เล่าสู่กันฟัง เพื่อรับคำแนะนำและแนวทางต่างๆ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย polyester, 19 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. polyester

    polyester Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +65
    เมื่อตอนเด็ก ผมมักจะชอบเรื่องการสวดมนต์ไหว้พระอยู่เสมอ และก็ชอบเรื่องมี

    ฤทธิ์มีเดชแบบเด็กๆ เริ่มต้นด้วยการหัดทำสมาธิให้จิตว่างแล้วก็เริ่มมีการ

    หลั่งไหลของความคิดรู้ความคิดของผู้อื่นผ่านทางดวงตา คำพูด และความคิด

    โดยการทำจิตให้ว่าง เพื่อเปิดรับ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อสมัยก่อนผมชอบอ่าน

    หนังสือแบบพวกโลกทิพย์ เพราะคุณแม่เป็นผู้ชอบทางธรรม ซึ่งในหนังสือมัก

    จะมีบทความที่สอนแนวทางสมาธิต่างๆ ก็ได้ลองปฏิบัติหัดทำมาเรื่อยๆ โดยไม่

    เจาะจงกองกรรมฐานกองไหน เมื่อเติบโตเข้าสู่วัยรุ่น ความดีก็เริ่มหดหาย สิ่งที่

    ได้มาก็เลือนหายไปบ้าง... โดยต่อมาเมื่อตระหนักถึงภัยแห่งวัฏฏะจึงหันกลับ

    มาปฏิบัติอีกครั้งแต่ก็ยังเป็นปุถุชนซึ่งยังมีรัก โลภ โกรธ เกลียดอยู่แต่ก็ยังทำ

    สมาธิบ่อยขึ้น กำหนดจิตบ่อยขึ้นตามจิตและลมหายใจมากขึ้น ซึ่งมาในขณะนี้

    จะสามารถรู้ได้โดยที่ไม่ต้องหลับตาหรือเข้าเป็นสมาธิ โดยมักจะเห็นภาพหรือรู้

    ได้ด้วยใจ รู้จากการสัมผัสเหมือนเห็นภาพ ซึ่งทุกวันนี้ก็ไม่ได้เจาะจงว่าจริตของ

    ตนเองนั้นอยู่ในกรรมฐานกองไหน(บอกว่าไม่รู้จะดีกว่าครับ)
     
  2. polyester

    polyester Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +65
    พร้อมรับคำแนะนำนะครับ พอดีหัวข้อคำว่า"เพื่อ" คือ"พร้อม" นะครับ พิมพ์ผิดแต่แก้ไม่เป็นครับ
     
  3. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ผมปฏิบัติทางฌานสมาบัติ โดยการเพ่งที่จุดมโนทวาร เพ่งโดยไม่กำหนดอะไร
    จุดมโนทวารอยู่ที่จุดดั้งจมูกหัก ระหว่างลูกนัยตาทั้งสองข้าง รายละเอียดในหัวข้อ "พุทธศาสนา สำหรับผู้เริ่มต้น - ฌานสมาบัติเป็นธรรมสูงสุดของพุทธศาสนา"
    สนใจก็ลองปฏิบัติได้ครับ ที่คุณปฏิบัติมาแล้วขอกล่าวอนุโมทนาด้วยครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  4. polyester

    polyester Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +65

    การเพ่งโดยไม่กำหนดอะไร หมายความว่าจับแต่ลมโดยกำหนดจุดมโนทวารถูกต้องหรือไม่ครับ แล้วคำภาวนาต้องใช้หรือไม่ครับ เพราะการกำหนดของผมบางที่จะกำหนดตามอิริยาบถ ว่ายกแขนกำมือหรืออะไรทำนองนี้ครับ เพื่อให้รู้ตัวตลอด ถ้าผมลืมหรือเผลอไป ถ้านึกได้ก็จะตามดูต่อครับ อย่างไรแล้วจะลองปฏิบัติดูครับ
     
  5. polyester

    polyester Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +65
    ขอขอบคุณท่านอินทรบุตรกับท่านธรรมชาตินะครับสำหรับคำแนะนำ :cool:
     
  6. polyester

    polyester Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +65
    ผมเองเห็นหลายท่านบอกว่าสามารถนั่งสมาธิได้นานเป็นชั่วโมงๆ แต่สำหรับผมเต็มที่ก็แค่ครึ่งชั่วโมง แต่ยังสงสัยว่าเมื่อเรามีสติอยู่กับตัวเสมอนั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร จากคำสอนที่เคยรับฟังมาคือเมื่อจิตรู้สึกตัวอยู่เสมอนั้นจิตเป็นฌาน แต่ก็อีกนั่นแหละครับบางท่านบอกว่าการหมุนฌานหรือที่ผมเข้าใจคือไล่ฌานตั้งแต่1-4 เลยก็เลยอดสงสัยไม่ได้ว่าถ้าเราฉลาดในฌานจริง ไม่น่าจะจำเป็นต้องไล่ฌาน เพราะมันน่าจะเป็นเหมือนกิจวัตรที่จะทำปุ๊บก็น่าจะได้ปั๊บ แต่ก็อีกแหละครับผมนั่งสมาธิได้ไม่นานจึงไม่รู้ว่าฌานเป็นอย่างไรได้แต่เคยอ่าน แต่ก็แปลกอยู่ครับคือเมื่ออยากรู้หรือกำหนดเพื่อระลึกถึงก็มักจะรู้สึกสัมผัสได้ในเวลาไม่นาน โดยหลับตาหรือไม่หลับตาก็ได้ จึงขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ในส่วนที่เป็นตัวอักษรสีนำ้เงินด้วยครับ
     
  7. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    ถ้าพูดถึงเรื่องฌานนะคับ จะขออธิบายแบบง่ายๆคับ

    ฌานที่ 1 เมื่อเริ่มคำบริกรรมคู่กับลมหายใจ จิตมีความนิ่งสงบ จนเกิดปีติ มีอาการขนรุก เป็นต้น ซึ่งปิติมีอยู่ 5 ลักษณะ จากนั้น จิตก็เกิดความสุขเกิดจากกายเบาจิตเบา เป็นต้น แล้วจิตนิ่งอยู่ในอารมณ์เดียวแม้มีเสียงมารบกวนจิตก็ไม่ได้หวั่นไหวตามแน่วแน่อยู๋อย่างนั้น

    ฌานที่ 2 คำบริกรรมที่เราบริกรรมคู่กับลมหายใจนั้นดับ คือ พอจิตนิ่งสงบอยู่อย่างนั้นคำบริกรรมจะละเอียดเข้าจนดับไป นึกบริกรรมก็นึกไม่ออก เหลือแต่ ความสงบ ปิติ สุข อยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่

    ฌานที่ 3 เมื่อคำบริกรรมดับแล้ว ลมหายใจจะละเอียดลงเรื่อยๆ จนแทบจะดับ ตอนนั้นกายจะละเอียดจิตก็ละเอียดสงบนิ่งมาก จะมีแต่ความสงบสุขกับลมหายใจที่ละเอียดแทบจะดับ อยู่ในอารมณ์เดียว

    ฌานที่ 4 ลมหายใจดับ พอลมหายใจละเอียดเบาเข้ามากๆลมหายใจในที่สุดก็ดับ คงเหลือแต่จิตดวงเดียวกับอุเบกขา คือ แน่วแน่มากไม่หวั่นไหว มีกายก็เหมือนไม่มี แค่รู้ว่า จิตยังอยู่ในกายอยู่แต่จิตไม่ไปรับรู้สุขและทุกข์ แต่แค่รู้ว่ากายยังมีอยู่ยังอยู่ในกาย จุดนี้เอง สุข และลมหายใจดับ เหลือแต่จิตที่เป็นกลาง ถ้าฌาน 4 ที่ยังไม่ละเอียด ก็ยังได้ยินเสียงอยู่ แต่ถ้าอยู่ในขั้นที่ละเอียดเข้าไป แม้เสียงก็ดับ ส่วนฌานที่ 5 ขึ้นไป จิตไม่รับรู้กายแล้ว แม้เอาไฟมาเผาก้ไม่รู้สึก ส่วนการถอดจิตหรือกายทิพย์นั้น อยู่อยู่ระหว่าง ฌานที่ 4 กับ ฌานที่ 5 คือเมื่อออกจาก ฌาน 4 แล้วไม่เข้า ฌาน 5 จะเป็นการถอดจิต หรือกายทิพย์ นะคับ

    สมาธิเป็นไปได้หลายอย่างบางคนนั่งไป แล้วรู้สึกตัวโตขึ้น บางคนรู้สึกตัวเล็กลง บางคนรู้สึกตัวโน้มไปข้างหน้า บางคนรู้สึกตัวสั่น บางคนนั่งหันหน้าแต่รู้สึกว่ากลายเป็นหันหลัง บางคนเหมือนตัวลอยขึ้น บางคนเหมือนตัวจมลงไปข้างล่าง บางคนนั่งแล้วไม่เกิดอะไร บางคนรู้สึกขนรุก บางคนรู้สึกอิ่มกายอิ่มใจ บางคนน้ำตาไหล บางคนรู้สึกเหมือนอะไรมาไต่

    ทั้งหมด เป็นอาการของสมาธิ เป็นอาการของปีติ แต่ก็อย่าไปสงสัยเลยนะครับเพราะเป็นเรื่องธรรมดาของคนทำสมาธิ ที่ต้องได้เจอไม่อย่างใดก้อย่างหนึ่ง ถ้าหากว่าเราเจอหลายๆอย่างเราก้จะยิ่งมีความสงสัยมาก ซึ่งไม่ค่อยดีนัก

    สิ่งที่ต้องทำคือเมื่อเกิดอาการใดเกิดขึ้นก็ให้เห็นเป็นเพียง สักแต่ว่า สภาวะที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยแล้วในที่สุดก็จะดับไปตามเหตุปัจจัยเอง ไม่มีอะไรเป็นของเราแม้แต่สมาธิและปัญญาก็เป็นเพียงเครื่องอาศัยให้เราได้พ้นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของใคร เมื่อมีเหตุให้เกิดขึ้น สิ่งนั้นๆก็เกิดขึ้น เมื่อหมดเหตุสิ่งนั้นๆก็ดับไป

    ในขณะนั้นไม่ควรกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นจะทำให้จิต ไม่นิ่ง จะเกิดอาการอย่างไรก็ตาม ขอให้จิตนิ่งไว้ การทำสมาธิก็เพื่อให้ จิตสงบนิ่ง ส่วนจะเกิดญาณอะไรนั้นก็ถือเป็นกำไรที่เกิดจากการทำสมาธิ

    ยิ่งถ้าอยู่ในสาธิที่ละเอียดแล้ว แค่เกิดสงสัยหรือกังวล จิตก็ถอนขึ้นมาแล้วนะครับ ถ้า จิตยิ่งนิ่งจิตก็ยิ่งสงบ ส่วนจะบริกรรมอะไรนั้นก็แล้วแต่ถนัดนะครับ ทีสำคัญพยายามให้จิตนิ่งไม่ส่ายไปส่ายมา เดี๋ยวก็จะเกิดสมาธิเอง อาจได้เจอของเก่าด้วยถ้ามี และที่สำคัญเวลาออกจากสมาธิก็ให้ทรงอาการนั้นด้วย

    ซึ่งเป็นการฝึกให้จิตเคยชิน จิตจะได้สงบง่ายขึ้นด้วยครับ
    พยายามต่อไปนะครับ ดีแล้วครับสู้ๆ คนในโลกนี้มีเป็นพันล้าน แต่จะมีสักกี่คน ที่รู้จักให้ทาน รู้จักรักษาศีล รู้จักทำสมาธิภาวนา ขอ อนุโมทนาด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2014
  8. นายกสิณ

    นายกสิณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2011
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +251
    ฌาน 1 - ฌาน 4 อธิบายตามหนังสือ ผิด ไม่ตรงกับการปฏิบัติที่เกิดตามความเป็นจริง
    ฌาน 1 ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ที่คุณเขียนเรื่อง ฌาน ทั้งหมด ในส่วนตัวของผมเรียกว่า ฌานกระจอก.....ต้องขอโทษด้วยที่ต้องใช้คำนี้
     
  9. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    ขอเหตุผลด้วยนะคับ แล้วฌานของท่านเป็นอย่างไรคับ ไม่ต้องห่วงคับผมไม่ถือโทษใครๆในโลกนี้ รับฟังได้หมดคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2013
  10. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    ฌาน 4 โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    อารมณ์ฌานนี่ก็ไม่มีอะไร ความจริงมันของง่าย ๆ พูดให้มันยาก "การตั้งใจไว้โดยเฉพาะ" นั่นคือ ฌาน ฌาน คือ การทรงอารมณ์อยู่ การทรงอารมณ์อยู่เรียกว่า การเพ่ง คือ
    การตั้งใจไว้ นี่มัน ฌานเล็ก คือ ปฐมฌาน ถ้าถึงทุติยฌานแล้ว จะตั้งใจว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ
    อะไรก็ตาม มันหยุดภาวนา คือ ภาวนาไป ๆ มัน หายไปเองเฉย ๆ อีตัวหายไปเฉย ๆ นี่เขาเรียกว่า
    ตัด วิตกวิจาร ปฐมฌาน มี วิตกวิจาร วิตก คือ ตัวนึก วิจาร ว่า ใคร่ครวญ เรานึกว่า จะภาวนาพุทโธ
    และขณะภาวนาก็ใคร่ครวญว่า เอ๊ะ นี่เราว่า ครบไหม เราว่า พุทโธนี่ เราว่าอยู่หรือเปล่า แล้วจะครบไหม
    ไอ้นี่เป็น วิจาร พอถึง ทุติยฌาน วิตก หริอ วิจาร หยุดไป ไม่ใช่เราเลิก ต้องให้เลิกเอง เมื่อวิตกวิจารเราเลิก คำภาวนาก็หายไป เพราะว่า คำภาวนา มันเป็นวิตกวิจาร วิตกวิจารหายไป แต่จิต มันเป็นสมาธิดีขึ้น มีความชุ่มชื่น ทรงตัวดีกว่า แต่ว่าถึงฌาน 2 ใหม่นี่นะ พอจิตมันตกกลับไปถึง ปฐมฌาน มีอารมณ์นึกขึ้นมาว่า อ้าว ตาย จริงนี่ ลืมภาวนาเสียแล้ว จับต้นชนปลายไม่ถูก เอ๊ะ นี่ เราไม่ได้ภาวนา เสียแล้วนี่ เสร็จ! ไปเจอะเอาเพชรเข้านึกว่า ราคาถูกกว่าขี้เสียแล้ว
    ทีนี้พอถึงฌานที่ 3 ความชุ่มชื่นหายไป มีอาการคล้าย ๆ กับตัวตึงเป๋ง ความจริงตัวมันปกติ แต่จิตมันตั้ง มั่นมาก มีอาการทรงตัวเป๋ง หูได้ยินเสียงภายนอกน้อย ลมหายใจเบา อารมณ์มันทรงสบาย ใครจะกระโดด โลดเต้นไงก็ตาม ไอ้ตัวนี้ไม่รำคาญ เรานอนอยู่เขากระโดดตึง ๆ ไอ้ตัวนี้เฉย มันรู้ว่า เขาโดดแต่ได้ยินเสียงไม่ชัด
    ทีนี้พอถึงฌานที่ 4 กายกับใจมันแยกเด็ดขาด ความจริงกายกับใจมัน เริ่มแยกกันตั้งแต่ฌานที่ 1 แล้วคือ ตามปกติ เราได้ยินเสียงรบกวนนี่ เรารำคาญ ทีนี้ในฌานที่ 1 ได้ ยินเสียงไม่รำคาญ แสดงว่า จิตมันเริ่ม แยกจากกายนิดหน่อย พอฌานที่ 2 ตัดวิตกวิจาร มีความชุ่มชื่น มีการทรงตัว มากขึ้น ก็แยกกันไกลออกไปนิดหนึ่ง แต่ก็ยังอยู่ในตัว ยังรับรู้เรื่องของประสาท ฌานที่ 3 มีอาการทรงตัวมากขึ้น แต่ยังรับอาการของประสาทเบาๆ พอฌานที่ 4 จิตมันแยกกับกายเลย ไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาททั้งหมด ยุงกินริ้นกัดไม่รู้หรอก เสียงดังโครมคราม แม้แต่เสียงปืนใหญ่ เสียงระเบิดลงใกล้ ๆ มันก็ไม่ได้ยิน ถ้าหากเป็นฌาน 4 ละเอียดนะ เมื่อจิตมันแยกกับกายเด็ดขาด ท่านจึงถือว่า ฌาน 4 เป็นฌานสำคัญ เวลาที่เราจะถอดตัวข้างใน ออกไปเที่ยวข้างนอกก็ต้องเข้าถึงฌาน 4 เวลาพระพุทธเจ้านิพพานก็ฌาน 4 พระอรหันต์ ถ้าท่านทรงตั้งแต่ฌาน 4 ขึ้นไป ท่านก็ต้องถอยกลับมาออกตรงฌาน 4 นี่แหละ ออกตรงอื่นไม่ได้ เว้นแต่ท่านที่ได้ไม่ถึงฌาน 4 ก็ไปตามกำลังของฌาน


    ที่มา แดนธรรมะ : ธรรมะออกจากใจ: ฌาน - เทวดา - พรหม โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
     
  11. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    ไม่รู้นะคับใครเป็นยังงัย ส่วนตัวผมเคยถอดจิตแบบนี้ถอดแบบขาดจากกายโดยไม่รับรู้ร่างกาย แล้วดูอาการที่มันถอดด้วย แล้วก็ไม่เหมือนเดิมด้วยแต่ละครั้ง แต่ไม่ได้ชำนาญนะได้เป็นบางครั้ง เรื่องฌานผมก็รวบรวมข้อมูลบวกกับที่ผมเคยปฏิบัติมา ตอนอายุ 14 ปี เคยนั่งสวดมนต์มีไมโครโฟน
    3 ตัวดังมาก มีคนร่วมสวดด้วยกัน 30 กว่าคน จิตสงบเข้าสมาธิ ตอนเข้าไม่รู้ว่าถึงระดับไหน แต่ตอนถอน ถอนออกมาถึง 8 ขั้น กว่าจะกลับเข้ามารับรู้ เสียง ลมหายใจ และร่างกาย ต้องถอนออกมาหลายขั้น สมัยตอนบวชเป็นสามเณรพรรษาแรก อายุ14ปี และอาการที่เข้าฌานแต่ละขั้นก็ไม่ต่างจากที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านกล่าวไว้ แต่ตอนนี้เน้นทางด้านปัญญา สมาธิเป็นส่วนน้อย แต่ยังงัยก็รักษาจิตและอารมณ์ของจิตดีๆนะคับผู้ที่ฝึกกสิณอารมณ์จะแรง ผมก็เคยฝึกกสิณมาบ้างแค่พอรู้บางส่วนแต่ไม่มาก เรื่องอิทธิฤทธิ์นั้นไม่ใช่จะเกิดได้เฉพาะผู้ที่ฝึกกสิณ เพราะฌาน 4 เป็นฐานของฤทธิ์ฐานของอภิญญา เรื่องบางอย่างไม่ต้องถึงฌาน 4 ก็ทำได้ แต่พูดไปๆ ก็เป็นเรื่องอดีตที่เคยผานมา

    หลังๆมาไม่ค่อยได้ทำสมาธิแค่พยายามทรงอารมณ์เมตตาตลอด เดินแต่ปัญญาถึง 80% สมาะธิแค่ 10% แต่ตอนนี้เรื่องปัญญามันก็เบาลงแล้ว แล้วช่วงนี้ก็อยู่ในเพศฆราวาสด้วยทำไรไม่ได้เต็มที่ เดี๋ยวให้กลับไปบวชอีกก่อน กลับไปคราวนี้บวชตลอดชีวิตแน่นอน แล้วมันจะกลับกัน เป็นว่า สมาธิ 80%-90% ปัญญา 10%-20% คงจะเกิดอะไรบ้าง เพราะสมาธิเพียง 20% ยังได้รู้อะไรหลายอย่าง

    ตอนนี้ไม่อยากจะคุยหรือพูดอะไรในเรื่องอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์คับ เพราะที่ได้เคยเจอมันเล็กๆน้อยๆ ต้องแบบเหาะได้ เดินบนน้ำได้ หายตัวได้ เสกอะไรก็ได้ รู้วาระจิตความคิดของคนและสัตว์ได้ แบบทั่วถึง รู้อดีตอนาคตได้ มองเห็นกายทิพย์ได้อย่างไม่ต้องกำหนด มีหูทิพย์ ระลึกชาติทั้งของตนเองและคนอืนได้ ถอดกายทิพย์หรือถอดจิตได้ตามต้องการ เป็นตน นี้ถึงเรียกว่าได้ อภิญญากันจริงๆ

    ส่วนที่ผมเคยเจอในอดีตซึ่งตอนนี้คงไม่มีแล้วเพราะเดินแต่ปัญญา ที่เคยเจอคือ มองเห็นใจคนอื่น รู้ความคิดคนอื่นเป็นบางครั้ง เห็นพวกกายทิพย์ ถอดจิตได้บางครั้ง ได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ รู็อนาคตนนิดหน่อย ระลึกชาตินิดหน่อย เคยเพ่งรถหยุดเพราะเครื่องดับ เคยจิตรวมถึงขนาดคนที่นอนอยู่ในศาลาตื่น เพราะเสียงไม้เหมือนแตกหักและศาลาทั้งหลังโยกหรือยุบลงสั่นสะเทือนแล้วเขาก็ตื่นขึ้นมาถามว่า มะกี้นี้ได้ยินเสียงและศาลายุบสั่นไหวมั้ย เคยอธิฐานจิต เพื่อให้เกิดแสงสว่างสีทองรอบศรีษะแล้วคนเห็นด้วยตาเปล่าเพราะเหตุที่เขาปรามาส มีพระถอดจิตมาหาก็เคยเห็น เคยเห็นกายทิพย์มากราบก็มี คนที่เป็นใหญ่ถอดจิตมากราบตอนเป็นสามเณรก็มี พระยานาค มาหาก็เคย(ไม่ขอบอกนามท่าน) เยอะแยะคับ

    สิ่งเหล่านี้เป็นของน้อยมาก เทียบกับครูบาอาจารย์ที่ท่านได้ แต่มันก็เป็นเพียงของไม่เทียง ไม่ใช่ตัวตน แล้วมันก็เป็นอดีตไปแล้ว และผมก็ไม่ค่อยไปใส่ใจเท่าไรเน้นเรื่องปัญญาก่อน ทำความเห็นให้ตรงก่อน เมื่อปัญญาได้ที่ หรือมันพิจารณาจนเรื่องที่สงสัยต่างๆเบาลง สมาธิค่อยเน้นหนักที่หลังเพราะไม่มีอะไร รกสมอง หรือรกจิตใจเหมือนแต่ก่อนแล้ว จิตก็คงเข้าแต่สมาธิแล้วหาทางหาวิธิให้เกิดอภิญญาต่างๆ เพื่อเป็นกำลังเสริมในการทำประโยชน์แก่เพื่อนร่วมทุกข์ต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2013
  12. polyester

    polyester Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +65
    มันกระจอกยังไหรือครับ รบกวนขยายความหน่อย แล้วที่จริงแล้วมันเป็นอย่างไร
     
  13. polyester

    polyester Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +65
    น่าสนใจนะครับ ขอบคุณที่มีแนะแนวครับ
     
  14. polyester

    polyester Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +65
    หากเราจะรู้ว่าตนเองนั้นอยู่ในฌาณไหน จะสามารถรู้ได้โดยอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับฌานใช่หรือไม่ครับ มีหรือไม่ที่ความรู้สึกที่เกิดกับจิตนั้นไม่เป็นไปตามตำรา
     
  15. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    เพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เมื่อตถาคตปรินิพพานไป เธอจงเอาพระธรรม และวินัย เป็นองค์แทน ศาสดา คือเอา พระธรรมวินัย เป็นองค์แทน พระพุทธเจ้า

    ตำรานั้นมีไว้ให้เราศึกษาและเทียบเคียง หรือเป็นหลักเป็นแนวทางให้เราได้ใช้อิงในการปฏิบัติครับ จะให้ตรงกับตำราทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ เพราะทางปฏิบัติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่อาการพอเทียบเคียงได้

    อย่างบางครั้งถ้าเราจิตรวมโดยเร็ว ใช้เวลาทำสมาธิไม่ถึง 5 นาที จิตรวมทีเดียวถึงฌาน 4 เลย อย่างนี้ เราจะมาไล่อารมณ์ไปทีละขั้นว่า ฌาน 1 2 3 เป็นอย่างไรนั้นคงยาก จึงได้แต่เทียบเคียงเอา อย่างฌาน 2 นั้นถ้าเราบริกรรมไม่ว่าจะบริกรรรมคำอะไร เมื่อจิตถึงฌาน 2 คำบริกรรมจะดับทันที ต่อให้นึกอย่างไรก็นึกไม่ออกเพราะมันละเอียดเกินที่จะนึกคำบริกรรมให้ออกมาเป็นภาษาได้ จิตจึงได้แต่นิ่งอยู่ และรู้อยู่แต่กับลมหายใจที่ละเอียด พูดง่ายๆคือ จิตมันเริ่มละการรับรู้ เริ่มจากการละการรับรู้ วิตก วิจาร คือ คำบริกรรมนั้นๆ ต่อมาก็จะละการรับรู้ ปิติ แล้วก็ละการรับรู้ความสุข ละการรับรู้ลมหายใจ แล้วก็มาละการรับรู้ เสียง จนกระทั้งละการรับรู้ร่างกายทั้งหมด
    แต่ว่า เพียงจิตละการรับรู้ ลมหายใจ ก็ถือว่าถึงฌาน 4 แล้ว ถ้าฌาน 4 ที่ละเอียด เสียงก็จะดับไปด้วย

    ฌานนั้นนะคับ แต่ละท่านคงน่าจะเข้าใจอยู่แล้วว่า ทำให้เกิดอภิญญาได้ก็จริง แต่ไม่ได้ทำให้ละกิเลสได้ เป็นเหมือนกับ หินทับบนหญ้า พอยกหินออกหญ้าก็ขึ้นใหม่อีก หนักกว่านั้นถ้าหลงว่า วิเศษ จนเกิดหลงตนเองว่าตนวิเศษ อาจจะเกิดความเห็นสุดโต่ง ยากจะละได้ ฤทธิ์นั้น เป็นของเล่นพระอริยเจ้า ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ทางอันประเสริฐสุด คือ อริยสัจ 4

    เรื่องลึกลับมีมากมาย เราก็คงรู้กันอยู่แล้วว่า สิ่งที่เรายังไม่รู้นั้นยังมีอีกมากมาย ธรรมที่พระองค์นำมาตรัสสอนนั้นเหมือนใบไม้ในกำมือ ที่ทรงรู้แต่ไม่ได้เอามาสอนนั้นมีมากมายเหมือนใบไม้ในป่า ทรงเอาแต่สิ่นที่เป็นประโยชน์นำมาสอนเรา

    ถ้าหากเราปฏิบัติธรรมแล้ว ไม่ว่าจะแนวทางไหนก็ตาม ถ้าทำให้จิตใจเรา ดีขึ้น กิเลสเบาบางลง ความยึดมั่นถือมั่นลดลง เป็นต้นนั้น ก็ถือว่า เราได้ทั้งกำลังจิต และการขัดเกลาจิต แสดงว่ามาถูกทางแล้ว

    แต่ถ้าหากเราปฏิบัติแล้ว จิตใจเรา มีกิเลสเพิ่มขึ้น หรือกิเลสไม่ได้ลดลง ความยึดมั่นถือมั่นเพิ่มขึ้น หรือไม่ได้ลดลง เราก็ควรพิจารณา ควรหันกลับไปพิจารณาแน้วทางของเราดูว่า เรามาถูกทางมั้ย มันขาดอะไรไปมั้ย ถ้าหากถูกทางแล้ว ควรเพิ่มอะไรเข้าไปบ้าง เป็นต้น เพื่อให้จิตเรา มีแต่ส่วนได้ไม่มีส่วนเสีย ถ้าได้อีกอย่างกลับเสียอีกอย่าง มันคงไม่ค่อยดีนัก หรืออาจจะไม่คุ้มกันเลยก็ได้

    พระพุทธเจ้าจึงทรงห้ามไม่ให้พระภิกษุแสดงฤทธิ์ ถ้าพระภิกษุแสดงฤทธิ์ต้องอาบัติทุกกฏ

    มองอีกมุมนึงถ้าหากคนทั้งหลายคิดว่าพระอรหันต์ ต้องเป็นผู้มีฤทธิ์เท่านั้น ถ้าพระอริยเจ้า ที่เป็นแบบสุกขวิปัสโก บรรลุด้วยวิปัสสนา แต่ไม่ได้ ฤทธิ์ กับอีกคน ที่มี ฤทธิ์ แต่มีกิเลสเต็มหัวใจ ก็จะทำให้เกิดเห็นผิดเป็นถูก เห็นพระอรหันต์เป็นปุถุชน เห็นปุถุชนเป็นพระอรหันต์ได้ มันก็น่าคิดนะคับ
    แต่ถ้าได้ฤทธิ์แล้วไม่หลงยึดติด นำฤทธิ์ไปใช้ประโยชน์ ในทางที่ดีเป็นประโยชน์เพื่อผู้อื่นนั้นก็ถือว่าดีมากคับ

     
  16. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    เวลาผมทำ ทำได้ทุกอริยาบถครับ เพียงแค่หลับตา แล้วก็เข้า ญาณที่4 เลย
    แต่ตอนฝึกใหม่ๆ ต้องเริ่มจากท่านังครับ แล้วก็ตั้องเข้าตาม 1ถึง 4 จนชำนาญครับ ฝึกประมาณ 10 กว่าปีครับ ตอนที่ฝึกโคตรยากส์
    แต่พอฝึกชำนาญแล้ว ก็ฝึกกสินต่อครับ ยากส์พอกัน แต่ฝึกกสิณสนุกกว่า แต่ไม่ค่อยสุขหรือสงบ เพราะใจโลดแล่นกระโจนทะยานไปเรื่อย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...