ในหลวงพระราชทานคำแนะนำเรื่องการปฏิบัติสมาธิแก่ข้าราชบริพารผู้ติดตามพระองค์อยู่เสมอ

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 14 กรกฎาคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    การปฏิบัติธรรมและพระสมาธิในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร ในหนังสือ “สองธรรมราชา” ของ อัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์

    [​IMG]

    ในหลวงพระราชทานคำแนะนำเรื่องการปฏิบัติสมาธิแก่ข้าราชบริพารผู้ติดตามพระองค์อยู่เสมอ


    ความจริงแล้ว ตัวผมเองนั้นก็มีความสนใจเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิก่อนหน้าที่จะมีโอกาสเข้าไปอยู่ในวังแต่ว่าไม่มีโอกาสปฏิบัติอย่างจริงจัง ครั้นพอได้เข้าไปอยู่ในวัง เข้าไปได้เห็นว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติเจริญสมาธิอยู่เสมอ และเห็นนายตำรวจ นายทหารหลายๆ ท่านที่รับราชการอยู่ใกล้กันเขาปฏิบัติกัน เจริญรอยตามพระยุคลบาทพากันฝึกสมาธิอย่างขะมักเขม้นผมจึงถือปฏิบัติตาม…
    ฉะนั้น หลังจากที่พวกเราลงมือปฏิบัติกันแล้ว เวลามีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งเรื่องสมาธิกับพวกเราเสมอและเวลามีโอกาสเสด็จก็จะพระราชทานคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้ทุกครั้งซึ่งผมก็ยังจำได้และนำวิธีฝึกปฏิบัติของพระเจ้าอยู่หัวมาฝึกปฏิบัติอยู่สม่ำเสมอ และเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิของผมนั้น มีปัญหาเกี่ยวกับตัวผมเองว่า เมื่อตอนหัดใหม่ๆ ผมไม่มีครู ผมหัดจากหนังสือ และหนังสือที่ใช้เป็นหนังสือของท่านพุทธทาสภิกขุ ก็ใช้โดยวิธีอานาปานสติที่ว่ามีปัญหานั้นก็เพราะว่า ผมจะภาวนาว่าพุทโธก็ไม่ได้ จะใช้สัมมาอรหังแบบวัดปากน้ำ หรือใช้แบบยุบหนอพองหนอ อย่างวัดมหาธาตุก็ไม่ได้ ใจไม่สงบ ไม่สามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้นได้…


    ในหลวงทรงใช้การ “นับ” เป็นวิธีปริกรรมในการปฏิบัติกัมมัฏฐานของพระองค์เอง


    …ดังนั้น เมื่อมีโอกาสจึงได้กราบทูลถาม พระเจ้าอยู่หัวก็รับสั่งบอกว่า
    ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องใช้วิธีนับ และทรงแนะนำให้ว่า หนึ่ง – เข้า หนึ่ง – ออก สอง – เข้า สอง – ออก ท่านบอกว่าการฏิบัติกัมมัฏฐานของท่านก็ทำเช่นนี้ ผมจึงได้ทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้วิธีนี้

    พระราชจริยาวัตรในการปฏิบัติสมาธิภาวนาของพระเจ้าอยู่หัวนอกจากจะทรงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังทรงให้ความสนใจศึกษาตลอดเวลา จะเห็นว่า เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปไหนก็ตามมักจะเสด็จเข้าไปในวัดไปรับสั่งกับพระผู้ใหญ่เป็นเวลานานๆ อย่างเช่นกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ่ำกลองเพล ในสมัยที่หลวงปู่ทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ อย่างนี้เป็นต้น เป็นเรื่องที่ทรงศึกษาทั้งสิ้น…


    พระเจ้าอยู่หัวทรงนำสมาธิมาใช้ในพระราชกรณียกิจ
    ผลของการฝึกสมาธิทำให้ในหลวงสามารถทรงงานหนักต่อเนื่องโดยมิทรงเกิดอาการง่วง เหน็ดเหนื่อย หรือเบื่อหน่าย


    …นอกจากเรื่องที่ทรงศึกษาแล้วก็เป็นเรื่องของการปฏิบัติที่ทรงนำมาธิเข้ามามีส่วนในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เพราะเท่าที่ผมสังเกตเอานะครับ พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงศึกษาสมาธิแต่อย่างเดียว แต่ได้ทรงนำสมาธิมาใช้ในพระราชกรณียกิจประจำด้วย ในเรื่องนี้เราจะสังเกตเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นงานอะไรก็ตาม ที่ปกติแล้ว อย่างพวกเราๆ ท่านๆ ไม่น่าจะทำได้แต่พระองค์ทรงทำได้ อย่างงานที่ต้องประทับเป็นเวลานานๆ ติดต่อกันถึง 2-3 ชั่วโมง จะทรงปฏิบัติได้อย่างไม่น่าเชื่อ คือไม่ทรงมีอาการเหนื่อยหรือง่วงเลยแม้แต่น้อย
    ตลอดเวลาที่ผมอยู่ในตำแหน่ง 11ปี 11 เดือน ผมยังไม่เคยเห็นเลยว่า เวลาเสด็จพระราชดำเนินที่ใดแล้ว จะทรงแสดงอาการเหนื่อยจนถึงขนาดหลับ…ไม่มี แม้จะเป็นการทรงงานทั้งวันก็ตาม ดังเรื่องที่จำได้และจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้


    ทรงขับรถพระที่นั่งเอง ทั้งขาไปและกลับ แม้ระยะทางไกลเพียงไหน หรือเวลานานเท่าใด


    …คงจะทราบกันอยู่แล้วว่า เวลาเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์เพื่อเยี่ยมเยียนประชาชน พระบาทสมเด็จพะเจ้าอยู่หัวโปรดทรงขับรถยนต์ด้วยพระองค์เอง ผมได้เคยตามเสด็จทั้งในและนอกรถพระที่นั่งมาหลายต่อหลายครั้ง เป็นระยะทางทั้งใกล้และไกล ถนนเรียบบ้างขรุขระบ้างลุ่มดอนบ้าง ตามสภาพภูมิประเทศ บางครั้งเมื่อเสด็จถึงที่หมายแล้วทรงจอดรถพระที่นั่งและเสด็จฯ ลงไปประกอบพระราชกรณีกิจด้วยความตรากตรำพระวรกาย เช่น พระราชดำเนินเป็นระยะทางไกล และเป็นเวลาหลายชั่วโมง ขากลับนึกว่าจะทรงพักผ่อนพระวรกาย และให้นายสารถีทำหน้าที่ขับรถพระที่นั่งถวายก็เปล่า กลับทรงขับเองอีก โดยไม่ทรงแสดงพระอาการเหนื่อยหรือง่วง เจ้าหน้าที่ผู้ตามเสด็จนั้นพอกลับขึ้นไปบนรถก็ต้องผลัดกันทำหน้าที่ และผลัดกันหลับไปในรถเพราะความเหน็ดเหนื่อย…



    เสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมชาวไทยภูเขา ด้วยวิธีเดินขึ้น-ลงเขาเป็นระยะทางไกล


    [​IMG]


    …หลายปีมาแล้ว ตามเสด็จไปบ้านแม่สา ในอำเภอริม จังหวัดเชียงใหม่ บ้านแม่สานั้นเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็รู้จัก เพราะได้กลายเห็น “แม่สาแวลลีย์” มีถนนชั้นหนึ่งเชื่อมกับโลกภายนอก และมีอาคารบ้านเรือนตลอดจน “รีสอร์ต” หรือที่พักตากอากาศทันสมัย โผล่ขึ้นมากมาย แต่แม่สาในสมัยที่ผมตามเสด็จเมื่อเกือบ 20 ปีมาแล้ว เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเวลาเสด็จฯ เยี่ยม ต้องเสด็จฯ โดยเฮลิคอปเตอร์ไปลงตรงที่เขาเตรียมไว้แล้วทรงพระราชดำเนินไปยังหมู่บ้านซึ่งอยู่บนไหล่เขาลูกถัดไป
    วันนั้นและปีนั้นมีรายการพิเศษ คือนอกจากเสด็จฯ เยี่ยมชาวเขาเผ่าม้งที่บ้านแม่สาแล้ว ยังทรงพระราชดำเนินลงไปยังเขา เพื่อทอดพระเนตรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามพระราชดำริอีกด้วย ผู้ที่ตามเสด็จนอกจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้วก็มีผม มีพลโทดำรง สิกขมณฑล (รองสมุหราชองครักษ์ ขณะนั้นเป็นนายทหารราชองครักษ์ประจำและดูเหมือนจะมียศเป็นพันโทอยู่) และพลโทเทียนชัย จั่นมุกดา หัวหน้าแผนกถวายความปลอดภัยของกรมราชองครักษ์ (ขณะนั้นก็ดูเหมือนจะมียศเป็นพันโทอยู่เหมือนกัน) ตามเสด็จฯ ตามหน้าที่ด้วย ผมเป็นนายตำรวจประจำราชสำนัก ฉะนั้นจึงเดินนำอยู่ข้างหน้า เดินไปได้ครู่หนึ่ง ผมก็เห็นด้วยความวิตกว่า ทางเดินนั้นลาดลงไปตามไหล่เขาค่อนข้างชัน และเป็นระยะทางไกลลิบ ที่วิตกกันเพราะรู้ว่า เมื่อเสด็จพระราชกรณียกิจแล้ว จะต้องทรงพระราชดำเนินกลับ เป็นห่วงพระยุคลบาทก็ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งนั้นเป็นห่วงตัวเองว่า จะตามเสด็จไหวหรือ
    ขากลับก็ได้เรื่องจริงๆ คือพอเดินกลับขึ้นไปได้ไม่ถึงครึ่งลูกเขา ผมกำลังหอบและลากขาอยู่ด้วยความเหนื่อยใจจะขาด พระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จพระราชดำเนินผ่านขึ้นไป ทรงก้าวยาวเนิบๆ และสม่ำเสมอ มีหม่อมเจ้า ภีศเดชผู้อำนวยการโครงการในพระองค์ ทรงพระดำเนินตามไปอีกพระองค์ หนึ่ง จนต่อมาอีกครู่หนึ่งเมื่อรู้ว่ามีกำลังบ้างแล้ว จึงกัดฟันออกเดินต่อไป เมื่อไปถึงบ้านแม่สานั้น เห็น พระเจ้าอยู่หัวทรงยืนอยู่กับหม่อมเจ้าภีศเดชและผู้อื่น อีกหลายคน ขณะที่เราผ่านไปได้ยินรับสั่งด้วย แต่ฟังพระราชกระแสไม่ถนัด (เพราะหูกำลังอื้อและตากำลังลายด้วย) และไม่มีใครกราบบังคมทูลตอบสักครู่หนึ่ง ผมจึงได้ยินท้ายพระสุรเสียงว่า “ยังพูดภาษาราชการไม่ได้”…



    ในหลวงทรงสามารถประทับเก้าอี้ติดต่อกัน 2-3 ชั่วโมงและพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตถึง 2,000-3,000 คน


    [​IMG]

    ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาอื่นๆ ที่เคยรับพระราชทานปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรจากพระหัตถ์คงจะได้เคยตระหนักและอัศจรรย์ใจกันมาแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนั่งบนเก้าอี้ที่ประทับได้เป็นเวลาติดต่อกัน 2-3 ชั่วโมง ทรงรับปริญญาบัตรปรือประกาศนียบัตรที่เจ้าหน้าที่ทูลเกล้าฯ ถวาย แล้วพระราชทานให้แก่บัณฑิตเหล่านั้น คนแล้วคนเล่า บางครั้งรวมเป็นจำนวน 2,000-3,000 คน โดยไม่ทรงมีพระกิริยาที่ส่อความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าหรือเบื่อหน่ายพระวรกาย อยู่ในท่าตรงเช่นนั้นจนเสร็จพระราชกรณียกิจ
    เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่จังหวัดพิษณุโลก เป็นการพระราชทานปริญญาบัตรเหมือนกัน ผมได้เดินทางไปล่วงหน้าเพื่อดูความเรียบร้อยก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จ ซึ่งโดยปกติแล้ว ก่อนที่จะมีพิธีรับพระราชทานปริญญาแต่ละครั้งนั้น เขาจะต้องมีการซ้อม จะมีการเกณฑ์เอาอาจารย์มานั่งแทน มีการผลัดเปลี่ยนกัน 3-4 คน กว่าการซ้อมจะแล้วเสร็จและทุกคนก็ต้องบ่นว่าปวดเมื่อยเหมือนกันหมดทีนี้มาลองคิดดูพอถึง วันพระราชทานจริงๆ ช่วงเวลาที่ครูบาอาจารย์ต้องผลัดเปลี่ยนกัน 3-4 คน ในเวลาซ้อมนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียวเท่านั้นพระราชทานจนเสร็จพระราชกรณียกิจ ไม่ได้เปลี่ยนเลย มิหนำซ้ำบางครั้งหอกลับจากพระราชทานปริญญาบัตรแล้ว กลับถึงพระราชตำหนักสวนจิตรลดา ยังเสด็จไปวิ่งบริหารกายอีกด้วย…



    เรื่องอัศจรรย์ในวันครบรอบพระราชพิธีอภิเษกสมรส


    …วันที่ 28 เมษายน มีความสำคัญอย่างยิ่งอยู่ประการหนึ่ง คือเป็นวันครบรอบพระราชพิธีอภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันนั้นนอกจากจะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายภัตตาหารแก่ภิกษุสงฆ์ตามประเพณีแล้ว ตอนค่ำมักจะมีงานพระราชทานเลี้ยงอาหารแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการและข้าราชบริพารที่ไปเฝ้าฯ ถวายพระพรในโอกาสนี้ ถ้าเป็นขณะที่ประทับอยู่ที่วังไกลกังวล การพระราชทานเลี้ยงก็มักจะจัดที่สนามหญ้าริมทะเลหน้าพระตำหนัก นอกจากโต๊ะเสวยซึ่งใช้มหาดเล็กเชิญพระกระยาหารและนำอาหารไปวางให้ผู้รับพระราชทานจนถึงโต๊ะแล้ว ผู้รับพระราชทานเลี้ยงคนอื่นลุกไปตักอาหารแบบบุฟเฟ่ต์แล้วยกไปนั่งรับประทานตามโต๊ะต่างๆ ที่จัดไว้รอบๆ โต๊ะเสวย สมัยนั้น (พ.ศ.2513) เป็นธรรมเนียมที่พอเสวยเสร็จ พระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปยังเวทีที่จัดเตรียมไว้ แล้วทรงดนตรีร่วมกับนักดนตรีสมัครเล่น วง อ.ส. (ย่อมาจากอัมพรสถาน ซึ่งเป็นชื่อพระที่นั่งอัมพรสถานในพระราชวังดุสิต) พระราชทานแก่ผู้ที่ไปเฝ้าฯ รับพระราชทานเลี้ยงในงานนั้น

    [​IMG]


    เริ่มดนตรีเมื่อเวลาประมาณ 21 นาฬิกา และครั้งหนึ่งประทับอยู่บนเวทีโดยไม่ลุก หรือเสด็จฯ ลงไปที่ไหนเลย จนกระทั่งพระอาทิตย์ขึ้น
    ระหว่างนั้น นักดนตรีของ อ.ส. ได้ผลัดกันถวายบังคมแล้ว ถอยออกไปเข้าห้องน้ำหรือเปลี่ยนอิริยาบถกันเป็นครั้งคราวครั้งนั้นจำได้ว่า พอสว่างจึงเสด็จลุกจากเวที ทรงเป่าแตรนำขบวนนักดนตรีและผู้ที่ยังเหลือเฝ้าฯอยู่เดินลงไปยังชายหาดหน้าวังไกลกังวล แล้วประทับบนเรือใบทรงเรือใบต่อ
    ผมจำได้ว่า เมื่อเห็นเหตุการณ์ครั้งแรก ผมมีความวิตากังวลอย่างยิ่งในพระอนามัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนถึงกับต้องปรารภกับพล.ท.ม.จ.จินดา สนิทวงศ์ นายแพทย์ประจำพระองค์ผู้หนึ่งว่า ประทับอยู่เป็นเวลานานติดต่อกันหลายชั่วโมง โดยไม่ทรงลุกและเสด็จห้องสรงเลยอย่างนั้น จะไม่ทำให้ทรงพระประชวรด้วยพระโรคพระวักกะดักเสบดอกหรือคุณหมอจินดาก็ได้แต่ยิ้มและเฉยอยู่
    ต่อมาเมื่อได้ตามเสด็จฯ และสังเกตเห็นมากและบ่อยขึ้น ผมจึงได้เริ่มรู้ว่าที่ทรงสามารถทนปฏิบัติพระราชกิจได้เป็นเวลานานติดต่อกันโดยไม่ทรงมีอาการเหน็ดเหนื่อยหรือเบื่อหน่ายเลยนั้น เป็นผลของพระราชสมาธิโดยแท้…



    อุปสรรคใหญ่น้อย ในพระราชกรณียกิจไม่สามารถทำให้ในหลวงทรงหวั่นไหวหรือสดุ้งสะเทือนพระทัยได้


    …พระราชสมาธิของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ผมเชื่อว่าเป็นเหตุให้การประกอบพระราชกรณียกิจทุกครั้งสำเร็จลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อยสมพระราชประสงค์ และสมความต้องการของทุกฝ่าย แต่ที่ผมเห็นว่าสำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ เวลามีอุปสรรคขัดข้องในพระราชกรณียกิจไม่ว่าครั้งใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงหวั่นไหวหรือสดุ้งสะเทือนทรงดำรงสติมั่นและพระราชทานคำแนะนำ ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมีกำลังใจ และสามารถปัดเป่าอุปสรรคข้อขัดข้องเหล่านั้นได้ในที่สุด หรือถ้าหากเหลือวิสัยที่จะแก้ไขได้ ก็ไม่ทรงกริ้วหรือทรงแสดงความไม่พอพระราชหฤทัย แต่กลับทรงแสดงให้ผู้อื่นเห็นและเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้ ทำให้ทุกคนโล่งใจ และมีกำลังใจที่จะอุทิศกำลังกายและกำลังใจถวายต่อไป



    “ถามว่าทรงดุหรือเปล่า ตลอดเวลาที่ผมอยู่ในตำแหน่ง 12 ปี



    ไม่เคยเห็นพระเจ้าอยู่หัวท่านดุใครเลย
    ถ้ามีอะไรที่ปฏิบัติไม่ถูกพระทัย ท่านจะทรงสอน
    ผมเคยได้รับคำสั่งให้ไปเข้าเฝ้าเพราะการทำงานของผมมีปัญหา
    ท่านทรงรับสั่งว่ามีปัญหาเกิดขึ้นและแนะว่าควรปฏิบัติอย่างไร
    ให้โอกาสเราแก้ตัวใหม่ ไม่โปรดเสียเวลาอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
    แต่มีพระราชประสงค์ให้แก้ไขต่อไปข้างหน้ามากกว่า
    ในการรับสั่ง น้ำพระเสียงจะไม่มีกร้าวหรือเชิงดุ
    ตรงกันข้ามทรงรับสั่งด้วยน้ำพระเสียงที่เย็นและปลอบใจเรา

    ฉะนั้นเมื่อคนทำผิด ถ้าไปเข้าเฝ้า จะยิ้มออกมาทุกคน…”

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...