เรื่องเด่น เมียนมา-มจรร่วมมือพัฒนาวิปัสสนากรรมฐานไทย

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 26 กันยายน 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    91777_th.jpg

    เมียนมา-มจรร่วมมือพัฒนาวิปัสสนากรรมฐานไทย มุ่งพัฒนานิสิตรับทั้งปริญญานอกและใน

    เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2560 พระสะยาดอ ภัททันตะวิโรจนะมหาเถระ สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานงุยเตาอู อ.ท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพเมียนมา และพระราชสิทธิมุนี วิ. ผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างสำนักวิปัสสนากรรมฐานงุยเตาอูกับสถาบันวิปัสสนาธุระ ในการพัฒนาวิปัสสนากรรมฐานไทย

    พร้อมกันนี้พระราชสิทธิมุนี ยังได้ตรวจเยี่ยมพระนิสิตในหลักสูตรวิปัสสนาภาวนา มจร ที่ปฎิบัติกรรมฐาน 3 เดือนและพระสังฆาธิการ พระภิกษุที่สมัครเข้าโครงการปฎิบัติกรรมฐาน 7 เดือน ของสถาบันวิปัสสนาธุระด้วย

    อย่างไรก็ตามในการทำบุญอายุวัฒนมงคล ครบรอบ 57 ปี ของพระราชปริยัติกวี ศ,ดร.รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร และทำบุญวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) พระมหาหรรษา ธัมมะหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา ได้จัดโครงการปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน ระหว่างวันพุธที่ 27 และ วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน ๒๕๖๐ ในการนี้พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธัมมะจิตโต) ศาสตราจารย์ ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ กรรมการเถรสมาคม อธิการบดี มจร. เจ้าคณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส จะเดินทางไปกล่าวสัมโมทนียกถาด้วย โดยมีนิสิตระดับปริญญาโทและเอกทั้ง 2 ส่วน รวมถึงประชาชนทั่วไปร่วมกิจกรรมดังกล่าว

    18403473_1316172298464117_4122894641974211738_n.jpg

    พระมหาหรรษา ระบุด้วยว่า ปริญญาทางโลกมักจะะมุ่งอย่างหนักในการประทับปริญญาเพื่อใช้ใบปริญญาเป็นใบเบิกทางไปหางานทำ เมื่อต่างคนต่างผลิตใบปริญญาที่ซ้ำซ้อนกันโดยไม่ได้คำนึงถึงจุดเด่น หรือสอดรับกับอัตลักษณ์ที่ตัวเองมีและเป็น ย่อมเป็นธรรมดาที่จะทำให้ล้นตลาดแรงงาน ยิ่งภาคการผลิต หรือผู้ใช้บัณฑิตไม่ได้ร่วมออกแบบหลักสูตรด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกว่า คนผลิตบัณฑิตไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ผลิตบัณฑิต ฉะนั้น จึงเห็นสมควรที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารวมถึงมหาวิทยาลัยต่างๆ จะต้องกลับมาพินิจพิจารณา เพื่อกำหนดทิศทางและนโยบายในการผลิตปริญญาเช่นนี้

    ในขณะเดียว ปริญญาที่สังคมต้องให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น คือ ปริญญาใบที่ 2 ซึ่งเป็นการเรียนเอาปริญญาไปเสริมงานที่ทำให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ไปสร้างมูลค่าเพิ่มในการทำงานมากยิ่งขึ้น และเสริมคนให้สามารถเรียนรู้ เข้าใจงาน และอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมงานอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น หลักสูตรแบบนี้ คือ หลักสูตรสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากระตุ้นมหาวิทยาลัยสงฆ์สร้างหลักสูตรเพื่อรองรับกลุ่มคนในสังคม เช่น พระพุทธศาสนา สันติศึกษา พุทธจิตวิทยา พุทธบริหารการศึกษา และสาขาสติกับสมาธิ

    ส่วนปริญญาสุดท้ายที่ถือว่า "สำคัญที่สุด" ซึ่งสถาบันการศึกษาทางโลกทั่วไปในสังคมไทยไม่ค่อยสนใจผลิต คือ ปริญญาเพื่อสร้างธรรม ผู้ที่ออกแบบหลักสูตร และเปิดโอกาสให้คนในสังคมมาเรียนหลักสูตรนี้ คือ พระพุทธเจ้า โดยสามารถแบ่งปริญญาดังนี้ ปริญญาตรี คือ ญาตปริญญา ปริญญาโท คือ ตีรณปริญญา ปริญญาเอกคือ ปหานปริญญา ทั้ง 3 ปริญญาเริ่มจากการกำหนดรู้รูปนาม การพิจารณารูปนาม และกำหนดละกิเลสที่อาศัยรูปนามเกิด ปริญญาแบบนี้เป็นการเรียนปริญญาใน เพื่อหางานข้างในมาทำ ไม่ใช่เรียนไปเพื่อหางานข้างนอกมาทำ ยิ่งเรียนยิ่งแคบ ยิ่งเรียนยิ่งลึก ยิ่งเรียนยิ่งจบ

    ขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/91777
     

แชร์หน้านี้

Loading...