ในหลวงกับการถ่ายภาพ

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 3 กรกฎาคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    <CENTER>ในหลวงกับการถ่ายภาพ</CENTER>



    การถ่ายภาพเป็นศิลปะอีกสาขาหนึ่งที่ในหลวงทรงสนพระราชหฤทัยอย่างจริงจัง พระองค์ทรงศึกษา และทรงฝึกด้วยพระองค์เองตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ กล้องถ่ายภาพที่ทรงใช้ในระยะเริ่มแรกเป็นกล้องที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัว จึงต้องใช้พระราชวิจารณญาณอย่างรอบคอบ
    และละเอียดถี่ถ้วน


    แม้ในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพจะมีวิวัฒนาการขึ้นกว่าสมัยก่อนมากแล้ว แต่พระองค์ก็มิทรงใช้ พระองค์ยังทรงใช้กล้องคู่พระหัตถ์แบบมาตรฐาน อย่างที่นักเลงกล้องรุ่นเก่ามือโปรทั้งหลายใช้กันอยู่


    ในหลวงทรงเชี่ยวชาญแม้กระทั่งการล้างฟิล์ม การอัดขยายภาพทั้งภาพขาวดำและภาพสี พระองค์ทรงมีห้องล้างฟิล์ม(Dark Room) ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะทรง "สร้างภาพ" ให้เป็นศิลปะ ด้วยเทคนิคใหม่ๆ
    และรวดเร็วด้วยพระองค์เอง



    แต่เพราะสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนไป ในหลวงซึ่งมีพระราชหฤทัยเต็มเปี่ยมไปด้วยความห่วงใย พสกนิกร จึงทำให้พระองค์ไม่มีเวลาสำหรับการคิดค้นเทคนิคใหม่ๆในการถ่ายภาพ และรวมไปถึงการสร้างศิลปะแขนงอื่นๆได้อีก จะทรงถ่ายภาพได้ก็แต่เฉพาะทรงใช้เพื่อประกอบ
    การทรงงานของพระองค์



    <CENTER>[​IMG] </CENTER>


    จะสังเกตได้ว่า ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ จังหวัดใด ก็จะทรงมีกล้องถ่ายภาพติดพระองค์ไปด้วยเสมอ โปรดถ่ายภาพสถานที่ทุกแห่งเพื่อทรงเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบงานที่ได้ทรงปฏิบัติ


    ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหล่านี้ จึงมักเป็นภาพถ่ายแบบฉับพลัน ทันเหตุการณ์ ซึ่งถ่ายได้ครั้งเดียวด้วยไหวพริบ ไม่มีเวลาจ้องหามุมถ่าย แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ ปวงชนชาวไทยจึงได้เห็นภาพฝีพระหัตถ์อันคมชัดและมีศิลปะในการจัดองค์ประกอบของภาพ




    <CENTER>[​IMG] </CENTER><CENTER>
    </CENTER><CENTER>[​IMG] </CENTER><CENTER>


    <LINK href="http://banchao.cs.su.ac.th/~cs745227/aui2.css" type=text/css rel=stylesheet>
    </CENTER><CENTER>ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์</CENTER>



    สามัคคี 4 พระหัตถ์

    ทูลกระหม่อม 4 พระองค์ทรงวางพระหัตถ์ขวาเรียงเทียบขนาดกันไว้ ทรงฉายภาพ “พระหัตถ์ใหญ่พระหัตถ์เล็ก” ที่ทรงวางเรียงลำดับไว้ เสมือนเป็นการทรงสมานสามัคคีระหว่าง "พี่ๆ น้องๆ" พระหัตถ์ไหนเป็นของทูลกระหม่อมพระองค์ใด ขอให้ตั้งใจพิจารณา ลองทายกันดู


    <CENTER>[​IMG] </CENTER>




    ดั่งโค้งสำคัญ

    พระฉายาลักษณ์อันเป็นพระราชประวัติครั้งสำคัญส่วนหนึ่งของทั้งสองพระองค์ ที่ทรงบันทึกภาพไว้อย่างประณีตบรรจง ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ภาพพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งยังเป็น ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาคนโตของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (ม.จ. นักขัตมงคล กิติยากร) เมื่อครั้งทรงเป็นอัครราชทูตประจำกรุงปารีส เมื่อ 20 เมษายน 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรงเยี่ยมที่สถานทูต และได้ทรงถ่ายภาพ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กำลังยิ้มแย้มสดชื่น ในรถยนต์พระที่นั่ง



    <CENTER>[​IMG] </CENTER>




    ที่กลางทุ่งดอกไม้

    เมื่อปี 2503 ขณะที่ยังประทับ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คราวหนึ่งเสด็จฯ ไปยังทุ่งกว้างบนเนินเขาแห่งหนึ่ง บริเวณเป็นทุ่งโล่งกว้างไกล อากาศสดชื่นแจ่มใสดียิ่งนัก ณ บริเวณนี้มีต้นไม้ใบหญ้าสารพัดกำลังออกดอกบานสะพรั่งเป็นที่ต้องพระราชหฤทัยของทั้งสองพระองค์

    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาทรงเลือกเก็บดอกไม้สีขาวมากำไว้ในพระหัตถ์ซ้าย พอเอื้อมพระหัตถ์ขวาจะทรงเก็บดอกต่อไป พระราชอิริยาบถที่กำลังทรงเงยพระพักตร์ขึ้นเล็กน้อยและทรงแย้มพระสรวลนั้นงดงาม เป็นด้านที่เป็นศิลปะและเหมาะกับมุมกล้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงบันทึกภาพไว้ทันที



    <CENTER>[​IMG] </CENTER>



    ที่เรียกว่าเป็นศิลปะ ได้แก่ ท้องฟ้าสีอ่อนนวล เทือกเขาไกลๆ ได้โครงสร้างเป็นเส้นเอียงเฉียงทางซ้ายและขวา ต่างนำสายตาของผู้ชมมาหาจุดเด่นของภาพ คือ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนา

    ต่อจากนี้ถ้าจะดูให้ละเอียดขึ้นไปอีก ขอให้ดูที่เส้นของต้นไม้และดอกไม้ ต่างเอนยอดเข้าหาจุดเด่น เป็นการช่วยเน้นพระฉายาลักษณ์องค์นี้ให้เด่นด้วยเส้นสีแห่งศิลปะ และเน้นรอยแย้มพระสรวล ที่อ่อนโยนเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาอย่างหาที่สุดมิได้



    แสงนวลนุ่ม

    พระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาชุดหนึ่งที่มีแสงนุ่มนวล เป็นศิลปะที่งามซึ้งตรึงใจ และแสดงเอกลักษณ์ศิลปะการถ่ายภาพส่วนพระองค์ที่ทรงมีอย่างเยี่ยมยอดวิธีหนึ่ง

    ทรงใช้แสงถ่ายภาพอย่างภาษาทางวิชาการ เรียกว่า แสงตามสภาพ (Available light, existing light) คือวิธีที่ทรงถ่ายภาพในแสงสว่างเท่าที่มีอยู่ในที่แห่งนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดดหรือแสงไฟภายในพระตำหนักหรือในพระที่นั่ง จะทรงใช้แสงและเงาให้ได้ส่วนสัมพันธ์กันอย่างพอเหมาะพอดีทุกที่ไป




    <CENTER>[​IMG] </CENTER>



    ภายในเครื่องบินพระที่นั่ง แสงสว่างจากภายนอกทรงใช้เป็นแสงหลัก (Main light) แสงนวลส่องสว่างที่พระพักตร์พอเรือง ๆ ดูที่ขอบหน้าต่างมีเงาสีเข้มสลับกับแสงสว่าง ที่พระมาลา ด้านหน้าอ่อนด้านหลังสีดำ สลับสีอ่อนเข้มของฉากหลัง ตรงนี้มีจังหวะที่น่าสนุก แล้วมองเลยมาที่ฉากหน้า เป็นแสงเหมือนจะช่วยหนุนให้ภาพนุ่มและลอยเด่น ทั้งให้ความรู้สึกหนาวเย็น บางเบา คล้ายกำลังประทับอยู่ในไอละอองของความฝัน



    ที่กรุงลอนดอน

    เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินกรุงลอนดอน เมื่อปีพุทธศักราช 2509 ระหว่างที่ประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ ไปยังที่ต่างๆหลายแห่ง ถ้าทอดพระเนตรแห่งใดเป็นที่สวยงามต้องพระราชหฤทัย จะทรงใช้เป็นฉากฉายพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถอยู่เสมอ



    <CENTER>[​IMG] </CENTER>



    ในการฉายจะทรงใช้ภูมิทัศน์ แสงสีและสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ด้วยพระปรีชาสามารถทางศิลปะภาพถ่าย พระราชอิริยาบถของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงมีพระพักตร์งามสดใสเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาบารมี คล้ายพระองค์จริงประทับอยู่ฉะนั้น


    ที่กรุงลอนดอน


    <CENTER>[​IMG] </CENTER><CENTER>

    ที่กรุงลอนดอน

    </CENTER><CENTER>[​IMG] </CENTER><CENTER>

    ที่กรุงลอนดอน

    </CENTER><CENTER>[​IMG] </CENTER>




    สงบ

    แสงเงานุ่มนวลจับตากำลังพอดี เป็นภาพอีกภาพหนึ่ง ซึ่งได้ลักษณะถูกต้องตามหลักการให้แสงแบบคลาสสิค ที่เรียกว่า lighting of Rembrandt



    <CENTER>[​IMG] </CENTER>



    พระพักตร์ได้แสงสว่างแต่พอเลือนราง ตรงแสงนั้นได้เห็นพระอารมณ์ที่ทรงแย้มพระสรวลน้อยๆ ภาพให้อารมณ์อ่อนหวานนุ่มนวล แต่หนักแน่นลึกซึ้ง ที่ฉากหลังบริเวณพื้นโดยรอบทำให้หนักเล็กน้อย พอถึงตรงกลางเว้นให้สว่างขึ้นหน่อย ลักษณะพื้นภาพแบบนี้เป็นการช่วยเน้นจุดเด่นให้ชัด เน้นให้เห็นพระอารมณ์ในภาพ และเน้นให้เห็นบรรยากาศอันทึมเทาเลือนราง คล้ายกับกำลังประทับอยู่ในสถานที่อันวิเวก อิ่มเอิบพระราชหฤทัยในแดนแห่งความสงบ



    เมื่อหน้าหนาว

    ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในฉลองพระองค์กันหนาวชุดสีเข้ม ทรงยืนอยู่ด้วยพระอารมณ์สดชื่นแจ่มใส ในขณะที่ทรงเป็นแบบสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงฉายพระฉายาลักษณ์



    <CENTER>[​IMG] </CENTER>



    ทรงใช้ห้องบนพระตำหนักจิตรลดาฯ เป็นฉากสำหรับทรงถ่ายภาพ



    แม่ของชาติ

    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงกอดสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารีแนบไว้กับพระอุระ ลักษณะที่ทูลกระหม่อมเล็กกำลังซุกพระอุระสมเด็จพระราชมารดาอยู่นี้ เห็นแล้วรู้สึกเป็นสุข อบอุ่นอย่างที่สุด ความสุขของลูก ความสุขของแม่ ความสุขของครอบครัว เป็นความสุขอันสุดประเสริฐ


    <CENTER>[​IMG] </CENTER>



    เป็นภาพที่มีเส้นโครงสร้าง (structure) สวย และให้อารมณ์แสดงออก (expression) ได้เหมือนภาพชีวิต ที่เรียกว่าเส้น โครงสร้างคือเส้นนำสายตาไปหาจุดเด่นในภาพนี้ โดยเริ่มต้นที่พระพักตร์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แล้วมองลงมาทางขวาโค้งไปหาพระพักตร์ทูลกระหม่อมเล็ก ตรงนี้เส้นจะม้วนเป็นก้นหอย (Spiral Curve) ปลายเส้นคือจุดเด่นของภาพภาพนี้ มีดีเป็นพิเศษอยู่ตรงจุดจะเริ่มต้นที่เส้นบนหรือล่างของภาพก่อนได้ทั้งนั้น

    และดูต่อไป ให้ดูที่อารมณ์พระเนตรของทูลกระหม่อมเล็ก ฉายให้เห็นว่าทรงอบอุ่นเป็นสุข ความสุขของลูก อยู่ที่ได้อบอุ่นในอกแม่




    คู่ดาว

    เมื่อคราวเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2512 วันหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ในบริเวณสวนดอกไม้ข้างพระตำหนักเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์กำลังทอแสงเรื่อเรืองอยู่ในระดับยอดไม้ มุมหนึ่งที่แสงอาทิตย์ส่องลอดยอดไม้ เป็นประกายระยิบวูบวาวราวกับแสงดาวดวงโตๆ

    ก็พอดีกับที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงประดับพระกุณฑลรูปดอกไม้ที่มีกลีบบาน เป็นแฉกคล้ายประกายดาว ทันทีที่ทอดพระเนตรเห็นพระกุณฑลกับแสงอาทิตย์ได้คู่สอดคล้องกัน ก็ทรงฉายพระฉายาลักษณ์ไว้



    <CENTER>[​IMG] </CENTER>



    ทรงได้ภาพที่มีช่วงความคมชัดตลอดทั้งภาพ คือคมชัดทั้งองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถซึ่งประทับอยู่ใกล้ๆ และแสงอาทิตย์ที่มีลักษณะเหมือนแสงดาว ทั้งนี้ก็ด้วยทรงใช้เทคนิคการเปิดหน้ากล้องขนาดเล็ก เพื่อให้ภาพมีช่วงความชัดตลอดทั้งภาพนั้นอย่างหนึ่ง กับให้ดวงอาทิตย์เกิดแสงประกายเจิดจ้าแจ่มใสคล้ายแสงดาวอีกอย่างหนึ่ง

    เมื่อทรงได้ภาพแล้ว จึงทรงตัดส่วนภาพ (Crop) ด้วยพระอัจฉริยภาพทางศิลปะ ทรงเน้นให้เห็นเฉพาะพระเกศาพระกุณฑล ให้ได้คู่ล้อรับกับแสงอาทิตย์ พระกุณฑลประดับพระกรรณ ดวงดาวประดับฟ้า ... พระกุณฑลจึงเคียงคู่อยู่กับดาว ... คู่ดาว




    ตามรอยพระยุคลบาท

    ในป่าดอยอันเป็นถิ่นทุรกันดาร ถึงแม้จะมีทางเดินตัดผ่านให้สัญจรไปมาได้สะดวกขึ้นแล้วก็ตาม ครั้นถึงหน้าฝน ฝนตกแฉะ ทางจะลื่น บางแห่งเป็นโคลนตมจนกลายเป็นหล่มเป็นเลนก็มี เดินเข้าไปเมื่อใดเป็นได้หกล้มจมปลักกันหลายครั้งหลายหน



    <CENTER>[​IMG] </CENTER>



    คราวหนึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ทรงตามเสด็จสมเด็จพระชนกนาถ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารด้วย วันนั้นมีฝนพรำทำให้น้ำป่าบ่าไหล หนทางเปียกแฉะ เป็นเหตุให้ทรงพระราชดำเนินด้วยความลำบาก ตลอดทางจึงทรงลื่นล้มไปหลายครั้ง แต่ด้วยพระราชอุตสาหะวิริยะ จึงมิทรงย่อท้อแต่ประการใด



    <CENTER>[​IMG] </CENTER>



    ทั้งนี้เป็นผลของพระเมตตาบารมีแห่งองค์สมเด็จพระบรมชนกชนนี ผู้ทรงอบรมสั่งสอนพระราชโอรสพระราชธิดาให้มีพระอุปนิสัยหนักแน่น อดทนต่อความทุกข์ยากและอุปสรรคทั้งมวล เพื่อจะได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของปวงพสกนิกร เป็นการเจริญรอยตามพระยุคลบาทสืบไป



    <CENTER>[​IMG] </CENTER>



    จ้อง

    เมื่อคราวเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักไกลกังวลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บ่ายวันหนึ่งทรงขับรถพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง เพื่อจะได้ทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่อันแท้จริงของพสกนิกรทั้งหลายในละแวกนั้น

    ระหว่างทางที่เสด็จฯ ผ่านไปตามถนนในชนบทชายป่า ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็กชาวบ้านสองคน เด็กทั้งคู่ไม่ได้สวมเสื้อ เด็กผู้ชายเอามือเท้าสะเอวมองจ้องมา ฝ่ายหญิงกำลังกินขนมยืนจ้องนิ้วจุกปากด้วยความสงสัย เป็นที่สนพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง จึงทรงถ่ายภาพไว้ทันที



    <CENTER>[​IMG] </CENTER>



    เป็นศิลปะภาพถ่ายประเภทที่เรียกว่า ภาพชีวิต (Human interest) มีชีวิตจริงๆ มองทีไรจะเห็นสายตาเด็กจ้อง นิ้วจุกปากอยู่ร่ำไป ยังไม่ได้เคลื่อนไหวและยังไม่ได้กินขนมต่อสักที

    นอกจากมีศิลปะดียิ่งแล้ว ผู้ชมภาพทุกคนต่างซาบซึ้งในพระเมตตาบารมีที่ทรงสนพระราชหฤทัยต่อความเป็นอยู่ของพสกนิกรของพระองค์อย่างทั่วถึง โดยมิได้ทรงเว้นแม้กระทั่งเด็กชาวบ้านชนบท




    ในหมู่เมฆ

    กลุ่มเมฆลอยเป็นวงกลมอย่างพอดิบพอดี เครื่องบินสองลำบินเข้าไปในเขตวงกลม มองตามทิศทางที่เครื่องบินบินไป จะเห็นได้ว่า มีเนื้อที่เว้นช่องไฟไว้ข้างหน้า อย่างที่เรียกกันว่า "เปิดหน้า" พอดี ลักษณะนี้ทางศิลปะนิยมว่า ได้เส้นแรงดีนัก

    ตามหลักศิลปะการจัดภาพ กำหนดให้เครื่องบินเป็นจุดเด่น กลุ่มเมฆรายรอบเป็นภาพ ส่วนประกอบของจุดเด่น คือเครื่องบินมีสีหนักเข้ม จึงมองเห็นเด่นในกลุ่มเมฆสีขาว ไม่แต่เท่านั้น ยิ่งมองไกลไปถึงพื้นแผ่นดิน เห็นทุ่งนาป่าเขา แม่น้ำลำคลองอยู่ไกลสุดสายตา เป็นภาพที่แจ่มกระจ่างและลิ่วโล่งโปร่งไกลดี การถ่ายภาพทางอากาศแบบนี้จะถ่ายให้ดีและได้ภาพกระจ่างสดใสอย่างนี้ ทำได้ยากยิ่งนัก



    <CENTER>[​IMG] </CENTER>



    ทรงถ่ายภาพนี้ระหว่างที่ประทับอยู่บนเครื่องบินพระที่นั่งเสด็จฯ ไปจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2527 เครื่องบินสองลำนี้ เป็นเครื่องบินคุ้มกันของกองทัพอากาศไทย ปฏิบัติการบินถวายอารักขา ตลอดเส้นทางระหว่างดอนเมืองถึงเชียงใหม่ พอทอดพระเนตรเห็นจังหวะที่ได้เส้นได้มุมเป็นศิลปะ จึงทรงบันทึกภาพไว้ได้อย่างสวยงาม….
    <CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER>
     

แชร์หน้านี้

Loading...