศจึงเป็นส่วนที่ไม่อาจแยกออกจากกันและต้องอิงอาศัยกัน
    สนามของสสาร
    สสารวัตถุไม่เพียงแต่กำหนดโครงสร้างของอวกาศรอบ ๆ ตัวมัน แต่ในทำนองเดียวกันมันถูกกำหนดโดยสภาพแวดล้อมของมันด้วย ตามแนวคิดของ (Ernst Mach) นักฟิสิกส์และนักปรัชญา ความเฉื่อยของวัตถุ ซึ่งก็คือความต้านทานของวัตถุต่อการถูกเร่งความเร็ว มิใช่คุณสมบัติภายในวัตถุเองหากแต่เป็นการวัดปฏิกิริยาของมันต่อสิ่งอื่น ๆ ในจักรวาล ในทัศนะของแม็กวัตถุมีความเฉื่อยเนื่องจากยังมีวัตถุอื่นในจักรวาล เมื่อวัตถุหมุนไป แรงเฉื่อยของก่อให้เกิดแรงหมุนเข้าสู่ศูนย์กลาง แต่แรงนี้จะปรากฏก็ต่อเมื่อวัตถุนั้นหมุนไป “โดยสัมพัทธ์กับดวงดาวซึ่งอยู่กับที่” ตามสำนวนของแมก ถ้าหากว่าดวงดาวเหล่านั้นหายวับไปในฉับพลัน แรงเฉื่อยและแรงสู่ศูนย์กลางของวัตถุซึ่งกำลังหมุนอยู่นั้นสลายไปด้วย
    ความคิดในเรื่องแรงเฉื่อยซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหลักการของแมกได้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่ออัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และเป็นแรงกระตุ้นดั้งเดิมให้เขาสร้างทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปขึ้น แต่เนื่องจากความซับซ้อนของคณิตศาสตร์ปรากฏในทฤษฎีของไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ยังไม่แน่ใจว่ามันได้รวมเอาหลักการของแมกเข้าไปด้วยหรือไม่ อย่าไรก็ตาม นักฟิสิกส์ส่วนใหญ่เชื่อว่ามันควรจะรวมเอาเข้าไว้ด้วยไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อสร้างเป็นทฤษฎีของความโน้มถ่วงที่สมบูรณ์
    ดังนั้นวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ได้แสดงให้เราเห็นอีกครั้งหนึ่งในระดับมหภาคว่าสสารวัตถุมิใช่สิ่งซึ่งแยกอยู่ต่างหาก แต่เป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากสภาพแวดล้อมของมัน นั่นคือปฏิกิริยาดังกล่าวขยายออกไปสู่จักรวาลไปยังดวงดาวและดาราจักร ดังนั้นเราจะเข้าใจคุณสมบัติของมันได้ ก็แต่ในปฏิกิริยาของมันต่อสัดส่วนอื่น ๆ ของโลก ตามหลักการของแม็ก มิใช่แต่เฉพาะในโลกของวัตถุขนาดเล็ก แต่ยังปรากฏในโลกของวัตถุขนาดมหึมาด้วย เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในฟิสิกส์เกี่ยวกับดวงดาวและจักรวาลวิทยา เฟรด ฮอย์ล (Fred Hoyle) นักดาราศาสตร์ได้กล่าวว่า
    พัฒนาการในยุคปัจจุบันของจักรวาลวิทยาได้มาถึงจุดที่เสนออย่างค่อนข้างจะหนักแน่นว่า สภาพการณ์ต่าง ๆในประจำวันไม่อาจคงอยู่ได้หากไม่มีส่วนอื่นที่อยู่ไกลออกไปในจักรวาล ความคิดทั้งหมดของเราเกี่ยวกับอวกาศและเรขาคณิตจะกลายเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้เลยหากปราศจากส่วนอื่น ๆ ในจักรวาลที่ห่างออกไป ประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเรา กระทั่งในรายละเอียดต่าง ๆ ดูเสมือนจะถูกรวมเข้าไปในจักรวาลอันมหึมาอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งไม่อาจจะพิจารณาทั้งสองส่วนแยกออกจากกัน
    เอกภาพและความประสานสัมพันธ์ระหว่างสสารวัตถุและสภาพแวดล้อมของมัน ซึ่งแสดงออกในระดับมหภาคในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ปรากฏในระดับอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมอย่างชัดเจนและน่าสนใจยิ่งกว่า ความคิดทฤษฎีสนามดั้งเดิมได้ถูกรวมเข้ากับทฤษฎีควอนตัมเพื่อที่จะอธิบายปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม การรวมกันของสองทฤษฎีเพื่อที่จะอธิบายปฏิกิริยาโน้มถ่วงยังไม่ปรากฏผลสำเร็จ เนื่องจากความซับซ้อนทางสมการคณิตศาสตร์ ของทฤษฎีความโน้มถ่วงของไอน์สไตน์ แต่ในแง่ของวิชาพลศาสตร์ไฟฟ้าได้รวมเข้ากับทฤษฎีควอนตัมเป็นทฤษฎีใหม่ที่เรียกว่า “ควอนตัมอิเล็กโตรไดนามิกส์” ซึ่งสามารถอธิบายปฏิกิริยาทางแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งหมดระหว่างอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมได้เป็นอย่างดีนับเป็นแบบแผน “ควอนตัม-สัมพัทธ์” ของฟิสิกส์สมัยใหม่ชิ้นแรก และยังคงประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากเรื่อยมา
    ลักษณะใหม่และเป็นข้อเด่นของควอนตัมอิเล็กโตรไดนามิกส์เกิดจากการรวมของสองแนวคิด คือแนวคิดเรื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและความคิดเรื่องโฟตอนซึ่งเป็นปรากฏการณ์ในรูปของอนุภาคคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากโฟตอนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นชนิดนี้เป็นสนามสั่นสะเทือน ดังนั้นโฟตอนต้องเป็นเครื่องแสดงความเป็นลักษณะสนามแม่เหล็กไฟฟ้าด้วย นี่คือความคิดเรื่อง “สนามควอนตัม” อันเป็นสนามซึ่งอาจปรากฏในรูปของควอนตาหรืออนุภาค ความคิดแนวนี้นับเป็นแนวคิดที่ใหม่จากเดิมอย่างสิ้นเชิง ได้ขยายขอบเขตเข้าไปอธิบายอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมทั้งหมดและปฏิกิริยาของมัน อนุภาคแต่ละชนิดเขื่อมโยงกับสนามแต่ละชนิด ใน “ทฤษฎีควอนตัม” นี้ความแตกต่างระหว่างอนุภาคซึ่งเป็นวัตถุแข็งกับที่ว่างรอบ ๆ ตัวของมันได้ถูกทำลายลง สนามควอนตัมได้กลายเป็นสิ่งพื้นฐานทางฟิสิกส์ เป็นมัชฌิมซึ่งต่อเนื่องกันตลอดทั่วทั้งอวกาศ อนุภาคเป็นเพียงสนามซึ่งมีความหนาแน่นมาก มีพลังเข้มข้นขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องชั่วครั้งชั่วคราวดังนั้นมันจึงสูญเสียลักษณะเฉพาะตัว และได้ละลายลงสู่สนามซึ่งเป็นพื้นฐานรองรับอยู่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า
    ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า สสารวัตถุคืออวกาศบางส่วนซึ่งสนามมีความเข้มข้นสูงมาก…ไม่มีที่ว่างสำหรับทั้งสนามและสสารวัตถุพร้อมกันในฟิสิกส์อย่างใหม่นี้เนื่องจากสนามเท่านั้นที่เป็นสิ่งจริงแท้
    สุญตา
    ความคิดที่ว่าสิ่งต่าง ๆ ปรากฏการณ์ทั้งหลายเป็นการปรากฏแสดงชั่วครั้งชั่วคราวของสิ่งพื้นฐานซึ่งรองรับอยู่นั้น มิใช่เป็นเพียงพื้นฐานทางของทฤษฎีสนามควอนตัมเท่านั้น แต่ยังเป็นประเด็นพื้นฐานของโลกทัศตะวันออกด้วย เช่นเดียวกับไอน์สไตน์ นักปราชญ์ของตะวันออกได้ถือเอาสิ่งพื้นฐานรองรับสิ่งทั้งหลายว่าเป็นความจริงเพียงประการเดียว ปรากฏการณ์ซึ่งปรากฏออกมามันเป็นเพียงสิ่งซึ่งดำรงค์ชั่วครั้งชั่วคราวและเป็นสิ่งลวงตา สัจจะของศาสนาตะวันออกไม่อาจนำมาเปรียบเทียบสนามควอนตัมของนักฟิสิกส์ เนื่องจากสัจจะดังกล่าวเป็นแก่นแท้ของปรากฏการณ์ทั้งหลายในโลกนี้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่พ้นวิสัยทัศนะและความคิดเห็นทั้งมวล ในทางตรงกันข้าม สนามควอนตัมเป็นความคิดที่ชัดเจนซึ่งใช้ได้กับปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์บางประการ อย่างไรก็ตาม ญาณทัศนะซึ่งอยู่เบื้องหลังการอธิบายโลกของอนุภาคซึ่งเล็กกว่าอะตอมของนักฟิสิกส์ คล้ายคลึงกับญาณทัสนะของนักปราชญ์ตะวันออกซึ่งอธิบายประสบการณ์การหยั่งรู้โลก โดยกล่าวถึงสัจจะสูงสุดอันเป็นพื้นฐานรองรับสรรพสิ่ง สืบเนื่องจากการเกิดขึ้นของความคิดเรื่องสนาม นักฟิสิกส์ได้พยายามที่จะรวมเอาสนามต่าง ๆ เข้าไว้ในพื้นฐานเดียวซึ่งอาจที่จะใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอน์สไตน์ได้ใช้เวลาช่วงสุดท้ายของชีวิตในการค้นหาสนามชนิดดังกล่าว อาจจะถือได้ว่า พรหมัน ของฮินดู ธรรมกาย ของพุทธ และเต๋า ของผู้นับถึอเต๋า เป็นสนามแห่งเอกภาพอันสูงสุด ซึ่งก่อกำเนิดแก่ทุกปรากฎการณ์ ไม่เพียงแต่ปรากฏการณ์ที่ศึกษากันในวิชาฟิสิกส์เท่านั้น
    ในทัศนะของตะวันออก สัจจะซึ่งรองรับปรากฏการณ์ทั้งมวลนั้นอยู่พ้นวิสัยของรูปแบบ คำอธิบาย และการบ่งเฉพาะเจาะจงทุกชนิด ดังนั้นจึงมักกล่าวว่า มันไร้รูป ว่างเปล่า ทว่าความว่างเปล่านี้มิใช่ความไม่มีอะไร ตรงกันข้ามมันเป็นแก่นแท้ของรูปทั้งมวลและเป็นแหล่งกำเนิดของสรรพชีวิต ดังที่คัมภีร์อุปนิษัทกล่าวไว้ว่า
    พรหมันคือชีวิต พรหมันคือความร่าเริง พรหมันคือความว่าง…
    ความร่าเริงคือสิ่งเดียวกับความว่างอย่างแท้จริง
    ความว่างคือสิ่งเดียวกับความร่าเริงอย่างแท้จริง
    ชาวพุทธก็ได้เสนอทัศนะเดียวกันเมื่อกล่าวเรียกสัจธรรมสูงสุดว่า สุญตา “ความว่าง” และแสดงให้เห็นว่ามันเป็นความว่างซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของรูปทุกรูปในโลกแห่งปรากฏการณ์นี้ ผู้นับถือเต๋า ถือว่าเต๋าทรงสภาพเป็นอนันต์นิรันดร์ช่นเดียวกัน และเรียกมันว่า ความว่าง กวนจื้อ (Kua-tzu) กล่าวว่า “เต๋าแห่งสวรรค์ไร้รูปและว่างเปล่า” และเหล่าจื้อก็ได้แสดงอุปมาหลายประการเกี่ยวกับความว่างนี้ เหล่าจื้อมักจะเปรียบหุบเขาที่กว้างไพศาลนี้ หรือภาชนะซึ่งว่างเปล่าอยู่เสมอ และดังนั้นสามารถที่จะบรรจุสิ่งต่าง ๆ นับด้วยอนันต์
    นักปราชญ์ตะวันออกได้อธิบายความหมายของพรหมัน สุญตา หรือเต๋า ว่ามิได้หมายถึงความว่างเปล่าอย่างสามัญ แต่ตรงข้ามกัน มันเป็นความว่างเปล่าซึ่งทรงศักยภาพเป็นเอนกอนันต์ ดังนั้นความว่างในศาสนาตะวันออกจึงอาจนำมาเปรียบเทียบกับสนามควอนตัมในฟิสิกส์ที่ว่าดัวยอะตอม จากความว่างได้ก่อกำเนิดแก่รูปลักษณ์ทั้งหลาย ทำให้มันคงอยู่และในที่สุดก็ได้ดูดกลืนมันกลับไป ในคัมภีร์อุปนิษัทกล่าวไว้ว่า
    สงบ จงบูชามัน
    จากสิ่งนั้นที่เขามา
    สู่สิ่งนั้นที่เขาจักต้องมลายไป
    ด้วยสิ่งนั้นที่เขาหายใจ
    เช่นเดียวกับอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นจากความว่างในทางศาสนามิใช่สิ่งซึ่งอยู่นิ่งและถาวร แต่มีลักษณะที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงและไม่คงตัว เกิดขึ้นและดับไปในการเริงรำอันเป็นนิรันดร์ของการเคลื่อนไหวและพลังงาน เช่นเดียวกับโลกของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมของนักฟิสิกส์ โลกแห่งปรากฏการณ์ของศาสนาตะวันออกเป็นโลกแห่ง สังสารวัฏ แห่งการเกิดและตายเนื่องจากมีสภาพเป็นเพียงการปรากฏแสดงชั่วครั้งชั่วคราวของความว่าง สิ่งต่าง ๆในพิภพนี้จึงไม่มีเอกลักษณ์พื้นฐานใด ๆ ความคิดนี้เด่นชัดในพระพุทธศาสนาซึ่งปฏิเสธการดำรงอยู่อย่างแท้จริงของสสารวัตถุทั้งหลาย และสอนว่า “ตัวตน” ที่เที่ยงแท้และเป็นผู้รับรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ของชีวิตนั้นเป็นเพียงภาพลวง ชาวพุทธมักจะเปรียบเทียบภาพลวงตาของสสารวัตถุและตัวปัจเจกบุคคลกับปรากฏการณ์ของคลื่นน้ำ ซึ่งการเคลื่อนที่ขึ้น-ลงของอนุภาคของน้ำทำให้เราเชื่อว่า “ส่วน” ของน้ำเคลื่อนที่ไปตามพื้นผิว น่าสนใจที่ว่านักฟิสิกส์ก็ได้ใช้อุปมาเดียวกันในเรื่องของทฤษฎีสนาม เพื่อชี้ให้เห็นภาพลวงของสสารวัตถุที่กำเนิดจากอนุภาคกำลังเคลื่อนไหวดังที่เฮอร์แมนน์ วีลย์ (Hermann Weyl) กล่าวไว้ว่า
    ตาม (ทฤษฎีสนามของสสารวัตถุ) อนุภาคเช่นอิเล็กตรอนเป็นเพียงขอบเล็ก ๆ ของสนามไฟฟ้า ซึ่งความเข้มข้นของสนามในบริเวณนั้นมีมาก นั่นแสดงว่าพลังงานของสนามในปริมาณสูงมากเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ๆ ได้มารวมตัวกันในบริเวณที่เล็กมาก ๆ ปมพลังงานดังกล่าวซึ่งเป็นภาพที่ต่างจากสนามส่วนอื่น ๆ ได้แผ่กระจายผ่านอวกาศที่ว่างเปล่า เช่นเดียวกับคลื่นน้ำกระเพื่อมไปบนผิวของสระ ไม่มีสิ่ง ๆ เดียวซึ่งยืนพื้นเป็นองค์ประกอบของอิเล็กตรอนตลอดเวลา
    ฉี้
    ในปรัชญาจีน ความคิดเรื่องสนามมิใช่แต่ปรากฏโดยนัยในความคิดเรื่องเต๋าซึ่งเป็นความว่างซึ่งไร้รูป แต่เป็นแหล่งกำเนิดของรูปลักษณ์ต่าง ๆ ทั้งยังได้แสดงออกอย่างชัดเจนในความคิดเรื่อง ฉี้ (Ch’i) คำคำนี้มีบทบาทสำคัญในทุกสำนักปรัชญาธรรมชาติของจีน และมีความสำคัญอย่างยิ่งในลัทธิขงจื้อแนวใหม่ (Neo-Confucianism) ซึ่งพยายามสังเคราะห์ลัทธิขงจื้อ พุทธศาสนา และลัทธิเต๋าเข้าด้วยกัน คำว่า ฉี้ ตามตัวอักษรแปลว่า “ก๊าซ” หรือ “อีเทอร์” ในสมัยโบราณใช้คำนี้เพื่อแทนลมหายใจหรือพลังงานแห่งเอกภาพ ในร่างกายมนุษย์ “หนทางของขงจื้อ” เป็นรากฐานของการแพทย์จีนโบราณ การฝังเข็มก็มุ่งหมายเพื่อให้กระตุ้นให้ฉี้สามารถไหลผ่านบริเวณดังกล่าว การเลื่อนไหลของฉี้เป็นรากฐานแห่งการเคลื่อนไหวอย่างเลื่อนไหลต่อเนื่องของมวยไท้จินฉวน ลัทธิขงจื้อแนวใหม่ได้พัฒนาความคิดเรื่องฉี้ซึ่งคล้ายคลึงกันอย่างน่าสนใจกับความคิดเรื่องควอนตัมในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ เช่นเดียวกับวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ฉี้เป็นรูปของสสารซึ่งบางเบาและไม่อาจเห็นได้ ทว่าปรากฏทั่วไปในอวกาศ
    เมื่อฉี้รวบรวมกันเข้า มันก็เป็นสิ่งที่แลเห็นได้ชัดเจนเป็นรูปร่าง (ของแต่ละสิ่ง) แต่เมื่อมันกระจัดกระจายออกไป ก็ไม่อาจแลเห็นมันได้และรูปร่างของมันก็ไม่อาจปรากฏ เมื่อมันรวบรวมกันเข้า เราจะกล่าวเป็นอย่างอื่นนอกจากว่ามันเป็นสิ่งซึ่งปรากฏชั่วครั้งชั่วคราวได้หรือ แต่ในขณะซึ่งมันกระจัดกระจายกันออกไปเรานะรีบกล่าวในทันทีได้หรือว่ามันไม่มีอยู่
    ดังนั้นจึงรวบรวมเข้าและกระจัดกระจายออกสลับกันไป ก่อกำเนิดแก่รูปทั้งมวล ซึ่งในที่สุดก็มลายไปสู่ความว่าง จังไซกล่าวว่า
    ความว่างอันมหึมานั้นย่อมประกอบด้วยฉี้ ฉี้ย่อมรวบรวมหนาแน่นเข้าก่อตัวเป็นสรรพสิ่ง และสรรพสิ่งย่อมกระจัดกระจายออกเพื่อกลับสู่ความว่างอันมหึมา(อีกครั้ง)
    เช่นเดียวทฤษฎีสนามควอนตัม สนามหรือฉี้มิใช่เป็นเพียงแก่นแท้ซึ่งรองรับสรรพสิ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นพาหะแห่งปฏิกิริยาของสิ่งต่างๆ ในรูปของคลื่นคำอธิบายต่อไปนี้เกี่ยวกับความคิดเรื่องสนามของฟิสิกส์สมัยใหม่โดยวอลเตอร์ เฮอร์ริง และทัศนะของจีนต่อโลกของกายภาพโดยโจเซฟ นีคแฮม ได้แสดงให้เห็นความคล้ายคลึงกันอย่างมาก
    ทฤษฎีของวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ ได้นำความคิดของเราเกี่ยวกับแก่นแท้ของสสารวัตถุไปสู่ขอบเขตที่ต่างไปจากเดิม มันได้นำเราจากสิ่งที่เห็นได้คือ อนุภาค ไปสู่สิ่งที่รองรับมันอยู่คือ สนาม การปรากฏของวัตถุเป็นเพียงการรบกวนต่อสภาพที่สมบูรณ์ของสนาม ณ ที่แห่งนั้น เป็นสิ่งที่เกิดโดยไม่คาดฝัน เราอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเพียง “มลทิน” อันหนึ่งของสนาม และไม่มีกฏเกณฑ์ง่าย ๆ ที่อธิบายแรงกระทำระหว่างอนุภาคพื้นฐาน…ระเบียบและสมมาตรพึงหาได้จากสนามซึ่งรับมันอยู่
    จักรวาลทางกายภาพของชาวจีนในสมัยโบราณและสมัยกลางเป็นสภาพหนึ่งเดียวซึ่งมีความต่อเนื่องอย่างสมบูรณ์ การที่ฉี้หนาแน่นเข้าปรากฏเป็นสสารวัตถุประกอบด้วยอะตอมซึ่งไม่อาจแลเห็นได้ มิใช่สิ่งสำคัญพิเศษแต่อย่างใด แต่วัตถุแต่ละชิ้นกระทำและถูกกระทำกับวัตถุอื่นในโลก…ในลักษณะคล้ายคลื่นหรือการสั่นสะเทือน ขึ้นอยู่กับจังหวะการเปลี่ยนแปลงสลับไปมาในทุกระดับของแรงพื้นฐานสองประการหยินและหยัง วัตถุแต่ละชิ้นจึงมีจังหวะภายในตัวของมัน และจังหวะเหล่านี้ได้ถูกรวมกันเข้า…เป็นแบบแผนทั่วไปแห่งการบรรหารสอดคล้องของโลกพิภพ

    นำมาจากเต๋าแห่งฟิสิกส์ ของ ฟริตจอฟ คาปรา คุณวเนช แปล ฟิสิกส์ราชมงคลต้องขอขอบคุณมากครับ
     
  7. เจ้าโง่

    เจ้าโง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +181

แชร์หน้านี้

Loading...