ไฟล์ที่สิบสอง อารมณ์พระอริยเจ้า (21 - มค - 47)

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 17 ตุลาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    [music]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2063[/music]


    อาสาช่วยพิมพ์แล้ว โดยคุณ น้ำมนต์<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_132699", true); </SCRIPT>
     
  2. น้ำมนต์

    น้ำมนต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +1,159
    อารมณ์พระอริยะเจ้า

    ...การปฏิบัติของเราทุกวัน พื้นฐานอย่างอื่น หายใจเข้า หายใจออก ต้องใช้คำว่า จำเป็นต้องรู้ไว้ คราวนี้ การที่เราทรง ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกอยู่ ถ้ายังต้องกำหนดใจไปรู้มัน แปลว่ากำลังมันยังอ่อนมาก ต้องให้มันรู้ลมอัตโนมัติ คือ ความรู้สึกอยู่กับลมหายใจและคำภาวนาโดยอัตโนมัติ ถ้าอย่างนั้นถึงจะพอมีกำลังจะตัดกิเลสหยาบขั้นต้นได้ การที่เราจะรู้ลมโดยอัตโนมัติก็หมายความว่า สมาธิต้องทรงตัว อย่างต่ำๆ ก็ต้องเป็นปฐมฌานละเอียด กำลังของปฐมฌาน มีอานุภาพสามารถตัดกิเลสขั้นต้นได้ คือ สามารถที่จะตัดสังโยชน์เบื้องต้นให้เราเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน และความเป็นพระสกิทาคามี ดังนั้นการรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก บางคนกล่าวว่าเป็นการติดในสมาธิ ขอบอกว่าถ้า สมาธิของเรากำลังไม่ทรงตัวก่อน โอกาสจะก้าวถึึงความเป็นพระอริยะเจ้านั้นจะไม่มี ดังนั้นทุกวันต้องประคับประคองรักษาอารมณ์ภาวนาของเราให้ทรงตัว คอยดูมันอยู่เสมอๆ ถ้าสติมันพลาดไป รู้ตัวเมื่อไรให้ดึงใจกลับเข้ามาอยู่ที่ลมหายใจเข้า ออก มันจะได้ไม่ฟุ้งซ่าน อย่างไรเรียกว่าฟุ้งซ่าน ก็ให้สังเกตุใจตนเองว่า มันอยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก มันอยู่กับคำภาวนา หรือว่ามันวิ่งไปอารมณ์อื่น ตัววัดที่ง่ายที่สุดก็คือ นิวรณ์ทั้ง ๕ อย่าง ได้แก่
    กามฉันทะ จิตมันพอใจอยู่กับรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ หรือไม่
    <O:pพยาบาท จิตมันนึก โกรธ เกลียด อาคาต แค้น คนนั้นคนนี้อยู่หรือไม่
    <O:pถีนมิทธะ คือมีความง่วงหงาวหาวนอน และขี้เกียจเป็นปกติ หรือไม่<O:p
    อุทธัจจะ คืออารมณ์ไม่ได้ตั้งมั่นอยู่เฉพาะหน้า ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ หรือไม่<O:p
    วิจิกิจฉา คือมาลังเลว่า ผลการปฏิบัติมันจะมีผลจริงหรือไม่
    <O:pถ้าอารมณ์ทั้ง ๕ อย่างนี้ ตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้นอยู่ในใจของเรา ฌานสมาบัติก็สลายตัวไปแล้ว ทันทีที่เห็นนิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่งอยู่ในใจของเรา รีบขับไล่มันออกไป วิธีไล่ที่ง่ายที่สุดก็คือดึงความรู้สึกทั้งหมด กลับมาอยู่กับลมหายใจเข้า ออก ของเรา ให้มันอยู่ตรงนี้ อยู่เดี๋ยวนี้ อยู่เฉพาะหน้าของเรา ทันทีที่กำลังใจของท่าน สามารถตามลมหายใจเข้าไป ผ่านจมูกรู้ตัวอยู่ ผ่านกึ่งกลางอกรู้ตัวอยู่ ลงไปสุดที่ท้องรู้ตัวอยู่ ลมหายใจออกจากท้องรู้ตัวอยู่ ผ่านกึ่งกลางอกรู้ตัวอยู่ มาสุดที่ปลายจมูกรู้ตัวอยู่ ขอบอกว่า อันนี้เป็นอาการของปฐมฌานขั้นต้น ปฐมฌานมี ๓ ระดับคือ หยาบ กลาง ละเอียด แค่ความรู้สึกของปฐมฌานเบื้องต้น ทันทีที่่ท่านเข้าถึง กำลังของมันเพียงพอที่จะกดไฟใหญ่ ๔ กองที่เผาเราอยู่ตลอดเวลาทุกวี่ทุกวัน คือ ราคะคิไฟคือราคะ โลภะคิไฟคือโลภะ โทสะคิไฟคือโทสะ โมหะคิ ไฟคือ โมหะ ไฟของ รัก โลภ โกรธ หลง ๔ กองนี้ เผาเราอยู่ตลอดเวลา ทันทีทันใดที่กำลังใจเข้าถึงปฐมฌาน ถึงแม้จะเป็นขั้นต้น ขั้นหยาบ แต่กำลังมันเพียงพอ มันจะกดให้ไฟ ๔ กองนี้ดับลงชั่วคราว เราจะพบกับความสุข ความเยือกเย็นใจ อย่างไม่เคยพบมาก่อน คนที่ถูกไฟเผาอยู่ตลอดเวลา อยู่ๆ ไฟดับลง มันสบายแบบไหน พูดเป็นคำพูดไม่ได้ คำพูดของคนก็ดี ตัวหนังสือก็ดี มันหยาบเกินไปที่จะอธิบายอารมณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติ พระุพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า มันเป็นปัจจัตตัง คือคนที่ทำนั้นแหละถึงจะรู้ได้ด้วยตนเอง
    <O:pเมื่อไฟทั้ง ๔ กอง ดับลง เราเข้าถึงความสุขเยือกเย็นอย่างบอกไม่ถูกนั้น ถ้าเรารู้จัุกใช้ปัญญาคิดต่ออีกนิดเดียว คือว่า นี่ยังเป็นโลกีย์ฌาน ยังเป็นกำลังสมาธิที่ผูกพันอยู่กับโลก โลกียะ คือยังทุกข์อยู่กับโลก มันยังมีความสุขความเยือกเย็นใจขนาดนี้ แล้วบุคคลที่ได้ฌานที่ ๒ จะมีความสุข ความเยือกเย็นใจขนาดไหน ฌานที่ ๓ ที่ทรงตัวกว่า ยิ่งมีความเยือกเย็นใจขนาดไหน แล้ว ฌาน ๔ ที่มั่นคงมากกว่ากำลัง ฌาน ๑, ๒, ๓ นั้นจะมีความสุขเยือกเย็นขนาดไหน แล้วกำลังของสมาธิ คือ ฌานสมาบัติทั้งหมดนี้ ยังสามารถที่จะพลาดลงสู่อบายภูมิได้<O:p


    ถ้าอย่างนั้นบุคคลที่เป็นพระโสดาบัน ท่านจะมีความสุขเยือกเย็นใจขนาดไหนที่ได้รู้ว่า อบายภูมิปิดสนิทสำหรับท่านแล้ว โอกาสจะตกต่ำไปกว่านี้ไม่มีแล้ว เกิดเป็นคน กับเทวดาสลับกันมากที่สุดก็ไม่เกิน ๗ ครั้ง ก็จะเข้าสู่พระนิพพานได้ ท่านจะมีความสุขเยือกเย็นใจขนาดไหน
    แล้วพระสกิทาคามี ที่ รัก โลภ โกรธ หลง เบาบางมาก อย่างเก่งก็เกิดอีกครั้งเดียวก็เข้าสู่พระนิพพาน นั่นจะมีความสุข ความสบายขนาดไหน
    <O:pพระอนาคามีที่ดับไฟราคะ ไฟโทสะ ได้อย่างแน่นอนแล้ว ราคะ กับ โลภะ เป็นตัวเดียวกัน เท่ากับว่าไฟใหญ่ ๔ กอง โดนดับไป ๓ กองแล้ว นั่นจะมีความสุขเยือกเย็นขนาดไหน
    <O:pแล้วพระอรหันต์ที่ดับไฟกิเลสทั้งหมดได้โดยสิ้นเชิงนั่นจะมีความสุขขนาดไหน ความสุขทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ จะเทียบได้กับความสุขขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุิทธเจ้าที่ตรัสรู้อนุตระสัมมาสัมโพธิญาณหรือไม่
    <O:pเมื่อเราคิดแบบนี้ ตรองแบบนี้ ความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือพระรัตนตรัย ก็จะเต็มอยู่ในจิตในใจของเราเอง กติกาข้อแรกของความเป็นพระโสดาบันก็อยู่ในกำมือของเรา คือเราต้องเคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จริงๆ ไม่ล่วงเกินด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ <O:p
    กติกาอีก ๒ ข้อก็คือว่าเราต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ถ้าสมาธิของเราทรงตัวเป็นฌาน สติมันจะรู้รอบ ขยับตัวก็รู้แล้วว่าศีลจะขาดหรือไม่ ดังนั้นการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ก็เป็นเรื่องง่าย นอกจากจะไม่ละเมิดศีลด้วยตัวเองแล้ว ยังไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่นเขาทำ เมื่อเห็นคนอื่นเขาละเมิดศีลก็ไม่พลอยยินดีด้วย ดังนั้นศีลทุกสิกขาบทของเราก็บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง กติกาข้อที่ ๒ ของการเป็นพระโสดาบันก็อยู่ในกำมือของเราเช่นกัน
    <O:pกติกาข้อสุดท้าย คือตั้งใจไว้ว่า ถ้าตายเมื่อไรเราขอไปพระนิพพานเพียงแห่งเดียว ถ้ากำลังสมาธิมันทรงตัว สติ สมาธิ มันจะจดจ่อตั้งมั่น เราอาจจะจับภาพพระเป็นปกติ หรือว่าเอาจิตเกาะพระนิพพานเป็นปกติ ถ้าอย่างนั้นกติกาความเป็นพระโสดาบันของเราก็สมบูรณ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง

    โบราณกาลถึงได้กล่าวไว้ว่า กำลังแค่ปฐมฌานก็สามารถเป็น พระโสดาบัน และพระสกิทาคามีได้แล้ว เหตุที่เป็นได้นั้น เพราะว่ากำลังของฌาน กดกิเลสให้สงบลงชั่วคราว ทำใ้ห้เราเห็นคุณของพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ทำให้เรารู้ว่าพระนิพพานนั้นดีจริงๆ ถ้าคิดว่ากติกาหลายข้อมันมากเกินไป ก็ให้ดูที่ศีลอย่างเดียว สติ สมาธิของเราทั้งหมดประคับประคองอยู่ที่ศีล ตั้งใจว่าเรารักษาศีลเพราะเคารพใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรารักษาศีลเพราะว่าเราต้องการจะไปนิพพาน ถ้าสติมันทรงตัวอยู่เฉพาะหน้า กำลังของมันทรงเป็นปฐมฌานได้ กติกาความเป็นพระโสดาบันก็ง่ายอย่างนี้ แล้วถ้าจะก้าวขึ้นความเป็นพระสกิทาคามี ก็ทำปฐมฌานนี้ให้ละเอียด มันจะรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกโดยอัตโนมัติ คนที่สติ สมาธิทั้งหมดอยู่้กับลมหายใจเข้า ออก เฉพาะหน้า ตัวรัก โลภ โกรธ หลง มันจะเบาบางมาก จริงๆ แล้วมันโดนกดดับไปซะด้วยซ้ำไป แต่ว่ากำลังมันยังไม่มั่นคง ดังนั้นถ้าเราสามารถทรงสมาธิได้ ในระดับปฐมฌานละเิอียด กติกาของความเป็นพระสกิทาคามี ก็อยู่ในกำมือของเราเช่นกัน
    <O:pอันนั้นให้เราทบทวนดูตามกรรมบถ ๑๐ เพราะว่าศีล ๕ น้อยเกินไปสำหรับพระสกิทาคามี ก็ดูว่าเรายังพลาดกัน เรายังทำร้ายสัตว์ให้ลำบากโดยเจตนาหรือไม่ เราหยิบฉวยสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ หรือว่าเรายังลักขโมย ช่วงชิง สิ่งของของคนอื่นเขาหรือไม่ คนที่เขารัก ถ้ามีโอกาส เรายังล่วงละเมิดหรือไม่ ไม่ว่าจะด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจก็ตาม ใจมันอาจจะคิด แต่ว่าถ้าสติ สมาธิมันอยู่ตรงหน้า มันจะรู้เท่าทัน แล้วก็ไล่ความคิดนั้นออกไปทัน มันก็สามารถที่จะระงับ ไม่ให้ออกไปทางวาจาที่จะพูุด ไม่ให้ออกทางกายที่จะทำได้

    <O:p
    คราวนี้ก็มาดูกรรมอันเกิดจากคำพูดทั้ง ๔ อย่าง คือ ผรุสะวาทา พูดคำหยาบ ยังด่าคนอื่นอยู่ ถ้าสติสมาธิมันอยู่กับฌานสมาบัติตรงหน้า มันไม่่มีเวลาไปด่าใคร มันไม่สามารถที่จะโกรธจนไปด่าใครได้ มันยังพูดส่อเสียด ยุยงให้คนอื่นเขาแตกร้าวกันหรือไม่ ถ้าสติสมาธิมันอยู่ตรงหน้า จิตทรงเป็นฌาน ปัญญามันจะแหลมคม มันจะเห็นว่าการทำดังนั้นสร้างแต่ความทุกข์ให้กับทั้งตนเองและผู้อื่น มันก็จะหยุดการกล่าววาจาส่อเสียด ยุแยง ตะแคงแฉะให้คนอื่่นเขาแตกร้าวกัน ไม่ว่าจะเป็นการเลียบเคียงในลักษณะใดก็ตาม ถ้ากำลังใจมันทรงฌานจริงๆ ตัววิหิงสาวิตก คือการคิดพยาบาท การคิดร้ายต่อคนอื่นมันจะไม่มี ดังนั้นคำพูดส่อเสียดมันก็จะไม่มี การพูดวาจาเพ้อเจ้อ คือ สัมถปราปวาทา ก็ไม่มี เหตุที่ไม่มีเพราะว่ากำลังสมาธิมันทรงตัวอยู่ สติมันรู้รอบ รู้ว่าคำพูดประเภทไหนมีประโยชน์ ไม่มีประโยชน์ ก็จะละคำพูดที่ไม่มีประโยชน์ หันมาพูดแต่คำพูดที่มีประโยชน์เพียงอย่างเดียว ส่วนข้อสุดท้ายคือ มุสาวาท การโกหกเขา ถ้าสติ สมาฺฺธิทรงตัว การโกหกก็จะไม่มี ดังนั้นกายกรรมทั้ง ๓ คือการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม จะไม่มี สำหรับผู้ที่ทรงฌานได้ วจีกรรม ๔ คือการพูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ พูดโกหก ก็จะไม่มีสำหรับผู้ที่ทรงฌานได้
    <O:pมันก็เหลือแค่ว่า อย่าโลภอยากได้ของของเขาจนเกินพอดี การโลภ คือการที่ไม่ได้มาถูกต้องตามศีล ตามธรรมแล้ว ก็ยังคิดลักขโมย ช่วงชิง ฉ้อโกง หลอกลวงเขา เพื่อให้ได้มาซึ่งของนั้น ถ้าหากว่าใจมันทรงเป็นสมาธิอยู่ ตััวโลภตัวนี้ก็จะไม่มี ก็จะเหลือตัวพยาบาทคือโกรธ เกลียด อาคาตแค้นคนอื่น ในเมื่อไฟราคะ โลภะ โทสะ โมหะ โดนกำลังของฌานสมาบัติมันกดดับไป ตัวโกรธ เกลียด อาคาตแึค้นคนอื่น มุ่งร้ายคนอื่นมันก็ไม่มี ส่วนกติกาข้อสุดท้ายของกรรมบถ ๑๐ นั้น เป็นส่วนกำไรแ้ท้ๆคือตัวทิฏฐชุกัมม์ นั้นเป็นสัมมาทิฐิ เห็นว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นดีแล้วถูกต้องแล้วเราตั้งใจจะปฏิบัติตามนั้น ก็จะเห็นได้ว่า ถ้าสมาธิัมันทรงตัวแค่ปฐมฌานเท่านั้น การจะเป็นพระโสดาบันก็ดี เป็นพระสกิทาคามีก็ดี ไม่ใช่ของยากสำหรับเรา ดังนั้นการปฏิบัติขั้นต้นของทุกๆ คน เราจำเป็นต้องยึดหัวหาดคือปฐมฌานเป็นอย่างนัอย เีืพื่อก้าวถึงความเป็นพระอริยะเจ้า คือความเป็นพระโสดาบันและพระสกิทาคามีเป็นลำดับแรก สำหรับอารมณ์ของพระอริยะเจ้าก็จะกล่าวถึงแต่เพียงนี้


    <O:p
    วันนี้เรามาศึกษากันต่อในเรื่องของจาคานุสติกรรมฐาน เราระลึกถึง พระพุุทธ พระธรรม พระสงฆ์กันมาแล้ว ระลึกถึงคุณความดีของเทวดากันมาแล้ว วันนี้เราจะมาดูว่า จาคานุสติ คือการระลึกถึงความเสียสละออก มีคุณความดีในลักษณะไหน สมควรปฏิบัติตามอย่างไร รากเหง้าของกิเลสใหญ่ทั้ง ๓ ประการ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ดึงให้เราเวียนตายเวียนเกิด ทุกข์ทรมานไม่รู้จบ ราคะ กับโลภะ รัก กับโลภ เป็นตัวเดียวกัน เพราะรัก ถึงอยากมีอยากได้ ท่านถึงได้กล่าวไว้แค่รัก ราคะ โทสะ โมหะ คราวนี้ตัว รัก ก็ดี ตัวโลภ ก็ดี ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ มันทำให้จิตใจของเราถูกหน่วงเหนียวแน่น อยู่กับทรัพย์สินสิ่งของต่างๆ ตลอดจนร่างกายของเรา ไม่รู้จักสละออก ก็ทำให้เรา ยึด เราเกาะ เราติด อยู่ในโลกนี้ ติดอยู่ในร่างกายนี้ เวียนตาย เีวียนเกิดไม่รู้จบ ราคะ โทสะ โมหะ เหมือนกับเก้าอี้ ๓ ขา ถ้าตราบใดที่ขาทั้ง ๓ ของมันยังมั่นคงอยู่ ตราบนั้นเราไม่สามารถที่จะล้มมันได้ เพราะเก้าอี้ตัวนี้ใหญ่มาก ใหญ่เหลือเกิน แต่ถ้าเราตัดขาใด ขาหนึ่งของมันออก เก้าอี้มันทรงตัวอยู่ไม่ได้ อย่างน้อยๆ มันต้องพลิกตะแคงไป ดังนั้นการที่เราจะตัดรากเหง้ากิเลสใหญ่ ตัวรัก กับโลภ หรือว่าตัวราคะนี้ ถ้ามีการเสียสละ คือการสละออกซึ่งทรัพย์สิน สิ่งของ อารมณ์ยึด อารมณ์เกาะ หรือว่าตัว รัก โลภ โกรธ หลง อันใดก็ตาม มันก็จะต้องอาศัย จาคานุสติ คือระลึกอยู่เสมอว่า ถ้ามีโอกาส เราจะให้ ถ้ามีโอกาส เราจะเสียสละ ไม่ว่าจะเห็นคน เห็นสัตว์ก็ตาม ถ้ารู้ว่า เขาต้องการความช่วยเหลือในด้านใด ถ้าหากเรามีความสามารถเราจะช่วย ความรู้สึกนี้มันจะทรงอยู่ในใจเสมอ คราวนี้การที่สละออก ส่วนใหญ่ก็ต้องเสียทรัพย์สินสิ่งของ แรกๆ ก็อาจจะรู้สึกว่ายากมาก ลำบากมากที่จะต้องเสียสละสิ่งที่เราหามาโดยยาก ก็ให้สละจากของน้อยๆ ก่อน การที่เราจะสละออก จะทำบุญ จะสร้างในทานบารมี ถ้าหากว่าเราสละของใหญ่ จิตใจมันยึดมันหวง สละของแพงจิตใจมันยึดมันหวง ก็เริ่มสละจากของเล็กๆ น้อยๆ การสละออก ให้มีสติรู้ว่าเราทำเพื่อตัด ราคะ ตัด โลภะ ดังนั้นมันยิ่งหน่วงยิ่งเหนี่ยวเรามากเท่าไหร่ ให้เราสละออกได้มากเท่าไหร่ ถ้าเราสามารถสละได้ มันจะเกิดปีติ คือปลื้มใจ อิ่มใจมากเ่ท่านั้น กำลังการสละออก ถ้าหากว่าเราทำมาก สละไ้ด้ยาก ให้สละแต่น้อยๆ เีพียงแต่ว่าทำบ่อยๆ ถ้าเราทำบ่อยๆจิตใจเคยชินกับการสละออกต่อไปก็สละของใหญ่ได้ ของแพงได้ ของที่เรารัก เราหวง ก็สละได้ การสละออกนั้น ท่านบอกว่า ถ้าหากว่าเจตนาบริสุทธิ์ ตั้งใจละ เพื่อเป็นการตัด ตัวรัก ตัวโลภ จริงๆ หรือว่าเจตนาบริสุทธิ์ ไม่ใช่สละออกเพื่อให้คนอื่นเขาเห็นว่าเราดี วัตถุที่เราจะสละออกไป คือสิ่งที่เราได้มาโดยถูกต้องตามศีล ตามธรรม เมื่อเจตนาบริสุทธิ์ วัตถุทาน บริสุทธิ์ ตัวเราผู้ที่จะสละออกนั้น ขณะนั้นมีศีลทุกสิกขาบทบริสุทธิ์หรือไม่ ต้องใช้คำว่าขณะนั้น คือตอนนั้น เดี๋ยวนั้น ไม่ใช่ เมื่อนาทีก่อน หรือเมื่อชั่วโมงก่อน ที่เราละเมิดในศีล ดังนั้นว่าตัวเราตอนนั้นให้ตั้งใจว่าศีลทุกสิกขาบทของเรามีความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ เราก็จะ เป็นผู้ให้ที่บริสุทธิ์ ก็เหลือแต่ปฏิภาหก คือผู้รับว่าจะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ขนาดไหน ถ้าหากว่าเจตนาบริสุทธิ์ วัตถุทาน บริสุทธิ์ ผู้ให้บริสุทธิ์ ผู้รับบริสุทธิ์ การสละออกของเราจะมีอานิสงค์เต็มร้อยส่วน เพียงแต่ว่าให้ใช้ปัญญาประกอบ การสละออกของเราอย่าให้ตัวเองต้องเดือดร้อน อย่าให้คนรอบข้างต้องเดือดร้อน ถ้ามันยังจำเ็ป็นที่จะต้องใช้ ก็ให้คิดอยู่เสมอว่าถ้าหมดความจำเป็นเมื่อไร เราพร้อมที่จะสละออก อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นจาคานุสติ อย่าลืมว่า อนุสติคือการระลึกถึงเท่านั้น แค่คิดว่าเราจะสละ ถ้าหากว่าได้สละออกไป ได้ให้แล้ว อันนั้นเป็นทานบารมี ในเมื่อเราสละวัตถุ สละสิ่งของได้้ เราก็สละอารมณ์ไม่ดีในใจของเราได้ ค่อยๆ สละมันออกไปด้วยกำลังของสมาธิ ในเมื่อตัว ราคะ โลภะ มันออกไปได้ ตัวโทสะ กับโมหะ มันก็ไม่มีกำลัง เพราะว่าเก้าอี้ ๓ ขา มันโดนตัดขาไปเสียข้างหนึ่งแล้ว การที่เราจะตัดกิเลสให้เป็นสมุทเฉทปหาน เพื่อเข้าสู่พระนิพพานของเราก็เข้าไปแล้วอย่างน้อย หนึ่งใน สาม แต่ถ้าเราสละที่สุดแม้แต่ชีวิตนี้ก็สละไ้ด้ เพื่อถวายเป็นพุทธะบูขา ธรรมะบูชา สังฆะบูชา เพราะเรารู้ว่าเราทำความดีแบบนี้เราตายเราก็ไปพระนิพพาน ถ้าสามารถสละถึงขนาดนี้ได้ ยอมมอบกายถวายชีวิตต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความดีจุดใดที่เราทำไม่ได้ เรายอมตายเสียดีกว่า ถ้าอย่างนั้นตัวจาคานุสติคือการสละออกของเราจะมีผลเต็มที่ คือท้ายสุดก็เข้าสู่พระนิพพานเช่นกัน สำหรับเวลาทั่วๆ ไปเมื่อใคร่ครวญดูว่ามีสิ่งใดที่เราสละได้ มีสิ่งใดที่เราสามารถให้เพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นได้ เรามีโอกาสที่จะให้ แล้วเราไม่ให้มีไหม ถ้าหากว่าเราสามารถให้ได้ทุกเวลา ก็ให้ทรงอารมณ์ใจภาวนารักษาอารมณ์ตัวสละในใจของเรานั้นให้ทรงตัวไ้ว้ สมาธิทรงตัวสูงมากเท่าไร กำลังการสละออกของเราก็ยิ่งสูงมากเท่านั้น สามารถที่จะให้ได้ตลอดเวลา แม้แต่ชีวิต เลือดเนื้อ ร่างกาย ถ้ามีคนต้องการมันก็สละให้ได้ เพราะเรารู้ว่าเราตาย เราก็ไปพระนิพพาน ก็ให้เอาใจเกาะพระนิพพานเป็นจุดสุดท้าย จับอารมณ์ภาวนาให้ทรงตัว ให้กำลังมันสูงที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ถือจาคานุสติกรรมฐาน ก็จะสามารถทรงตัวอยู่ตราบใดก็ตามที่เรายังคิดจะสละออก ตราบนั้นตัวอนุสติตัวนี้ก็ตั้งมั่นอยู่กับเราตลอดไป

    <O:pสำหรับตอนนี้ก็อย่าลืมเรื่อง ภาพพระคือพุทธานุสติของเราให้อยู่ควบกับลมหายใจเข้า ออก กำหนดใจเบาๆ สบาย ๆ แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งจับภาพพระให้เป็นปกติ เมื่อสวดมนต์ทำวัด ให้ตั้งใจว่าเราทำเป็นพุทธะบูชา ธรรมะบูชา สังฆะบูชา อานิสงค์ทั้งหมด เราต้องการไปพระนิพพานแห่งเดียว ความรู้สึกของเราจัุบภาพพระเอาไว้ปากเราก็สวดมนต์ทำหน้าที่ของเราไป ถึงเวลาทำการทำงานอื่นๆ ก็ให้ภาพพระอยู่กับเราตลอดเวลา การงานต่างๆ ก็จะทรงตัว จะทำแล้วได้ผลละเอียดละออดี ตอนนี้ก็ให้ค่อยๆถอนจิตออกมาและ ประคับประึคองให้อยู่กับภาพพระเอาไว้<O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2005
  3. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    เยี่ยมเลย.... โมทนาจ้า
     
  4. กัมบัส

    กัมบัส Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +83
    กัมบัส

    วันนี้เราเพิ่งพิมพ์ไฟล์ที่12เสร็จ ว้าทำไงดีหละ คิดแล้วเชียวว่าต้องชนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2008
  5. น้ำมนต์

    น้ำมนต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +1,159
    ขอขอบคุณและขออนุโมทนากับคุณกัมบัสด้วยเช่นกันนะคะ
    บังเอิญใจตรงกัน แต่อย่าเพิ่งเสียกำลังใจนะคะ
    ยังมีอีกหลายไฟล์ที่ยังไม่ได้พิมพ์

    ใครจะพิมพ์ไฟล์ไหนควรจะโพสบอกหน้าบอร์ดนิดหนึ่งนะคะจะได้ไม่ซ้ำกัน
    และก็ต้องขอโทษคุณกัมบัสด้วยค่ะ บังเอิญจริงๆ
     
  6. กัมบัส

    กัมบัส Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +83
    เราเองต่างหากที่ต้องขอโทษ

    ขอบคุณมากที่ให้กำลังใจมา แต่ว่ากัมบัสซะอย่าง เดี๋ยวก็หาเรื่องไปไฟล์ที่14 อีกจนได้ ฮ่าๆๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2008
  7. กัมบัส

    กัมบัส Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +83
    ใจตรงกันนะสิ

    อารมณ์พระอริยเจ้าและจาคานุสติกรรมฐาน ดีมากๆเลยค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • file no.12.doc
      ขนาดไฟล์:
      47.5 KB
      เปิดดู:
      361

แชร์หน้านี้

Loading...