เล่าขานตำนานสยาม ตอน ความเป็นมาการตักบาตรเทโว

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 26 ตุลาคม 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    เล่าขานตำนานสยาม ตอน ความเป็นมาการตักบาตรเทโว
    [​IMG]
    วันเทโวโรหณะ หมายถึง วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ในเวลาเช้าวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระองค์ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน ความสำคัญ วันเทโวโรหณะ เป็นวันที่มีการทำบุญตักบาตรที่พิเศษวันหนึ่ง กล่าวคือ ในพรรษาหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมโปรดพระมารดา และทรงจำพรรษาที่นั้น พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกนั้นมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั้น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย
    กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง 3 โลกนั้นเอง
    วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลก ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หลังออกพรรษาเราเรียกว่า ตักบาตรเทโว
    ตามประวัติกล่าวว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ หลังจากที่เสด็จไปเพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาในดาวดึงส์พิภพ ครั้นจวนถึงวันออกพรรษาเหล่ามหาชนผู้เฝ้าคอยรับเสด็จทราบจาก พระโมคคัลลานะเถระ เมื่อครั้งแสดงฤทธิ์เหาะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ดาวดึงส์พิภพว่าพระบรมศาสดาจะเสด็จสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมือง สังกัสสะนคร อันเป็นเมืองที่พระสารีบุตรเถระจำพรรษาอยู่ มหาชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันออกเดินทางไปสู่เมืองดังกล่าว ฝ่ายท้าวสักเทวราช (พระอินทร์) เมื่อทราบพุทธประสงค์ดังนั้น จึงนิรมิตบันไดทิพย์ทั้ง ๓ คือ บันไดแก้ว ให้อยู่ตรงกลาง สำหรับส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าลงจากดาวดึงส์ เบื้องขวาเป็นบันไดทองสำหรับท้าวสักกเทวราช และ เทพยดาทั้งหลาย เบื้องซ้ายเป็นบันไดเงินสำหรับหมู่พรหมทั้งหลายที่ตามส่งเสด็จ เชิงบันได้ทิพย์ทั้ง ๓ นี้ได้ทอดจาก ยอดเขาสิเนรุราช หรือ เขาพระสุเมรุอันเป็นที่ตั้งแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงสู่เมืองสังกัสสะนคร เมื่อได้เวลาเสด็จพระบรม ศาสดาทรงประทับยืนท่ามกลางหมู่เทพยดา พระอินทร์ และพรหมทั้งหลาย แล้วทรงทำ “โลกวิวรณปาฏิหาริย์” คือ “ทรงเปิดโลก” ทั้ง ๓ อันได้แก่ เทวโลก ยมโลก และมนุษย์โลก ให้มองเห็นถึงกันหมด ด้วยพุทธานุภาพ โดย ทอดพระเนตรไปในทิศต่าง ๆ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง ทั้ง ๑๐ ทิศ พร้อมกับเปล่งพระฉัพพรรณรังสี ๖ ประการ (รัศมีที่ออกมาจากพระวรกาย)
    ในเวลานั้น ทุกหนทุกแห่งสามารถมองทะลุเห็นกันได้โดยตลอด เหล่าเทพยดาในสวรรค์มองเห็นมนุษย์และสัตว์นรก มนุษย์มองเห็นเทพยดาและสัตว์นรก สัตว์นรกมองเห็นเทพยดาและมนุษย์ เมื่อทรงทำปาฏิหาริย์เปิดโลกแล้ว พระบรมศาสดาจึงเสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์สู่เมืองสังกัสสะนคร ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ และในการเสด็จลงจาก เทวโลกในวันนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเทวดาและมนุษย์ โดยตลอด เวลานั้นทรงตรัสถามปัญหาแก่ บุคคลตั้งแต่ภูมิชั้นต้น ชั้นต่ำ จนถึงภูมิชั้นสูง เมื่อทรงตั้งปัญหาถามในภูมิชั้นใด บุคคลผู้ได้ภูมิชั้นนั้นก็
    ตอบปัญหานั้นได้ แต่ก็ไม่อาจจะตอบปัญหาที่สูงกว่าภูมิของตนได้ ได้ตรัสถามเรื่อยมาจนถึงภูมิของพระอัครสาวกเบื้องขวาคือพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็ตอบได้ แต่เมื่อทรงได้ตั้งปัญหาถามในชั้นพุทธภูมิที่สูงกว่าภูมิของพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็ตอบไม่ได้ ที่ตอบไม่ได้นั้น ก็เพราะไม่ทราบพระพุทธอัธยาศัยว่า จะมีพุทธอัธยาศัยให้ตอบโดยนัยไหน
    ท่านยกตัวอย่างปัญหา ที่ถามในพุทธภูมิว่า “บุคคลผู้ที่มีธรรมะอันนับ คือพิจารณารู้ตลอดแล้ว (หมายถึงพระอเสขบุคคล คือพระอรหันต์) กับบุคคลผู้ที่ยังเป็นเสขะ (คือยังต้องศึกษา หมายถึง ท่านผู้บรรลุภูมิพระโสดาบันขึ้นมา จนถึงภูมิของพระอนาคามี) บุคคลสองจำพวกนี้มีความประพฤติเป็นอย่างไรปัญหานี้พระสารีบุตรไม่ทราบพระพุทธอัธยาศัยว่า มุ่งจะให้ตอบในนัยไหน แต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประทานนัย มุ่งจะให้ ตอบในนัยขันธ์ พระสารีบุตรก็เกิดปฏิภาณขึ้นจึงตอบได้ ในการตอบปัญหานั้นจำจะต้องรู้ นัย คือ ความประสงค์ของปัญหา หรือของผู้ถาม เมื่อตอบให้ถูกตามประสงค์ก็เป็นอันใช้ได้ ดั่งปัญหาธรรมะว่า
    คนดีคือคนอย่างไร ก็กว้างมาก ถ้าจะตอบ ยกเอาธรรมะในนวโกวาทมาก็ได้เกือบจะทุกข้อ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องพิจารณาให้รู้ความประสงค์ของผู้ถามหรือของปัญหา ว่า มุ่งจะให้ยกเอาธรรมข้อไหนขึ้นมาตอบ และเมื่อตอบให้ถูกความประสงค์ได้ก็เป็นอันใช้ได้ ตอบนิดเดียวก็ใช้ได้ แต่ถ้า ตอบผอดความประสงค์ยกเอาธรรมะมาตอบทั้งเล่มบางทีก็ไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเมื่อมาถึงปัญหาที่เป็นพุทธภูมิ พระสารีบุตรก็จำจะต้องได้นัย และเมื่อได้นัยแล้วก็ตอบได้ทางบันไดสวรรค์ที่ลงสู่ประตูเมืองสังกัสสะนคร ที่ตั้งอยู่เหนือกรุงสาวัตถี และสถานที่นั้นประชาชนถือว่าเป็น
    ศุภนิมิต จึึงสร้าง พระเจดีย์ขึ้นเป็น “พุทธบูชานุสาวรีย์” เรียกว่า “อจลเจดีย์”
    ในวันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์พิภพนั้น พุทธบริษัทจึงพร้อมใจกันใส่บาตรแด่พระพุทธองค์ พร้อมทั้งพระสงฆ์ทั้งหมดที่อยู่ ณ ที่นั้น ซึ่งพุทธบริษัทที่มาร่วมในพิธีดังกล่าว ก็ไม่ได้นัดหมายกันก่อนล่วงหน้า แต่ปรากฏว่าการใส่บาตร ในวันนั้นเนืองแน่นไปด้วยผู้คน ผู้คนเข้าไม่ถึงพระที่มารับบิณฑบาต ประชาชนจึงนำเอาข้าวสาลีของตนห่อ หรือทำเป็นปั้นๆ แล้วโยนเข้าไปถวายพระ ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยน ตลอดจนเป็นส่วนสำคัญของการตักบาตรเทโวโรหณะ และเป็นประเพณีสืบต่อมา เพื่อรักษาจารีตที่ปรากฏขึ้นในวันนั้น พุทธบริษัทในภายหลังจึงนิยมสืบ ๆ กันมา จนเป็นประเพณี ว่าถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ควรทำบุญตักบาตร ให้เหมือนครั้งดั้งเดิม ซึ่งเรียกกันว่า “ตักบาตรเทโวโรหณะ” จนทุกวันนี้
    สำหรับพิธีตักบาตรเทโวโรหณะที่นิยมกันทั่วไปในปัจจุบันนี้ นิยมจัดทำขึ้นในวัด และถือเป็นหน้าที่ของทางวัดนั้น ๆ และทายก ทายิการ่วมกันจัดการตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติสืบเนื่อง ต่อกันมาเป็นประเพณี จนถึงเมืองไทย จึงเรียกประเพณีนี้ ว่า การตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อให้สะดวกในการสื่อความหมายนิยมสั้นๆ ว่า การตักบาตรเทโว ด้วยเหตุนี้ วันเทโวโรหณะจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันตักบาตรเทโว ซึ่งคำว่า "เทโว" ย่อมาจาก "เทโวโรหณะ" แปลว่า การเสด็จจากเทวโลก การตักบาตรเทโวจึงเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลก ประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทย ก็มีพิธีเหมือนกันหมด จะผิดกันก็เพียงแต่สถานที่ ที่สมมติว่าเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เท่านั้น
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงแก้ววิหารหลวงพ่อโต-วัดกุฎีทอง-อยุธยา.553352/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...