ไม่ควรนำทุกข์มาทับถมตนที่ไม่เป็นทุกข์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 10 ตุลาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เมื่อจะพัฒนาความสุข ก็ต้องไม่มองข้ามคำว่า “ทุกข์” เพราะรู้อยู่ชัดๆว่า ทุกข์นั้นก็มีอยู่ เหมือนเป็นของคู่กัน แต่ตรงข้ามกับสุข เมื่อทุกข์เป็นของจริงที่มีอยู่ เมื่อมองจะเอาความสุข ก็ต้องไม่มองข้ามความทุกข์ คือมองอะไรต้องมองให้ครบ มองให้เต็มตา มองตามความเป็นจริง ไม่ใช่หลีกหลบสายตา แล้วก็เลยไปค้างคาอยู่ในใจ


    ยิ่งกว่านั้น ถ้าบอกว่ามีความสุข แต่ยังมีทุกข์อยู่ ก็เป็นสุขแท้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ที่ว่าพัฒนาความสุข ก็หมายถึงลดทุกข์ หมดสุข บำราศทุกข์ ปลดทุกข์ ดับทุกข์ได้ไปด้วย


    ทุกข์ สภาพกดดันบีบคั้น เป็นที่ตั้งแห่งปัญหา หรือสิ่งสรรพ์อันมีวิสัยให้เกิดปัญหา กิจคือ ปริญญา แปลว่า รู้รอบ หรือรู้เท่าทัน

    ที่จริงความหมายของทุกข์ ไม่ใช่แค่ที่คนทั่วไปพูดกัน ไม่ใช่แค่ความรู้สึกเจ็บปวดกายใจ ไม่สบายเท่านั้น แต่คือสิ่งทั้งหลายซึ่งอยู่ในวิสัยที่จะทำให้เกิดความบีบคั้นได้ ในเมื่อปฏิบัติไม่ถูกต้องต่อมัน จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ถึงกับปริญญาให้รู้เท่าทัน


    มรรค วิธีปฏิบัติให้ถึงความไร้ทุกข์ กิจคือ ภาวนา แปลว่า ทำให้เป็นให้เกิดมี เจริญ ปฏิบัติ หรือลงมือทำ



    แต่รวมแล้วก็คือ ทุกข์เป็นเรื่องสำหรับปัญญารู้ ทุกข์เป็นเรื่องของปัญญา สำหรับปัญญาจัดการให้จบไป ไม่ใช่สำหรับเอามาใส่เก็บดองไว้ให้ปูดหรือบูดเน่าอยู่ในหัวใจให้หมดความสดใสเบิกบาน


    พูดให้มั่นอีกว่า ถ้าทุกข์มา ก็เอาปัญญาออกไปรับหน้ามัน จงเจอกับทุกข์ด้วยปัญญา อย่าเอาจิตใจไปยุ่งกับมัน ด้านที่คนไทยเรียกว่าอารมณ์นั่นแหละไม่ต้องวุ่นวาย อย่าไปรับมันมาไว้ให้ใจเราถูกบีบคั้น ถ้าใจรับเอามันมาแล้ว ก็อย่าเก็บไว้ให้อัดอั้นในใจ รีบส่งต่อให้ปัญญาเอาไปหาทางจัดการ


    ถ้าเอาทุกข์มาเก็บอัดไว้ในใจ นอกจากไม่ได้แก้ไข มีแต่ทุกข์เปล่าๆแล้ว ตัวเราก็ไม่พัฒนา แต่ถ้าส่งต่อให้ปัญญา นอกจากมีทางแก้ไข ชีวิตของเราก็จะได้พัฒนา


    จำเป็นหลักไว้เลยว่า ทุกข์ไม่ใช่ธุระของใจ แต่ทุกข์เป็นธุระของปัญญา ใจมีหน้าที่ใช้ปัญญา ใจไม่มีหน้าที่เป็นทุกข์ เจ้าของเรื่องคือปัญญา ที่มีหน้าที่แก้ปัญหาดับทุกข์ ปัญญาดับทุกข์ได้ แถมระหว่างนั้นยังสร้างสุขให้ด้วย


    ใจมีหน้าที่ประจักษ์ในความสุข จงพัฒนาใจให้เก่งในความสุข และพัฒนาปัญญาให้เก่งในการแก้ปัญหาดับทุกข์ ใจดี ต้องมีสุขได้ ปัญญาดี ต้องดับทุกข์ได้ แต่ใจจะดีมีสุขจริงแท้ ก็เมื่อมีปัญญาดับทุกข์ให้หมดไปสิ้น

    เป็นอันว่า ต้องทำให้ถูก ต้องปฏิบัติให้ตรงตามกิจต่ออริยสัจ ถ้าเจอทุกข์ ใครเอามาเก็บอัดกดดันบีบคั้นทำจิตใจให้คับแคบ หมกมุ่น ขุ่นมัว เศร้าหมอง นั่นคือทำหน้าที่ต่อทุกข์ไม่ถูก ปฏิบัติผิดหน้าที่แล้ว ต้องหยุดแล้วหันไปทำให้ถูก เอาปัญญามาจัดการอย่างที่ว่าไปแล้วนั้น

    ตรงนี้ ถือว่าเป็นต้นทาง เริ่มออกเดินทาง เพราะฉะนั้น อย่าให้พลาด ต้องเริ่มให้ดี เพื่อจะเข้าทางได้ แล้วก็เดินหน้าไปอย่างมั่นใจด้วยกัน
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ปัญญา * แปลกันว่า ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ

    แปลกันอย่างง่ายๆ พื้นๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้) เป็นการมองทะลุสภาวะหรือมองทะลุปัญหา
    ปัญญาช่วยเสริมสัญญาและวิญญาณ ช่วยขยายขอบเขตของวิญญาณให้กว้างขวางออกไปและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ส่องทางให้สัญญามีสิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้น เพราะเมื่อเข้าใจเพียงใด ก็รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความเข้าใจเพียงนั้น
    เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง เมื่อยังคิดไม่ออก ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปได้ ต่อเมื่อเข้าใจ คิดแก้ปัญหาได้แล้ว ก็มีเรื่องให้รับรู้ และกำหนดหมายต่อไปอีก

    ปัญญา ตรงข้ามกับโมหะ ซึ่งแปลว่าความหลง ความไม่รู้ ความเข้าใจผิด
    ……….
    * ปัญญา มักแปลกันว่า wisdom หรือ understanding
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    (ทุกข์สามนัย)

    ทุกข์ 1. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง (ข้อ ๒ ในไตรลักษณ์) 2. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฏขึ้นหรืออาจปรากฏขึ้น ได้แก่ คน (ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือ ทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔) 3. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึง ความไม่สบายกาย คือ ทุกข์กาย (โทมนัส คือ ไม่สบายใจ) แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึง ความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือ ทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ

    ทุกขเวทนา ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย


    สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย


    สุข ความสบาย, ความสำราญ, ความฉ่ำชื่นรื่นกายรื่นใจ มี ๒ คือ 1. กายิกสุข สุขทางกาย 2. เจตสิกสุข สุขทางใจ, อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ 1 . สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ 2 . นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คือ อิงเนกขัมมะหรือสุขที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุ


    คำว่า “สบายภาษาไทยแปลเพี้ยนไปจากภาษาบาลี "สบาย" ในภาษาบาลี แปลว่า สภาพเอื้อ ที่ทำให้เราทำอะไรได้ผลดี แต่คนไทยพอฟังคำว่า สบาย ก็แปลไปในความหมายว่า เราจะได้นอน ไม่ต้องทำอะไร คือ มองในความหมายที่จะหยุด


    สุขก็เหมือนกัน "สุข" แปลว่า คล่อง ง่าย สะดวก คือสภาพคล่องนั่นเอง หมายความว่า ในเวลาที่สุขนั้นจะทำอะไร ก็ทำได้ง่าย คล่อง สะดวก ตรงข้ามกับตอนที่ทุกข์ ซึ่งทำได้ยากและมักจะติดขัดไปหมด แต่เรากลับไปดิ้นทำแต่ในตอนทุกข์ พอสุขที่จะทำได้ง่าย ทำได้คล่อง จะทำอะไรก็ทำได้เต็มที่ เรากลับจะหยุดจะเฉยจะสงบนอน การทำอย่างนี้ ท่านเรียกว่า ประมาท ก็คือใช้โอกาสไม่เป็น หรือไม่รู้จักใช้โอกาส พอมีโอกาสที่จะทำได้ดีก็กลับมานอนเสีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2017
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อๆจาก # 1

    ทั้งทุกข์และสุข ปฏิบัติให้ถูก มีแต่สุข ทุกข์ไม่มี

    เมื่อเริ่มออกเดินทาง จับเรื่องได้ จับจุดถูก ได้หลักใหญ่ ดังว่าได้แล้ว ต่อจากนั้นไป ในระหว่างทาง หรือตลอดทาง ก็มีหลักย่อยในการปฏิบัติต่อความสุขและความทุกข์ไว้ช่วยอีก เป็นข้อสำคัญที่เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติโดยตรง และพระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้เองด้วยเช่นเดียวกัน นั่นคือ วิธีปฏิบัติต่อความสุข ซึ่งก็รวมวิธีปฏิบัติต่อความทุกข์ไว้ด้วยในตัว


    วิธีปฏิบัติต่อความสุข ขอว่าไปตามพุทธพจน์ที่แสดงไว้ ในพระสูตรชื่อว่าเทวทหสูตร มี ๔ ข้อง่ายๆ
    คือ
    ๑.ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่เป็นทุกข์

    ๒.ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม

    ๓. แม้ในสุขที่ชอบธรรมนั้น ก็ไม่หมกมุ่นสยบ

    ๔.เพียรทำเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป (โดยนัยว่า เพียรปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสุขที่สูงขึ้นไปจนสูงสุด)
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พูดกันบ้อยบ่อย "ปรุงแต่งๆๆ" แต่ดูๆเหมือนจะมุ่งคิดนึกแต่ทางร้ายทางไม่ดีด้านเดียว คคห. นี้ควรทำความเข้าใจให้ชัด จะได้ปรุงแต่งเป็น :) แต่ถึงกระนั้น ก็ยังคงต้องฝึกคิดฝึกปรุงแต่งอีกเหมือนกัน เพื่อจะได้มีกำลังพอยกจิตใจขึ้นจากหล่มความคิดนึกได้

    ต่อ

    ในข้อที่ ๑ ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่เป็นทุกข์ จะเห็นว่าคนเรานี้ ชอบเอาทุกข์มาทับถมตน คือ ตัวเองอยู่ดีๆ ไม่ได้เป็นทุกข์อะไร แต่ชอบหาทุกข์มาใส่ตัว ตัวอย่างง่ายๆ ได้แก่ คนกินเหล้าเมายา เสพยาเสพติด ตัวเองก็อยู่สบายๆ กลับไปเอาสิ่งเหล่านั้นที่รู้กันอยู่ชัดๆ ว่ามีโทษมาก ตั้งแต่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ทั้งที่รู้อย่างนี้ ก็เอามาใส่ตัวเองให้เกิดทุกข์เกิดปัญหาขึ้นมา


    ลึกลงไป ทางจิตใจ บางคนเที่ยวเก็บอารมณ์อะไรต่างๆ ที่กระทบกระทั่งนิดๆหน่อยๆ ทางตา บ้าง ทางหู บ้าง ได้เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ได้เห็นคนนั้นคนนี้ เขาทำอันนั้นอันนี้ ได้ยินเขาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ก็รับเข้ามาเก็บเอาไว้เป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ผ่านไปแล้ว แต่พอมีเวลาไปนั่งเงียบๆคนเดียว ก็ยกเอามาคิด เอามาปรุงแต่งในใจ ทำให้ใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว ไม่สบายใจ ก็กลายเป็นทุกข์ อย่างนี้ ก็เป็นการเอาทุกข์ทับถมตนอย่างหนึ่ง


    ทางพระก็สอนว่า ผู้ที่ยังอยู่กับชีวิตในระดับชาวบ้านนั้น ถ้าจะปรุงแต่งก็ไม่ว่า แต่ขอให้ปรุงแต่งในทางที่ดี อย่าไปปรุงแต่งไม่ดี ถ้าปรุงแต่งไม่ดี ท่านเรียกว่าอปุญญาภิสังขาร ได้แก่ ปรุงแต่งเรื่องร้ายๆ เรื่องบาปอกุศล เป็นเรื่องโลภะ โทสะ โมหะ ก็กลายเป็นปรุงแต่งทุกข์


    ท่านให้เปลี่ยนใหม่ ให้มีสติมากั้นมายั้ง ด้านที่ไม่ดี ให้หยุดไปเลย แล้วก็ปรุงแต่งดีๆ ให้เป็นปุญญาภิสังขาร ให้เป็นเรื่องบุญ เรื่องกุศล ปรุงแต่งจิตใจในทางที่ดี อย่างน้อย ให้มีปราโมทย์ ต่อไปปีติ ปัสสัทธิ เข้าทางดีไปเรื่อยๆ อย่างนี้ก็แก้ปัญหาได้ และเดินหน้าไปในทางของความสุข


    ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าตรัสถึงพวกนิครนถ์ที่บำเพ็ญตบะ คนพวกนี้เอาทุกข์มาทับถมตนชัด เวลาโกนผม ก็ไม่ใช้วิธีโกน แต่เอาแหนบมาถอนผมทีละเส้นๆ จนหมดหัว

    พวกนักบำเพ็ญตบะนั้น คิดวิธีขึ้นมาทำกันต่างๆ แม้แต่เตียงที่ดีๆ จะทรมานตัวเอง ก็เอาตะปูไปตอกๆ แล้วก็นอนบนตะปู หรือนอนบนหนาม แล้วก็อดข้าวอดน้ำ เวลาหนาวก็ไปยืนแช่ตัวในแม่น้ำ เวลาร้อน ก็มายืนตากที่กลางแดด อย่างนี้ เป็นต้น

    การบำเพ็ญตบะเหล่านี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่ได้เป็นทุกข์ ก็นำมาเล่าไว้ เป็นการยกอดีตมาให้ฟัง เพื่อจะได้เทียบเคียง สำหรับยุคปัจจุบัน ก็ขอให้นึกตัวอย่างเอาเอง ตามหลักที่ว่า ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่ได้เป็นทุกข์นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2017
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    อิทํ ปุเร จิตฺตมจาริ จาริกํ
    เยนิจฺฉกํ ยตฺถกามํ ยถาสุขํ
    ตทชฺชหํ นิคฺคหิสฺสามิ โยนิโส
    หตฺถิํ ปภินฺนํ วิย องฺกุสคฺคาโห.

    เมื่อก่อน จิตนี้ ได้เที่ยวไป ตามอาการที่ปรารถนา ตามอารมณ์ที่ใคร่ ตามความสบาย วันนี้ เราจักข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการ ประหนึ่งนายควาญช้าง ข่มช้างที่ตกมันแล้ว ฉะนั้น.


    อปฺปมาทรตา โหถ - สจิตฺตมนุรกฺขถ
    ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ - ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร.


    เธอทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม (หล่มคือกิเลส) ประหนึ่งช้างที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ ฉะนั้น.
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ


    ในข้อ ๒ ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม ความสุขที่ชอบธรรม ก็มีทั่วๆไป อย่างชาวบ้านที่ประกอบการงาน อาชีพสุจริต ได้เงินทองมา ก็ใช้จ่ายบริโภค เลี้ยงดูครอบครัว และผู้คนที่ตนรับผิดชอบ ตามหลักความสุขของชาวบ้าน (คิหิสุข) ๔ อย่าง ว่าสุขจากการมีทรัพย์ สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ สุขจากความไม่เป็นหนี้ และสุขจากประกอบกรรมดีงามอันปราศจากโทษ จากการทำกายกรรทม วจีกรรม มโนกรรมที่สุจริต ความสุขที่ไม่มีการเบียดเบียนใคร เป็นต้น ถ้าเป็นสุขที่ชอบธรรมอย่างนี้ ท่านไม่ให้ละเลยทอดทิ้ง

    ความสุขที่ชอบธรรมมีนานับปการ พูดตามหลักโน้น ตามหลักนี้ ได้มากมาย อย่างที่ผ่านมาแล้ว ก็มีสุขได้ทั้งนั้น จะเอาสุขจากทาน ศีล ภาวนา ก็ได้ ซึ่งสูงขึ้นไปถึงสุขในการเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา หรือจะเอาสุขจากชุดเมตตากรุณา หรือชุดสังคหวัตถุ ฯลฯ ได้ทั้งนั้น คงไม่ต้องอธิบายอีก


    รวมความก็คือ สุขที่ชอบธรรมเหล่านี้ ไม่ต้องไปรังเกียจ ไม่ต้องไปละทิ้ง (พวกลัทธิบำเพ็ญตบะ เขามุ่งทรมานตน เขาจึงเลี่ยงความสุข)
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อไปข้อที่ ๓ แม้ในสุขที่ชอบธรรมนั้น ก็ไม่หมกมุ่น ไม่สยบ ข้อนี้สำคัญมาก เป็นการพัฒนาก้าวหน้าไปไกล เพราะว่า เมื่อประสบความสุขที่ชอบธรรม เราไม่ละทิ้ง เรามีความสุขอย่างนั้นได้ นั่นก็คืออย่างยิ่งแล้ว แต่คนก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้นมากับความสุขนั้นได้อีก นั่นก็คือ เกิดความติด ความหลงเพลิน หมกมุ่น ที่จะทำให้ขี้เกียจ ทำให้ประมาท แล้วก็ทำให้เสื่อมได้ ใครผ่านจุดนี้ไปได้ ก็จะเป็นผู้ที่ได้พัฒนาในขั้นที่สำคัญ


    พูดอย่างรวบรัดว่า แม้ในสุขที่ชอบธรรมนั้น ก็ไม่สยบ ไม่หลงติด ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น เมื่อปฏิบัติได้ถูกต้องในขั้นนี้ ก็จะเป็นการพัฒนาที่สำคัญ คือ ความสุขไม่อาจครอบงำเราได้


    หนึ่ง ไม่ทำให้เราตกลงไปในความประมาท ความสุขไม่กลายเป็นโทษ

    สอง ไม่ทำให้เราสูญเสียอิสรภาพ เราไม่ตกเป็นทาสของความสุข ยังคงเป็นอิสระอยู่ได้

    สาม เปิดโอกาสให้การพัฒนาความสุขเดินหน้าก้าวต่อสูงขึ้นไป
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สุดท้าย ข้อ ๔ เพียรกำจัดเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป เป็นขั้นจะไปให้ถึงความสุขที่สมบูรณ์เด็ดขาด หมายความว่า ตราบใด เหตุแห่งทุกข์ยังมีอยู่ ยังเหลืออยู่ ทุกข์ยังมีเชื้ออยู่ ก็ยังไม่จบสิ้น ทุกข์ก็ยังเกิดขึ้นอีกได้ ยังมีทุกข์แฝงอยู่ ก็เป็นความสุขที่ยังไม่สมบูรณ์ จึงต้องกำจัดเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป

    จากข้อนี้ จะช่วยให้เราเข้าใจว่า ทำไมท่านจึงใช้คำว่า ดับทุกข์ เพราะเป็นคำที่ชี้ชัด และเด็ดขาด

    ถ้าจะบอกว่า พัฒนาความสุข นั่นก็ดี ก็พัฒนาก้าวหน้ากันไป แต่อย่างที่บอกแล้ว คือเป็นแบบปลายเปิด ไม่รู้จัดหมายที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ชัดลงไป

    ในช่วงต้น บอกผ่านมาทั้งเชิงลบเชิงบวกแล้ว ในที่สุด จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ก็ต้องปิดรายการด้วยคำเชิงลบ ให้เด็ดขาดว่า ทุกข์ไม่เหลือแล้ว มีแต่สุขอย่างเดียว เต็มเปี่ยม สมบูรณ์

    อย่างไรก็ตาม คำว่า “เพียรกำจัด...” ก็บอกอยู่ในตัวว่า การกำจัดเหตุแห่งทุกข์นั้น ก้าวไปกับความเพียร เหตุแห่งทุกข์มิใช่ว่าจะหมดปุ๊บปั๊บ เช่น ทำให้ โลภะ โทสะ โมหะ ลดน้อยลงไป ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เบา บางลงไป ซึ่งก็จะดำเนินไปด้วยการปฏิบัติตามมรรค มีการเจริญ ศีล (อธิสีลสิกขา) สมาธิ (อธิจิตตสิกขา) ปัญญา (อธิปัญญาสิกขา) บรรเทากิเลสทั้งหลาย ลดอวิชชาลงไป เมื่อพูดเชิงสัมพันธ์ นี่ก็คือการทำความสุขให้เพิ่มขึ้นมาๆ

    เพราะฉะนั้น ข้อ ๔ นี้ พูดอีกสำนวนหนึ่ง ก็คือ การพัฒนาความสุขนั่นเอง แต่เพื่อให้ชัดเจน ก็บอกกำกับไว้ด้วยว่า พัฒนาจนสูงสุด หรือจนสมบูรณ์ จึงได้ใส่ในวงเล็บไว้ด้วยว่า “โดยนัยว่า เพียรปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสุขที่สูงขึ้นไปจนสูงสุด” ก็คือพัฒนาจนถึงความสุขที่สมบูรณ์ ก็คือเป็นบรมสุขนั่นเอง

    ทีนี้ จะทำสำเร็จอย่างนั้นได้ ก็ต้องรับกันกับข้อ ๓ ที่ว่า แม้ในสุขที่ชอบธรรม ก็ไม่หมกมุ่นสยบ ไม่มัวติดเพลิน แล้วประมาท จม หยุด ปล่อยตัวอยู่แค่นั้น หรือเถลไถลออกไป พอข้อ ๓ เปิดโอกาสให้ ความเพียรก็พาขึ้นมาข้อ ๔ ต่อไป เป็นอันจบกระบวน

    นี่ก็คือวิธีปฏิบัติต่อความสุข ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้แล้ว
     
  11. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    มจด สุข ทุข อทุขมเวทนา เป็นเวทนาหมดเลย เป็นปลายเหตุ มจด มาๆ ลงเรื่อง โลภะ กับปติคะ แล้วก้โมหะบ้างดีกว่า ตัวต้นแห่งแห่ง ตันหา ต้นตอแห่งทุข ตัวสมุทัย
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    จะลงให้แต่ไปสะกดมาให้ถูกก่อน ตัวไหนสะกดผิดบ้าง ดูสิน่า :D
     
  13. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    ความรู้ขั้นนี้เพื่อใช้ระงับหรือปิดกั้นทุกข์ภัยต่างๆ
    ถ้าต้องการดับทุกข์ ก็ต้องมุ่งภาวนาดับภพดับชาติ
    กันไปเลยทีเดียว โดยการปฏิบัติตามมรรค ๘
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ภาวนาดับภพดับชาติ แต่ถ้าทำแบบไม่รู้เหนือรู้ใต้ ออก ตก ทำแบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่ แทนที่จะดับภพดับชาติ อาจกลายเป็นดับอนาคต ดับอนาถ หรือดับชีวิตไป คิกๆๆ
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อจาก # 10


    ทีนี้ เรื่องการปฏิบัติต่อความสุขนี้ อาจนำมาพูดง่าย โดยจับเอาจุดที่เด่นในการใช้ประโยชน์ของเรา ซึ่งอาจจะเรียกว่าจุดเน้นในการปฏิบัติ เป็น ๓ อย่าง
    คือ
    หนึ่ง ไม่ประมาท ข้อนี้สำหรับคนทั่วไป รีบยกขึ้นมาตั้งเป็นหลักจำ เพื่อเตือนใจให้มีสติไว้แต่ต้น เพราะความสุขนี้ชวยให้เพลิดเพลิน หลงใหล แล้วก็ผัดเพี้ยน เฉื่อยชา เกียจคร้าน ประมาท อย่างที่ว่าแล้ว จึงต้องระวัง ไม่ให้เกิดความประมาท

    ดูสิ คนสำคัญ วงศ์ตระกูล สังคม ประเทศชาติ จนถึงอารยธรรมใหญ่ๆ ที่ประสบความสำเร็จรุ่งเรืองขึ้นมาแทบทุกราย พอเจริญงอกงามถึงจุดหนึ่งแล้ว ก็มักลุ่มหลง มัวเมา แล้วก็จะถึงจุดจบล่มสลายพินาศหายไป เรื่องราวมากมายในประวัติศาสตร์บอกห้เรารู้เท่าทันไว้อย่างนี้


    ในครอบครัวนี่แหละสำคัญนัก คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ประมาท แม้แต่เมตตาที่แสนดี พอมีมากเกินไป ดีแต่เอาอกเอาใจ ได้แต่โอ๋ บำรุงบำเรอลูกเป็นการใหญ่ จนมากเกินไป ไม่รู้จักเอาอุเบกขาเข้ามาดุล ไปๆมาๆลูกกลายเป็นอ่อนแอ ประมาท ไม่พัฒนา เผชิญชีวิตไม่ได้ ไปแต่ในทางหลงมัวเมา แล้วครอบครัวก็เสื่อมลง วงศ์ตระกูลเสียหาย


    ถึงแม่แต่ละคน ก็เหมือนกัน ตอนแรกมีความเพียรพยายามสร้างเนื้อสร้างตัวมาอย่างดี แต่พอมั่งคั่งเปรมปรีดิ์มีสุขเต็มที่ ทีนี้ก็หลงมัวเมา ประมาท แล้วก็ตกลงไปในทางแห่งความเสื่อม

    เป็นอันว่า หนึ่ง ในความสุขนั้น ระวังไว้ อย่างได้ประมาท


    สอง ใช้เป็นโอกาส เมื่อกี้บอกแล้วว่า ยามมีทุกข์ เราถูกบีบคั้น อึดอัด ขัดข้อง จะทำอะไรก็ยากไปหมด ต้องใช้ความเพียรมาก แต่นั้นก็ดีไปอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อมันติดขัด มันยาก เราก็ยิ่งเพียรพยายามมาก เราก็เลยได้เรียนรู้ ได้ฝึก ได้หัด ได้พัฒนาตนมาก พอทำให้เหมาะ กลายเป็นเจริญงอกงาม มีความสำเร็จกันใหญ่


    ทีนี้ ความสุขล่ะดีอย่างไร สุขนั้น ชื่อบอกอยู่แล้ว คือแปลว่าคล่อง ว่าสะดวก ว่าง่าย นี่ก็ดีไปอีกแง่หนึ่ง คือ มันสะดวก มันคล่อง มันง่าย จะทำอะไร หรือมีอะไรจะต้องทำ ก็รีบทำเสีย นี่ล่ะเมื่อความสุขมา ก็ใช้มันเป็นโอกาส


    เพราะฉะนั้น พอมีความสุขขึ้นมา ก็ต้องรีบใช้เป็นโอกาส มันคล่องมันสะดวกมันง่าย จะทำอะไรก็ทำ แทนที่จะถูกสุขล่อไปตกหลุมแห่งความลุ่มหลงให้มัวเพลินผัดเพี้ยนประมาท เรามีปัญญาเข้มแข็งไปในทางตรงข้าม กลับใช้ความสุขเป็นโอกาส ขวนขวายจัด เร่งรัดทำ ทีนี้ ก็ดีกันใหญ่ ยิ่งเจริญงอกงามพัฒนายิ่งขึ้นไป


    ถ้าเป็นคนที่พัฒนาอย่างนี้ ไม่ว่าสุขหรือทุกข์มา ก็เอาประโยชน์ได้ทั้งนั้น และที่ชื่อว่านักปฏิบัติธรรมก็คือต้องทำให้ได้อย่างนี้ โดยรู้จักใช้โยนิโสมนสิการ คือ คิดเป็น คิดแยบคาย ไม่ว่าดีว่าร้ายมา มองเห็นประโยชน์ได้ทั้งหมด

    อ๋อ สุขมาแล้ว เออ ดี คราวนี้คล่อง สบาย ง่าย สะดวก โอกาสให้ ฉันทำเต็มที่

    อ้อ ทุกข์มาหรือ เอ้อ ดีมันยาก จะได้เพียรกันใหญ่ เข้ามาเถอะ ฉันสู้เต็มที่

    คติของนักฝึกตนบอกว่า “ยิ่งยาก ยิ่งได้มาก” เป็นจริงได้อย่างไร ฝากให้ไปคิดกันดู

    ข้อหนึ่งว่า ไม่ประมาท ข้อสองว่า ใช้เป็นโอกาส ก็รับช่วงต่อกันไป ไม่ว่าในสุขในทุกข์ เราเอาประโยชน์ได้จึงดีทั้งนั้น


    สาม ไม่พึงพา อิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญ เป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา คนจะมีอิสรภาพแท้จริงได้ ต้องมีอิสรภาพของจิตใจเป็นฐาน และความอิสรภาพของจิตใจนั้น ก็เด่นขึ้นมาที่ความเป็นอิสระจากความสุข


    ความเป็นอิสรภาพจากความสุขนี้ ก็เหมือนต่อขึ้นมาจากข้อแรกที่ว่าไม่ประมาท คือไม่ถูกความสุขครอบงำ ทำให้หลง มัวเมา แล้วตกเป็นไปในความประมาท ข้อนั้น อยู่แค่ด้านลบ ข้อนี้ พ้นไปได้เลย ไม่ต้องพึ่งพา


    คนที่พัฒนาดี เป็นคนที่สามารถมีความสุข แต่ก็สามารถเป็นอิสระ ไม่ติด ไม่ต้องพึ่งพา ไม่ขึ้นต่อความสุขนั้น คนที่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว ทั้งมีความสุขที่ไม่พึ่งพา และไม่ต้องพึ่งพาความสุขนั้นด้วย

    เมื่อเป็นอิสระ ยังรักษาอิสรภาพไว้ได้ จึงจะสามารถก้าวหน้าพัฒนาต่อไป

    สี่ พัฒนาต่อไป ก็คือบอกหรือเตือนว่า ยังต้องไปต่อ ข้างหน้า หรือสูงขึ้นไป ยังมีอีก

    เป็นอันว่า รับกัน สอดคล้องกันหมด ตั้งแต่ไม่ประมาท จนถึงไม่พึ่งพา แล้วก็คือมาพัฒนาสู่ความสุขที่สูงขึ้นไป ให้กำจัดเหตุแห่งทุกข์ได้หมดสิ้น

    ทั้งมีความสุขอยู่ และพัฒนาอย่างมีความสุข แล้วก็พัฒนาสู่ความสุขที่สูงขึ้นไปอีก จนถึงความสุขที่สูงสุด เป็นกระบวนการของความสุขทั้งหมด มีแต่ความสุขตลอดกระบวนการพัฒนาความสุขนั้น

    (จบตอน พุทธธรรมหน้า 1105 ไป)
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ปมาทะ ความประมาท, ความขาดสติ, ความเลินเล่อ, ความเผลเรอ ความเผลอ, ความผัดเพี้ยน, ความปล่อยปละละเลย, ความชะล่าใจ. เทียบ อัปปมาทะ


    อัปปมาทะ “ความไม่ประมาท” ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ, ความไม่เผลอ, ความไม่เลินเล่อเผลอสติ, ความไม่ปล่อยปละละเลย, ความระมัดระวังที่จะไม่ทำเหตุแห่งความผิดพลาดเสียหาย และไม่ละเลยโอกาสที่จะทำเหตุแห่งความดีงามและความเจริญ, ความมีสติรอบคอบ


    ความไม่ประมาท ในที่ ๔ สถาน คือ ๑.ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต

    ๒.ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต

    ๓.ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต

    ๔.ในการละความเห็นผิด ประกอบความเห็นถูก

    อีกหมวดหนึ่งว่า ๑.ระวังใจไม่ให้กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

    ๒.ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง

    ๓. ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง

    ๔.ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา
     
  17. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    เดินตามมรรค ๘ มีอาจารย์คอยแนะนำ
    ไม่ผิดทาง อย่าได้เป็นกังวล คิกคิก
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    มรรค ๘ มาอีกแระ คิกๆๆ

    แนะนำให้รู้จักหน่อยดิ อาจารย์อะไร แต่เท่าที่ดูในนี้ ยังไม่เห็นเลยนิ อิอิ

    ถ้ายังงั้น ถามอาจารย์แมวก่อนแล้วกัน จะพาเดินไปทางไหน ในเมื่อทางมีตั้ง ๘ ทาง เอ้า
     
  19. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    ทางสู่ความหลุดพ้นจากสงสารคือพ้นจากภพ
    ชาติต่างๆ หรือพ้นจากการเกิดซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์
    ทั้งปวงเพราะต้องมาเป็นภาระแบกขันธ์ ๕
    เทียวไปเทียวมานั่นเอง
    ทรงสอนไว้ว่า
    ให้ปฏิบัติให้ครบถ้วนองค์ประกอบทั้ง ๘ ที่ทรงชี้
    เป็นแนวทางไว้เริ่มจากสัมมาทิฏฐิเป็นอันดับแรก
    นั่นแหล่ะฮะ
    หาใช่มาเล่นจับเบอร์ เเบบเสี่ยงดวง
    เลือกทางเดินตามที่ย้อนถามมาแต่อย่างใดไม่
    คิกคิก
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อ้อ มันเป็นยังงี้นี่เอง คิกๆๆ

    คือให้ไล่ๆไปทีละทางๆว่างั้นน้อนี่

    ให้ปฏิบัติให้ครบถ้วนองค์ประกอบทั้ง ๘ ที่ทรงชี้
    เป็นแนวทางไว้เริ่มจากสัมมาทิฏฐิเป็นอันดับแรก

    ถามอีกหน่อยเอาทางแรกก่อน สัมมาทิฏฐิ นี่มันอะไรยังไง
     

แชร์หน้านี้

Loading...