แอฟริกากำลังวิกฤตจากภาวะโลกร้อน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 4 พฤศจิกายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    แอฟริกากำลังวิกฤตจากภาวะโลกร้อน

    คอลัมน์ โลกสามมิติ

    โดย บัณฑิต คงอินทร์ bandish.k@psu.ac.th



    [​IMG]

    สถานการณ์ของหลายประเทศในทวีปแอฟริกากำลังอยู่ในภาวะ"วิกฤต"จากโลกร้อนและหากไม่มีการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและเต็มไม้เต็มมือจากนานาชาติแล้ว มันจะกลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของมนุษยชาติ

    รายงานล่าสุดที่ชื่อว่า "Africa - Up in Smoke 2" ของกลุ่มองค์กรด้านการพัฒนาและสิ่งแวดล้อมของสหราชอาณาจักร อาทิเช่น the new economics foundation- nef, Friends of the Earth.และ Tearfund เป็นต้น ซึ่งออกมาก่อนหน้าการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลกแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Climate Change Conference - Nairobi 2006)ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ในระหว่างวันที่ 6-17 พฤศจิกายน 2006 สองสัปดาห์ ชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคนแอฟริกันทั่วทั้งทวีปและจะเลวร้ายยิ่งขึ้นหากไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

    รายงานชิ้นนี้ระบุว่า แม้ว่าทุกวันนี้สภาพอากาศของแอฟริกาจะอยู่ในสภาพไม่แน่นอนก็ตาม แต่ผลการวิจัยล่าสุดและประสบการณ์ภาคสนามขององค์กรพัฒนาและสิ่งแวดล้อมต่างๆในพื้นที่ของแอฟริกาที่ประสบปัญหาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

    บ่งบอกว่าสภาพแวดล้อมของแอฟริกากำลังเปลี่ยนแปลงไปในระดับอันตรายสุดสุด

    อุณหภูมิที่แอฟริกายังคงสูงขึ้นต่อไปและยังไม่สามารถพยากรณ์รูปแบบของอากาศได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านอาหารของประชากรในทวีปนี้

    ทวีปแอฟริกามีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 0.5องศา เซลเซียสหลัง 100 ปีที่ผ่านมา โดยในหลายพื้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นถึงสองเท่า และในบางพื้นที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 3.5องศา เซลเซียสภายในระยะ 20 ปีเท่านั้น เช่นบางส่วนของประเทศเคนยา <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้แอฟริกาขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกและการบริโภค ดังนั้นภัยคุกคามใหญ่ที่สุดคือการทำการเกษตรเพื่อยังชีพซึ่งจะเป็นไปอย่างยากลำบาก

    ปัจจุบันแอฟริกากำลังเผชิญกับความแห้งแล้งที่เลวร้ายแทบทั่วทวีป โดยพื้นที่แห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้งทางตอนเหนือ, ตะวันตก ตะวันออกและหลายส่วนทางใต้ของแอฟริกากำลังจะแห้งแล้งมากยิ่งขึ้น ขณะที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรและบางส่วนของทางตอนใต้จะมีน้ำมากขึ้น

    ประชากรประมาณ 33 % ในบริเวณซับซาฮาราอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร และที่แอฟริกากลางสูงถึง 55% ขณะที่ประชากรในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมดอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร 17% การเปลี่ยนแปลงของอากาศจะเป็นภัยคุกคามใหม่ต่อความมั่นคงด้านอาหารซึ่งซ้ำเติมปัญหาความยากจนที่มีอยู่แล้ว

    ปัจจุบันความช่วยเหลือทางด้านอาหารของนานาชาติแบบฉุกเฉินต่อแอฟริกาสูงกว่าทศวรรษที่ 1980 ถึงสามเท่า

    รายงานชิ้นนี้ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยการวางแผนที่ดีเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติควบคู่ไปกับการนำเอาวิธีการทำการเกษตรแบบใหม่ๆมาใช้เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนอาหาร

    แอนดริว ซิมส์ จาก nef องค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือชาวแอฟริกัน กล่าวว่า โลกร้อนทำให้เกิดปัญหาหลายๆอย่างซึ่งขณะนี้แอฟริกาเผชิญกับมันแล้วด้วยความเลวร้ายมากๆ" แค่ปีที่แล้วเพียงปีเดียวคนแอฟริกัน 25 ล้านคนในบริเวณ ซับซาฮาราต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์อาหาร"

    เขาอธิบายว่าภาวะโลกร้อนทำให้พื้นที่ซึ่งแห้งแล้งอยู่แล้วแห้งแล้งยิ่งขึ้นและพื้นที่ชุ่มน้ำก็มีน้ำมากขึ้น และบอกว่าสำหรับแอฟริกาแล้วมันเป็น"โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่" ซึ่งแอฟริกาเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้โลกร้อนเลย แต่ปัญหาโลกร้อนเกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศร่ำรวยซึ่งก็คือประเทศอุตสาหกรรม <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    กลุ่มองค์กรด้านการพัฒนาและสิ่งแวดล้อมได้เรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโตในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและให้มีการปรับปรุงและพัฒนาความเป็นมนุษย์ของคนแอฟริกาโดยการบริจาคเงินทุนช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนเพื่อให้ชุมชนต่างๆแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศและบริจาคเงินให้กับรัฐบาลของประเทศในแอฟริกาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลงทุนเกี่ยวกับการพัฒนาทางการเกษตรด้วย

    ในปี 2005-2006 ประเทศอุตสาหกรรมบริจาคเงินเพื่อใช้ในการแกไขปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศของประเทศยากจนผ่านสองกองทุนเพียง 43 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการซึ่งอยู่ในระหว่าง 10 -40พันล้านต่อปี

    ขณะที่ประเทศร่ำรวยสนับสนุนเงินอุดหนุนอุตสาหกรรมน้ำมันคิดเป็นเงินทั้งหมดมากกว่า 235 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

    รายงานชิ้นนี้เรียกร้องให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 60% - 90% ซึ่งต่างจากเป้าหมายของพีธีสารเกียวโตที่กำหนดให้ประเทศอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 5.2%จากปริมาณที่ปล่อยไว้ในปี 1990 ภายในปี 2008-2012

    โทนี จูนิเปอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารขององค์กร Friends of the Earth สรุปสถานการณ์ไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงอากาศทำให้สถานการณ์ในแอฟริกาแย่ลง และถ้าหากไม่มีการปฏิบัติการอย่างจริงจังในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขณะนี้แล้วละก็ ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาจะประสบชะตากรรมที่เลวร้าย คนหลายล้านคนจะอยู่ในสภาพหิวโหย ขาดแคลนอาหาร และต้องตาย

    รายงานล่าสุดอีกชิ้นเป็นของเซอร์ นิโคลาส สเติร์น อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกพยากรณ์ว่าภาวะโลกร้อนอาจจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก(GDP)ลดลงถึง 20 % แต่หากดำเนินการแก้ไขเสียตั้งแต่บัดนี้จะมีค่าใช้จ่ายเพียง 1 % ของ GDP เท่านั้น

    รายงานชิ้นนี้เตือนว่าถ้าโลกไม่เคลื่อนไหวที่จะจัดการลดก๊าซเรือนกระจกเสียตั้งแต่บัดนี้จะเกิดหายนะอย่างใหญ่หลวงจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ โดยจะเกิดน้ำท่วมจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นซึ่งต้องอพยพคนถึง 100 ล้านคน ธารน้ำแข็งละลายจนทำให้ประชากรโลก 1 ใน 6 ขาดแคลนน้ำจืด สัตว์ป่าอย่างน้อย 40 % ของสปีซีส์ทั้งหมดจะสูญพันธุ์ จะเกิดน้ำท่วมและความแห้งแล้งซึ่งอาจจะทำให้ประชากรโลกหลายสิบล้านคนหรือหลายร้ายล้านคนกลายเป็นผู้ลี้ภัย

    รายงานนี้ได้เรียกร้องให้ประชาคมโลกลงนามในสัญญาลดก๊าซเรือนกระจกฉบับใหม่ในปีหน้าแทนที่จะรอการพิจารณาในปี2010/11 ว่าจะดำเนินการต่อไปหรือไม่หลังพิธีสารเกียวโตสิ้นสุดลง

    นายโทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวถึงรายงานของเซอร์นิโคลาส สเติร์นว่าเป็นการแสดงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มากมายมหาศาลและแสดงหายนะที่จะเกิดขึ้นตามมา เขาเห็นว่าไม่สามารถจะรอคอยถึง 5 ปีเพื่อจะเจรจาเกี่ยวกับพิธีสารเกียวโตใหม่อีกครั้งเพราะไม่มีเวลาอีกแล้ว และว่าผลจากการที่โลกอยู่เฉยๆก็คือหายนะอย่างแท้จริง

    "ความหายนะไม่ได้เกิดขึ้นในนิยายวิทยาศาสตร์บางเรื่องในอนาคตหลายๆปีข้างหน้า ทว่าเกิดในช่วงชีวิตของพวกเรานี่เอง" แบลร์กล่าว


    ที่มา: มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01tec09041149&day=2006/11/04
     
  2. boydd

    boydd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    396
    ค่าพลัง:
    +1,773
    เพราะว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในโลกที่ทุกคนคิด คือมนุษย์
    ฉะนั้น โลกจึงเกิดเหตุกาณ์เช่นนี้ขึ้น
     
  3. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ครับ ช่วยกันลงมือ แก้ไขกันตั้งแต่ตอนนี้ครับ เพื่อทุกคนบนโลก ด้วยกันสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แทนที่จะปักเทียนจำนวนเท่าอายุ ก็ขอจงช่วยกันปลูกต้นไม้ใหญ่ยืนต้นในทุกวันเกิด เป็นประเพณีและของขวัญกลับคืนสู่ธรรมชาติ ครับ ถ้าทำได้แม้แค่ 10% ของประชากรโลก หกพันล้านคน อายุเฉลี่ย 30ปี ก็ตั้ง หนึ่งพันแปดร้อยล้านต้นต่อปี ครับ เฉลี่ย 400ต้นต่อไร่ ก็ได้ป่าไม้เพิ่มขึ้นตั้ง สามล้านกว่าไร่ต่อปีทั่วโลกครับ ลองช่วยกันเผยแพร่คอนเซปป์นี้ดูครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...