เมื่อสูงอายุ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 19 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    เมื่อความชรา คือ ธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง
    เป็นขบวนการซึ่งมีความต่อเนื่องมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
    เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์มีอายุยืนยาวขึ้นนั้น
    หมายความว่า มนุษย์ผู้นั้นต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาตินั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้

    ความเปลี่ยนแปลงที่พบได้ในวัยชรานั้น พบได้หลายด้านอาทิ เช่น


    ๑. การเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพอนามัย

    ด้วยอวัยวะที่เสื่อมสลายประสิทธิภาพการทำงานย่อมลดลง
    ผู้สูงอายุจึงอาจมีโรคต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
    โรคเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุมาจากความเสื่อมเสียเป็นส่วนใหญ่
    ทั้งป้องกันได้และป้องกันไม่ได้ เช่น โรคสมองเสื่อม ข้อเสื่อม
    ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง
    แม้ไม่เป็นโรคประสิทธิภาพในการด้านอื่น ๆ อาจลดลง
    เช่น ขี้หลงขี้ลืม คิดช้า ความต้านทานโรคลดลง
    การย่อยอาหารลดลง ทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ


    ๒. การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ

    ผู้สูงอายุจะพบกับการสูญเสียในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
    ซึ่งล้วนแต่เป็นขบวนการทางธรรมชาติเกือบทั้งสิ้น
    เช่น การสูญเสียสมรรถภาพความแข็งแรงของร่างกาย
    สูญเสียคู่ครอง เพื่อนสนิท ญาติ ผู้ใกล้ชิด สูญเสียความเชื่อถือจากผู้อื่น
    จากการเกษียณอายุ ญาติมิตร คู่ครอง ลูกหลาน แยกครอบครัวไปอยู่ต่างหาก
    บางรายพึ่งตนไม่ได้ ภาวะต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องการปรับตัวอย่างมาก
    รายที่ไม่สามารถปรับตัวได้ดี จะเกิดโรคต่าง ๆ
    เช่น วิตกกังวล หวาดระแวง ซึมเศร้า เป็นต้น
    รายที่ปรับตัวได้พอสมควร อาจแสดงด้วย การจู้จี้ขี้บ่น อารมณ์แปรปรวนง่าย


    ๓. การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม

    การเกษียณอายุจากงานที่ทำประจำ ความแข็งแรงของร่างกายที่ลดลง
    ความเจ็บป่วยจากโรคทางกายและใจ ล้วนทำให้ผู้สูงอายุพึ่งตัวเองได้น้อยลง
    การสูญเสียคู่ครอง เพื่อนฝูงในวัยเดียวกัน ทำให้ต้องพึ่งอาศัยลูกหลานมากยิ่งขึ้น
    ในภาวะสังคมปัจจุบันซึ่งครอบครัวไทยจำนวนมาก
    ต่างแยกเป็นครอบครัวเดียวที่มีขนาดเล็กลง
    ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสถูกทอดทิ้งได้ง่าย


    ๔. การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ

    ความสามารถในการหารายได้ลดลง ทำให้ผู้สูงอายุต้องอาศัยเงินทอง
    หรือทรัพย์สินที่สะสมมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเพื่อการดำรงชีวิต
    ผู้ที่สะสมทรัพย์สินไว้น้อยหรือไม่ได้สะสม จึงจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น
    เช่น บุตรหลาน ญาติมิตร โอกาสจะประสพปัญหาจึงมีมาก

    การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ
    ซึ่งมนุษย์สามารถเรียนรู้และคาดการณ์ได้
    การเตรียมตัวเตรียมใจไว้เผชิญความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
    ต้องการเรียนรู้และศึกษาจากประสบการณ์ และแหล่งความรู้ต่าง ๆ
    จึงเป็นการเตรียมตัวเพื่อการเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ดีมีสุข


    ธรรมะกับผู้สูงอายุ

    ธรรมะรักษา คำว่า ธรรม ในที่นี้ ขอให้ความหมายตามความเห็น
    ของท่านพันเอกปิ่น มุทุกันต์ ว่าความถูก และความดี
    ใครก็ตามปฏิบัติตนถูกต้องและดีงามก็ถือว่า ผู้นั้นมีธรรมะหรือปฏิบัติตามธรรมะแล้ว
     
  2. TUK2800

    TUK2800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,161
    อนุโมทนาสาธุด้วยค่ะ....


    ;aa22 การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง
     
  3. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่นำสาระ ดี ๆ มาให้อ่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p



    _____________________________<O:p</O:p
    เชิญร่วมบริจาคหนังสือ เข้าห้องสมุดชุมชนวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=130823<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    http://palungjit.org/showthread.php?t=153325<O:p</O:p
     
  4. ฤดูใบไม้ผลิ

    ฤดูใบไม้ผลิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,036
    ค่าพลัง:
    +1,723
    นมัสการ หลวงพ่อค่ะ
     
  5. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    ควรตระหนักเมื่อใกล้วัยสูงอายุ

    หัดปลงอายุไว้เป็นประจำ จะได้ไม่เกิดการสะดุ้งกลัวต่อความตาย
    รีบปฏิบัติธรรม
    มีสาระและคุณธรรม
    มีสติ,สมาธิและรักษาศีล

    "...ปฏิบัติเช่นนี้จะเป็นคนสูงอายุที่น่าเคารพรักเป็นหลักให้ลูกหลานได้มีที่พึ่งทางใจ..."
     

แชร์หน้านี้

Loading...