เรื่องเด่น แทนคุณพ่อแม่!นำปฏิบัติวิปัสสนานานาชาติ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 4 ธันวาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    แทนคุณพ่อแม่!นำปฏิบัติวิปัสสนานานาชาติ

    ร่วมกับนิสิตวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและสันติศึกษา “มจร” ได้รับเมตตาจาก ดร.สยาดอภัททันตะวิโรจนะฯ สำนักวิปัสสนาวัดงุยเตาอูกัมมัฏฐาน ท่าขี้เหล็ก สหภาพเมียนมาร์ เป็นประธานนำฝึกปฏิบัติ ระหว่าง 1-15 ธ.ค.2560 ที่โคราช

    e0b89ee0b988e0b8ade0b981e0b8a1e0b988e0b899e0b8b3e0b89be0b88fe0b8b4e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a7.jpg

    b89ee0b988e0b8ade0b981e0b8a1e0b988e0b899e0b8b3e0b89be0b88fe0b8b4e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a7-1.jpg

    b89ee0b988e0b8ade0b981e0b8a1e0b988e0b899e0b8b3e0b89be0b88fe0b8b4e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a7-2.jpg

    b89ee0b988e0b8ade0b981e0b8a1e0b988e0b899e0b8b3e0b89be0b88fe0b8b4e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a7-3.jpg

    ระหว่างวันที่ 1-15 ธ.ค. 2560 วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติร่วมกับหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ภายใต้การนำของพระหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและผู้อำนวยการหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา มจร โครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนานาชาติถวายเป็นพระราชกุศล ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยมีนิสิตทั้งพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณรี แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งชาวไทยและต่างประเทศเข้าร่วมประมาณ 130 รูป/คน ซึ่งเป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัย

    พร้อมกันนี้พระหรรษาได้นำพ่อแม่เข้าร่วมปฏิบัติธรรมด้วย ถือได้ว่าได้ทำหน้าที่ของบุตรที่ดีโดยการน้อมบูชาพระอรหันต์ในบ้านด้วยการมอบอริยทรัพย์อันเป็นทรัพย์ภายในให้ท่านทั้งสองได้ใกล้ชิดพระรัตนตรัย

    โครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนานาชาติถวายเป็นพระราชกุศลดังกล่าวได้รับความเมตตาจาก ดร.สยาดอภัททันตะวิโรจนะ มหาคันถวาจกบัณฑิต มหากัมมัฏฐานาจริยะ สำนักวิปัสสนาวัดงุยเตาอูกัมมัฏฐาน ท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ เป็นประธานนำฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและแสดงธรรมแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ดังนั้น ผู้สนใจร่วมสนับสนุนโครงการนี้สามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมปฏิบัติหรือร่วมสนับสนุนอาหาร-น้ำปานะผู้ปฏิบัติธรรมได้ที่ พระมหาดนัย โทร.063-5615326

    โครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนานาชาติถวายเป็นพระราชกุศลดังกล่าว เป็นการกระตุ้นให้นิสิตได้เดินทางออกจากการเรียนรู้ในห้องเรียน ไปสู่การเรียนรู้จากขันธ์ 5 คือ รูปกับนาม เป็นการนำเอาปริยัติที่ได้เรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติ โดยการนำคำสอนของพระพุทธเจ้าไปพิสูจน์ทราบด้วยรูปนามของตัวเอง จุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนามาจากรูปกับนาม เข้าใจรูปนามได้ก็เข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างเจนจบ

    ความจริง : ครูจริง ประสบการณ์จริง รู้จริง ปฏิบัติจริง เห็นจริง

    พระพุทธเจ้าทรงย้ำกับพระสารีบุตรว่า “กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์” ดร.สยาดอภัททันตะวิโรจนะ คือ กัลยาณมิตรผู้มีอิทธิพลสำคัญที่จะกระตุ้นให้มวลศิษย์ทั้งหลายได้เดินตามทางมรรค 8 และย้ำเตือนให้ผู้ปฏิบัติได้ใช้ “สติปัฏฐาน 4” มาเป็นฐานในการพัฒนาขันธ์ 5 หรือรูปนาม เพื่อให้สามารถเข้าถึงความจริงสูงสุดตามเส้นทางของโสฬสญาณ หรือญาณ 16 ประสบการณ์ของการปฏิบัติ การให้อารมณ์กรรมฐาน และการสอบอารมณ์กรรมฐาน จึงเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะนำนักปฏิบัติไปสู่การค้นพบสันติในเรือนใจ

    สติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ถือว่าเป็นพระสูตรที่สูงสุดในพระพุทธศาสนา ว่าด้วยการเจริญกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอันเป็นการเจริญภาวนาที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างถูกทาง สามารถยกระดับจิตวิญญาณ เปล่งวาจาว่า ที่นี่ไม่วุ่นวายหนอ ที่นี่ไม่ขัดข้องหนอด้วยการเข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนาด้วยเสียงสันติภาพ ซึ่งการเข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง คือ ” การบริหารจิตเจริญปัญญาของตนเอง” ด้วยคำว่า “สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์” ถือว่าเป็นการศึกษาแบบให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ผ่านการฝึกปฏิบัติหรือเรียกว่า “Learning by Doing” เพราะถ้าเราอยากอยู่ใกล้พระพุทธเจ้า หนทางเดียวก็คือ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยเฉพาะวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฎฐาน ๔ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเราตถาคต”

    สุดยอดของศิลปะก็คือ “ศิลปะในการดำเนินชีวิตให้มีความสุขท่ามกลางเวลาแห่งความทุกข์” บุคคลสำคัญที่เป็นต้นแบบ คือ พระพุทธเจ้า แม้จะมีคนมาด่าพระองค์ เป็นคำด่าแบบชุดๆ ด่าว่า “เป็นผู้ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด : เป็นผู้ไม่มีสัมมาคารวะ : เป็นผู้จอมล้างจอมผลาญ” และอีกมากมายจนพระอานนท์ต้องร้องไห้ พระองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า “..เราตถาคตเกิดมาในโลก เสมือนช้างศึกหยั่งลงสู่สงคราม ช้างศึกที่หยั่งลงสู่สงครามนั้น ต้องพร้อมที่จะยอมรับ หอก ดาบ แหลม หลาว และลูกศร ซึ่งแล่นมาจากจตุรทิศ โดยที่ไม่หวาดกลัวแต่อย่างไร ช้างศึกไม่รู้สึกหวาดกลัวต่ออาวุธสงครามฉันใด เราตถาคตเกิดมาในโลกก็ไม่หวั่นต่อคำคนฉันนั้น..”

    ฉะนั้น”เหตุเกิดที่ใดก็ดับที่นั่น” ดับที่จิตใจของเรา รักษาลมหายใจของตนเองให้เย็นอยู่ตลอดทุกลมหายใจเข้า หายใจออก นั่นคือวิธีการที่สุดยอดที่สุด จึงสรุปด้วยคำว่า ” ถ้าเราหมั่นรักษาจิต จิตก็จะรักษาเราเช่นกัน” ดังนั้น วิธีการที่เราจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ดีที่สุดคือ”วิชากรรมฐาน” เพราะเป็นวิชาที่ทำให้เรารู้จักตนเองได้ดีที่สุดในโลก อ่านหนังสือออกสำคัญ แต่อ่านตนเองออกสำคัญที่สุด เพราะถ้าเรารู้จักตนเอง เราจะรู้จักคนทั้งโลก

    พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ซึ่งเข้าร่วมโครงการด้วยเปิดเผยว่า ครั้งแรกในชีวิตที่มีโอกาสปฏิบัติและฟังแนวทางการปฏิบัติตามสติปัฏฐานอย่างแจ่มชัด โดยดร.สยาดอภัททันตะวิโรจนะ จึงเห็นมิติของสติปัฏฐานอย่างชัดแจ้งมาก เพราะที่ผ่านมาศึกษาแต่ปริยัติพอนำไปปฏิบัติก็ยังไม่ชัดเจน แต่ในเวลาสั้น ๆ มีโอกาสได้ฟังสติปัฏฐานจากครูผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

    ตลอดชีวิตที่ผ่านชีวิตของมนุษย์เราสนใจใส่ใจแต่งานนอกเพื่อเลี้ยงกายให้กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด แต่งานนอกทำมาตลอดชีวิตก็ยังไม่พบความสุขที่แท้จริง แม้แต่ร่างกายดับขันธ์ไปก็ไม่สามารถอะไรติดตัวไปได้เลย จึงต้องตระหนักว่า เราเสียมากเพื่อดูแลกายแต่เราลืมกลับมาดูแลจิตใจของตนเอง ซึ่งเป็นงานในของเรา ซึ่งคนในโลกปัจจุบันนี้ ” ฉลาดแต่ขาดความสงบ ” หนทางในการกลับมาดูตนเองที่ดีที่สุด คือ การเดินตามสติปัฏฐาน 4 ซึ่งประกอบด้วย

    1) “ดูกาย” หมายถึง การจัดระบบร่างกายของตนเอง กายนี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่เที่ยงแท้แน่นอน สักวันกายนี้ก็ย่อยสลายลงตามกาลเวลาจงนำกายนี้สร้างบารมีให้กับตนเองเถิด

    2) “ดูจิต” หมายถึง การดูจิตของตนเอง เพราะจิตใจเป็นใหญ่เป็นประธาน ปัญหาในโลกในสังคมเพราะคนไม่ดูแลจิตของตนเอง ปล่อยให้จิตใจเต็มไปด้วยความมืดบอด วุ่นวาย จิตที่วุ่นวายจะนำมาซึ่งความขัดแย้งได้ง่าย แต่จิตที่ฝึกดีแล้วจะนำความสุขมาให้

    3) “ดูเวทนา” หมายถึง การรู้เท่าทันกำหนดรู้ทันกับความเจ็บปวดของสังขาร เวทนามากยิ่งเห็นความทุกข์มาก เราไม่มีสิทธิ์ไปโกรธเกลียดเวทนา แต่จงเข้าไปกำหนดเวทนา ให้รู้เท่าทันเท่านั้น สังขารนี้ทุกเหลือเกิน แค่ลำพังชีวิตตนเองยังจะเอาไม่รอดเพราะเวทนาที่มันเจ็บปวด ขอบคุณเวทนาที่ทำให้เราเห็นธรรม เพราะ ” กระท้อนหวานเมื่อซ้ำ คนจะเห็นธรรมเมื่อทุกข์ ”

    4) “ดูธรรม” หมายถึง ขณะเราปฏิบัติเราจะเห็นธรรมเกิดขึ้น เช่น ความอดทน อดทนต่อเวทนาที่เกิดขึ้น มีสติกำหนดรู้เท่าทันทุกขณะจิต พระพุทธเจ้าตรัสว่า ” ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา ” เมื่อเห็นธรรมจะเห็นพระพุทธเจ้า

    ฉะนั้นจงขอบคุณที่นำตนเองมาฝึกปฏิบัติ เพราะปริยัติแค่รู้จำ ปฏิบัติจะทำรู้จริง และปฏิเวธจะทำให้รู้แจ้งตามความเป็นจริงของชีวิต จงให้โอกาสตนในการพัฒนาจิตถึงจะเป็นช่วงเวลาในระยะสั้นแต่ได้เรียนอะไรมากมาย

    สุดยอดวิชากรรมฐานเป็นวิชาเห็นพระพุทธเจ้า

    ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทำให้เรารู้เท่าทันว่าชีวิตนี้ตายแน่นอน ช้าเร็วยังไม่มีใครทราบ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ” หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว วะยะ ธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา ” แปลความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้ายของพระตถาคตเจ้า ถึงแม้พระองค์จะปรินิพพานยังสอนเป็นครั้งสุดท้าย เรียกว่า “ห่วงใยคนทั้งโลก ว่าอย่าประมาทในชีวิต”

    เราจึงควรมีวิธีการรับมือกับความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งแบ่งออก 5 ประการอันประกอบด้วย คือ

    1) “ปฏิเสธความจริง” หมายถึง ไม่ยอมรับความจริงว่าบุคคลอันเป็นที่รักของเราสูญเสีย ด้วยคำกล่าวว่า ไม่จริง ไม่เชื่อ เป็นไปไม่ได้ บุคคลอันเป็นที่รักของเรายังไม่ตายหรอก เป็นเรื่องโกหกหลอกลวง เราทุกคนจะปฏิเสธความจริงเสมอเมื่อเกิดเหตุการณ์พลัดพรากบุคคลอันเป็นที่รัก ลักษณะแบบนี้ เรียกว่า ปฏิเสธความจริง

    2) “ประวิงเวลา” หมายถึง การถ่วงเวลาในการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักด้วยการสวดมนต์ นั่งสมาธิ แผ่เมตตา อธิษฐานเพื่อประวิงเวลา เหมือนคนหมอบอกว่าเป็นโรคระยะสุดท้าย เมื่อไปรักษาโรคแผนปัจจุบันไม่ได้ ก็ประวิงเวลาด้วยการไปหาหมอแผนสมุนไพร ทำทุกวิถีทางเพื่อประวิงเวลาให้กับตนเอง ถือว่าเป็นการประวิงเวลา เพื่อทำใจยอมรับในการสูญเสีย

    3) “โทษเทวดาฟ้าดิน” หมายถึง เมื่อมีการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักก็จะโทษเทวดา โทษกรรม ว่าทำไมต้องเป็นเรา หรือ บางคนอาจจะโทษพ่อแม่ ว่าเกิดมาจนเลยเป็นแบบนี้ นักเรียนนักศึกษาบางคนโทษครูอาจารย์ ที่ตนเองเป็นแบบนี้เพราะครูอาจารย์ หรือ ถ้าบุคคลที่รักของเราสูญเสียก็โทษหมอพยาบาล ว่าดูแลรักษาอย่างไรถึงเป็นแบบนี้ ลักษณะแบบนี้ ถือว่าโทษเทวดาฟ้าดิน โทษทุกอย่างที่สามารถโทษได้

    4) “ถวิลหาร่ำไห้” หมายถึง เกิดความเศร้าโศกร่ำไห้ ดังพุทธพจน์ว่า ” โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ แปลว่า โดยความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย ” ล้วนแต่เป็นความทุกข์ ความสูญเสียจึงทำให้เกิดการร้องไห้ เป็นภาวะจากภายในใจที่ระบายออกมาเพราะความรัก เมื่อสูญเสียจึงถวิลหาร่ำไห้ออกมา

    5) “ทำใจยอมรับ”หมายถึง การเจริญมรณัสสติ รู้เท่าทันว่า เราจะต้องพลัดพรากเป็นเรื่องธรรมดาสิ่งมีชีวิต เราจึงไม่ควรหลอกตนเองว่าเขายังไม่ตาย ยอมรับความเป็นจริงของกฎไตรลักษณ์ คือ ” ในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน มันไม่ได้ดั่งใจทุกเรื่อง มันไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ ” วิธีการยอมรับ คือ การทำบุญด้วยการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ซึ่งหมอจะพูดคำว่า ” อาการไม่คงที่ และ ติดเชื้อในกระแสโลหิต” เป็นประโยคที่ต้องเตรียมใจ ทำใจยอมรับความเป็นจริงของโลกว่าต้องตาย ถ้าหมอกล่าวประโยคนี้ขึ้นมา

    (หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กhansa dhammahaso และPramote OD Pantapat)

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/97166
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 ธันวาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...